ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ศาลาน้ำหน้าจวนเมืองสงขลา

เริ่มโดย พี่แอ๊ด, 22:43 น. 15 มี.ค 53

หม่องวิน มอไซ

คุณพ่อของพี่แอ๊ด ท่านคงหมายถึง ตำหนักเขาน้อย ซึ่งเป็นจวนผู้ว่าปัจจุบัน
เคยเป็นที่ประทับของ ร.๖ ร.๗ และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันครับ

หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: Singoraman เมื่อ 07:57 น.  17 มี.ค 53
พยายามอ่านข้อความในริบบิ้น แต่อ่านไม่ออกครับ
ใช่ตราประจำพระองค์ เจ้าฟ้าภาณุฯ หรือเปล่าครับ
ผมไม่แน่ใจครับ แต่ในตรา มีรูปอาทิตย์แผ่รัศมีจับท้องทะเล ซึ่งหมายถึง "ภาณุรังษี" และนำไปใช้เป็นองค์ประกอบในตราโรงเรียนเทพศิรินทร์ด้วยครับ

พี่แอ๊ด

เครียดเลย  สงสัยต้องกลับไปที่ทีวีย้อนหลัง เรื่องเสด็จประพาสสงขลา ของ ร.5

หม่องวิน มอไซ

สนุกดีครับ  ;D
ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ผมว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ น่าค้นคว้า น่าศึกษามากครับ

ปัญหาที่พบในการย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองสงขลา คือ การตีความจดหมายเหตุ การอ่านภาพถ่าย แผนที่เก่าอย่างผิดพลาดในอดีต แล้วยึดถือต่อ ๆ กันมา โดยมิได้มีการ"ฟื้นฝอย หาตะเข็บ" เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ถูกต้องมากขึ้นครับ

ถ้าประวัติศาสตร์เมืองสงขลาเราเป็นตัวต่อจิ๊กซอว์ ก็คงเป็นภาพขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยจิ๊กซอว์ขนาดหลายพันชิ้น
ซ้ำเป็นจิ๊กซอว์ที่ไม่สมบูรณ์ด้วยครับ หายไปหลายชิ้น
เพราะฉะนั้น ต่อยังไงก็ไม่สมบูรณ์สักที
พวกเราที่นี่คือคนที่กำลังช่วยกันต่อจิ๊กซอว์ครับ บางชิ้นอยู่ในกล่องปน ๆ กัน รอวันหยิบมาวางให้ถูก
บางชิ้นที่หายไป วันดีคืนดีก็มีคนค้นพบซุกอยู่ที่ไหนสักแห่ง แล้วนำมาหาที่ลง

วันนี้ พี่แอ๊ดคือผู้ที่ค้นพบชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ นำมาช่วยกันต่อนั่นเองครับ  ;D

พี่แอ๊ด

จากการอ่านผลงานพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาในตระกูล ณ สงขลา ท่านเป็นผู้สร้างถนนคอนกรีตในเมืองสงขลา และถนนวิเชียรชม  ซ่อมแซมเขื่อนหินหน้าจวนริมน้ำ  แล้วหน้าจวนริมน้ำ อยู่ที่ไหน

หม่องวิน มอไซ

ตัวอย่างของข้อผิดพลาดในอดีต ที่ทำให้เกิดปัญหาในการวิเคราะห์หาตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ คือ
คำว่า จวน ครับ
จวน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ บอกว่า...

หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: พี่แอ๊ด เมื่อ 10:37 น.  17 มี.ค 53
จากการอ่านผลงานพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาในตระกูล ณ สงขลา ท่านเป็นผู้สร้างถนนคอนกรีตในเมืองสงขลา และถนนวิเชียรชม  ซ่อมแซมเขื่อนหินหน้าจวนริมน้ำ  แล้วหน้าจวนริมน้ำ อยู่ที่ไหน
ยอดเยี่ยม ครับพี่แอ๊ด พี่แอ๊ดพบจิ๊กซอว์ชิ้นที่หายไปแล้ว ปัญหาคือเราจะเอามันวางต่อตรงไหนของภาพ
ก่อนอื่น ต้องไม่เอาจิ๊กซอว์วางผิดที่ ลิ้นจิ๊กซอว์ที่ไม่เข้ากัน อย่าฝืนกดลงไป  ;)

พระยาวิเชียรคีรี (ชม) เป็นเจ้าเมืองสงขลา
เจ้าเมือง จะมีบ้านที่เรียกว่า จวน (ในปัจจุบันบ้านผู้ว่า ก็คือ จวนผู้ว่า ใช่ไหมครับ)

ที่นี้ถามว่า พิพิธภัณฑ์สงขลาปัจจุบัน เคยเป็น จวน หรือเปล่า
ความเห็นผม ไม่ใช่ครับ
พิพิธภัณฑ์สงขลา ไม่เคยเป็นจวน มาก่อนแต่อย่างใด การเรียกพิพิธภัณฑ์ว่า จวนเก่า นั้น ผิดแน่ ๆ  :)

ในหนังสือชีวิวัฒน์ ช่วงเวลานั้น พระยาสุนทรา (เนตร ณ สงขลา) ซึ่งเป็นผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา (ไม่ใช่เจ้าเมือง) กำลังสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันอยู่ แต่ยังไม่เสร็จ เป็นตึกสองชั้นแบบจีนปนฝรั่ง (หลังคาเป็นแบบเก๋งจีน แต่บันไดขึ้นเป็นแบบฝรั่ง)
วัตถุประสงค์ในการสร้างยังไม่ทราบครับ นักวิชาการบอกว่าอาจจะสร้างให้บุตรหรือธิดา หรืออยู่เอง ไม่ชัดเจน

ดังนั้น ในเมื่อพระยาสุนทราไม่ใช่เจ้าเมือง พิพิธภัณฑ์จึงไม่ใช่ จวน ครับ

ที่นี้ต่อมาทางราชการซื้ออาคารชุดนี้จากบุตรพระยาสุนทรา (ในราคา ๒๘,๐๐๐ บาท) เพื่อทำเป็นศาลากลางมณฑลนครศรีธรรมราช
แล้วปี ๒๔๙๖ ก็ย้ายไปที่ถนนราชดำเนินจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น ต่อไปนี้น่าจะเรียกอาคารพิพิธภัณฑ์ว่า ศาลากลางเก่า หรือบ้านผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาเก่า หรือบ้านพระยาสุนทรา ก็ได้ครับ
ไม่ใช่ จวนเก่า ซึ่งจะทำให้การตีความแผนที่เก่า พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึก ภาพถ่ายทางอากาศ ผิดพลาดทั้งหมดได้ครับ

หม่องวิน มอไซ

ที่นี้ สังเกตคำว่า จวน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ อีกครั้ง

จวน ๑ น. ที่อยู่ของเจ้าเมือง, ที่พักแรมของข้าราชการผู้ใหญ่.

ความหมายที่บอกว่า ที่พักแรมของข้าราชการผู้ใหญ่ นั้น อาจจะพออนุโลมให้หมายถึง บ้านพระยาสุนทรา (เนตร ณ สงขลา) ก็พอฟังขึ้น
แต่ปัญหาคือ บ้านหลังนี้ พระยาสุนทราอาจไม่ได้อยู่เอง สร้างให้ลูกชายหรือลูกสาวก็ไม่ทราบครับ
แต่ช่วงเวลาในหนังสือชีวิวัฒน์ ยังสร้างไม่เสร็จ ไม่น่าจะเรียกว่า จวน

และไม่ปรากฏว่าในยุคต่อมา คือ สมัย ร.๖-ร.๗ จะเรียกอาคารใดว่า จวน อีก นอกจากอาคารหลังเดียว คือ จวนสมุหเทศาภิบาล หรือ ตำหนักเขาน้อยนั่นเอง
อาคารที่พักของข้าราชการผู้ใหญ่ อื่น ๆ ใช้ว่า ที่พัก... ทั้งหมดครับ

ดังนั้น ในการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ในฉบับล่าสุดคือ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้แก้ไขความหมายของ จวน ใหม่ เป็นดังนี้ครับ

จวน ๑   น. ที่อยู่ของเจ้าเมือง, บ้านที่ทางราชการจัดให้เป็นที่อยู่ของผู้ว่าราชการ
   จังหวัด เรียกว่า จวนผู้ว่าราชการจังหวัด.
จวน ๒   น. ผ้าชนิดหนึ่ง.
จวน ๓   ว. เกือบ, ใกล้, เช่น จวนถึง จวนตาย จวนได้.


หม่องวิน มอไซ

ผมมานึกขึ้นได้ สาเหตุอีกประการที่อาจทำให้เรียก ศาลากลางเก่าว่า จวนเก่า
อาจเป็นเพราะว่ากันว่า อาคารหลังนี้ เคยเป็นที่พักของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๔๔๘

แต่ก็ยังเป็นข้อสงสัยอยู่ เนื่องจากผมยังหาเอกสารชั้นต้นดังกล่าวนี้ไม่พบ ว่าเจ้าพระยายมราช จะมาพักที่บ้านพักส่วนตัวของตระกูล ณ สงขลา ด้วยเหตุใด ขอทุกท่านช่วยค้นคว้า หาเอกสารมาชำระประวัติศาสตร์ช่วงนี้ด้วยครับ
อย่างน้อยต้องหาให้ได้ว่า ก่อนใช้อาคารเป็นศาลามณฑลฯ ปี ๒๔๓๙ นั้น ใครพักอยู่ที่นี่ครับ

ผมว่าต้องเป็นบ้านส่วนตัวเสียมากกว่า ถึงหาเอกสารไม่พบว่ามีการใช้ประโยชน์อย่างไร (ผมอาจหาไม่เจอเองก็ได้  ;D)

พี่แอ๊ด

พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ชาวเมืองสงขลาให้สมญานามว่า "เจ้าจอมเมือง" เป็นเจ้าเมืองสงขลาในตระกูล ณ สงขลา คนสุดท้าย (คนที่ 8)  เป็นบุตรคนโตของพระยาสุนทรนุรักษ์ (เนตร) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา และคุณหญิงพับ ที่บ้านป่าหมาก (ปัจจุบันคือที่ตั้งศาลจังหวัดสงขลา)  ที่มา  หนังสือเกียรติประวัติตระกูล ณ สงขลา  รวมญาติ

พี่แอ๊ด

เจ้าเมืองในตระกูล ณ สงขลา คนที่1. พระยาสุรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยง แซ่เฮา) พ.ศ. 2318-2317   คนที่2. เจ้าพระยาอินทคีรี (บุญหุ้ย) พ.ศ.2327 - 2355  คนที่ 3  พระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง) พ.ศ.2355-2360 สายสกุล "โรจนหัสดิน"  คนที่ 4  พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) พ.ศ.2360-2390  คนที่ 5  เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) พ.ศ. 2390-2408  คนที่ 6  เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) พ.ศ.2408-2427  คนที่ 7  พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม) พ.ศ. 2427-2431 คนที่ 8  พระยาวิเชียรคีรี (ชม) พ.ศ. 2431-2444  ที่มา  หนังสือเกียรติประวัติตระกูล ณ สงขลา รวมญาติ ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2549

หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: พี่แอ๊ด เมื่อ 10:37 น.  17 มี.ค 53
จากการอ่านผลงานพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาในตระกูล ณ สงขลา ท่านเป็นผู้สร้างถนนคอนกรีตในเมืองสงขลา และถนนวิเชียรชม  ซ่อมแซมเขื่อนหินหน้าจวนริมน้ำ  แล้วหน้าจวนริมน้ำ อยู่ที่ไหน
เมื่อพี่แอ๊ดค้นพบว่า พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ซ่อมแซมเขื่อนหินหน้าจวนริมน้ำ
ผมเลยไปค้นดูในพงศาวดารเมืองสงขลา ดูในรายละเอียด
แต่ปรากฏว่า พงศาวดารเมืองสงขลา ฉบับที่พระยาวิเชียรคีรี (ชม) แต่งนั้น หมดเพียงสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ครับ
เลยต้องไปดูในภาค ๒ ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) จนถึงพระยาวิเชียรคีรี (ชม)

ภาค ๒ นี้ พระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราษฎร์นายก (เย็น สุวรรณปัทม) เป็นผู้เรียบเรียงครับ ฉบับที่ผมมีเป็นฉบับพิมพ์ ปี ๒๔๘๒ ซึ่งเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร์ ณ สงขลา) พิมพ์ช่วยในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาวิเชียรคีรี (ชม) นั่นเองครับ

ข้อความในหนังสือเล่มนี้ (พงศาวดารเมืองสงขลา ภาค ๒) หน้า ๖๓ บอกว่า

จัดการซ่อมแซมบำรุงเมือง คือ ลาดปูนประสมอย่างเทคอนกรีตตามถนนในเมืองตลอดถึงตลาดสะอาดเรียบร้อย กับซ่อมแซมเขื่อนศิลาหน้าจวนกลางซึ่งสร้างมาแต่ครั้งพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ชำรุดหักพังให้บริบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

เป็นหลักฐานว่า หน้าจวนมีเขื่อน เขื่อนต้องอยู่ริมน้ำครับ และจวนกลาง สร้างมาตั้งแต่สมัยพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ราว พ.ศ. ๒๓๖๐-๒๓๙๐ อย่างที่พี่แอ๊ดค้นคว้ามาครับ  :D

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณพี่แอ๊ดครับ  ที่นำรายละเอียดช่วงเวลาของเจ้าเมืองสงขลาท่านต่าง ๆ มาลงไว้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ ;D

ในเมื่อจวนสร้างตั้งแต่สมัยเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เราก็กลับไปอ่านพงศาวดาร ภาค ๑ ได้ครับ
ปรากฏรายละเอียดดังนี้

...พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ได้เป็นแม่ทัพต่อสู้กับแขกกบฏถึง ๒ ครั้ง และได้ก่อกำแพงเมืองกับฝังหลักเมืองเสร็จบริบูรณ์
กับได้ก่อตึกจีนทำเป็นจวนผู้ว่าราชการเมืองไว้ ๕ หลัง ซึ่งเรียกกันว่าในจวนตลอดมาจนเดี๋ยวนี้ พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง)
อัธยาศัยดุร้าย จนราษฎรร้องเรียกกันว่าเจ้าคุณสงขลาเสือ เหตุด้วยท่านเกณฑ์ราษฎรไปล้อมจับเสือที่ตำบลบ้านศีร์ษะเขา เพราะที่นั่น
เป็นที่เสือป่าอยูชุกชุม...
------------------------------------------------------
๒ จวนนี้สร้างคราวเดียวกับสร้างกำแพงเมืองฝั่งตะวันออก (จวนเดิมอยู่ฟากตะวันตก) เมื่อสร้างเมืองใหม่ฟากตะวันออกแล้ว พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ก็ได้ย้ายข้ามมาอยู่ที่จวนสร้างใหม่นี้แต่นั้นมา

หม่องวิน มอไซ

มีภาพถ่ายจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นภาพฝีมือหลวงวิเศษ (ชม ณ สงขลา) = พระยาวิเชียรคีรี
ถ่าย"บ้านเจ้าเมือง" ไว้ด้วย

พี่เอนก นาวิกมูล นำมารวบรวมไว้ในหนังสือ สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ ปกสีส้มที่ท่านคนเขารูปช้างนำมาให้ชมครับ
โปรดสังเกตคำบรรยายภาพด้านล่างที่บอกว่า...

บ้านเจ้าเมืองสงขลาเป็นตึกแบบจีน ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

ซึ่งผิดพลาดอย่างแน่นอนครับ เนื่องจากอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินั้น เป็นตึก ๒ ชั้น และเป็นแบบจีนผสมฝรั่ง คนละตึกกับในภาพนี้ครับ


หม่องวิน มอไซ

คราวนี้ก็พิจารณาภาพถ่ายปริศนา ซึ่งได้นำมารวบรวมไว้ ประกอบหนังสือชีวิวัฒน์ ฉบับพิมพ์ของคุรุสภา ที่พี่แอ๊ดยกมาใช้ชม

ภาพนี้ท่านคนเขารูปช้างบอกว่าในหนังสือสมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ ปกส้มมีด้วย
ผมเลยสแกนขยายมาให้ชมครับ
ไว้มีโอกาส อาจจะไปขอขยายภาพจากต้นฉบันที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติมาดูให้เห็นชัดขึ้นนะครับ  ;D

โปรดสังเกตคำบรรยายใต้ภาพครับ ที่บอกว่า

บริเวณนี้ปัจจุบันเห็นจะได้แก่แถบตลาดสดของเทศบาลเมืองสงขลาที่จะเดินไปพิพิธภัณฑ์ (จวนเก่า)

ซึ่งผิดพลาดอย่างแน่นอน ผมขออนุญาตค้านครับ  ;)



หม่องวิน มอไซ

เพราะเหตุใดที่ค้าน  )de

ลองดูที่ด้านซ้ายของภาพนะครับ จะเห็นแนวกำแพงเมือง

เป็นไปไม่ได้ที่หน้าพิพิธภัณฑ์ (ด้านหน้าของอาคารศาลากลางเก่า หมายถึงด้านทะเลสาบ = ถนนวิเชียรชม) จะมีกำแพงเมืองครับ
แนวกำแพงเมืองด้านทะเลสาบ ด้านเหนือสุดก็ต้องอยู่ที่เป็นโทรศัพท์กลางเป็นต้นไปครับ

ถ้าอย่างนั้นเป็นบริเวณไหน
ในภาพเห็นเขื่อนหินริมทะเล ที่พี่แอ๊ดกล่าวถึงว่าพระยาวิเชียรคีรี (ชม) ได้ซ่อมแซมอย่างชัดเจน
ที่สำคัญด้านซ้ายของภาพ จะพบว่าแผ่นดินเว้าเข้าไปผิดปกติจากบริเวณอื่น และมีเรือของชาวบ้านจอดอยู่หลายลำ

ด้านซ้ายของภาพอาจจะเป็นส่วนที่เว้าเข้าไปของปากคลองขวาง (ท่าเรือไปวัดสุวรรณคีรีในปัจจุบัน) ก็ได้ครับ
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น พลับพลาก็อยู่ตรงด้านหลังของหน่วยบริการประชาชน (ศูนย์รวมข่าว)
ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเห็นกำแพงเหลืออยู่

แต่ถ้าไม่ใช่ ผมก็ยังคิดว่า อาจเป็นด้านเหนือของไปรษณีย์ ที่มีบ้านเรือนอยู่หลายหลังมาตั้งแต่ครั้งอดีตก็ได้ครับ
(ว่ากันว่าบ้านบางส่วนถูกรื้อทิ้ง ในตอนที่สร้างถนนวิเชียรชมด้วยครับ แต่ยังหาหลักฐานไม่พบ)

ที่สำคัญที่สุด หลังพลับพลา ต้องเจอกำแพงเมืองครับ ไม่อาจหลีกหนีความจริงข้อนี้ไปได้

ส่วนตำแหน่งที่แท้จริงจะอยู่ที่ไหน

คงเป็นปริศนาต่อไปครับ  >:D

พี่แอ๊ด

จากสารคดีเสด็จประพาสต้น สงขลา ทางช่อง 9

พี่แอ๊ด

สแกนไม่ชัด  ขอพิมพ์เพิ่มเติม คือ ร.5 เสด็จเมืองสงขลา 5 ครั้ง ในแต่ละครั้งจะมีการสร้างค่ายหลวงแหลมทราย เพื่อเป็นพลับพลาที่ประทับ ณ หาดสมิหลา ทุกครั้ง และจะมีการแสดงให้ทอดพระเนตรทุกครั้ง เช่น พ.ศ.2433 จัดแสดงวิธีการผสมพันธุ์ช้างให้ทอดพระเนตร  ส่วนพิพิธภัณฑ์ฯ เดิมเป็นบ้านของพระยาสมุทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยว่าราชการจังหวัดสงขลา  ต่อมามอบให้พระวิจิตรวรศาสตร์ (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงพิเศษ ต่อมาเป็น พระยาสุขุมนัยวินิต พำนักและเป็นจวนว่าราชการ โดยใช้บ้านแห่งนี้ถึง 36 ปี

หม่องวิน มอไซ

ตรงนี้แหละครับ ที่การรวบรัดตัดตอนทำให้ประวัติศาสตร์คลาดเคลื่อนไป
พระยาสุขุมนัยวินิต เป็นข้าหลวงพิเศษ จัดการปกครองจังหวัดสงขลาและพัทลุง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ และในปีนั้นเองได้เป็นสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ท่านได้ย้ายไปเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ดังนั้นท่านจึงอยู่ที่สงขลาเพียง ๑๐ ปีครับ

ท่านกลับมาจากต่างประเทศในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งถ้าหลังจากนั้น ท่านมาอยู่ที่สงขลา ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพำนักอยู่ที่ศาลากลางเก่า อาจเป็นในปี พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๓๘
แต่ผมยังหาเอกสารหลักฐานชั้นต้นไม่พบครับ

ส่วนที่รายการเสด็จประพาสต้นบอกว่า ใช้บ้านแห่งนี้ถึง ๓๖ ปีนั้น หมายถึง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๐ ถึง ๒๔๙๖ ในฐานะศาลากลางจังหวัดสงขลานั่นเองครับ ไม่ใช่ว่าใช้อาคารหลังนี้เป็นจวนถึง ๓๖ ปีครับ  ;D

หม่องวิน มอไซ

มาคิด ๆ ดูอีกที โอกาสที่ศาลาน้ำหน้าจวน จะอยู่ตรงหน่วยบริการประชาชน ศูนย์รวมข่าวนั้น ค่อนข้างน้อย
เพราะจากซากกำแพงที่เหลืออยู่ ก็ไม่เห็นช่องที่จะเป็นประตูเมืองครับ
อีกอย่างที่ตรงนั้น เคยมีโรงสีมาก่อน (โรงสีทองมีใช่ไหมครับ) แสดงว่าคงเป็นที่เอกชน ไม่ใช่ที่ดินที่จะสร้าง"จวน"ได้

ก็เหลือความเป็นไปได้คือ ด้านทิศตะวันตกของโทรศํพท์ ซึ่งตรงกับด้านเหนือของไปรษณีย์น่ะครับ

มาลองหาหลักฐานเพิ่มเติมดีกว่า

หม่องวิน มอไซ

ในจดหมายระยะทางไปตรวจราชการ แหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการและคมนาคม มีข้อความว่า...

พี่แอ๊ด

ในหนังสือแม่เล่าให้ฟัง หน้า 105  พระยายมราช (ปั้น สุขุม) ในปี 2463  มีตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงเทพ