ตอบคุณกระติ๊กครับ จากหนังสือ ชื่อบ้านนามเมืองถาคใต้ ของ รศ. ประพนธ์ เรืองณรงค์ อธิบาย ที่มาของคำว่า "คอหงส์" ไว้ว่า
คอ หมายถึงต้นค้อ (ไม้จำพวกปาล์มชนิดหนึ่ง) ที่ขึ้นอยู่บริเวณเขานั้นแล้วดูสง่างามเหมือนดั่งหงส์ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ค้อหงส์ แต่เมื่อมาเขียนถ่ายเสียงภาษากลางกลับเพี้ยนเป็น คอหงส์ ครับ
และจากเวบของเทศบาลคอหงส์ (
http://www.nmt.or.th/songkhla/mueangkhohong/Lists/List39/AllItems.aspx) ได้อธิบายไว้ 2 ประเด็นดังนี้
ประวัติความเป็นมา "คอหงส์"
"ตามที่ได้สอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นความเป็นมาของคำว่า "คอหงส์" นั้น ท่านผู้รู้มักจะพูดหรือเล่าเรื่องดังกล่าวไม่เหมือนกันซึ่งทำให้ไม่ทราบว่า ประเด็นไหนกันแน่ที่มีความถูกต้อง เพราะทั้งสองประเด็นที่ผู้รู้ได้เล่าให้ฟังเมื่อนำมาประเมินมีความเป็นไปได้ ทั้งสองประเด็นคือถูกต้องทั้งสองประเด็น โดยจากคำบอกเล่า
จากผู้ที่รู้ข้อมูลคนที่ 1 ตามภูมิของผู้รู้ข้อมูลและตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุว่าที่มาคำว่า คอหงส์ ประเด็นที่หนึ่งเนื่องจากมีภูเขาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองหาดใหญ่ ทอดตัวยาวตามแนวขวางของพระอาทิตย์ซึ่งมีลักษณะสวยงาม ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของศูนย์วิจัยยางสงขลา บริเวณภูเขาดังกล่าวมีน้ำตกขนาดเล็ก ถ้ามองจากเขตตัวเมืองหาดใหญ่เวลาฤดูฝนจะเห็นน้ำตกชัดมาก บริเวณด้านข้างน้ำตกจะมีถ้ำไม่ใหญ่มากนัก ซึ่งพระสงฆ์ที่ได้เดินทางมาธุดงค์มักจะใช้เป็นที่พักหรือใช้เป็นที่พักผ่อน และที่ถ้ำแห่งนี้ได้มีการก่อสร้างสถูปเจดีย์รูปหงส์ด้วยอิฐหิน และด้วยเหตุผลอะไรไม่ทราบต่อมาได้มีการเรียกขานกันต่อ ๆ กันมาว่า เขาก่อหงส์ แล้วภายหลังคงจะเพี้ยนมาเป็น เขาคอหงส์ จะจริงเท็จแค่ไหนนี้เป็นที่มาของคำว่า คอหงส์
จากผู้ที่รู้ข้อมูลคนที่ 2 จาก การได้สอบถามท่านผู้รู้หลายท่าน มักจะบอกที่มาคล้ายกันหรือเหมือนกันว่า มาจากสถานที่บริเวณค่ายเสนาณรงค์ปัจจุบัน เดิมเป็นป่าเนินเขามีต้นไม้ธรรมชาติ ที่สวยงามก่อนที่จะเป็นค่ายเสนาฯ ได้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นตาลโตนด ชื่อว่า ต้นฆ้อ ซึ่งในบริเวณนั้นต้นฆ้อจะสูงกว่าต้นอื่นๆ ถ้ามองมายังต้นฆ้อในเวลาช่วงกลางคืนก็ดูคล้าย ๆ จะมีนกบินอยู่บริเวณต้นฆ้อ เพราะต้นฆ้อสูงโดดเด่นกว่าต้นไม้อื่นมาก ประกอบกับบริเวณตรงกันข้ามเนินเขาเป็นป่าพรุมีน้ำขังอยู่ตลอดปีซึ่งปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านบ้านวังหงส์
ข้อมูลเพิ่มเติมของต้นค้อครับ จากวิกิพีเดีย
ค้อ (Livistona speciosa) มีถิ่นกำเนิดที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นปาล์มต้น เดี่ยว ชอบขึ้นอยู่บนภูเขา ขนาดของลำต้นประมาณ 30 เซนติเมตร สูงได้ถึง 25 เมตร ใบเป็นรูปพัด จักเว้าลึกไม่ถึงครึ่งตัวใบ จีบเวียนรอบใบสวยงาม ใบอ่อนสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อดอกออกระหว่างกาบใบ ช่อยาว 1.50 เมตร ผลกลมรี ขนาด 2 เซนติเมตร ผลแก่สีเขียวคล้ำ