ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

มัสยิดอุสาสนอิสลาม สงขลา สร้างในสมัยไหนครับ

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 09:11 น. 04 ธ.ค 52

หม่องวิน มอไซ

เพราะว่าดูจากสถาปัตยกรรมของอาคาร คล้ายกับโบสถ์วิหารของวัดหลายแห่งในตัวเมืองสงขลาเลยครับ เช่น วัดแจ้ง วัดศาลาหัวยาง วัดกลาง
(ภาพโดยคุณ sigree จาก panoramio.com)


Singoraman

มัสยิดอุศาสนอิสลาม (มัสยิดบ้านบน) ตั้งอยู่ ณ บ้านบน ถ.พัทลุง อ.เมืองสงขลา ในปัจจุบัน
ก่อนนี้ อยู่ในเขต ต.บ่อพลับ  (บ่อพลับ อยู่ในบริเวณมัสยิดนี้ สังเกตดี ๆ อาจเห็นอยู่หน้ามัสยิด)
สมัยที่สร้างขอเวลาค้นสักระยะ มั่นใจว่ามีแน่
จำได้ว่าก่อนนี้เสาทางเข้ามัสยิด สองข้างแบบเสาประตูใหญ่ มีอักษรนูนต่ำเขียนว่า "ขุนบ่อพลับ"
ถามชาวบ้านแถวนั้นทราบว่าเป็นอดีตกำนัน ต.บ่อพลับ (ยังไม่มีข้อมูลละเอียด)
ส่วนสถาปัตยกรรมฝีมือช่างเช่นเดียวกับวิหารวัดกลางเป๊ะเลย
จนหลายคนบอกว่าเป็นช่างกลุ่มเดียวกัน
ใครมีข้อมูลช่วยต่อด้วยนะครับ

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณอาจารย์ Singoraman ครับ
ผมยังหาหลักฐานประเภทแผนที่เก่า ๆ ที่ระบุตำแหน่งของมัสยิดบ้านบนไม่ได้เลยครับ
ในแผนที่สงขลาที่กรมแผนที่จัดพิมพ์ในปี 2503 ก็มีเพียงตำแหน่งของตลาดบ่อพลับครับ
http://pirun.ku.ac.th/~faasptps/gimyong/songkhlamap2503.jpg
(แผนที่จากหนังสือสมุดภาพสงขลา พ.ศ. ๒๕๕๑ ของคุณเอนก นาวิกมูล ระบุว่าคุณสิตตสุระ จิตตวิตติ บริจาคให้บ้านพิพิธภัณฑ์)

หม่องวิน มอไซ

แผนที่ปี 2503 ข้างบนนี้ มีข้อบกพร่องคือ ตำแหน่งของถนนทะเลหลวงคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เลื่อนลงมาทางทิศใต้มากไปหน่อยครับ

แต่เป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ทราบว่า เดิมมีวัดหัวป้อม วัดหัวป้อมนอกและวัดท่าทาง แยกจากกันอยู่
แต่ต่อมา วัดท่าทางรวมกับวัดหัวป้อมนอก กลายเป็นวัดเดียวกันอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางรถไฟ
ส่วนที่ดินด้านทิศตะวันตก (วัดหัวป้อมนอกเดิม) กลายเป็นชุมชนไปแล้ว

ไม่ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นในยุคสมัยใดครับ

Singoraman

มั่นใจว่าหน้าประตูทางเข้ามัสยิด ระบุปี พ.ศ. ที่สร้างไว้นะครับ
แต่ยังไม่มีเวลาไปดูให้ชัดเจน
ใครไปกิน "ข้าวมันแกงไก่" แถวบ้านบน ช่วยดูให้ด้วยนะครับ

พี่


พี่


พี่


พี่


พี่


หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับ
ถ้าอย่างนั้นแสดงว่ามัสยิดแห่งนี้สร้างตั้งแต่สมัย ร.3 โน่นแน่ะครับ

Singoraman

ขอบคุณ "พี่" มากครับ
ลงเสาหลักเมืองสงขลาบ่อยาง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕
ถ้า พ.ศ.ที่ระบุ ณ เสาประตูหมายถึงการก่อสร้างมัสยิด แสดงว่า
มัสยิดแห่งนี้ สร้างหลังลงเสาหลัเมืองแค่ ๕ ปีเอง
ร่วมสมัยกันครับ
สะท้อนความสัมพันธ์ที่ว่า "สามหลักผสมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวในบ่อยาง" โดยแท้

Haadyai History

๒๓๙๐ = จุลศักราช ๑๒๐๙

ในปีนั้นมีตราโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระยาวิชิณรงค์ เปนแม่กองออกมาศักเลข
ตั้งโรงศักที่บ่อพลับ

หม่องวิน มอไซ


พี่


หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับ ความรู้ใหม่อีกแล้ว

ปี พ.ศ. ๒๓๙๐ เป็นปีที่พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ถึงแก่อนิจกรรม แล้วเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสงขลาครับ

Singoraman

มีคนเคยบอกผมว่า "บ่อพลับ" คือบ่อน้ำที่อยู่ในบริเวณมัสยิดนี้แหละครับ
ปัจจุบันยังคงมีอยู่
ผมเคยเข้าไปดูแล้ว แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้
วาน "พี่" แวะเข้าไปดูหน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ

พี่

 ส-ดีใจ.

Singoraman


พี่

จาก จุลสาร รักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อำเภอเมืองสงขลา

http://www.skru-slb.com/slb2/

หม่องวิน มอไซ

สรุปไว้ชัดเจนมาก ว่าเป็นนายช่างคนเดียวกันที่สร้างมัสยิดบ้านบนและโบสถ์ (วิหารในปัจจุบัน) ของวัดกลาง
น่าทึ่งมากครับ  :)

คนเขารูปช้าง

ขอบคุณท่าน"พี่" มากๆ ครับที่ให้เรื่องราวความเป็นมาของมัสยิดฯไว้ละเอียดมากครับ
ขออนุญาติ นำภาพโบสถ์ (วิหารในปัจจุบัน) ของวัดกลาง มาให้ชมเปรียบเทียบลักษณะ
ทางสถาปัตกรรมของช่างผู้สร้างคนเดียวกันครับ