ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แหล่งพระรามเมื่อวันวาน

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 08:10 น. 05 ต.ค 56

หม่องวิน มอไซ

ภาพเก่าจากหนังสือมรดกเมืองสงขลา มหาวชิราวุธ โดย เอนก นาวิกมูล - จรัส จันทร์พรหมรัตน์
คณะกรรมการชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ สงขลา พ.ศ. ๒๕๔๖ จัดพิมพ์
ISBN 974-91736-4-3

หม่องวิน มอไซ

ภาพเก่าจากหนังสือสมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ โดย เอนก นาวิกมูล
คณะกรรมการชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ สงขลา พ.ศ. ๒๕๓๖ จัดพิมพ์
ISBN 974-8361-66-7

หม่องวิน มอไซ

ภาพเก่าจากหนังสือเกาะสมุย-สงขลา-ระโนด-กระทุ่มแบน โดย เอนก นาวิกมูล
สำนักพิมพ์แสงดาว พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๕๖
ISBN 978-616-508-690-5


พี่แอ๊ด

ภาพแรกพอจะเป็นไปได้ไหมว่า เป็นบ้านพักตากอากาศ  ริมหาดสงขลา ก่อนจะสร้างเป็นโรงแรมสมิหลา?

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณครับพี่แอ๊ด ตอนแรกผมก็คิดว่าเป็นบ้านพักตากอากาศชายทะเลเช่นกันครับ ดูสวยคลาสสิก น่าอยู่มาก
แต่พอลองวิเคราะห์ดูแล้ว เป็นถนนแหล่งพระรามบริเวณหน้าสถานีตำรวจในปัจจุบันครับ
และอาคารคล้ายบ้านพักที่เห็น คือ กองบังคับการตำรวจภูธรครับ
เดี๋ยวจะค่อย ๆ แกะรอยกันดูนะครับ ว่าเป็นหน้าโรงพักจริงหรือไม่

พี่แอ๊ด

ขอบคุณคะ
เสียดายที่ภาพเก่า ๆ เหล่านี้ ไม่ได้บันทึกไว้ว่าเป็นสถานที่ใด
ปัจจุบันบ้านพักของส่วนราชการ จ.สงขลา  (ตรงข้ามสระบัว)
ไม่ค่อยเห็นภาพในอดีตเลย  แต่วันก่อนขับรถผ่านทุบทิ้งแล้ว
สร้างใหม่ลักษณะเป็นแฟลต  และในอดีตบ้านพักดังกล่าว
เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ทาสีฟ้า  คลาสิกมาก


หม่องวิน มอไซ

ขนาดที่ทำงานผมเอง เวลาทุบตึก ก่อสร้างอะไรใหม่ ก็ไม่ค่อยได้ถ่ายรูปไว้ครับ พอเวลาผ่านไปก็นึกเสียดาย

ย้อนเวลาไปตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านไป ๗๐ ปี สงขลาเปลี่ยนไปมาจนจำแทบไม่ได้ ถ้าไม่มีเขาตังกวน เกาะหนู เกาะแมว ทะเลสาบสงขลา ไว้ให้เป็นหลักยึด ก็อ่านภาพถ่ายเก่าได้ยากจริง ๆ ครับ

มาแกะรอยอ่านภาพกันครับ
ภาพที่ ๑ กับภาพที่ ๓ ถ่ายบริเวณใกล้เคียงกันแน่ ๆ ครับ แต่หันไปคนละทิศกัน
ภาพบนมองไปทางทิศใต้ ภาพล่าง มองไปทางทิศเหนือ

Bush

        ภาพล่างขอเดาว่า ยืนถ่ายประมาณว่าเลยทางขึ้นแพขนานยนต์ที่จะไปกำแพงเขื่อนต้นสนอ่อน

        ตอนวัยรุ่น ขี่มอไซค์ไปตกปลาตรงทางเดินริมเขื่อน (ขอเดาซักคน  ส.หยิบตาข้างเดียว)

        (ตอนเรียนหนังสือรุ่น ๆ จากสุราษฎร์แวะมาเยี่ยมพี่สาว พักอยู่บ้านพักครูโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่

        (วิทยาลัยสารพัดช่างปัจจุบัน) บ้านพักติดถนนแหล่งพระรามตรงหัวโค้งเลยครับ กลางคืนดึก ๆ นั่งอ่านหนังสือ

        เปิดหน้าต่าง ลมเย็นสบาย  สมัยนั้น รถไม่ค่อยมี)

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับคุณ Bush ที่แวะมาชมและแบ่งปันประสบการณ์ครับ  ส.ยกน้ิวให้

เพื่อหาตำแหน่งที่ตากล้องยืนถ่ายภาพ ผมใช้หลักเรขาคณิต วัดมุมที่กระทำกันระหว่างเส้นสองเส้นครับ
เส้นสีน้ำเงิน คือเส้นตรงที่ลากจากตากล้องไปยังหัวเขาแดง
เส้นสีเหลือง คือเส้นตรงที่ลากผ่านกึ่งกลางถนน

ใช้ไม้โปรแทรกเตอร์ วัดมุมได้ 74 องศาครับ ดังภาพ

หม่องวิน มอไซ

จากนั้นก็เข้าโปรแกรม Google Earth ลากเส้นจากท่าแพขนานยนต์ไปยังหัวเขาแดง และเส้นกึ่งกลางถนนแหล่งพระรามครับ

หม่องวิน มอไซ

เมื่อปรับภาพให้เป็นแนวราบ แล้ววัดมุม ปรากฏว่าได้ 94 องศาครับ
ซึ่งเป็นมุมป้านมากกว่าที่วัดได้ในภาพเก่า
ดังนั้น สถานที่ถ่ายภาพเก่า จะต้องอยู่ไกลไปทางทิศใต้ของท่าแพขนานยนต์นะครับ


หม่องวิน มอไซ

จากนั้นเมื่อลองวัดแบบเดียวกันที่หน้าวัดแหลมทราย เชิงเขาตังกวน ก็พบว่ามุมที่วัดได้ = 25 องศาเท่านั้น
ดังนั้น จุดที่ตากล้องถ่ายภาพ จะต้องอยู่เหนือวัดแหลมทราย แต่อยู่ใต้ท่าแพขนานยนต์นะครับ  ส.ยักคิ้ว


หม่องวิน มอไซ

จุดที่จะได้มุม 74 องศา อยู่ตรงไหน อาจจะสามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ โดยใช้วิชาแคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ครับ แต่เพื่อไม่ให้ยุ่งยากเกินความจำเป็น ก็จะใช้วิธีเลื่อนจุดไปเรื่อย ๆ จนได้มุมเท่ากันครับ

ซึ่งพบว่า บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา (ใกล้กับป้อมปืนปากน้ำแหลมทราย) เป็นจุดที่ได้มุมใกล้เคียง 74 องศาครับ  ส-ดีใจ


หม่องวิน มอไซ

นี่ครับ วัดมุมกันแบบบ้าน ๆ อย่างนี้แหละครับ  ส.หลกจริง


หม่องวิน มอไซ

ลองนำภาพเก่า มาเปรียบเทียบกับภาพจำลองใน Google Earth ก็สอดคล้องกันดีครับ

หม่องวิน มอไซ

ตากล้องยืนถ่ายภาพบริเวณนี้ครับ
http://bit.ly/1a3TB8U

สมัยนั้นถนนแหลมสนอ่อนยังไม่ได้สร้าง จึงยังเป็นโค้งขวาหักศอก ไม่ใช่สามแยกอย่างในปัจจุบันครับ


หม่องวิน มอไซ

ปี 2517 มีถนนแหลมสนอ่อนแล้ว แต่บริเวณริมทะเลสาบหน้าสถานีตำรวจภูธร ยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ครับ

หม่องวิน มอไซ

แต่่เมื่อย้อนอดีตไปถึงยุคสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นว่าบริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธร มีแนวต้นไม้ปลูกไว้ริมทะเลสาบ จนบังแนวถนนแหล่งพระรามไปเลยครับ
ภาพนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้พิสูจน์ได้อีกทางหนึ่งครับ ว่าภาพเก่านั้นถ่ายที่หน้าสถานีตำรวจจริง ๆ  ส-ดีใจ

น่าเสียดายที่ภาพถ่ายบริเวณนี้ ลบเลือนหลุดลอกไปมากแล้ว แต่ก็เห็นแนวป้อมปากน้ำแหลมทรายด้วยครับ


Bush

                               ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้


       เทียบจากสมัยเก่า เทียบกล้อง ไม่น่าจะมีการซูม

       ถ้าถ่ายจากหน้าสถานีตำรวจ ไกลเกินไปไม๊ครับ (ถ้าไม่มีการซูม) เพราะภาพที่ปรากฎ มุมตก

       น่าจะอยู่ไม่ไกล   (เดาเอาแค่ไม่มีกล้องที่ซูมได้ ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ)  ถ้าถ่ายจากหน้า สภ. ภาพน่าจะ

       กว้างกว่านี้ครับ

        จากภาพ


       [attach=1]


        ถ้าไม่มีการซูม ถ้าถ่ายลึกไปกว่านี้   น่าจะกว้างกว่านี้ไม๊ครับ เทียบระยะทาง


       [attach=2]

        และจากภาพขาวดำ  มุมถ่าย ค่อนข้างฟิกซ์ed  ไม่ไกลเลยครับ


        [attach=3]

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณคุณ Bush อีกครั้งครับ ที่ช่วยตั้งข้อสังเกตและวิเคราะห์ครับ

ดูระยะห่างระหว่างต้นไม้แต่ละต้นแล้ว ไม่มีการใช้เลนส์ซูมแน่ ๆ อย่างที่คุณ Bush ว่าครับ
ที่ดูแปลกตาคือ ดูเหมือนว่ามุมภาพจะแคบ และหัวเขาแดงดูใกล้ไปหน่อย ถ้าถ่ายจากหน้าสถานีตำรวจใช่ไหมครับ

ยิ่งในภาพ ไม่มีอะไร out of focus เลย ชัดลึกตั้งแต่ต้นไม้ที่ใกล้ที่สุด ไปจนถึงหัวเขาแดง แสดงว่าไม่ซูมแน่ ๆ

มาคิดดูอีกที กล้องสมัยก่อน เลนส์จะใช้ความยาวโฟกัสประมาณ 50 mm ครับ เหมาะสำหรับถ่ายภาพคน โดยที่วิวก็ไม่ไกลเกินไป มุมภาพประมาณ 45 องศาครับ

การคำนวณหามุมกว้างของภาพ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
http://paulbourke.net/miscellaneous/lens/
และ
http://kmp.bdimitrov.de/technology/fov.html

ไว้ถ้ามีโอกาส จะลองไปยืนริมทะเลสาบสงขลา แถวหน้าสถานีตำรวจ แล้วถ่ายรูปดูเพื่อพิสูจน์ครับ  ส.อืม

หม่องวิน มอไซ

ชมภาพนี้ไปพลางก่อนนะครับ เป็นภาพถ่ายทางอากาศโดยคุณณัฏฐ์ กาญจนโชติ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ครับ

หม่องวิน มอไซ

ไหน ๆ คุณ Bush ช่วยจุดประเด็นเรื่อง มุมกว้างของภาพถ่าย (Field of View = FOV) มาแล้ว ซึ่งน่าสนใจมาก
ลองมาคำนวณกันจริง ๆ จัง ๆ ดูดีกว่า ว่ามุมกว้างของภาพถ่ายของกล้องสมัยนั้น เป็นสักเท่าไหร่กันแน่

สำหรับกล้องถ่ายรูปที่นิยมใช้กันอย่างมากในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง คือ กล้องโกดักรุ่น No. 3A Folding Pocket Kodak ครับ หน้าตาเป็นแบบนี้


ที่มา: http://camerapedia.wikia.com/wiki/No._3A_Folding_Pocket_Kodak