ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เอารูปศาลเจ้าโบราณร้อยกว่าปีแถวบางกล่ำมาให้ดู

เริ่มโดย บาบ๋า, 12:18 น. 05 ก.พ 56

บาบ๋า

ตะหลิว คนบางกล่ำ เรียกว่า เจียนสี่ 煎匙
มันแกว คนบางกล่ำเรียกว่า ฮวนขั่วะ 番葛

บาบ๋า

ชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาจากเมืองจีน ไม่ ใช่ว่าจะมาตั้งรกรากที่บางกล่ำเท่านั้น แต่ได้ตั้งรกรากตามพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา เช่น บ้านเกาะยอ (ตามประวัติบางกล่ำดินเผา ก็มีชาวจีนบ้านเกาะยอ อพยพมาอาศัยอยู่บ้านบางกล่ำและนำศิลปะการทำเครื่องปั้นดินเผามาด้วย)
บ้านบางเหรียง บ้านบางทีง บ้านเกาะยอ บ้านระโนด บ้านสทิงพระ หรือแม้แต่ บ้านกงหรา จังหวัดพัทลุง

บาบ๋า

เจ้าของพิธานพาณิชย์ก็มาจาก อำเภอไห้เต็ง เมืองเจียงจิว ฮกเกี้ยนครับ
ต้นตระกูลของหลวงพิธานพาณิชย์ เดิมอยู่ที่อำเภอไฮเต้ง มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน แล้วเดินทางอพยพมาทางภาคใต้เพื่อสร้างหลักฐานในประเทศไทย ผู้ที่มาคนแรกได้แก่ปู่ทวดของหลวงพิธานฯ ชื่อ อิน ต่อมาปู่ทานชื่อเล่ง และบิดาชื่อ กวย (หรือจันกิมกวย) ได้ติดตามมาโดยมาทำการค้าที่ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี


บาบ๋า

ตอนนี้มีเฟสบุ๊คชื่อว่า "ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์บางกล่ำ"  จะเป็นการนำเสนอวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลองบางกล่ำ ซึ่งได้มีการหารือกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและท่านได้มาเยี่ยมชมด้วย จะทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัดสงขลา

บาบ๋า

ความสมบูรณ์ของคลองบางกล่ำ

บาบ๋า


มุมมองท่านผู้ว้าสงขลา เรื่องท่องเที่ยวบางกล่ำ
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาร่วมหารือกับหัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอและผู้นำทุกภาคส่วน ที่ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา เพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เกษตร และวัฒนธรรม คลองบางกล่ำ - วัดคูเต่าคับสรุปผลการประชุมวันนี้ กับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และหัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วน ที่ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา เรื่อง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เกษตร และวัฒนธรรม คลองบางกล่ำ ตั้งแต่เวลา 9.30 - 12.00 น.
มติในที่ประชุมจากการสรุปโดยย่อจากพี่วิชาญ บ้านทางไทโฮมสเตย์คับ
มติที่ประชุมสรุปตรงกันว่า จะเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เกษตร และวัฒนธรรม คลองบางกล่ำ ในวันที่ 19 ธันวาคม ที่จะถึงนี้


https://www.facebook.com/100000652116807/videos/vb.100000652116807/1024401897591538/?type=2&theater

บาบ๋า

บ้านเก่าแก่สร้างสมัยรัชกาลที่ 5 ของชาวไทยเชื้อสายจีนบ้านบางกล่ำใต้  บ้านหลังนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่5ผู้สร้างคือ
นายอั่งแฮ่ แซ่อิ้ว ต้นตระกูลวิชัยพฤกษ์และอิชยพฤกษ์ ใช้ไม้ทั้งหมด7แพ ล่องมาจากเขาพระรัตภูมิ พื้นชานเปนกระดานไม้เคี่ยมรุ่นเก่า บนเรือนมีที่บูชาเทพโก้ยเซ่งอ๋อง และที่บูชาบรรพบุรุษ

บาบ๋า

ประวัติบ้านบางกล่ำ (ปรับปรุง)
บ้านบางกล่ำ (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลสาบสงขลา) ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ (เดิมเป็นอำเภอหาดใหญ่ ได้แยกออกมาเป็นอำเภอบางกล่ำเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2538) จ.สงขลา กินเนื้อที่โดยรวม 3 หมู่บ้านของอำเภอบางกล่ำ ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านบางกล่ำบน (เป็นสถานที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอบางกล่ำ และองค์การบริหารส่วนตำบลบางกล่ำ), หมู่ 2 บ้านบางกล่ำกลาง และหมู่ 3 บ้านบางกล่ำใต้ บ้านบางกล่ำมีคลองบางกล่ำพาดผ่านและเชื่อมออกไปยังทะเลสาบสงขลาที่บ้านเกาะน้ำรอบ ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา เดิมชื่อว่า บางกลม เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ของลำคลองที่โค้งและกลม
ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีกลุ่มชาวจีนทยอยอพยพมาจาก อำเภอไห่เติง 海登縣 (ไห้เต็ง) ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอำเภอหลงไห่ 龍海縣 (เหล็งไห้) จังหวัดจังโจว (เจียงจิว 漳州府) มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน 福建省) ประเทศจีน ได้อาศัยเดินเรือมาทางอ่าวไทยเข้าสู่ทะเลสาบสงขลา และเข้ามาสู่คลองบางกลม ตั้งรกรากตามริมคลองบางกลม คนจีนสมัยนั้นพูดไทยไม่ชัด เลยเพี้ยนจากบางกลมเป็นบางกล่ำ
แรกเริ่มเดิมทีคนที่นี่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง โดยยึดอาชีพปลูกพลู และละมุด ส่งขายทางเรือ และทางรถไฟ การปลูกสร้างบ้านเรือนจะเป็นไม้ยกพื้นแบบปักษ์ใต้ เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำหลากช่วงปลายปี การสัญจรแต่เดิมใช้ทางเรือเท่านั้นเพื่อไปยังเมืองสงขลาซึ่งเป็นชุมชนเมืองใหญ่ในสมัยนั้น และชุมชนรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลา เช่น ระโนด การสัญจรทางรถไฟเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนการสัญจรทางรถยนต์จะมีถนนริมคลอง ปัจจุบันไม่มีได้สัญจรแล้วเพราะมีถนนตัดผ่านในหมู่บ้าน การสัญจรทางรถยนต์ก็เลยสะดวกสบายจนถึงปัจจุบัน
ขนบธรรมเนียมประเพณี เนื่องด้วยเป็นหมู่บ้านคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ขนบธรรมเนียมของจีนที่สำคัญยังคงยึดถือมาตั้งแต่อดีตจีนถึงปัจจุบัน คือ ตรุษจีน (ไหว้ชื่อบรรพชน) และเฉ่งเบ่ง (ไหว้หลุมศพ) และการทำบุญวันว่างเดือนห้า การทำบุญเดือนสิบ ประเพณีชักพระ ซึ่งเป็นประเพณีของไทยภาคใต้
สถานที่สำคัญ
วัดชลธาราวาส (วัดบางกล่ำ เดิมชื่อวัดโคกขี้เหล็ก) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านบางกล่ำบน พระเกจิที่โด่งดัง คือ พ่อท่านขวัญ หลวงพ่อเอียด (พ่อท่านต้ม)
ศาลาทวดบ้านบางกล่ำ เป็นศาลเจ้าโบราณอายุร้อยหกสิบกว่าปี ตั้งอยู่ริมคลองบางกล่ำ
หมู่ที่ 3 บ้านบางกล่ำใต้

ปลาอั๊งจ๊อ

บางกล่ำ มีคลองน้ำกร่อยไหลลงเลสาป   เห็นแล้วอยากไปตกปลา ตกกุ้งจังเลย  ขอให้รักษาสภาพแวดล้อมให้เหมือนเดิมนะครับ  อย่าให้เหมือนชุมชนอื่นๆ ที่แหล่งน้ำธรรมชาติ เน่าเสียหมด  ขอให้กำลังใจ คนในชุมชนครับ

บาบ๋า


บาบ๋า

รูปวิถีชีวิตเก่าๆ

บาบ๋า




คลองบางกล่ำ กับการพัฒนาสู่ขุมทรัพย์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศผ่านแคมเปญสงขลามหาสนุก

« เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:49 »
อ้างถึง





ศูนย์ข่าวบ้านเรา.-จังหวัดสงขลายุคผู้ว่าฯทรงพล เป็นปีแห่งการเดินหน้าส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง เจ้าของแคมเปญท่องเที่ยวนครศรีดี๊ดี และแคมเปญกระบี่เมืองต้องมา ครั้งเดียวไม่เคยพอ และในวันนี้กำตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ของสงขลาก็ได้ประกาศ 15 วาระสงขลา พร้อมผลักดันสู่การปฏิบัติอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เริ่มมารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 1 ตุลาคม 2558

1 ใน 15 วาระสงขลา นั่นคือแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวสงขลามหาสนุก ที่มีการเดินหน้าเยี่ยมชมและพัฒนาแหล่งเที่ยวต่างๆ อย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในตัวเมืองสงขลา และอีกหนึ่งพื้นที่ที่กำลังได้รับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเป็นพิเศษคงหนีไม่พ้นคลองบางกล่ำ สายคลองที่เป็นเสมือนแขนของทะเลสาบสงขลา ยื่นเข้ามาเป็นแนวกั้นระหว่างอำเภอบางกล่ำและอำเภอควนเนียง คลองสายนี้ได้ชื่อว่าเป็นคลองที่สะอาดและมีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดสายหนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นคลองสามน้ำ (จืด กร่อย เค็ม) ปลาในสายคลองบางกล่ำจึงได้ชื่อว่าเป็นปลาที่อร่อยที่สุดแห่งหนึ่งของสงขลา

อำเภอบางกล่ำ เป็นอำเภอน้องใหม่ที่แยกออกจากหาดใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของบางกล่ำอยู่ใกล้เมืองหาดใหญ่มากกว่าหลายตำบลในหาดใหญ่เสียอีก บางกล่ำ มีมนต์เสน่ห์ความเป็นถิ่นธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์จากการเป็นพื้นที่ริมทะสาบและปลายน้ำคลองอู่ตะเภา วันนี้การขยายตัวของเมืองหาดใหญ่ได้ก่ออานสงค์ให้หลายธุรกิจย้ายหลักปักฐานไปในเขตบางกล่ำ โดยเฉพาะริมถนนที่ทอดยาวรวมหลายสิบกิโลของสายเอเชีย ลพบุรีราเมศวร์ และสนามบินพาณิชย์ บางกล่ำมี 4 ตำบล คือบางกล่ำ บ้านหาร แม่ทอม และท่าช้าง อำเภอนี้มีอีกสิ่งที่แปลกคือเกินครึ่งของพื้นที่ทั้งอำเภอเป็นเขตตำบลท่าช้าง

พูดถึงโครงการใหญ่ภายใต้การผลักดันของผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม นั่นคือแคมเปญสงขลามหาสนุก และคลองสวยน้ำใส ที่ใช้คลองบางกล่ำเป็นพื้นที่โครงการนำร่อง และมีโครงการใหญ่คือการปรับปรุงท่าน้ำวัดบางหยี สู่การเป็นตลาดริมน้ำวิถีไทยคลองบางกล่ำ โดยในเบื้องต้ทราบมาว่าโครงการนี้มีการอนุมัติงบประมาณ 15 ล้านบาทในปี 59 และอีก 15 ล้านบาทในปี 60 ในการสร้างตลาดริมน้ำที่คลองบางกล่ำ มุ่งหวังให้พื้นที่แห่งนี้เป็นตลาดวิถีไทยใกล้เมืองหาดใหญ่ เป็นศูนย์รวมสินค้าจากทะเสลาบสงขลา คลองบางกล่ำ สินค้าโอทอป ภูมิปัญญาชาวบ้าน และสิ้นค้าท้องถิ่นชุดชนิด


พื้นที่ริมคลองบางกล่ำที่ท่าน้ำวัดบางหยี ยังเป็นพื้นที่สำคัญในการจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีจังหวัดสงขลา ที่จัดมายาวนานต่อเนื่องร่วม 20 ปี และเป็นงานแข่งเรือชิงถ้วยพระราชทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดสงขลาอีกด้วย นอกจากผู้ว่าฯ ทรงพล แล้วบางกล่ำยังได้นายอำเภอนักพัฒนาอย่างนายสุวรรณ ช่วยนุกูล ที่ดูเหมือนจะมาตั้งหลักปักฐานเป็นลูกบางกล่ำเต็มตัวเมื่อเกษียณอายุราชการ แรงประสานจากผู้นำท้องที่สู่ผู้นำท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งเป็นทุนเดิมและมีมนต์เสน่ห์ของพื้นที่เป็นส่วนเติมเต็มให้บางกล่ำเป็นเพชรเม็ดงามที่กำลังได้รับการเจียระไนสู่สายตาสาธารณชนในเร็ววันนี้

อีกหนึ่งโครงการที่ได้รับการพัฒนา นั่นคือโครงการปรับปรุงสะพานแขวนคลองบางกล่ำ บริเวณหลังสถานีรถไฟบางกล่ำ ซึ่งเป็นสะพานแขวนสะลิงพื้นไม้ ที่ชาวบ้านในอดีตร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเดินไปยังสถานีรถไฟและตัวอำเภอบางกล่ำ โดยข้ามได้เฉพาะคนเดิม รถจักรยาน และจักรยานยนต์เท่านั้น สะพานในตำนานแห่งนี้กำลังจะได้รับการปรับปรุงด้วยงบประมาณเกือบ 2 ล้านบาท

จากแคมเปญการพัฒนาที่เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นทำให้วันนี้เศรษฐกิจริมคลองบางกล่ำ กำลังกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง โดยเจ้าแรกคงต้องยกให้บ้านทางไท โฮมสเตย์ ของนายวิชาญ ช่วยชูใจ นักข่าวท้องถิ่นชื่อดังที่ไปเป็นเขยบางกล่ำ และสร้างบ้านพักก่อนขยับเป็นโฮมสเตย์ รวมถึงการล่องเรือท่องเที่ยวคลองบางกล่ำที่มีชื่อเสียงในวันนี้ ยังมีร้านพี่มาด ร้านเก่าแก่เชิงสะพานบางหยี ที่ขายมายาวนนานและมีที่นั่งเป็นเรือนแพในคลองบางกล่ำ ร้านบ้านนายช่าง บ้านดินเผาบางกล่ำ รวมถึงศิลปินดังอย่างแสง ธรรมดา ก็ไปตั้งหลักที่ริมคลองบางกล่ำด้วย

สงขลามหาสนุก กำลังผลักดันให้คลองบางกล่ำเป็นที่รู้จักและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ของสงขลา  รวมถึงการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ อาทิ วัดคูเต่า วัดบางกล่ำ วัดท่าช้าง สถานีรถไฟบางกล่ำ และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างสวนผักบางเหรียง หาดปากบางภูมี ธนาคารข้าวควนรู หาดแหลมโพธิ์ ซึ่งหวังว่าการเริ่มต้นจุดประกายที่คลองบางกล่ำคงจะขยายความเจริญมาถึงพื้นที่เหล่านี้ด้วย และที่สำคัญอย่าลืมพัฒนาเส้นทางสายรองตั้งแต่หาดใหญ่ (จากบิ๊กซีคลองแห ผ่านเส้นอัมพวัน บ้านหาร บางกล่ำ ควนเนียง) ให้เป็นเส้นทางที่สมบูรณ์ มีไหล่ทาง ป้ายบอกทางที่ชัดเจนแก่ผู้ใช้เส้นทางด้วยนะครับท่านพ่อเมือง




  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 315.jpg (261.66 kB, 960x682 - ดู 6 ครั้ง.)
  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 316.jpg (224.25 kB, 960x444 - ดู 6 ครั้ง.)
  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 317.jpg (190.31 kB, 960x444 - ดู 6 ครั้ง.)
  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 318.jpg (289.11 kB, 680x960 - ดู 6 ครั้ง.)
  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 319.jpg (221.19 kB, 720x960 - ดู 6 ครั้ง.)
  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 320.jpg (257.8 kB, 741x960 - ดู 6 ครั้ง.)
  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 321.jpg (85.95 kB, 485x581 - ดู 6 ครั้ง.)
  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 322.jpg (182.93 kB, 960x637 - ดู 6 ครั้ง.)
  (คลิกเพื่อดูต้นฉบับ) 323.jpg (71.42 kB, 525x487 - ดู 6 ครั้ง.)





แจ้งลบกระทู้นี้หรือติดต่อผู้ดูแล   บันทึกการเข้า

ศูนย์ข่าวบ้านเรา ฉับไวทุกข่าวสาร ทันทุกสถานการณ์ท้องถิ่น
แจ้งข่าว รายงานข่าว โทร.074-214222 อีเมลล์ webgimyong@gmail.com

บาบ๋า

นโยบายผู้ว่าสงขลา

บาบ๋า

ประวัติวัดชลธาราวาส (วัดบางกล่ำ)
   วัดชลธาราวาส ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านบางกล่ำ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา มีเนื้อที่ 12 ไร่เศษ ซึ่งอดีตนั้นตำบลบางกล่ำ ขึ้นกับอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เดิมทีมีชื่อเรียกว่าวัดโคกขี้เหล็ก สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งวัดแห่งนี้มีต้นขี้เหล็กขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจึงมีการเรียกชื่อตามนั้น ต่อมาภายหลังทางคณะสงฆ์ได้ลงมติเห็นสมควรที่จะตั้งชื่อใหม่ตามความเหมาะสม และเห็นสภาพที่ตั้งของวัดอยู่ติดกับคลองบางกล่ำ จึงให้ชื่อวัดนี้เสียใหม่ว่า วัดชลธาราวาส มาจนกระทั่งปัจจุบัน
   เจ้าอาวาสองค์แรก
   วัดนี้ได้เริ่มตั้งขึ้นมาในสมัยของ ท่านพระอธิการขวัญ เกสโร แห่งวัดสุวรรณคีรี ท่าแหลมสน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งในสมัยนั้นเกิดเป็นโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ เป็นโรคระบาดชนิดหนึ่งที่มีเม็ดขึ้นตามร่างกาย ในสมัยนั้นหยูกยาแผนปัจจุบันยังไม่เจริญขยายเข้ามาในเขตหมู่บ้านตามชนบทเหมือนอย่างปัจจุบัน จึงจำเป็นที่จะต้องเสาะหาว่านยาสุมนไพรนำมาเพื่อใช้รักษาโรค ท่านพระอธิการขวัญ เกสโร จึงได้ออกหาว่านยาสมุนไพรเพื่อนำมาช่วยเหลือชาวบ้านในระแวกนั้น จึงได้ออกเดินทางเพื่อเสาะแสวงหาว่านโดยอาศัยเรือใบลอยลำเป็นพาหนะ ในการเดินทางในครั้งนั้นมีผู้ติดตามคือ พระอ่อนแก้ว พระสีจันทร์ พระสิงห์ และนายนุ่นผู้ซึ่งเป็นศิษย์ติดตามมาด้วย พอเรือใบได้เข้าเขตคลองบางกล่ำท่านได้แวะพักซึ่งประชาชนชาวบางกล่ำส่วนใหญ่จะรู้จักท่านอยู่ก่อนแล้ว จึงได้ให้การต้อนรับท่านและคณะเป็นอย่างดี และได้ลงความเห็นว่าการจะนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำ ณ ที่บางกล่ำ โดยมี นายหยิ่มเซ่ง และนางฮ่อง และนายทองคำ มอบที่ดินของตนถวายเพื่อใช้สำหรับทำกิจของสงฆ์ต่อไป และยังมีชาวบ้านอีกหลายท่านที่ศรัทธาได้รวบรวมกันซื้อที่ดินถวายเพิ่มเติมอีกเพื่อความเหมาะสมของวัดวาอาราม ในครั้งนั้นส่วนใหญ่ก็มีหลายต้นตระกูลด้วยกันที่ได้ช่วยกันก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด เช่น ต้นตระกูลทิพย์มณี ต้นตระกูลร่วมสุข และต้นตระกูลวิไลรัตน์ รวมทั้งกำนันเส่งหิ้น วิไลรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านเปาะเซ่ง นายกิมเซ่ง ฯลฯ ซึ่งในครั้งนี้เกิดจากความศรัทธาของชาวบางกล่ำโดยแท้จริง จึงบังเกิดวัดแห่งนี้ขึ้นมา ณ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู โดยมีพระอธิการขวัญ เกสโรเป็นผู้ปกครองวัดนี้
   พระอธิการขวัญ เกสโร ในฐานะที่ท่านเป็นประธานในการสร้างวัดตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งมีเสนาสนะเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่พระสงฆ์ สามเณร ทางคณะสงฆ์เห็นสมควรที่จะให้ท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสจึงได้มีตราตั้งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพร้อมกับมีวัดนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ได้ดำเนินการก่อสร้างให้เจริญขึ้นจากความศรัทธาร่วมแรงร่วมใจของชาวบางกล่ำดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ท่านได้เป็นที่เคารพของชาวบ้านอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
   ในด้านความรู้พิเศษท่านมีความสามารถในวิชาหมอแผนโบราณ ซึ่งชาวบานเกิดเจ็บป่าวก็ได้อาศัยท่านเป็นที่พึ่งช่วยเหลือรักษาเมื่อคราวเจ็บไข้ตลอดมา การพัฒนาทางด้านวัตถุภายในวัดนั้นก็เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามอัตภาพของชาวบ้านในสมัยนั้น ส่วนด้านการศึกษาก็ได้มีการสอนให้พระเณรได้ศึกษาธรรมวินัยในละแวกนั้นตลอดมาจนเป็นวัดที่ได้รับรองจากทางคณะสงฆ์ ท่านเจ้าอาวาสจึงได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาตามระเบียบเพื่อความถูกต้องของกฎบัญญัติ และได้รับพระบรมราชานุญาตในปี พ.ศ. 2477 ต่อมาทางการได้เข้ามาปักเขตวิสุงคามสีมาท่านก็ได้มรณภาพด้วยโรคชรา รวมเวลาการปกครองของท่านตั้งแต่ต้นเริ่มสร้างวัดมาจนกระทั่งมรณภาพรวมทั้งสิ้น 36 ปี แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วก็ตาม แต่เกียรติคุณชื่อเสียงของท่าน ยังคงอยู่คู่กับวัดและฝังอยู่ในความทรงจำของชาวบ้านเสมอมาอย่างไม่เสื่อมคลาย
   เจ้าอาวาสองค์ที่ 2
   หลังจากที่ท่านพระอาจารย์ขวัญ เกสโร ได้จากไป ตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ว่างลง ทางคณะศิษย์ของท่านพระอธิการขวัญ เกสโร ก็ได้ขึ้นทำหน้าที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนท่านคือ พระอธิการจันทร์ กุสุโม เมื่อดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ได้ปฏิบัติภารกิจสนองคุณพระอาจารย์ ได้จัดงานศพและภารกิจต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ต่อไป เช่น การสร้างพระอุโบสถ เป็นลำดับ เพราะสมัยนั้นพระอุโบสถมาสร้างหลังวิสุงคามสีมาเสมอ เมื่อได้รับการก่อสร้างโบสถ์ก็ได้มีการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตตามระเบียบที่มีมาช้านาน เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด โดยความร่วมมือของพระครูอนันต์นินท์นาท วัดโรงวาส (ต่อมาได้เป็นเจ้าคณะอำเภอหาดใหญ่สืบต่อจากพระมหาชุมฐานุตตโม วัดโคกสมานคุณ) และความอุปถัมภ์ของพระครูปราการศิลปกฤต(จูหลิ่ม)เจ้าอาวาสวัดบางทีง ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอรัตภูมิ ในฐานะอาณาเขตติดต่อกันกับพระครูอุทิตเขตคณารักษ์ในระยะนั้น ฝ่ายคฤหัสถ์ก็มีขุนทิพย์มณี กำนันตำบลท่าช้าง และประชาชนในหมู่บ้านช่วยกันดำเนินงาน
   พระอธิการจันทร์ กุสุโม เจ้าอาวาสรูปนี้แม้จะเป็นเจ้าอาวาสในระยะเวลาไม่นานนักแต่ท่านก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างกว้างขวางทำให้วัดเจริญขึ้นกว่าเดิมมากจนได้รับการยกย่องทางฐานันดรศักดิ์รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลและเป็นพระอุปัชฌายะ ปกครองอยู่ 3 ปี เศษ ก็ลาสิกขาในปี พ.ศ. 2485 แม้ท่านจะลาสิกขาบทไปแล้วก็ตามแต่ท่านก็ได้สร้างผลงานฝากไว้เป็นอนุสรณ์แห่งหน้าที่การงาน ซึ่งเป็นถาวรวัตถุหลายชิ้นที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ก่อนที่ท่านจะลาสิกขา
   เจ้าอาวาสองค์ที่ 3
   นามเดิมท่านชื่อเอียด ร่วมสุข ปู่ของท่านเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพมาตั้งรกราก ณ ที่บ้านบางกล่ำ ราว ๆ ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 4 บิดาของท่านชื่อนายตุ้ม ร่วมสุข มารดาชื่อเป็น มีพี่น้องร่วมกัน 7 คน ชาย 3 หญิง 4 ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ตรงกับวันอังคาร แรม 7 ค่ำ เดือน 11 (ไทย) ปีมะเมีย เมื่อยังเยาว์ได้ศึกษาเล่าเรียนกับวัดจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ตามประสาบ้านในละแวกชนบท แล้วออกมาช่วยเหลือทางบ้านในการประกอบอาชีพทำสวนไร่นา จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี จึงได้เข้าอุปสมบท ณ วัดชลธาราวาสแห่งนี้ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ โดยมี
   พระครูรัตโมลี วัดดอนแย้ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นพระอุปัชฌาย์
   พระอธิการขวัญ เกสโร วัดชลธาราวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์
   พระคลิ้ง วัดชลธาราวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์
   เมื่ออุปสมบทเป็นพระเอียด สุวณโณ ก็เริ่มศึกษาเล่าเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจในบทพระธรรมและยังเล่าเรียนในด้านไสยศาสตร์ควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน
   วินัยบทสวดพระพุทธมนต์ต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันอยู่ประจำ ตลอดจนบทสวดพระภิกขุปาฏิโมกท่านก็สามารถท่องบ่นได้จบตั้งแต่ย่างพรรษาที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ท่านได้เข้าสอบนักธรรมสนามหลวงและสอบได้ชั้นนักธรรมตรีในครั้งนั้น
ปีต่อมาท่านจึงได้เข้าเป็นครูฝึกสอนนักธรรมเพื่อช่วยท่านอธิการขวัญ เกสโร อีกแรงหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ท่านก็ได้สอบนักธรรมโทได้ จึงได้ดำรงตำแหน่งครูสอนนักธรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อท่านอธิการจันทร์ กุสุโม ได้ลาสิกขาตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ว่างลง ทางคณะกรรมการวัดจึงได้เห็นพ้องให้ท่านรักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ว่างอยู่ จนกระทั่งต่อมาทางคณะสงฆ์ได้ส่งตราตั้งเจ้าอาวาสมาแต่งตั้งให้พระเอียด สุวณโณ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 พร้อมกันนั้นท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกล่ำ และตราตั้งเป็น "กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง" ในครั้งนี้อีกตำแหน่งด้วย
   ต่อมาภายหลังได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในเขตตำบลบางกล่ำอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2498
ต่อภายหลังคณะสงฆ์ได้มีตราตั้งให้เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2504 พระครูชั้นโทเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2519 ตามลำดับ ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2538 และได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2540
   เจ้าอาวาสองค์ที่ 4
   พระอธิการประพันธ์ สุทธิญาโณ (ป๊อกขิ้น ร่วมสุข) บิดาชื่อนายถั้น ร่วมสุข มารดาชื่อนางเที้ยม แซ่กัง
   เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 องค์ปัจจุบัน
   พ่อท่านใหญ่ ร่วมสุข

บาบ๋า

โทษทีครับพิมพ์ผิดหลายจุดเลย ปู่ของพ่อท่านเอียดอพยพมาจากจีนราวปลายรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 5 ส่วนมารดาพ่อท่านเอียดชื่อแป้น พ่อท่านเอียดเกิดปี พ.ศ. 2449 ปีเดียวกับก๋งผมครับท่านเป็นหลานพี่หลานน้องกัน

บาบ๋า

ภาพการโดยสารทางเรือในคลองบางกล่ำสมัยเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว เป็นเรือของ ก๋งโส่ย กัลยาศิริ เตี่ยป้าไช้เหี่ยม รับส่งจากปากคลองบางกล่ำไปถึงท่าสถานีรถไฟบางกล่ำ ซึ่งในสมัยนั้นเขาจะขึ้นรถไฟไปตามที่ต่าง เช่น หาดใหญ่ ควนเนียง เป็นต้น ถนนในบ้านบางกล่ำยังไม่มี ผู้ที่จะโดยสารจะโยนก้อนหินลงไปในน้ำคนขับเรือเห็นก็จะจอด

บาบ๋า

ภาพถ่ายคลองบางกล่ำเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว (ภาพโดย สวนสวาร้อยปีโฮมสเตย์ บางกล่ำ)

บาบ๋า

ขอแก้นะครับคำนี้ 海登 อ่านว่า  ไฮเท่ง  หรือ  ไฮเต้ง  ไม่ใช่ ไห้เต็ง ซึ่งจากประวัติของชาวฮกเกี้ยนดัง ๆ ในไทย เช่น
      ต้นตระกูลของหลวงพิธานพาณิชย์ เดิมอยู่ที่อำเภอไฮเต้ง มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน
      สกุลเศรษฐบุตรเป็นจีนฮกเกี้ยนบรรพบุรุษมาจาก อำเภอไฮเท่ง เมื่องเจียงจิว มณฑลฮกเกี้ยน
ซึ่งปัจจุบัน อำเภอไฮเท่ง ได้เปลี่ยนเป็น อำเภอหลงไห่ไปแล้ว

บาบ๋า

พระประจำบ้านโบราณของชาวบางกล่ำ

บาบ๋า

[attach=4]

บาบ๋า

โทษทีครับ ไม่ชำนาญโพสบนมือถือค่อยแก้ให้วันทำงานน่ะครับ

บาบ๋า