ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ตอบ

รูปแนบ: (ล้างรูป)
Restrictions: 10 per post (10 remaining), maximum total size 6.40 MB, maximum individual size 4.88 MB
เลือกที่นี่เพื่อลบไฟล์แนบของคุณ
คลิกเพื่อใส่รูปหรือลากรูปมาวางตรงนี้
ตัวเลือกเพิ่มเติม...
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวสุดท้าย:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง

สรุปหัวข้อ

กระทู้โดย ผู้เฒ่าเต่า
 - 08:49 น. 09 ก.ย 54
อ้างถึงถ้า"หวังดี"จริงๆต้องรู้จักปัดฝุ่นของเก่ามาใช้
ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้

อ้างจาก: นักศึกษา เมื่อ 21:10 น.  08 ก.ย 54
ผมเป็นนักศึกษา ในเขต พท.จังหวัดสงขลา มีความคิดเห็นให้สร้างท่าเรือแห่งที่2 อย่างยิ่ง เนื่องจาก จะได้มีการพัฒนาในหลายๆด้าน ซึ่ง จำเป็นต้องสร้างใหม่ทั้งหมด หากนำของเก่ามาปัดฝุ่นใหม่ เช่น ระดับความลึกที่เข้าท่า ของเก่า 5-6ม. 5ถือว่าเป็นระดับที่ตื้นมาก ไม่เหมาะที่เรีอใหญ่จะเทียบท่า หากจะขุดร่องน้ำขึ้นใหม่ก็ไม่ต่างอะไรที่จะสร้างของใหม่ ที่ทันสมัยกว่า เทคโนโลยีที่ดีกว่า อาจเป็นการเพิ่มตลาดแรงงานจำนวนมาก และทำให้เกิดการลงทุนจำนวนมากจากต่างชาติ
รัฐก็มีหน้าที่จัดสรรค์ พท.ให้เป็นระเบียบให้ดีก็พอแล้ว และหากสร้างจริงก็ควรสร้างให้ดีกว่าคู่แข่งหลักเช่น ท่าเรือปีนัง และท่าเรือสิงค์โปร์ด้วยครับ
ปล.หากข้อความนี้ไปกระทบกระเทือนความคิดหรือความเชื่อของผู้ใดก็ขอ อภัยในที่นี้ด้วยครับ เพราะนักศึกษาก็อยากแสดงความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ครับ

              ดีครับสำหรับความคิดที่ช่วยกันคิด

ที่ว่ามาก็ไม่ผิดครับเพราะส่วนมากของใหม่ต้องดีกว่า แต่ก็ไม่ใช่้ว่าของเก่าจะแย่เสียทีเดียว 
ผมว่าคงต้องดูเป็นกรณีไปครับ ถ้าบอกว่าเอาของเก่ามาปัดฝุ่นอยากให้เน้นโครงการหลาย ๆ
โครงการที่ทำแล้วไม่ได้ดูแลให้นำมาปรับปรุงให้ดีก่อนที่จะทำอะไรใหม่ครับน่าจะเป็นอย่าง
นั้น อย่าให้เสียจัดไปทำนองนั้น   ส.หลก ส.หลก ส.หลก

กระทู้โดย นักศึกษา
 - 21:10 น. 08 ก.ย 54
ผมเป็นนักศึกษา ในเขต พท.จังหวัดสงขลา มีความคิดเห็นให้สร้างท่าเรือแห่งที่2 อย่างยิ่ง เนื่องจาก จะได้มีการพัฒนาในหลายๆด้าน ซึ่ง จำเป็นต้องสร้างใหม่ทั้งหมด หากนำของเก่ามาปัดฝุ่นใหม่ เช่น ระดับความลึกที่เข้าท่า ของเก่า 5-6ม. 5ถือว่าเป็นระดับที่ตื้นมาก ไม่เหมาะที่เรีอใหญ่จะเทียบท่า หากจะขุดร่องน้ำขึ้นใหม่ก็ไม่ต่างอะไรที่จะสร้างของใหม่ ที่ทันสมัยกว่า เทคโนโลยีที่ดีกว่า อาจเป็นการเพิ่มตลาดแรงงานจำนวนมาก และทำให้เกิดการลงทุนจำนวนมากจากต่างชาติ
รัฐก็มีหน้าที่จัดสรรค์ พท.ให้เป็นระเบียบให้ดีก็พอแล้ว และหากสร้างจริงก็ควรสร้างให้ดีกว่าคู่แข่งหลักเช่น ท่าเรือปีนัง และท่าเรือสิงค์โปร์ด้วยครับ
ปล.หากข้อความนี้ไปกระทบกระเทือนความคิดหรือความเชื่อของผู้ใดก็ขอ อภัยในที่นี้ด้วยครับ เพราะนักศึกษาก็อยากแสดงความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ครับ
กระทู้โดย ลูกแมวตาดำๆ
 - 18:08 น. 08 ก.ย 54
อ้างจาก: ลุงป.4 เมื่อ 16:29 น.  08 ก.ย 54
โครงการก่อสร้างใหญ่ๆมักจะมีกำเนิดจากสมองของนักการเมืองเป็นหลัก มีทั้งหวังดีและหวัง% แต่ที่แล้วๆมา"หวัง%"เกือบทั้งนั้น ที่สร้างแล้วทิ้งให้หมาไปขี้ไปเยี่ยวก็เยอะ ถ้า"หวังดี"จริงๆต้องรู้จักปัดฝุ่นของเก่ามาใช้

ส.ยกน้ิวให้  ถ้า"หวังดี"จริงๆต้องรู้จักปัดฝุ่นของเก่ามาใช้
กระทู้โดย ลุงป.4
 - 16:29 น. 08 ก.ย 54
โครงการก่อสร้างใหญ่ๆมักจะมีกำเนิดจากสมองของนักการเมืองเป็นหลัก มีทั้งหวังดีและหวัง% แต่ที่แล้วๆมา"หวัง%"เกือบทั้งนั้น ที่สร้างแล้วทิ้งให้หมาไปขี้ไปเยี่ยวก็เยอะ ถ้า"หวังดี"จริงๆต้องรู้จักปัดฝุ่นของเก่ามาใช้
กระทู้โดย ทีมงานบ้านเรา
 - 15:21 น. 08 ก.ย 54
กรมเจ้าท่ารีบปิดเวที"ท่าเรืออเนกประสงค์ทะเลสาบสงขลา"หลังถูกต้านไม่เหมาะสม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 กันยายน 2554 11:42 น.    

[attach=1]
   
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ประชาชนส่งเสียงไม่เห็นด้วยโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ในเมือง สงขลา เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งทะเลสงขลาตอนล่าง ซึ่งเปิดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นครั้งแรก โดยเทศบาลนครสงขลาชงเรื่องให้กรมเจ้าท่าดำเนินการ ฉะสร้างท่าเรือในเมืองมีแต่ปัญหาและผลกระทบทั้งทางบกและทางน้ำ แต่ท่าเรือที่มีอยู่แล้วมากมายไม่เคยได้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ แนะให้ไปรวมกับโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา 2 ทำให้เจ้าภาพต้องรีบปิดเวทีก่อนเวลา
       
       วันนี้ (8 ก.ย.) ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมราชมังคลา พาวิลเลียนบีช รีสอร์ท อ.เมือง จ.สงขลา กรมเจ้าท่าเปิดเวทีสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือเอนก ประสงค์ สนับสนุนกิจกรรมการขนส่งทางน้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งใช้เวลาศึกษาโครงการนาน 15 เดือน
       
       นายปกรณ์ ประเสริฐวงษ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า แม้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการดำเนินกิจการท่าเทียบเรือประเภทต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง บริเวณชายฝั่งด้าน อ.เมืองสงขลา ให้เชื่อมออกสู่ทะเลอ่าวไทย แต่ท่าเทียบเรือต่างๆ ก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นท่าเทียบเรือขนส่งสินค้าขนาดเล็กของบริษัทเอกชน, ท่าเทียบเรือสนับสนุนการสำรวจและผลิตน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย, ท่าเทียบเรือประมงของภาครัฐและเอกชน

       [attach=2]

       ด้าน ดร.เชิดวงศ์ แสงศุภวานิช กล่าวถึงที่มาว่า ภายหลังจากที่เทศบาลนครสงขลาได้เสนอโครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบ เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ เพื่อสนับสนุนกิจการขนส่งทางน้ำ กิจการประมง และการท่องเที่ยวในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนล่างมายังกรมเจ้าท่า จึงได้มีการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาท่าเทียบเรือมีทั้งหมด 3 บริเวณ คือ
       
       1.บริเวณท่าเรือสะพานไม้ ติดกับท่าเรือประมงในปัจจุบัน ซึ่งมีโครงสร้างสนับสนุนการประมงเพียบพร้อมอยู่แล้วโดยไม่ต้องสร้างอะไร เพิ่ม และมีระบบสาธารณูปโภคค่อนข้างสมบูรณ์ มีความยาวหน้าท่าประมาณ 110 เมตร ระดับน้ำมีความเชี่ยวสูงทำให้เกิดการตกตะกอน จะต้องมีการขุดลอกร่องน้ำประมาณ 2 ปี/ครั้ง
       
       2.ท่าเรือเก่า บริเวณถนนนครนอก อยู่ใกล้กับพื้นที่แรก จึงมีมีโครงสร้างสนับสนุนการประมงเพียบพร้อมแล้วเช่นกัน มีอาคารร้านค้า และระบบสาธารณูปโภคสมบูรณ์เช่นเดียวกัน มีความยาวหน้าท่าประมาณ 200 เมตร
       
       3.บริเวณชุมชนแหล่งพระราม หน้าวัดแหลมทราย เป็นที่ตั้งของชุมชนจึงไม่มีโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการประมงอยู่เลย แต่มีระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน มีความยาวหน้าท่าประมาณ 375 เมตร
       
       อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ต้องศึกษาความเหมาะสมทั้งในด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์ และความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะต้องมีการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) หรือ EIA ซึ่งจะต้องให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นผู้พิจารณา
       
       นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา กล่าวแสดงความคิอเห็นว่า ในอดีต จ.สงขลา เคยได้รับอานิสงค์ด้านการท่องเที่ยวจากการเข้ามาของเรือสตาร์ครูซ แต่ละเดือนมีการจับจ่ายเงินท่องเที่ยวกว่า 10 ล้านบาท/เดือน แต่ด้วยความไม่สะดวกสบายจึงหายไป และเข้าท่าเรือที่ภูเก็ตแทน แต่วัตถุประสงค์ของท่าเรือที่กำลังศึกษานี้ส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการท่อง เที่ยวเพื่อให้มีศักยภาพอย่างแท้จริงแล้ว ควรจะต่อยอดจากโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา 2 ให้รองรับการท่องเที่ยวได้นั้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่า
       
       ขณะที่ นายโสภณ ชุมยวง อดีตรองนายกสมาคมประมง จ.สงขลา และตัวแทนชาวประมงจากชุมชนแหล่งพระราม กล่าวว่า ที่ผ่านมา จ.สงจลา มีการก่อสร้างท่าเรือเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีการบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ทำให้มีท่าเรือที่ก่อสร้างเสร็จแล้วใช้ผิดวัตถุประสงค์ อีกกำลังมีโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 ที่ อ.จะนะ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณมหาศาล
       
       เช่นเดียวกับครั้งนี้ที่มีความต้องการให้โครงการก่อสร้างท่าเทียบ เรืออเนกประสงค์เกิดขึ้นแต่ไม่เคยคำนึงถึงการจัดการด้านการเดินเรือ สิ่งกีดขวางและปัญหาการจราจรทางเรือด้วย เพราะทะเลสาบสงขลามีทางเข้าแค่ทางเดียวและมีท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาตั้ง อยู่แล้ว หากจะก่อสร้างอีกก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้งานด้วย อย่าให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นศาลาเอนกประสงค์และเกิดผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ บริเวณก่อสร้าง ดังนั้น ในนามของตัวแทนชุมชนแหล่งพระรามไม่เห็นด้วยต่อการก่อสร้างท่าเรือเอนก ประสงค์ครั้งนี้
       
       ส่วนนายไกรเลิศ เรืองสงฆ์ สมาชิกสภาเทศบาลนครสงขลา กล่าวว่า แม้โครงการนี้จะผลักดันจากเทศบาลนครหาดใหญ่ แต่ตนมีความคิดเห็นที่จะไม่สนับสนุนให้สร้างท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ในเมือง ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชน การจราจรทั้งทางบก ต้องมีรถและเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าเมืองมีผลต่อความสั่นสะเทือน แม้แต่กำแพงเมืองเก่าก็พังลงได้ และปัญหาการจราจรทางน้ำ เดิมนั้นมีท่าเทียบประมงสงขลาเก่าหน้าท่ายาว 160 เมตร แต่เทศบาลนครสงขลากลับให้เอกชนเช่าเป็นเวลา 30 ปี โดยรับเงินค่าเช่าแค่เดือนละ 80,000 บาท ซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนและไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับส่วนรวมได้ ไม่นับรวมท่าเทียบเรือที่มีอยู่แล้วซึ่งสามารถนำมาพัฒนาและส่งเสริมโดยไม่ ต้องลงทุนใหม่ให้เปลืองงบประมาณอีก แต่หากมีความตั้งใจจะพัฒนาแล้วควรไปทำร่วมกับโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึก อุตสาหกรรมดีกว่า
       
       เช่นเดียวกับผู้เข้าประชุมคนอื่นๆ ที่ล้วนกล่าวถึงประเด็นปัญหาการบริหารจัดการท่าเรือที่มีอยู่แล้วที่ไม่มี ระเบียบ ทำให้ขาดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และหากเมื่อไหร่ที่การก่อสร้างท่าเรือมีความจำเป็นจริงๆ แล้ว ชาวบ้านก็จะเห็นด้วยและไม่คัดค้านดังเช่นครั้งนี้
       
[attach=3]
นายโสภณ ชุมยวง ตัวแทนชุมชนแหล่งพระราม หนึ่งในพื้นที่ที่เหมาะสมสร้างท่าเรือเอนกประสงค์

[attach=4]
นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยว จ.สงขลา เสนอให้พัฒนาท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา 2 เพื่อใช้เอนกประสงค์เพื่อรองรับเรือท่องเที่ยวได้ด้วย แทนการสร้างในทะเลสาบสงขลา

[attach=5]
นายไกรเลิศ เรืองสงฆ์ ชี้ปัญหาของสงขลาคือมีท่าเรือแต่ไม่ใช้ประโยชน์เต็มที่และพัฒนาปรับปรุง การสร้างใหม่จึงไม่มีความจำเป็นในขณะนี้