ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

มหกรรมแจกใบอนุญาต"วิทยุ-ทีวี" ประเดิม54สถานีวิทยุ-"CTH-GMM"กวาด16ช่อง

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 10:32 น. 30 พ.ย 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

มหกรรมแจกใบอนุญาต"วิทยุ-ทีวี" ประเดิม54สถานีวิทยุ-"CTH-GMM"กวาด16ช่อง

updated: 29 พ.ย. 2555 เวลา 11:53:41 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. (26 พ.ย. 2555) ได้อนุมัติใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงลอตแรก 54 ราย แบ่งเป็นกิจการบริการทางธุรกิจ 36 ราย อาทิ สถานีวิทยุวัดเสาธง 93.25 จ.พระนครศรีอยุธยา วิทยุหว้านใหญ่ เรดิโอ จ.มุกดาหาร วิทยุคนนางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นต้น กิจการบริการสาธารณะ 11 ราย อาทิ วิทยุมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนวัดสันติพุทธาราม จ.ราชบุรี เป็นต้น และกิจการบริการชุมชน 7 ราย ได้แก่ สถานีวิทยุรักเชียงใหม่ 51 เป็นต้น

นอก จากนี้ ได้อนุมัติการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ ใช้คลื่นความถี่ แบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) โดยให้บริการผ่านดาวเทียมให้ บมจ.เคเบิลไทย โฮลดิ้ง จำนวน 2 ช่องรายการ เป็นการให้บริการแบบครอบคลุมทั่วประเทศ (ระดับชาติ) และให้ใบอนุญาต บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำนวน 4 ช่องรายการ และบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด อีก 10 ช่องรายการ ทั้งหมดเป็นใบอนุญาตให้บริการแบบระดับชาติเช่นกัน

สำหรับ ใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุเป็นใบอนุญาตปีต่อปี หากผู้ประกอบการไม่เคยฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ กสทช. จะต่ออายุได้ทันทีอีก 1 ปี ไม่เกิน 3 ปี ส่วนใบอนุญาตช่องรายการโทรทัศน์มีอายุ 1 ปี และจะต่อใบอนุญาตให้อัตโนมัติหากไม่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์อีก 14 ปี

"นโยบาย กสทช. คืออนุมัติใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุให้ผู้ประกอบการวิทยุที่มีสิทธิ์ ขอใบอนุญาตทดลองทั้งหมดกว่า 6,000 ราย หากยื่นเอกสารและปฏิบัติครบถ้วนตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง ภายใน 16 ม.ค. 2556 เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบการกำกับดูแลโดยเร็วที่สุด"

เช่น เดียวกับผู้ประกอบการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่เปิดดำเนินการไปแล้ว หากมายื่นเอกสารขอรับใบอนุญาตภายใน 16 ธ.ค.นี้ และปฏิบัติครบถ้วนตามประกาศ หลักเกณฑ์ และวิธีการให้ใบอนุญาตให้บริการกิจการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์จะได้รับใบอนุญาตเช่นกัน โดยผู้ที่ได้รับการอนุมัติแล้วไม่เกิน 7 วันจะได้รับแจ้งให้เข้ามารับใบอนุญาตได้

ส่วนการจ่ายค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต กสทช. จะเริ่มกระบวนการประชาพิจารณ์ร่างประกาศลดหย่อนค่าธรรมเนียมรายปี จากปกติต้องจ่ายรายปี 2% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และอีก 2% สมทบกองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) ซึ่งการ

ลดหย่อนมีทั้งเกณฑ์พิจารณาจากฐานรายได้ และผังรายการที่มีรายการสาธารณประโยชน์มากกว่าเกณฑ์ที่ กสทช.กำหนดไว้ ลดหย่อนได้ 15-100%

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ขณะนี้มีผู้ยื่นที่ขอใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุ กับสำนักงาน กสทช. จากกลุ่มวิทยุชุมชนที่มีสิทธิ์ยื่นขอแล้วทั้งหมด 6,769 สถานี โดยผู้ประกอบการจะพิจารณาเองว่าจะยื่นขอประเภทใด ขณะที่ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มีผู้ยื่นขอใบอนุญาตช่องรายการมากกว่า 200 ช่อง และยื่นขอใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายสำหรับกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่แล้ว จำนวนหนึ่ง

นอกจากนี้ บอร์ด กสท.ยังอนุมัติการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือในการทดลองระบบการรับส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินระหว่าง กสทช. กับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์, บมจ.อสมท และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เพื่อทดลองออกอากาศฟรีทีวีด้วยความละเอียดสูง (HDTV) ในกรุงเทพฯและเชียงใหม่ ซึ่งจะเปิดให้ประชาชนที่มีกล่องรับสัญญาณ (set-top-box) รับชมฟรี

"การทดลองนี้เอกชนลงทุนทั้งหมด กสทช.เป็นเพียงผู้สนับสนุนงบฯวิจัย และพัฒนาในส่วนที่ กสทช.ต้องการข้อมูล นอกจาก 3 ช่องนี้แล้วอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอทดลองออกอากาศทีวีดิจิทัลของหน่วยงาน อื่นด้วย"

ด้านน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า วันที่ 30 พ.ย.นี้ จะจัดเวทีเสวนาให้ผู้บริโภคพบผู้ประกอบการเพื่อสะท้อนปัญหา แลกเปลี่ยนและรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในประเด็นมาตรฐานสัญญาและการให้บริการ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค

หลัง กสทช.เริ่มทยอยออกใบอนุญาตให้บริการทีวีประเภทต่าง ๆ เนื่องจาก กสทช.ยังไม่มีประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานสัญญาการให้บริการเพย์ทีวี และมีผู้ร้องเรียนจำนวนมากว่าโดนเอาเปรียบโดยส่วนตัวมองว่านอกจากต้องเร่ง ผลักดันร่างประกาศเรื่องมาตรฐานสัญญาการให้บริการแล้ว ยังต้องการนำเกณฑ์เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคมาพิจารณาเป็นเงื่อนไขในการต่อ ใบอนุญาตในปีหน้า ซึ่งผู้ประกอบการจะได้ใบอนุญาตที่มีระยะเวลานานถึง 14 ปีด้วย

Harries

True Vision ถึงคราวต้องมามองตัวเองบ้างแล้วหล่ะ เมื่อก่อนกำไรเกินควร