ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ตอบ

รูปแนบ: (ล้างรูป)
Restrictions: 10 per post (10 remaining), maximum total size 6.40 MB, maximum individual size 4.88 MB
เลือกที่นี่เพื่อลบไฟล์แนบของคุณ
คลิกเพื่อใส่รูปหรือลากรูปมาวางตรงนี้
ตัวเลือกเพิ่มเติม...
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวสุดท้าย:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง

สรุปหัวข้อ

กระทู้โดย ฅนสองเล
 - 17:21 น. 29 พ.ย 53
เครือข่ายค้านต่อสัญญาเหมืองหินสงขลา จี้รัฐแก้ไขปัญหาผลกระทบ-ต่ออายุประทานบัตร
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 พฤศจิกายน 2553 14:03 น.
   
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองหินเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา จี้นายกฯ เร่งติดตามความคืบหน้ากรณีขอชะลอการต่ออายุประทานบัตรให้แก่ 2 บริษัท หลังจากที่ยื่นหนังสือแล้วไม่มีความคืบหน้านานกว่า 1 ปี ขณะที่ชาวบ้านต้องทนรับผลกระทบด้านต่างๆ กว่า 10 ปี โดยป่วยทางเดินหายใจเข้าข่ายผู้ป่วยโรคฝุ่นปอดใยหิน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ชี้ความไม่ชอบมาพากล ทั้งการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และมีการส่งหินไปขายที่อินเดียกว่า 60%
       
       จากกรณีที่เครือข่ายคัดค้านการต่อสัญญาเหมืองหินเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ซึ่งเป็นการรวมตัวของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองหินเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอชะลอขอคัดค้านการต่ออายุประทานบัตรการทำเหมืองหินเขาคูหา จำนวน 2 บริษัท ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ ต่อชาวบ้านมากว่า 10 ปีนั้น
       
       ล่าสุด เครือข่ายฯ ได้ทำหนังสือขอให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเร่งทบทวน การกระทำ การต่อสัญญาของบริษัทพีรพลมายนิ่ง จำกัด ซึ่งหมดอายุประทานบัตรเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2552 และนายมนู เลขะกุล ซึ่งบริษัทแคลเซียม ไทย-อินเตอร์ จำกัด เป็นผู้เช่าต่อ และหมดอายุประทานบัตรวันที่ 9 เมษายน 2553 หลังจากที่เรื่องดังกล่าวเงียบหายมา 1 ปี แต่การดำเนินการแก้ไขปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และการดำเนินการขออนุญาตต่อประทานบัตร ยังไม่ได้รับความถูกต้องและเป็นธรรม ตรงตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่ระบุให้สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งการดำเนินโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง เว้นแต่ได้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
       
       ทั้งนี้ การทำเหมืองหินที่เขาคูหาเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 40 ปีก่อน โดยกรมทางหลวงนำมาเพื่อทำถนนสายหาดใหญ่-พัทลุง หลังจากนั้นก็มีการทำหิน ตีหินของชาวบ้าน ในที่หัวดินของตนเอง(พื้นที่ดินของตนเองที่ติดภูเขา) หลายเจ้า จนเริ่มมีกิจการโรงโม่เข้ามาดำเนินการระเบิดหินและย่อยหินแบบเก่า คือ การระเบิดหน้าผาลึกเข้าไปในภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ด้านทิศเหนือ จนกระทั่งมีการให้สัมปทานดังเช่นปัจจุบัน
       
       อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการทำเหมืองหินส่งผลต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น ได้แก่ ด้านต่อสุขภาพ-จิตใจ โดยทุกครั้งที่มีการระเบิดหินนั้นจะมีการส่งเสียงดังไกลนับ 10 กิโลเมตร และสั่นสะเทือนคล้ายแผ่นดินไหวไกลถึง 3 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการสร้างความตกใจ รำคาญแก่ชาวบ้าน เพราะเครื่องจักรได้ทำงานหน้าเหมืองทุกวัน โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2548-2552 นั้นมีการดำเนินการทั้งกลางวันกลางคืน และปัญหาฝุ่นละอองก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ผดผื่นคัน และยังมีการพบว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ และพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคซิลิโคซิส (ฝุ่นปอดใยหิน) อีกด้วย
       
       ด้านความเสียหายต่อบ้านเรือนที่อยู่อาศัย พบว่า มีบ้านเรือนในละแวกนั้นแตกร้าวเสียหายกว่า 326 หลังคาเรือน เพราะหินบางส่วนที่กระเด็นขณะทำการระเบิดนั้นได้กระเด็นใส่บ้านเรือน น้ำหนักกว่า 5 กิโลกรัม ซึ่งทางบริษัทเองก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด จะมีการจ่ายบ้างกรณีจ่ายบ้างเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทางบริษัท ส่วนชาวบ้านที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือได้แต่เพียงลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สถานีตำรวจภูธรรัตภูมิ รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
       
       ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า แต่ก่อนเขาคูหานับว่าเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งอนุบาลหลบภัยของสัตว์ แต่กลับพบว่า สัตว์บางชนิดได้หายไป แหล่งฟักอนุบาลหมดสิ้น และนับเป็นการศูนย์เสียแหล่งอาหารของชุมชน และแหล่งน้ำที่สำคัญ ซึ่งเป็นช่องน้ำจากภูเขาทั้ง 3 สายนั้นถูกปิด ส่งผลกระทบต่อการทำมาหากิน และการเกษตรเป็นอย่างมาก
       
       นอกจากนี้ยังพบว่า บริษัท พีรพลมายยิ่ง จำกัด ได้นำหินขายส่งประเทศอินเดีย เป็นการกระทำที่ผิดวัตถุประสงค์ในการให้ประทานบัตร ที่ต้องนำหินมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานต่างๆ ในพื้นที่ จ.สงขลา และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น โดยในปี 2552 มีการขายแล้วจำนวน 411,062 เมตริกตัน จากที่ผลิตได้ทั้งหมด 691,975 เมตริกตัน ซึ่งเป็นปริมาณเกือบ 60% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด
       
       นอกจากนี้ การขอต่ออายุประทานบัตรยังขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยไม่มีเวทีรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ แต่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งผ่านการพิจารณาจากสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้วนั้น แต่เนื้อหาและขั้นตอนการทำกลับไม่สมบูรณ์โดยขาดมีส่วนร่วมของชุมชนและ ประชาชน แต่มีการใช้เอกสารเท็จเพื่อให้ผ่านการพิจารณา จึงมีการร้องเรียนให้ สผ.มีการตรวจสอบ แต่ก็ยังไม่มีคำตอบในความไม่ชอบธรรม ในการนี้เอง จึงขอให้นายกฯ สนับสนุนเครือข่ายองค์กรชุมชน และจัดการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รวมถึงผลกระทบทางด้านสุขภาพ (HIA) ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติด้วย และร่วมปรึกษาหารือหาข้อแก้ไขระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวอีกด้วย
       
       ดังนั้น เครือข่ายฯ จึงขอให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันติดตาม สนับสนุนการแก้ไขปัญหาเหมืองหินเขาคูหาอย่างเร่งด่วน และระงับการต่ออายุประทานบัตร จนกว่าจะแก้ไขปัญหาทุกด้านแล้วเสร็จ หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการการพิจารณาเรื่องการต่อสัญญา และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เคารพสิทธิชุมชน ตามมาตรา 67 วรรค 2 เพราะโครงการนี้หรือกิจการนี้มีผลกระทบรุนแรงตามเหตุที่กล่าวมา