ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ที่นี่ สถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส.หาดใหญ่

เริ่มโดย คนนอกสวน, 14:55 น. 18 พ.ย 52

หม่องวิน มอไซ

มีจริงเหรอครับ
เคยเห็นแต่ แม่โขง
(สมัยก่อนปฏิทินแม่โขง ฮิตมาก)

Singoraman

น่าจะมีจริงนะครับ
เพราะมีที่มาจากจังหวัดนครนายก
ใครเคยเห็นยืนยันหน่อยนะครับ

กิมหยง

แล้วมันเป็นอะไรครับ "พ่อโขง"

เป็นเหล้าหรือเปล่าครับท่าน
แต่ทำไมเขียนคำโฆษณาซะหรูเลยครับ

"ดื่มแล้ว สุขกายสบายอารมย์"

แล้วที่สำคัญ หายเหนื่อยด้วย

ก็เลย งง ว่า "พ่อโขง" มันเป็นอะไรครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

ฅนสองเล

เข้ามาทีนี่มีแต่ความรู้

ตอนสมัยเด็กๆ บ้านผมอยู่ในควร ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงที พี่ชายเรียนมัธยม พ่อต้องมาส่งที่ปากทางหัวเช้า และมารับหวันเย็น

ที่ปากทางจะมีร้านค้า ขายหวานเย็นด้วย แม่ค้าเขาทำเองมัดถุงขายถุงละบาท มีทั้งถั่วเขียว น้ำหวานสีต่างๆ รวมมิตร

ถ้าหวันเย็นไหนพ่อซื้อหวานเย็นมาฝากดีใจอย่างแรง

 

หม่องวิน มอไซ

สมัยที่สถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส.หาดใหญ่ ออกอากาศช่วงไม่กี่ปีแรกเป็น FM Mono 97.0 MHz นั้น
ผมมีความจำน้อยมากครับ เนื่องจากยังเด็กอยู่ชั้นประถม
แต่จำได้ชัดเจนเมื่อเปลี่ยนมาเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2524 ครับ
เป็นระบบ FM Stereo mutiplex 90.5 MHz จนถึงทุกวันนี้ครับ


คนนอกสวน

"หวานเย็น " ที่คุณมุมหมอน และท่าน บก.เท่ง ทองแดง พูดถึง เริ่มเฟื่องฟูสมัยที่เราใช้ตู้เย็นกันครับ จำไม่ได้เหมือนกันว่า ตู้เย็นใช้ไฟฟ้า เข้ามาสู่ครัวเรือนในปี พ.ศ.ใด

เคยเที่ยวงานถนนคนเดินที่ถนนนางงาม มีร้านหนึ่งเอา "ตู้เย็นน้ำมันก๊าด" มาแสดงให้ชมด้วย
และยังได้เห็น "น้ำซาสี่รูปจรวด"ที่คุณมุมหมอนบอกไว้  แต่จุดดึงดูดที่ผมชอบงานถนนนางงามก็คือ
การฉายสไลด์พร้อมเล่าเรื่องเมืองสงขลา โดย "อาจารย์ก้อย" จาก อบจ.สงขลา ครับ

ถ้าย้อนยุคไปไกลกว่านั้น จะมี "น้ำแข็งบอก" และ "ไอติมแท่ง" ครับ เด็กรุ่นนั้นเมื่อกินน้ำแข็งบอก
จะคอยลุ้นว่า เจอไม้เสียบที่มีสัญลักษณ์อะไรหรือเปล่า เช่น ทำเป็นสีแดง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า
จะได้แถม น้ำแข็งบอกฟรีอีก 1 แท่ง

อาชีพ "รุนน้ำแข็งบอก" เริ่มจางหายไปเรื่อย ๆ เมื่อหลายบ้านมีตู้เย็น พอมายุคปัจจุบันรถไอศครีมยี่ห้อต่างประเทศ
ก็เข้ามาแทนที่อย่างที่เห็นกัน

คนนอกสวน

ยุคที่ สถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส.หาดใหญ่ เปลี่ยนจาก FM Mono มาเป็นระบบ FM Stereo multiplex นั้น
สร้างความฮือฮาให้นักฟังมาก คนที่มีเครื่องเก่า ก็ซื้ออุปกรณ์เสริมเพื่อให้รับฟัง
เสียงเพลงแยกซ้าย - ขวา และก็ได้รายการของอาจารย์ไพบูลย์ ศุภวารี ที่คุณหม่องวินบอกไว้
...แชนแนล เอ ควรเป็นลำโพงด้านซ้าย แชนแนลบี ควรเป็นลำโพงด้านขวา...เป็นตัวอ้างอิง
ถึงระบบเครื่องเสียงของเรา ว่าแยกได้เด็ดขาดหรือเปล่า

แหล่งที่มาของเสียงเพลงยุคนั้น จะใช้แผ่นเสียงเป็นหลัก หรือไม่ก็เครื่องบันทึกเสียงม้วนใหญ่ ๆ
คนที่มีเครื่องเล่นเหล่านี้ ต้องมีทุนทรัพย์พอควร  ผมยังอยู่ในวัยเรียนจึงอาศัยฟังจากวิทยุ
ปชส.หาดใหญ่ พอเริ่มมีเทปคาสเสท ก็อัดเพลงที่ชื่นชอบจากวิทยุคลื่นนี้

เคยอ่านกระทู้เก่าที่คุณ Singoraman  พูดถึง "ร้านฮาวาย" ถนนนางงาม นั่นก็เป็นแหล่งรับอัดเพลงที่โด่งดังมาก
ร้านฮาวาย ขายทั้งแผ่นเสียง และรับอัดเพลงลงเทป สมัยนั้นเรื่องลิขสิทธิ์ยังไม่เข้มงวดเหมือนทุกวันนี้

คนนอกสวน

จุดเปลี่ยนที่สำคัญเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้วคือ การขยายเครือข่ายโทรทัศน์จากส่วนกลาง
มายังภูมิภาค โดยมีสถานีโทรทัศน์ ช่อง 7 เป็นเจ้าแรกในปี 2524 ด้วยเทคโนโลยีที่นำสมัย
ภาพคมชัด สีสวย รายการถูกใจผู้ชม ทำให้ ทีวีช่อง 10 หาดใหญ่ต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่
แต่ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณและระบบราชการ ทำให้การพัฒนาล่าช้ามาก

การเข้ามาของช่อง 7 ทำให้เครื่องรับโทรทัศน์สี ขายดี ในตลาดหาดใหญ่จะมีลูกค้าถามหา
"เครื่องหนีภาษี" จากประเทศเพื่อนบ้านกันมาก

หลังอาหารค่ำ ผู้คนจะไม่ออกไปเที่ยวนอกบ้านเหมือนเมื่อก่อน เพราะตั้งตารอ
ชมละครเรื่อง "ดาวพระศุกร์" ที่ว่ากันว่า เคยมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งถึงกับเหมารถเข้าไปชม
ละครเรื่องนี้ถึงในตัวเมือง เนื่องจากวันนั้น ไฟฟ้าในหมู่บ้านดับ

เมื่อช่อง 7 บุกต่างจังหวัด ช่อง 3 ก็ไม่ยอมน้อยหน้า แต่ตัวเองยังไม่มีเครือข่าย
จึงใช้วิธี เช่าเวลาสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์ส่วนภูมิภาค รวมทั้ง ช่อง 10 หาดใหญ่
ส่งเทปรายการมาออกอากาศแข่งกัน ทำให้คนสงขลาได้ดู "กระบี่ไร้เทียมทาน"

เด็กสงขลาทุกวันนี้ เกิดมาก็เห็นโทรทัศน์ครบทุกช่องเหมือนส่วนกลาง วิทยุก็เบียดเสียด
เต็มไม่มีที่ว่าง มีเอ็มพี 3 ไว้ฟังเพลง  แกจะคิดเช่นไรถ้าต้องกลับไปสู่ ยุคคุณปู่ นั่งดูทีวีขาวดำช่องเดียว
กินน้ำแข็งบอก เล่นโยนโม่งหัวครก โยนลูกคุระ...

มุมหมอน

แต่ก่อนจำได้ว่า แม่ชอบฟังลิเกตอนเที่ยง แล้วก้อละคร คณะเกดทิพย์ คณะกันตนา

ได้ดูทีวีสีเครื่องใหม่ทุกวัน เพราะมีคนขนทีวีสี หนีภาษีมาฝากที่บ้านให้ค่าฝากกับแม่วันละ 100 บาท ตื่นเต้นมากเลยตอนนั้น และก้อตื่นเต้นอีก เมื่อมีด่านศุลกากรล้อมบ้าน เต็มสวนยางไปหมด  ฮ่า

ตอนนั้นติดละครเรื่อง บูเช็คเทียน มาก ๆ ใครเคยดูบ้างคะ อยากหามาอ่านมาก

โยนโม่งหัวครกรู้จักค่ะ  แต่โยนลูกคุระ ทีคุณ คนนอกสวนบอกเป็นยังไงคะ

Probass

เรื่องข่าววิทยุตอนเช้า เห็นชื่อคุณปรีชา ทรัพย์โสภา แล้ว ทุกวันนี้ก็นึกถึง นายกังหัน ที่อ่านข่าวเร็วๆเหมือนกัน

ทวน ทักษิณ แล้ว นึกถึงทวนทอง99

สมัยเด็กๆ ที่บ้านผมเปิดทีวีช่อง 10 ตอนบ่ายๆ มีแต่หนังลุง กะ โนราห์ ให้ดู เพราะทีวีที่บ้าน บิดๆๆๆ จนครบรอบแล้ว ไม่เห็นมีช่องอะไร

น้ำแข็งบอกที่บ้านไม่ค่อยมีคนขายแล้ว
เด็กสมัยนี้ผมว่าโยนโม่งหัวครกไม่เป็นแล้ว  ขนาดลูกแก้วที่เล่นทอยหลุมกัน ยังไ่ม่รู้จักเลย
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

คนนอกสวน

ฟังคุณ Probass บอกว่า "...ทีวีที่บ้าน บิดๆๆๆ จนครบรอบแล้ว ไม่เห็นมีช่องอะไร..." ทำให้นึกถึงเครื่องรับโทรทัศน์เครื่องแรกของครอบครัวครับ คุณพ่อซื้อจากร้านกิจชัยเอเซียวิทยุหาดใหญ่ เป็นเครื่องใช้หลอดสุญญากาศ เวลาเปิดต้องรอหลายนาทีเพื่อให้เครื่องทำงาน โดยเสียงจะมาก่อน แล้วสักครู่ภาพจะตามมา

ปุ่มเปลี่ยนช่องจะเป็นลูกบิด กลม ๆ หมุนได้รอบ สมัยนั้นพ่อทำงานที่อำเภอสะเดา ใกล้ชายแดน จึงรับทีวีจากประเทศมาเลเซียได้เพิ่มอีก 2 ช่อง คือช่อง RTM1 และ RTM2 ตั้งสายอากาศ 2 แผง แล้วคอยโยกสวิตช์เลือกเอาว่าจะรับช่อง 10 หาดใหญ่ หรือรับมาเลย์

ทีวีขาวดำเครื่องนี้ ทำให้ผมได้รู้จักภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น พิภพมัจจุราช หุ่นไล่กา รวมทั้งหนังญี่ปุ่นอย่าง หน้ากากเสือ และ เคนโด้

คนนอกสวน

คุณมุมหมอน ถามถึงเรื่องโยนลูกคุระ  ผมลองค้นในเน็ต เจอรูปต้นและลูกคุระจากเว็บนี้
> http://gotoknow.org/blog/naree122/299237

คนนอกสวน

ลูกคุระเมื่อโตเต็มที่จะแข็งมาก เด็ก ๆ จะเอามาฝนกับต้นมะพร้าว หรือพื้นซิเมนต์เพื่อให้ผิวเปลือกบาง ๆ หลุดออก ได้ของเล่นยอดฮิตเมื่อ 45 ปีที่แล้วทันที

การเล่น ก็คล้าย ๆ กับ การทอยหลุมลูกแก้ว แบบที่คุณ Probass ว่าไว้ครับ สมัยก่อน ลูกคุระหาง่าย
ถ้าอยู่ใกล้ทะเล ก็ไปเก็บเอาได้ตามชายหาดที่คลื่นลมพัดมาเกยตื้น คงมาจากต้นคุระที่ขึ้นตามป่าชายเลนริมทะเลสาบสงขลา

ตอนผมเรียนชั้นประถม แม่ค้าขายไอติมไปเก็บลูกคุระสดจากต้นแถว ๆ บ้านแหลมเคียน อำเภอเมืองสงขลา มาเป็นถัง ๆ เป็น ร้อย ๆ ลูก มาขายให้นักเรียนเล่นกันครึกครื้น

หลายปีผ่านไป ลูกแก้วก้าวเข้ามา ลูกคุระก็ถดถอยความนิยม ประกอบกับการแผ้วถางป่าไม้ ป่าชายเลน ทำให้ต้นคุระเหลือน้อยลง ทิ้งไว้แต่ความทรงจำเก่า ๆ เท่านั้น

Singoraman

หนึ่ง- สอง -สาม- สี่ -ห้า- หก- เจ็ด -แปด- เก้า -สิบ- เปี้ยว - เกม

Probass

TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

Singoraman

หม้ายฉ่าย....
ไม่ใช่วิ่งเปี้ยว
เป็นการออกเสียงเวลาเล่นลูกคุระ
ใครเคยเล่นแบบที่ผมว่ามั่ง
ต้องจบด้วย "เปี้ยว-เกม"

Probass

ไม่เคยเล่นครับ

เล่นแต่โม่งหัวครก  ซัดราว
กะ เอาลูกยาง(คางคง)มาตอกกัน
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

คนนอกสวน

ใช่แล้วครับ คุณ Singoraman การเล่นลูกคุระ ต้องออกเสียง......แปด..เก้า...สิบ...เปี้ยว...เกม

ยุคสมัยของการเล่นลูกคุระ เล่นโม่งหัวครก ซัดราว ที่คุณ Probass เคยเล่น คาบเกี่ยวกับแหล่งบันเทิงอีกอย่างหนึ่งคือ "หนังกางแปลง"
หรือ "หนังขายยา" สมัยนั้น เขตเทศบาลเมืองสงขลา มีที่ว่าง โล่ง ๆ อยู่มากมาย เช่น

สนามหลังสถานีรถไฟสงขลา ซึ่งเรียกชื่อว่า "สมาคม"
สนามบริเวณ สวนเถ้าแก่ยกสั้น
สวนหมอบุญจอง แถบวชิรา

วันไหนมีหนังกางแปลง รถฉายหนังจะตระเวนประกาศตามถนน แล้วปักจอไว้ให้ผู้คนรับทราบ
ตกค่ำ เด็ก ๆ รีบไปปูเสื่อจองที่นั่ง บรรดาพ่อค้าแม่ขาย นำของกินสารพัดมาจำหน่าย
จบม้วนก็โฆษณาขายยา แล้วจึงฉายหนังเรื่อง

หนังขายยาส่วนใหญ่ ฉายหนังไทย ผมได้ดู"จำเลยรัก" "ชั่วฟ้าดินสลาย"
แต่ถ้าวันไหน บริษัทที่ขายโอวัลติน เข้ามา พวกเราก็ได้ดูหนังฝรั่งฟอร์มยักษ์ เช่น
เฮอร์คิวลิสจอมพลัง เจ็ดคู่ชู้ชื่น ศึกระฆังทอง อภินิหารขนแกะทองคำ

นอกจากหนังขายยา สมัยนั้นยังมีหนังสารคดีของ สำนักข่าวสารอเมริกา หรือที่เรียกติดปากว่า "หนังยูซิส"
หนังสารคดี"ข่าวเอราวัณ" รวมทั้งหนังที่เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองที่ทุกคนรู้จักกันดี
คือเรื่อง "เหตุเกิดที่บ้านพังโพน" และเรื่อง "ไฟเย็น"

หม่องวิน มอไซ

สมัยเด็ก ๆ บ้านผมอยู่ที่สะเดาครับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2514-2522 เพราะพ่อเป็นตำรวจทำงานอยู่ที่นั่น
แต่ก็มีบ้านอยู่ที่สงขลา แถววชิรานี่แหละครับ
สมัยก่อน แถว ๆ ซอย 5 ซอย 9 ซอย 11 นั้น ท้ายซอยจะมีลานกว้าง มีต้นมะพร้าวแซม
ซึ่งต้นมะพร้าวนี้คงมีมานานหลายสิบปีแล้ว

หนังกลางแปลงมาฉายที่นี่บ่อยมาก ในช่วงที่ผมจำความได้ คือ พ.ศ. 2518-2522
ต่อมาพื้นที่ตรงนี้ก็โดนหมู่บ้านโอมสุโขสร้างทาวน์เฮาส์ทับไป
และทำให้ซอย 9 กับซอย 11 เป็นซอยตันไปจนทุกวันนี้ครับ

ขอความรู้หน่อยครับว่า สวนหมอบุญจองอยู่ตรงไหนของวชิราครับ

หม่องวิน มอไซ

ร้านรับอัดเทปจากแผ่นเสียง บ้านผม(พี่ชาย)ก็ไปใช้บริการอยู่หลายครั้งครับสมัยนั้น
ทางร้านจะใช้เครื่องพิมพ์ดีด พิมพ์ชื่อเพลงให้บนปกเทปที่กลับเอาด้านในที่มีเส้นบรรทัดให้

เท่าที่ทราบ การจับลิขสิทธิ์ เริ่มมีในราว พ.ศ. 2530 ครับ
ช่วงที่ผมเป็นนิสิต ป.ตรีอยู่ที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขนแล้ว
เพราะว่ามีร้านทำเทปผีขายอยู่ที่หน้ามอ แล้วก็ปิดกิจการไป เพราะเจ้าของร้านบอกว่าโดนจับลิขสิทธิ์ครับ ยังจำได้ดี

คนนอกสวน

สวนหมอบุญจอง อยู่ระหว่าง ซอย 13 กับ ซอย 15 ทะเลหลวง ครับ
ถ้าฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็น ซอย 10 สมัยโน้นเรียกว่า หมู่บ้านวัฒนา

รบกวน คุณหม่องวิน ช่วยดูแผนที่ทางอากาศสมัยปี 2517 ดูครับว่ายังมีที่ว่างให้ฉายหนังกางแปลงอยู่หรือเปล่า
รวมทั้งที่ หลังสถานีรถไฟ และ สวนเถ้าแก่ยกสั้น ด้วยครับ

คนนอกสวน

ในวัยเด็ก ทุกคนชอบอ่านการ์ตูน ยุคนั้นหนังสือการ์ตูน "หนูจ๋า" และ เบบี้" อยู่แถวหน้า
แล้วยังมี "หุ่นยนต์ วิเตชา"
ถ้าเป็นนิตยสาร ต้องยกให้ "ชัยพฤกษ์" และ "เด็กก้าวหน้า"

งานยิ่งใหญ่ที่ทุกคนรอคอยคือ "งานแหลม" หรืองานฤดูร้อน ซึ่งเป็นที่รวมความบันเทิงสารพัด
ทั้งหนังตลุง มโนราห์ ลิเก ลำตัด หนังกางแปลง ชิงช้าสวรรค์ รถไต่ถัง รำวง ระบำจ้ำบ๊ะ

การแข่งขันกีฬาที่เด่น ๆ ต้องยกให้ ฟุตบอลประเพณีระหว่าง โรงเรียนมหาวชิราวุธ กับ
โรงเรียนวชิรานุกูล

การโปรโมทสินค้าที่ทำให้ทุกบ้านร่วมด้วย คือการสะสมรูปรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ที่ใส่มาในกล่องผงซักฟอกให้ครบ 4 สี
แล้วเอาไปแลกรถยนต์ จำได้ว่า หลายบ้านลงทุนซื้อผงซักฟอกกันขนานใหญ่ เพื่อควานหาชิ้นส่วนที่ยังไม่ครบ
ผมเองก็เอากับเขาด้วย แต่จนแล้วจนรอด ได้แค่ 3 สีเท่านั้น คนที่ซื้อผงซักฟอกมาเทใส่โอ่ง ก็เช่นกัน