ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ ก่อนเป็นตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับ

เริ่มโดย หมอพิชญานนท์ (Dr.Pop), 09:51 น. 05 ต.ค 56

หมอพิชญานนท์ (Dr.Pop)

          ไวรัสตับอักเสบบี คือ โรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสบี แต่ถ้าหากเกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่น ๆ เช่น ไวรัส เอ ไวรัส ซี ก็จะเรียกชื่อต่าง ๆ กันไป แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ไวรัสตับอักเสบบี เป็นตัวที่อันตรายและรุนแรงมากที่สุด เพราะเชื้อไวรัสจะซ่อนตัวอยู่ในคนก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งตับ ตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็งได้

การระบาดของไวรัสตับอักเสบบีในประเทศไทย


          ในประเทศไทยพบผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีมานานแล้ว และพบค่อนข้างมาก โดยใน 100 คน จะพบคนที่เป็นพาหะ ไวรัสตับอักเสบบี อยู่ประมาณ 8-10 คน ซึ่งคนที่เป็นพาหะนั้น ไม่ได้เป็นโรค ไม่มีอาการป่วยไวรัสตับอักเสบบี เพียงแต่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกายนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่น ซึ่งสามารถตรวจเลือดพิสูจน์ได้ว่า เป็นพาหะหรือไม่



การติดต่อของไวรัสตับอักเสบบี

          เชื้อไวรัสตับอักเสบบีนี้จะพบในเลือดมากที่สุด รองลงมาพบในน้ำลาย น้ำตา น้ำอสุจิ น้ำเมือกในช่องคลอด น้ำดี และน้ำนมของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ และสามารถติดต่อกันได้ผ่านช่องทางเดียวกับการติดต่อโรคเอดส์ คือ

1. ทางเพศสัมพันธ์
          ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ปกติ หรือแบบรักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จึงถือว่า โรคไวรัสตับอักเสบบี จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง

2. ทางเลือดและน้ำเหลือง
          เช่น การถ่ายเลือด หรือการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ซึ่งเลือดทุกขวดที่จะถ่ายไปสู่ผู้อื่น หรือที่ได้รับการบริจาคมา ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเสียก่อน

3. การใช้สิ่งของร่วมกัน
          เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหูที่ไม่สะอาด การใช้มีดโกน มีดตัดเล็บ หรือ แปรงสีฟัน ร่วมกัน

4. จากแม่สู่ลูก
          แม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะกำลังคลอด โดยหากแม่มีเชื้อนี้อยู่ ลูกมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อด้วยถึง 90% และส่งผลอันตรายต่อทารก

5. ทางบาดแผล ผิวหนัง
          หากผู้มีเชื้อมีบาดแผลถลอก ก็อาจทำให้เกิดการติดต่อได้เช่นกัน

          อย่างไรก็ตาม ไวรัสตับอักเสบบี นี้ไม่ติดต่อกันผ่านทางการสัมผัสทางผิวหนัง กอด จูบ การมองหน้า ไอจามรดกัน รวมทั้งการทานอาหารและน้ำ แต่เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน หากเราไม่แน่ใจก็ควรใช้ช้อนกลาง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากน้ำลายของผู้ที่เป็นพาหะ

กลุ่มเสี่ยงติดไวรัสตับอักเสบบี

          เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อผ่านทางของเหลวของร่างกายผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะได้ ดังนั้น บุคคลดังต่อไปนี้จึงมีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อ

          1. คนที่ใช้ยาเสพติด ฉีดเข้าหลอดเลือด
          2. ชายรักร่วมเพศ
          3. ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
          4. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
          5. คนที่เกิดในถิ่นที่มีการระบาดสูง
          6. เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ
          7. บุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

          ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี มักไม่มีอาการป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก โดยผู้ป่วยจะมีอาการเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีไข้ต่ำ ๆ ในวันแรก ๆ มีอาการจุกแน่นท้อง ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง มีปัสสาวะสีเข้ม อาการเหมือนดีซ่าน เป็นอยู่ 2-3 สัปดาห์หรือเป็นเดือน แล้วจะหายเป็นปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่อาจทำให้ตับเสีย มีอาการเพ้อคลั่ง ซึม มีน้ำในท้อง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

          ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ คือ 30 - 180 วัน โดยเฉลี่ยคือ 60 - 90 วัน โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับเชื้อร้อยละ 90 จะสามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ และหายเป็นปกติ พร้อมกับสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้ตลอดชีวิต ซึ่งเราสามารถตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบว่ามีภูมิต้านทานโรคไวรัสตับอักเสบหรือไม่ได้

การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
สำหรับคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถป้องกันได้โดย
          หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ร่วมกันคนไข้ หรือคนที่เป็นพาหะ
          หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือด น้ำเลือด น้ำลาย ของคนไข้ หรือคนที่เป็นพาหะ
          ตรวจสอบความสะอาดของอุปกรณ์ เช่น เข็มฉีดยา เข็มสำหรับเจาะหู การฝังเข็ม ว่าเป็นของใหม่ หรือผ่านการฆ่าเชื้อโรคมาแล้วเป็นอย่างดี
          รักษาสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งการเลือกรับประทานอาหาร และน้ำด้วย
          ใช้ช้อนกลาง ในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
          ไม่ส่ำส่อนทางเพศ และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
          ฉีดวัคซีน เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบ

การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

          วัคซีนป้องกัน ไวรัสตับเสบบี มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้ที่จะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ต้องตรวจเลือดก่อนว่าเคยได้รับเชื้อหรือไม่ เพราะผู้ที่เคยได้รับเชื้อและหายขาด จะทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อสู้โรคนี้ไปตลอดชีวิต หรือหากใครที่เป็นพาหะแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีก เพราะจะไม่สามารถช่วยทำให้เชื้อหมดไปจากร่างกายได้ โดยการตรวจเลือด จะตรวจกันอยู่ 3 อย่างคือ

          1. ตรวจ HBs Ag หรือตรวจการติดเชื้อ หรือเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี
          2. ตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ HBs Ab หรือ anti HBs
          3. ตรวจภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสตับอักเสบบี หรือเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน ได้แก่ HBc Ab หรือ anti HBcซึ่ง ถ้าพบตัวใดตัวหนึ่งเป็นบวก (Positive) ก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่หากเป็นลบ (Negative) ทั้งหมด ก็สามารถฉีดวัคซีนได้



          ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด และควรฉีดเมื่ออายุยังน้อย ๆ เพื่อป้องกันก่อนได้รับเชื้อ

Ref. http://health.kapook.com/view12806.html
คลินิกหมอพิชญานนท์ แพทย์เฉพาะทาง รพ.ม.อ. (สามแยกคลองเรียน อ.หาดใหญ่) แผนที่ https://goo.gl/wp5jbc
โรคทั่วไป โรคเรื้อรัง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เบาหวาน ความดัน ไขมัน เก๊าท์ ฉีดยา เจาะเลือด ยาคุม ใบรับรองแพทย์สุขภาพ
กระเพาะ กรดไหลย้อน ผื่นแพ้ ลมพิษ เชื้อรา ซึมเศร้า แพนิค โทร. 080-488-9555 Line@ : @Pitchayanont
Facebook : http://www.facebook.com/pitchayanontclinic Website : http://www.pitchayanont.com

หมอพิชญานนท์ (Dr.Pop)

คลินิกหมอพิชญานนท์ แพทย์เฉพาะทาง รพ.ม.อ. (สามแยกคลองเรียน อ.หาดใหญ่) แผนที่ https://goo.gl/wp5jbc
โรคทั่วไป โรคเรื้อรัง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เบาหวาน ความดัน ไขมัน เก๊าท์ ฉีดยา เจาะเลือด ยาคุม ใบรับรองแพทย์สุขภาพ
กระเพาะ กรดไหลย้อน ผื่นแพ้ ลมพิษ เชื้อรา ซึมเศร้า แพนิค โทร. 080-488-9555 Line@ : @Pitchayanont
Facebook : http://www.facebook.com/pitchayanontclinic Website : http://www.pitchayanont.com