ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ขายหญ้าจักรพรรดิ์ หญ้าเนเปียร์ปากช่อง และ ไผ่ตงลืมแล้ง ที่ สวนไผ่รัตภูมิสมุนไพร

เริ่มโดย guitar, 18:18 น. 28 พ.ย 56

guitar

ส่งท่อนพันธ์หญ้าจักพรรดิ์ไปหนองคายแล้วคะโดย บ.นิ่มฯ รับของวันพฤหัสคะ
ขอบคุณคะ ส.โทร

guitar


guitar


guitar

รับorderท่อนพันธ์หญ้าส่งอุตรดิตถ์คะ

จัดส่งให้วันจันทร์นี้คะ จำนวน 500 ท่อน แถม 150 ท่อน

ขอบคุณคะ ส-ดีใจ

guitar

ท่อนพันธ์หญ้าเตรียมส่งอุตรดิตถ์ วันจันทร์นี้ ส.หลกจริง

..... ท่อนพันธ์หญ้าจักรพรรดิ์ .......

guitar

ท่อนพันธ์หญ้าเตรียมส่งอุตรดิตถ์ วันจันทร์นี้ ส.หลกจริง

..... ท่อนพันธ์หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1  .......

guitar

รับorder หญ้าจักรพรรดิ์ 700 ท่อน แถมหญ้าเนเปียร์ ปากช่อง 1

รับสินค้าวันจันทร์ ที่ไปรษณีย์หาดใหญ่

ขอบคุณคะ  ส-ดีใจ

guitar


guitar

กาละมังนี้คือ หญ้าแถม ท่อนหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 คะ

guitar

นำท่อนหญ้าแช่ เพื่อเร่งราก และนำจัดส่งในวันจันทร์นี้คะ


guitar


guitar

http://www.youtube.com/watch?v=9631xr19Ga8

หัวข้อเรื่อง "เนเปียร์ปากช่อง 1 ปี ร้อยตันต่อไร่ทำได้จริงหรือ" โดย ดร.ไกรลาศ เขียวทอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา ในวันที่ 9 มกราคม 2557

http://www.youtube.com/watch?v=bkW1vxnSGRE

guitar


guitar


guitar


guitar


guitar


guitar


guitar


guitar

การเลี้ยงปลาโดยใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ทดแทนอาหารส าเร็จรูป
(ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ รายงาน)
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าในปัจจุบันเกษตรกรมีปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูง ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหารปลา
ประมาณ 60 % ส่วนที่เหลือจะเป็นค่าพันธุ์ปลา และค่าบริหารจัดการ
ปัญหาหลักๆ ของเกษตรกรเรื่องการเลี้ยงปลา
1. ขาดเงินทุนหมุนเวียน เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนที่จะน ามาซื้ออาหารปลา
2. ราคาสินค้าสัตว์น้ าไม่คงที่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีผลกระทบท าให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ ารายย่อยประสบปัญหาขาดทุน
จากปัญหาดังกล่าว กรมประมง โดยส านักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้น าเอาแนวทางในการเลี้ยงสัตว์น้ าแบบลด
ต้นทุน โดยหาวิธีลดต้นทุนอาหารปลาซึ่งเป็นต้นทุนหลักที่ใช้ในการเลี้ยงปลาโดยการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง ๑ มาทดแทน
อาหารเม็ดในการลี้ยงปลา
ข้อดี
1. หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 มีคุณค่าทางอาหารสูงสัตว์ชอบกิน
2. มีโปรตีนหยาบประมาณ ๑๐-๑๒ %
3. ไม่มีปัญหาเรื่องสารตกค้างในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าสามารถน้ าไปใช้เลี้ยงปลาได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง
4. สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนหยาบส าหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า
5. ใช้เป็นพืชบ าบัดน้ าเสียและเปลี่ยนน้ าเสียให้เป็นพืชอาหารสัตว์น้ า
6. ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน
7. ก่อให้เกิดการพัฒนาเชิงบูรณาการและเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร
ข้อดีการเลี้ยงปลากินพืชแบบผสมผสาน
๑) มีปลาหลายชนิดเลือกบริโภคและจ าหน่ายได้
๒) มีการใช้ประโยชน์จากอาหารภายในบ่อเลี้ยงเต็มที่ เป็นการลดต้นทุนการผลิต
๓) ลดความเสี่ยงในเรื่องราคาสัตว์น้ าไม่คงที่
๔) ใช้พื้นที่บ่อได้เต็มศักยภาพการผลิต
๕) สามารถใช้อาหารแบบพื้นบ้านและอาหารจากพืชในท้องถิ่นมาประยุกต์และแปรรูปเป็นอาหารสัตว์น้ าได้
๖) ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ ารายย่อยสามารถใช้ประกอบเป็นอาชีพได้เพาะต้นทุนต่ า
๗) เพิ่มรายได้และขยายโอกาสในการประกอบอาชีพ
  ๒

ข้อมูลการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานโดยใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ทดแทนอาหารส าเร็จรูป
1. ขนาดบ่อเลี้ยง
พื้นที่บ่อเลี้ยงมีขนาดประมาณ 2-5 ไร่ น้ าลึกประมาณ ๑.๕ เมตร
2. ชนิดปลาที่เลี้ยง
ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาจาระเม็ด ปลาสวาย ปลาจีน และปลาสลิด
3. อัตราการปล่อย
ปลานิลและปลาตะเพียนขาวปล่อยในอัตรา ๓,๐๐๐ ตัว/ไร่ ส่วน ปลาจึน ปลาสวาย ปลาจะละเม็ดน้ าจืด ปล่อย
สมทบ ในอัตรา 10-15 ตัว/ไร่
4. การให้อาหาร
ระยะแรกให้ร าละเอียด เพื่อท าน้ าเขียวและสร้างอาหารธรรมชาติ จนปลามีอายุประมาณ 3 เดือน เริ่มสับ
หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ใช้เป็นอาหาร ในอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่
5. ระยะเวลาการเลี้ยง
ระยะเวลาการเลี้ยง เลี้ยงเป็นปลาปี คือ เลี้ยงจนปลามีอายุ ได้ 12 เดือนแล้วเริ่มทยอยจับขายในช่วงที่ราคาปลาสูง
เป็นที่น่าพอใจ
6. ผลผลิต
ผลผลิตรวมอยู่ที่ 2-3 ตัน/ ไร่ ราคาจ าหน่ายปากบ่ออยู่ที่อัตรา 35-40 บาท/กก. รายได้เฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ประมาณ
70,000-100,000 บาท/ไร่ หรือประมาณ 5,800 - 8,300 บาท/ไร่/เดือน
7. ต้นทุนการผลิต
7.1 มีค่าปลูกหญ้าเนเปียร์ 3,950 บาท/ไร่ (ปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 จ านวน 1 ไร่ สามารถใช้เลี้ยงปลาได้
ประมาณ 15 ไร่)
7.2 ค่าพันธุ์ปลา 2,500 บาท/ไร่
7.3 ค่าอาหารสมทบอื่นๆ 2,000 (ค่าปุ๋ยคอก)
7.4 ค่าแรงงาน ไม่มีใช้แรงงานคนในครัวเรือน
7.5 ต้นทุนรวมประมาณ ไม่เกิน 10,000 บาท/ไร่


  ๓


ข้อมูลการเลี้ยงปลาสลิดโดยใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1
1. ขนาดบ่อเลี้ยง
พื้นที่บ่อเลี้ยงมีขนาดประมาณ 2-5 ไร่ น้ าลึกประมาณ ๑ เมตร
2. ชนิดปลาที่เลี้ยง
ปลาสลิด
3. อัตราการปล่อย
อัตรา 10,๐๐๐ ตัว/ไร่
4. การให้อาหาร
ระยะแรกให้ท าน้ าเขียวและสร้างอาหารธรรมชาติ โดยใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ตากแห้ง 1-2/วัน น าไปหมัก
ตามมุมบ่อ ค่อยๆเติมหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ตากแห้ง โดยการสังเกตสีน้ า และสังเกตอาหารธรรมชาติในบ่อ
5. ระยะเวลาการเลี้ยง
ระยะเวลาการเลี้ยง เลี้ยงเป็นปลาปี คือ เลี้ยงจนปลามีอายุ ได้ 12 เดือนแล้วเริ่มทยอยจับขายในช่วงที่ราคาปลาสูง
เป็นที่น่าพอใจ
6. ผลผลิต
ผลผลิตรวมอยู่ที่ 800-900 กก./ ไร่ ราคาจ าหน่ายปากบ่ออยู่ที่อัตรา 65 บาท/กก. รายได้เฉลี่ยต่อปี อยู่ที่
ประมาณ 50,000-60,000 บาท/ไร่ หรือประมาณ 4,000 – 5,000 บาท/ไร่/เดือน
7. ต้นทุนการผลิต
7.1 มีค่าปลูกหญ้าเนเปียร์ 3,950 บาท/ไร่ (หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 จ านวน 1 ไร่ สามารถใช้เลี้ยงปลาได้
ประมาณ 15 ไร่)
7.2 ค่าพันธุ์ปลา 800 บาท/ไร่ ลูกปลาใบมะขามตัวละ 8 สตางค์
7.3 ค่าอาหารสมทบอื่นๆ 2,000 (ค่าปุ๋ยคอก)
7.4 ค่าแรงงาน ไม่มีใช้แรงงานคนในครัวเรือน
7.5 ต้นทุนรวมประมาณ ไม่เกิน 8,000 บาท/ไร่

guitar

มหัศจรรย์หญ้าเนเปียร์ อาหารหมูต้นทุนต่ำ   
แม้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 จะเป็นที่นิยมของผู้เลี้ยงแพะแกะวัวควายทั้งหลายแล้วก็ตาม แต่วันนี้ เนเปียร์ปากช่อง 1 ได้อัพเกรดประโยชน์ไปอีกขั้น... เป็นอาหารเลี้ยงหมู ได้อีกด้วย
"ที่ผ่านมาเกษตรเลี้ยงสุกรต้องขาดทุน มีกำไรน้อย สาเหตุสำคัญมาจากค่าอาหารข้นสูงมาก โดยมีสัดส่วนเป็นต้นทุนสูงถึง 70-75% ถ้าเราสามารถหาอาหารอย่างอื่น ราคาถูกและเกษตรกรทำเองได้มาทดแทน จะช่วยให้เกษตรเลี้ยงหมูลืมตาอ้าปากได้ ไม่ต้องมาก ลดค่าอาหารได้สัก 400-500 บาทต่อตัว ชาวบ้านแฮปปี้แล้ว หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นตัวหนึ่งที่เรามองเพราะ มีโปรตีน 10-12%
นับว่าสูงมากในบรรดาพืชอาหารสัตว์ด้วยกัน และการเลี้ยงหมูสมัยก่อน ชาวบ้านก็เก็บเกี่ยวผักหญ้ามาให้หมูได้กินตลอด หมูก็โตได้ดี เพียงแต่สมัยนี้เกษตรกรลืมไปหมดแต่ซื้ออาหารอย่างเดียว ยิ่งเราเห็นเกษตรกรเลี้ยงโคนมมีการนำหญ้าเนเปียร์มา หมัก วัวก็กินได้ดีกว่าหญ้าสดเสียอีก ถ้านำเนเปียร์หมักที่มีจุลินทรีย์มาช่วยย่อย หมูก็น่าจะกินได้เหมือนกัน"
วิชัย ทิพย์วงค์ ผอ. ศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ นครราชสีมา เล่าถึงที่มาของ การทดลองนำหญ้าเนเปียร์ หมัก ราคา กก.ละ 1.50บาท มาใช้เลี้ยงหมู แทนอาหารข้นราคา กก.ละ 14-15 บาท ซึ่งได้เริ่มขึ้นเมื่อกลางปี 2556 ใน 4 พื้นที่...อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์, อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย, อ.สีคิ้ว และ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โดยแบ่งการทดลองเลี้ยงเป็น 2 แบบ คือ ใช้อาหารข้นผสมหญ้าเนเปียร์หมัก 10% กับ ผสมหญ้าเนเปียร์หมัก 20% เปรียบเทียบกับการเลี้ยงด้วยอาหารข้นอย่างเดียว
ผลการทดลอง นายกมล ฉวีวรรณ์ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ เผยว่า การเลี้ยง 118 วัน ด้วยการให้อาหารข้นผสมหญ้าเนเปียร์หมัก 10% ช่วยให้หมูเติบโตได้ดีมีน้ำหนักตอนจับขายที่ 110 กก. ขณะที่เลี้ยงด้วยอาหารข้นอย่างเดียวมีน้ำหนักแค่ 106 กก.
ช่วยลดต้นทุนค่าอาหารข้นไปได้ตัวละ 465 บาท และทำให้รายได้จากการขายหมูที่มีน้ำหนักเพิ่มอีกตัวละ 264บาท... รวมแล้วช่วยให้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นตัวละ 729 บาท
ส่วนการเลี้ยงด้วยอาหารข้นผสมหญ้าเนเปียร์หมัก 20% ตลอดการเลี้ยง 95 วัน...หมูที่เลี้ยงด้วยอาหารข้นอย่างเดียวมีน้ำหนัก 96 กก. ส่วนเลี้ยงด้วยหญ้าเนเปียร์ 20% มีน้ำหนักแค่ 92 กก.
แต่เมื่อนำต้นทุนค่าอาหารข้นที่ลดลง มาหักลบด้วยรายได้จากการขายหมูน้ำหนักที่น้อยลง...ก็ยังช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงตัวละ 593 บาท
และเมื่อนำหมูมาชำแหละเปรียบเทียบปริมาณเนื้อแดง ยังพบว่า การเลี้ยงด้วยอาหารข้นอย่างเดียว กับผสมหญ้าเนเปียร์ มีปริมาณเนื้อแดงไม่ต่างกัน
ที่สำคัญ หมูที่กินอาหารผสมหญ้าเนเปียร์อาการเจ็บป่วยไม่สบายจะน้อยกว่ากินอย่างข้นอย่างเดียว ของเสียที่ถูกขับออกมาไม่ว่าจะเป็นปัสสาวะ หรือมูล ยังมีกลิ่นเหม็นน้อยกว่ากินอาหารข้นเพียวๆ อีกด้วย.