ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เอารูปศาลเจ้าโบราณร้อยกว่าปีแถวบางกล่ำมาให้ดู

เริ่มโดย บาบ๋า, 12:18 น. 05 ก.พ 56

บาบ๋า


บาบ๋า



บาบ๋า


บาบ๋า

นี่ก็พระประจำบ้านอีกครอบครัวนึง ของชาวบางกล่ำ (กวนอู และ กวนเป้ง)

บาบ๋า

สมัยก่อน คงราวเกือบร้อยปีหรือมากกว่านั้น มักมีเรือสำเภาจีนบรรทุกถ้วยชามเครื่องกระเบื้อง จอดแวะอยู่ตรงอ่าวขาม (ปัจจุบันคือหมู่ 4 ตำบลบางเหรียง) ใกล้ๆ ปากคลองบางกล่ำ และมักทิ้งเศษกระเบื้องไว้ตรงนั้น ปรากฎว่าเมื่อกว่าสิบปีมาแล้วมีการลอกคลองบางกล่ำพบเศษถ้วยชามกระเบื้องจีนมากมาย แสดงว่าคลองบางกล่ำเป็นเส้นทางสำคัญในการค้าขายทางเรือมานานแล้ว

บาบ๋า

เรือสำเภาจีนที่จอดอยู่ที่อ่าวขามนั่นจะนำเครื่องใช้ต่างๆจากเมืองจีนมาขายให้กับชาวจีนบางกล่ำสมัยนั้น เช่น ปิ่นโตจีน ดังรูป

บาบ๋า

บ้านโบราณชาวไทยเชื้อสายจีนบ้านบางกล่ำบน หมู่ 1 บ้านบางกล่ำ และหีบเหล็กโบราณ

บาบ๋า

ภาพถ่ายบ้านทางไท ริมคลองบางกล่ำ ใกล้ ๆ เกาะน้ำรอบซึ่งจะมีปากคลองออกไปยังทะเลสาบสงขลา

บาบ๋า

ลองเขียนภาษาจีน คำว่า หับ โห้ หิ้น ซึ่งเป็นชื่อโรงสีแดงที่เมืองสงขลาถูกผิดขอโทษด้วยนะคับ
合 = หับ = ความร่วมมือ
和 = โห้ = ความกลมกลืน ,ความเป็นเอกภาพ
興 = หิ้น = ความเจริญรุ่งเรือง
ไม่เคยเห็นใครเขียนออกมาเป็นภาษาจีนเลยฝึกภาษาฮกเกี้ยนกันหน่อยครับ

บาบ๋า

พระครูวิมลปัญญาสาร (หิ้น) ฉายา ติกฺขปญฺโญ อายุ 90 พรรษา 69 วิทยฐานะ น.ธ.โท สังกัดวัดยูงทอง ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดยูงทอง และอดีตเจ้าคณะอำเภอบางกล่ำ สถานะเดิมชื่อ นายโปหิ้น นามสกุล สุขชาญ  (陳保興) เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคมพ.ศ.2466 ที่บ้านบางกล่ำกลาง บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 2 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา  โยม บิดามารดาเป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ชื่อคุณพ่อเฮี้ยว และคุณแม่เฉี้ยว สุขชาญ  (เดิมแซ่ตัน) เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 5 คน อุปสมบทเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2487 ณ วัดชลธาราวาส ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา พระอุปัชฌาย์ พระครูสุคนธศีลาจารย์ วัดคูเต่า ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา วิทยาฐานะ พ.ศ.2487 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบางทิง ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา พ.ศ.2492 สอบได้ น.ธ.โท จากสำนักเรียนคณะจังหวัดสงขลา สังกัดวัดชลธาราวาส อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา งานปกครอง พ.ศ.2527 เป็นเจ้าอาวาสวัดยูงทอง พ.ศ.2529 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลบางกล่ำ พ.ศ.2530 เปฌนเจ้าคณะตำบลบางกล่ำ พ.ศ.2530 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2542 เป็นเจ้าคณะอำเภอบางกล่ำ สมณศักดิ์ พ.ศ.2531 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรีที่พระครูวิมลปัญญาสาร พ.ศ.2542 ฌป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นโทพระครูวิมลปัญญาสาร ได้มรณภาพสาเหตุด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556 ณ วัดยูงทอง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา สิริรวม อายุได้ 90 ปี 70 พรรษา

บาบ๋า

ปั้นดินเผาจาก 'ดินสามน้ำ' สินค้าเลื่องชื่อคน 'บางกล่ำ'
ทำมาหากิน : ปั้นดินเผาจาก 'ดินสามน้ำ' สินค้าเลื่องชื่อคน 'บางกล่ำ' : โดย...โต๊ะข่าวเกษตร
ย้อนกลับไปในอดีตพื้นที่ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา จะเลื่องชื่อเรื่องครื่องปั้นดินเผา โดยเฉพาะดินเหนียวที่มีเนื้อละเอียดอันเกิดจากการทับถมของตะกอนดินทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย จนได้ชื่อเป็น "ดินสามน้ำ" ซึ่งรุ่นปู่ย่าตายาย นำดินนี้มารังสรรค์เป็นงานฝีมือทำหม้อน้ำ ถ้วยชาม และอิฐ ถึงปัจจุบัน "ชาญชัย ทิพย์มณี" หนุ่มใหญ่ลูกหลานชาวบางกล่ำ เล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงรื้อฟื้นการผลิตเครื่องปั้นดินเผาขึ้นอีกครั้ง
ชาญชัย ทิพย์มณี อยู่ที่ 39 หมู่ 1 ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ ใช้บ้านหลังนี้ค้นคว้าข้อมูลเรื่องราวของ "ดินบางกล่ำ" หรือ "ดินสามน้ำ" ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะสีสันเมื่อเผาด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมจะมีสีที่สวยงามเป็นธรรมชาติ แข็งแรงคงทน โดยใช้วิถีศึกษาข้อมูลจากคนเฒ่า คนแก่เพื่อเรียนรู้ประติมากรรมการปั้นที่เป็นต้นฉบับของชาวบ้านกล่ำโดยแท้ รวมถึงคุณลักษณะโดดเด่นของดินเหนียวซึ่งเป็นวัตถุดิบชั้นดีของชุมชน อีกทั้ง ยังไปศึกษาค้นคว้าเรียนรู้เกี่ยวกับงานเซรามิกถึง จ.ลำปางด้วย

โดยที่ชาญชัยบอกว่า ช่วงแรกก่อตั้งกิจการบางกล่ำดินเผาขึ้นในชุมชน โดยรวบรวมคนหนุ่มสาวเข้ามาฝึกฝนเกี่ยวกับงานปั้น เริ่มจากการผลิตเครื่องปั้นเป็นภาชนะสำหรับเด็กเล่น ของที่ระลึก ของใช้ ของประดับ ตกแต่งบ้าน ต่อมาได้พัฒนาการผลิตจากเครื่องดินเผาแบบพื้นบ้านมาสู่งานเครื่องปั้นดินเผาแบบเคลือบสี หรือเซรามิก หลังจากตลาดเริ่มตอบสนองต่อสินค้าจากชุมชนแห่งนี้มากขึ้น
"ช่วงแรกเราทำเพื่อหวังว่าจะช่วยกันสืบสานภูมิปัญญาของชุมชนให้คงอยู่ กระทั่งสินค้าเริ่มติดตลาดและมีออเดอร์เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ จึงตัดสินใจผลิตเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมุ่งมั่นผลิตชิ้นงานจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นเท่านั้น เพราะเราต้องการสะท้อนเอกลักษณ์ของบางกล่ำออกสู่ตลาดให้มากที่สุด" ชาญชัยกล่าว

พร้อมกันนี้ ชาญชัย ยังบอกถึงจุดแข็งของผลิตภัณฑ์เซรามิกดินสามน้ำบางกล่ำ คือดินเหนียวเนื้อละเอียด ซึ่งผ่านกระบวนการหมักเก็บอย่างดีก่อนเข้าสู่เตาเผาด้วยอุณหภูมิความร้อนที่ 1,250 องศาเซลเซียส จนได้สีสันสวยงามเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเหมาะสำหรับการตกแต่งบ้านเรือน โรมแรม รีสอร์ท สปา หรือที่พักตากอากาศ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจะผ่านการศึกษาและออกแบบเพื่อให้สอดรับกับกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ สนนราคาตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพัน
เซารามิก "ดินสามน้ำ" จากบางกล่ำ นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นในด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วยการใช้แนวคิดภูมิปัญญาที่มีอยู่ โดยใช้วัสดุธรรมชาติในชุมชนแล้วเพิ่มด้วยการเติมเสน่ห์ให้สินค้า ตลอดจนมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นจนทำให้เกิดความโดดเด่นและแตกต่างไปจากผู้ประกอบการรายอื่น
สนใจในผลงานหรือจะสอบถามรายละเอียดต่างๆ โทรไปสอบถามได้ที่ 0-7432-8308 ชาญชัย บอกยินดีให้คำปรึกษารวมทั้งยินดีถ่ายทอดความรู้ให้ทุกๆคนที่ชื่นชอบในเรื่องการปั้นด้วย
- See more at: http://www.komchadluek.net/detail/20151111/216645.html#sthash.OpCoqssv.dpuf
ประวัติความเป็นมา
การผลิตดินเผาบางกล่ำ มีประวัติการผลิตประมาณ135 ปี มาแล้ว โดยแบ่งการผลิตออกเป็น
3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1
   ประมาณ พ.ศ 2417 –2487 โดยได้มี คนจีน คนไทย อพยพมาจากตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาและจากตำบลสทิ้งหม้อ อำเภอสิงหนคร มาอาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางกล่ำ ได้นำศิลปะการปั้นหม้อ ปั้น โอ่ง ไห มาเผยแพร่ โดยนายหุ้ย วิไลรัตน์ ชาวบางกล่ำ คนแรกที่ได้สร้างเตาเผาบริเวณริมคลองบางกล่ำโดยได้นำดินเหนียว ดินพรุที่มีอยู่ทั่วไปในตำบลมาปั้นเป็นอ่าง โอ่ง และไหจำหน่ายให้แก่คนในชุมชนต่อมาอุตสาหกรรมกระเบื้องเคลือบและสังกะสีเคลือบและสังกะสีเจริญรุ่งเรือง ด้วยเหตุที่ทนทานกว่าและสีสันที่สวยงามทำให้คนในชุมชนนิยมใช้กระเบื้องเคลือบและสังกะสีเคลือบแทนเครื่องใช้ที่ทำจากดินเผาทำให้ผลิตภัณฑ์ดินเผาบางกล่ำต้องหยุดกิจการลง
ระยะที่ 2
    ประมาณ พ.ศ 2517 -2520 นายปรีชา กัลยาศิริ อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลบางกล่ำได้ริเริ่มนำดินเหนียวในอำเภอบางกล่ำ มาผลิตเป็นอิฐเผาซึ่งโรงอิฐของอดีตผู้ใหญ่บ้านปรีชา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ ทำอิฐอยู่ได้ประมาณ 3 ปี ก็ต้องหยุดกิจการเนื่องจากตลาดมีความต้องการน้อยและขาดแรงงานในพื้นที่
ระยะที่ 3
ประมาณ พ.ศ 2528- ปัจจุบัน เยาวชนในหมู่ที่ 1 ตำบลบางกล่ำซึ่งมีสายเลือดรักศิลปะการปั้น คือนายชายชัย ทิพย์มณี ได้ศึกษาค้นคว้าด้านดินเผาบางกล่ำจากผู้อาวุโสในชุมชนและบุคคลภายนอกที่มีความรู้ด้านดินเผา และได้สร้างเตาเผาขนาดเล็กเผาเครื่องปั้นประเภทกระถางต้นไม้ และกระปุกออมสิน นำออกขายในตลาดอำเภอหาดใหญ่และอำเภอเมืองสงขลา แต่ตลาดให้การตอบรับน้อย จึงได้นำดินเหนียวบางกล่ำไปปรึกษาผู้รู้เพื่อเปลี่ยนจากดินเผาธรรมดาเป็นดินเผาเคลือบเซรามิคซึ่งเมื่อเผาแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์ที่สีสันสวยงามตามธรรมชาติเมื่อนำไปจำหน่ายในร้านจำหน่ายของที่ระลึกที่กรุงเทพมหานคร มีลูกค้าคนไทยให้ความสนใจมากมาย รวมทั้งลูกค้าต่างฯประเทศก็ให้ความสนใจและได้สั่งซื้อสินค้ารูปแบบต่างฯเป็นจำนวนมาก นายชาญชัย ทิพย์มณี ได้รวมกลุ่มชาวบ้านโดยเน้นที่กลุ่มเยาวชนในพื้นที่จัดตั้งกลุ่มดินเผาบางกล่ำถ่ายทอดศิลปะการปั้นดินเผาแก่สมาชิกกลุ่ม

บาบ๋า

ปากคลองบางกล่ำมีเกาะชื่อว่าเกาะกลม วิวทะเลสาบสงขลาตรงปากคลองบางกล่ำ

บาบ๋า

บรรยากาศร้านก๋วยเตี๋ยวเรือแสงธรรมดา ริมคลองบางกล่ำ

บาบ๋า

สะพานวัดบางทีง ข้ามคลองบางกล่ำ (ฝั่งตะวันตกของคลองบางกล่ำคือบ้านบางเหรียง บ้านบางทีง บ้านบางกล่ำบน ฝั่งตะวันออกของคลองบางกล่ำคือบ้านเกาะน้ำรอบ บ้านบางหยี บ้านบางกล่ำใต้(นางตุง) บ้านบางกล่ำกลาง บ้านบางกล่ำบน) กับหนุ่มสาวชาวบางทีง (ตอนนี้เป็นชาวกรุงไปแล้ว)

บาบ๋า

ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของคลองบางกล่ำ

บาบ๋า

ฮวงซุ้ยต้นตระกูลกัลยาศิริ (แซ่ซอ) หลานชายได้ย้ายฮวงซุ้ยมาจากหมู่บ้านไถ่กัง อำเภอไฮเท่ง เมืองเจียงจิว มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีนมาฝังที่เมืองสงขลา และย้ายมาที่บ้านควนโส ตระกูลนี้มีลูกหลานมากมายนับเกือบ 10 ชั่วคนแล้ว ที่มีชื่อเสียงคือ คุณวิรัติ กัลยาศิริ

บาบ๋า

ปากคลองบางกล่ำออกสู่ทะเลสาบสงขลาที่บ้านเกาะน้ำรอบ และบ้านบางเหรียง

บาบ๋า

คลองบางกล่ำแตกสาขาเป็นคลองเกาะน้ำรอบ ที่บ้านเกาะน้ำรอบ

บาบ๋า

ประวัติต้นสวาร้อยปีขอบางกล่ำ เรียบเรียงโดยคุณปิยวิทย์ กัลยาศิริ

บาบ๋า

สมัยอดีตเจ้าเมืองไทรบุรีจะขี่ช้างมาชนไก่กับเจ้าเมืองสงขลาที่บ้านบางกล่ำ ลุงทุ่มซึ่งเป็นเลี้ยงไก่ของเจ้าเมืองไทรบุรีไม่มีลูกจึงขอเด็กชายถิ้ว ทิพย์มณี อายุ 7 ขวบ ไปเลี้ยงที่เมืองไทรบุรี จนกระทั่งเติบใหญ่และมีครอบและเสียชีวิตที่นั่น ทายาทของท่าน คือ ดาโต๊ะบ๊อบบี้ อ่องจูเถี้ยม(ทิพย์มณี) เพิ่งกลับมาเยือนถิ่นเกิดของเตี่ยที่บ้านบางกล่ำเมื่อ 27 พฤษภาคม 2559

บาบ๋า

ดาโต๊ะบ๊อบบี้ อ่องจูเถี้ยม(ทิพย์มณี) คนยืน