ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ปลากระพงในกระชังเกาะยอตายเยอะ กรมประมงเร่งตรวจสอบ

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 09:57 น. 20 ต.ค 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

3 หน่วยงานของกรมประมง ลงพื้นที่ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา ตรวจสภาพน้ำ ตรวจออกซิเจนในน้ำและเก็บตัวอย่างปลาไปทำการตรวจโรค หลังได้รับการร้องเรียนว่า ปลากะพงขาวในกระชังที่เกาะยอตายเป็นจำนวนมาก

วันที่ข่าว : 19 ตุลาคม 2555

จากกรณีที่ปลากะพงขาวในกระชัง บริเวณหมู่ที่ 1 ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา ลอยตายเป็นจำนวนมากเกลื่อนกระชังกว่า 100 กระชัง ตั้งแต่ขนาด 8 - 12 นิ้ว อายุในการเลี้ยง 2 - 5 เดือน น้ำหนักประมาณ 25 – 50 กรัม ผู้เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังกำลังได้รับความเดือดร้อนและประสบปัญหาขาดทุน

ในวันนี้(19 ต.ค.55) นายสมพร รุ่งกำเนิดวงศ์ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่ง พร้อมด้วยนักวิชาการประมงจากสถาบันวิจัยสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา และสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา ได้เดินทางลงพื้นที่หมู่ที่ 1 ต.เกาะยอ โดยลงเรือไปทำการตรวจสภาพแวดล้อมโดยรอบบริเวณกระชังเลี้ยงปลากะพงขาว ทำการเก็บตัวอย่างน้ำและทำการตรวจสอบสภาพออกซิเจนในน้ำ ใกล้กระชังเลี้ยงปลาที่ปลาตาย จำนวน 4 จุด รวมทั้งเก็บตัวอย่างปลาที่ลอยหัวกำลังจะตายในกระชังเลี้ยงเพื่อนำไปตรวจสอบโรค ตลอดจนบันทึกภาพสภาพแวดล้อมบริเวณโดยรอบพื้นที่หมู่ที่ 1 ต.เกาะยอ ซึ่งมีโฮมสเตย์ ปลูกสร้างอยู่ในทะเลรายล้อมบริเวณที่เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังของเกษตรกร

นายสมพร รุ่งกำเนิดวงศ์ กล่าวว่า ในเรื่องของปลากะพงขาวในกระชังตายที่ หมู่ที่ 1 ต.เกาะยอ หน่วยงานของกรมประมง ประกอบด้วย สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่ง สถาบันวิจัยสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา และสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา ได้เข้ามาดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำ ดูสภาพแวดล้อมและเก็บตัวอย่างปลาไปด้วยเพื่อทำการตรวจโรคอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าว จะนำมาประมวลทั้งหมดและดูสภาพแวดล้อมทั่วไปด้วยว่า ในทางเพาะเลี้ยงจุดตรงนี้เป็นอย่างไร และในส่วนของสิ่งแวดล้อมดูด้วยว่า สิ่งปฏิกูลต่างๆ มาจากไหนบ้าง จึงจะสรุปได้ว่า สาเหตุที่ปลาตายเป็นจำนวนมากเนื่องจากสาเหตุอะไร สำหรับระยะเวลาการตรวจโรคปลาใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ การวิเคราะห์น้ำ 2 วัน ส่วนค่าออกซิเจน จากสภาพขณะนี้อยู่ที่ระดับ 5.5 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่มีปัญหา แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องดูปัจจัยอื่นเสริมด้วย

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : สุธิดา พฤกษ์อุดม สวท.สงขลา

นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

ไทรทัน


พรชัย

เห็นใจชาวประมงจังเลย ปัจจุบันอะไรๆก็แพง
คิดดี พูดดี ทำดี อะไร ๆ ก็ดี ๆ

Destiny

ตอนนี้ไม่ใช่ที่เกาะยอเท่านั้นที่เกิดปัญหานี้ ทะเลน้อยก็มีและเกิดมาก่อนหน้านี้แล้ว กรณีทะเลน้อยเกิดจากการย้อมสีกระจูดแล้วเทสีย้อมที่เหลือลงแหล่งน้ำ ซึ่งสีย้อมกระจูดมีสารพิษ ทำให้สัตว์น้ำบริเวณนั้นได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ส.อ่านหลังสือ
อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ
"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจหนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"  พระบรมราชปณิธานของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

Williamglisk

Why a rare image of one of Malaysia's last tigers is giving conservationists hope
MEGA онион
Emmanuel Rondeau has photographed tigers across Asia for the past decade, from the remotest recesses of Siberia to the pristine valleys of Bhutan. But when he set out to photograph the tigers in the ancient rainforests of Malaysia, he had his doubts.
 
"We were really not sure that this was going to work," says the French wildlife photographer. That's because the country has just 150 tigers left, hidden across tens of thousands of square kilometers of dense rainforest.
 
https://mega555m3ga.com
mega555kf7lsmb54yd6etzginolhxxi4ytdoma2rf77ngq55fhfcnyid
 
"Tiger numbers in Malaysia have been going down, down, down, at an alarming rate," says Rondeau. In the 1950s, Malaysia had around 3,000 tigers, but a combination of habitat loss, a decline in prey, and poaching decimated the population. By 2010, there were just 500 left, according to WWF, and the number has continued to fall.
 
The Malayan tiger is a subspecies native to Peninsular Malaysia, and it's the smallest of the tiger subspecies in Southeast Asia.
 
"We are in this moment where, if things suddenly go bad, in five years the Malayan tiger could be a figure of the past, and it goes into the history books," Rondeau adds.
 
Determined not to let that happen, Rondeau joined forces with WWF-Malaysia last year to profile the elusive big cat and put a face to the nation's conservation work.
 
It took 12 weeks of preparations, eight cameras, 300 pounds of equipment, five months of patient photography and countless miles trekked through the 117,500-hectare Royal Belum State Park... but finally, in November, Rondeau got the shot that he hopes can inspire the next generation of conservationists.
 
https://mega555drknet.com
m3ga.gl
 
"This image is the last image of the Malayan tiger — or it's the first image of the return of the Malayan tiger," he says.