ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เอารูปศาลเจ้าโบราณร้อยกว่าปีแถวบางกล่ำมาให้ดู

เริ่มโดย บาบ๋า, 12:18 น. 05 ก.พ 56

บาบ๋า

ขอบคุณครับคุณ Pornpun Wieczorek
วันก่อนผมได้ดูยูทูปชาวเปอรานากันของรัฐกลันตันแล้วรู้สึกว่ามันคล้ายบ้านเรามากเลย เป็นชาวมาเลย์เชื้อสาย = มาเลย์+จีน+สยาม  ครับเขาพูดไทยได้การปลูกบ้านเรือนก็ยกพื้นแบบปักษ์ใต้บ้านเราเลยครับ แต่จะมีที่เป็นจีนคือ
มุงหลังคากระเบื้องแบบจีน จะเอากระเบื้องดินเผามาจากสงขลา (คาดว่าทำที่เกาะยอ) บ้านเป็นสัดส่วนมีห้องบูชาเทพเจ้าจีนและบรรพบุรุษ และที่สำคัญเป็นจีนฮกเกี้ยนด้วยครับ เขาเล่าให้่ฟังว่ามีจีนที่อพยพมาจากปัตตานี่สมัยเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาอยู่ที่กลันตันเยอะเลยครับ และที่สำคัญจีนฮกเกี้ยนฝั่งอ่าวไทยมาจากเมืองจีนคนละที่กับจังหวัดภูเก็ตครับ คนจีนภูเก็ตจะเป็นคนจีนฮกเกี้ยนที่มาจากจังหวัดจ่วนจิว泉州  ส่วนคนจีนฮกเกี้ยนฝั่งอ่าวไทไม่ว่าจะเป็นสงขลา ปัตตานี นราธิวาส พวกนี้จะมากจากจังหวัดเจียงจิว漳州 ภาษาที่ใช้แตกต่างกันนิดหน่อยเช่น สงขลาเรียกพี่ชายว่า เฮีย (เรียกเหมือนแต้จิ๋วเลยครับ) ฝั่งภูเก็ตเรียกว่า โก, สงขลาเรียกทวดว่า เฉ๊า ภูเก็ตเรียก จ้อ, สงขลาเรียกพี่สาว ฉี๊ ภูเก็ตเรียกว่า จี้ เป็นต้นครับ

Pornpun Wieczorek

สวัสดีค่ะ
        ดีใจและขอบคุณมากที่คุณให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องนี้ ดิฉันขอแนะนำตัวนิดหนึ่งนะคะ พื้นเพเดิมของดิฉันทั้งพ่อแม่ ทวดปู่ย่าตายาย ฯลฯ เป็นคนจีนที่อาศัยในเกาะยอ สมัยก่อนพ่อเคยทำกิจการโรงเผากระเบื่องมุงหลังคา (จากจุดนี้ทำให้ดิฉันอ่านพบข้อความของคุณ และเป็นประโยชน์กับดิฉันในการตามหาที่ไปที่มาของบรรพบุรุษมาก) ปัจจุบันนี้พ่ออายุ 91 ปีแล้ว และได้ย้ายไปอยู่ที่อำเภออื่นนานแล้ว แต่ความตั้งใจของพ่อยังคงเหมือนเดิม คืออยากรู้จักญาติพี่น้องที่เมืองจีน ปัญหาที่ยากมากในการตามหาก็คือ พ่อหรือญาติคนอื่นๆไม่มีหลักฐานอะไรเลย พ่อเล่าให้ฟังตอนพ่อเป็นเด็กว่า เคยได้เห็นทวดและญาติๆ ลงเรือสำเภาไปไหว้บรรพบุรุษในวันตรุษจีนที่เมืองจีนทุกปี พ่อจะได้กินขนมไหว้เจ้าที่ทวดนำกลับมาจากเมืองจีน โดยเฉพาะขนมเข่ง พ่อเล่าว่าลูกโตเกือบเท่ากระด้ง แต่ด้วยความเป็นเด็กพ่อไม่เคยถามว่าทวดไปเมืองไหนกัน พอทวดเสียก็ไม่มีใครไปอีกเลย จึงขาดการติดต่อตั้งแต่นั้นมา
       เท่าที่ดิฉันอ่านข้อความของคุณ ทำให้ได้ความรู้ว่า ชาวจีนฮกเกี้ยนที่อาศัยในแถวๆนี้ มาจากอำเภอและจังหวัดไหนในเมืองจีน อย่างน้อยก็เป็นข้อมูลพื้นฐานในการค้นหาต่อไป
       ขอความกรุณานะคะ ถ้าคุณมีความเห็นหรือคำแนะนำใดๆที่เป็นประโยชน์สำหรับดิฉันๆขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ

       พรพรรณ วิทโชเร็ค

บาบ๋า

ขอบคุณมากครับคุณ Pornpun Wieczorek
คือ ทวดของคุณมีฮวงซุ้ยมั้ยถ้ามีฮวงซุ้ยซึ่งฮวงซุ้ยต้องจากรึกเป็นภาษาจีนเท่านั้นผมพอจะอ่านออก และคัดลอกไปยัง google เพื่อเทียบเมืองที่มาได้ครับ
อย่างของทางน้าสะใภ้ผมเป็นคนปากช่อง ปู่ กับ ย่า มาจากฮกเกี้ยน ฮวงซุ้ยแกก็ฝังที่ปากช่องนั่นแหละ แต่ผมเลยถามเตี่ยแกยังอยู่นะถามว่ามาจากไหนแกบอกว่ามาจาก แปะเจี๊ยะ白石 (หินขาว) ผมเลยถอดมาได้ดังนี้ 福建省漳州市漳浦县霞美镇白石村村委会向白石村 ดูแผนที่มันอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับคนบางกล่ำครับ บังเอิญมั้ยละครับ และที่สำคัญปู่แกยังมีญาติอยู่ที่เกาะยอด้วยนะครับตอนนี้


บาบ๋า

วันนี้ตั้งใจถ่ายรูปพระเก่าประจำตระกูลของเฉ๊าเอ่งห้อง วรรณะ(สุขชาญ) ได้รูปบ้านเก่ามาด้วยอายุตั้ง120 ปี

บาบ๋า

ขอโทษทีครับตุงหัวอีกแล้วต้องเอามาลงคอมค่อยโพสต์ครับ บ้านเฉ๊าเอ่งห้อง วรรณะ(สุขชาญ) หลังที่ตั้งห้องพระนี้ของเดิมเป็นของนายเอ่งเลี่ยน (เฮีย) อายุบ้านประมาณ 120 ปีได้แล้ว ในอดีตพระจีนนี้จะมีการแห่กันครับ เขาจะมีครบทุกอย่างเหมือนที่คนจีนทำกันครับ คนจีนแท้ๆได้ล้มหายตายจากไปนานเป็นร้อยปีแล้ว ไม่มีเหลือแล้วครับประเพณีจีน จะมีแค่สองอย่างที่ทำกันคือ ไหว้ตรุษจีน กับไหว้เช็งเม้ง

บาบ๋า


บาบ๋า


Pornpun Wieczorek

อ้างจาก: บาบ๋า เมื่อ 10:17 น.  21 ม.ค 60
วันนี้ตั้งใจถ่ายรูปพระเก่าประจำตระกูลของเฉ๊าเอ่งห้อง วรรณะ(สุขชาญ) ได้รูปบ้านเก่ามาด้วยอายุตั้ง120 ปี
ฺขอบุคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำ ฮวงจุ้ยของทวดก็อยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่งบนเกาะยอ (ความจริงควรเรียกว่าที่ฝังศพส่วนตัวมากกว่าเพราะมีทวดคนเดียวที่นำไปฝังบนยอดเขาที่สูงชันมาก พ่อเล่าว่าโลงศพต้องใช้คนจำนวนมากหามขึ้นไป) ดิฉันเคยไปไหว้ครั้งหนึ่ง  เป็นที่น่าสังเกตุว่าบริเวณรอบๆที่ฝังศพ ถ้าไม่สังเกตุจะไม่รู้เลยว่าตรงนั้นมีศพฝังอยู่และคนที่รู้ก็มีแต่พ่อของดิฉันคนเดึยว การฝังศพพ่อบอกว่า ในสมัยนั้นคนงานจะขุดหลุมขนาดใหญ่แล้วทำเหมือนบังเก้อร์ เอาโลงศพใส่เข้าไป ใช้ปูนโบกรอบๆแล้วกลบด้วยดินอีกครั้งหนึ่ง มีเพียงแผ่นหินบางๆฝังไว้ตรงหลุมศพเท่านั้น ไม่มีการจารึกอักษรใดๆ จากจุดนี้ทำให้เกิดความยุ่งยากในการค้นหามาก เพราะเหมือนเป็นความตั้งใจของทวดที่ไม่ต้องการให้พวกเราลูกหลานรู้ที่ไปที่มาของท่าน ในทางตรงกันข้ามทำให้ดิฉันอยากรู้มาก จึงได้เริ่มต้นค้นหาแต่เหมือนการงมเข็มในมหาสมุทรจริงๆ ดิฉันได้แต่ภาวนาขอให้ตัวเองเป็นผู้มีบุญวาสนาได้มีโอกาสพบหนทางและมีผู้ช่วยเหลือชี้แนะแนวทาง
ดิฉันใคร่อยากถามว่าญาติของปู่คุณที่อยู่ในเกาะยอชื่ออะไรคะ อยู่หมู่บ้านไหน ดิฉันจะได้ถามพ่อว่ารู้จักไหมหรือว่าเป็นญาติกัน เพราะปกติพ่อจะมีญาติเกือบทั้งเกาะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ



บาบ๋า

รูปจากกล้องถ่ายรูปจะชัดกว่าครับ

บาบ๋า

ก่อนตรุษจีนเอาภาพบ้านเก่าและป้ายบรรพชนเก่าแก่เกือบสองร้อยของชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนบ้านบางกล่ำ จากป้ายบอกสมัยจักรพรรดิเต้ากวง (สมัยรัชกาลที่ 3 ของราชวงศ์จักรี) เป็นป้ายชายแซ่อู๋ 吴 (ฮกเกี้ยน = แซ่เหง่า, แต้จิ๋ว = แซ๋โง้ว)

บาบ๋า

ไหว้ตรุษจีน คนบางกล่ำ เรียกว่า ไหว้ชื่อ ก็ถูกของเขาจริงๆ ครับ ก็ไหว้ชื่อบนป้ายวิญานแบบข้างบนนั่นแหละ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่สอง (เกิดที่นี่ไม่ได้มาจากเมืองจีนเหมือนรุ่นที่หนึ่ง)  ส่วนมากไม่ได้ทำเป็นป้ายไม้ครับ แต่จะให้ซินแซ(แบบฮกเกี้ยน)   เขียนชื่อเป็นภาษาจีนลงบนกระดาษวางไว้ก้นถ้วย(กระถางธูปที่วางหน้าโลงศพ) ที่นี่เขาเรียกว่า ถ้วยชื่อ ตั้งไว้บนหิ้งและไว้ในวันก่อนวันตรุษจีนหนึ่งวัน

บาบ๋า

ขอนอกเรื่องสักหน่อยนะครับ สามีคนปัจจุบันของบุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ชื่อเอกเป็นลูกหลานของชาวบางกล่ำแท้ๆเลยครับ ปู่ชื่อ ก๋งเฉี้ยง ย่าชื่อ ยายขู้ พ่อชื่อ แปะภพ

บาบ๋า

รูปหัวตุงอีกแล้วครับเอามาลงใหม่

บาบ๋า

วัดบางทีงแม้ว่าจะอยู่ในตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ก็ตามแต่ทำเลที่ตั้งนั้นตั้งอยู่ริมฝั่งคลองบางกล่ำ ดังนั้นประวัติศาสตร์คนแถวนี้จึงมีที่มาที่ไปอันเดียวกันแค่อยู่คนละฝั่งคลองแค่นั้นเองครับ
ประวัติของ
พระครูรัตภูมิคณานุรักษ์
อดีตเจ้าคณะอำเภอรัตภูมิ
ชีวประวัติย่อ
      ท่านพระครูรัตตภูมิคณาณุรักษ์ มีนามเดิมว่า "ซุ่น  เซี่ยมสิม 沈順" เป็นบุตรของ
นายฬ่อ  เซี่ยมสิม  (沈魯) และ นางห้อง (峰) ซึ่งบิดาของท่านอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยนของประเทศจีน มารดาของท่านเป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนดังเดิมในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านบางทีง ตำบลบางเหรียง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2435 ตรงกับวันพุธ แรม 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง
      มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ
         1. นางมิตร
         2. ท่านพระครูรัตตภูมิคณานุรักษ์ (ซุ่น)  沈順
         3. นางเอ้ง 沈永
         4. นายฉุ้นเลี่ยง 沈春良
      ท่านพระครูรัตตภูมิคณานุรักษ์ ได้มรณภาพด้วยโรคชราที่โรงพยาบาลสงขลา เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำเดือนยี่ปีฉลูตรงกับวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เวลา 22.30 น. สิริรวมอายุ 81 ปี 6 เดือน 5 วัน นับตั้งแต่บรรพชาอุปสมบทมาจนวันมรณภาพรวมพรรษาอายุ 60 ปี พอดี
การบรรพชาอุปสมบท
      ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 เวลา 13.15 น. ณ วัดบางทีง ต.บางเหรียง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
         - พระครูสุวรรณวาสี (วัดดอน) เป็นพระอุปัชฌายะ
         - พระสมุห์ เซ่ง (成) ธัมมสาโร วัดบางทีง เป็นกรรมวาจาจารย์
         - พระพลัด ปัญญาพโล (วัดท่าม่วง) เป็นอนุสาวนาจารย์
      ได้นามฉายาว่า อมโร
การศึกษา
      เมื่อสมัยท่านเป็นเด็กได้อยู่วัดบางทีง กับท่านสมุห์ เซ่ง(成) ท่านได้ศึกษาภาษาไทยพออ่านออกเขียนได้ ครั้นเมื่อท่านได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทยและขอมจนชำนาญ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมปรากฏผลดังนี้
      พ.ศ. 2464 สอบได้นักธรรมตรี
      พ.ศ. 2473 สอบได้นักธรรมโท
      พ.ศ. 2478 สอบได้นักธรรมเอก
สมณศักดิ์
      โดยที่ท่านได้รับภารธุระพระศาสนาด้วยอุสาหะวิริยะและด้วยความเอาใจใส่เป็นอันดี ทางราชการและทางคณะสงฆ์ได้เห็นคุณธรรมนั้น ๆ ปรากฏ จึงได้ยกย่องให้มีสมณศักดิ์ประดับเกียรติประวัติมาโดยลำดับ คือ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2474 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูปลัด ซึ่งเป็นตำแหน่ง
ฐานาของท่าน พระครูศีลประกฤต
      วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2494 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ
      วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2494  ได้รับพระราชทินนามว่า พระครูรัตตภูมิคณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอรัตตภูมิ
      วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นเอง ในราชทินนามเดิม
การในเขตปกครอง
      ในธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารวัด และเขตการปกครองของท่านฯ นั้น นับตั้งแต่ท่านฯ ได้รับมอบหมายแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและคณะอำเภอรัตภูมิ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2494
ท่านฯ ได้ปฏิบัติกรณียกิจอำนวยให้เกิดประโยชน์และความเจริญแก่วัดและในเขตการปกครองของท่านฯ หลายสถาน
หน้าที่และการงาน
ในเขตการปกครอง
      ท่านฯ ได้กวดขันให้ภิกษุสามเณรรักษาระเบียบแบบแผนประเพณี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และเพื่อให้การปกครองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ท่านฯ ได้ออกระเบียบกติกาของวัดขึ้นทุก ๆ วัด โดยเฉพาะในเขตการปกครองของท่านฯ ท่านฯ ได้ทำตัวอย่างเป็นอันดีเสมอมา อันนี้เป็นที่ทราบกันดีของภิกษุสามเณร และวัดที่อยู่ในเขตการปกครองของท่านคือ เขตอำเภอรัตภูมิ
ในการศึกษา
      โดยเฉพาะความประสงค์ของท่านฯ ต้องการให้วัดบางทีงเป็นแหล่งการศึกษาพระปริยัติธรรมแห่งหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้จากที่ท่านฯ สนับสนุนด้วยประการต่าง ๆ เช่น ก่อนจะสอบไล่พระปริยัติธรรม ท่านฯได้จัดหาอุปกรณ์การสอบแจกแก่พระภิกษุสามเณรทุกรูป และภายหลังจากการสอบไล่พระปริยัติธรรมแล้ว หากมีภิกษุสามเณรรูปใดสอบไล่ได้ ท่านฯมีการให้รางวัลเป็นพิเศษและเลี้ยงพระเป็นการฉลองด้วย เพราะท่านฯ เอาใจใส่ในเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษ นับตั้งแต่ท่านฯ เป็นครูอาจารย์ ทำการสอนด้วยตัวท่านฯ เองและอำนวยการให้ภิกษุอื่น ๆ ได้ช่วยทำการสอน ควบคุมวิธีการเรียนการสอนด้วยตัวท่านฯ เอง ทั้งในฐานะเป็นเจ้าอาวาสและในฐานะเป็นเจ้าคณะอำเภอ ซึ่งผลการศึกษานั้นนับตั้งแต่ท่านฯ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอเป็นต้นมา ท่านฯ ได้เป็นประธานและคณะกรรมการควบคุมสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง วัดควนเนียง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ปรากฏว่ามีผู้ที่เรียนพระปริยัติธรรมและสอบไล่ได้เป็นจำนวนมาก และมีผู้ที่สอบไล่ได้เปรียญก็มีมากเช่นกัน โดยเฉพาะในสมัยทีท่านฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอรัตภูมินั้นท่านฯ ก็ทำการสอนพระปริยัติธรรมด้วยตัวท่านฯ เองมาจนตลอดชีวิตของท่านฯ
ในการเผยแผ่
      นอกจากท่านฯ แสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัทโดยปฏิภาณโวหารเป็นประจำในวันธรรมสวนะแล้ว ท่านฯ ยังได้อำนวยการให้มีการเผยแผ่ด้วยประการอื่น ๆ อีกหลายประการเป็นต้นว่า กวดขันความเป็นอยู่ของภิกษุสามเณรให้อยู่ในกรอบพระธรรมวินัย และระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีของวัดไว้
ในการสาธารณูปการ
      พ.ศ. 2496 สร้างสะพานประชาสามัคคี ข้ามคลองวัดบางทีง สร้างอาคารเรียนโรงเรียนประชาบาล ได้หาทุนจัดสร้างอาคารเรียนโรงเรียนประชาบาล ที่วัดบางเหรียง ต.บางเหรียง อ.รัตภูมิ จ.สงขลา มีชื่อว่าโรงเรียนวัดบางเหรียงและพระครูรัตตภูมิคณานุรักษ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501
      พ.ศ. 2502 สร้างสะพานประชาอนุสรณ์ ข้ามคลองวัดบางเหรียง
สร้างสำนักสงฆ์ 3 แห่ง คือ
         1. สำนักสงฆ์บ่อบัวแก้ว และกุฎิ-โรงครัว
         2. สำนักสงฆ์ต้นเลียบ (ดอนยวน) และกุฏิ 5 หลัง
         3. สำนักสงฆ์หนองข้อง และกุฏิ
      สรุปรวมความแล้ว วัดบางทีงและในเขตการปกครองของท่านฯ ในสมัยที่ท่านฯ  ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอรัตภูมิเป็นเวลา 22 ปีกว่า ได้เจริญขึ้นโดยลำดับทั้งในด้านการศึกษา การเผยแผ่ แล้วในด้านการปกครอง ท่านฯ ก็พยายามกวดขันภิกษุสามเณร ให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย และระเบียบแบบแผนประเพณีอันดีงามของวัดตลอดมา ท่านฯ พยายามทำนุบำรุงรักษาศิลปกรรมถาวรวัตถุต่าง ๆ ในเขตการปกครองของท่านฯ เป็นอันดีเสมอมา
(คัดลอกมาจากที่ระลึกในพิธีพระราชทานเพลิงศพพระครูรัตตภูมิคณานุรักษ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 19 พฤษภาคม 2518)
      


บาบ๋า

พอดีไปเปิดเจอเวปไซต์ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com ในหัวข้อ
เช็งเม้ง (ไหว้หลุมฝังศพบรรพบุรุษ)
มีรูปการไหว้เช็งเม้งของชาวไทยเชื้อสายจีนที่ดูเป็นแบบจีนโบราณ ก็เช็คดูปรากฎว่าเป็นการไหว้เฉ่งเบ่ง ของคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนแถบสงขลาบ้านเรานี่เอง ฮ่องสุย(ฮวงซุ้ย) นี้ เป็นของตระกูลกัลยาศิริ การไหว้แบบนี้คิดว่ามีเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยนที่มาจากเมืองเจียงจิวเท่านั้น และแม้ว่าอพยพมาอยู่ที่บางกล่ำก็ยังรักษารูปแบบการไหว้ที่ไม่เหมือนใครเอาไว้ รูปถ่ายนี้อายุกว่า 30 ปี แล้วครับ

บาบ๋า


ฮกโล่

เพลงซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์และคติของชาวฮกเกี้ยน
https://youtu.be/wflMFaDSJDo

oscarpuhe

ประวัติของ พระครูรัตภูมิคณานุรักษ์ อ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นเยอะ

บาบ๋า

ประวัติพ่อท่านต้ม (เอียด) วัดชลธาราวาส (วัดบางกล่ำ)
ประวัติพระครูพิพัฒน์ชลธาร (เอียด สุวณโณ) วัดชลธาราวาส (วัดบางกล่ำ)

ต้นตระกูลของท่านเป็นคนจีนฮกเกี้ยน แซ่เอียว (楊) ที่มาอพยพจากแผ่นดินใหญ่มาเมืองไทยราวปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีด้วยกัน 5 คนพี่น้องเป็นชาย 4 คน หญิง 1 ซึ่งเป็นน้องสาวคนสุดท้อง (ชื่ออั้ง楊紅) พี่ชาย 1 ใน 4 คน นั้นคือปู่ของท่านชื่อนายเอ่ง แซ่เอียว 楊永 เริ่มแรกทำมาหากินที่บ้านกงหราจังหวัดพัทลุง เจ้าเมืองพัทลุงสมัยนั้นเกิดชอบน้องสาว พี่ชายทั้ง 4 คนเลยพาหนีมาอยู่ที่บ้านบางกล่ำ ซึ่งสมัยนั้นก็มีคนจีนอาศัยอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว 5 คนนี้พี่น้องนี้ก็ได้ภรรยา/สามี ซึ่งเป็นคนบ้านบางกล่ำ ได้บุตรชาย/บุตรสาว ต่อมาสมัยในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุล บิดาของท่านได้ตั้งนามสกุลขึ้นมาเป็น ร่วมสุข ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นามเดิมของท่านชื่อเอียด เป็นบุคคลที่ 4 ของครอบครัว โดยมีพี่น้องรวม 7 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 4 คน บิดาชื่อ นายตุ้ม ร่วมสุข楊敦 มารดาเป็นคนไทยชื่อนางแป้น อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลบางกล่ำ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2449 ตรงกับวันอังคาร แรม 7 ค่ำ เดือน 11 (ไทย) ปีมะเมีย เมื่อวัยเยาว์ได้ศึกษาเล่าเรียนกับวัดจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้แล้วออกมาช่วยเหลือทางบ้านในการประกอบอาชีพทำสวนไร่นา จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบท ณ วัดชลธาราวาส เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ โดยมีพระครูรัตนโมลี วัดดอนแย้ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นพระอุปัชณาย์ พระอธิการขวัญ เกสโร วัดชลธาราวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระคลิ้ง วัดชลธาราวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทเป็นพระเอียด สุวรรโณ ก็เริ่มศึกษาเล่าเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจในบทพระธรรมและยังเล่าเรียนในด้านไสยศาสตร์ควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน วินัยบทสวดพระพุทธมนต์ต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันอยู่เป็นประจำ ตลอดจนบทสวดพระภิกขุปาฏิโมกข์ท่านก็สามารถท่องบ่นได้จบตั้งแต่ย่างเข้าพรรษาที่ 4 ต่อมาในปี 2476 ท่านก็ได้เข้าสอบนักธรรมสนามหลวงและสอบได้นักธรรมชั้นตรีในครั้งนั้น ปีต่อมาท่านจึงได้เข้าเป็นครูฝึกสอนนักธรรมเพื่อช่วยท่านอธิการขวัญ เกสโร อีกแรงหนึ่ง ต่อมาในปี 2480 ท่านก็ได้สอบผ่านนักธรรมชั้นโท และได้รับตำแหน่งเป็นครูสอนนักธรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อเจ้าอาวาสในขณะนั้น คือ ท่านอธิการจันทร์ กุสุโม ได้ลาสิขาตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ว่างลง คณะกรรมการวัดจึงเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะให้พระเอียด สุวณโณ รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ว่างลงอยู่ขณะนั้น ท่านจึงได้ทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสองค์เดิมต่อมา จนกระทั่งทางคณะสงฆ์ได้ส่งหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาสแต่งตั้งให้ พระเอียด สุวณโณ รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อจากพระอธิการจันทร์ต่อไป พร้อมกันนั้นท่านยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบางกล่ำ และตราตั้งเป็น "กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง" ในครั้งนี้อีกด้วย

ต่อมาภายหลังได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในเขตตำบลบางกล่ำ ท่านได้ทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ภายหลังได้รับตราตั้งเป็น พระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2504 พระครูสัญญาบัตรชั้นโทเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2519 ตามลำดับ

บาบ๋า

ได้มีโอกาสคุยกับคนจีนจริงที่อยู่ที่ฮกเกี้ยนบ้านเกิดของบรรพบุรุษคนบางกล่ำผมได้ความรู้่มากขึ้นเยอะเลยครับว่าคนฮกเกี้ยนในฝั่งทะเลอ่าวไทยของเรา ไม่ว่าจะเป็น สงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช ฯลฯ จะมาจากเมืองเดียวกันหมดเลย ผมได้เอาป้ายฮวงซุ้ยของทวดเขี้ยนเหนี่ยวให้เขาดู เขาก็บางอ้อมาเลยว่าไม่ไกลจากบ้านเขา และอยู่ใกล้ๆ กับบ้านของต้นตระกูล ณ สงขลา (แซ่เหง่า/โง้ว) บ้านเกิดของเตี่ยทวดเขี้ยนเหนี่ยว แซ่จู (ทวดถู่นู๊ แซ่จู) อยู่แถบเขาไท่อู่ซาน ตรงกันข้ามกับเกาะเซี่ยะเหมิน (เอ้หมึง) ชื่อว่าหมู่บ้านกู่โถวซาน ที่เขามาร์ควงกลมไว้่นั่นแหละบอกที่อยู่ในเมืองจีนเลยครับ และเขาก็บอกว่าคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อพยพมาจากที่นี่ก็มีเยอะ ปัจจุบันเขาได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอไห่เฉิง (ไฮเท่ง) เป็นเมืองหลงไห่ (เหล่งไฮ) ขึ้นกับเมืองจังโจว (เจียงจิว) มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 นี้ เขาจะมางานหลักเมืองสงขลาครับ  你墓碑有寫,我知道哪裡了. 墓碑有寫:南太武山.跟廈門島對岸. 是的海澄. 不過現在改了名字。叫福建省漳州市龍海市南太武山. 畫圓圈,那個就是地址。具體位置. 就是這個地方這裡很多人去東南亞國家。那座山,在我們這很出名.

บาบ๋า

รูปถ่ายเก่า ๆ ของจีนบาบ๋ายุค ค.ศ. 1927 ที่ฝรั่งโพสต์ในเวป www.teakdoor.com
นายโซ้ย  กัลยาศิริ
นายเลี่ยง  กัลยาศิริ
กำนันแดง  กัลยาศิริ
นายมง  กัลยาศิริ

บาบ๋า

หลวงสำเร็จกิจจางวาง (ตันปุ่ย) ต้นตระกูลคณานุรักษ์ และเจ้าเมืองสงขลา (ต้นตระกูล ณ สงขลา) รวมทั้งคนจีนฮกเกี้ยนแถบ สงขลา ปัตตานี ก็มาจากที่เดียวกันครับ
  ครั้งสมัยหนึ่ง ณ ประเทศจีน มณฑลฮกเกี๋ยน福建省 จังหวัดเจียงจิวฮู漳州府 อำเภอเจียะแม้เกี่ยง (ม้าหิน) ตำบลถังโบ้ย มีหมู่บ้านราษฎรที่เจ๋าโป๋เจี่ย (หมู่บ้านหลังเง็ก) จีนพวกหนึ่งแซ่ตัน ตั้งเคหะสถานอยู่ตีนเขานำไท้บู้ซัว南太武山 หัวหน้าครอบครัวชื่อตันเต็ก ตันเต็กผู้นี้ทราบว่า ได้สืบเชื้อสายมาจากพระจีนตันเส็งอ๋อง ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินสมัยหนึ่งในประเทศจีน
บิดาของตันเต็กชื่อ ตันกวงเลี่ยง ตั้งตนเป็นผู้กู้ชาติจากพวกตาดที่เข้ามาครอบครองแผ่นดินประเทศจีน เรื่องมาเกิดขึ้นเมื่อสมัยพระนางซูสีไทเฮาครองอำนาจ ตันกวงเลี่ยงผู้นี้มีความสามารถเก่งกาจทางหมัดมวยและวิชาเพลงดาบและกระบี่เป็นเลิศ และเคารพนับถือพระเจ้ากวนอูเป็นสัจจะธรรม พรรคพวกตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะเถี้ยนตี่ฮวย พร้อมกับเครื่องหมายมีเป็นเบี้ยอีแปะ ด้านหน้าเขียนตัวอักษรเถี้ยน ด้านหลังเขียนตัวหนังสือว่า ตี่
ขณะเดียวกันในมณฑลฮกเกี๋ยนก็เกิดคณะกบฏบ๊อกเซอร์ขึ้นอีกคณะหนึ่ง โดยมีนายอั้งซิ่วจวนเป็นหัวหน้า มีบุคคลราษฎรเลื่อมใสเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากมาย นายอั้งซิ่วจวนได้ใช้ให้คนไปเกลี้ยกล่อมชักชวนคณะเถี้ยนตี่ฮวยเข้าเป็นพรรคพวกกันหลายครั้ง แต่นายตันกวงเลี่ยงไม่ยินยอมเพราะรังเกียจที่คณะบ๊อกเซอร์เป็นพวกนับถือคริสต์ คริสตศาสนากำลังระบาดอยู่ในประเทศจีนขณะนั้น เมื่อนายอั้งซิ่วจวนหัวหน้าคณะบ๊อกเซอร์เห็นว่าจะเป็นไมตรีกันไม่ได้ ขืนเอาไว้ก็จะเป็นภัยแก่ตัว เพราะอยู่ในมณฑลเดียวกัน จึงตัดสินกันด้วยกำลังกันจนคณะเถี้ยนตี่ฮวยที่มีกำลังคนน้อยกว่าแพ้ และพร้อมกันนั้นสมัครพรรคพวกของคณะเถี้ยนตี่ฮวยก็แตกความสามัคคี ส่วนมากลงความเห็นว่าประเทศชาติเป็นใหญ่ การที่หัวหน้าใช้อารมณ์เอาต่างศาสนามาเป็นข้ออ้างนั้นไม่ถูกต้องจึงให้ตีจาก
เมื่อนายตันกวงเลี่ยงพ่ายแพ้แก้คณะบ๊อกเซอร์ ก่อนหนีได้เรียกบรรดาลูกหลานที่ใกล้ชิดมาสั่งเสีย และแบ่งสมบัติเรือกสวนไร่นาแจกจ่ายกันถ้วนหน้า และสั่งลูกชายคนเดียวไว้ว่า ขอให้ตั้งตัวอยู่ในทางสมถะ การเป็นศัตรูกันระหว่างคณะเป็นเรื่องของชาติไม่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว จงพยายามตั้งหน้าทำมาหากินโดยสุจริตธรรม อย่าเบียดเบียนผู้อื่น อย่าเป็นขุนนาง อย่าเล่นการเมือง จงสั่งสอนลูกหลานไว้ อย่าได้หัดเพลงอาวุธจะร้อยวิชา ทางที่ดีจงเป็นชาวนาหรือพ่อค้าจะได้มั่งมีศรีสุขสืบไป อย่าเป็นขี้ข้าพวกตาด ต่อไปจะเกิดการจราจล และที่ดินนาของเราเสื่อมคุณภาพมากแล้ว หากไม่สามารถสละสมบัติในขณะนี้ได้ แต่สืบไปจงให้ลูกหลานออกไปหากินต่างเมืองเถิด สั่งเสร็จแล้วก็นำลูกน้องที่ยังจงรักภักดีจำนวนหนึ่งมุ่งขึ้นเขานำไท้บู้ซัว南太武山 ออกอำเภอไฮเต็ง海澄縣ลงเรือออกทะเลหายสาบสูญไป
ฝ่ายลูกชายตันเต็ก เมื่อได้รับคำสั่งจากบิดาก็ปฏิบัติตามทุกประการ ต่อมานายตันเต็ก หัวหน้าหมู่บ้านหลังเง็ก เกิดบุตรชาย ๒ คน คนพี่ชื่อเจียง คนน้องชื่อปุ่ย คนพี่เจริญรอยตามบิดา แต่สำหรับคนน้องแล้วตรงกันข้าม นิสัยมักเกะกะเสเพลชอบคบเพื่อนฝูง ไม่ชอบทำนา เล่นการพนันทุกชนิด ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อตันปุ่ยอายุได้ ๑๗ ปี ได้มีเพื่อนฝูงมาชักชวนออกไปจากบ้านนานถึง ๒ ปี โดยไม่ปรากฎข่าวคราว บิดาและพี่ชายเข้าใจว่าหายสาบสูญไปเข้าเป็นสมัครพรรคพวกคณะบ๊อกเซอร์เพื่อกู้ชาติ
อยู่มาวันหนึ่งตันปุ่ยได้มาปรากฎตัวขึ้นที่หมู่บ้านอีกครั้งหนึ่ง และเข้าคำนับบิดาและพี่ชายแสดงความจำนงค์ขอลาเดินทางออกนอกประเทศ และยินยอมมอบส่วนสมบัติทรัพย์สินของตนยกให้พี่ชายจนหมดสิ้นแต่ผู้เดียว เพียงแต่ขอสุกรสัก ๑๐๑ ตัว บิดาและพี่ชายเห็นว่าจะห้ามปรามทัดทานไม่ได้แล้ว ก็อนุญาต เมื่อตันปุ่ยรวบรวมสุกรได้ครบตามจำนวนแล้ว ก็ลาบิดาและพี่ชายตลอดจนญาติมิตร เสร็จแล้วให้ฆ่าสุกรตัวแรกร่ำลาบรรพบุรุษตามธรรมเนียม แล้วออกเดินทางไปกับเพื่อนฝูงทันที
สมัยนั้นมีธรรมเนียมอยู่ว่า ผู้ใดในจังหวัดเจียงจิวฮู漳州府เมื่อเดินทางถึงหมู่บ้านอำเภอใด ก็จะนำสัตว์เป็นสุกร หรือแพะ แกะ เป็ด ไก่ ที่นำไปค้าด้วย (ยกเว้น ม้าและวัวสำหรับไถนา จะไม่ยอมซื้อขายเด็ดขาด เพราะในจังหวัดนี้ขัดสนสัตว์ ๒ ชนิดนี้ที่สุด มีกฏห้ามไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดฆ่าและกินเนื้อเด็ดขาด) ไปมอบให้กับ เป้าจิ้นก๋อง หัวหน้าหมู่บ้านนั้น ๑ ตัวก่อน มิฉะนั้นจะไม่ปลอดภัยจากการถูกลักขโมยหรือปล้นสดมภ์ แต่สำหรับตันปุ่ยแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อถึงตำบลใดส่วนมากนายตำบลออกมาให้การต้อนรับเลี้ยงดูเป็นอย่างดี (เข้าใจว่าระหว่างที่ตันปุ่ยหายไป ๒ ปี คงจะปูพื้นฐานทางนักเลงไว้) เมื่อตันปุ่ยจะลาออกเดินทางก็ให้ยัดเยียดสุกรให้หมู่บ้านตำบลละคู่ โดยคำพูดเพียงประโยคเดียวขอฝากให้เลี้ยงไว้เป็นทุนสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปหาตนเมื่อตนต้องการ จนถึงท่าเมืองเอมุยแล้วให้จำหน่ายสุกรที่ไปบ้างบางส่วน แลกเรือสำเภาได้ ๑ ลำ พาสมัครพรรคพวกรวม ๒๕ คน มุ่งสู่ทะเลโดยปราศจากจุดหมายใดๆ
ครั้นต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์ ณ กลางทะเลหัวเขาแดง เมืองสงขลา ปรากฎมีเรือสำเภาจีน ๑ ลำ กางใบเข้ามาทอดสมอเทียบท่า ในลำเรือปราศจากสินค้าใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่ข้าวสารก็เหลือน้อยเต็มที มีแต่สุกรอยู่ ๒ - ๓ ตัว แต่คนจีนในเรือต่างยิ้มแย้มแจ่มใสดี นายอากรเจ้าท่าลงไปสอบถามการเป็นมาค้าขายตามระเบียบ มีจีนผู้หนึ่งมีลักษณะดี ตัวเล็กผอมขาวท่าทางเจ้าปัญญา คือ ตันปุ่ยนั้นเอง ลุกขึ้นตอบว่าข้าพเจ้ามาจากเมืองฮกเกี๋ยน ทราบกิตติศัพท์ว่าเจ้าเมืองที่นี่เป็นจีนฮกเกี๋ยนแซ่เง่า อยู่จังหวัดเดียวกัน จึงให้ตั้งหน้าเดินทางมาขอพึ่งบารมีทำมาหากินเพราะทางเมืองจีนปัจจุบันนี้เกิดยุคเข็ญถูกกบฏบ๊อกเซอร์อั้งซิ่วจวนรบกวนข้าวในนาเมื่อเก็บเกี่ยวได้แล้วก็ถูกแบ่งไปเพื่อใช้ในการกู้ชาติ พอทหารหลวงมาปราบกลับซ้ำร้ายเข้าไปอีก เป็ดไก่สุกรที่เลี้ยงไว้ ก็ถูกทหารหลวงจับไปฆ่ากินหมด พวกข้าพเจ้าจึงอดอยาก ต้องบากหน้าทนลำบากเพื่อมาหาที่พึ่งใหม่ แต่เกิดมาถูกพายุและหลงทิศทางอยู่กลางทะเลเสียหลายเดือนจนอาหารในเรือขาดแคลน พวกเราพากันมารวม ๒๕ คน แต่ขึ้นบกเสียกลางทาง ๑๗ คน เพราะทนอดอยากไม่ไหว แลสินค้าที่นำมาก็ได้แวะขายตามรายทาง แลกเปลี่ยนเงินทองให้พรรคพวกไปทำทุนหากินหมดแล้ว
สมัยก่อนการเดินเรือไม่มีเข็มทิศ ถือความชำนาญเป็นใหญ่ โปรดเข้าใจเสียด้วยว่าการเดินทางผ่านทะเลจีนนั้นอันตรายที่สุด เสี่ยงต่อชีวิตและสินค้าที่นำไปมาค้าขายมาก คนไทยถือว่าผู้ใดสามารถนำเรือหรือลูกเรือผ่านทะเลจีนได้นับว่าโชคดี เพราะนอกจากจะถูกมรสุมทางทะเลแล้ว ยังจะต้องผจญกับโจรสลัดที่มีอยู่ทุกเกาะแก่งกลางทะเลอีกด้วย จึงให้สักมังกรพันมือหรือทำเครื่องหมายใดๆ ไว้เป็นที่ระลึกอวดชาวเรือด้วยกันว่าข้าพเจ้านี้ได้ผ่านทะเลจีนมาแล้ว คนเรือเขาให้เกียรติกันเช่นนี้
คนจีนสมัยก่อนเข้าเดินเรือสามารถและปลอดภัย เพราะมีจุดหมาย เช่นเรือสำเภาของตันปุ่ยเป็นต้น เริ่มต้นที่เอมวย 廈門(เอมุย) ก็หมายซัวเถา 汕頭 ออกจากซัวเถา หมายเกาะไฮหลำ海南 ออกจากเกาะไฮหลำ หมายฮานอย แล้วเลียบแหลมเขมร มาเข้าอ่าวไทยตามลำดับ เขาไม่เสี่ยงออกกลางทะเลเป็นอันขาด เพราะถือสินค้าในเรือเสมือนชีวิตของลูกเรือทุกคน จึงไม่ค่อยปรากฎว่า เรือสินค้าจีนอัปปางกลางทะเล จากแหลมเขมรก็ต้องมุ่งไปตราดหรือจันทบุรี ระยอง ชลบุรี ตามลำดับ
ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ ขณะนั้นพระยาตานี (ตวนสุหลง) พระยาหนองจิก (ตอนจิก) พระยายะลา และพระยาระแงะ รวมกัน ๔ เมือง ยกกำลังเข้าตีเมืองยะหริ่ง พระยายะหริ่งสู้ไม่ได้จึงหนีไปอาศัยพระยาสงขลา (เทียนเส็ง ณ สงขลา) ต่อมาทางกรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าให้พระยาเพ็ชรบุรีเป็นแม่ทัพรวบรวมกำลังอยู่ที่เมืองสงขลา เพื่อจัดกำลังพลไปปราบพระยาตานีและพวก ซึ่งถือเป็นกบฏ ตันปุ่ยและพรรคพวกอาศัยอยู่ในจวนพระยาสงขลาจึงได้โอกาสนำสมัครพรรคพวกชาวจีนอาสาออกสู้รบและกระทำการจนสำเร็จกิจ ตามคำสั่งของพระยาเพ็ชรบุรีและพระยาสงขลาจนได้รับความดีความชอบอย่างใหญ่หลวง พระยาสงขลาจึงขอโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ตันปุ่ยเป็นหลวงสำเร็จกิจกรจางวาง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ครั้นเมื่อเดินทัพมาถึงเมืองปัตตานี ตันปุ่ยซึ่งเป็นหลวงสำเร็จกิจกรจางวางมองเห็นที่ดิน ณ ที่หัวตลาดจีน มีชัยภูมิดี เหมาะสมกับการทำมาหากินทางค้าขาย เพราะใกล้ริมแม่น้ำและทะเล จึงได้เข้าขออนุญาตต่อแม่ทัพทั้งสอง ขอที่ดินและคนจีนที่สวามิภักดีอยู่ในกองทัพให้ตั้งรกรากอยู่ ณ ที่ปัตตานี เพื่อป้องกันการจราจลและโจรผู้ร้ายของบรรดาพวกกบฏที่ยังหลงเหลืออยู่ และจะได้ไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าเมืองคนไทยกับเจ้าเมืองคนมลายู เพราะตนเป็นคนจีน คงจะให้ความเชื่อถือและเจ้าเมืองทั้ง ๒ ฝ่าย ให้ประสานสามัคคีเป็นธรรมได้ แม่ทัพทั้งสองเห็นชอบกับความคิดของตันปุ่ยจึงให้ออกประกาศแต่งตั้งให้หลวงสำเร็จกิจกรจางวาง เป็นนายกองหัวหน้าคณะคนจีน ณ บัดนั้น พร้อมกับมอบบรรดาคนจีนที่อยู่ในกองทัพผู้สมัครจะอยู่ช่วย ควบคุมเชิงทั้ง ๒ ฝ่ายไว้พอสมควร และประกาศยกที่ดินที่หัวตลาดทั้งหมดให้แก่จีนปุ่ยและพรรคพวกทำมาหากินเลี้ยงชีพสืบต่อไปชั่วลูกหลาน