ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

มีภาพสะพานรถไฟหาดใหญ่ - สงขลา มาฝากครับ

เริ่มโดย กิมหยง, 14:08 น. 11 ก.ค 51

HAADYAI.history

อ้างจาก: เบื่อคนเจ้าเล่ห์ เมื่อ 10:40 น.  23 ก.ค 51
อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 07:25 น.  23 ก.ค 51
หวังว่าจะมีข่าวฟื้นรถไฟหาดใหญ่ - สงขลาบ้างนะครับ

2-3 วันก่อน ผมเห็นสติ๊กเกอร์ท้ายรถปิ๊กอัพ คันหนึ่งติดป้าย "ฟื้นฟูทางรถไฟสงขลา" อะไรประมาณนี้  เห็นแล้วก็รู้สึกดี และชื่นชมในเจตนารมณ์ที่ดี

มีหลายท่าน อยากให้ ทางรถไฟสาย หาดใหญ่ - สงขลา กลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง.......ผมก็ต้องบอกว่า "ผมก็อยากให้เป็นเช่นนั้น"

แต่ถ้าจะถาม  การฟื้นชีวิตของทางรถไฟที่กลายเป็นความทรงจำ กลับมาให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง... วัตถุประสงค์เพื่ออะไร คงต้องเป็นประเด็นจะต้องคุยกันในรายละเอียดให้มากกว่าคำว่า "อยากให้มี"  แต่เพียงอย่างเดียว

ผมมองว่า.... นอกจากจะต้องพิจารณาในแง่ของความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ควรจะต้องพิจารณาในเรื่องของคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ประกอบไปด้วย

ถ้าจะถามว่า......  งบประมาณที่จะนำมาใช้คุ้มมั้ย....ผมมองว่า คุ้มค่า   และใช้งบประมาณน้อยกว่า การจัดการเลือกตั้งใหม่ ที่เกิดจากรัฐบาลยุบสภาเสียด้วยซ้ำ!


ทางรถไฟสาย หนองคาย เวียงจันทร์ เกิดขึ้นเพราะพิจารณาในแง่ความสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่คนรุ่นใหม่ ชอบเรียกว่า พวก ลอจิสติคส์ อะไรนี่ละ....

งบประมาณที่ใช้สำหรับสร้างทางรถไฟไปลาว เฉลี่ย กม.ละ 56 ล้าน......ดังนั้นเปรียบเทียบแล้ว หาดใหญ่ - สงขลา ก็ไม่หนีกัน แต่อาจน้อยกว่าเล็กน้อย เพราะมีแนวทางเก่าอยู่แล้ว

30 กม.จากหาดใหญ่ บวกพวกอาคารสถานีรถไฟรายทาง,ระบบอาณัติสัญญาน ฯลฯ เบ็ดเสร็จน่าจะใช้งบราว 2500 ล้านบาท ก็ไม่แพงเท่าไหร่......

ผมยังมองไปอีกว่า นอกจาการฟื้นเส้นทางรถไฟสายนี้แล้ว น่าจะลากเชื่อมเป็นลักษณะคล้ายแลนด์บริดจ์ ให้ไปถึงสตูล (ออกท่าเรือ) ยิ่งเจ๋งใหญ่

.............................



ผมก็คิดอย่างนี้แหละครับ

ปัญหาคือสำคัญ คือ ผู้กว้างขวาง ในย่านนี้ ล้วนเป็นผู้ประกอบการหัวลากทั้งสิ้น พวกเค้าก็วิ่งเต้น Lobby ไม่ให้มีทางรถไฟอยู่ครับ

เผื่อให้ win-win น่าจะเอาเจ้าของกิจการหัวลากมาถือหุ้นด้วย แล้วใช้หัวลาก เป็น Feeder แล้วให้รถไฟวิ่งทางไกลแทน
น่าจะโอเคน่า

กิมหยง

จัดสัมนาเรื่องนี้หรือไม่ครับ

แล้วใครจะร่วมเข้าฟังบ้างครับ
ค่าใช้จ่ายแพงมั๊ย
สร้าง & ฟื้นฟู

HAADYAI.history

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 10:53 น.  23 ก.ค 51
2500 ล้าน  ไม่แพงเท่าไร

เวียนหัวตาลายจังเลย

เราเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้มั๊ย เช่นรถราง
ไม่รู้ว่า ขนาดรางมันเท่ากันหรือเปล่า

แบบทำเป็นสายท่องเที่ยว

ขอเวลาสักเล็กน้อยครับ เว็บกิมหยงจะทำหน้ารถไฟหาดใหญ่ - สงขลาขึ้นมาครับ

อย่างน้อย ๆ เป็นเวที ที่จะให้เรามาพูดคุยกัน ได้แสดงหลักการเหตุผล แนวคิดกัน

ถ้าขนาดหมายถึง

1 พื้นที่หน้าตัด มีหลายขนาดให้เราเลือกใช้ตามใจชอบครับ แล้วแต่น้ำหนักที่จะกดลงมาบนราง

2 Gauge หรือระยะห่างระหว่างรางทั้ง 2 (ซ้าย-ขวา) ก็มีหลายมาตรฐานครับ ที่ใช้กับ BTS กับ MRTA เป็น Standard Gauge คือ 1.435 เมตร
อันนี้ก็แล้วแต่เราครับว่า จะเอา 1 เมตรเหมือนเดิม หรือจะเอา Standard Gauge เพราะยังไงก็ต้องวางรางใหม่อยู่แล้วครับ
เพียงแต่ไม่ต้องมีค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเท่านั้นเองครับ

เบื่อคนเจ้าเล่ห์


[/quote]

ผมก็คิดอย่างนี้แหละครับ

ปัญหาคือสำคัญ คือ ผู้กว้างขวาง ในย่านนี้ ล้วนเป็นผู้ประกอบการหัวลากทั้งสิ้น พวกเค้าก็วิ่งเต้น Lobby ไม่ให้มีทางรถไฟอยู่ครับ

เผื่อให้ win-win น่าจะเอาเจ้าของกิจการหัวลากมาถือหุ้นด้วย แล้วใช้หัวลาก เป็น Feeder แล้วให้รถไฟวิ่งทางไกลแทน
น่าจะโอเคน่า
[/quote]

อันนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลครับ.....  แล้วยิ่งบางคนที่ทำธุรกิจประกอบกิจการขนส่ง เป็นหนึ่งในทีมงานเทศบาลด้วยละ ยิ่ง...เหนื่อยใหญ่!

เรื่องระบบขนส่งมวลชนแบบราง เนี่ยะ....เมืองไทย ค่อนข้างแย่  เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว, รับเงินใต้โต๊ะ กันแบบไม่เคยมองความก้าวหน้าของบ้านเมือง....

รถไฟขบวนหนึ่ง ใช้เชื้อเพลิงแค่หัวรถจักร....ลากคอนเทรนเนอร์ได้นับหลายสิบตู้ 
ในขณะที่พวกรถหัวลากจูง 1 คัน ก็ 1 หนึ่งตู้ วิ่งกันตะบัน ถนง ถนนพังเสียหาย ก็ต้องเอางบมาทิ้งบนถนน ซ่อมซ้ำ ซ่อมซาก 


อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 10:53 น.  23 ก.ค 51
2500 ล้าน  ไม่แพงเท่าไร

เวียนหัวตาลายจังเลย

เราเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้มั๊ย เช่นรถราง
ไม่รู้ว่า ขนาดรางมันเท่ากันหรือเปล่า

แบบทำเป็นสายท่องเที่ยว

ขอเวลาสักเล็กน้อยครับ เว็บกิมหยงจะทำหน้ารถไฟหาดใหญ่ - สงขลาขึ้นมาครับ

อย่างน้อย ๆ เป็นเวที ที่จะให้เรามาพูดคุยกัน ได้แสดงหลักการเหตุผล แนวคิดกัน

คุณกิมหยงขอรับ..

ผมคิดว่า ถ้าจะรื้อฟื้นสายนี้ ก็ควรทำให้เหมือนกันแบบมาตรฐานทั่วประเทศ
เรื่องรางที่ใช้ ผมว่า ถ้าเราใช้แบบกว้างมาตรฐาน มันจะยุ่งยากและไม่คุ้มที่จะต้องเชื่อมต่อ  ใช้แบบเดิมที่เรามีนั่นละครับ

เรื่องการท่องเที่ยว....ผมมองว่า มันอยู่ที่วิสัยทัศน์ของทั้งสอง นายกเล็ก ทั้งสงขลา และหาดใหญ่

สงขลาน่ะ ผมไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่....แต่หาดใหญ่นี่ซิ...คงยาก เพราะมีบิ๊ก ๆ กิจการขนส่งเข้าไปอยู่ในทีมบริหาร...มันคงยากอยู่

ทางรถไฟสายท่องเที่ยว ถ้าจะทำ ต้องเริ่มจาก ปาดัง - หาดใหญ่ - สงขลา เลียนแบบพวกรถไฮโซโอเรียนท์ (วิ่ง สิงค์โปร์ - กรุงเทพ - เมืองกาญจน์ - เชียงใหม่ ทริปละเป็นแสน!)

หัวรถใช้ท่องเที่ยวก็มีอยู่แล้ว....ขอรถจักรไอน้ำ จากที่มีอยู่โรงรถจักรธนบุรีมาซักหัว ก็ไม่เลว...เพราะอย่างน้อย รถจักรไอน้ำพวกนั้น มันก็คงดีใจที่จะได้กลับมาอยู่บ้าน (เพราะเดิมรถจักรไอน้ำหลายคันที่มีอยู่ เป็นรถที่เคยใช้งานในย่านหาดใหญ่ - ทุ่งสง แทบทั้งสิ้น)

นอกจากท่องเที่ยว...เส้นทางสงขลา ก็จะได้มีระบบลอจิสติคส และขนส่งมวลชนรองรับ นักเรียน นักศึกษา และผู้ทำงาน หาดใหญ่ สงขลา ได้สบาย  ๆ  ลดทั้งมลพิษ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพและแตกกิ่งก้านด้านการท่องเที่ยวดี ๆ ให้คนมาเลย์ สิงค์โปร์ เข้ามาได้อีกแยะ......

เรื่องทางตัด ทางผ่าน ก็เป็นเรื่องสบาย ๆ (เพราะญี่ปุ่น มีมากกว่าเราแยะ เค้ายังไม่มีปัญหาอะไร)

............... โครงการนี้ ต้องมีแรงผลักดันจากทั้งสองเทศบาล คือ หาดใหญ่ และ สงขลา ก่อน ก็น่าจะถือว่ามีโอกาสที่ดี.
โลกมีทรัพยากรเหลือเฟือสำหรับทุกคน..แต่ทรัพยากรทั้งหมดของโลก..ไม่พอสำหรับคนโลภ เพียงคนเดียว!

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

เชียงราย - รัฐ/เอกชนเมืองพ่อขุนฯ เร่งหาช่องดัน "เส้นทางรถไฟในฝันเด่นชัย-เชียงราย" ที่มีแนวคิดกันมาตั้งแต่ปี 2503 เสนอยกระดับเป็นหนึ่งใน "ยุทธศาสตร์จังหวัด" รองรับสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ พร้อมเสนอโปรเจกต์เฟส 2 เชื่อมทางรถไฟถึงท่าเรือเชียงแสน 2 และแม่สายต่อในอนาคต คสศ.-หอฯ 10 จังหวัดเหนือ นัดประชุมตามความคืบหน้า Logistic ไทย พม่า ลาว จีน พร้อมวางแผนพัฒนาผู้ประกอบการไทย-จัดผังท่องเที่ยวรับ "Visit GMS Year 2009-2010" ศุกร์นี้ (25 ก.ค.)

รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงราย แจ้งว่า นายวรชัย อุตตมชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในนามคณะอนุกรรมการพัฒนาเส้นทางรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย ห้องประชุม 2 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย เมื่อเร็วๆนี้

ในที่ประชุม ได้หยิบยกมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางราง และระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 2/2551 เมื่อ 1 พ.ค.2551 ขึ้นมาหารือ เพื่อหาแนวทางผลักดันให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งมติดังกล่าวได้เห็นชอบแนวทางการพัฒนาโครงการรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งในภูมิภาค และเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค โดยมอบหมายให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และกระทรวงคมนาคม พิจารณาแนวทาง การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมพัฒนาระบบรถไฟขนาดรางมาตรฐานในเขตทางของ ร.ฟ.ท. 4 เส้นทาง

ประกอบด้วย 1.สายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-กาญจนบุรี เพื่อเตรียมเชื่อมกับชายฝั่งทะเลตะวันตก(หนองคาย-ขอนแก่น-นครราชสีมา-มาบกะเบา-บ้านภาชี-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรี-ชายแดนสหภาพพม่า เพื่อเชื่อมโยงท่าเรือทวาย

2.สายเหนือ (เชียงของ-เชียงราย-เด่นชัย-บ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา) โดยการเชื่อมโยงกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ควรพิจารณาเชื่อมโยงจากมณฑลหยุนหนัน (ยูนนาน) และเส้นทางจากเวียดนาม-มณฑลกว่างสี

3.สายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางจิระ-อุบลราชธานี) เพื่อเตรียมเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

4.สายภาคตะวันออก (แก่งคอย-แหลมฉบัง) เพื่อเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 ได้มีมติรับทราบและอนุมัติตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนครั้งที่ 2/2551 รวมระยะทาง 2,344 กิโลเมตร(กม.) ประมาณการค่าก่อสร้างรวม 4 สาย ไว้ประมาณ 300,000 ล้านบาท จึงต้องว่าจ้างที่ปรึกษามาจัดทำรายงานและวิเคราะห์ผลการศึกษาอย่างละเอียด เนื่องจากเป็นนโยบายเร่งด่วนและสำคัญของรัฐบาล ในการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถการขนส่งทางราง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการศึกษานี้ไว้ และสามารถศึกษาได้ในงบประมาณปี 2552 จึงเห็นควรเสนอแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 เพิ่มเติม ต่อสำนักงบประมาณ เพื่อศึกษาดังกล่าวในวงเงิน 300,000,000 บาท

ในส่วนของจังหวัดเชียงราย เคยมีการศึกษาเส้นทางที่จะเชื่อมรถไฟจาก อ.เด่นชัย จ.แพร่ -พะเยา-เชียงราย ตั้งแต่ปี 2503 แต่ในอดีตรัฐบาลหลายชุดไม่ได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณา เนื่องจากคิดว่าไม่คุ้มทุน กระทั่งปี 2539-2541 ร.ฟ.ท. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจออกแบบรายละเอียดด้านวิศวกรรม และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ โดย เส้นทางนี้มีระยะทางราว 246 กม.

ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาเส้นทางรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย ครั้งนี้ เห็นควรว่า รัฐบาลควรเร่งสร้างทางรถไฟสายนี้ เนื่องจากทราบว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ไปหารือกับจีนแล้ว ปรากฏ ว่า รัฐบาล - เอกชนจีนสนใจที่จะมีการทำเส้นทางรถไฟจากจีนตอนใต้ ผ่าน สปป.ลาว ด้วยรางมาตรฐานเข้ามาเชื่อม เนื่องจากการขนส่งทางรางในอนาคตจะประหยัดเชื้อเพลิงกว่าใช้รถยนต์ โดยน่าจะเป็นรถไฟที่แล่นเร็ว

สำหรับ จังหวัดเชียงราย เห็นว่า เมื่อมี เส้นทางรถไฟที่ผ่านจาก อ.เด่นชัย จ.แพร่ มา อ.เมืองเชียงราย แล้วน่าจะสร้างต่อในเฟส 2 เพื่อไปที่ อ.เชียงของ ชายแดนไทย-ลาว เพื่อรับกับถนน R3a และเส้นทางรถไฟจากจีนหากจะมีขึ้น และในที่ประชุมอยากให้นำเสนอว่าหากเป็นไปได้ควรทำทางแยกจาก บริเวณก่อนถึง อ.เชียงของ ไปจ่อที่ชายแดน อ.เชียงแสน เพื่อรับกับท่าเรือเชียงแสน 2 ที่กำลังจะก่อสร้างด้วย

อย่างไรก็ตาม หากอนาคตประเทศสหภาพพม่า มีความพร้อม ก็อาจจะมีการนำเสนอเส้นทางรถไฟจาก อ.เมือง ไป อ.แม่สาย อีกเส้นทาง ซึ่งเส้นทางรถไฟสายนี้เน้นการขนส่งสินค้า และได้ประโยชน์ทางอ้อมด้านการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง

นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานหอการค้า จ.เชียงราย และประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ กล่าวว่า ชาวเชียงรายต้องการให้มีรถไฟแล่นมาถึงจังหวัดเชียงรายมานานแล้ว และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีการเรียกร้องกันมาตลอด หากรัฐบาลมีแนวทางว่าจะสร้างทางรถไฟ เนื่องจาก ต้นทุนค่าน้ำมันดีเซลที่แพงขึ้น และจีนให้การสนับสนุน ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีว่าเส้นทางรถไฟสายนี้จะเกิดขึ้นได้

ทั้งนี้ ต้องการให้จังหวัดเชียงราย กำหนดให้รถไฟ เป็นยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อให้การผลักดันมีน้ำหนัก และต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และในกลุ่มคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ และกลุ่มจังหวัดล้านนาตะวันออก ก็จะได้เข้ามาร่วมมือกันผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม เพราะทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ และจะติดตามอย่างใกล้ชิดตั้งแต่นี้ไปว่า รัฐบาลพิจารณาในการอนุมัติงบประมาณมาเพื่อศึกษาอย่างไรต่อไปด้วย

นายพัฒนา กล่าวอีกว่า และในวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 คสศ.-หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ ก็มีกำหนดที่จะหารือกันที่จังหวัดพะเยา เพื่อติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม และ logistics ภาคเหนือ ความคืบหน้าการพัฒนาด่านการค้าชายแดนในเขตภาคเหนือ ความคืบหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย และจังหวัดตาก

นอกจากนี้ ยังจะมีการหารือถึงแนวทางกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ เพื่อรองรับโครงข่ายคมนาคมจากประเทศภาคีสมาชิกสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ และรองรับยุทธศาสตร์ใหม่ Economic Corridor Forum ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของ 10 จังหวัดภาคเหนือ และการจัดทำแผนการตลาดเพื่อสนับสนุน Visit GMS Year 2009 – 2010 เป็นต้น

โดย ผู้จัดการรายวัน 23 กรกฎาคม 2551 16:04 น.

อยากนั่

อยากนั่งจังเลยอ่ะ ฝันไปไกลละ

ดำเนินการไว ๆ นะคะ

กิมหยง

เราต้องทำเสื้อ ทำธง ทำป้าย อะไรเปิดการประชาสัมพันธ์เชิงรุกหรือเปล่าครับเนี๊ย
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

เสื้อนี่น่าสนใจ
แต่คนใส่ ใส่แล้วหาญไปเดินแถวใกล้ทางรถไฟหรือเปล่าครับ  :-[

ต้องหาสปอนเซอร์สนับสนุน ตรงนี้ก็ยากเหมือนกันครับ

กิมหยง

ทำป้ายประชาสัมพันธ์

เสื้อก็โพสข้อความกลาง ๆ บอกถึงความต้องการครับ

แต่ว่าจะให้ใครบ้าง แจกใครบ้างครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

แจกนักข่าว เจ้าหน้าที่การรถไฟ เทศบาล ดีไหมครับ

กิมหยง

ทำแจกกันเลยหรือครับ

งั้นมาลองคิดหาตังค์กันดีกว่าครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

HAADYAI.history

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 08:34 น.  30 ก.ค 51
ทำแจกกันเลยหรือครับ

งั้นมาลองคิดหาตังค์กันดีกว่าครับ

แค่ Screen ภาพสถานีรถไควสงขลา ลงบนเสื้อยืดคอกลมสีขาว แบบที่ขายริมถนนสาย 3 ก็โอเคนะครับ

ภาพหนึ่งภาพแทนคำได้นับพัน

กิมหยง

ครับ   ต้องมีการนั้งทานอาหาร นั้งจิบน้ำชากันก่อนดีไม่ครับ

หรือไปทานบะกุดเต๊ กันดีกว่า
สร้าง & ฟื้นฟู

คนต่างถิ่น

เรื่องรถไฟหาดใหญ่-สงขลา นี่ ต้องลองปรึกษา บ.โพธิ์ทอง ดูเผื่อจะได้ไอเดียดีๆ (อิอิ ล้อเล่ง)

ในความเห็นผม ถ้ามีการเดินรถไฟสายนี้จริง มันก็มีผลดีหลายอย่าง เช่น การขนส่งผู้โดยสารคราวละมากๆ

และปลอดภัย   การขนส่งสินค้า และด้านการท่องเที่ยว  แต่การลงทุนทำโครงการขนาดนี้ ก็คงต้องมองถึงความคุ้มค่าด้วย

เพราะคงไม่ได้ใช้เงินเฉพาะตอนพัฒนาเส้นทาง ตัวรถไฟ และการวางระบบเท่านั้น  คงต้องใช้เงินอุดหนุนอีกตลอดไปแน่

และที่สำคัญ คงต้องรบกับผู้คัดค้าน หลายฝ่ายแน่ ไม่ว่าผู้ประกอบการขนส่ง  รถโดยสาร หรือแม้แต่ชาวบ้านที่เข้าไปบุกรุก

ตลอดแนวทางรถไฟเดิม  แค่นึกก็เหนื่อยแล้ว   

แต่ถ้าจะรณรงค์ให้เกิดจริงๆ ผมก็เอาด้วยนะ เพราะอยากให้มี  ลองรวมกลุ่มดูซิครับ  อาจเริ่มจากการเข้าชื่อสนับสนุนในเว็บนี้ก่อน

เพื่อดูปริมาณ  แล้วค่อยนัดจัดเสวนากลุ่มย่อย เพื่อหาแนวทางในการรณรงค์  เอาใจช่วยนะครับ

49


กิมหยง

ต้องลองมานั่งคุยกันก่อนครับ

ใครพอจะช่วยอะไรได้ก็ช่วยกันครับ ช่วยเท่าที่ช่วยได้
แต่ต้องมีขั้นตอนในการทำ ต้องมีความคืบหน้าครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

อยากนั่ง

เมื่อตอนเย็นดูรายการนึงทาง NBT  (ช่อง 11)เป็นสกู๊ปเกี่ยวกับรถไฟหาดใหญ่-สงขลา นึกถึงกระทู้นี้ขึ้นมาเลย

ไม่ทราบว่าพี่ ๆ ในกระทู้นี้เป็นผู้ดำเนินการให้เค้าไปทำสกู๊ปรึป่าวคะ

กิมหยง

ผมไปวิ่งไม่ได้ดูเสียดายจังครับ

เรื่องสกู๊ปนั้นไม่แน่ใจเหมือนกันครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

อยากนั่ง

ดูย้อนหลังได้ค่ะ http://www.me.in.th/Live/   

ช่อง NBT  ไม่แน่ใจว่าสกู๊ปหรือรายการ "พิเศษภาคใต้" อะไรเนี่ยแหละค่ะจำไม่ค่อยได้

ที่พิธีกรเป็นผู้หญิงนามสกุลจันทร์เสนะ (จำชื่อไม่ได้)

จำไม่ได้ว่ากี่โมงแต่หลัง 4 โมงค่ะ ลองเลื่อน ๆ เวลาดูนะคะ

อยากนั่ง

พยายามหาแล้วค่ะ แต่ไม่เจอเลยไม่แน่ใจว่าเป็นรายการท้องถิ่นที่ดูได้เฉพาะทีวีแถวบ้านเรารึป่าว อาจจะดูออนไลน์ไม่ได้

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู