ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สักการะทวดหลัก บ้านหัวถนน อีกหนึ่งตำนานทรงคุณค่าเมืองสงขลา

เริ่มโดย ฅนสองเล, 14:50 น. 17 ต.ค 55

ฅนสองเล

ด้วยความตั้งใจว่าอยากจะแนะนำสถานที่สำคัญของจังหวัดสงขลา ภายใต้แนวคิดเสน่ห์สงขลา เพื่อนำเสนอสถานที่สำคัญ ทรงคุณค่าของจังหวัดสงขลา ให้ผู้ที่สนใจได้รู้จัก ได้ระลึกนึกถึง และทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง

ในฐานะลูกรัตภูมิ เขยสะเดา เลือดเนื้อสงขลา-พัทลุง แม้จะมีข้อมูล องค์ความรู้ และฝีมือในการเขียน การถ่ายภาพไม่มากมายนักแต้มีความตั้งใจจริงในการแบ่งปันเรื่องราวดีๆ กับทุกท่าน โดยขอเริ่มต้นแนะนำสถานที่สำคัญของจังหวัดสงขลาอย่าง ศาลาทวดหลัก ซึ่งตั้งอยู่บ้านหัวถนน ม.8 ต.ปริก อ.สะเดา (หากขับรถมุ่งหน้าสู่เมืองสะเดา ศาลาทวดหลักจะอยู่ในซอยเล็กๆ ซ้ายมือ ก่อนถึงวัดหัวถนนประมาณ 200 เมตร และเข้าไปในซอยประมาณ 200 เมตร)

[attach=1]
นี่คือข้อมูลเกี่ยวกับทวดหลัก

[attach=2]
ตำนานทวดหลัก ที่มีการติดไว้ในศาลาทวดหลัก

ฅนสองเล

[attach=1]

ทวดหลัก เป็นตราสัญลักษณ์ ประจำองค์การบริหารส่วนตำบลปริกคือ เสาหลักเมือง(ทวดหลัก) โดยข้อมูลใน www.tambonprik.go.th เกี่ยวกับตำนานทวดหลัก อันเป็นสัญลักษณ์ของตำบลปริก มีดังนี้


เสาหลักเมือง เป็นเสาหินแกรนิตแปดเหลี่ยม ความยาวโดยรอบ ๖๑ เซนติเมตร สูงจากพื้น ๗๔ ซ.ม.ที่ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปดอกบัวตูม ความยาวโดยรอบ ๕๕ เซนติเมตร มีฐานรองรับเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย จากฐานถึงยอดเสามีความสูง ๒๘ เซนติเมตร ตั้งอยู่ บ้านหัวถนน หมู่ที่ ๘ ตำบลปริก ตามหลักฐานเอกสารและคำบอกเล่าสันนิษฐานว่า เมื่อครั้งที่สงขลาเป็นเมืองใหญ่ชั้นโท ขึ้นกับมลฑลนครศรีธรรมราช และเป็นเมืองหน้าด่านชายแดน

ที่มีความสำคัญทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๕๐๕) ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสงขลา (บุญส่ง)จัดสร้างทางหลวงจากเมืองสงขลาไปต่อกับพรมแดนเมืองไทรบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าให้จัดสร้างทางหลวงจากเมืองสงขลาไปต่อพรมแดนเมืองไทรบุรีและ ให้เจ้าพระยาไทรบุรีสร้างถนนต่อไปในแขวงเมืองไทรบุรี ตำนานของคนเฒ่า คนแก่เล่าว่า เจ้าพระยาวิเชียรคีรีเจ้าเมืองสงขลา และเจ้าพระยาไทรบุรีเจ้าเมืองไทรบุรีได้กำหนดเขตแดนเพื่อการจัดสร้างทางและแบ่งเขตเมืองกัน ได้ตกลงให้มีการ "เดินช้าง" ฝ่ายละ ๑ เชือก จากเมือง ทั้งสองคือจากเมืองสงขลา และจากเมืองไทรบุรี กลางคืนเมื่อไก่ขันหน ที่หนึ่งให้ปล่อยช้างเดินออกพร้อมกัน ช้างพบกันที่ใดให้ยึดสถานที่นั้นเป็นเขตเมือง และเป็นจุดสิ้นสุดการสร้างถนนทางหลวง

[attach=2]

ปรากฏว่าช้างทั้ง ๒ เชือก ได้เดินมาพบกันที่บ้านหัวถนน ทั้งสองเมืองจึงกำหนดให้เป็นเขตเมือง และได้สร้างถนนมาบรรจบกัน โดยมีเสาหินแกรนิตแกะสลักปักไว้เป็นหลักฐานชาวบ้านเรียกว่า "ทวดหลัก" และเรียกสถานที่นี้ว่า "บ้านหัวถนน" มาจนถึงปัจจุบัน ในการทำพิธีปักเสาหลักนั้นเล่าว่า เจ้าพระยาวิเชียรคีรีให้เจ้าหน้าที่ออกประกาศบอกชาวบ้านในละแวกนั้นว่าในเวลากลางคืนเมื่อมีคนมาเรียกที่บ้าน ที่มีเจ้าของบ้านเป็นหญิงท้องแก่ ไม่ต้องขานรับ ถ้าผู้ใดขานรับจะต้องถูกนำไปฝังทั้งเป็น เพื่อประกอบพิธีปักหลักเขตเมืองต่อไป ปรากฏว่ามีหญิงท้องแก่คนหนึ่ง ขานรับ จึงถูกเจ้าหน้าที่นำตัวไปยังบริเวณที่กำหนด ขุดหลุมเป็นรูปแปดเหลี่ยม ลึกพอประมาณ ให้หญิงท้องแก่นั่งในสาแหรกหวาย สอดไม้คานไว้ปากหลุมและสับหวายสาแหรกให้หญิงนางนั้นตกลงในหลุม แล้วฝังกลบพร้อมทำพิธีปักหลุมบนหลุม หญิงท้องแก่ผู้นั้นมีชื่อว่า "เลื่อน" ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "ทวดหลัก" และกลายเป็นสถานที่ที่ชาวบ้าน ให้ความเคารพศรัทธามาจนปัจจุบัน (ผู้ให้ข้อมูล นายกระจ่าง ศรีทอง/ผู้รวบรวมข้อมูล นายบัญญัติ อัตมณีย์)

[attach=3]
บริเวณทวดหลัก ทางอบต.ปริก ได้มีการสร้างศาลาทวด และถนนคอนกรีตจากถนนใหญ่จนถึงศาลาทวดและยังมีชาวบ้านมาสักการะบูชา แก้บน แวะเวียนมาเยี่ยมชมอยู่บ้าง

[attach=6]

ฅนสองเล

[attach=2]

บริเวณศาลาทวดหลัก ค่อนข้างจะดูรกร้างไปนิด ตั้งใจว่าปีหน้าในช่วงที่มีงานประจำปีจะแวะเวียนไปดูว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง อยากฝากถึง อบต.ปริก อ.สะเดา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูแลตำนานคู่บ้านเมืองของเราให้สมกับที่เป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดสงขลาด้วยครับ

ณัชชพร


เณรเทือง

ชาวปริกน่าจะร่วมมือกันจัดงานสมโภชน์นะครับนะ

ขับรถผ่านทุกวันเหมือนกัน


เณรเทือง

ผู้บริหารตำบลปริก ทั้งกำนัน, อบต. (สามี-ภรรยากัน) ท่านเป็นอิสลาม ยังไงก็ช่วยตั้งอนุกรรมการจัดงานสมโภชน์ขึ้นด้วยนะครับ
จะเป็นเกียรติแ่ก่ชาวปริกมหาศาลและเป็นการรำลึกถึงคุณทวดด้วยครับ

PoPoz

ขอบ คุณมากเลย ครับท่านสำหรับความรู้ วันไหน มีโอกาส จะไปบูชาหน่อย

pony frash

ใครมาที่สงขลา นอกจากสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วอย่าลืมแวะชม สนามวัวชนสิงหนคร และสนามโคชนบ้านคลองแงะ ด้วยนะคะ
ติดตามข่าวสารวัวชน กีฬาประเพณีของชาวปักษ์ใต้ ได้เป็นประจำที่ เว็บวัวชน https://bullfighting.bet/