ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เครือข่ายอนุรักษ์หาดทรายเบรกกรมเจ้าท่าสร้างเขื่อนปี 54

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 16:57 น. 19 มี.ค 54

ทีมงานบ้านเรา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 มีนาคม 2554 17:54 น.
      
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายชุมชนอนุรักษ์หาดทรายเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก้ไขปัญหาชาย ฝั่งอ่าวไทยพัง ชี้ กรมเจ้าท่ายิ่งแก้ ยิ่งเทงบ หาดยิ่งพังเพิ่ม แต่มีกลุ่มนักการเมืองและนายทุนในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ร่วม ล่าสุด เตรียมสร้างเขื่อนเพิ่มตลอดแนวอ่าวไทยในปีหน้า สวนทางกับเสียงค้านของชาวบ้านบางกลุ่มที่เริ่มเข้าใจปัญหา พยายามยุติการก่อสร้างทุกรูปแบบ
       
       วันนี้ (18 มี.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น.ที่โรงเรียนบ้านหน้าศาล อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ตัวแทนประชาชนตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช, สงขลา, ปัตตานี และ นราธิวาส ร่วมเปิดเวทีเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์หาดทราย ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) หลังจากประชาชนได้รับผลกระทบจากชายหาดถูกกัดเซาะเนื่องด้วยการสร้างเขื่อน ริมทะเลในรูปแบบต่างๆ อาทิ เขื่อนกันคลื่น เขื่อนกันทราย คันดักทราย ที่สร้างขึ้นโดยหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบโดยตรง ได้แก่ กรมเจ้าท่า กรมชลประทาน ทั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกันโดยการพึ่งพาความเข้ม แข็งในภาคประชาชน
       
       ชาวบ้านที่อาศัยแนวชายฝั่งได้ร่วมสะท้อนการสูญเสียชายหาด ว่า นอกจากจะทำให้ทรายหายแล้ว ยังคุกคามวิถีชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการเสียทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และอาชีพเป็นอย่างมาก ส่งผลต่อความมั่นคงของชีวิต เพราะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง โดยไม่มีความถนัดในการประกอบอาชีพอื่น นอกจากนี้ ยังทำให้ชาวบ้านประสบความยากลำบากในการจอดเรือ ซึ่งบางจุดถูกกัดเซาะจนตลิ่งชัน
       
       อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านไม่รู้ปัญหาถูกกัดเซาะและวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง จึงปล่อยให้ภาครัฐลงมาดำเนินการป้องกันหาดด้วยสิ่งปลูกสร้าง แม้จะชะลอความเสียหายในหมู่บ้านนั้นได้ แต่กลับขยายพื้นที่กัดเซาะในบริเวณข้างเคียงแทน คนต่างหมู่บ้านจึงไม่พอใจ และบาดหมางกันเองระหว่างคนที่ต้องการและไม่ต้องการ แต่รัฐกลับเดินหน้าก่อสร้างไปเรื่อยๆ และชายหาดเสียหายเกือบตลอดแนว โดยไม่สนใจว่าจะต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลและการแก้ปัญหานั้นกลับไม่มี ประสิทธิผล
       
       ทั้งนี้ มีการยกตัวอย่างความเสียหายของชายหาดบ้านหน้าศาล อ.หัวไทร เป็นกรณีศึกษา เนื่องจากมีจุดเริ่มต้นจากโครงการสร้างเขื่อนกันทรายปากคลองระบายน้ำชะ อวด-แพรกเมือง ทำให้ชายหาดเหนือเขื่อนถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการแก้ปัญหาในบริเวณเดียวกันถึง 3 รูปแบบ แต่ก็ไม่สามารถยับยั้งความรุนแรงได้ ทั้งการใช้หินถมชายหาด สร้างเขื่อนหินแนวชายทะเล และสร้างกำแพงเขื่อนกั้นคลื่น
       
       นายธำรงศักดิ์ รอดเพชร ผู้อำนวยการกองช่าง เทศบาลตำบลหัวไทร เปิดเผยว่า ตลอด ระยะเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านต้องการให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ การกัดเซาะชายหาดที่กำลังจะซัดเข้าถึงตัวบ้าน โดยไม่ได้มองการแก้ปัญหาในระยะยาว เพราะปัญหาใหม่ได้เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในจุดอื่นๆ ของแนวชายหาด และยกระดับปัญหาให้รัฐบาลเป็นผู้ดูแลแทนท้องถิ่น ล่าสุด กรมเจ้าท่ากำลังจะมีการสร้างเขื่อนหินกั้นคลื่นชุดใหม่ แต่ละตัวมีความกว้าง 40 เมตร ห่างจากชายฝั่ง 50 เมตร ซึ่งเป็นลักษณะเดียวที่สร้างใน จ.สงขลา
       
       ผศ.ดร.สมบูรณ์ พรพิเนตพงศ์ นักสมุทรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะของ อ.หัวไทร เกิดจากโครงการสร้างเขื่อนกันทรายปากคลองระบายน้ำชะอวด-แพรกเมือง ซึ่งได้จ้างตนทำการศึกษา และพบว่าหากก่อสร้างแล้วจะทำให้ชายหาดหัวไทรหายไป แต่กลับไม่ได้รับความสนใจและเดินหน้าทำต่อจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นหายนะของชาย หาดดังเช่นในปัจจุบันนี้ จนมีการสร้างกำแพงกันคลื่นที่หน้าหัวไทรยิ่งทำให้ทรายถูกกวาดออกไปเร็วมาก และไปเกยที่ตะลุมพุกแทน แต่เมื่อใดที่ไม่มีทรายหัวไทรแล้วแหลมตะลุมพุกก็จะตายตามไปเช่นกัน
       
       ทั้งนี้ ตลอดแนวชายฝั่งอ่าวไทยทรายมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาในปริมาณไม่เท่ากัน แม้จะมีการเสียหายของชายหาดบ้างแต่จะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป 1 กม.ของการสร้างเขื่อนมีมูลค่าอย่างน้อย 50 ล้าน และต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการก่อสร้างตลอดแนว ทำให้ปัญหานี้ลุกลามกว่าปกติ
       
       "จากที่ชาวบ้านบางส่วนต่อต้านการแก้ปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ ด้วยการก่อสร้างในรูปแบบต่างๆ นั้น ปรากฏว่า มีนักวิชาการบางคนพยายามสร้างความเข้าใจผิดๆ ลดกระแสต่อต้านโดยการเปลี่ยนชื่อเรียกเขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ ซึ่งสร้างเพื่อป้องกันชายหาดว่า เป็นการสร้างปะการังเทียม จะยิ่งสร้างความสับสนและแก้ปัญหาชายฝั่งได้ยากขึ้นอีก เพราะการสร้างปะการังเทียมเพื่อการอนุบาลและอนุรักษ์สัตว์น้ำ จึงสร้างห่างจากชายทะเลหลายกิโลเมตร ไม่ใช่มาสร้างใกล้ชายฝั่ง สำหรับวิธีการรักษาชายหาดนั้น คือการไม่รบกวนชายหาดเท่านั้น อันเป็นการรักษาสมดุลการเคลื่อนที่ของทรายให้เคลื่อนที่อย่างอิสระ" ผศ.ดร.สมบูรณ์ กล่าวต่อและว่า
       
       ดังนั้น หากจะแก้ปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะด้วยการถมทรายนั้นทำได้ เพราะเป็น 1 ในวิธีที่กรมเจ้าท่าเสนอ ซึ่งกระแสน้ำจะพัดทรายไปเลี้ยงตามจุดต่างๆ แต่ที่ตัดบทว่าชาวบ้านไม่ต้องการเสียเอง เพราะใช้งบประมาณน้อยกว่าการก่อสร้างเขื่อน
       
       ขณะ เดียวกัน กรมเจ้าท่ายังได้วางแผนก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นตลอดแนวอ่าวไทยในปี 2554 อีกหลายจุด ได้แก่ จ.ชุมพรที่ปากตะโก, หลังสวน, จ.นครศรีธรรมราช หน้าโกฏิ อ.ปากพนัง, บ้านหน้าสตน อ.หัวไทร,จ.สงขลา บ้านปากตระ และบ้านบ่อตรุ อ.ระโนด, หาดแก้ว อ.สิงหนคร, ต.เขารูปช้าง อ.เมือง และ ต.สะกอม อ.จะนะ
       
       ซึ่งตัวแทนชาวบ้านริมทะเล ชี้ว่า ไม่เห็นด้วยเสียทั้งหมด และมีการได้รับผลประโยชน์ระหว่างนายทุน-นักการเมืองท้องถิ่น เช่นที่ ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา หรือแม้แต่ที่ อ.สทิงพระ และระโนดนั้น ปัญหาการกัดเซาะยังไม่รุนแรง แต่กรมเจ้าท่ากำลังจะสร้างเขื่อนที่หาดทรายแก้ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ 2 อำเภอดังกล่าวที่อยู่เหนือตัวเขื่อน ชาวบ้านหาดทรายแก้วกลุ่มหนึ่งได้ฟ้องสภาทนายความไม่ให้กรมเจ้าท่าสร้าง เขื่อน เนื่องจากจะทำให้พื้นที่นั้นและอื่นๆ ได้รับความเสียหายไปด้วย
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215


ข้าวเหนียวมะม่วง

ผมค้านสุดเสียงเลยครับถ้าจะมีการสร้างเขื่อนกันคลื่นแบบรูปตัว T มันก็เห็นปัญหาอยู่แล้วว่าสร้างไปก็ไม่ได้ผล จะไปสร้างให้เสียงบประมาณ เสียทัศนียภาพเพื่ออะไร หาวิธีอื่นแก้ไขไม่ดีกว่าหรือ
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวที่สอง:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง