ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ภาพน้ำท่วมหาดใหญ่ในอดีตครับ

เริ่มโดย Big MaHad, 21:58 น. 08 ก.ย 53

คนเขารูปช้าง

ฟังความเห็นจากหลายๆท่านแล้วผมไม่แน่ใจว่าจำมาถูกหรือไม่ ผมซื้อภาพสีซีเปียมาจากร้านเจียฯ ครับนานแล้ว
เขาอัดบนกระดาษอัดภาพสีขนาดใหญ่ ประมาณ 8 X 10 นิ้ว ตอนซื้อมาที่ร้านบอกว่าตึกซ้ายมือคือธนาคารนครหลวงไทย
เมื่อแปลงเป็นดิจิตอลผมก็พิมพ์ไว้ในชื่อภาพ แต่หลักฐานสำคัญคือไม่เห็นทิวเขาคอหงส์ ทำให้ไม่แน่ใจจำมาถูกหรือไม่
ต้องรบกวนท่านที่อยู่หาดใหญ่ช่วยสอบถามจากผู้อาวุโสของร้านเจียฯ  อาจเป็นผู้อาวุโสของหาดใหญ่ท่านอื่น

หรือพี่แอ๊ดจะช่วยสอบถามจากคุณอา กิตติ จิระนคร ผมว่าได้ข้อสรุปแน่ครับ

พี่แอ๊ด

ภาพที่คุณเขารูปช้างนำมาโพสต์   ขวามือเป็นร้านเจียคัลเลอร์แลป
ใช่เลยคะ    และคิดว่าร้านเจียเป็นคนถ่ายด้วย   

Big Beach

อ้างจาก: คนเขารูปช้าง เมื่อ 16:15 น.  10 ก.ย 53
ฟังความเห็นจากหลายๆท่านแล้วผมไม่แน่ใจว่าจำมาถูกหรือไม่ ผมซื้อภาพสีซีเปียมาจากร้านเจียฯ ครับนานแล้ว
เขาอัดบนกระดาษอัดภาพสีขนาดใหญ่ ประมาณ 8 X 10 นิ้ว ตอนซื้อมาที่ร้านบอกว่าตึกซ้ายมือคือธนาคารนครหลวงไทย
เมื่อแปลงเป็นดิจิตอลผมก็พิมพ์ไว้ในชื่อภาพ แต่หลักฐานสำคัญคือไม่เห็นทิวเขาคอหงส์ ทำให้ไม่แน่ใจจำมาถูกหรือไม่
ต้องรบกวนท่านที่อยู่หาดใหญ่ช่วยสอบถามจากผู้อาวุโสของร้านเจียฯ  อาจเป็นผู้อาวุโสของหาดใหญ่ท่านอื่น

หรือพี่แอ๊ดจะช่วยสอบถามจากคุณอา กิตติ จิระนคร ผมว่าได้ข้อสรุปแน่ครับ

สองสามวันมานี้พยายามเดินดู ว่าแยกนี้คือแยกไหนกันแน่
หาหลักฐานยากมากครับ เพราะว่าบ้านไม้ Style นี้แทบไม่เหลือแล้ิว (สายสอง สายสาม ด้านทิศเหนือ ไม่เหลือเลย)
ส่วนบ้านก่ออิฐถือปูนในภาพก็ไม่ชัดเจน

Big Beach

ภาพสีซีเปีย

เสาไฟฟ้าขวามือ เป็นไม้ ซ้ายมือเป็น คสล คงต้องถามคนเก่าๆ ว่า ตากล้องมองลงไปทางทิศใต้หรือทิศเหนือ(อาศัยเสาไฟฟ้าในการอ้างอิง)

คูน้ำยังไม่ปิดฝา

ไม่รู้ว่าถนนลาดยางแล้วยัง (ดูไม่ออกเลย)

ถนนกว้างขนาดนี้ ไม่ใช่ถนนประชาธิปัตย์แน่ครับ

มองไปไกลๆ ดูเหมือนว่ายังเป็นต้นไม้อยู่ (เมืองยังขยายไปไม่มาก)

หมัดเส้งชู

ผมนึกว่าเฉลยหมดแล้ว...ภาพน้ำท่วมและภาพสีแดง ๆ ของท่านคนเขารูปช้าง ถ่ายจากมุมไหน

สีแดง ซุ้มประตูรับเสด็จปี 2502 มีจุดสังเกตคือ มุมถนนซ้ายมือเป็นธนาครกสิกรไทย ฝั่งถนนขวามือเป็นอาคาร 2 ชั้น  มีอยู่คูหาหนึ่งจำได้ว่าเป็นร้านนาฬิกา พ่อพาไปซื้อนาฬิกาเรือนแรกที่นั่นยี่ห้อ ไซไก้ น่าจะเป็นคราวที่สอบเข้า ญ.ว.ได้ จำลางๆได้ว่าละแวกนั้น มีร้านบาจา ร้านขายรถมอเตอร์ไซด์
http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,9735.0.html

สีเขียวอ่อนภาพถ่ายที่เป็นสีซีเปีย น่าจะเป็นภาพถ่ายจากมุมสูง บริเวณที่เป็นร้านเซาะฮึ้งในปัจจุบัน ถ่ายเข้าไปในถนนนิพัทธ์อุทิศ1 ซ้ายมือเป็นอาคารที่กำลังก่อสร้าง รูปลักษณะเดียวกับกับภาพซุ้มประตูที่อยู่ขวามือ ส่วนซ้ายมือทีเห็นคนยืนอยู่ฟุตบาทค่อนข้าสูงมีจักรยานจอดอยู่ 1 คัน เป็นร้านขายหนังสือชื่อร้านวินิจ  ปัจจุบันเป็นโรงแรมวีแอล  สมัยเมื่อเล็กๆพ่อโอนจักรยานราเล่ห์ให้เคยขี่ไปซื้ออุปกรณ์การเรียน ยังจอดจักรยานไว้ตรงตำแหน่งใกล้ๆนั้นเลย

สีชมพูอ่อน ภาพน้ำท่วมน่าจะเป็นภาพถ่ายจากมุมสูงถ่ายในมุมใกล้เคียงกับสีซีเปีย  ซ้ายมือที่มองเห็นเป็นธนาคารกรุงไทยปัจจุบันรื้อตึกเก่าสร้างใหม่ไม่รู้กี่ชั้น มองลึกเข้าไปเห็นโรงแรมยงดี  ขวามือเห็นป้ายร้านหาดใหญ่สโตร์  จำได้ว่าเดิมย่านบริเวณนี้จะเป็นร้านขายผ้าของพวกแขกซิกซ์มีอยู่ร้านหนึ่งชื่อว่าร้านปากหวานสโตร์

พี่แอ๊ด

นำภาพนี้ให้คุณพ่อดู   
ท่านบอกว่าเป็นถนนศุภสารรังสรรค์  ประมาณปี 2502

วงกลมสีฟ้า      เป็นร้านอาหารจีน   รับจัดเลี้ยงงานต่าง ๆ
                      ชื่อ  ยวดไล้เฮียง   ปัจจุบันยังเปิดร้าน
                      อยู่ที่จันทร์วิโรจน์
วงกลมสีฟ้า      เป็นร้านขายยาจีนโบราณ  ชื่อ  เต็กแส
                      เจ้าของย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ   ต่อมาขายที่แห่งนี้
                        ให้แก่ร้าน ไฮดี สแนค ๆ    ศิษย์เก่าโรงเรียน
                        ธิดานุเคราะห์
วงกลมสีม่วง     เป็นโรงไม้ 
ยังไงก็ให้เจ้าของภาพช่วยเฉลยให้ด้วยนะคะ
และคุณพ่อถามว่า  คนในภาพอยู่บริเวณโรงเรียนวิริยะเธียรหรือเปล่า
                       

หมัดเส้งชู

ผมดูแล้วภาพที่ผมโพสมันดูลายตาเหลือเกิน จะลงภาพที่มันละเอียดกว่านี้ก็ไม่ได้ ผิดกับสมัยก่อน  ถ้าคุณกิมหยงเห็นใจขอเพิ่มเป็นสัก 2 เท่า เป็นซัก 250 KB ไม่ทราบว่าจะได้หรือไม่

1 น่าจะเป็นตึกมีความสูงประมาณ 3 ชั้น สังเกตจากหลังคามีดาดฟ้า เงาที่ทอดมีความยาวน้อยกว่าอาคารที่อยู่ตรงข้าม
2 เป็นอาคารที่เป็นตึก  จากเงาที่ทอดน่าจะมีความสูง 3 ชั้นขึ้น
3 ถ้าสายตายังใช้ได้ หรือภาพมีความละเอียดพอ น่าจะยืนยันได้ว่าเป็นเสาไฟฟ้า
4 อาคารที่หันขวางถนนหลังคาทีหันออกด้านถนนศูภสารรังสสร ทรงปั้นหยา  ปัจจุบัน 3-4 ห้อง ด้านในเป็นร้านเจียคัลเลอแล็บ

หมัดเส้งชู

แนบรูปด้วยครับ

คนเขารูปช้าง

คุณ หมัดเส้งชู ครับผมไปเจอภาพน้ำท่วมหาดใหญ่อีกภาพที่เชฟเก็บไว้จำไม่ได้แล้วมาเวปไหน
ผมคิดว่าเป็นมุมมองที่ย้อนศรกับภาพสีซีเปีย ที่คุณว่าถ่ายจากบริเวณร้านเซาะฮึ้ง(เคยไปทานผัดใบปอกับข้าวต้ม อร่อยครับ)
โดยถ่ายบนถนน นิพัทธ์อุทิศ1 ไปทางร้านเซาะฮึ้ง ลองดูครับ

ลูกศรส้มชี้แนวที่ถ่ายภาพ

ลูกศรเขียวชี้ธนาคารศรีนคร(ใช่หรือเปล่า?)

หมัดเส้งชู

1 ป้ายธนาคารศรีนคร
2 เหมือนโครงป้ายโฆษณาอะไรซักอย่างหน้าอาคาร
3 น่าจะเป็นป้ายธนาคารกสิกรไทย
4 และสุดท้ายเป็นบริเวณร้านเซาะฮึ้ง
ฝั่งซ้ายมือของภาพผมพยายามจะนึกว่ามันขายอะไร
ได้เบาะแสมาอีกหน่อยครับ ปี พ.ศ 2512 ธนาคารศรีนครได้ขยายกิจการสาขาไปยังส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก โดยได้เริ่มเปิดสาขาหาดใหญ่ เป็นสาขาแรกในส่วนภูมิภาค

หมัดเส้งชู

แนบรูปครับ

นกฮูกตาโต

เข้ามาติดตามต่อ..

มีความเป็นไปได้ไหม ว่าภาพสีซีเปีย จะถ่ายตรงแยกธนาคารนครหลวงไทยจริง ตามแผนที่
เพราะสังเกตว่า ถนนเส้นที่ตัดจากซ้ายไปขวา น่าจะแคบกว่าถนนหน้าแยกวีแอลในปัจจุบัน
 

กิมหยง

เช่นกันครับ แอบดูท่านเทพทั้งหลายวิเคราะห์กัน

หนาวเลย
สร้าง & ฟื้นฟู

ป้าใหญ่


อ้างจาก: พี่แอ๊ด เมื่อ 19:35 น.  11 ก.ย 53
นำภาพนี้ให้คุณพ่อดู  
ท่านบอกว่าเป็นถนนศุภสารรังสรรค์  ประมาณปี 2502

วงกลมสีฟ้า      เป็นร้านอาหารจีน   รับจัดเลี้ยงงานต่าง ๆ
                     ชื่อ  ยวดไล้เฮียง   ปัจจุบันยังเปิดร้าน
                     อยู่ที่จันทร์วิโรจน์
วงกลมสีฟ้า      เป็นร้านขายยาจีนโบราณ  ชื่อ  เต็กแส
                     เจ้าของย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ   ต่อมาขายที่แห่งนี้
                       ให้แก่ร้าน ไฮดี สแนค ๆ    ศิษย์เก่าโรงเรียน
                       ธิดานุเคราะห์
วงกลมสีม่วง     เป็นโรงไม้  
ยังไงก็ให้เจ้าของภาพช่วยเฉลยให้ด้วยนะคะ
และคุณพ่อถามว่า  คนในภาพอยู่บริเวณโรงเรียนวิริยะเธียรหรือเปล่า
                     

ป้าใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาพโดยตรงแต่ว่ามีประสบการณ์ตรงค่ะ ไม่แน่ใจนะคะสำหรับที่วงไว้ แต่ที่คุณพี่แอ๊ดว่าไว้ถูกต้องแล้ว เพียงแต่ร้านบัวลอยสมัยน้ำท่วมไม่ได้อยูตรงนั้น และเคยมีคนเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นตรงฝั่งเดียวกับร้านเจีย เข้าใจว่าปิดไปนานแล้ว สมัยป้าใหญ่เป็นเด็ก กลับจากดูหนัง จะแวะซื้อขนมฝอยทองจากรถเข็นที่จอดตรงหัวมุมหน้าไฮดี (คิดว่า) ปัจจุบัน  ดูที่คุณหมัดเส้งชูทำเครื่องหมายไว้ ถูกต้องแล้วค่ะทั้งสี่จุด

สำหรับคนในภาพมีหลายท่านนะคะ บางท่านอยู่หรือเคยอยู่แถวถนนแสงจันทร์ และใกล้แสงศรี จะพออนุโลมว่าอยู่บริเวณโรงเรียนวิริยะเธียรได้หรือเปล่า ส่วนป้าใหญ่เป็นศิษย์เก่าค่ะ สมัยคุณครูอุดมเป็นเจ้าของ

คนเขารูปช้าง

คุณ นกฮูกตาโต ครับถ้าความจำผมไม่ผิด ตอนซื้อภาพเก่าที่อัดเป็นแบบสีซีเปียจากร้านเจียมา
เขาบอกว่าตึกซ้ายมือคือธนาคารนครหลวงไทย เขาอาจอัดภาพโดยกลับด้านของฟิมล์ก็ได้
ตามแผนผังที่คุณให้มา ผมลองกลับภาพจากซ้ายเป็นขวา แล้วจะสอดคล้องกับแผนผังเลยครับ ดังนี้

นกฮูกตาโต

ผมก็ลองกลับแล้วเหมือนกัน
แต่วิเคราะห์แล้ว การขับขี่รถยนต์ในประเทศไทยต้องชิดซ้ายครับ
ภาพที่กลับจึงไม่น่าจะถูกต้องครับ 

คนเขารูปช้าง

จริงครับผมลืมนึกถึงเรื่องกฏจราจร ถ้างั้นชาวหาดใหญ่ในนี้ต้องช่วยกันหาต่อแล้วละครับ
จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ไม่มีใครโต้แย้งได้ว่าภาพสีซีเปียนี้ถ่ายที่แยกไหนแน่ เพราะผมบ้านอยู่สงขลาแวะไปทำธุระที่หาดใหญ่
ตามแต่โอกาส คงไม่ได้ไปสำรวจพื้นที่จริง

หมัดเส้งชู

ผมนึกว่าจะจบไปแล้ว เอาเป็นว่าผมอธิบาย ไม่ดีไม่ละเอียดเอง
จากรูปซุ้มประตูรับเสด็จเห็นอาคารในรูปตำแหน่งซ้ายมือมั้ยครัย  อาคารหลังนี้จะเป็นตัวเฉลยภาพถ่ายซีเปียเกือบทั้งหมด   
รูปซุ้มประตูนี้ถ่ายจากกลางถนนเพชรเกษมที่มาจากฝั่งหาดใหญ่ก่อนที่จะเลี้ยวซ้ายตรงหน้าเซาะฮึ้ง ลงจากสะพานลอยนั่นละครับ
ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีสะพานลอย  คุณคนเขารูปช้างบอกว่าอาคารยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จมีนั่งร้าน  สองรูปนี้เป็นรูปถ่ายในบริเวณเดียวกัน  แต่ทิศทางตัดกัน   ฉะนั้นอาคารขวามือในรูปซุ้มประตู ก็จะกลายเป็นรูปอาคารซ้ายมือในสีซีเปีย ที่นอกเหนือจากนี้ในคำตอบกระทู้ของผมข้างบนน่าจะอธิบายไว้หมดแล้ว  ถ้าจะให้ผมสรุป ผมก็ขอสรุปว่า ภาพถ่ายซีเปีย ถ่ายก่อน วันที่ 20 มีนาคม 2502 ตำแหน่งที่ถ่ายคือชั้นบนของบริเวณอาคารแถวร้านเซาะอึ้งถ่ายเข้าไปในถนนนิพัทธ์อุทิศ 1

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: คนเขารูปช้าง เมื่อ 03:23 น.  12 ก.ย 53
จริงครับผมลืมนึกถึงเรื่องกฏจราจร ถ้างั้นชาวหาดใหญ่ในนี้ต้องช่วยกันหาต่อแล้วละครับ
จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ไม่มีใครโต้แย้งได้ว่าภาพสีซีเปียนี้ถ่ายที่แยกไหนแน่ เพราะผมบ้านอยู่สงขลาแวะไปทำธุระที่หาดใหญ่
ตามแต่โอกาส คงไม่ได้ไปสำรวจพื้นที่จริง
ภาพถนนศุภสารรังสรรค์ในอดีต   
การจราจรสมัยก่อน   วิ่งสวนกันได้

คนเขารูปช้าง

อ้างจาก: หมัดเส้งชู เมื่อ 14:13 น.  11 ก.ย 53
ผมนึกว่าเฉลยหมดแล้ว...ภาพน้ำท่วมและภาพสีแดง ๆ ของท่านคนเขารูปช้าง ถ่ายจากมุมไหน

สีแดง ซุ้มประตูรับเสด็จปี 2502 มีจุดสังเกตคือ มุมถนนซ้ายมือเป็นธนาครกสิกรไทย ฝั่งถนนขวามือเป็นอาคาร 2 ชั้น  มีอยู่คูหาหนึ่งจำได้ว่าเป็นร้านนาฬิกา พ่อพาไปซื้อนาฬิกาเรือนแรกที่นั่นยี่ห้อ ไซไก้ น่าจะเป็นคราวที่สอบเข้า ญ.ว.ได้ จำลางๆได้ว่าละแวกนั้น มีร้านบาจา ร้านขายรถมอเตอร์ไซด์
http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,9735.0.html

สีเขียวอ่อนภาพถ่ายที่เป็นสีซีเปีย น่าจะเป็นภาพถ่ายจากมุมสูง บริเวณที่เป็นร้านเซาะฮึ้งในปัจจุบัน ถ่ายเข้าไปในถนนนิพัทธ์อุทิศ1 ซ้ายมือเป็นอาคารที่กำลังก่อสร้าง รูปลักษณะเดียวกับกับภาพซุ้มประตูที่อยู่ขวามือ ส่วนซ้ายมือทีเห็นคนยืนอยู่ฟุตบาทค่อนข้าสูงมีจักรยานจอดอยู่ 1 คัน เป็นร้านขายหนังสือชื่อร้านวินิจ  ปัจจุบันเป็นโรงแรมวีแอล  สมัยเมื่อเล็กๆพ่อโอนจักรยานราเล่ห์ให้เคยขี่ไปซื้ออุปกรณ์การเรียน ยังจอดจักรยานไว้ตรงตำแหน่งใกล้ๆนั้นเลย

สีชมพูอ่อน ภาพน้ำท่วมน่าจะเป็นภาพถ่ายจากมุมสูงถ่ายในมุมใกล้เคียงกับสีซีเปีย  ซ้ายมือที่มองเห็นเป็นธนาคารกรุงไทยปัจจุบันรื้อตึกเก่าสร้างใหม่ไม่รู้กี่ชั้น มองลึกเข้าไปเห็นโรงแรมยงดี  ขวามือเห็นป้ายร้านหาดใหญ่สโตร์  จำได้ว่าเดิมย่านบริเวณนี้จะเป็นร้านขายผ้าของพวกแขกซิกซ์มีอยู่ร้านหนึ่งชื่อว่าร้านปากหวานสโตร์

เมื่อผมย้อนกลับไปอ่านที่คุณ หมัดเส้งชู อธิบายไว้ช้าๆและละเอียดอีกครั้ง ผมคิดว่าภาพสีซีเปีย ถ่ายตามแนวสีเขียวอ่อนครับ

ส่วนอาคารที่จุดอ้างอิงปัจจุบันกลายเป็นร้านขายยา ตรงแยกที่ซุ้มรับเสด็จฯ ตั้งอยู่ใช่หรือเปล่า

บริเวณที่รถจักรยานจอดอยู่เป็นที่ตั้งของร้านขายเครื่องเขียน "วินิจ" ที่กว้างขวางในอดีต ผมเคยไปอุดหนุนตอนเรียนอยู่ปี ๑ ที่ มอ.

ผมไปค้นเจอภาพซุ้มรับเสด็จฯ ปี 2502 ตรงแยกที่ลงจากสะพานข้ามทางรถไฟ สามภาพ ขอนำมาประกอบการวิเคราะห์ของหลายๆ
ท่านในที่นี้ และร่วมรำลึกถึงความปลาบปลื้มของชาวหาดใหญ่รุ่น พ่อ-แม่ ที่ได้ร่วมรับเสด็จฯ  ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ครับ

เล่าสู่กันฟัง

เล่าสู่กันฟัง สถิติที่น่ารู้ของน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ในอดีต
   
น้ำท่วมภาคใต้และความเสียหายในอดีต (ของหาดใหญ่)***

ปี พ.ศ. 2376 (ในรัชกาลที่ 3) น้ำท่วมใหญ่ จนท้องนาของราษฎรทำนามิได้ พระยาสงขลา รีบเข้ากรุงเทพ นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วขอรับพระราชทานซื้อข้าวสารออกมาเจือจานราษฎรในเมืองสงขลา 1000 เกวียน

ปี พ.ศ. 2505 (วันที่28 - 30 ตุลาคม) จังหวัดสงขลา พายุโหมภาคใต้ฝนตกหนัก ตายเป็นประวัติการณ์ พายุโซนร้อนจมเรือประมงนับสิบ คนตายนับร้อย

ปี พ.ศ. 2509 (วันที่ 7 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมหาดใหญ่ เสียหายนับล้านๆ บาท ทางรถไฟขาด ถนนถูกน้ำท่วมมิด ต้องใช้เรือยนต์วิ่งรับคนโดยสาร ตลาดทุกแห่งปิดตัวเอง ร้านค้าถูกน้ำท่วม สินค้าเสียหาย มีฝนตกอย่างหนักติดต่อกันหลายวัน น้ำไหลบ่าเข้าท่วมอำเภอหาดใหญ่และรอบนอก สวนยางจมอยู่ในน้ำ น้ำสูงสุดถึง 1.50 เมตร (ในตัวเมืองหาดใหญ่) ราษฎรนับเป็นหมื่นคนกำลังขาดแคลนอาหารบริโภค ทางรถไฟระหว่างสถานีบางกล่ำ-ดินลาน ขาด 15 เมตร ถนนหาดใหญ่-ตรัง ขาด น้ำท่วมมิด

ปี พ.ศ. 2512 (วันที่ 1 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมเมืองนาน 10 ชั่วโมงเส้นทาง หาดใหญ่-สงขลา น้ำท่วม 9 ตอน ถนนเสียหาย สนามบินน้ำท่วม เครื่องบินลงไม่ได้ บ้านเรือนราษฎรในที่ลุ่มรอบอำเภอหาดใหญ่ ถูกน้ำท่วม ถนนหาดใหญ่ -นาทวี-สะเดา น้ำท่วมหลายตอน

ปี พ.ศ. 2516 (วันที่ 10-12 ธันวาคม) พายุฝนตกหนักกระหน่ำติดต่อกันอย่างรุนแรงเป็นเวลา นาน 4 วัน เป็นเหตุให้น้ำบ่าเข้าท่วม ถนนสายต่าง ๆ ในอำเภอหาดใหญ่ การจราจรหยุดชงัก

ปี พ.ศ. 2517 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) พายุฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 5 วัน บริเวณรอบ อำเภอหาดใหญ่ถูกน้ำท่วม น้ำสูงบนถนนวัดได้ถึง 50 ซม.

ปี พ.ศ. 2518 น้ำท่วมภาคใต้ 2 ครั้ง (ต้นปีวันที่ 5-17 มกราคม และปลายปี 6-9 พฤศจิกายน)
จังหวัดสงขลา ที่หาดใหญ่ น้ำบ่าไหลเข้าเมืองอย่างรวดเร็ว การคมนาคมถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ถนนเพชรเกษม จมอยู่ใต้น้ำสูง 1.50 เมตร ร้านค้าขนของหนีน้ำกันอลหม่าน การค้าขายเป็นอัมพาตสิ้นเชิง หน้าค่ายเสนาณรงค์สูงถึงเอว รั้วค่ายถูกน้ำพัดพัง 200 เมตร หลังจากน้ำเริ่มลด เกิดโรคอหิวาต์ระบาดจนคนตายและป่วยอีก


ปี พ.ศ. 2519 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) หาดใหญ่ ฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 7 วัน น้ำท่วม
เขตเทศบาลระดับน้ำสูง 50 ซม. ท่วมถนนสายต่างๆ ทั้งหมด ในท้องถิ่นอำเภออื่นๆ น้ำท่วมทั้งหมด


ปี พ.ศ. 2524 (วันที่ 4 ธันวาคม) อำเภอหาดใหญ่ ระดับน้ำในอำเภอหาดใหญ่สูงขึ้นเรื่อยๆ  สวนยางหลายแห่งถูกน้ำท่วม

ปี พ.ศ. 2527 (วันที่ 5 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา ฝนตกหนักมาก มีน้ำท่วมถนนเป็นบางแห่ง ถนนสายเล็กผ่านไม่ได้

ปี พ.ศ. 2531 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 2000 ล้านบาท  ระดับน้ำในตัวเมืองหาดใหญ่สูงประมาณ 1-2 เมตร


ปี พ.ศ. 2543 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) ประสบภัยพิบัติครั้งมโหฬาร ประเมินความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ ประมาณนับหมื่นล้านบาท ระดับน้ำสูงประมาณ 2-3 เมตร


ล่าสุดครั้งนี้ ปี พ.ศ. 2548 (วันที่ 18 ธันวาคม) ประสบภัยพิบัติอีกครั้ง จากฝนตกหนักหลายวัน น้ำจากคลองอู่ตะเภาไหลล้นตลิ่ง ทำให้ทางฝั่งซีกซ้าย (ทิศตะวันตก) ของหาดใหญ่ มีระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร
เสียหลายล้านบาท รวมทั้งพื้นที่อำเภอโดยรอบ เช่น อำเภอนาทวี เทพา จะนะ ระโนด

   สถิติข้างต้นนี้ เคยเล่าสู่กันฟังกันถึงนักศึกษาและบุคลากร ม.อ.แล้วเมื่อครั้งในอดีต (วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543) ลองทบทวนและระวังภัยต่อไป เพราะโดยเฉลี่ยรอบ 10 ปี ก็จะมีน้ำท่วมใหญ่ 1 ครั้ง
แล้วครั้งต่อไปจะเป็นปีอะไร......ทำนายว่าอาจเป็นปี 2553?
   ปัจจัยหลักที่ทำให้น้ำท่วมคือปริมาณน้ำฝน แต่สิ่งที่หนุนและทำให้น้ำท่วมมากและลดลงช้าและท่วมนานเพราะปัจจัยจากฝีมือมนุษย์ทั้งนั้น เช่น การสร้างเขื่อนที่ยื่นไปในทะเล ถนนหลาย ๆ สายที่ถมดินและปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไหล ฯลฯ  ธรรมชาติให้บทเรียนแก่เราแล้ว ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า  การจะอยู่กับธรรมชาติได้ ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ และต้องไม่เห็นแก่ตัว