ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ว่าด้วยเรื่อง ลายพระหัตถ์ จปร ที่สวนตูล

เริ่มโดย ยุวชนทหาร, 15:14 น. 31 มี.ค 53

ยุวชนทหาร

คือแม่ผมเคยเล่าให้ฟังว่า ที่บริเวณน้ำตกสวนตูลเคยเป็นที่ลงสรงน้ำ ของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระองค์เคยจารึกลายพระหัตถ์เอาไว้ด้วย

แต่ผมเคยไปสำรวจดูไม่เห็นพบเลยครับ

ไม่ทราบเท็จจริงอย่างไร คนพอที่จะทราบข้อมูล เล่าให้ฟังหน่อยครับ

อ๋อๆ

แล้วอยากให้มีการปรับปรุง บูรณะโบราณสถานหอวิเชียรเทวดำรง ที่บริเวณน้ำตกสวนตูลด้วย ทรุดโทรมลงทุกวันแล้ว กลัวว่าจะถล่มในไม่ช้า



พี่แอ๊ด

Copy ภาพมาจากกระทู้เก่าเรื่อง  น้ำตกสวนตูล   ส่วนศิลาจารึกสวนตูล  เดิมประดิษฐ์อยู่ที่ผนังทิศใต้ในโบราณสถาน  หอวิเชียรเทวดำรงในสวนตูล  ในปี พ.ศ. 2483 - 2484 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติวัดมัชฌิมาวาสสงขลา

ยุวชนทหาร

ขอบคุณมากครับ

แล้วผมจะหาโอกาสไปดูที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาสครับผม

ที่จริงน่าจะนำกลับมาไว้ที่เดิมนะครับ

แต่ต้องมีคนคอยดูแล พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ย้อนรอยเสด็จประพาสต้น

น่าจะมีคนเข้าไปเที่ยวไม่น้อย

รู้สึกว่าตอนที่มีสารคดีเสด็จประพาสต้น ทางช่องทีวีไทย

ไม่ได้มีการกล่าวถึงลายพระหัตถ์ที่น้ำตกสวนตูลนี้เลย

น่าเสียดายเป็นอย่างมาก

ที่คนรุ่นหลังไม่ไดทราบเลย

พี่

หอวิเชียรเทวดำรง บ้านสวนตูล ถ่ายเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2551
จากข้อมูลของกรมศิลปากร http://www.gis.finearts.go.th/fad50/fad/display_data.asp?id=0005225

พี่


พี่


พี่


พี่


พี่


พี่

อ่างเก็บน้ำสวนตูล บริเวณ กศน.ภาคใต้ วันที่ 20 มีนาคม 2553

พี่

ภูเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดน้ำตกสวนตูล ถ่ายเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม 2553

หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ

ศิลาจารึกสวนตูลครับ
ภาพจากหนังสือ สมบัติเมืองสงขลา (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐) โดยพี่เอนก นาวิกมูล

ไม่แน่ใจว่าปัจจุบัน ตกลงเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งใดแน่ครับ
ในหนังสือเล่มนี้ บอกว่าอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ถนนจะนะครับ


ข้าวเหนียวมะม่วง

ถ้าเป็นอย่างนั่น

จารึกที่พี่ๆ บอกมาก็คือ จารึกการพระราชทานดินที่สวนตูล เหรอครับ

แล้วจารึกที่เป็นลายพระหัตถ์ จปร เหมือนที่พัทลุง ไม่มีเหรอครับ
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"

Singoraman

๑. จารึกลายพระหัตถ์ จปร.  ไม่ปรากฏ ณ ผนังถ้ำผาใด ๆ ในสงขลา
๒. จารึกที่สวนตูล นั้น เป็นลักษณะของจารึกในแผ่นศิลาสีขาว ทำนองคำประกาศ ให้ทราบว่าที่ดินบริเวณสวนมะพร้าวสวนตูล
      พระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ พระราชทานอนุญาตให้ตระกูล ณ สงขลา ใช้เป็นที่สำหรับทำ "ห้องสุย" เพื่อฝังศพบุคคลในตระกูล
๓.  ปัจจุบันจารึกดังกล่าวเก็บรักษาเป็นโบราณวัตถุของชาติ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
๔. เอกสารทางวิชาการหลายเล่ม รวมทั้งสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ กล่าวว่า "สวนตูล ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา" นั้น นักโบราณคดี ระบุว่ามี 
     ร่องรอยหลักฐานว่าเคยมีหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (แต่ผมไม่แน่ใจว่าแหล่งโบราณคดีนั้นคือ จุดใดของสวนตูล)

ข้าวเหนียวมะม่วง

อ๋อๆ

ครับผม

ขอบพระคุณมากครับ

กระจ่างเลย
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"

พี่แอ๊ด

ศิลาจารึกสวนตูล จังหวัดสงขลา


ประเภท

เอกสารสำคัญ/ศิลาจารึก



ลักษณะอักษร

เป็นอักษรไทย ภาษาไทย



สาระ

ศิลาจารึกสวนตูล บัญชีจารึกจังหวัดสงขลา เลขที่ สข./4 อักษรไทยภาษาไทย สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2441 เดิมประดิษฐ์อยู่ที่ผนัง้านทิศใต้ในโบราณสถาน หอวิเชียรเทวดำรงในสวนตูล หมู่ที่ 5 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลาต่อมาเมื่อปีประมาณ พ.ศ. 2483 - 2484 ร้อยตรีปรีชา รัตนปราการได้พบจารึกหลักนี้ตกอยู่ที่พื้นในบริเวณหอวิเชียรเทวดำรง จึงนำไปให้นายสุชาติ รัตนปราการ และนายสุชาติ ได้นำไปมอบให้พิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาสสงขลา ในปีเดียวกัน



สภาพเอกสาร

จารึกนี้มีอักษร 1 ด้าน มีอักษรจารึก 26 บรรทัด เนื้อวัตถุที่จารึกเป็นหินอ่อนสีเหลือง ขนาดกว้าง 2.4 - 3 เซนติเมตร หนา 6.5 เซนติเมตร



สถานที่เก็บ

เดิมอยู่ที่หอวิเชียรเทวดำรงในสวนตูล หมู่ที่ 5 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิทธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาสสงขลา

เอกสารอ้างอิง

หนังสือ สารรนุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ธนาคารไทยพานิชย์

ที่มา : สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช



พี่แอ๊ด

ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา

พี่แอ๊ด

จาก   http://www.khlong-u-taphao.com   กล่าวถึง  "สวนตูล"    สถานที่ตั้งและแนวต่อต้านก็อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม มีกองพันทหารราบอยู่ด้านหน้าและกองพันทหารปืนใหญ่อยู่ด้านหลัง และตั้งอยู่ในที่ราบมีภูเขาล้อมเกือบรอบ บริเวณที่ตั้งคือ "สวนตูล" มีสวนมะพร้าวหนาแน่น กำบังทั้งสายตานักบินและลูกระเบิด ปากทางเข้าค่ายก็เป็นช่องเขาระหว่างเขารูปช้างกับเขาสำโรง ทำให้แคบเหมือนคอขวด ญี่ปุ่นมีกำลังมากก็เหมือนน้อย ไม่สามารถหักหาญเข้ามาโดยง่าย ปืนใหญ่ก็มีจุดตรวจการณ์ที่เหมาะที่สุด มองเห็นได้ตลอดความยาวของชายหาดและท้องทะเลหน้าเมืองสงขลาสุดสายตา ทำให้แจ้งตำแหน่งยิงให้แก่ปืนใหญ่ได้แม่นยำ