ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ราชบัณฑิตย แจงเขียนคำศัพท์ใหม่เน้นเสียงอังกฤษ - นักอักษรฯชี้วงการภาษาวุ่นแน่

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 15:45 น. 01 ต.ค 55

ทีมงานบ้านเรา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   1 ตุลาคม 2555 14:25 น.   

'ราชบัณฑิตย' แจงเหตุชงศัพท์ยืมจากภาษาอังกฤษ เสียงอ่อยรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้ง ยันจะปรับแก้ตามข้อเสนอของเสียงส่วนใหญ่ ถ้าเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ก็ปรับแก้เฉพะที่เห็นด้วย ขณะที่ นักอักษรศาสตร์ ระบุหากเปลี่ยนวงการภาษาวุ่น
       
       จากกรณีกองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถานเตรียมสำรวจความเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ 176 คำ เนื่องจากเห็นว่ามีการเขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขระวิธีไทยและการอ่านออกเสียง โดยจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยขณะนี้มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำศัพท์ดังกล่าว
       
       วันนี้ (1 ต.ค.)นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่มีคนออกมาคัดค้านการขอเปลี่ยนการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ทั้ง176 คน ขอชี้แจงเจตนาอีกครั้งว่าเพื่อให้คำศัพท์ดังกล่าว เขียนตรงกับเสียงวรรณยุกต์และการอ่านออกเสียง และถ้าเปลี่ยนแล้วใครไม่เขียนตามราชบัณฑิตก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะทุกวันนี้ก็มีคำศัพท์หลายคำที่ไม่ได้เขียนตามแบบราชบัณฑิตอยู่แล้ว
       
       แต่การเสนอให้เปลี่ยนเพราะเมื่อออกเสียงอย่างไรก็ควรเขียนอย่างนั้นราชบัณฑิต กล่าวต่อว่า ทั้งนี้คำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษแล้วได้เขียนตามเสียงวรรณยุกต์ถูกต้อง เช่น ประชุมอังค์ถัด ดาวน์โหลด และคำว่าโหวต ดังนั้นเมื่อหลายคำเขียนถูกที่เหลือก็ควรเปลี่ยนให้ถูกต้องด้วย อย่างไรก็ตามต้องรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ และถ้าเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ก็ปรับแก้เฉพะที่เห็นด้วย ซึ่งตนก็ไม่คัดค้านอะไร ซึ่งก็จะปรับแก้ตามข้อเสนอของเสียงส่วนใหญ่
       
       นายวัฒนะ บุญจับ นักอักษรศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า น่าเห็นใจและน่าเป็นห่วงพอๆ กัน ในส่วนที่น่าเห็นใจก็คืออิทธิพลของการยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการยืมคำจากภาษาที่ไม่ใช่ภาษาวรรณยุกต์มาใช้ด้วยวิธีทับศัพท์ เพราะเมื่อถอดถ่ายอักษรมาเป็นภาษาไทยนั้นถือกติกาว่าไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เนื่องจากผู้รู้ภาษารู้ดีว่าจะอ่านออกเสียงสูงต่ำอย่างไรก็ไม่กระทบกับความหมาย แต่พอเวลาอ่านออกเสียงกันจริงๆ กลับใช้อีกกติกาหนึ่ง คือกลุ่มคนที่รณรงค์การใช้ภาษาแบบบ้าคลั่งเกิดมาบังคับว่าเขียนอย่างไรต้องออกเสียงอย่างนั้น ดังนั้น เมื่อไม่มีวรรณยุกต์กำกับก็ต้องไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ หากออกเสียงแปรไปจากรูปเขียนก็มาถือว่าผิดเสียด้วย ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ หากจะเปลี่ยนกันจริงๆ ควรเปลี่ยนทั้งระบบ ซึ่งคงเกิดปัญหายุ่งยากในวงการภาษาอีกไม่ใช่น้อย
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

จิตว่าง

..



...ราด บัน ดิด ยังบัญญัติไว้ผิดเรย


ตัว พ พาน ให้ใช้ ph  ซึ่งทีถูกต้อง คือ p เท่านั้น


อำเภอ พุนพิน จึงกลายเป็น phun phin ทั้งที่ ต้องเป็น pun pin ง่ายๆ กลับทำให้ยาก บวดหัว ต้องกิน ทัมใจ


ผิดพลาดกันทั้งประเทศ ทำเอาฝรั่งงงไปเรย.... ส.โอ้โห ส.ก๊ากๆ ส.ยกน้ิวให้

puiey

ภาษาอังกฤษ เค้าไม่มีการผันวรรณยุกต์เหมือนภาษาไทย เลยใช้รูปแบบคำที่ไม่ใส่วรรณยุกต์ มานานแล้ว ถ้าจะเปลี่ยน ก็คิดว่าดี แต่มันจะเกิดผลกระทบมากนะครับ ถ้าใช้แบบเดิม ก็ยังใช้ได้ปกติดี ลองเลือกเอาครับ กับแบบเดิมที่เราใช้กันมา และมีความเข้าใจอยู่แล้ว กับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ที่ต้องใช้เวลาอีกไม่รู้เท่าไหร่จึงจะใช้กันได้ถูกต้องทั้งหมด
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

เพลบอย

เปลี่ยนเหอะครับดีแล้ว สอนการบ้านลูกเจอคำยืมมา ยกตัวอย่างคอมพิวเตอร์ ลูกอ่าน คอม-พิว-เตอ พอเราบอกว่าให้อ่านว่า คอม-พิว-เต้อ ลูกตอบกลับมาว่าไม่เห็นมีวรรณยุกต์ เราเลยไปไม่ถูก ทำให้ถูกต้องเสียแต่วันนี้ดีกว่า ต่อไปเด็กก็จะไม่งงกับคำยืมเหล่านี้เวลาเรียน ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้
   อีกอย่างคำพวกนี้มันต้องอาศัยประสบการณ์ในการได้ยินได้ฟังมาว่าอ่านออกเสียงยังไง เน้นคำหนักตรงไหน หากให้เด็กอ่านเองเด็กอ่านไม่ถูกแน่นอนหากไม่มีวรรณยุกต์กำกับ  ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้

นายไข่นุ้ย

ข่าวล่าสุด


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute of Thailand)

             ราชบัณฑิต ประกาศ ไม่มีการแก้คำทับศัพท์ 176 คำ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อย่างแน่นอน บอกเป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่้ง ไม่ใช่ข้อมติ

             เมื่อวานนี้ (1 ตุลาคม) ราชบัณฑิตยสถาน ประกาศผ่านเฟซบุ๊ก ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute of Thailand) ว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่กำลังดำเนินการจัดพิมพ์ รวมทั้งยังไม่มีมติให้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

             ทั้งนี้ นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า ตามที่ได้มีประชาชนจำนวนมากแสดงความห่วงใยเรื่องรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ผ่านสื่อต่าง ๆ นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอขอบคุณและขอชี้แจงว่า ราชบัณฑิตยสถานได้ถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่า การเขียนคำในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับตามเหตุผลดังกล่าว

            เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวต่อไปว่า ในปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานมีราชบัณฑิตสาขาวิชาต่าง ๆ 84 คน ภาคีสมาชิกสาขาวิชาต่าง ๆ 80 คน และมีคณะกรรมการวิชาการในสาขาวิชาการต่าง ๆ กว่า 90 คณะ ซึ่งอาจเสนอความเห็นทางด้านวิชาการให้ราชบัณฑิตยสถานพิจารณาได้ และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ในฐานะราชบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย ได้เสนอขอให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ โดยแนะให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ หรือใช้อักษรสูง หรือใช้ ห นำในคำที่ไม่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ ราชบัณฑิตยสถานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางการเขียนคำที่มาจากต่างประเทศ เพื่อพิจารณาเรื่องที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล เสนอ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติให้ออกแบบสอบถามตามข้อเสนอของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล โดยสอบถาม ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และกรรมการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรเป็นเบื้องต้นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555 และจะเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวต่อสภาราชบัณฑิต ในการประชุมครั้งที่ 4/2555 วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

           "ผลการรับฟังความคิดเห็นเฉพาะภายในองค์กรของราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับหลักการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะมีผลเป็นประการใด เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ข้อยุติ การแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในทางราชการ ทางการศึกษา มาเป็นเวลานาน หากมีการเปลี่ยนแปลง ย่อมมีผลกระทบสำคัญต่อการใช้ภาษาไทยของหน่วยงานราชการ นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป

            ดังนั้น จึงต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานและบุคคลดังกล่าวก่อน ตามหลักการพื้นฐานที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนที่จะพิจารณาดำเนินการไปในทางใดทางหนึ่ง และพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่ขณะนี้กำลังดำเนินการจัดพิมพ์นั้น ไม่ได้แก้ไขรูปแบบการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษตามที่เป็นข่าว ส่วนความคิดเห็นของประชาชนที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ราชบัณฑิตยสถานจะรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป" เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าว

            ท้ายนี้ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ได้กล่าวยืนยันว่า ไม่มีการแก้ไขคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิมพ์ และจะเสร็จพร้อมแจกให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ส่วนราชการ สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ในต้นปี พ.ศ. 2556 เนื่องจากได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา

ขอบคุณที่มา http://hilight.kapook.com/view/76764
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

ไก่ฟักด้าม

จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็คงต้องอธิบายวิธีการใช้คำเหล่านี้ให้สาธารณะชนทราบด้วยครับ
จะได้เข้าใจตรงกัน 

ส.หลกจริง ส.ยักคิ้ว ส.ยกน้ิวให้