ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ภาพถ่ายของ ดร.บอม ที่ต้องไขปริศนากันต่อ

เริ่มโดย Anusorn_ab, 16:23 น. 30 มี.ค 53

หม่องวิน มอไซ

เมื่อนำแผนที่ปี 2478 ซ้อนทับกับภาพถ่ายดาวเทียมใน Google Earth พบว่าตำแหน่งของหลาจาก อยู่ตรงกับปั๊มเชลล์พอดีครับ  :o


หม่องวิน มอไซ

ดังนั้นข้อสรุปของผมคือ
1. ศาลาในภาพของ ดร.บอม อยู่หน้าวัดศาลาหัวยาง
2. มีศาลาแบบเดียวกับในภาพของ ดร.บอม อยู่ตรงกับปั๊มเชลล์ในปัจจุบัน ชื่อว่า หลาจาก

ข้อโต้แย้ง
หากในภาพของ ดร.บอม เป็นหลาจากที่ปั๊มเชลล์ ปัญหาคือ เครื่องหมายระวังรถไฟและศาลาโรงธรรมที่อยู่ในดงไม้จะไม่มีคำอธิบายครับ

ข้อสงสัย
เมื่อจากเก้าเส้งถึงค่าย ตชด.มีต้นมะขามเป็นระเบียบ แล้วต้นไม้ทางขวามือ ในภาพของ ดร.บอม คือต้นอะไร

รอชมต่อครับ  :D

Anusorn_ab

คุณหม่องวิน มอไซ  มีแผนที่เก่าแผ่นใหญ่หรือปล่าว
ถ้ามีขอก็ขอดูด้วยคนครับ

หม่องวิน มอไซ

ยินดีมากครับ ช่วยกันวิเคราะห์นะครับ  ;)
http://www.songkhlaline.com/download/songkhlamap_2478.rar 16.4 MB
ได้จากหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรีครับ

เป็นแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาตั้งเทศบาลเมืองสงขลา พ.ศ. 2478 ครับ
แต่ข้อมูลในแผนที่น่าจะก่อนหน้านี้เล็กน้อย
ก็คงร่วมสมัยกับ ดร.บอมพอดีครับ

Anusorn_ab

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 14:10 น.  20 เม.ย 53
ดังนั้นข้อสรุปของผมคือ
1. ศาลาในภาพของ ดร.บอม อยู่หน้าวัดศาลาหัวยาง
2. มีศาลาแบบเดียวกับในภาพของ ดร.บอม อยู่ตรงกับปั๊มเชลล์ในปัจจุบัน ชื่อว่า หลาจาก

ข้อโต้แย้ง
หากในภาพของ ดร.บอม เป็นหลาจากที่ปั๊มเชลล์ ปัญหาคือ เครื่องหมายระวังรถไฟและศาลาโรงธรรมที่อยู่ในดงไม้จะไม่มีคำอธิบายครับ

ข้อสงสัย
เมื่อจากเก้าเส้งถึงค่าย ตชด.มีต้นมะขามเป็นระเบียบ แล้วต้นไม้ทางขวามือ ในภาพของ ดร.บอม คือต้นอะไร

รอชมต่อครับ  :D

อันนี้ คงต้องหาข้อมูลกันยาวเลย มันอาจจะตรง หรือ ไม่ตรง บ้าง
แต่ก็ยังดีที่เรื่องเล่านี้ก็มีมูลความจริงอยู่นะครับ

Anusorn_ab

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 14:24 น.  20 เม.ย 53
ยินดีมากครับ ช่วยกันวิเคราะห์นะครับ  ;)
http://www.songkhlaline.com/download/songkhlamap_2478.rar 16.4 MB
ได้จากหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรีครับ

เป็นแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาตั้งเทศบาลเมืองสงขลา พ.ศ. 2478 ครับ
แต่ข้อมูลในแผนที่น่าจะก่อนหน้านี้เล็กน้อย
ก็คงร่วมสมัยกับ ดร.บอมพอดีครับ

ขอบคุณเป็นที่ ซู้ด . . . .  O0 :)

หม่องวิน มอไซ

ถือว่าเรามา "สังคายนา" และ "ชำระ" ประวัติศาสตร์กัน
ถือเป็นงานที่สนุกและท้าทายมากครับ  ;D

Singoraman

ดีใจ และเป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ

หม่องวิน มอไซ

อ่านเจอใน นิราศทุ่งหวัง ของ ก.แสงจันทร์ แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒
มีตัวอย่างบางส่วนลงในหนังสือ มรดกเมืองสงขลา มหาวชิราวุธ

ท่อนหนึ่งบอกว่า
กระทั่งถึงวัดอุทัยฝนไม่สร่าง เลยข้ามรางรถไฟไปข้างหน้า
แลดูมืดแปดทิศผิดนัยนา เห็นศาลาวัดหัวยางริมทางจร


ทำให้ทราบว่า วัดศาลาหัวยางนั้น มีการเรียกชื่อว่า วัดหัวยาง เฉย ๆ ด้วย
ส่วนศาลานั้น คงหมายถึง ศาลา ที่อยู่หน้าวัดหัวยาง ซึ่งปรากฏในภาพถ่ายปี ๒๔๗๒ ของ ดร.บอมนั่นเอง

หม่องวิน มอไซ

ส่วนศาลาที่อยู่ถัดไป ก่อนถึงสำโรง
ซึ่งคุณแม่และคุณยายของคุณ Anusorn_ab ได้เล่าให้ฟังนั้น มีความเป็นไปได้สูงที่จะอยู่ในนิราศตอนที่กล่าวว่า
ครั้นมาถึงศาลากลางหว่างวิถี ก้อนเมฆีเศร้าหมองค่อยผ่องใส

เนื่องจากตำแหน่งอยู่เลยสถานีวิทยุโทรเลขไป แต่ยังไม่ถึงสำโรงครับ  ;)


คนเขารูปช้าง

ขอบคุณมากครับ อจ.หม่องฯ ที่พยายามไปค้นหาหลักฐานที่สอดคล้องกันมายืนยันว่า น่าจะมีศาลาอยู่หน้า "วัดหัวยาง"

หม่องวิน มอไซ

ท่านคนเขารูปช้างครับ
ตอนแรกผมก็ไม่แน่ใจว่ามีการเรียกวัดหัวยางเฉย ๆ จริงหรือไม่
หรือว่าผู้ประพันธ์แค่เล่นคำ เพื่อความไพเราะของนิราศ

แต่ลองไปเปิดดูแผนที่สงขลาเก่า ปี ๒๕๐๓ ก็พบว่า เรียก"วัดหัวยาง" จริง ๆ ครับ
http://pirun.ku.ac.th/~faasptps/gimyong/songkhlamap2503.jpg

น่าเสียดายที่แผนที่ที่พี่เอนก นาวิกมูลนำมาลงไว้ในหนังสือสมุดภาพสงขลา พ.ศ. ๒๕๕๑ หมดเพียงวัดหัวยางพอดี ที่เหลือตกขอบหายไปครับ
(แม้จะเป็นแผนที่ที่ไม่ค่อยอัพเดทและมีข้อผิดพลาดมากพอสมควรก็ตาม)



หม่องวิน มอไซ

ในนิราศทุ่งหวัง กล่าวถึง บ้านนาลึก ด้วยครับ
อยู่ก่อนถึงบ้านสำโรง ไม่ทราบว่ามีใครรู้จักบ้านนาลึกบ้างครับ
หรือว่าสูญหายไปพร้อมกับการตั้งเทศบาลเมืองสงขลาไปแล้ว

Anusorn_ab

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 14:10 น.  20 เม.ย 53

ข้อสงสัย
เมื่อจากเก้าเส้งถึงค่าย ตชด.มีต้นมะขามเป็นระเบียบ แล้วต้นไม้ทางขวามือ ในภาพของ ดร.บอม คือต้นอะไร

รอชมต่อครับ  :D

ดูท่าแล้วก็น่าจะเป็นต้นมะข้ามครับ

ภาพของด็อกเตอร์ ถ่ายที่ พ.ศ.2473
ตอนนั้นแม่ผม 7-12 ปี  เอาเป็น 12 ปีแล้วกัน ปีนั้นคือ พ.ศ. 2497
ช่วงพ.ศ. 2473 - 2497 เวลาต่างกัน 24 ปี   

ไม่แน่ใจว่า ในช่วง 24 ปี บ่อยางได้ขยายถนนในเขตเมืองบางหรือปล่าว  เพราะดูจากภาพ หลาหัวยาง
น่าจะเป็นพิ้นทีของถนน จึงต้องรื้อศาลาทิ้ง  และต้องตัดต้นมะขามทิ้งไปด้วย
และผมสันนิฐานว่า ปี พ.ศ. 2497 หลาหัวยาง  น่าจะโดนรื้อไปก่อนแล้ว

ท่านอื่น คิดว่าไง

Anusorn_ab

ผมมีเรื่องเล่า จากภาพนี้ครับ 



รอหน่อยครับ   ช่วงนี้งานเข้า

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 17:32 น.  21 เม.ย 53
ในนิราศทุ่งหวัง กล่าวถึง บ้านนาลึก ด้วยครับ
อยู่ก่อนถึงบ้านสำโรง ไม่ทราบว่ามีใครรู้จักบ้านนาลึกบ้างครับ
หรือว่าสูญหายไปพร้อมกับการตั้งเทศบาลเมืองสงขลาไปแล้ว
ไปทางวัดเกาะถ้ำ   สงขลา

หม่องวิน มอไซ

เอ..ก็แปลกนะครับที่ในนิราศบอกว่า อยู่ก่อนถึงสำโรง

พี่แอ๊ด

ก่อนจะถึงแยกไฟแดงหลาลุงแสง   คนละฝั่งกับหมอสรรเสริญ  ปัจจุบันเป็นหอพัก
จะมีบ้านหลังหนึ่งในอดีตเป็นบ้านที่หรูหรา  ภูมิฐาน  ต้นไม้ร่มรื่นมาก ในละแวกนั้น
แต่ปัจจุบันทิ้งให้รกร้างอย่างน่าเสียดาย   รู้สึกว่าเป็นบ้านพักของอดีตส.ส.สงขลา
นามสกุลทิพย์มณี

Singoraman

จากข้อมูล ที่ทุกท่านช่วยกันวิเคราะห์ศาลาที่ว่า
น่าจะเป็น "ศาลาหัวยาง" หรือ "หลาหัวยาง" นะครับ
คำว่า "หัว" ในภาษาสงขลา หมายถึง "พื้นที่เริ่มต้น" มีใช้หลายที่ เช่น
หัวรั้ว  (ห้างคาร์ฟู หาดใหญ่ ในปัจจุบัน)
หัวโพระ  ที่ ต.เกาะแต้ว
หัวไม่ไผ่  ที่ อ.สิงหนคร
สำหรับ "หัวยาง" น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของพื้นที่ ๆ มี "ต้นยางนา" ขึ้นอยู่และเป็นจุดเด่นเห็นชัด
เมื่อ ณ ตำแหน่งแห่งที่นั้นเป็นที่ตั้งวัด จึงเรียก "วัดหัวยาง"
เมื่อมีศาลากลางหน อยู่บริเวณนั้น จึงเรียก "วัดหลาหัวยาง"
ขอบคุณทุกท่านครับ
ขออนุญาตนำข้อมูลไปขยายต่อเมื่อมีโอกาส
เพื่อประโยชน์ในการสืบค้น "เรื่องราวของแผ่นดินถิ่นเกิด" ต่อไปครับ

Anusorn_ab

อ้างจาก: Anusorn_ab เมื่อ 12:06 น.  22 เม.ย 53
ผมมีเรื่องเล่า จากภาพนี้ครับ 



รอหน่อยครับ   ช่วงนี้งานเข้า

มาเล่าเรื่องของภาพนี้ เป็นภาพสุดท้ายที่ผมมีข้อมูล จากการกลับมาเล่นสงกรานต์ที่บ้านปีนี้ ถือว่าคุ้มจริง ๆ
อาทิตย์ที่แล้วงานเข้า เหลือเกิน ขอโอกาสเขียนเล่าวีรกรรม ให้ได้อ่านครับ

             แม่เล่าว่า ภาพนี้ เป็นศาลาในโรงพยาบาลประสาท  ใช้ประโยชน์สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ 
บรรยากาศประมาณ  ขวัญกับเรียม  อ้ายคล้าวกับทองกวาว ประมาณนั้น
และในช่วงประเพณีชักพระ พระจากวัดศาลาหัวยาง จะใช้หลานี้สำหรับทำบุญ ตักบาตร กรวดน้ำ  รับถวายเพล
เป็นประจำทุกปี
            ศาลานี้เป็นหลังที่อยู่บริเวณมุม ร.พ. ลักษณะเป็นเสาอิฐ โครงหลังคาเป็นไม้  พิ้นศาลาเป็นแบบยกสูงปูด้วยไม้
ซึ่งศาลาลักษณะนี้ ในเขต ร.พ. มีด้วยกัน 3 หลัง 
หลังที่ 1 (จากรูป) อยู่มุมโรงพยาบาล ตำแหน่งปัจจุบัน เสาธง 
หลังที่ 2  อยู่หลังอาคารโรงอาหาร และ ศูนย์ซ่อม
หลังที่ 3  ศาลา ศิลาจารึก อยู่ริมถนน ไทรบุรี
ว่าแล้วเราก็ออกเดินทาง พร้อมอุปกรณ์ชุดเดิม วางแผนว่าจะถ่ายรูป  ศาลาที่ 3  ศิลาจารึก  เป็นอันดับแรก   
ศาลาที่ 1 กะว่าถ่ายบริเวณ ธงสักรูป  ศาลาที่ 2  กะว่าจะหาร่องรอยเสา

Anusorn_ab



จากรูป   เป็นบริเวณของ ร.พ.
สีเขียวอ่อน : บริเวณรั้ว และ ถนนรอบ ร.พ.
สีฟ้า : ศาลา 3 หลัง
สีแดง : บริเวณบ้าน(หลังเดิม) แม่ ก๋ง เหลาม่า
สีส้ม  : เป็นแนวถนนเดิม ก่อนที่ ร.พ. จะล้วมรั้วลวดหนามรอบเขต ร.พ.  ปัจจุบันเป็นกำแพงอิฐทั้งหมด

หม่องวิน มอไซ

ภาพถ่ายของ ดร.บอม ด้านหลัง ดูเหมือนว่ามีแนวภูเขาด้วยครับ
พอจะยืนยันสอดคล้องกับคำบอกเล่าของคุณแม่คุณ Anusorn_ab ได้ไหมครับ
ถ้าได้ก็เยี่ยมเลยครับ  :D