ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

รวมภาพหาดสมิหลา-ฝั่งหัวเขา 2495

เริ่มโดย จูนค่ะ, 12:09 น. 28 เม.ย 53






Feriona


Feriona

รูปที่ 16 เป็นรูปบ่อโอ ที่เป็นบ่อน้ำ 100 ปีของสงขลาป่าวค่ะ

:) :) หาดูภาพได้ยากจิง ๆ

Singoraman

หลายภาพไม่เคยเห็นมาก่อนจริง ๆ ครับ
ขอบคุณครับ

กิมหยง

โห

ไม่รู้จะถามอะไรเลย

ยังไม่สาเกิดทีครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: Feriona เมื่อ 14:38 น.  28 เม.ย 53
รูปที่ 16 เป็นรูปบ่อโอ ที่เป็นบ่อน้ำ 100 ปีของสงขลาป่าวค่ะ

:) :) หาดูภาพได้ยากจิง ๆ
เข้าใจว่าเป็นบ่อทรัพย์ ที่วัดบ่อทรัพย์กระมังครับ
วิเคราะห์กันสนุกแน่ครับ งานนี้

จูนค่ะ

จากภาพที่หาดสมิหลา ช่วงเวลาที่ถ่าย คงยังไม่มีรูปปั้นนางเงือกนะคะ



หม่องวิน มอไซ

หลักเขตศุลกากรนี่แหละครับ น่าสงสัยจริง ๆ ว่าสร้างในสมัยใด
ในภาพถ่ายก่อนปี ๒๔๘๐ ก็ปรากฏให้เห็นแล้วครับ

นางเงือกนั้น ม.จ.ทองคำเปลว ทองใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ทรงเป็นประธานในพิธีเปิด
วันศุกร์ ที่ ๑ เมษายน ๒๕๐๙ เวลา ๑๕.๓๐ น. ครับ

Singoraman

หลักเขตต์ศุลากากร เป็นแลนด์มาร์คของ "แหลมหิน" มาก่อนที่ "เงือกทอง" จะเป็นแลนด์มาร์คของ "แหลมสมิหลา"
โปรดสังเกตว่า ภาพที่ปรากฏหลักเขตต์ ซึ่งมีสาว ๆ และหนุ่ม ๆ กับภาพที่ มีเด็ก ๆ ถ่ายร่วมกันนั้น รูปร่างไม่เหมือนกัน
ภาพที่เด็ก ๆ ถ่ายดูเหมือนจะได้รับการบูรณะให้ดีขึ้น ส่วนที่สาวๆหนุ่มๆ ถ่ายนั้น จะถูกไอน้ำเค็มกัดเซาะผุกร่อนไปมากทีเดียว

Kungd4d

 ;D :D ขอบคุณครับ ดูแล้วต่อไปถ้าเรารวมรวมภาพทั้งหมดแล้วจัดเก็บเป็นแกลลอรี่ก็น่าจะดีนะครับ  ;D :D

คนเขารูปช้าง

เยี่ยมมากครับ ส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ไม่ทราบว่ามีการบันทึกไว้หลังภาพ
หรือที่อื่นหรือไม่ว่าแต่ละภาพถ่ายในปีไหน จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด


ที่ว่าการอำเภอเก่าบอกเล่าเรื่องได้ดีว่าปี ๒๔๙๕ อำเภอได้ย้ายไปนานพอควรแล้ว
มีวัชพืชขึ้นรกรอบๆแล้ว

ส่วนภาพ "สวนเสรีภาพ" ตามที่เรียกในตอนนั้นเพิ่งเริ่มสร้างจริงๆ ไม้ดัดยังเป็นกิ่งเล็กๆอยู่
น่าจะถ่ายก่อนปี ๒๔๙๕ พอสมควรครับ

ภาพจากหัวเขาที่มองข้ามทะเลสาบไปตะวันออกเฉียงใต้ ถ่ายทอดได้ดีจริงๆครับ
ว่าตอนนั้นบ้านเรือนส่วนใหญ่อยู่ย่านเมืองเก่าริมทะเลสาบฯ ทางตะวันออกไปส่วนใหญ่
เป็นต้นไม้บ้านเรือนมีน้อย เห็นทั้งหาดสมิหลา เขาตังกวน เก้าเส้ง

ภาพที่นั่งถ่ายกันที่ฐานเจดีย์? เป็นที่ไหนครับนึกไม่ออกว่าเคยเห็นลวดลายปูนปั้นแบบนี้ที่ไหน

ขอบคุณมากครับที่นำมาให้ชมและร่วมกันบันทึกประวัติความเป็นมาของเมืองสงขลาไว้

พี่แอ๊ด


ภาพที่นั่งถ่ายกันที่ฐานเจดีย์? เป็นที่ไหนครับนึกไม่ออกว่าเคยเห็นลวดลายปูนปั้นแบบนี้ที่ไหน[/color]

[/quote]   ไม่ใช่ฐานเจดีย์คะ   เป็นหลักเขตศุลกากร หรือ Customs  Limit 
อยู่ห่างจากรูปปั้นนางเงือกประมาณ 50 เมตร  ด้านทิศใต้  หัวโค้งของชายหาดสมิหลา
ด้านโรงแรมสมิหลา   เป็นบริเวณี่กำหนดให้เรือสินค้าเข้ามาจอด  เพื่อขนถ่ายสินค้า
เข้ามาเสียภาษีที่ด่านฯ  และเป็นเขตที่จะได้ทราบวันเวลาที่เรือสินค้าเข้าไปจอด
แต่ปัจจุบันใช้ที่ท่าเรือสงขลา  ฝั่งสิงหนคร 

พี่แอ๊ด

เป็นฐานเจดีย์สองพี่น้องที่ฝั่งสิงหนครหรือเปล่า

คนเขารูปช้าง

ตามที่ อจ.หม่องฯ ว่าจริงๆครับภาพชุดนี้ทำให้มีเรื่องคุยกันหลายเรื่องครับ
ผมขอเปิดประเด็นที่ภาพที่บันทึกปีที่ถ่ายไว้ชัดคือหลักเขตศุลกากร(ก่อนจะมีการซ่อม
แซมปรับปรุงสภาพ)
เมื่อเทียบความสูงของหลักกับขนาดคนที่นั่งชิดหลักฯ เห็นว่าความสูงของหลัก
ประมาณใบหน้าคนครับ

คนเขารูปช้าง

ภาพต่อมาเขียนวันที่ถ่ายชัดเจนคือ 1-6-1952/2495
ดูเหมือนว่าผู้ถ่ายตั้งใจถ่ายให้หัวหลักเขตฯเป็นฉากหน้า มองข้ามหลักฯ
ไปยังกลุ่มคนที่นั่งอยู่บนหาดสมิหลา ซึ่งเป็นบริเวณตรงกับโรงแรมสมิหลาในปัจจุบันนี้
ตกขอบซ้ายของภาพคือโขดหินนางเงือก
ตกขอบขวาของภาพคือเก้าเส้ง

คนเขารูปช้าง

เป็นที่น่าสังเกตุครับว่าในปี ๒๔๙๕ หลักเขตฯ สร้างมานานแล้วโดนกัดกร่อนไปบ้าง
จากไอน้ำเค็มและลมทะเล รูปทรงหลักฯจะผอมบางกว่าในปัจจุบันนี้ครับ
และปูนที่หล่อเป็นฐานจะมี ๒ ชั้น จากรูปที่กลุ่มหญิงสาวกำลังเดินใกล้หลักฯ

คนเขารูปช้าง

ภาพต่อมาจะเห็นว่าหลักฯได้รับการซ่อมแซมใหม่แล้ว อวบอ้วนขึ้นกว่าเดิม
ฐานปูนหล่อเป็น ๓ ชั้น ในรูปที่กลุ่มเด็กนักเรียนกำลังป่ายปีนโขดหินอยู่
ซึ่งเป็นรูปทรงในปัจจุบันนี้ ภาพนี้ผมคิดว่าก่อนปี ๒๕๐๐ ไม่มากนัก

หลักเขตศุลกากรนี้ผมเห็นในแผนที่ปี ๒๔๗๘ มีอยู่ สามหลักครับ
หลักฯนี้เป็นหลักที่สอง

หม่องวิน มอไซ

ท่านคนเขารูปช้างครับ
หลักเขตที่ปรากฏในแผนที่ปี ๒๔๗๘ นี้
คิดว่าเป็นหลักเขตเทศบาลครับ ไม่ใช่หลักเขตศุลกากร
แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า ตำแหน่งของหลักเขตเทศบาลเมืองสงขลา หลักที่ ๒ นี้
อยู่ในตำแหน่งเดียวกับหลักเขตศุลกากรในปัจจุบันหรือไม่

สำหรับหลักเขตเทศบาลเมืองสงขลา เมื่อแรกตั้งนั้น มีอยู่ทั้งหมด ๔ หลัก ดังนี้ครับ