ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ร่วมผลักดันรถไฟสายประวัติศาสตร์ หาดใหญ่ - สงขลา

เริ่มโดย กิมหยง, 12:08 น. 11 มี.ค 52

หม่องวิน มอไซ

วันนี้ผมโทรศัพท์ไปสอบถามความคืบหน้าของโครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา กับทางสำนักส่งเสริมระบบการขนส่งและจราจรในภูมิภาค สนข. แล้วครับ
ได้ความว่ารายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ยังไม่เสร็จเรียบร้อย

นอกจากนี้ ทางทีมงานผู้ศึกษาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาจราจรและขนส่ง (TDRC) คงจะลงไปสงขลา เพื่อพบกับ อปท.อีก ในการผลักดันรถไฟสายนี้ แต่ยังไม่ทราบกำหนดวันครับ  :D

k_Somchai

อ้างจาก: 5454 เมื่อ 03:29 น.  02 ธ.ค 52



หารถแบบนี้มาวิ่ง 555+

ภาพนี้ที่ไหนเอ่ย  :)

--------------------------
:)ผมขอเอาใจช่วย และเป็นแรงผลักดันช่วยคนหาดใหญ่-สงขลานะครับ  เพื่อให้รถไฟสายนี้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ใช้เส้นทางเก่า
นั่นแหละครับ เหมาะสมที่สุด อย่างน้อยทางสายนี้ก็เป็นสายประวัติศาสตร์ ตอนนี้อายุผมขึ้นเลข ห้าแล้ว คิดว่าคงมีโอกาสได้กลับมา
นั่งรถไฟสายนี้อีก ครั้งหนึ่ง


หม่องวิน มอไซ

ภาพข้างบนนี้เป็นรถถ่อเล็กที่ปากน้ำโพครับ  :)

Anusorn_ab

แม่เคยเล่าให้ฟัง  ว่าเคยไปซื้อผัก จากหาดใหญ่สถานี 2 มาขายที่บ่อยางด้วย
พี่ทั้ง3คน ก็เคยนั่งไปเรียนหนังสือกันที่ ร.ร.วัดดอนรัก  ร.ร.สตรีวชิรานุกูล กัน
เรามันคนที่ 4 พอลืมตาดูโลกรถไฟหยุดวิ่งไปแล้ว 4 ปี ซะงั้น
ตั้งแต่จำความได้ ก็เห็นแต่รางแล้ว   
อยากเห็นรถไฟสงขลา วิ่งได้อีกครั้ง จัง
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
)angel ขอให้ พี่ต้อม พี่ฮิตาชิ พี่ยีอี พี่แดวู หรือ พี่หัวรถจักรอื่น ๆ  ได้มาเหยียบ บ่อยางสักที่เถอะ สาธุ

หม่องวิน มอไซ

ตอนรถไฟสายสงขลาเลิกไป ผมเพิ่งขึ้น ป. 2 ครับ ไม่เคยได้นั่งดูสักครั้ง เคยได้ยินแต่เสียงหวูด และอาจจะเคยเห็นขบวนรถไฟด้วย แต่จำอะไรไม่ค่อยได้แล้วครับ

นำข่าวเก่า ๆ มาให้อ่านรำลึกความหลังครับ (งดอภิปรายเรื่องการเมืองครับ)
จากโฟกัสภาคใต้ 17 มิ.ย. 2544 (เกือบ 9 ปีมาแล้ว)
---------------------------------------------
โยนหินถามรถไฟ"งานการเมืองประธานวีระ

ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ความคิดเรื่องการเปิดวิ่งรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา แต่คราวนี้คนที่ผลักดันคือ วีระ มุสิกพงษ์ ที่ผลักดันคือ ไข่มุกดำ ที่ไปนั่งประธานบอร์ดรถไฟ

10 มิถุนายนที่ผ่านมา นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เดินทางตรวจดูสภาพสถานีรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่ ที่ปล่อยทิ้งร้างไว้กว่า 25 ปี หลังจากนั้นเปิดเผยว่า จังหวัดสงขลาได้เสนอให้ ร.ฟ.ท. พิจารณาเปิดใช้เส้นทางเดินรถอีกครั้ง

นายสุขสันต์ เกษตรกาลาม์ หัวหน้าสำนักงานสาขาพรรคความหวังใหม่ คนสนิทของนายวีระ มุสิกพงษ์ กล่าวว่า การคิดปัดฝุ่นโครงการดังกล่าว เป็นเพราะการทำงานการเมืองของพรรคความหวังใหม่ในพื้นที่ ที่ลงไปพบประชาชน และประชาชนโดยเฉพาะคนเมืองสงขลา และคนที่ต้องเดินทางระหว่าง หาดใหญ่กับสงขลาอยู่เป็นประจำต้องการ จะให้มีการเปิดวิ่งรถไฟสายดังกล่าว ซึ่งถ้ามีความเป็นไปได้ นายวีระคงจะสั่งเดินหน้าโครงการนี้อย่างแน่นอน และปัญหาการบุกรุก จะไม่เคลียร์คนออก แต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นผู้เช่าแทน อีกประการหนึ่งการที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย เคยได้ผลักดันเรื่องนี้ไม่สำเร็จ ในระดับผู้ใหญ่อาจต้องการผลักดันโครงการต่อด้วย

นายสวัสดิ์ แกล้วทนงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โครงการที่จะให้การรถไฟเปิดเส้นทางเดินรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่ จังหวัดได้เสนอขึ้นไปยังการรถไฟ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่เรียกร้องมา เพราะในปัจจุบันการใช้รถในพื้นที่สงขลาค่อนข้างแออัดมาก จังหวัดสนับสนุนเต็มที่เพราะเห็นประโยชน์ของชาวบ้านเป็นหลัก และเพื่อความสะดวกในการเดินทาง ส่วนเรื่องการสำรวจพื้นที่ต่างๆ เป็นหน้าที่ของรถไฟจังหวัดเพียงให้การสนับสนุน เนื่องจากยังมีอีกหลายขั้นตอน โดยเฉพาะการทำประชาพิจารณ์สอบถามความคิดเห็นของชาวบ้านว่าต้องการจริงหรือ ไม่ ส่วนกรณีที่อาจจะมีการประท้วงของชุมชนต่างๆ ที่ขณะนี้ตั้งหลักปักฐานใกล้สถานีรถไฟ ผู้ว่าฯ สงขลามั่นใจว่าไม่มีปัญหา เพราะหากมีการเดินรถจริงไม่ได้ใช้พื้นที่ทั้งหมด เพียงกำหนดขึ้นมาแต่ละจุดสำคัญเท่านั้น

นายจรัสพันธุ์ วัชโรทัย หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต 5 เปิดเผยว่า เรื่องนี้ เป็นนโยบาย ที่ขยายทางเลือกให้ประชาชน ปัญหาสำคัญอยู่ที่การบุกรุก มีประมาณ 2,100 ราย อยู่บนเส้นทางเดินรถ และ จะต้องตั้งงบประมาณปรับปรุงทาง 180 ล้านบาทและการปรับปรุงต้องใช้เวลาในการดำเนินการ 300 วัน แต่แม้ว่าได้งบปรับปรุงทาง แล้ว ถ้าไม่ย้ายคนออกก็ทำอะไรไม่ได้ อยู่ดี จะต้องมีงบประมาณส่วนอื่นอีก เช่นการปรับปรุงสถานี และจ้างคนไปอยู่ประจำ ซึ่งมองแล้วไม่มีทางที่จะคุ้มทุน ก็เหมือนการเดินรถชานเมืองทั่วไป ของ ร.ฟ.ท. ที่ประสบปัญหานี้ ปัญหาอื่น ก็คือ ทางตัดผ่านรถไฟ มีถนนตัดผ่านที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง 25 แห่ง และทางลัดผ่านอีก 35 แห่ง จะเป็นปัญหาเครื่องกั้นทางคิดว่า เป็นการศึกษาความเป็นไปได้มากกว่า อาจจะมีการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนด้วย เป็นเรื่องอีกยาว จะต้องการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายจรัสพันธ์ กล่าวว่า ความพยายามที่จะเปิดเส้นทางนี้กลับมา แต่ไม่สำเร็จเนื่องจาก ขาดทุน และคนนิยมเดินทางด้วยรถยนต์มากกว่า

นายสวัสดิ์ แกล้วทนงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เรื่องนี้ทางจังหวัดสงขลา ได้ประสานตรงกับ นายวีระ มุสิกพงษ์ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็ดี เพราะจะแก้ปัญหาเรื่องความคับคั่งทางจราจร แต่ปัญหาหลักของเรื่องนี้อยู่ที่การบุกรุกของราษฎรในที่ดินรถไฟ โครงการนี้เป็นโอกาสที่ดี แต่ อยู่ระหว่างการสำรวจ ของเจ้าหน้าที่เพื่อดูความเป็นไปได้ ส่วนมุมมองว่าจะเป็นไปได้หรือไม่นั้นนายสวัสดิ์ กล่าวว่า แล้วแต่จะมอง

รศ.ดร.พิชัย ธาณีรณานนท์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ทำการศึกษาสำรวจปริมาณการจราจรในจังหวัดสงขลา (ผู้จ้างศึกษาเรื่องนี้ คือการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย) กล่าวว่า ในการศึกษาดังกล่าว ได้มีการเสนอทางเลือกการจราจร ในอนาคต ได้เสนอเรื่อง ทางรถไฟ สายหาดใหญ่-สงขลา เป็นทางเลือกหนึ่ง ผมเห็นว่าโครงการนี้มีความเป็นไปได้ เรามองอนาคต ไม่ใช่วันนี้ แต่ใน 20 ปีข้างหน้า ปัญหาการจราจร จะคับคั่ง รถติด กว่านี้มาก ในอนาคตที่เมืองสงขลาและหาดใหญ่ จะเชื่อมเป็นเมืองเดียวกันเป็นมหานคร ไม่เฉพาะทางรถไฟสายนี้ เพื่อแก้ปัญหา อาจจะต้องทำระบบรถไฟฟ้าในเมืองหาดใหญ่ เพื่อเข้าไปในเมืองได้สะดวก รศ.ดร.พิชัย กล่าว เขาเห็นว่า แต่ถ้ามองในแง่เศรษฐศาสตร์ทางการเงินแล้ว อาจไม่คุ้มทุน แต่ จะต้องมองในแง่รัฐสวัสดิการ เพราะมีคนอีกมากที่ไม่มี รถเป็นของตัวเอง รถไฟน่าจะเป็นสิ่งที่รัฐให้บริการประชาชนได้ เป็นเรื่องของความยุติธรรมในการบริการคมนาคมสาธารณะ ความปลอดภัยของประชาชน และเป็นระบบที่ยั่งยืน แนวโน้มของเมืองใหญ่ทั่วโลกเป็นแบบนี้ แต่ในแง่ปฏิบัติถ้าจะให้เอกชนมาลงทุน เองก็คงเป็นเรื่องยากเพราะไม่คุ้ม

สำหรับอุปสรรค อย่างเดียวโครงการนี้ รศ.ดร.พิชัย เห็นว่าคืองบประมาณ ซึ่งอาจจะใช้วงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท สำหรับทางตัดรถไฟ นั้น ต้องใช้วิธียกระดับ จะใช้ วิธีเครื่องกั้นคงไมได้ เพราะมีจุดตัดมาก ส่วนการเคลียร์เรื่องการบุกรุก ไม่น่ามีปัญหาถ้า จะดำเนินการ ส่วนแบบรถไฟ ถ้าใช้รางเก่าอาจจะลดค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหันมาใช้ระบบใหม่ค่าใช้จ่ายอาจสูงกว่า อุปสรรคจากความพยายามวิ่งรถสายนี้อาจต้องยกเลิกไป รศ.ดร.พิชัยกล่าวว่า เพราะไม่มีผู้โดยสาร และการเดินทางด้วยรถยนต์ที่เป็นอยู่เร็วกว่า ประมาณ 30 นาที ถ้ามีงบประมาณ รัฐควรตัดสินใจทำ เพราะเป็นการมองถึง 20 ข้างหน้า ความชัดเจนที่จะเชื่อมความเป็นหาดใหญ่-สงขลามหานคร โดยค่าโดยสารรถไฟนี้ ต้องไม่แพง และกลุ่มคนโดยสารมี 2 กลุ่มหลัก คือคนเดินทางไปทำงาน และ นักท่องเที่ยว ในบางเวลา เช่นยามเย็น อาจจะมีโปรแกรมนั่งรถเที่ยว รศ.ดร.พิชัยกล่าว

นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จริงๆ ในหลักการตั้งแต่คุณวีระเป็นประธาน พวกเรารู้สึกว่าเป็นการเอาการเมืองมายุ่งเกี่ยวกับการบริหารรถไฟ ซึ่งเมื่อดูในภาพรวมของรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ก็มีการเอานักการเมืองเข้ามาเป็นถึงแม้ว่าจะบอกว่ามีการลาออกจากการเป็น สมาชิกก็ตาม แต่ยังเห็นพฤติกรรมในการเข้าร่วมประชุมสมาชิกพรรคเป็นประจำ เมื่อมีการเมืองเข้าไปแทรกเราเป็นห่วงว่า อาจจะมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องของรถไฟ เป็นเรื่องที่จะมีการรื้อแบบใหม่ สร้างใหม่ ซึ่งผมเข้าใจว่าอย่างนั้น ตรงนี้เป็นประเด็นที่คณะทำงานด้านคนนาคมของพรรคประชาธิปัตย์กำลังติดตามอยู่ ในฐานะที่ตนเป็นเลขาก็ได้รับข้อมูลมาพอสมควร ซึ่งจะมีการประชุมวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายนนี้ คงมีการพูดคุยเรื่องนี้

โครงการนี้จะเกิดได้หรือไม่นั้น นายศิริโชค กล่าวว่า ต้องดูว่าทำไปแล้วมีประโยชน์หรือไม่ ถ้าทำแล้วมีประโยชน์ก็จะสนับสนุน แต่ถ้าทำไปแล้วประชาชนไม่ได้ผลประโยชน์ แล้วผลประโยชน์ตกอยู่กับคนใดคนหนึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ต้องทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบความโปร่งใส ของการที่จะไปรื้อแบบใหม่

รถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2456 ถูกยกเลิกการเดินรถ โดยมติ ครม. ตั้งแต่ วันที่ 1 ก.ค. 2521 หลังปิดไปเมื่อปี 2521 มีการเสนอเปิดมาแล้ว เมื่อ 27 ก.พ. 2527 ได้มีการทดลองวิ่งแต่ไม่กี่วันก็ต้องยกเลิก จากสภาพปัญหาหลายอย่าง ปี 2539 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี 2539 คิดจะปัดฝุ่นโครงการ แต่พบว่าตัวเลขสูงถึง 4,000 ล้านบาท ก็ต้องยกเลิกไป ก็หอการค้าจังหวัดสงขลาเคยต่อสู้เพื่อ เปิดการเดินรถสายนี้ เพื่อเป็นรถไฟเพื่อการท่องเที่ยว รถไฟเพื่อขนส่งสินค้าเชื่อมท่าเรือน้ำลึกสงขลา จึงต้องการผลักดันโครงการต่อด้วย
------------------------------------------------------

หม่องวิน มอไซ

อีกข่าว จากโฟกัสภาคใต้ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 45 (8 ปีมาแล้ว)
(งดอภิปรายเรื่องการเมืองครับ)

ควม.ลุยปัญหาบุกรุกที่ดินรถไฟสงขลาปลุกพลังชาวบ้านหวังเจาะฐาน ปชป.

5 ชุมชนแออัดสงขลารวมพลังแก้ปัญหาบุกรุกที่ดิน รฟท. ระดมเกือบ 5,000 คนจัดตั้ง สหกรณ์บริการ หวังใช้เป็นองค์กรต่อรองเพื่อให้ได้สัญญาเช่า ด้านพรรคความหวังใหม่สบช่องเจาะฐานประชาธิปัตย์ ส่งคนใกล้ชิด วีระ มุสิกพงศ์ หนุนช่วยชาวบ้าน

จากกรณีมีนายทุนและประชาชนบุกรุกที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จ.สงขลา สำหรับกลุ่มนายทุนส่วนมากจะแอบอ้างว่ามีสัญญาเช่าที่ดินกับ รฟท.แล้วนำมาจัดสรรค์สร้างรายได้เข้ากระเป๋า หลายแห่งชาวบ้านได้บุกรุกเข้าอยู่อาศัยจนกลายเป็นชุมชนแออัดขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานนั้น จากการสำรวจของ โฟกัสภาคใต้ พบว่า ขณะนี้ในส่วนของชาวบ้านได้มีความพยายามที่จะรวมตัวกันเพื่อหาทางออกในเรื่อง นี้แล้ว

นายปรีชา ไชยสาลี แกนนำชุมชนริมทางรถไฟย่าน ถ.รัถการ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้แกนนำชาวบ้านจาก 5 ชุมชนริมทางรถไฟที่ประสบปัญหาบุกรุกที่ดิน รฟท.เหมือนกันในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ ประกอบด้วย ชุมชนย่านรัถการ ชุมชนสะพานดำ ชุมชนวัดโคกสมานคุณ ชุมชนคลังปูนและชุมชนซอยอาจารย์ทอง ได้ตกลงร่วมกันว่าจะรวบรวมสมาชิกของทุกชุมชนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ประเภทบริการ ขึ้นมาใหม่ แล้วพลักดันให้องค์กรแห่งนี้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับ รฟท. จากนั้นให้ชาวบ้านมาเช่าต่ออีกทอดหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของทางราชการ

ที่ผ่านมาแกนนำทุกชุมชนประชุมร่วมกันทุกเดือน ครั้งล่าสุดได้ข้อสรุปว่าจะสามารถระดมสมาชิกได้ราว 5,000 คน และประเมินว่าปัญหาทั้งหมดจะจบลงได้ภายใน 2 ปีนับจากนี้ ที่เราหันมาใช้วิธีนี้ก็เพื่อให้ทางรัฐบาลและผู้บริหาร รฟท.เห็นว่ามีผู้เดือดร้อนเป็นจำนวนมากจริงๆ และชุมชนในกรุงเทพฯ ก็เคยทำสำเร็จมาแล้ว นายปรีชากล่าวและว่า แกนนำชาวบ้านได้เคยเข้าหารือกับทางผู้บริหาร รฟท.ในกรุงเทพฯ แล้ว ได้ข้อสรุปว่ามีความเป็นไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ได้ขอร้องให้ช่วยเป็นกรณีพิเศษและให้ยับยั้งกลุ่มนายทุนอย่าให้สร้าง ปัญหารบกวนชาวบ้านอีกด้วย

นางพิไลพรรณ มุ่งประสิทธิชัย ชาวบ้านชุมชนริมทางรถไฟย่าน ถ.รัถการ เสริมว่า ที่เห็นว่ามีชาวบ้านปลูกสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ บนที่ดินริมทางรถไฟที่บุกรุกจำนวนมากเวลานี้ เนื่องจากมีข่าวว่าจะมีนายทุนมาขอเช่าจาก รฟท. ทำให้ชาวบ้านต้องรีบกู้เงินมาสร้างอาคารแบบถาวรไว้ก่อน แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นผลมาจากทาง รฟท.ได้ร้องขอให้ปรับลดภาพลักษณ์ความเป็นสลัม ซึ่งชาวบ้านก็ยินดีให้ความร่วมมือ

ส่วนที่มีนายทุนเข้าไปหลอกชาวบ้านนั้น ทราบว่ามีผู้ตกเป็นเหยื่อและต้องสูญเงิน 2-3 หมื่นบ้านไปแล้วหลายราย บางรายก็สามารถเข้าไปสร้างที่อยู่อาศัยได้ แต่ไม่สามารถขอมีบ้านเลขที่ น้ำประปาและไฟฟ้าได้ ก่อนหน้านี้มีบริษัทค้าเสื้อผ้าที่ตลาดโบ้เบ้ในกรุงเทพฯ อ้างว่ามีสัญญาเช่าที่ดินกับ รฟท.บริเวณสี่แยก ถ.รัถการ จากนั้นนำมาให้นายทุนในพื้นที่สร้างอาคารให้ชาวบ้านเช่าในราคาแพงอีกทอด หนึ่ง

ด้านนายสุขสันติ์ เกษตรกาลาม์ หัวหน้าสำนักงาน วีระ มุสิกพงศ์ ประจำเขต อ.หาดใหญ่ กล่าวว่า ทางสำนักงานได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในการรวมตัวตั้งสหกรณ์แล้ว โดยขณะนี้การดำเนินงานต่างๆ ลุล่วงไปแล้ว 80% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย.นี้ จากนั้นจะเดินเรื่องขอเช่าที่ดินให้เสร็จเรียบร้อย เมื่อชาวบ้านมีสิทธิในที่ดินแล้วก็จะผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาลและ อบต.เข้ามารองรับในด้านสาธารณูปโภค

เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบัน นายวีระ มุสิกพงศ์ มีตำแหน่งเป็นประธานบอร์ด รฟท. เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และเป็นรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่อยู่ด้วย ซึ่งสำนักงานนายวีระดังกล่าวก็ได้ปรับเปลี่ยนมาจากสำนักงานสาขาพรรค ที่ตั้งขึ้นในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2543 จึงเป็นไปได้ว่าต้องการที่จะเจาะฐานการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่ยึดหัว หาดในพื้นที่นี้มายาวนาน ก่อน หน้านายวีระเองเคยเดินทางมาดูงานใน จ.สงขลา และให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าจะผลักดันให้มีการฟื้นเส้นทางรถไฟสายสงขลา -หาดใหญ่ขึ้นมาใหม่อีกด้วย

ในส่วนของ รฟท. นายจรัสพันธ์ วัชโรทัย หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต 5 กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของชาวบ้านว่า ที่แล้วมาได้จัดทำทะเบียนผู้บุกรุกไว้ทั้งหมดแล้ว และกำลังมีการพิจารณาว่าพื้นที่ไหนเช่าได้หรือไม่ได้ สำหรับชาวชุมชน ถ.รัถการเคยทำเรื่องขอเช่ามานานแล้ว และทาง รฟท.ก็ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบแล้วเช่นกัน

ส่วนการจะให้เช่าที่ดินที่ชาวบ้านยื่นเรื่องมาได้หรือไม่ เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารทรัพย์สิน รฟท. นอกจากนี้ผมไม่สามารถให้ความเห็นอะไรได้ เพราะติดระเบียบราชการเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน นายจรัสพันธ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายวิญญา กล่ำสีทอง หัวหน้าสำนักงานการเคหะชุมชนหาดใหญ่ กล่าวถึงสถานการณ์ความต้องการด้านที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ขณะนี้ว่า ยังอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างจะซบเซาต่อเนื่องมาหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในส่วนของการเคหะหาดใหญ่เองก็ยังมีเหลือให้เช่าได้อีก 2-3 โครงการ เช่น โครงการที่ชุมชนที่บ้านน้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นต้น