ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ที่นี่ สถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส.หาดใหญ่

เริ่มโดย คนนอกสวน, 14:55 น. 18 พ.ย 52

หม่องวิน มอไซ

งานแหลม เดี๋ยวนี้แปรรูปเป็นงานกาชาดไปแล้ว
(ผมได้"กางเกงบูติก"จากงานแหลมนี่แหละครับ ตอนเรียนอยู่มหาฯ ม.4 (2529) ช่วงนั้นฮิตคำว่าบูติกมาก)
ส่วนหนังสือหนูจ๋า เบบี้ ชัยพฤกษ์การ์ตูนนั้น ที่บ้านซื้อแทบทุกฉบับ
พอโตขึ้นเลยบริจาคให้โรงเรียนไปหมดแล้ว เสียดายจังครับ

สำหรับสวนหมอบุญจองกับลานฉายหนังกลางแปลงที่วชิราที่ผมบอก ดูท่าทางจะเป็นที่เดียวกันนั่นเองครับ
จากภาพ ลานกว้างจะอยู่ตรงกลางระหว่างซอย 5 กับซอย 13 ครับ


หม่องวิน มอไซ

ลานหลังสถานีรถไฟ พ.ศ. 2517
สมัยนั้นยังมีคลังน้ำมันกลม ๆ อยู่หน้าสถานีรถไฟ มีหัวรถจักรไอน้ำและโบกี้จอดอยู่บนรางด้วยครับ

คนนอกสวน

ขอบคุณมากครับ

ลานโล่ง ๆ ซึ่งกลายเป็นหมู่บ้านโอมสุขโข เมื่อก่อนเต็มไปด้วยต้นมะม่วงหิมพานต์ เราเรียกกันว่า "สวนลุงแก้ว" ครับ
ลุงแก้ว ผู้ดูแลสวนจะหวงพืชผลทุกอย่างมาก มีการ "ใส่โจ" ที่ต้นผลไม้ด้วย นักเรียนโรงเรียนวชิรานุกูล จะเดินเลียบสวนลุงแก้ว
ไป - กลับ ทุกวัน แล้วแอบขโมย ลูกหัวครก หรือแอบปลิดโม่งหัวครก

สวนหมอบุญจอง อยู่ติดถนนทะเลหลวงครับ รถฉายหนังมาปั๊บเลี้ยวเข้าไปปักจอได้เลย
ดูจากแผนที่ ที่คุณหม่องวินให้มา พื้นที่สวนหมอบุญจอง มีอาคารบ้านเรือนเต็มหมดแล้วครับ

คนนอกสวน

ดูภาพสนามหลังสถานีรถไฟแล้วคิดถึงอดีตครับ ที่นี่เป็น"ลานคนเมือง"จริง ๆ
เคยใช้เป็นที่ฉายหนังกางแปลง แข่งขันฟุตบอล แสดงลิเกบุษบา แสดงวงดนตรี
ใช้เป็นที่ปราศัยหาเสียง

ในรูปเห็นรอยเท้าลัดสนาม เพราะชาวบ้านใช้เป็นทางเดินไปตลาด
โดยหิ้วตะกร้า เพราะก่อนนั้นถุงพลาสติกยังไม่เฟื่อง ใช้ถุงกระดาษ ใบตอง เป็นหลัก
รถรายังมีน้อยมาก คนนิยมเดินกัน ขนาดนักเรียน โรงเรียนมหาวชิราวุธ วรนารีเฉลิม ก็ย่ำเท้าไปโรงเรียนครับ

คนนอกสวน

วกมาที่ สถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส. หาดใหญ่ ต่อนะครับ
ในปี พ.ศ. 2519 สถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส.หาดใหญ่ เปลี่ยนชื่อมาเป็น
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา (สวท.สงขลา)
พ.ศ. 2524 เปลี่ยนความถี่จาก 97 เมกกะเฮิรทซ์เป็น 90.50 เมกกะเฮิรทซ์

ข่วงเวลาดังกล่าว เป็นยุคที่ทีวีช่อง 7 ขยายเครือข่าย แล้วตามด้วย ช่อง 5 ช่อง 3 ช่อง 9 และ ITV
และกิจการให้เช่า วิดีโอ เฟื่องฟู
ทำให้ผมละความสนใจจากการฟังวิทยุไปมาก ประกอบกับรายการวิทยุในเวลาต่อมา
เป็นการถ่ายทอดจากส่วนกลางในระบบเน็ตเวิร์ค ทำให้ขาดความเป็นท้องถิ่น
และตัวผมเองทำงานได้เงินแล้ว จึงพอมีกำลังทรัพย์ซื้อหาเทป และซีดีเพลงที่ตรงกับรสนิยมไว้ฟัง
ไม่ต้องพึ่งพาวิทยุที่เปิดเพลงไม่ถูกใจ
ไม่ต้องทนฟังนักจัดรายการที่ไม่ถูกหู และโฆษณาต่าง ๆ อีกต่อไป

จวบจนวันหนึ่ง เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมที่หาดใหญ่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ผมพยายามติดตามข่าวจากทีวี
แต่ไม่มีช่องไหนรายงานเลย จึงลองเปิดวิทยุเครื่องเก่าหมุนรับฟัง เจอคลื่น 90.5 สวท.สงขลา
รายงานข่าวน้ำท่วมทันต่อเหตุการณ์พร้อมเปิดรับสายโทรศัพท์จากผู้ฟังทางบ้าน

คนนอกสวน

ผู้จัดรายการในวันนั้นผมจำได้ท่านหนึ่งคือ คุณนาถนภา ทินกร
ท่านทำหน้าที่สื่อมวลชนได้ดีเยี่ยม ทราบภายหลังว่าวันนั้น สวท.สงขลา
ตัดสินใจยกเลิกรายการปกติซึ่งถ่ายทอดผ่านดาวเทียมจากกรุงเทพฯ
มารายการสถานการณ์น้ำท่วม

เหตุการณ์ครั้งนั้น นิตยสาร อบจ.สงขลา ฉบับเดือน พ.ย.2549 ได้ลงไว้ดังนี้

คนนอกสวน


คนนอกสวน


คนนอกสวน

มาวันนี้ ผมเหินห่างการฟังวิทยุ ไม่เป็นแฟนรายการใด สถานีใดเป็นพิเศษ
แต่ความประทับใจจากเรื่องต่าง ๆ ที่เล่าให้ฟัง จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป

...ที่นี่ สถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส.หาดใหญ่...

สวัสดีครับ

หม่องวิน มอไซ

ต้องขอบคุณมาก ๆ ครับสำหรับประสบการณ์ที่ได้เล่าสู่กันฟัง
นับเป็นบันทึกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของสงขลาบ้านเราครับ

ผมคิดว่าถึงอย่างไร วิทยุคงยังเป็นสื่อที่ไม่ตายครับ
เพราะเป็นสื่อเดียวที่ฟังไปด้วย ทำงานอื่นไปด้วยได้
ไม่เหมือนหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ที่ต้องตั้งใจอ่านและดู
ไม่สามารถทำงานอื่นไปด้วยได้

พี่

โฟกัสภาคใต้ วันที่ 26 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553

หม่องวิน มอไซ

แม้เวลาจะผ่านมาเกือบ 30 ปีแล้ว
แต่ผมยังจำช่วงที่ช่อง 7 สีทีวีเพื่อคุณ ขยายเครือข่ายมาที่สงขลาได้ดีครับ
ตอนนั้นบ้านยังอยู่ที่เทพา ที่บ้านผมเพิ่งซื้อโทรทัศน์สีฮิตาชิได้เพียง 2 ปีครับ (ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2522)
เป็นทีวีที่เปิดปุ๊บติดปั๊บ มาแทนทีวีขาวดำเครื่องเก่า ที่เปิดแล้วกว่าจะดูได้ต้องตั้งทิ้งไว้หลายนาที

ปรากฏว่าข้างบ้านซึ่งเป็นทีวีขาวดำรุ่นเก่าแบบบิดช่อง สามารถบิดไปดูช่อง 7 ได้ทันที
ส่วนบ้านผมซึ่งเป็นทีวีสีทันสมัยมากในตอนนั้น กลับไม่สามารถบิดช่องไปดูได้
เพราะเป็นทีวีที่ต้องใช้วิธีจูนหาช่องเอา

ที่บ้านไม่มีใครจูนเป็น เดือดร้อนพี่ชายที่ทำงานอยู่สงขลา ต้องเดินทางขึ้นรถเมล์ต่อรถไฟมาหาที่เทพา
เพื่อมาจูนทีวีให้ครับ  ;D

ตอนนั้นช่อง 7 ทำโบรชัวร์แผ่นพับประชาสัมพันธ์การขยายเครือข่าย เอามากองไว้ที่ไปรษณีย์ให้บุรุษไปรษณีย์ช่วยแจกตามบ้านด้วย
ผมยังไปรับมาเป็นสิบชุด เสียดายหายไปหมดแล้ว ไม่อย่างนั้นจะเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่ง

คนนอกสวน

ขอบคุณ คุณพี่ และ คุณหม่องวิน ที่มาช่วยเติมเต็มเรื่องราวเกี่ยวกับทีวีช่อง 10 และช่อง 7 ครับ

คุณหม่องวินเคยอยู่เทพา คงจำอาหารท้องถิ่น "ไก่ทอดเทพา" ได้ใช่มั้ยครับ
รบกวน เล่าเรื่องเมืองเทพา สมัยเก่าให้ฟังบ้าง
ขอบคุณครับ

หม่องวิน มอไซ

นึกถึงข้าวแกงเขียวหวานและไก่ทอดเทพา แล้วหิวขึ้นมาทันทีครับ  ;D
ผมอยู่เทพาช่วง 2522-2527 ครับ ไว้ค่อยเล่าสู่กันฟังครับว่า เทพายุคนั้นเป็นยังไงมั่ง

[attach=1]
ภาพโดยคุณ heerchai จากรถไฟไทยดอทคอม

คนนอกสวน

ดูรูปแม่ค้าชานชาลาสถานีแล้วคิดถึงสมัยก่อนครับ
อาหารสองข้างทางรถไฟ นอกจาก ไก่ทอดเทพา ยังมี "ส้มจุก จะนะ" และ "สับปะรด ควนเคี่ยม พัทลุง"

ตอนเป็นเด็กเวลานั่งรถไฟ ผมกลัวมาก ๆ ช่วงผ่านสะพาน เพราะมีเสียงดังกึกก้อง
เห็นโครงสะพานขนาดใหญ่ ผ่านช่องหน้าต่างอย่างรวดเร็ว ไม่กล้าโผล่หน้าออกไปเลย
ในขบวนรถ จะมีรูปข้อห้าม ข้อตักเตือนต่าง ๆ ไว้ด้วย ยิ่งทำให้นั่งตัวเกร็ง
สมัยนั้นยังใช้รถจักรไอน้ำ บางทีเถ้าถ่านจากหัวรถจักรปลิวเข้ามาด้วย

อยากให้รถไฟสายหาดใหญ่ - สงขลา กลับมาวิ่งเหมือนเดิมครับ
รับรองว่า จะไม่กลัวสะพานน้ำน้อย อีกแล้ว...

หม่องวิน มอไซ

ระหว่างสถานีท่าแมงลักกับสถานีจะนะ จะมีสะพานอยู่ตัวหนึ่ง เป็นสะพานแบบ"แผงขึ้น" ตัวแผงเหล็กข้าง ๆ เป็นรูปโค้ง และเป็นสะพานที่ยาวพอสมควร จึงมีหลายโค้ง (หลาย span) เวลารถไฟวิ่งผ่านสะพานตัวนี้ เสียงจะดังเบาสลับกัน ตอนเด็ก ๆ ผมกลัวเสียงดังจากสะพานตัวนี้มากครับ  ;D

สำหรับสถานีจะนะ ผมได้มีโอกาสไปนั่งรอรถไฟที่นี่บ่อยมากสมัยเด็ก ๆ เพราะจากอำเภอเทพา หนทางเดียวที่จะเข้าสู่ตัวเมืองสงขลาได้ คือขึ้นรถไฟจากเทพาไปลงจะนะ แล้วต่อรถสองแถว (รถเล็ก) หรือรถเมล์สมหวังขนส่งสีเขียวเข้าสงขลาครับ และภาพที่คุ้นตาคือ แม่ค้าขายส้มจุกครับ
น่าเสียดายที่เป็นภาพในอดีตไปแล้ว

พี่ชายผมได้มอบใบปลิว เมื่อครั้งช่อง 3 และช่อง 9 ขยายเครือข่ายมาที่สงขลา พ.ศ. 2531 มาให้ชมครับ

[attach=1]

น่าเสียดายที่แผ่นพับเมื่อคราวช่อง 7 ขยายเครือข่ายมาในปี พ.ศ. 2524 นั้นสูญหายไปแล้ว
(เป็นแผ่นพับใหญ่มาก กางออกแล้วเท่ากระดาษหนังสือพิมพ์เลยครับ)

Singoraman

ไก่อดเทพา ในโย กลายเป็นสินค้า โอทอปไปแล้ว
ส้มแป้นหัวจุก หายากเข้าทุกวัน

หม่องวิน มอไซ

ใช่แล้วครับ อ. Singoraman
ผมก็เรียก ส้มแป้นหัวจุก  ;D

ตั้งแต่มีส้มสายน้ำผึ้ง ส้มโชกุนเข้ามา
ส้มแป้นหัวจุก หายไปเลย

Probass

อ้างจาก: คนนอกสวน เมื่อ 11:36 น.  28 ธ.ค 52
ดูรูปแม่ค้าชานชาลาสถานีแล้วคิดถึงสมัยก่อนครับ
อาหารสองข้างทางรถไฟ นอกจาก ไก่ทอดเทพา ยังมี "ส้มจุก จะนะ" และ "สับปะรด ควนเคี่ยม พัทลุง"

ตอนเป็นเด็กเวลานั่งรถไฟ ผมกลัวมาก ๆ ช่วงผ่านสะพาน เพราะมีเสียงดังกึกก้อง
เห็นโครงสะพานขนาดใหญ่ ผ่านช่องหน้าต่างอย่างรวดเร็ว ไม่กล้าโผล่หน้าออกไปเลย
ในขบวนรถ จะมีรูปข้อห้าม ข้อตักเตือนต่าง ๆ ไว้ด้วย ยิ่งทำให้นั่งตัวเกร็ง
สมัยนั้นยังใช้รถจักรไอน้ำ บางทีเถ้าถ่านจากหัวรถจักรปลิวเข้ามาด้วย

อยากให้รถไฟสายหาดใหญ่ - สงขลา กลับมาวิ่งเหมือนเดิมครับ
รับรองว่า จะไม่กลัวสะพานน้ำน้อย อีกแล้ว...

ตอนเด็กๆ ผมก็กลัวสะพานใหญ่ครับ  เวลาโผล่หัวออกไปรับลม ชมวิว เจอเสาสีดำๆ ก็จะหลุบหัวเข้ามาทันที
ป้ายนี้ก็เห็น ทุกครั้ง เวลาเดินผ่านรอยต่อโบกี้
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

"มะเหมี่ยว"

เมื่อสมัยเด็กๆ ควนกาหลง ที่บ้านจะมีอาชีพทำนา  แม่จะเป็นคนชอบฟังวิทยุมาก 
ตื่นขึ้นมาตอนเช้าแม่เปิดวิทยุฟังข่าวที่คุณปรีชา ทรัพย์โสภา อ่านข่าวตอน 6 โมงเช้าทุกวัน
เวลาไปทำนาแม่ก็จะพาวิทยุไปตั้งบนหัวนา ฟังนิยายมั่ง  ฟังเพลงมั่ง
สมัยนั้นถ้าจำไม่ผิด  รุ่นที่มะเหมี่ยวจำความได้  มี วปถ.5  จะฟังคุณตาสมาน  ตาลทะนุช จัดรายการเพลงยาสตรีเบลโล 
แป้งสปริงซอง  และก็มีรายการของคุณยินดี  กุหลาบขาว ส่งเทปมาจากพุนพิน จ.สุราษ  , 
วิทยุ มก.สงขลา  จะฟังคุณสกล  อ่องวงศ์วัฒนา  อ่านข่าวตอนเที่ยงๆ  เสียงคุณสกล จะเพราะมากๆ
และเป็นคนที่อ่านข่าวได้เร็วๆพอๆกับคุณปรีชา ทรัพย์โสภา  แต่คุณสกล จะอ่านข่าวแบบภาษาใต้นะ
นิยายสมัยนั้น  ที่จำได้มีคณะเกษทิพย์  ,  คณะ 081 ,คณะวิเชียร  ณีริกานนท์ ( ถ้าผิดขอภัยด้วย)
แล้วก็มีสถานีวิทยุผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
และที่จำได้แม่นก็คือ ที่ผู้ประกาศจะประกาศชื่อสถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส.หาดใหญ่
ว่า  ที่นี่ (เว้นวรรคนิดนึงให้ผู้ฟังคิดถามในใจ  ...ที่ไหนวะ ) แล้วผู้ประกาศก็พูดต่อว่า สถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส.หาดใหญ่

Singoraman

จำได้  อ. อ่าง ณ เมือ งใต้
ได้ไหมครับ

พี่

ผลจากการที่ ช่อง 3 และ ช่อง 9 มาส่งที่หาดใหญ่ ทำให้ชาวบ้านในตัวเมืองสงขลารับได้ยาก เพราะสายอากาศที่มีอยู่เดิม
รับได้แต่ช่อง 5 ช่อง 7 และช่อง 10 เกิดมีคนหัวใส คิดทำสายอากาศเพื่อรับช่อง 3 ช่อง 9 แถมรับช่อง 5 7 10 ได้ด้วย
ราคาก็ไม่แพง แถมสามารถทำเองได้ง่าย ๆ โดยใช้ท่ออะลูมิเนียม + ท่อพีวีซี ข้อต่อแยกน้ำประปา แล้วใช้สายแบน 300 โอห์ม
ต่อมาเข้าปลั๊กทีวี ตามรูป