ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

อุตุฯ เตือนฝนตกหนักคลื่นลมแรง ระวังดินถล่ม

เริ่มโดย ฅนสองเล, 09:34 น. 30 พ.ย 53

ฅนสองเล

ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 6 (57 / 2553) เรื่อง  ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและคลื่นลมแรงในอ่าวไทย         

         บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่มาปกคลุมประเทศไทย
ตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง
ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนเกือบทั่วไปกับมีฝนตกหนักบางแห่งต่อเนื่องไปอีก 1- 2 วัน จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่
เสี่ยงภัยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในระยะ 1-2 วันนี้

         ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ความสูงของคลื่นประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง





                                                           
                                                                    ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
                                                              ออกประกาศวัน อังคาร ที่ 30 พฤศจิกายน 2553
                                                                                เวลา 06.30 น.





ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก
โทร (074) 311760 โทรสาร (074) 311065
www.songkhla.tmd.go.th
www.songkhlamet.org

อวยชัย

 :D  ...   ตระหนักแต่ไม่ตระหนก   ...   ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง  ตั้งสติ วางแผนรับมือและเตรียมพร้อมด้วยความรอบคอบ  ...  เมื่อถึงคราวฉุกเฉินและเกิดน้ำท่วม ความเสียหายจะเกิดขี้นน้อยที่สุดสำหรับคนที่มีสติและไม่ประมาท  ...

:)  ...   ณ. ห้วงเวลานี้  สื่อที่มีคุณภาพน่าติดตามและน่าเชื่อถือ  นอกจาก www.gimyong.com แล้ว  ยังมี  www.psuradio88.com  สถานีวิทยุ สวท.สงขลา 90.5 เมกกะเฮิร์ต  สถานีวิทยุ มอ. Fm88 เมกกะเฮิร์ต  ...   


;D  ...   ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางสื่อข้างต้นเป็นประจำ  ก็เพียงพอที่จะทำให้ท่านรู้ทันเหตุการณ์รอบด้านและไม่ตกข่าวสำคัญ ๆ อย่างแน่นอนครับ.


8)   ...   อวยชัย .

เออหนอ

น่าเห็นใจชาวบ้าน ร้านค้า ธรรมดา ๆ ที่ไม่ได้มีความรู้อะไรมากนัก

เขาก็ต้องตระหนก มากกว่า ตระหนัก เป็นธรรมดา เพราะรัฐไม่ได้ช่วยอะไรเลยสำหรับระบบเตือนภัย สื่อบางสื่อเองก็ไม่ได้วิเคราะห์ให้ละเอียด เอาง่าย ๆ แค่เอาประกาศแบบนี้มาแขวนไว้ ใครอ่านก็กลัว ดูเหมือนมันจะเกิดทั้งเขตภาคใต้ ให้ระวังไว้ก่อน แต่ก็ไม่ได้บอกว่าจุดเสี่ยงมากอยู่ตรงไหนเสี่ยงน้อยอยู่ตรงไหน และต้องระวังอย่างไร

ไม่แปลกที่พอฝนตกหนักในหาดใหญ่ คนหาดใหญ่ก็จะนอนไม่หลับ

ไม่น่าเชื่อว่าเราเข้า่มาอยู่ในยุคสมัยที่การสื่อสารเข้าถึงแม้แต่รูมดตะนอย เพราะข้อมูลเราไม่แน่นหนาพอหรือเปล่า หรือเพราะเราสื่อสารข้อมูลให้ประชาชนได้ไม่เหมาะสม หรืออะไรต่าง ๆ นา นา อาทิเช่น

ข้อมูลเรดาห์ตรวจอากาศของสถานีตรวจอากาศ เป็นข้อมูลย้อนหลังตั้งเกือบครึ่งวัน มันจะทันการไหมสำหรับการนำข้อมูลไปใช้  แถมสถานีหาดใหญ่ยังเสียตั้งแต่น้ำท่วมครั้งต้นเดือนพฤศจิกายน คงข้อมูลค้างไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์เหรอ

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม โอเคขึ้นมาหน่อย แต่ต้องมานั่งศึกษาความหมายของกลุ่มสีต่าง ๆ บนแผนที่ เกือบจะเชี่ยวชาญเป็นนักอุตุนิยมวิทยาได้แล้ว น่าจะมีใครมาแปลสรุปให้หน่อย

รายงานระดับน้ำในคลองอู่ตะเภาของกรมชลประทาน หายไปไหนแล้ว กล้องอะไรก็ไม่เห็น มันหายไปไหน

ที่สำคัญ เราต้องเพิ่มการทำงานเฉพาะเขตพื้นที่ลงไป ให้เจ้าหน้าที่สรุปและคาดการณ์จากพื้นที่ประกอบกับข้อมูลต่าง ๆ ที่มี ก็จะทำให้การเตือนภัยแม่นยำขึ้น ไม่ใช่เหวี่ยงแหเหมือนอย่างทุกวันนี้

นี่เราบ่นให้ใครฟังหว่า





เห็นด้วย

เห็นด้วยกับคุณเออหนอ เป็นอย่างยิ่ง เพราะหน่วยงานของรัฐไม่กล้าฟันธงลงไป เพราะกลัวว่าถ้าฟันธงลงไปแล้วไม่เกิดเหตุขึ้น ก็กลัวชาวบ้านจะด่า เลยชอบใช้วิธีเหวี่ยงแห ผลกรรมก็เลยตกกับประชาชน ใครหน้าใหนบ้างที่จะมาทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นกลับมาเป็นดังเดิม นี่แหละเมืองไทย เสียดายเงินภาษีจริงๆ ที่เอาไปจ้างคนพวกนี้มาทำงาน...เวรกรรม
อ้างจาก: เออหนอ เมื่อ 11:11 น.  30 พ.ย 53
น่าเห็นใจชาวบ้าน ร้านค้า ธรรมดา ๆ ที่ไม่ได้มีความรู้อะไรมากนัก

เขาก็ต้องตระหนก มากกว่า ตระหนัก เป็นธรรมดา เพราะรัฐไม่ได้ช่วยอะไรเลยสำหรับระบบเตือนภัย สื่อบางสื่อเองก็ไม่ได้วิเคราะห์ให้ละเอียด เอาง่าย ๆ แค่เอาประกาศแบบนี้มาแขวนไว้ ใครอ่านก็กลัว ดูเหมือนมันจะเกิดทั้งเขตภาคใต้ ให้ระวังไว้ก่อน แต่ก็ไม่ได้บอกว่าจุดเสี่ยงมากอยู่ตรงไหนเสี่ยงน้อยอยู่ตรงไหน และต้องระวังอย่างไร

ไม่แปลกที่พอฝนตกหนักในหาดใหญ่ คนหาดใหญ่ก็จะนอนไม่หลับ

ไม่น่าเชื่อว่าเราเข้า่มาอยู่ในยุคสมัยที่การสื่อสารเข้าถึงแม้แต่รูมดตะนอย เพราะข้อมูลเราไม่แน่นหนาพอหรือเปล่า หรือเพราะเราสื่อสารข้อมูลให้ประชาชนได้ไม่เหมาะสม หรืออะไรต่าง ๆ นา นา อาทิเช่น

ข้อมูลเรดาห์ตรวจอากาศของสถานีตรวจอากาศ เป็นข้อมูลย้อนหลังตั้งเกือบครึ่งวัน มันจะทันการไหมสำหรับการนำข้อมูลไปใช้  แถมสถานีหาดใหญ่ยังเสียตั้งแต่น้ำท่วมครั้งต้นเดือนพฤศจิกายน คงข้อมูลค้างไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์เหรอ

ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม โอเคขึ้นมาหน่อย แต่ต้องมานั่งศึกษาความหมายของกลุ่มสีต่าง ๆ บนแผนที่ เกือบจะเชี่ยวชาญเป็นนักอุตุนิยมวิทยาได้แล้ว น่าจะมีใครมาแปลสรุปให้หน่อย

รายงานระดับน้ำในคลองอู่ตะเภาของกรมชลประทาน หายไปไหนแล้ว กล้องอะไรก็ไม่เห็น มันหายไปไหน

ที่สำคัญ เราต้องเพิ่มการทำงานเฉพาะเขตพื้นที่ลงไป ให้เจ้าหน้าที่สรุปและคาดการณ์จากพื้นที่ประกอบกับข้อมูลต่าง ๆ ที่มี ก็จะทำให้การเตือนภัยแม่นยำขึ้น ไม่ใช่เหวี่ยงแหเหมือนอย่างทุกวันนี้

นี่เราบ่นให้ใครฟังหว่า