ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เมื่อญี่ปุ่นบุกสงขลา

เริ่มโดย คนเขารูปช้าง, 22:00 น. 17 ก.ค 53

คนเขารูปช้าง

ต่อไปเป็นภาพสโมสรสงขลา ที่เห็นหลังคาสิ่งก่อสร้างอยู่ในทิวไม้ด้านหลังสูงขึ้นไป
ซึ่งผมเขาใจว่าเป็นอาคารที่คุณอา กิตติ ท่านเรียกว่า " โรงเตี๊ยม   ซึ่งเป็นลักษณะโรงเตี๊ยมของฝรั่ง    เป็นสถานที่จัดเลี้ยง " ช่วยเรียนถามท่านด้วยครับว่าใช่หรือไม่

พี่แอ๊ด

ภาพที่สอง   เป็นหลังคาของเรือนรับรอง  และโรงเตี๊ยมที่ว่านั้นอยู่บริเวณเดียวกัน
เพราะอาทิตย์ที่แล้วเราเดินหาป้ายอักษรญี่ปุ่น ไปจนถึงอนุสาวรีย์กรมหลวงลพบุรี
ราเมศวร์   ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยนายประโชติ   เอกอุรุ  เทศมนตรีเมืองสงขลาสมัยนั้น
คุณกิตติ   จิระนคร   เล่าว่าสร้างขึ้นมาใหม่หมด    ในอดีตทั้งด้านซ้ายด้านขวาเป็น
ที่เลี้ยงสังสรรค์ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่      แต่ขอกลับไปดูในกล้องว่าได้ถ่ายไว้ไหม  
พร้อมทั้งจะนำภาพจากคุณเขารูปช้างไปให้ท่านดูอีกครั้ง

พี่แอ๊ด

หากจำไม่ผิด   จากภาพนี้ท่านบอกว่าโรงเตี๊ยมอยู่ทั้งซ้ายและขวา

พี่แอ๊ด

อีกภาพ   บรรไดสร้างขึ้นมาใหม่    แต่กำแพงหินที่เห็นในรูปเป็น
ของเดิม    เพียงแต่นำมาปรับปรุง
หากจำไม่ผิด    ซ้ายมือของภาพ  อดีตเคยเป็นโรงเตี๊ยม
แต่ขออนุญาต COPY ภาพโรงแรมเขาน้อย  เพื่อนำไปให้คุณกิตติ
จิระนคร   ดูอีกครั้ง

จูนค่ะ

ขอบคุณทุกท่านมากค่ะ ที่นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของสงขลาเมืองที่หนูรัก มาถ่ายทอด หนูอ่านทุกตัวอักษรและซึมซับในความรู้ที่ทุกท่านนำมาเผยแพร่ค่ะ

banyut


พี่แอ๊ด

ถึง  คุณคนเขารูปช้าง
             จากภาพนี้มีบรรยายใต้ภาพไหมว่า   ถ่ายเนื่องในโอกาสที่พันเอกหลวงเสนาณรงค์
ครั้งเมื่อมารับตำแหน่งที่ค่ายคอหงส์หรือเปล่า    และถ่ายที่สถานีชุมทางหาดใหญ่จากทิศเหนือ
ไปยังทิศใต้    ซ้ายมือเป็นที่จำหน่ายตั๋ว   ขวามือเป็นชานชลา

หม่องวิน มอไซ

คำบรรยายที่พี่เอนก นาวิกมูล เขียนไว้ในหนังสือ สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ (พ.ศ.๒๕๓๖) ปกสีส้มครับ
-------------------------------------
ภาพเหล่านี้ มาจากหนังสือ"พระยารามราชภักดี" อดีตข้าหลวงประจำจังหวัดสงขลา พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๒ และข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทย ภาค ๕ (ประจำที่สงขลา) พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๙

เกิดที่ธนบุรี เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ ถึงแก่อนิจกรรมวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘ อายุ ๘๐ ปี
ภริยา คือ คุณหญิงชื่นแช่มรามราชภักดี

พระยารามฯ เคยอยู่ในเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นบุกสงขลา ขณะเป็นข้าหลวงตรวจการและเพิ่งลงไปรับหน้าที่เพียง ๓-๔ วันเท่านั้น

ภาพจากหนังสือ"พระยารามราชภักดี' ซึ่งท่านได้เขียนประวัติด้วยลายมือ และรวมรูปในชีวิตราชการลงประกอบไว้ตลอด เพื่อเตรียมไว้แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ การพิมพ์ พิมพ์ได้คมชัด จึงนับเป็นหนังสือรวมรูปเก่าที่ดีมากเล่มหนึ่ง (ไม่ระบุปีที่พิมพ์ เข้าใจว่าพิมพ์ราวต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙) ห้องสมุดเอนก นาวิกมูล

มีคำอธิบายเพียงเท่านี้ พี่แอ๊ดและท่านคนเขารูปช้างลองช่วยพิจารณาวิเคราะห์ดูนะครับ  ;)

คนเขารูปช้าง

สวัสดีครับ พี่แอ๊ด และ อจ.หม่อง ผมหายไป2-3วัน เพิ่งจะได้เข้ามาอ่านครับ
ผมลองนั่งดูภาพแล้วคิดว่าเป็นการถ่ายที่สถานีหาดใหญ่หลังเก่า(อาคารไม้) โดยถ่ายมาจากทิศที่มองมาจากสถานีบ้านดินลาน
ตามที่พี่แอ๊ดว่าครับ ขอนำหลักฐานมาประกอบดังนี้ครับ
เมื่อดูภาพจากหนังสือ "พระยารามราชภักดี" ที่ อจ.หม่องฯนำมาลงให้ดู
ขอให้สังเกตุเสาไฟฟ้าคู่ในวงสีส้ม และหน้าจั่วหลังคาคลุมชานชลาในวงสีเขียว
และนำไปเทียบกับภาพอาคารสถานี หใ. หลังเก่า(จากหอจดหมายเหตุฯ)ที่ผมจะนำมาลงเป็นภาพต่อไปครับ

คนเขารูปช้าง

ภาพต่อไปเป็นรูปอาคารสถานีหาดใหญ่หลังเก่า(อาคารไม้)
ในวงสีส้มคือเสาไฟฟ้า(หรือโทรเลข)คู่

สามเหลี่ยมสีเขียวคือหน้าตัดหลังคาคลุมชานชลาที่ต่อเนื่องจากตัวสถานีและติดกับราง

บริเวณที่เลยชานชลาตกขอบภาพไปทางขวาคือบริเวณชานชลาที่ไม่มีหลังคาคลุม และในภาพก่อนนี้
ที่กองทหารลงจากจากรถไฟและมากองพักอาวุธ(ปืนเล็กยาว)ไว้

คนเขารูปช้าง

เมื่อมองภาพอาคารสถานี หใ. หลังเก่าอีกมุมหนึ่ง (ผมคิดว่ามองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ)

ในวงสีส้มคือเสาไฟคู่

บริเวณที่ลงสีเขียวไว้คิดว่าคือบริเวณชานชลานอกหลังคาที่กองทหารลงจากรถไฟและพักอาวุธประจำกายไว้ครับ

คนเขารูปช้าง

ผมคิดว่าเป็นการถ่ายที่อาคารสถานี หใ. หลังเก่า ด้านขวามือเป็นรางรถไฟ และซ้ายของภาพเป็นตัวสถานีและที่ขายตั๋วตามที่พี่แอ๊ดว่าครับ

ขอให้สังเกตุลักษณะรางน้ำฝน (ที่ลูกศรชี้) ในสองภาพที่มีมุมมองต่างกันก็สอดคล้องกันครับ

คนเขารูปช้าง


หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณท่านคนเขารูปช้างมากครับ ที่ช่วยกันวิเคราะห์ภาพถ่ายเก่า สนุกดีครับ  O0

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: พี่แอ๊ด เมื่อ 22:47 น.  18 ก.ค 53
ขอบคุณเป็นอย่างสูงที่นำมาถ่ายทอดให้อ่าน   อ่านหลายเที่ยวมาก
พอถึงหน้าที่  7  ข้อความที่ว่า  "ต่อมาเห็นอนุสาวรีย์ก่อด้วยหินแกรนิต  มีจารึก
อักษรญี่ปุ่น   ข้อความเป็นอย่างไรไม่ทราบ   ต่อมาอนุสาวรีย์ถูกรื้อถอนไป"

เมื่อ 10 ปีก่อน   เจ้าหน้าที่ศิลปากร  ได้ให้นายกิตติ  จิระนคร  นำไปถ่ายรูป
แผ่นหินแกรนิตความกว้างขนาดเท่ารถยนต์  เป็นภาษาญี่ปุ่น   ที่ริมทางขึ้นเขาน้อย
สงขลา  และได้เสนอไปว่า  น่าจะนำมาบูรณะไว้เป็นประวัติศาสตร์สงขลา  ว่าครั้ง
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2  ตำรวจไทย (ไม่ทราบนาม)  ได้ยิงนายทหารญี่ปุ่นตาย   
แต่จนบัดนี้เรื่องก็เงียบไป   

ในหนังสือชีวิตของมาซาโอะ  เซโตะ    ผู้ถูกพ่อและญี่ปุ่นทอดทิ้ง
เล่ม 1   หน้าที่ 101   กล่าวถึง   ป้ายสุสาน