ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สงขลา....มณฑลนครศรีธรรมราช...เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม)

เริ่มโดย หมัดเส้งชู, 19:49 น. 22 ต.ค 53

หมัดเส้งชู

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ร่วมรำลึก ๑ ศตวรรษ สวรรคตพระพุทธเจ้าหลวง

หมัดเส้งชู

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ ร่วมรำลึก ๑ ศตวรรษ สวรรคตพระพุทธเจ้าหลวง

ข้าวเหนียวมะม่วง

ผมสงสัยเรื่องนึงอะครับ ว่าทำไมสงขลาจึงเป็นที่ตั้งของศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ทำไมไม่ใช้ชื่อว่ามณฑลสงขลา ทั้งที่ตั้งที่ทำการอยู่ที่นี้ ถ้าเกิดว่าเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช แล้วทำไมไม่ไปตั้งที่นครศรีธรรมราชอะครับ สงสัยมากเลย ใครพอทราบช่วยให้คำตอบผมหน่อยครับ
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"

หมัดเส้งชู

ไม่ทราบว่าคำอธิบายในหนังสือเล่มนี้...พอที่จะให้คำตอบได้มั้ยครับ...

...เมื่อเจ้าพระยายมราชยังเป็นที่พระวิจิตรวรสาสน์กลับมาจากยุโรปในตอนต้น พ.ศ. ๒๔๓๗ นั้น ขาดจากหน้าที่และตำแหน่งเดิมทั้งที่เป็นครูพระเจ้าลูกเธอและเป็นเลขานุการใน สถานทูต ฐานะเป็นผู้ว่างราชการ ทั้งตัวท่านก็อยากจะมาทำราชการอยู่ด้วยกันกับข้าพเจ้าตัวข้าพเจ้าก็อยากได้ ท่านด้วย เพราะกำลังเสาะหาคนสำหรับส่งไปรับราชการหัวเมือง ก็รีบกราบบังคมทูลขอและได้พระวิจิตรวรสาสน์มารับราชการในกระทรวงมหาดไทย แต่ข้าพเจ้าคิดเห็นว่าตัวท่านเคยรับราชการในกรุงแต่เป็นครู และเป็นอยู่ไม่ช้านักก็ออกไปอยู่ในยุโรปเสียช้านาน ควรให้มีเวลาศึกษาหาความรู้ที่ยังบกพร่องเสียก่อน เผอิญในเวลานั้นตำแหน่งเลขานุการประจำตัวเสนาบดีว่าง ด้วยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีดำรัสขอเจ้าพระยาพระเสด็จ (ม.ร.ว.เปีย มาลากูล) เมื่อยังเป็นพระมนตรีพจนกิจไปเป็นพระครูสอนหนังสือไทยถวายสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทรงศึกษา อยู่ในยุโรป ได้พระวิจิตรวรสาสน์มาก็พอดี จึงให้เป็นตำแหน่งเลขานุการประจำตัวข้าพเจ้าแทนพระมนตรีพจนกิจ เป็นตำแหน่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าพระยายมราชในเวลานั้น เพราะอยู่ใกล้ชิดติดตัวเสนาบดีอยู่เสมอ ได้เห็นการงานในกระทรวงและได้รู้นโยบายที่จัดการปกครองหัวเมืองยิ่งกว่าเป็น ตำแหน่งอื่น ถ้าทำการในตำแหน่งเลขานุการไป ผู้ทรงคุณวุฒิเช่นท่านคงจะได้เป็นตำแหน่งชั้นสูงมิเร็วก็ช้า แต่เผอิญมีเหตุเกิดขึ้นคล้ายกับบุญมาหนุนหลังเจ้าพระยายมราชอีกโดยมิได้มี ใครคาด ด้วยเมื่อท่านเป็นตำแหน่งเลขานุการยังไม่ทันถึงปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้รวมหัวเมืองทั้งหมดมาขึ้นกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมาแล้ว พอรวมหัวเมืองแล้วไม่ช้าพระยาทิพโกษา (มหาโต โชติกเสถียร) ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกอยู่ ณ เมืองภูเก็ตแต่เมื่อยังขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหม มีใบบอกเข้ามายังข้าพเจ้าว่าเกิดอาการเจ็บป่วยขอลาพักรักษาตัวสัก ๖ เดือน ขอให้ข้าพเจ้าส่งใครไปรักษาราชการแทนในเวลาที่ป่วยนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกน้อยใจเพราะหัวเมืองทางนั้นเพิ่งโปรดให้โอนมาขึ้นกระทรวง มหาดไทยข้าพเจ้ายังไม่ทันจะรู้การงาน ควรที่พระยาทิพฯ ซึ่งเคยเป็นมิตรกับข้าพเจ้ามาแต่ก่อนจะอยู่ช่วยข้าพเจ้า กลับมาลาพักเสีย ถ้าจะไม่รับลาก็จะต้องอ้อนวอนห้ามปราม นึกว่าข้าพเจ้าเป็นตำแหน่งเสนาบดีเจ้ากระทรวง ถ้าต้องอ้อนวอนงอนง้อผู้น้อยก็เหมือนตัวอย่างไม่ดีให้เกิดขึ้น จึงตกลงปลงใจว่าจะยอมรับลาและส่งคนอื่นไปแทนตามประสงค์ แต่เมื่อคิดหาตัวผู้ที่จะส่งไปรั้งการมณฑลภูเก็ตยังคิดไม่เห็นใคร เวลานั้นเผอิญเจ้าพระยายมราชเอาหนังสือเข้าไปเสนอตามหน้าที่เลขานุการ พอข้าพเจ้าเห็นก็นึกได้ว่าพระวิจิตรนี้เองเป็นเหมาะดี ด้วยมีสติปัญญาอัธยาศัยพอจะไม่ไปทำให้เสื่อมเสียอย่างใดได้ จึงเล่าเรื่องความลำบากของข้าพเจ้าให้ท่านฟังดังกล่ามาแล้ว ถามท่านว่าจะรับอาสาไปได้หรือไม่ ท่านตอบว่าข้าพเจ้าเห็นท่านจะทำราชการอย่างใดได้ก็แล้วแต่ข้าพเจ้าจะใช้ ส่วนตัวท่านเองนั้นหามีความรังเกียจไม่ ข้าพเจ้าก็กราบทูลเรื่องพระยาทิพฯ ขอลาพักรักษาตัวและจะให้พระวิจตรฯ ออกไปรักษาราชการแทนชั่วคราว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตจึงมีท้องตราอนุญาตไปยังพระยาทิพฯ และจัดการหาเรือให้พระวิจิตรฯ จากกรุงเทพฯ ไป เพราะการเดินทางไปเมืองภูเก็ตในสมัยนั้นทางใกล้กว่าทางอื่นต้องไปเรือ จากกรุงเทพฯ ไปขึ้นที่เมืองสงขลาแล้วเดินบกไปผ่านเมืองไทรบุรีไปลงเรือเมล์ที่เมืองปินัง ไปยังเมืองภูเก็ต พอเจ้าพระยายมราชลงเรือออกจากกรุงเทพฯ ไปแล้ว ทางฝ่ายเมืองภูเก็ตพระยาทิพฯ (ชรอยจะทราบว่าข้าพเจ้าขัดใจ) ก็มีใบบอกเข้ามาว่าจะงดการลา ข้าพเจ้าไม่ต้องส่งใครไปรักษาการแทนก็ได้เจ้าพระยายมราชออกไปถึงเมืองสงขลา ก็ได้ทราบข่าวนั้น บางทีพระยาทิพฯ จะบอกมาให้ทราบด้วยถึงถามมาว่าจะให้กลับกรุงเทพฯหรือทำอย่างไรต่อไป ข้าพเจ้าคิดเห็นว่าเมื่อเจ้าพระยายมราชจะไปก็ได้กราบถวายบังคมลา คนทั้งหลายรู้อยู่ทั่วกัน ออกไปครึ่งทางยังไม่ทันได้ทำอะไรจะสั่งให้กลับเข้ามาเปล่าๆ ดูน่าละอายอยู่ จะทูลเสนอให้ท่านเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชก็ขัดข้องอยู่ เพราะตัวท่านเป็นแต่พระวิจิตรวรสาสน์ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ยังไม่สู้เคยคุ้นนัก เกรงจะไม่โปรดข้าพเจ้าจึงกราบบังคมทูลขอให้เจ้าพระยายมราช (เมื่อยังเป็นพระวิจิตรวรสาสน์) เป็นข้าหลวงพิเศษตรวจการที่เมืองสงขลาและเมืองนครศรีธรรมราชให้รู้ว่า ระเบียบการปกครองท้องที่ใน ๒ จังหวัดนั้นจัดกันมาอย่างไรให้ทำรายงานมาเสนอ เพื่อประกอบความคิดที่จะจัดมณฑลเทศาภิบาลต่อไป ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตจึงสั่งไปยังเจ้าพระยายมราชให้พักอยู่เมือง สงขลาเที่ยวตรวจราชการ ๒ จังหวัดนั้นเสียก่อน เสร็จแล้วจึงกลับมา

หมัดเส้งชู

ตรงนี้จะต้องเล่าเรื่องประวัติ ๒ จังหวัดนั้นแทรกลงสักหน่อยจังหวัดนครศรีธรรมราชกับจังหวัดสงขลาเป็นคู่แข่ง กันมาตั้งแต่รัชชกาลที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชก็อยู่แต่ในสกุลณนครผู้ว่าราชการจังหวัด สงขลาก็อยู่แต่ในสกุลณสงขลาสืบมาตั้งแต่รัชชกาลที่ ๑ ไม่เคยมีคนสกุลอื่นเข้าไปแทรกแซง เวลาเมื่อโอนหัวเมืองทั้ง ๒ นั้นมาขึ้นกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาว่าง พระยาวิเชียรคิรี (ชม ณ สงขลา) เมื่อยังเป็นที่พระยาสุนทรานุรักษเป็นผู้รั้งราชการจังหวัด ส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม ณ นคร) เมื่อยังเป็นที่พระยาศรีธรรมราช ผู้ว่าราชการจังหวัด (แต่มีผู้ฟ้องต้องถูกกักตัวอยู่ในกรุงเทพฯ หลายปี จนรวมหัวเมืองมาขึ้นกระทรวงมหาดไทยข้าพเจ้าจึงให้ท่านกลับออกไปว่าราชการตาม เดิม) เวลานั้นรู้กันอยู่แล้วว่าคงรวมจังหวัดนครศรีธรรมราชกับจังหวัดสงขลาและ จังหวัดพัทลุงเป็นมณฑลเทศาภิบาลอันหนึ่ง แต่ยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล ข้าพเจ้าอยากจะสงสัยต่อไป ว่าในเวลานั้นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีก็เกรงว่าพระยาวิเชียรคิรีจะได้เป็นเทศาฯ เพราะตัวท่านแก่ชราเสียแล้ว ฝ่ายข้างพระยาวิเชียรคิรีก็เกรงว่าเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีจะได้เป็นเทศาฯ เพราะมีบรรดาศักดิ์สูงกว่าผู้อื่นในมณฑลนั้น ที่จริงข้าพเจ้าก็ยังไม่ได้คิดหาตัวผู้จะเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรี ธรรมราช แต่ชอบพอคุ้นเคยกับเจ้าพระยาสุธรรมมนตรีและพระยาวิเชียรคิรีอยู่แล้วทั้ง ๒ คน


เมื่อเจ้าพระยายมราชแรกไปถึงเมืองสงขลาในตอนที่จะไปเมือง ภูเก็ต พระยาวิเชียรคิรีได้รู้จักก็ชอบอัธยาศัยเริ่มสมัคร์สมานเป็นมิตรกันมากับพระ วิจิตรวรสาส์นแต่ชั้นนั้นแล้ว แต่ทั้ง ๒ คนก็เห็นจะยังไม่ได้คิดว่าเจ้าพระยายมราชจะได้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลเพราะยศ ยังเป็นแต่ชั้นพระและจะไปราชการทางหนึ่งต่างหาก แต่เมื่อมีตราตั้งพระวิจิตรวรสาส์นเป็นข้าหลวงตรวจการ ชรอยพระยาวิเชียรฯ จะนึกคาดการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเป็นคนฉลาดและมีมิตรสหายในกรุงเทพฯ มาก แม้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระเมตตาปราณี พระยาวิเชียรฯ ก็เข้าอุดหนุนพระวิจิตรวรสาส์นให้ตรวจการได้สดวก และแสดงความประสงค์ต่อไป ว่าอยากจะจัดการเมืองสงขลาให้เข้าระเบียบใหม่ที่กระทรวงมหาดไทยจัดทางหัว เมืองชั้นใน ขอให้เจ้าพระยายมราชช่วยชี้แจงแบบแผนให้ทราบว่าควรจะจัดอย่างไร เจ้าพระยายมราชมีจดหมายลับมาหารือ ข้าพเจ้าก็ตอบไปให้ช่วยแนะนำพระยาวิเชียรคิรีตามประสงค์แต่นั้นที่เมือง สงขลาก็เริ่มจัดการปกครองท้องที่ตามระเบียบใหม่ด้วยอาศัยพระวิจิตรวรสาส์นอ อกความคิดและพระยาวิเชียรคิรีเป็นผู้จัด ความเจริญก็เกิดขึ้นในจังหวัดสงขลาก่อน ครั้นข่าวเล่าลือไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีก็เร่งพระวิจิตรวรสาส์นให้ไปเมืองนครศรีธรรมราช อาศัยกรณีย์อันมิได้คาดไว้ก่อนเกิดขึ้นอย่างนั้น เกียรติคุณของเจ้าพระยายมราชก็ปรากฎแพร่หลายไปตลอดมณฑล ตั้งแต่ยังเป็นที่พระวิจตรวรสาส์น

หมัดเส้งชู


MUD

เอามาไว้ใกล้ๆเรื่องยังไม่จบ...ยังไม่ได้ตั้งมณฑลเลย )123456 )123456 )123456