ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โรคพังผืดกดทับเส้นประสาท

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 11:44 น. 11 ก.พ 56

ทีมงานประชาสัมพันธ์

กลุ่มอาการพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)

"ท่านเคยมีอาการเช่นนี้หรือไม่

• รู้สึกเหมือนเป็นเหน็บที่ปลายนิ้วโป้ง, นิ้วชี้, นิ้วกลาง, ตลอดเวลา

• รู้สึกชาปลายนิ้ว จนต้องตื่นมากลางดึกทุกครั้ง

• เขียนหนังสือ จับปากกา หรือพิมพ์คอมพิวเตอร์ไม่ถนัดเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง


    รู้หรือไม่หากมีอาการเช่นนี้ ท่านอาจกำลังเผชิญอยู่กับ "โรคพังผืดกดทับเส้นประสาท" (Carpal Tunnel Syndrome) อยู่"

สาเหตุ เกิดจากการหนาตัวของเนื้อเยื่อพังผืดบริเวณข้อมือทำให้เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อโคนนิ้วโป้ง และรับความรู้สึกปลายนิ้วโป้ง - นิ้วชี้ - นิ้วกลาง – นิ้วนาง ได้รับบาดเจ็บเป็นผลให้เกิดอาการชาหรือกล้ามเนื้อมืออ่อนแรง

พบมากในกลุ่มใด

• อายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมากกว่า 40 ปี

• โรคบางชนิด เช่น ภาวะอ้วน, เบาหวาน, รูมาตอยด์, สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มาก

จะรักษาอย่างไร

• ขึ้นอยู่กับระยะของโรค : หากในระยะเริ่ม ต้น เริ่มโดยการใช้ยาแก้อักเสบ, ลดการกระแทกบริเวณข้อมือ, ใช้อุปกรณ์ดามข้อมือ

•  การใช้ยาฉีดเฉพาะที่ : มักได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอาการน้อยกว่า 1 ปี, อาการชาไม่รุนแรง, ไม่มีกล้ามเนื้อมืออ่อนแรง

• การผ่าตัด : มักได้ผลดีในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปี, มีอาการมากว่า 10 เดือน, อาการชารุนแรง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง

นิ้วล๊อค

ปัจจุบันปัญหานิ้วล๊อค  พบมากขึ้นในคนไทยโดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้มือสัมผัส/กระแทก กับวัสดุแข็งต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือในกิจกรรมที่ต้องบิดหรือกดข้อนิ้วต่อเนื่อง เช่น การบิดผ้า แม้แต่การใช้นิ้วโป้งสัมผัสกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือจอสัมผัส  (Touch Screen)

สาเหตุ เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อนิ้วทำให้เกิดการบวมเป็นเวลานานติดต่อกัน ส่งผลให้ข้อนิ้วติดล๊อค

อาการ เริ่มต้นมีอาการปวด หรือตึงฝืดนิ้ว โดยเฉพาะในตอนเช้าก่อนไปทำงาน, หากปล่อยทิ้งไว้ จะทำให้ข้อนิ้วเหยียดไม่สุด สูญเสียการทำงานของนิ้วได้ในระยะยาว

พบนิ้วใดบ้าง มักพบในนิ้วโป้ง, นิ้วนาง, นิ้วกลาง มากกว่านิ้วชี้และนิ้วก้อย

การรักษา ในระยะเบื้องต้น ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยงดังกล่าว การใช้ยาลดการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ ได้ผลดี  หากอาการเป็นมาก หรือนานมากกว่า 3 เดือน อาจพิจารณาเลือกยาฉีดเฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ

หากนิ้วติดล๊อค ไม่สามารถเหยียดออกได้เอง จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาโดยการผ่าตัด

คลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ โทร 074-366966 ต่อ 8156-7

ข้อมูลและที่มา โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่