ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สถิติน้ำท่วมหาดใหญ่ในอดีต ที่น่ารู้---เตรียมความพร้อมแล้วยัง-----

เริ่มโดย อ-ม.อ.คนหนึ่ง, 20:40 น. 28 ต.ค 53

อ-ม.อ.คนหนึ่ง

เล่าสู่กันฟัง สถิติที่น่ารู้ของน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ในอดีต
   
น้ำท่วมภาคใต้และความเสียหายในอดีต (ของหาดใหญ่)***

ปี พ.ศ. 2376 (ในรัชกาลที่ 3) น้ำท่วมใหญ่ จนท้องนาของราษฎรทำนามิได้ พระยาสงขลา รีบเข้ากรุงเทพ นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วขอรับพระราชทานซื้อข้าวสารออกมาเจือจานราษฎรในเมืองสงขลา 1000 เกวียน

ปี พ.ศ. 2505 (วันที่28 - 30 ตุลาคม) จังหวัดสงขลา พายุโหมภาคใต้ฝนตกหนัก ตายเป็นประวัติการณ์ พายุโซนร้อนจมเรือประมงนับสิบ คนตายนับร้อย

ปี พ.ศ. 2509 (วันที่ 7 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมหาดใหญ่ เสียหายนับล้านๆ บาท ทางรถไฟขาด ถนนถูกน้ำท่วมมิด ต้องใช้เรือยนต์วิ่งรับคนโดยสาร ตลาดทุกแห่งปิดตัวเอง ร้านค้าถูกน้ำท่วม สินค้าเสียหาย มีฝนตกอย่างหนักติดต่อกันหลายวัน น้ำไหลบ่าเข้าท่วมอำเภอหาดใหญ่และรอบนอก สวนยางจมอยู่ในน้ำ น้ำสูงสุดถึง 1.50 เมตร (ในตัวเมืองหาดใหญ่) ราษฎรนับเป็นหมื่นคนกำลังขาดแคลนอาหารบริโภค ทางรถไฟระหว่างสถานีบางกล่ำ-ดินลาน ขาด 15 เมตร ถนนหาดใหญ่-ตรัง ขาด น้ำท่วมมิด

ปี พ.ศ. 2512 (วันที่ 1 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมเมืองนาน 10 ชั่วโมงเส้นทาง หาดใหญ่-สงขลา น้ำท่วม 9 ตอน ถนนเสียหาย สนามบินน้ำท่วม เครื่องบินลงไม่ได้ บ้านเรือนราษฎรในที่ลุ่มรอบอำเภอหาดใหญ่ ถูกน้ำท่วม ถนนหาดใหญ่ -นาทวี-สะเดา น้ำท่วมหลายตอน

ปี พ.ศ. 2516 (วันที่ 10-12 ธันวาคม) พายุฝนตกหนักกระหน่ำติดต่อกันอย่างรุนแรงเป็นเวลา นาน 4 วัน เป็นเหตุให้น้ำบ่าเข้าท่วม ถนนสายต่าง ๆ ในอำเภอหาดใหญ่ การจราจรหยุดชงัก

ปี พ.ศ. 2517 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) พายุฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 5 วัน บริเวณรอบ อำเภอหาดใหญ่ถูกน้ำท่วม น้ำสูงบนถนนวัดได้ถึง 50 ซม.

ปี พ.ศ. 2518 น้ำท่วมภาคใต้ 2 ครั้ง (ต้นปีวันที่ 5-17 มกราคม และปลายปี 6-9 พฤศจิกายน)
จังหวัดสงขลา ที่หาดใหญ่ น้ำบ่าไหลเข้าเมืองอย่างรวดเร็ว การคมนาคมถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ถนนเพชรเกษม จมอยู่ใต้น้ำสูง 1.50 เมตร ร้านค้าขนของหนีน้ำกันอลหม่าน การค้าขายเป็นอัมพาตสิ้นเชิง หน้าค่ายเสนาณรงค์สูงถึงเอว รั้วค่ายถูกน้ำพัดพัง 200 เมตร หลังจากน้ำเริ่มลด เกิดโรคอหิวาต์ระบาดจนคนตายและป่วยอีก


ปี พ.ศ. 2519 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) หาดใหญ่ ฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 7 วัน น้ำท่วม
เขตเทศบาลระดับน้ำสูง 50 ซม. ท่วมถนนสายต่างๆ ทั้งหมด ในท้องถิ่นอำเภออื่นๆ น้ำท่วมทั้งหมด


ปี พ.ศ. 2524 (วันที่ 4 ธันวาคม) อำเภอหาดใหญ่ ระดับน้ำในอำเภอหาดใหญ่สูงขึ้นเรื่อยๆ  สวนยางหลายแห่งถูกน้ำท่วม

ปี พ.ศ. 2527 (วันที่ 5 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา ฝนตกหนักมาก มีน้ำท่วมถนนเป็นบางแห่ง ถนนสายเล็กผ่านไม่ได้

ปี พ.ศ. 2531 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 2000 ล้านบาท  ระดับน้ำในตัวเมืองหาดใหญ่สูงประมาณ 1-2 เมตร


ปี พ.ศ. 2543 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) ประสบภัยพิบัติครั้งมโหฬาร ประเมินความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ ประมาณนับหมื่นล้านบาท ระดับน้ำสูงประมาณ 2-3 เมตร


ล่าสุดครั้งนี้ ปี พ.ศ. 2548 (วันที่ 18 ธันวาคม) ประสบภัยพิบัติอีกครั้ง จากฝนตกหนักหลายวัน น้ำจากคลองอู่ตะเภาไหลล้นตลิ่ง ทำให้ทางฝั่งซีกซ้าย (ทิศตะวันตก) ของหาดใหญ่ มีระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร
เสียหลายล้านบาท รวมทั้งพื้นที่อำเภอโดยรอบ เช่น อำเภอนาทวี เทพา จะนะ ระโนด

   สถิติข้างต้นนี้ เคยเล่าสู่กันฟังกันถึงนักศึกษาและบุคลากร ม.อ.แล้วเมื่อครั้งในอดีต (วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543) ลองทบทวนและระวังภัยต่อไป เพราะโดยเฉลี่ยรอบ 10 ปี ก็จะมีน้ำท่วมใหญ่ 1 ครั้ง
แล้วครั้งต่อไปจะเป็นปีอะไร......ทำนายว่าอาจเป็นปี 2553?
   ปัจจัยหลักที่ทำให้น้ำท่วมคือปริมาณน้ำฝน แต่สิ่งที่หนุนและทำให้น้ำท่วมมากและลดลงช้าและท่วมนานเพราะปัจจัยจากฝีมือมนุษย์ทั้งนั้น เช่น การสร้าง......ที่ยื่นไปในทะเล ถนนหลาย ๆ สายที่ถมดินและปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไหล ฯลฯ  ธรรมชาติให้บทเรียนแก่เราแล้ว ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า  การจะอยู่กับธรรมชาติได้ ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ และต้องไม่เห็นแก่ตัว

พี่แอ๊ด

ขอบคุณค่ะ   
ภาพต่อไปนี้เป็นภาพน้ำท่วมปี 2531
หน้าสถานีรถไฟหาดใหญ่    ปีนั้นกำลังสร้างอาคารพาณิชย์

พี่แอ๊ด

ชุมสายโทรศัพท์หาดใหญ่  หรือ  สำนักงานบริการโทรศัพท์หาดใหญ่
บริเวณหน้าหอนาฬิกา    ปัจจุบันสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่
ต้องการทำเป็นพิพิธภัณฑ์นครหาดใหญ่

พี่แอ๊ด


พี่แอ๊ด

หน้าโรงเรียนแสงทอง
โรงแรม
ตลาดสดหาดใหญ่

พี่แอ๊ด

หลังน้ำลด   แม่ค้านำสินค้ามาขายที่บริเวณวงเวียนน้ำพุหาดใหญ่

พี่แอ๊ด


ผู้น้อย

แล้วพี่แอ๊ด เตรียมย้ายรถแล้วยังค่ะ
ิเห็นว่า ที่ มอ. หรือ โลตัส เขาพร้อมให้จอดรถแล้วคะ

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: ผู้น้อย เมื่อ 22:19 น.  28 ต.ค 53
แล้วพี่แอ๊ด เตรียมย้ายรถแล้วยังค่ะ
ิเห็นว่า ที่ มอ. หรือ โลตัส เขาพร้อมให้จอดรถแล้วคะ
ยังไม่ย้ายรถเลย  นี่ก็ฝนตกอีก   ดึกแล้วด้วย

กิมหยง

ขอบคุณครับ

จากสถิติวันที่ 22 พ.ย. นี้ มีหลายปีเลยนะครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

คลองระบายน้ำสายต่าง ๆ สร้างเสร็จแล้ว หวังว่าคงไม่ท่วมแบบปี 2543 นะครับ

มั่วนิ่ม

ไม่รู้มั่วนิ่มหรือเปล่า...
ปี พ.ศ. 2512 (วันที่ 1 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมเมืองนาน 10 ชั่วโมงเส้นทาง หาดใหญ่-สงขลา น้ำท่วม 9 ตอน ถนนเสียหาย สนามบินน้ำท่วม เครื่องบินลงไม่ได้ บ้านเรือนราษฎรในที่ลุ่มรอบอำเภอหาดใหญ่ ถูกน้ำท่วม ถนนหาดใหญ่ -นาทวี-สะเดา น้ำท่วมหลายตอน
สนามบินเปีดใช้ปี 2515 ถ้าขนาดท่วมสนามบินคนหาดใหญ่ไม่ตายกันครึ่งเมืองค่อนเมืองหรือ...หรือว่าท่วมสนามบินสงขลา )55 )55 )55

ไม่น่าจะมั่วนิ่มนะ

ไม่น่าจะมั่วนิ่มนะ
คัดมาจากจาก.............

***เอกสารจากการสัมมนาเรื่อง อุทกภัยภาคใต้โศกนาฏกรรมที่น่าจะหลีกเลี่ยงได้ ? เล่ม 1 โดย
สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม 18-19 มค. 2532 กรุงเทพ.***

เป็นข้อมูลที่ยืนยันได้
แต่หากผิดพลาด ก็ขออภัยด้วย  (อาจจะท่วมบริเวณสนามบิน น้ำไหลไม่ทันหรือเปล่า?)


ศิษย์เก่า ญว. 13

ปี 2512  กำลังสร้างสนามบินหาดใหญ่ อยู่ครับ  ตอนนั้น ผมกำลังเรียน มศ.2  ที่ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อาคาร 2  (สมบูรณ์กูลกัลยา- หาดใหญ่ใน)  ก็ได้อาศัย ติดรถของบริษัทวิจิตรภัณฑ์ฯ บริษัทที่รับเหมาสร้างสนามบิน เดินทางจากไซท์งานสร้างสนามบิน มาเรียนหนังสือที่หาดใหญ่ในทุกวันครับ   และปีนั้น  น้ำก็ท่วมหาดใหญ่ จริงครับ  แต่สนามบินที่กำลังก่อสร้าง น้ำไม่ได้ท่วม  และจะไม่มีวันท่วม แน่นอนครับ เพราะสนามบินหาดใหญ่ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ถึง 20  เมตร  ถ้าจะท่วม ก็คงเป็นรอบๆสนามบิน เท่านั้น เช่น คลองหลา โคกม่วง ควนลัง และโดยเฉพาะคลองอู่ตะเภาซึ่งอยู่ห่างจากสนามบินไปทางตะวันออกประมาณ 3 กม.(บางศาลา ,โคกขี้เหล็ก)  ท่วมทุกครั้ง และท่วมมากด้วย

สรุป ข้อมูลสถิติที่มีอยู่ไม่ผิด ครับ ขอยืนยัน


ศิษย์เก่า ญว. 13

ปี 2512  กำลังสร้างสนามบินหาดใหญ่ อยู่ครับ  ตอนนั้น ผมกำลังเรียน มศ.2  ที่ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อาคาร 2  (สมบูรณ์กูลกัลยา- หาดใหญ่ใน)  ก็ได้อาศัย ติดรถของบริษัทวิจิตรภัณฑ์ฯ บริษัทที่รับเหมาสร้างสนามบิน เดินทางจากไซท์งานสร้างสนามบิน มาเรียนหนังสือที่หาดใหญ่ในทุกวันครับ   และปีนั้น  น้ำก็ท่วมหาดใหญ่ จริงครับ  แต่สนามบินที่กำลังก่อสร้าง น้ำไม่ได้ท่วม  และจะไม่มีวันท่วม แน่นอนครับ เพราะสนามบินหาดใหญ่ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ถึง 20  เมตร  ถ้าจะท่วม ก็คงเป็นรอบๆสนามบิน เท่านั้น เช่น คลองหลา โคกม่วง ควนลัง และโดยเฉพาะคลองอู่ตะเภาซึ่งอยู่ห่างจากสนามบินไปทางตะวันออกประมาณ 3 กม.(บางศาลา ,โคกขี้เหล็ก)  ท่วมทุกครั้ง และท่วมมากด้วย

สรุป ข้อมูลสถิติที่มีอยู่ไม่ผิด ครับ ขอยืนยัน


อ-ม.อ.คนหนึ่ง บุคคลทั่วไป

เห็นใจสมาชิกชาวกิมหยงทุกท่านที่ประสบอุทกภัย
ไม่อยากให้ที่ทายไว้เป็นจริง และภาวะนาตลอดว่ามันไม่ควรเกิดขึ้น
และขอให้ไม่เกิดขึ้นอีก (แต่มันก็จะเกิดขึ้นอีก ใน 7 ปีข้างหน้า ???)
แต่....แต่ ด้วยที่ตั้งภูมิประเทศของหาดใหญ่
การขยายเมืองอย่างมากโดยไม่มีระบบ วางผังเมือง
ความเห็นแก่ตัว การปลูกสร้างพื้นที่ขวางทางน้ำ ถนน
ท่าเรือ หมู่บ้าน สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ
แม้คลอง ร  และแก้มลิง ก็ช่วยได้มากๆ ช่วยระบายน้ำได้เร็วเท่านั้น
แต่ปริิมาณน้ำที่มากๆๆๆ ทุกอย่างที่ทำไว้
เป็น scale เล็กมาก  รองรับไม่พอ
แล้วถ้าขยายคลอง ร ให้กว้าง เพิ่้มคลอง ร อีก เพิ่มแก้มลิงได้หรือไม่?
เพิ่มสะพานให้มากๆๆ  ขุดท่อลอดมากๆๆๆ   ยังจะแก้ปัญหาได้หรือไม่?

คำตอบ คือไม่ .... เพราะ....

เป็นห่วงเพื่อนๆๆ ระวัง หาดใหญ่น้ำท่วมซ้ำ 2  ดูสถิติเมื่อปี พ.ศ. 2518
หาดใหญ่น้ำท่วมซ้ำ 2 ครั้ง ??????

wachi29

เมื่อปีที่แล้วบ้านผมท่วม 21 พฤศจิกายน ตอนนี้ก็เลยยังไว้ใจไม่ได้