ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

รวมภาพหาดสมิหลา-ฝั่งหัวเขา 2495

เริ่มโดย จูนค่ะ, 12:09 น. 28 เม.ย 53

หม่องวิน มอไซ

ปริศนาที่ยังไม่กระจ่างคือ
ในภาพถ่ายราวปี ๒๔๗๘-๒๔๘๐ ของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณภาพนี้
เป็นหลักเขตศุลกากรหลักใหม่หรือหลักเก่าครับ


Singoraman

๑.  ฐานเจดีย์ในภาพเป็น "เจดีย์บัวบนบัวล่าง" ที่ วัดสุวรรณคีรี  ต.หัวเขา อ.สิงหนคร  เป็นเจดีย์ขนาดย่อม ที่เก็บอัฐิ (บัว) ของอดีตเจ้าอาวาสหรือ "พ่อท่าน"      ของวัดสุวรรณคีรี   โดยมีอัฐิของพ่อท่าน ๒ รูป ในบัวเดียวกัน โดยรูปหนึ่ง ไว้ล่าง รูปหนึ่งไว้บน จึงเรียก "พ่อท่านบัวล่างพ่อท่านบัวบน"
     เจดีย์นี้ สร้างบนก้อนหิน ใต้ก้อนหินมีถ้ำเล็ก ๆ ภายในมีประติมากรรมพระนอนฝีมือช่างพื้นบ้าน น่าสนใจมาก
๒.  จำได้ว่าหลักเขตที่โขดหินหัวสิมิหรา นั้น มีข้อความระบุไว้ที่ฐานว่า "หลักเขตต์ศุลกากร" 
๓. ที่ต้องว่ากันต่อไปคือ หลักเขตเทศบาลเมืองสงขลา ที่ อ.หม่องฯ นำเสนอไว้ ว่ายังมีร่องรอยให้เห็นที่ไหนบ้าง

พี่แอ๊ด

พี่แอ๊ดขออนุญาตขอเขียนถึงเขตศุลกากรสำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านกระดานข่าว
ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าเราพูดถึงเรื่องอะไร   สงขลามีเขตศุลกากร 
หรือ  Customs  Limit   อยู่ห่างจากรูปปั้นนางเงือกสงขลาประมาณ 50 เมตร
ด้านทิศใต้  หัวโค้งของชายหาดสมิหลา   ด้านโรงแรมสมิหลา   เมื่อก่อนยังไม่
สร้างท่าเรือที่อำเภอสิงหนคร   เขตศุลกากรเป็นบริเวณที่กำหนดให้เรือสินค้า
เข้ามาจอด  เพื่อขนถ่ายสินค้าเข้ามาเสียภาษี   และจะได้ทราบวันเวลาที่เรือ
สินค้าเข้ามาจอด  จะได้คำนวณค่าภาษีอากรได้    กรมศุลกากรสงขลาเป็นด่าน
ทางทะเลด้านอ่าวไทย   ตั้งก่อนปี พ.ศ.2458

Singoraman

เรื่องเกี่ยวกับสัญญาณหรือสัญลักษณ์ ในการเดินเรือเข้า-ออก น่านน้ำเมืองสงขลา
นอกจากหลักเขตต์ศุลกากรแล้ว บนเขาตังกวนยังมีกระโจมไฟ และลูกตุ้มที่เป็นสัญญาณสำหรับการเข้า-ออก
ของเรือ  รวมทั้ง "หลักนำ" ของทหารเรือด้วย

คนเขารูปช้าง

จริงด้วยครับ อจ.หม่องฯ หลักเขตต์เทศบาลกับหลักเขตต์เทศบาล คิดว่าเป็นคนละหลักกัน
เมื่อดูในแผนที่ปี ๒๔๗๘ อีกครั้งก็เขียนไว้ชัดว่าหลักเขตต์เทศบาลที่สอง ผมสับสนไปเอง

เป็นปริศนาเพิ่มขึ้นอีก จากในรูปชุดนี้ว่า

๑.หลักเขตต์เทศบาลที่สองกับหลักเขตศุลกากรเป็นหลักเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีการประกาศ
   เขตศุลกากรตั้งแต่ปี ๒๔๕๘(ตามที่พี่แอ๊ดค้นมา) ทำไมแผนที่เขตเทศบาล๒๔๗๘ไม่เขียนไว้
   แผนที่นี้ผมคิดว่าคณะผู้จัดทำลงรายละเอียดไว้ดีมาก
๒.หลักเขตศุลกากรซ่อมใหม่ในปีใดแน่  เพราะผมเห็นว่าหลักเขตฯที่ชายหนุ่มสองคนนั่งอยู่
    และรูปที่กลุ่มหญิงสาวเดินอยู่บนโขดหินใกล้หลักเขตฯ หลักโดนกัดกร่อนไปมากแล้ว
    ส่วนรูปที่ระบุวันที่ถ่ายไว้ในภาพที่ผมคิดว่าผู้ถ่าย ถ่ายคล่อมหัวหลัก(ซ่อมใหม่แล้วสูงและอ้วนกว่าเดิม)
   โดยให้หัวหลักเป็นฉากหน้า(เป็นเงาดำอาจไม่ตั้งใจให้เป็นฉากหน้าแต่พยายามชูมือเอากล้องไปวางบนหัวหลักเพื่อจับภาพมุมสูงของกลุ่มนักเรียนนั่งกันอยู่บนหาดสมิหลา)
   ส่วนภาพที่เด็กนักเรียนกำลังปีนป่ายโขดหินขึ้นไปที่หลักฯ ซึ่งซ่อมใหม่แล้วฐานปูนเพิ่มเป็น๓ชั้น
   มีขนาดสูงขึ้นและอวบอ้วนขึ้นกว่าเดิม ตัวหลักบนฐานปูนชั้นที่๓ สูงกว่าหัวคนเล็กน้อยแต่ภาพอยู่ในชุดเดียวกัน ภาพแรกๆที่ชายหนุ่มสองคนนั่งอยู่ที่หลักฯ กะความสูงของหลักจากฐานปูนที่มีแค่สองชั้นประมาณใบหน้าคน (ผมคิดว่าภาพแรกๆกับ
    ภาพหลังๆในชุดนี้ถ่ายห่างกันหลายปีที่เดียวครับ)

 
 ในขณะที่ภาพของคุณพรเลิศฯ ระบุว่าหลักที่ซ่อม
   ใหม่แล้ว(มีคนชูรูปเงาดำรู้สึกจะเป็นเทพีวีนัสขึ้นเหนือหลักเขตฯ) ที่ อจ.หม่องฯเอามาให้ดูกัน
   ถ่ายในปี ๒๔๗๘-๒๔๘๐

Kungd4d

 )de :D ขอขอบคุณครับ รอติดตามกันต่อไปครับ เพราะว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากครับ

:D ;D

คนเขารูปช้าง

ผมมานั่งดูภาพชุดนี้ของคุณ June_หลาเหลือง อีกครั้งคิดว่าได้ปริศนาเพิ่มมาอีกข้อแล้วครับ

คือตัวศาลาแรกสุดที่แหลมสมิหลาเป็นศาลาแบบใดกันแน่ ตามหลักฐานภาพที่มีอยู่เดิม
คิดกันว่าเป็นศาลา ๘เหลี่ยมตามรูปนี้

คนเขารูปช้าง

เมื่อมาดูภาพสวนเสรีที่ถ่ายจากเชิงเขาน้อย ลงไปยังตำแหน่งศาลาฯ และนางเงือกในปัจจุบัน
จะเห็นมีสิ่งปลูกสร้างลักษณะศาลาอยู่ในตำแหน่ง ศาลาฯในปัจจุบันนี้ แต่ลักษณะไม่เหมือน
กับศาลา ๘ เหลี่ยมที่มีเสาขนาดเล็ก ๘เสาและมีลูกกรงระเบียงโดยรอบ
ศาลา๘เหลี่ยมนี้เข้าใจกันว่าเป็นศาลาแรกสุด ก่อนจะเปลี่ยนเป็นศาลาไทย
และต่อมาก็เป็นศาลาในปัจจุบันนี้
เพราะศาลาในภาพเมื่อขยายดูจะเห็นเป็นหลังคาชันประมาณ ๔๕ องศา เสาใหญ่ ไม่มีลูกกรงระเบียง ซึ่งศาลา ๘ เหลี่ยมนั้นหลังคามีความลาดชันน้อยกว่ามาก และเสาขนาดเล็ก
หาดูกระทู้เก่าเรื่องสวนเสรีได้จากhttp://www.gimyong.com/board53/index.php/topic,2857.0.html

ภาพของคุณ June ฯ นี้คิดว่าถ่ายประมาณปลายปี๒๔๘๖ ที่สร้างสวนเสรี
เพราะกิ่งไม้ที่จะดัดเป็นรูปสัตว์ต่างๆยังเป็นกิ่งเล็กๆอยู่เลย

ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ขอความเห็นจากท่านอื่นๆด้วยครับ

พี่แอ๊ด

ขอดึงภาพศาลา 8 เหลี่ยมในกระทู้เก่าเรื่องหาดสมิหลาเมื่อวันวาน 
โดย  คนเขารูปช้าง   มาเพื่อพิจารณา












พี่แอ๊ด

และหลักเขตศุลกากรในอดีต  ซ้ายมือสุดของภาพ  จากกระทู้เก่าของคนเขารูปช้าง

พี่แอ๊ด

อีกภาพจากกระทู้เก่าของคนเขารูปช้าง

พี่แอ๊ด

นักเรียนจากหาดใหญ่ถ่ายกับหลักเขตศุลากร   ภาพนี้
ร่วมกว่า  60  กว่าปี

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

 งั้นส่งภาพทั่วไปของปีล่าสุด 2553 ของฝั่งหัวเขาแดง หาดสมิหรามาฝากบ้าง
ภาพนี้เป็นภาพการทำกิจกรรมค่ายศิลปะของเด็กสงขลา ที่คุณครูสอนให้รู้จักการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากร

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

 ภาพค่ายกิจกรรมศิลปะ

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

เกาะหนูเกาะแมว สมิหรา53

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

 ฝั่งหัวเขาแดง

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

หัวเขาแดง ชุมชนมุสลิม

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

 สงขลาเรียกฝั่งหัวเขา

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

บรรยากาศหัวเขา

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

บ่อเก๋ง คืออะไรไม่รู้วานผู้รู้ช่วยตอบที ท่าทางแลแล้วเหมือนกับ ทางขึ้นจากเรือ แล้วมีคนมาขายของ (เหมือนท่าแพในสมัยก่อนแต่เปลี่ยนจากแพเป็นเรือ) ส่วนตลาดในสงขลาชอบเรียกเป็นบ่อๆ เช่นบ่อพลับ ก็เลยไม่แน่ใจ

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

วัดสุวรรณคีรี

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

 บรรยากาศสองข้างทาง