ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

วัดยางทอง

เริ่มโดย หมัดเส้งชู, 23:40 น. 26 ส.ค 53

หมัดเส้งชู

วัดยางทอง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑ ถนนนางงาม ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ โดยมีอาณาเขตดังนี้
•   ทิศเหนือ ติดถนนสงขลาบุรี ซึ่งมีสถานีดับเพลิงของเทศบาลอยู่ฝั่งตรงข้าม
•   ทิศใต้ ติดด้านหลังบ้านเรือนของชาวบ้านริมถนนยะหริ่ง
•   ทิศตะวันออก ติดถนนนางงาม
•   ทิศตะวันตก ติดด้านหลังบ้านเรือนของชาวบ้านริมถนนนครใน
http://watyangtong.pochanukul.com/?page_id=4
ตัวเมืองสงขลาเก่า หรือเทศบาลนครสงขลาปัจจุบัน ตั้งอยู่ตำบลบ่อยาง ซึ่งสำนวนเก่าแถบอำเภอสทิงพระ-ระโนด ถิ่นเดิมของผู้เขียน จะเรียกกันติดปากว่า บ่อยาง เช่น ไปบ่อยาง มาบ่อยาง อยู่ที่บ่อยาง... แม้ปัจจุบันสำนวนนี้จะมีคนนิยมใช้พูดน้อยลง แต่หากใครใช้ใครพูด คนในพื้นที่ก็ยังคงเข้าใจ...
วัดยางทอง ที่ผู้เขียนอยู่ปัจจุบันนี้เอง คือสถานที่ตั้งของ บ่อยาง ในอดีต... เล่ากันต่อๆ มาว่า ถ้าวิ่งเรือจากตอนในของทะเลสาบสงขลาออกมาปากอ่าว พอเรือพ้นจากเกาะยอ มองจากหัวเรือมาทางทิศตะวันออก จะเห็น ต้นยางทอง ขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่ที่ริมฝั่งข้างหน้า จึงนิยมเป็นที่นัดหมายพบปะของคนสัญจร ครั้นขุดบ่อเพื่อใช้น้ำ น้ำก็จืดสนิทสะอาดดี เมื่อสถานที่นี้กลายเป็นวัด ต่อมาจึงได้ชื่อว่า วัดยางทอง ส่วนบ่อน้ำและต้นยางทองซึ่งเป็นสิ่งคู่กันก็ได้รับการประสมตามนัยแห่งภาษาว่า บ่อยาง (บ่อน้ำที่อยู่ใกล้ต้นยาง) และนั่นคือ ตำบลบ่อยาง ที่ตั้งแห่งเทศบาลนครสงขลาในปัจจุบัน...
วัดยางทอง เป็น วัดเล็กๆ มีพื้นที่เพียง ๔ ไร่กว่าๆ แต่พื้นที่ภายในวัดนั้น เมื่อก่อนมีบ่อน้ำขนาดใหญ่ กระจายอยู่ทั่วบริเวณวัด แต่บางบ่อก็ถูกถมและปรับพื้นที่ไปนานแล้ว... ตอนที่ผู้เขียนแรกมาอยู่วัดยางทอง (พ.ศ. ๒๕๓๐) วัดยางทองยังมีบ่อโบราณขนาดใหญ่อยู่ ๓ บ่อ คือ
1.บ่อแรกนั้น อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัด ใกล้กับกุฏิผู้เขียนในปัจจุบัน เป็นบ่อกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๔ เมตร แต่ตอนนั้นเป็นเพียงบ่อร้าง ตื้นเขิน ผู้เขียนมาอยู่ไม่นานนัก อดีตท่านเจ้าอาวาสก็ให้ถมและปรับพื้นที่ปลูกต้นไม้...
2.บ่อที่สอง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัด หลังศาลาการเปรียญ ใกล้ต้นจันท์ เป็นบ่อขนาดหน้าตัดประมาณ ๒-๓ เมตร โดยมีกำแพงคอนกรีตกั้นเป็นบังตาโดยรอบเพื่อกันอุจาดตาในคราวที่ใครอาบ น้ำ...  ตอนผู้เขียนมาอยู่นั้น บ่อนี้ยังใช้ได้อยู่ นั่นคือ นอกจากพระเณรในวัดซึ่งใช้อยู่บ้างตามโอกาสแล้ว คนทั่วไป เช่น คนถีบสามล้อหรือขับรถรับจ้าง มักจะมาพักเหนื่อยพักร้อนอาบน้ำที่นี้... เมื่อต้องการพื้นที่พัฒนาวัด อดีตท่านเจ้าอาวาสจึงมีบัญชาให้ถมปรับพื้นที่เพื่อสร้างกุฏิ แต่ท่านก็ได้มรณภาพไปก่อน อย่างไรก็ตาม บริเวณนี้ก็มีกุฏิสงฆ์หลังใหม่ในปัจจุบัน
และ3.บ่อที่สาม อยู่ภายในศาลาอัตถจาโรนุสรณ์ซึ่งตั้งอยู่ชิดมุมกำแพงทิศตะวันออกเฉียงหนือ ของวัด เป็นบ่อขนาดหน้าตัดประมาณ ๒-๓ เมตร โดยปากบ่อจะหล่อแผ่นคอนกรีตปิดไว้ แล้วใช้เครื่องดูดน้ำจากบ่อนี้ขึ้นถังเก็บน้ำเพื่อใช้ภายในวัด... ปัจจุบันถือกันว่าบ่อนี้ จัดเป็น บ่อยาง บ่อสุดท้ายของวัด แต่บ่อนี้ จะเห็นได้ก็ต้องเปิดศาลาเข้าไปดูด้านหลัง ปกติถ้าไม่มีงานศพ ศาลาก็จะปิดไว้ คนทั่วไปจึงไม่รู้ว่ามีบ่อน้ำอยู่ภายใน...
บางคนบอกว่า บ่อยาง จริงๆ นั้น คือ บ่อที่อยู่ด้านหน้าติดกับประตูทางด้านทิศตะวันออกของวัด ซึ่งถมไปนานหลายสิบปีแล้ว และผู้เขียนก็ไม่ทันเห็น...
อนึ่ง ยังมีบ่อขุดใหม่ขนาดเล็ก น่าตัดประมาณ ๑ เมตร ซึ่งอยู่หน้าโบสถ์เยื้องมาทางทิศตะวันตก บ่อนี้ ยังคงใช้อยู่บ้างตามสภาพ แต่ไม่นับว่าเป็นบ่อโบราณ... ผู้เขียนมีความเห็นว่า น่าจะขยายบ่อนี้ออกไปแล้วจัดหาต้นยางทองมาปลูก ปรับพื้นที่ให้เหมาะสมให้ควรแก่การดูการชม...
ส่วน ต้นยางทอง ซึ่งคู่กับบ่อนั้น น่าจะตายไปเป็นร้อยปีแล้ว เพราะไม่มีร่องรอยว่าอยู่ที่ไหน... กล่าวได้ว่า คนในพื้นที่หรือผู้เคยมาอยู่เมืองสงขลา บอกวัดยางทอง มักจะไม่ค่อยมีใครรู้จัก แต่บอกว่าวัดที่มีต้นสาเกเยอะ ก็มักจะมีผู้จำได้ นั่นคือ ต้นสาเกกลับกลายมาเป็นสัญลักษณ์วัดยางทองในปัจจุบัน... อย่างไรก็ตาม การพัฒนาวัดตั้งแต่สมัยเจ้าอาวาสรูปก่อนจนถึงรูปปัจจุบัน ทำให้ต้นสาเกถูกโค่นไปหลายต้นเช่นเดียวกัน ซึ่งทางวัดก็พยายามปลูกและอนุรักษ์ไว้
http://gotoknow.org/blog/watmaster/89645
ขอบคุณภาพถ่ายทางอากาศ ปี 2517 ของอาจารย์หม่องวิน


หมัดเส้งชู

ดังนั้น เมื่อสมาชิกโรตารี่สงขลา มีความเห็นที่จะฟื้นฟูบ่อยางไว้ให้ลูกหลานได้ชม โดยขุดบ่อขึ้นมาแล้วนำต้นยางทองมาปลูกใกล้บ่อเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งเมือง สงขลา ผู้เขียนจึงอนุโมทนาอย่างยิ่ง เพราะได้คิดไว้นานแล้ว ทั้งได้เสนอแนะเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นไปได้ ภายในโบสถ์ น่าจะมีจิตรกรรมฝาฝนัง โดยนำภาพเก่าๆ ของเมืองสงขลา เช่น ภาพเรือสำเภาจากเมืองจีนจอดเทียบท่าเพื่อรับส่งสินค้า ภาพกำแพงเมืองโบราณ เป็นต้น ซึ่งภาพเหล่านี้ ผู้เขียนเคยเห็น และหาได้ไม่ยากจากสำนักโบราณคดีหรือพิพิธภัณฑ์...
ถ้าเป็นไปได้ตามที่เล่ามา อนุชนคนรุ่นหลัง นักทัศนาจร และผู้สนใจทั่วไป อาจมาแวะชมบ่อยาง ได้ฟังเรื่องเล่า และชมภาพเก่าๆ ก็อาจจินตนาการถึงบ่อยางและเมืองสงขลาเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมาได้... 
http://gotoknow.org/blog/watmaster/89645
นับตั้งแต่ได้กำหนดฤกษ์สร้างบ่อยาง (ใหม่) เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งตรงกับวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ เวลา ๐๙.๐๙ น. โดยเริ่มต้นด้วยการเข้าไปกราบพระประธานในพระอุโบสถ อธิษฐานจิตมุ่งตรงพระรัตนตรัย บอกกล่าวและขออนุญาตต่อผู้สร้างวัด อดีตเจ้าอาวาสทุกรูป ตลอดถึงบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาคุ้มครองวัดยางทอง ต่อจากนั้น ผู้เขียนก็ได้เริ่มต้นประพรมน้ำพระพุทธมนต์แล้วก็งัดหินก้อนแรกขึ้นมา... การก่อสร้างบ่อยางใหม่ก็สำเร็จลุล่วงมาโดยลำดับ และได้ทอดผ้าป่าสมโภชฉลองบ่อยางใหม่เมื่อวันที่ ๒๔ พ.ค ๒๕๕๒ ซึ่งได้ประมวลภาพมาเล่าแล้วในครั้งก่อน
http://gotoknow.org/blog/watmaster/244783
แต่ผมมีความรูสึกว่าขัดใจนะครับ บ่อ น่าจะกลมมากกว่าเหลี่ยม?

ท่านเจ้าอาวาสปัจจุบัน พระมหาชัยวุธ ฐานุตฺตโม  ถิ่นฐานบ้านเดิมของท่านอยู่ที่ คูขุด อำเภอสทิงพระ 
http://gotoknow.org/profile/bmchaiwut


จากนามสกุลเดิมของท่าน น่าจะเกี่ยวพันเป็นญาติผู้น้องของผม  สกุลนี้มีบางส่วนย้ายไปตั้งถิ่นฐาน ที่อำเภอระโนด  ได้สร้างโรงแรมแห่งแรกที่อำเภอระโนด ริมคลองระโนด ชื่อโรงแรมสดชื่น ปัจจุบันไม่ทราบว่าดำเนินการอยู่หรือไม่
ไม่ทราบว่าอาจารย์ Singoramang เคยนั่งเรือเมล์ ไปปากพะยุน  คูขุด(สทิงพระ) ลำปำ(พัทลุง) ระโนด ยุคก่อนที่จะมีถนนสาย หัวเขาแดง-ระโนด  ก่อนที่จะมีแพ ต้องนั่งเรือหางยาวข้ามฝั่ง ผมไม่แน่ใจว่าท่าเรือจะอยู่บริเวณไหนคลับคล้ายคลับครา ว่าอยู่บริเวณสะพานปลาเก่า  ตรงข้ามตลาดทรัพย์สินนั่นแหละครับ  เรื่องเก่าๆ จะลำดับเรื่องราวได้ มันก็ต้องใช้เวลา ...ขุดเรื่องราวลึกๆ  ที่ไม่ค่อยจะนึกถึง  โดยเฉพาะเรื่องราวที่ไร้ ซึ่งภาพประกอบ
ภาพของคุณ ArChuRa ในภาพนี้มีวัดยางทองอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าจะยังมีต้นยางอยู่หรือไม่
http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,30896.0.html

เขยบ่อยาง

รู้จักวัดยางทองในฐานะที่มี"ลูกสาเก"ดกที่สุด เวลาพูดถึงวัดนี้ให้ลูกๆฟัง ก็จะบอกว่า"วัดสาเกไง?" เป็นอันเข้าไจ ตอนนี้สาเกเหลือไม่กี่ต้นแล้ว

หม่องวิน มอไซ

วัดยางทอง ๒๔๗๘ ครับ

Big Beach

เปนที่มาของชื่อ "บ่อยาง"

เพราะมีต้นยางสูงเห็นได้แต่ไกล (Land mark)
น้ำในบ่อจืดสนิท เป็นแหล่งน้ำจืดของชาวบ้าน/คนเดินทางได้เปนอย่างดี

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

 ผมย้ายออกจากร้านโชติภัณฑ์ สงขลา ไปอยู่หลังวัดยางทอง (ถนนยะหริ่ง) ครับ ตอนนี้บ้านอยู่หลังวัด อิอิ

Big MaHad

พูดถึงเรื่องลูกสาเก เคยได้ยินเล่ากันว่า ลูกสาเกที่วัดนี้ต้องจองประมูลกันเลยทีเดียวเวลาออกผล ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าร้านสองแสนจะได้ไปครับ เอามาเชื่อมขาย อร่อยดีครับเคยลองไปชิมมาแล้ว แต่ไม่ทราบว่าเท็จจริงประการใดครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

คนเขารูปช้าง

คุณ Big MaHad สาเกเชื่อมเป็นของโปรดของผมเหมือนกัน(ทั้งๆ ที่พยายามลดน้ำตาล)
ผมไม่ทราบมาก่อนมาร้านสองแสนจะได้สาเกจากวัดยางทองไปเชื่อมขายอยู่เสมอๆ
น้องชายของพี่สาวคนโตร้านสองแสนก็เป็นเพื่อนสนิทกับผมครับ

เมื่อต้นเดือนที่แล้วไปจอดรถทำธุระแถววัดยางทอง เลยมีภาพปัจจุบันของวัดมาฝาก ๒ ภาพครับ

หมัดเส้งชู

อุโบสถวัดยางทองหลังเดิม  ที่สร้างก่อนหลักเมืองสงขลา โบสถ์ที่เคยมีตำนาน เคียงคู่มากับหลวงพ่อบ่อยาง  มีเรื่องเล่าว่าตอนสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นบุกสงขลา ไม่ทราบฝ่ายไหนใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดปูพรมทั้งเมือง แต่บริเวณวัดยางทองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อ บ่อยาง แคล้วคลาดปลอดภัยจากระเบิด ทำให้เล่าลือกันในครั้งนั้นว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก และความแคล้วคลาดปลอดภัยในครั้งนั้น นอกจากบารมีของหลวงพ่อบ่อยางแล้ว มีผู้ขยายความว่า เพราะอุโบสถหลังเก่ามีประตูหน้าเพียงประตูเดียวส่วนประตูหลังไม่มี เรียกกันว่าโบสถ์มหาอุด ซึ่งเชื่อกันว่าขลังยิ่งนักและมีดีทางทางด้านอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาด ปลอดภัย  ณ ปัจจุบัน กลายเป็นอดีตเรื่องราวสมัยแต่แรก ไปเสียแล้ว  :'( :'(
ใครมีภาพโบสถ์วัดยางทองสมัยแต่แรก  ช่วยโพสมาให้ชมดูหน่อยครับ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[ :-[

กิมหยง

ท่าทางต้องไปสำรวจวัดยางทองบ้างแล้วครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

พี่แอ๊ด

จากภาพนี้ที่คุณ ArchuRa  นำมาโพสต์ในกระทู้เก่า
และคุณเขารูปช้าง   เขียนไว้ว่า  เป็นซุ้มประตูวัดยางทอง
(วงกลมสีเหลือง)  ใช่หรือไม่

คนเขารูปช้าง

ใช่ครับพี่แอ๊ด ในกรอบสีเหลือง(ผมทำให้กรอบหนาขึ้นเห็นชัด)เป็นซุ้มประตูวัดยางทองด้านถนนนางงาม
ทำคล้ายรูปพานรัฐธรรมนูญอยู่ด้วยไม่ทราบสร้างหลังปี ๒๔๗๕ เล็กน้อยภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเปล่าครับ

คุณพี่ที่นุ่งโสร่งยืนอยู่โคนเสาไฟฟ้าในวงรีสีเขียวได้เจอตัวจริงแล้วครับ ในการไปร่วมคุยเรื่องภาพเก่ากับ อจ.ก้อย ที่ศาลเจ้าพ่อกวนอู
ถนนนางงาม ท่านได้เข้ามาแนะนำตัว และบอกคนที่ยืนนุ่งโสร่งไม่ใส่เสื้อโคนเสาไฟฟ้าคือท่าน ภาพที่เอาไปฉายขึ้นจอวันนั้นสแกนมาจาก
ต้นฉบับของ อจ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ มีรายละเอียดสูง เห็นเค้าหน้าด้านข้างเมื่อเทียบกับตัวจริงแล้ว ใช่เลยครับ

รู้สึกเป็นการแห่ที่ไม่แน่ใจว่าเป็น ผ้าป่า หรือกฐินของกองกำกับการ ตชด. ค่ายรามคำแหงครับ

พี่

สภาพทั่วไปของวัดยางทอง   1 กุมภาพันธ์ 2551
ขอบคุณข้อมูลภาพจากกรมศิลปากร
http://www.gis.finearts.go.th/fad50/fad/display_data.asp?id=0008105#


พี่

ซุ้มประตูวัดด้านหน้าทิศเหนือ

พี่

ลวดลายซุ้มประตูวัดด้านหน้าทิศเหนือ

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

รู้สึกว่ามีคนเคยนำมาลงแล้ว ภาพหัวมุมวัดยางทอง เทศกาลชักพระ

พี่แอ๊ด

สมัยเรียนที่สงขลา   วัดนี้เดินผ่านประจำ  ผ่านไปทาน
เย็นตาโฟเจ๊โปว   ที่เก้าห้อง   ก่อนที่จะย้ายไปขายที่ถนน
พัทลุง   หรือไม่ก็ไปบ้านเพื่อนรุ่นพี่  ศิษย์เก่าโรงเรียนวรนารีเฉลิม
ซึ่งเกิดและเติบโตอยู่หน้าวัดยางทอง   และอาทิตย์ที่ผ่านมา
พี่เขาได้ย้ายกลับมาเป็นผู้จัดการฯ ที่บ้านเกิดแล้วด้วย

คนเขารูปช้าง

ครับคุณ ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี  ผมเคยนำมาลงไว้ ขอรวรวมภาพบริเวณหัวมุมวัดยางทองมาให้ชมกันอีกครั้งครับ
ขาว-ดำ ๒ภาพแรกนี้รู้สึกน้าชายของผมถ่ายไว้ก่อนปี ๒๕๐๐ ไม่นานนัก
ต้นฉบับเป็นภาพ contact print จากฟิมล์ 120
เสียดายที่หาภาพอุโบสถหลังเก่าไม่ได้เลย

คนเขารูปช้าง

ภาพสีต่อมาอีก๓ ภาพ ผมถ่ายไว้เมื่อ เมษายน ๒๕๓๗ ครับ

Big MaHad

อยากเห็นภาพเรือพระสมัยก่อนเพิ่มเติมอีกครับ  ก่อนที่จะมาเป็นแบบโฟมสีสันฉูดฉาดอลังการแบบในปัจจุบันนี้ครับ ไม่มราบว่าท่านใดพอมีไว้บ้างครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

หมัดเส้งชู

ถ้าถ่ายเข้าไปในวัด ก็คงจะมองเห็นโบสถ์เก่า เรื่องราวสมัยแต่แรก โบสถ์มหาอุด ::)

ชื่อโครงงาน : สงขลาแต่แรก (Befor Songhlak)
หลัก การและเหตุผล : เนื่องจากปัจจุบันประชาชนที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ไม่ รู้ถึงประวัติความเป็นมาของถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษของตนทางคณะผู้จัดทำจึง รวบรวมและเผยแผ่ประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อยางให้ประชาชนได้รู้และเข้าใจ มากยิ่งขึ้นแล้วยังสามารถนำไปบอกเล่าให้ลูกหลานได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์ของโครงงาน :
1.เพื่อเผยแผ่ประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อยาง
2.เพื่อให้ได้ความรู้ที่สามารถพิสูจน์ได้จริง
3.เพื่อให้รู้ที่มาของบรรพบุรุษ
http://pop-janejira.blogspot.com/2010/07/blog-post_23.html
ว่าจะไปดูก็ดูโบสถ์วัดยางทองเมืองการำ หรือ คลองรำอำเภอสะเดา ก็ยังหาภาพไม่ได้  งั้นไปดู... 8)
วัดยางหลวง อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่
โบสถ์แห่งนี้สร้างราว 200ปีมาแล้ว เป็นไม้ทั้งหลัง หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดไม้ สิมแห่งนี้ใช้เป็นที่บวชพระ


คนเขารูปช้าง

ขอนำภาพเรือที่สงขลายุคเก่าก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นโฟมสีฉูดฉาดมาให้ชมตามที่คุณBig MaHad
ขอ ๓ภาพดังนี้
ภาพแรก ถ่ายบนถนนไทรบุรีใกล้หัวถนนสตูล มองไปทางวัดดอนแย้ ด้านข้างอาคารไม้ที่เห็นหน้าต่างชั้น๒ เปิดอยู่
คือโรงแรมเวียงสวรรค์หลังเก่า ต้นไม้ใหญ่หลังเรือพระอยู่ในวัดดอนแย้ครับ
คาดว่าภาพนี้และต่อไปอีก ๒ ภาพถ่ายก่อนปี ๒๕๐๐ ไม่นานนัก