ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองหาดใหญ่

เริ่มโดย พี่แอ๊ด, 21:26 น. 15 ก.ค 53

พี่แอ๊ด

ขอนำเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหาดใหญ่   ซึ่งเขียนโดย
นายยรรยง   จิระนคร   นำมาถ่ายทอดนะคะ
ท่านเป็นหัวหน้าสถาบันค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทย - จีน
มหาวิทยาลัยคุนหมิง  มณฑลยูนนาน   ประเทศจีน
และได้รับอนุญาตจากนายกิตติ   จิระนคร 

พี่แอ๊ด

ผู้เขียนเติบโตในครอบครัวจิระนคร    เป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์
สิบสองปันนา    คุณสุทธิชัย   หยุ่น   เคยเดินทางไปสัมภาษณ์ท่านถึง
ประเทศจีน   ในรายการชีพจรโลก   ทางช่อง 9   
ภาพนี้ท่านได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์   เหรียญเงินดิเรกคุณากรณ์
ในปี พ.ศ.2550

พี่แอ๊ด

นอกจากหนังสือเรื่องประวัติศาสตร์สิบสองปันนา   นี่คือหนังสือ
ที่เล่มหนึ่ง   ที่ได้รับความสนใจ  "คนไท"  ไม่ใช่  "คนไทย"
ปัจจุบันท่านพักอาศัยอยู่ประเทศจีน    แต่ท่านบอกว่าหากเป็น
ไปได้ขอกลับมาตายที่หาดใหญ่

พี่แอ๊ด

คนที่สองซ้ายมือ  คุณกิตติ  จิระนคร  ผู้อนุญาตให้นำบทความเผยแพร่
ถ่ายรูปกับ  อาจารย์ยรรยง  จิระนคร   ในวันรับพระราชทานปริญญาบัตร
ดุษฏีบัณฑิตกิตติศักดิ์   ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  เมื่อปี
พ.ศ.2551

พี่แอ๊ด

ขอคัดลอกจากบทความบางส่วนนะคะ
ปี พ.ศ.2480  เกิดกรณีพิพาทระหว่างญี่ปุ่นและประเทศจีน   กองทัพญี่ปุ่นได้
บุกรุกสะพานหลูโกวเฉียวที่ปักกิ่ง   เมื่อวันที่  7  กรกฏาคม  2540   ซึ่งเป็น
ชนวนระเบิดสงครามระหว่างญี่ปุ่นและจีน   นักเรียนได้ร่วมกันจัดงานแสดงบน
เวทีเพื่อหาเงินเรี่ยไรจากผู้ปกครอง   สำหรับส่งไปเมืองจีนเพื่อช่วยเหลือผู้ตก
ทุกข์ได้ยากที่ถูกรุกรานจากชาวญี่ปุ่น    แต่การแสดงในครั้งนั้นต้องถูกยับยั้ง

ในคืนวันที่ 7  ธันวาคม  2484   สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติได้ออกข่าวว่า
เรือรบญี่ปุ่นได้มาป้วนเปี้ยนอยู่ที่ปากแม่น้ำโขงใกล้กับไซ่ง่อน   ซึ่งเป็นนิมิตที่ไม่
สู้ดี   ต่อมาในเช้าตรู่ของวันที่  8  ธันวาคม  2484  กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบก
ที่สงขลา    ตอนนั้นยังเป็นเด็กนักเรียน   กำลังเตรียมตัวสอบปลายปี  และอยู่ใน
ระหว่างการเตรียมขบวนแห่ฉลองวันรัฐธรรมนูญที่จะมาถึงในวันที่  10 ธันวาคม
2484  จึงต้องงด
เช้าวันนั้น   ขุนนิพัทธ์ได้รับโทรศัพท์จากทางผู้ว่าราชการจังหวัด  โทรมาที่บ้าน
(เลขหมายโทรศัพท์สมัยนั้นคือ  53)   และได้รับข่าวจากพี่กี่ (ลูกอีกคนของขุน
นิพัทธ์)ว่า  ค่ายคอหงษ์ได้ส่งทหารมาขอยืมรถสองแถวที่อู่เก็บรถในเมือง (ตอนนั้น
ขุนนิพัทธ์ที่ Offic อยู่ที่ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1)
กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกแถบชายทะเลเก้าเส้งแล้วและยกพลออกสู่ถนนสาย
สงขลาไปอำเภอสะเดา  โดยที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่สวนตูลได้ทำการต่อสู้
และกองทัพญี่ปุ่นก็ถูกสลัดกั้นโดย ร.พัน 5 ที่บ้านควนหิน  (ใกล้กับตำบลน้ำน้อย
ครึ่งทางสงขลา - หาดใหญ่)  จนเกิดการยิงต่อสู้กันขึ้น
หมายเหตุ      เดิมทีนั้น  หาดใหญ่ยังไม่มีกองทหารประจำการอยู่   ค่ายคอหงส์
เป็นเพียงค่ายฝึกของตำรวจ   เป็นโรงเรียนสายอาชีวะด้านการเกษตร   และโรงเรียน
ฝึกหัดครูเท่านั้น


พี่แอ๊ด

ประชาชนชาวหาดใหญ่ซึ่งอยู่แนวหลังได้จัดรถสองแถวลำเลียงอาหาร
ให้แก่ทหารแนวหน้า   แต่การรบต่อต้านดำเนินไปได้ไม่นานก็มีคำสั่ง
ให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทางผ่านไปที่ประเทศมลายู   กองทัพญี่ปุ่นนอกจาก
มีรถยนต์เป็นพาหนะแล้ว   ทหารหลายคนยังมีรถจักรยานสองล้อซึ่งนำมา
ติดตัวจากประเทศญี่ปุ่นด้วย   ทหารกองทัพญี่ปุ่นยังยึดรถยนต์ของพ่อค้า
คหบดีในหาดใหญ่ไว้บรรทุกทหารไปยังประเทศมลายูด้วย

Kungd4d

 :D ;D รอติดตามต่อไปครับพี่แอ๊ด  ;D :D

พี่แอ๊ด

ขณะที่เข้ามาถึงหาดใหญ่    นายทหารญี่ปุ่นขอพบขุนนิพัทธ์  เพื่อเจรจา
ขอบ้านที่ท่านขุนอาศัยเป็น  กองบัญชาการทหารญี่ปุ่น   แต่ขุนนิพัทธ์
ต่อรองให้บ้านของลูกสาวแทน   ซึ่งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม
ภาพนี้ถ่ายในวันฉลองมอบปืนกลให้กับพระยาพหลยุหเสนา  นายกรัฐมนตรี
ในอดีต    ถ่ายก่อนที่ทหารญี่ปุ่นขอเป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่นหาดใหญ่
และเด็กน้อยที่ยืนหน้าสุด  คือ   นายกิตติ  จิระนคร   ผู้อนุญาตให้นำเรื่อง
สงครามโลกครั้งที่ 2 ในเมืองหาดใหญ่  มาเผยแพร่

พี่แอ๊ด

ขุนนิพัทธ์ฯ  รู้สึกหวาดกลัวต่อความปลอดภัยของลูกหลาน   จึงได้ให้ลูกชาย
ทุกคน  พาครอบครัวพร้อมทั้งเด็ก, ผู้หญิง, คนแก่  ในบ้านไปหลบภัยอยู่ที่
วัดคลองแห
การเดินทางไปหลบภัยที่วัดคลองแหนั้นเป็นไปค่อนข้างลำบาก   เพราะไม่มี
ถนนหนทางเป็นเพียงท้องทุ่งนา   และห่างไกลออกไปเป็นป่ารก   แต่ความ
ทรงจำของเด็กนั้น   รู้สึกว่าการได้ไปหลบภัยอยู่ที่วัดคลองแห   สนุกสนานที่สุด
เพราะมีโอกาสเล่นน้ำคลองข้างวัด   ซึ่งเป็นคลองน้ำใสไหลเย็น   แม้ว่าจะมี
ชาวบ้านเตือนว่า   เคยมีจระเข้ทำร้ายผู้คนมาแล้ว    แต่กลับไม่รู้สึกกลัว
ด้วยความสนุกถึงกับเอาเรือพายไปตามลำคลองเพื่อดูชาวบ้านยกยอ  ตกเบ็ด
เที่ยวกันจนกระทั่งเย็น   พอตกค่ำหนุ่มวัยฉกรรจ์ที่อพยพไปอยู่ด้วยกันในวัด
มีหน้าที่ยืนยามถือปืนลูกซองคอยให้ความคุ้มครองแก่เด็กและ
ผู้หญิง   ต้องหลบภัยอยู่ในวัดคลองแหกว่าครึ่งปี

พี่แอ๊ด

การติดตามข่าวสารของการสู้รบเป็นไปอย่างยากลำบาก   เพราะมีวิทยุน้อยเครื่อง
คนที่มีวิทยุก็ไม่มีไฟฟ้าจะใช้    จะมีก็แต่หม้อแบตเตอรี่เท่านั้น   จึงต้องใช้รถจักรยาน
สองล้อปั่นไฟเข้าหม้อแบตเตอรี่    เพื่อนำมาใช้กับเครื่องรับวิทยุอีกทีหนึ่ง   จึงได้รับ
ข่าวสารจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งกรุงนิวเดลฮี  และจุงกิง  ซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตร
ได้เสมอ ๆ 
ขอท้าวความถึงตลาดหาดใหญ่   ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้น   เคยมีครอบครัว
ชาวญี่ปุ่นสองสามีภริยา   ได้มาเปิดคลีนิคส่วนตัวอยู่ที่ถนนธรรมนูญวิถี   สามีมีอาชีพ
เป็นแพทย์   ส่วนภริยามีอาชีพเป็นพยาบาล   ในวัยเด็กโดนตะปูตำ  ขุนนิพัทธ์ฯ ได้พา
ไปหาแพทย์ท่านนี้   ภริยาท่านได้ให้บริการเป็นอย่างดี   โดยการหมั่นไปล้างแผลให้ถึง
ที่บ้านขุนนิพัทธ์ฯ  ทุกวัน   เป็นเวลา  20  วัน   เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น   และ
กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่สงขลาแล้วนั้น    นายแพทย์ชาวญี่ปุ่นผู้นี้ก็แต่งกายเต็มยศ
แบบเครื่องแบบญี่ปุ่นยศนายพัน    ซึ่งทำความสงสัยคลางแคลงว่าหรือว่านายแพทย์
ผู้นี้   คือ   สายลับชาวญี่ปุ่น

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: Kungd4d เมื่อ 22:47 น.  15 ก.ค 53
:D ;D รอติดตามต่อไปครับพี่แอ๊ด  ;D :D
ขอบคุณที่ติดตาม    แต่คนพิมพ์ตาจะปิดแล้ว
ขอเป็นพรุ่งนี้นะ

slick

ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ เป็นความรู้ ครับ  น่าติดตามมาก  มาต่อไวไว นะครับ อยากอ่านอีก

Thanakorn P.

รอติดตามอีกคนครับ
อ่านแล้วทำให้จินตนาการไปด้วยเลย สนุกมาก
การถ่ายภาพคือ การบันทึกความทรงจำ

พี่แอ๊ด

         ในภาวะสงครามน้ำมันเบนซินขาดตลาด  จนไม่มีรถยนต์  วิ่งบนท้องถนน
รถบรรทุกและรถเก๋งบางคัน   จำต้องเปลี่ยนแปลงใช้เชื้อเพลิง   ซึ่งเป็น
ถ่านไม้ใช้สำหรับหุงข้าวในสมัยนั้น    แล้วแปลงให้เป็นแก๊สไว้ใช้กับรถยนต์
           ส่วนการลำเลียงสินค้าของแขกชาวปากีสถาน   ต้องอาศัยเกวียน
บรรทุกข้าวสาร   เกลือ ฯลฯ   ไปขายยังประเทศมลายู   ล้อของเกวียนแต่
ละเล่มจะมีขอบเหล็กหุ้มล้อไว้    ทำให้ถนนลาดยางเป็นหลุมเป็นบ่อ  ภายใน
เวลา 2 หรือ 3 ปี    โดยเฉพาะถนนสายหาดใหญ่ไปคอหงษ์    และสะเดามี
ถนนที่ขรุขระมากเป็นพิเศษ
             ขุนนิพัทธ์ฯ  จึงได้คิดสูตรผลิตน้ำมันจากยางพารา   และได้เริ่มลงมือสร้าง
โรงงานอยู่ด้านหลังบ้านพัก  เห็นคนงานเอาแผ่นยางพารามาหั่นให้เป็นชิ้น  
แล้วเอาน้ำกรด  ดินประสิว  ผสมเคี่ยวกันในถังน้ำมันขนาดใหญ่   ปิดถังด้วย
กะทะที่บรรจุน้ำจนเต็ม  ใต้ก้นกะทะจะมีแผ่นสังกะสีรองอยู่   เมื่อความร้อน
จากเตา   ทำให้ยางที่เคี่ยวอยู่นั้นเดือด   ไอน้ำก็จะระเหยปะทะกับกะทะซึ่ง
มีความเย็น   เพราะมีน้ำบรรจุอยู่  หยดน้ำก็จะไหลลงสู่ภาชนะที่รองลงสู่ขวด
ที่รองรับภายนอก    ข้อเสียของน้ำมันผลิตจากยางพารา   มีข้อเสียคือ  
ยางเหนียวนอนก้น   ทำให้ต้องทำความสะอาด   ท่อรถยนต์บ่อยครั้ง   แต่ก็
ขายดีมาก  มีรถกะบะบรรทุกไปขายในตลาดทุกวัน

พี่แอ๊ด

ภาพขุนนิพัทธ์ฯ  กำลังผลิตน้ำมันจากยางพารา
ภายในบ้านพักที่หาดใหญ่

พี่แอ๊ด

ในระหว่างสงคราม   ทหารญี่ปุ่นยังได้ตั้งกองสารวัตรในหาดใหญ่
และยังจัดละครญี่ปุ่น    ซึ่งมีนักแสดงมาจากญี่ปุ่นล้วนที่โรงหนัง
ของคุณพระเสน่หามนตรีด้วย   
ส่วนที่บ้านขุนนิพัทธ์ฯ   มีเครื่องรับวิทยุทำจากอังกฤษอยู่เครื่องหนึ่ง
นับว่าเป็นวิทยุที่ดีที่สุดแล้วในสมัยนั้น    ทุกบ่ายจะมีนายอำเภอหาดใหญ่
หัวหน้าทางหลวงจังหวัด   และป่าไม้หาดใหญ่   มารับฟังข่าวสารเกี่ยวกับ
การสู้รบที่ยุโรปและเอเซียที่บ้านทุกวัน    มีคราวหนึ่งที่นายทหารญี่ปุ่น
ได้มาหาขุนนิพัทธ์ฯ ที่บ้านพัก   และยังเดินขึ้นไปบนดาดฟ้าด้วย   เมื่อแล
เห็นเสาอากาศตั้งอยู่สูงโด่เช่นนั้น   ก็เกิดการชุลมุนวุ่นวายขึ้น   จนต้อง
ให้ล่ามพูดภาษาอังกฤษอธิบายว่า   เป็นเสาอากาศธรรมดาเท่านั้น

พี่แอ๊ด

เมื่อสงครามเกือบจะสงบแล้ว   ทหารญี่ปุ่นได้นำน้ำมันเบนซินจำนวนหลายถัง
ไปซุกซ่อนไว้ในป่ายางหลังบ้านขุนนิพัทธ์  ๆ  ได้ข่าวว่าทหารฝ่ายพันธมิตรจะ
ทิ้งบอมอีกในเร็ว ๆ นี้   จึงวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยมาก   จึงได้ไปสร้าง
บ้านชั่วคราวไว้ใกล้สนามบินหาดใหญ่    ปัจจุบันอยู่ห่างจากหมู่บ้านวังพาประมาณ
10 กิโลเมตร   ขุนนิพัทธ์ฯ  มีความคุ้นเคยและสนิทสนมกับกำนันบ้านวังพามาก
การหลบภัยครั้งนี้มีเพียงเฉพาะผู้หญิงและเด็กเท่านั้น   สำหรับขุนนิพันธ์ฯ และ
ลูกชายทุกคนยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านในหาดใหญ่   ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับกองบัญชา
การทหารญี่ปุ่น   ซึ่งเป็นบ้านของลูกสาวท่าน

พี่แอ๊ด

การหลบภัยสงครามในครั้งนั้น   มีชาวบ้านและบริษัทยิบอินซอย  จำกัด
ได้ไปปลูกบ้านชั่วคราวอยู่ใกล้หมู่บ้านวังพาเช่นกัน   มีทุ่งนาก็ไม่วายที่
จะมีทหารญี่ปุ่นเอาไม้แหลม ๆ ไปปักไว้เต็มทุ่ง  ด้วยกลัวว่าทหารฝ่าย
พันธมิตรจะถือโอกาสโดดร่มลงมายังจุดนี้
ในระหว่างสงครามฝ่ายพันธมิตรเคยทิ้งบอมที่หาดใหญ่ 2 ครั้ง  ครั้งหนึ่ง
บอมตกอยู่กลางทุ่งนาด้านหน้าของอู่รถไฟหาดใหญ่   เกิดความเสียหาย
ไม่มากนัก   นับเป็นโชคดีที่ภายในเขตเทศบาลตำบลหาดใหญ่   ไม่ได้
รับความเสียหายใด ๆ  จากภัยในครั้งนั้นฃ
ก่อนสงครามจะสิ้นสุดลงหนึ่งเดือน   ทหารฝ่ายพันธมิตรยังทิ้งบอมที่
ตลาดใหม่นครในสงขลา   รวมทั้งบ้านบน    ได้รับความเสียหาย
ผู้คนล้มตาย

พี่แอ๊ด

กองทัพญี่ปุ่นเข้ามาอยู่หาดใหญ่ประมาณ 3 ปีกว่า  ก็แพ้สงคราม
(สงครามสิ้นสุดลงเมื่อวันที่  16  สิงหาคม  2488)
กองทัพพันธมิตรคือ  อังกฤษและทหารไทยก็ทยอยเข้ามา  โดยใช้
บ้านซึ่งเป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่นหลังเดิม  แทนกองทัพญี่ปุ่น
เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินสงครามของญี่ปุ่นที่เหลือทิ้งไว้   ส่วนใหญ่
จะเป็นอาวุธสงครามและเครื่องจักรกลขนาดใหญ่   พร้อมทั้งปลด
อาวุธประจำกาย   โดยไม่ให้ญี่ปุ่นนำทรัพย์สินออกไป   และจะจาก
ไปมีนายทหารญี่ปุ่นซาบซึ้งต่อความดีและมีน้ำใจของขุนนิพันธ์ฯ
ได้มอบดาบซามูไร  ให้เป็นที่ระลึก
กองทหารญี่ปุ่นที่มายึดหาดใหญ่นั้น    เป็นกองทัพทหารที่มีระเบียบ
วินัยและไม่รังแกชาวบ้าน

พี่แอ๊ด

ข้อมูลบางส่วนของผู้เขียนบทความ  (นายยรรยง  จิระนคร)
เมื่อสงครามสิ้นสุดเมื่อวันที่  16  สิงหาคม  2488
ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยา  เป็นโรงเรียนเอกชน
แห่งแรกของหาดใหญ่   (ปัจจุบันคือ  โรงเรียนหาดใหญ่อำนวยวิทย์)  
ตอนเย็นไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษกับบาทหลวงชาวอิตาลีที่โบสถ์  
กลางคืนไปเรียนภาษาจีน
และได้เดินทางศึกษาต่อที่โรงเรียนจุงฮวาที่กรุงเทพฯ  เป็น
โรงเรียนที่อยู่ในความอุปภัมภ์ของหอการค้าไทย - จีน ได้
1 ปี  ก็เดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองกวางเจา  ประเทศจีน
ในปี  พ.ศ.2490  มีอายุ  18  ปี  ต่อมาในปี พ.ศ.2492  ได้มี
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสังคมนิยมในประเทศจีน
จึงไม่ได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอน   ด้วยมีภารกิจ
มากมายซึ่งรับผิดชอบอยู่ในหน่วยงานวิจัย   ที่มหาวิทยาลัยคุนหมิง
มณฑลยูนนาน   แต่ได้กลับมาในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ของขุนนิพัทธ์
ที่สนามกีฬาจิระนคร   เมื่อวันที่  1  กันยายน  2528  จึงมีโอกาส
ปลีกตัวมาร่วมงานและเยี่ยมญาติด้วย



พี่แอ๊ด

ภาพของผู้เขียน  (นายยรรยง  จิระนคร)   ถ่ายในวันเปิด
อนุสาวรีย์ขุนนิพัทธ์   ณ  สนามกีฬาจิระนคร   และได้
ร่วมบริจาคเงินสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้ด้วย

Kungd4d

 :D ;D ขอบคุณมากครับพี่แอ๊ด  ;D :D รอติดตามตอนต่อไปจ้า  )love )love