ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โครงการฟื้นฟูทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 11:52 น. 22 ต.ค 55

แมวส้ม

จ้างก็ทำอะไรพวกที่บุกรุกเข้ามาสร้างบ้าน สร้างห้องแถวในที่ดินรถไฟไม่ได้

JATE_Gmail

ปรับปรุงเลยครับ ดีเซลรางก็ได้ หรือรถไฟฟ้าไฟเลย ก็ดี ขอให้มี มีประโยชน์ ลองไปดูรถตู้ 19-20 คน / คัน เคยเห็นใหม

รถเมย์คนเต็มทางเดินอะ เสียดสีกันซะ (เสียว)

รถสองแถว แทบ ยกล้ออะ วันดีคืนดี มีล้อระเบิดแน่ ไม่ก็ หักกลาง หุหุ ไม่ก็ตกจากรถ เคยเห็นอุบัติเหตุรถชนท้ายรถสองแถวที่มีคน

ยืนเยอะๆใหม สยองมาก

สร้างเลยครับ ต้อนรับ AEC


หม่องวิน มอไซ

ผู้ว่าฯ สงขลา เร่งแก้ปํญหาด้านที่อยู่อาศัยแก่ชุมชนที่อาศัยในที่ดินของการรถไฟ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา 9 ตุลาคม 2556

วันนี้(9 ต.ค.) นายกฤษฏา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนที่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสงขลา อ.เมืองสงขลา ตามโครงการปรับปรุงเส้นทางเดินรถไฟสายหาดใหญ่ – สงขลา โดยมีตัวแทนประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินการรถไฟ ร่วมเข้ารับฟังแนวทางการช่วยเหลือของจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีส่วนราชการต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหา เช่น ตัวแทนการรถไฟ , การไฟฟ้าจังหวัดสงขลา , การประปาพื้นที่สงขลา เข้าร่วมประชุม

นายกฤษฏา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า สำหรับการแก้ปัญหาให้ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในที่ดินการรถไฟ ซึ่งเกรงว่าทางราชการจะไล่ออกจากที่ดินดังกล่าวนั้น จังหวัดได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ เช่น ประปา และไฟฟ้า เข้าไปดูแล และให้บริการประชาชนอย่างเป็นธรรม เรื่องของการใช้มิเตอร์น้ำ และไฟฟ้าที่แพงกว่าปกติ เนื่องจากผู้ที่ครอบครองบ้านพักได้รับการออกทะเบียนบ้านชั่วคราว และ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้มอบหมายให้นายอำเภอเมืองสงขลา นายอำเภอหาดใหญ่ เข้าไปสำรวจถึงจำนวนราษฎร และสิ่งปลูกสร้างที่แท้จริงว่ามีอยู่เท่าไรและจะออกทะเบียนฉบับทั่วไปให้แก่ราษฎรดังกล่าวเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอใช้ประปาและไฟฟ้าในอัตราปกติ

จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้พบประชาชนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งรวมตัวอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสงขลา มีจำนวนหลายร้อยคน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ชี้แจงถึงแนวทางการช่วยเหลือของจังหวัด พร้อมทั้งยืนยันกับชาวบ้านว่า โครงการก่อสร้างรถไฟ หาดใหญ่-สงขลา จะเป็นโอกาสพัฒนาความเจริญของจังหวัดสงขลา ลดปัญหาการจราจร ติดขัด และจะดำเนินการได้เมื่อรัฐบาลเห็นชอบและอนุมัติความช่วยเหลือให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ของทางรถไฟด้วย ทำให้ประชาชนที่มารวมตัวกันต่างพึงพอใจ และแยกย้ายกันกลับในเวลาต่อมา

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

ถ้าไม่อยากมีปัญหากับผู้บุกรุกบริเวณทางรถไฟเดิม  ก็คงต้องมีการเบี่ยงแนวทางบ้างล่ะครับ
จะทำได้แค่ไหนก็ต้องดูกันต่อไป  เพราะทราบๆกันว่ามีการปลูกสิ่งก่อสร้างมากมายยังกะดอกเห็ด
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

เห็นด้วยคน

ผมขอสนับสนุนเรื่องรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ด้วยคนครับ  แต่มีประเด็นปัญหาเรื่องการบุกรุกที่ดินในแนวเส้นทางรถไฟ  ผมว่ามันไม่ทางเลือกอื่นครับที่รัฐจะขอเอาที่ดินคืน(ไล่ผู้บุกรุก) เพราะว่ามันผิดกฏหมายอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าผู้บุกรุกจะครอบครองมาเป็น 20-30 ปีก็ตาม เพราะว่าในกฏหมายไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินของหลวงได้  บางคนว่าให้เบี่ยงเส้นทางใหม่  ก็เท่ากับไปเวณคืนที่ดินของชาวบ้านทำให้เสียงบประมาณโดยใช่เหตุ  ทั้งๆที่ดินในเส้นทางเดิมก็มีอยู่แล้ว  บางครั้งเราก็ต้องใช้กฏหมายบังคับบ้าง  เดี๋ยวนี้มีอะไรนิดหน่อยก็ใช้กฏหมู่ก่อม็อบอยู่ตลอด จนทำให้กฏหมู่อยู่เหนือกฏหมายตลอดไป  แล้วบ้านเมืองในอนาคตจะอยู่กันยังไง

peeak

อ้างจาก: เห็นด้วยคน เมื่อ 10:09 น.  11 ต.ค 56
ผมขอสนับสนุนเรื่องรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ด้วยคนครับ  แต่มีประเด็นปัญหาเรื่องการบุกรุกที่ดินในแนวเส้นทางรถไฟ  ผมว่ามันไม่ทางเลือกอื่นครับที่รัฐจะขอเอาที่ดินคืน(ไล่ผู้บุกรุก) เพราะว่ามันผิดกฏหมายอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าผู้บุกรุกจะครอบครองมาเป็น 20-30 ปีก็ตาม เพราะว่าในกฏหมายไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินของหลวงได้  บางคนว่าให้เบี่ยงเส้นทางใหม่  ก็เท่ากับไปเวณคืนที่ดินของชาวบ้านทำให้เสียงบประมาณโดยใช่เหตุ  ทั้งๆที่ดินในเส้นทางเดิมก็มีอยู่แล้ว  บางครั้งเราก็ต้องใช้กฏหมายบังคับบ้าง  เดี๋ยวนี้มีอะไรนิดหน่อยก็ใช้กฏหมู่ก่อม็อบอยู่ตลอด จนทำให้กฏหมู่อยู่เหนือกฏหมายตลอดไป  แล้วบ้านเมืองในอนาคตจะอยู่กันยังไง


เห็นด้วยอย่างแรง .......แผนที่ทางอากาศหรือหลักฐานต่างๆมันลบล้างไม่ได้หรอกครับ ที่หลวงก็คือที่หลวง

หม่องวิน มอไซ

รายงานพิเศษ : รื้อฟื้นรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ฝันที่เป็นจริง คุ้มกับค่าเยียวยา ผู้บุกรุกเขตรถไฟหรือไม่
ปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์
แนวหน้า
วันเสาร์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556, 06.00 น.

จังหวัดสงขลานั้น มีปัญหาเช่นเดียวกับจังหวัดที่เป็นเมืองเศรษฐกิจอื่นๆ ในประเทศไทย นั่นคือปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากความเติบโตของตัวเมือง ในขณะที่ประชากรเพิ่ม รถยนต์ ยานพาหนะเพิ่ม แต่ถนนหนทางมีเท่าเดิม โดยเฉพาะ จ.สงขลา เป็นเมือง "หน้าด่าน" ที่ติดกับประเทศเพื่อน คือ ประเทศมาเลเซีย และมีปริมาณสินค้าส่งออก ทางด่านชายแดน อ.สะเดา จ.สงขลา ที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย และมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยทางด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นอันดับ 1 ของประเทศ

แต่...ปัจจุบัน ถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายเอเชีย ที่เริ่มต้นตั้งแต่เขตเทศบาลนครสงขลา จนถึง ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเกือบ 100 กิโลเมตร ซึ่งในอดีตใช้เวลาในการสัญจร ไม่เกิน 1 ชั่วโมง มาถึง ณ วันนี้ ต้องใช้เวลาในการเดินทางถึง 2 ชั่วโมง และอาจจะถึง 3 ชั่วโมง ในช่วงของเวลาเร่งด่วน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ นั่น การจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน กำลังจะเป็นเช่นเดียวกับการจราจรใน กรุงเทพมหานคร

ปัญหาการใช้ถนนร่วมกันระหว่างรถ 10 ล้อ 18 ล้อ และ 22 ล้อ หรือ รถเทลเลอร์ ซึ่งใช้บรรทุกสินค้า บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ บนถนนกาญจนวนิช ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่ทำให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปด้วยความล่าช้า  โดยเฉพาะอีก 2 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำนวนยานพาหนะ ที่ต้องผ่าน เข้า-ออก บนถนนสายนี้จะต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะที่ จังหวัด และกระทรวงคมนาคม ยังไม่มีแผนการ ไม่มีนโยบายในการแก้ปัญหา  จราจรติดขัด อย่างชัดเจน ไม่มีการ ขยายถนน และไม่มีแผนในการสร้าง "มอเตอร์เวย์" ตามที่ภาคเอกชนได้นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง

แต่...ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและการจราจร กระทรวงคมนาคม ( สนง ) ได้ผ่านความเห็นชอบ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถไฟ สายหาดใหญ่-สงขลา ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม และเป็นการแก้ปัญหาจราจรติดขัด ซึ่งเป็นไปตามแผนเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนของรถไฟชานเมือง ที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองหาดใหญ่และสงขลา ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมที่สุด

สำหรับเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2456 ตรงกับรัชกาลที่ 6 มีความยาวของเส้นทาง 29.087 กิโลเมตร มีสถานีหยุดรถจำนวน 12 สถานีและต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2521 จนถึงปัจจุบัน แต่ยังคงสภาพรางรถไฟ เอาไว้คงเดิม ส่วนที่ทำการสถานีรถไฟสงขลา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์เอาไว้

เส้นทางเดินรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ในอดีตนั้น มีสถานีจอดรับ-ส่ง ผู้โดยสารจำนวน 12 สถานี คือ สถานีหาดใหญ่ สถานีตลาดเทศบาล สถานีคลองแห สถานีคลองเปล สถานีเกาะหมี สถานีตลาดน้ำน้อย สถานีกลางนา สถานีพะวง สถานีน้ำกระจาย สถานีบางดาน สถานีวัดอุทัย และสถานีสงขลา ส่วนการเปิดเดินรถครั้งใหม่ จะมีการแวะรับ-ส่ง ผู้โดยสารกี่สถานีนั้น อยู่ที่การสำรวจเส้นทาง และความเป็นจริงของปัจจุบัน ซึ่งอาจจะต่างกับในอดีตที่ผ่านมา

ในอดีตรถไฟขบวนหาดใหญ่-สงขลานั้น เป็นรถไฟแบบ "หวานเย็น" คือขบวนการรถธรรมดา เคยเก็บค่าโดยสารที่ 2 บาท แต่ในการปรับปรุงเส้นทางเพื่อเดินรถครั้งใหม่นี้คณะกรรมการเดินรถ ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า รูปแบบที่เหมาะสมกับเส้นทางสายหาดใหญ่-สงขลา คือ ระบบรถไฟดีเซลราง เพราะเหมาะสมกับระยะทางที่สั้น และการลงทุนที่ไม่สูงมาก

แต่...การรื้อฟื้น เส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา เพื่อทำการเดินรถอีกครั้งของการรถไฟแห่งประเทศไทย คงจะทำได้ไม่ง่ายนัก รวมทั้งอาจจะต้องใช้เวลาที่ยาวนาน เนื่องจากตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ซึ่งการรถไฟฯได้หยุดเดินรถไปแล้วนั้น สองข้างทางของริมทางรถไฟ ได้ถูกประชาชน และ "นายทุน" บุกรุกเข้ายึดครอง นับแต่สถานีหาดใหญ่ จนถึงสถานีสงขลา ไม่มีพื้นที่ "ว่าง" เหลืออยู่แม้แต่ตารางเมตรเดียว มีการสร้างบ้านเรือน สร้างบริษัท ห้างร้าน และทำการเกษตร และในบางช่วงบางตอน มีการปลูกสิ่งปลูกสร้างบนรางรถไฟก็มี ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่า มีจำนวนผู้บุกรุก เท่าไหร่ และที่มีการเช่าพื้นที่จากการรถไฟมีจำนวนเท่าไหร่

ดังนั้น จึงเชื่อว่า ด่านแรก ของปัญหาการปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ที่เป็น "ด่านหิน" คือการที่เจ้าหน้าที่จะต้องเผชิญกับการต่อต้านของผู้บุกรุก ที่อ้างถึงความยากจน การไร้ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินชดเชย หรือหาที่อยู่อาศัยเป็นการทดแทน รวมทั้งรัฐต้องจ่ายชดเชยให้กับกลุ่มผู้ที่เช่าที่รถไฟอย่างถูกต้อง ซึ่งหากเปิดเดินรถครั้งใหม่ จะกลายเป็นการกีดขวาง การเดินรถไปในที่สุด

แต่...อย่างไรก็ตาม การที่สำนักงานนโยบายและแผน การขนส่ง และการจราจร ได้ "ปัดฝุ่น" เส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ขึ้นมาเดินรถใหม่อีกครั้ง ในครั้งนี้ อย่างน้อยที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับ คือการทำให้มีเครือข่ายเชื่อมโยงของระบบขนส่งมวลชน ระหว่างตัวเมือง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาจราจร ติดขัดที่ตรงจุด เป็นการ "เอื้อ" ประโยชน์ให้กับประชาชน ผู้หาเช้า กินค่ำ นักเรียน นักศึกษา ได้มี "ทางเลือก" ในการเดินทาง และสามารถ ประหยัด รายจ่ายในการเดินทาง และในอนาคต อาจจะเชื่อมโยงกับการขนส่งสินค้ากับท่าเรือน้ำลึกสงขลา และอาจจะเป็นประโยชน์กับการท่องเที่ยว ของจังหวัดสงขลาอีกช่องทางหนึ่ง

นายไข่นุ้ย

ขอให้สำเร็จ กลับมาวิ่งเหมือนเดิมด้วย รับรองคนแห่มาใช้แน่นอน หนีรถติด....
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

หม่องวิน มอไซ

สนข.คืนชีพ "รถไฟหาดใหญ่-สงขลา" เชื่อมขนส่งเชื่อม 2 นคร และแก้จราจรคับคั่ง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   30 ตุลาคม 2556 12:24 น.        
โดย...ไม้  เมืองขม
       
       จ.สงขลา มีปัญหาเช่นเดียวกับจังหวัดที่เป็นเมืองเศรษฐกิจอื่นๆ ในประเทศไทย นั่นคือ ปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากความเติบโตของตัวเมือง ในขณะที่ประชากรเพิ่ม รถยนต์ และยานพาหนะเพิ่ม แต่ถนนหนทางมีเท่าเดิม โดยเฉพาะ จ.สงขลา เป็นเมือง "หน้าด่าน" ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศมาเลเซีย มีปริมาณสินค้าส่งออกทางด่านชายแดน อ.สะเดา จ.สงขลา ที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย และมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยทางด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นอันดับ 1 ของประเทศอีกเช่นกัน
       
       ปัจจุบัน ถนนกาญจนวนิช ซึ่งถือเป็นถนนสายเอเชียที่เริ่มต้นตั้งแต่เขตเทศบาลนครสงขลา จนถึง ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเกือบ 100 กิโลเมตร ซึ่งในอดีตใช้เวลาในการสัญจรไม่เกิน 1 ชั่วโมง มาถึงวันนี้ต้องใช้เวลาในการเดินทางถึง 2 ชั่วโมง และอาจจะถึง 3 ชั่วโมงในช่วงของเวลาเร่งด่วน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ การจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนกำลังจะเป็นเช่นเดียวกับการจราจรในกรุงเทพมหานคร
       
       ปัญหาการใช้ถนนร่วมกันระหว่างรถ 10 ล้อ 18 ล้อ และ 22 ล้อ หรือรถเทรลเลอร์ ซึ่งใช้บรรทุกสินค้า บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ บนถนนกาญจนวนิชก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปด้วยความล่าช้า โดยเฉพาะอีก 2 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จำนวนยานพาหนะที่ต้องผ่านเข้า-ออกบนถนนสายนี้จะต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะที่จังหวัด และกระทรวงคมนาคมยังไม่มีแผนการ ไม่มีนโยบายในการแก้ปัญหาจราจรติดขัดอย่างชัดเจน ไม่มีการขยายถนน และไม่มีแผนในการสร้าง "มอเตอร์เวย์" ตามที่ภาคเอกชนได้นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง
       
       ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้ผ่านความเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ปรับปรุงเส้นทางการเดินรถไฟ "สายหาดใหญ่-สงขลา" ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคม และเป็นการแก้ปัญหาจราจรติดขัด ซึ่งเป็นไปตามแผนเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนของรถไฟชานเมือง ที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองหาดใหญ่ และเมืองสงขลา ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมที่สุด
       
       สำหรับเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา เปิดเดินรถเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2456 ตรงกับรัชกาลที่ 6 มีความยาวของเส้นทาง 29.087 กิโลเมตร มีสถานีหยุดรถ จำนวน 12 สถานี และต่อมา การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2521 จนถึงปัจจุบัน แต่ยังคงสภาพรางรถไฟเอาไว้คงเดิม ส่วนที่ทำการสถานีรถไฟสงขลาได้ขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์เอาไว้
       
       เส้นทางเดินรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลาในอดีตนั้น มีสถานีจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร จำนวน 12 สถานีคือ สถานีหาดใหญ่ สถานีตลาดเทศบาล สถานีคลองแห สถานีคลองเปล สถานีเกาะหมี สถานีตลาดน้ำน้อย สถานีกลางนา สถานีพะวง สถานีน้ำกระจาย สถานีบางดาน สถานีวัดอุทัย และสถานีสงขลา ส่วนการเปิดเดินรถครั้งใหม่จะมีการแวะรับ-ส่งผู้โดยสารกี่สถานีนั้น ขึ้นอยู่ที่การสำรวจเส้นทาง และความเป็นจริงของปัจจุบัน ซึ่งอาจจะต่างกับในอดีตที่ผ่านมา
       
       ในอดีตรถไฟขบวนหาดใหญ่-สงขลานั้น เป็นรถไฟแบบ "หวานเย็น" คือ ขบวนการรถธรรมดา เคยเก็บค่าโดยสารที่ 2 บาท แต่ในการปรับปรุงเส้นทางเพื่อเดินรถครั้งใหม่นี้ คณะกรรมการเดินรถได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รูปแบบที่เหมะสมกับเส้นทางสายหาดใหญ่-สงขลา คือ ระบบรถไฟดีเซลราง เพราะเหมาะสมกับระทางที่สั้น และการลงทุนที่ไม่สูงมาก
       
       แต่การรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา เพื่อทำการเดินรถอีกครั้งของการรถไฟแห่งประเทศไทย คงจะทำได้ไม่ง่ายนัก รวมทั้งอาจจะต้องใช้เวลาที่ยาวนาน เนื่องจากตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ซึ่งการรถไฟฯ ได้หยุดเดินรถไปแล้วนั้น สองข้างทางของริมทางรถไฟได้ถูกประชาชน และ "นายทุน" บุกรุกเข้ายึดครองนับแต่สถานีหาดใหญ่ จนถึงสถานีสงขลา ไม่มีพื้นที่ว่างเหลืออยู่แม้แต่ตารางเมตรเดียว มีการสร้างบ้านเรือน สร้างบริษัทห้างร้าน และทำการเกษตรในบางช่วงบางตอน มีการปลูกสิ่งปลูกสร้างบนรางรถไฟก็มี ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีจำนวนผู้บุกรุกเท่าไหร่ และที่มีการเช่าพื้นที่จากการรถไฟฯ มีจำนวนเท่าไหร่
       
       ดังนั้น จึงเชื่อว่าด่านแรกของปัญหาการปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ที่เป็น "ด่านหิน" คือ การที่เจ้าหน้าที่จะต้องเผชิญกับการต่อต้านของผู้บุกรุกที่อ้างถึงความยากจน การไร้ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินชดเชย หรือหาที่อยู่อาศัยเป็นการทดแทน รวมทั้งรัฐต้องจ่ายชดเชยให้แก่กลุ่มผู้ที่เช่าที่รถไฟอย่างถูกต้อง ซึ่งหากเปิดเดินรถครั้งใหม่จะกลายเป็นการกีดขวางการเดินรถไปในที่สุด
       
       อย่างไรก็ตาม การที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจรได้ปัดฝุ่นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ขึ้นมาเดินรถใหม่อีกครั้งในครั้งนี้ อย่างน้อยที่สุดประโยชน์ที่ได้รับคือ การทำให้มีเครือข่ายเชื่อมโยงของระบบขนส่งมวลชนระหว่างตัวเมือง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาจราจรติดขันที่ตรงจุด เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ประชาชนผู้หาเช้ากินค่ำ นักเรียน นักศึกษา ได้มีทางเลือกในการเดินทาง และสามารถประหยัดรายจ่ายในการเดินทาง
       
       ในอนาคตอาจจะเชื่อมโยงกับการขนส่งสินค้ากับท่าเรือน้ำลึกสงขลา และอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาอีกช่องทางหนึ่ง.

นายไข่นุ้ย

   แต่การรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา เพื่อทำการเดินรถอีกครั้งของการรถไฟแห่งประเทศไทย คงจะทำได้ไม่ง่ายนัก รวมทั้งอาจจะต้องใช้เวลาที่ยาวนาน เนื่องจากตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ซึ่งการรถไฟฯ ได้หยุดเดินรถไปแล้วนั้น สองข้างทางของริมทางรถไฟได้ถูกประชาชน และ "นายทุน" บุกรุกเข้ายึดครองนับแต่สถานีหาดใหญ่ จนถึงสถานีสงขลา ไม่มีพื้นที่ว่างเหลืออยู่แม้แต่ตารางเมตรเดียว มีการสร้างบ้านเรือน สร้างบริษัทห้างร้าน และทำการเกษตรในบางช่วงบางตอน มีการปลูกสิ่งปลูกสร้างบนรางรถไฟก็มี ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่ามีจำนวนผู้บุกรุกเท่าไหร่ และที่มีการเช่าพื้นที่จากการรถไฟฯ มีจำนวนเท่าไหร่
       
       ดังนั้น จึงเชื่อว่าด่านแรกของปัญหาการปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ที่เป็น "ด่านหิน" คือ การที่เจ้าหน้าที่จะต้องเผชิญกับการต่อต้านของผู้บุกรุกที่อ้างถึงความยากจน การไร้ที่อยู่อาศัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินชดเชย หรือหาที่อยู่อาศัยเป็นการทดแทน รวมทั้งรัฐต้องจ่ายชดเชยให้แก่กลุ่มผู้ที่เช่าที่รถไฟอย่างถูกต้อง ซึ่งหากเปิดเดินรถครั้งใหม่จะกลายเป็นการกีดขวางการเดินรถไปในที่สุด
       

       อย่างไรก็ตาม การที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจรได้ปัดฝุ่นเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ขึ้นมาเดินรถใหม่อีกครั้งในครั้งนี้ อย่างน้อยที่สุดประโยชน์ที่ได้รับคือ การทำให้มีเครือข่ายเชื่อมโยงของระบบขนส่งมวลชนระหว่างตัวเมือง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาจราจรติดขันที่ตรงจุด เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ประชาชนผู้หาเช้ากินค่ำ นักเรียน นักศึกษา ได้มีทางเลือกในการเดินทาง และสามารถประหยัดรายจ่ายในการเดินทาง
    นี่แหละเรื่องใหญ่ทีเดียว ระยะเวลาเนิ่นนานมากจนคนมาอยู่เต็มหมด การรถไฟ ไม่น่ายกเลิกเส้นทางเลย น่าจะรักษาเส้นทางไว้เหมือนสายสุพรรณบุรี งานนี้เหนื่อยแน่ ขอให้สำเร็จด้วยเถิด...
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

ทางรถไฟสายสงขลากับปัญหาในปัจจุบัน ถือเป็นบทเรียนชอง รฟท. ว่า ทำไมเมื่อหยุดการเดินรถแล้วปล่อยปละละเลยมาตลอด และผู้บุกรุกนั้นมีใครอนุมัติให้ไปสร้างที่อยู่อาศัยกัน รวมทั้งสถานที่บางแห่งที่สร้างทับเส้นทางรถไฟ  รฟท.จะฟื้นเส้นทางสายนี้ได้จริงหรือ

อย่างแรก มีการจัดเตรียมที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับผู้บุกรุกไว้บ้างหรือยัง  ถ้าไม่พ้นข้อนี้ก็บอกได้ว่า ถ้าไม่เงียบหายไปก็มีปัญหาแน่นอน  แม้จะเป็นพื้นที่ของ รฟท.เอง แต่หากไปเชิญไปไล่เขา ทั้งๆที่ไม่มีที่อยู่อาศัยมารองรับ มันก็ไม่สวย     ส.อืม ส.อืม
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

Jate_Hotmail

รายได้ อันดับ 2 รองจากกรุงเทพ
มีปริมาณสินค้าส่งออก ที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย
นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยทางด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นอันดับ 1 ของประเทศ

เห้อ..... แต่พัฒนาหละ ระบบถนน ขนส่ง สาธารณูปโภค ฯลฯ จังหวัดอื่นๆ เพ
เอา แบบพัทยาเถิด พี่น้อง หรือ ปกครองเป็นรัฐ ๆ แบบอเมริกาเถิด พวกเราเห้อ ทำกันตาย รายได้จากภาษีได้เพื่อนเพ

Puiey2521

อยากเห็นโครงการนี้ใช้งานได้จริง ๆ เร็ว ๆ ซะที อยากนั่งรถไฟไปเที่ยวสงขลาเบื่อรถติด ไม่มีที่จอดรถ
ทำดีแล้วโดน "ด่า" ดีกว่าพวกไม่ทำ "ห่า" แล้วด่า "คนอื่น"

joyjeen

ถ้าให้กลับมาวิ่ง ในตัวเมืองบ่อยางคงต้องบอกว่ายากมากๆ
จะรื่อเส่นทางเดิมในบ่อยางยังไง ผมยังนึงไม่ออก กลายเป็นชุมชน กลายพื้นที่หน้าโรงแรมกรีนเวิล กลางเป็นถนนทางเข้าโรงเรียน ฯลฯ
ต้องสร้างเส้นทางใหม่เท่้านั้น(เส้นทางเข้าเมือง)