ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พระพุทธเจ้าท่านสอน ท่านสวดมนต์ด้วยภาษาใด

เริ่มโดย กิมหยง, 09:34 น. 24 มิ.ย 54

กิมหยง

มีข้อสงสัยในเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรืองภาษาที่ท่านใช้สอนหรือเผยแพร่พระธรรม
ในบทสวดต่าง ๆ รวมถึงคำสอนของพระพุทธองค์ เห็นเป็นภาษาบาลี

อาทิเช่น

อะยัง โข เม กาโย อุทธัง ปาทะตาลา อะโธ เกสะมัตถะกา ตะจะปะริยันโต ปูโร นานัปปะการัสสะ อุสุจิโน

แปลเป็นภาษาที่เราใช้กันอยู่ได้ดังนี้

กายของเรานี้แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด


ก็ถามต่อไปว่าพุทธองค์ใช้ภาษาใดในการแผยแพร่หลักธรรมคำสั่งสอน
ท่านใช้ภาษาท้องถิ่นระแวกนั้น  หรือเป็นภาษาที่บัญญัติขึ้นมาใหม่
แล้วเมื่อท่านเสด็จไปเผยแพร่ ณ เขตอื่นที่ใช้ภาษาอื่น  ท่านใช้ภาษาอะไรในการสื่อสาร

เราควรจดจำพระธรรมในรูปแบบภาษาอื่น
หรือจดจำท่องจำในภาษาปรกติที่เราใช้อยู่ทุกวัน

จะบาปไหมครับ ที่สงสัยในเรื่องราวเหล่านี้

ขอท่านผู้รู้ ผู้เจริญแล้วให้ความคิดเห็นด้วยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

ผ่านมาอีก

ไม่น่าจะบาปนะ เพราะไม่เห็นเหตุที่จะเป็นบาป
แต่ความเห็นส่วนตัวเห็นว่าท่านจะเผยแพร่เป็นภาษาอะไรคงไม่ใช่แก่นสาร แก่นสารอยู่ที่คนที่ฟังภาษาออกได้นำไปขบคิดหรือแค่ท่องบ่นเป็นคาถาไว้ ถ้าเป็นประการหลังต่อให้ฟังออกก็ไม่เข้าใจในธรรม ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เมื่อไม่เข้าใจในธรรมอย่างแท้จริง หลักธรรมก็ไม่สามารถส่งต่อไปได้อย่างถูกต้อง เหมือนที่กำลังเกิดขึ้นทุกวันนี้

กิมหยง

นั้นแหละท่าน

ตั้งแต่เด็กๆ สวดมนต์หน้าเสาธงทุกวัน

ถึงตอนนี้ ยังไม่รู้เลยครับ ว่าสวดไปทำไม คำสวดนั้นแปลว่าอะไร
แล้วจุดมุ่งหมายของการสวดนั้นคืออะไร มีคำสอนอย่างอย่างไร

ที่สวดนั้นเป็นคาถา คำศักดิ์สิทธิ์
หรือเป็นเพียงแค่คำพูด คำสอนที่เป็นภาษาถิ่นช่วงที่พระพุทธเจ้า
กำลังเผยแพร่คำสั่งสอนอยู่หรือเปล่าครับ

เราควรจำคำสอนที่เป็นแก่นสาร
หรือจำเพียงแค่ คำสวดภาษาต่างประเทศ
สร้าง & ฟื้นฟู

อุ่นจัง

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
(พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว. )
(กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ.
(พระธรรมเป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า.)
(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ.
(พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ต่อพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.)
(กราบ)
นี่คือบทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย ขั้นพื้นฐาน ที่ตอนเด็ก เป็นนักเรียนสวดมนต์หน้าเสาธง
การไม่รู้ว่าสวดไปทำไม แปลว่าอะไร สวดเพื่ออะไร ศักดิ์สิทธิมั้ย แล้วพระพุทธเจ้า สอนเป็นภาษาอะไร ควรจำแก่นสารหรือจำแค่สวดภาษาต่างประเทศนั่น หรือจะอะไรก็ดี  ไม่สำคัญเท่าเราได้มีสติรู้  ว่ากำลังทำอะไรอยู่ การสวดมนต์ข้างต้นก็เพื่อรำลึกถึงองค์พระรัตนตรัย อันมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ คือเป็นที่พึ่งทางจิตใจ การที่เราเป็นคนพุทธ อย่างน้อยก็ควรศึกษาธรรมในเบื้องต้น เช่น รู้ศีล 5 การเป็นคนดี ในศาสนาพุทธ ต้องทำอย่างไร เป็นต้น ธรรมะ คือธรรมชาติ พระพุทธเจ้าสอนให้เรามีเหตุมีผล (หลักกาลามสูตร) เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม อย่างมงาย อย่างไรก็แล้วแต่ผู้ไม่รู้ย่อมไม่ผิด จะบาปหรือไม่บาป อยู่ที่ใจท่านคิด หลักในพุทธศาสนามีมากมาย แต่ถ้าเรารู้ว่าพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้คืออริยสัจสี่  เราก็จะนำไปปฏิบัติใช้กับชีวิตประจำวันเราได้เป็นอย่างดี  การถือศีล สวดมนต์ ปฏิบัติสมาธิ เป็นประจำ ก็เป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ  สะสมบุญบารมี บางท่านปฏิบัติธรรม อธิษฐานบารมี ตั้งจิตตั้งใจ เพื่อบรรลุสู่ นิพพาน สุดท้ายในการปฺฎิบัติธรรมขอให้ท่านเพียงอย่าสงสัยในสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ เป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดแล้ว และเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ทั้งปวง 
แด่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

กิมหยง

อืม แล้วระหว่างเราอ่าน เราเผยแพร่หลักธรรมคำสอนเป็นภาษาไทย
กับเผยแพร่เป็นภาษาบาลี อย่าไหน จะทำให้เรามีสติมากกว่ากันเนี๊ย

พระพุทธเจ้าท่านได้เผยแพร่ตามภาษาถิ่นระแวกนั้น
หรือท่านเผยแพร่ บัญญัติขึ้นมาเป็นภาษาใหม่

เราควรท่องจำเป็นภาษาอื่น
หรือท่องจำเป็นภาษาที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน กันดีละครับ

อย่างเช่นถ้าบทกรวดน้ำ
ถ้าเรา สวดเป็นบทภาษาบาลี
กับสวดเป็นบทภาษาไทยที่แปลแล้ว
จะได้บุญเท่ากันหรือไม่ครับ

ดูเหมือนพระองค์ท่านจะใช้ภาษาธรรมดาเรียบง่าย ในการเผยแพร่หลักธรรม
แต่เรากลับต้องไปนึกจำอีกภาษา แทนที่จะแปลทุกสิ่งทุกอย่างเป็นภาษาเราเลย

สร้าง & ฟื้นฟู

ชาวพุทธ

  ภาษามคธ หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ภาษาบาลี เป็นภาษาที่พระพุทธองค์ใช้ตรัสแสดงธรรม ความเข้าใจในภาษานี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธดำรัสในพระไตรปิฎกมีความละเอียดลึกซึ้งโดยรูปศัพท์และความหมาย ผู้รู้หลักภาษาอย่างถ่องแท้ จึงจะสามารถเข้าใจเนื้อความที่เป็นพุทธาธิบายได้อย่างชัดเจน เช่นกับนักกฎหมายที่พิเคราะห์กฎหมายได้ละเอียดถูกต้องกว่าคนทั่วไป
         เมื่อพระบรมศาสดาได้ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษาที่พระองค์ตรัสเทศน์โปรดเวไนยสัตว์ได้ทรงใช้ภาษามคธเผยแผ่พระสัทธรรมคำสอนของพระองค์ เพราะเป็นภาษาที่เป็นระเบียบแบบแผนไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนภาษาสันสกฤตที่มีใช้ในยุคนั้น ทั้งเป็นภาษาที่ชาวมคธทั่วไปใช้ติดต่อสื่อสารกันอยู่แล้ว ดังนั้น ภาษามคธจึงได้รับการยกย่องไว้ ๔ ฐานะ คือ
          ๑. สัมพุทธโวหารภาสา  คือ ภาษาอันเป็นโวหารของพระพุทธเจ้า
          ๒. อริยโวหารภาสา คือ ภาษาอันเป็นโวหารของพระอริยะ
          ๓. ยถาภุจจพรหมโวหารภาสา คือ ภาษาบันทึกสภาวธรรม
           ๔. ปาลิภาสา (ภาษาบาลี) คือ ภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์
           อีกนัยหนึ่ง นักไวยากรณ์ทั้งหลายมีความเชื่อว่า ภาษามคธเป็นสภาวนิรุตติ หมายความว่า เป็นภาษาธรรมชาติและเป็นมูลภาษา คือเป็นภาษาที่มนุษย์ยุคแรกใช้พูดกัน ดังมีคำที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ปทรูปสิทธิที่รจนาโดยพระพุทธัปปิยะว่า
         สา  มาคธี  มูลภาสา  นรา  ยายาทิกปฺปิกา
         พฺรหฺมาโน  จสฺสุตาลาปา สมฺพุทฺธา  จาปิ  ภาสเร.
         ภาษามาคธีเป็นภาษาดั้งเดิมที่ใช้พูดกันโดยมนุษย์ต้นกัปป์ พวกพรหม พระพุทธเจ้า และบุคคลผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินคำพูดจากบุคคลอื่น.

          ในคัมภีร์สัททนีติสุตตมาลา ที่รจนาโดยพระอัคควังสเถระ ชาวเมืองอริมัททนะ หรือพุกามในปัจจุบัน เมื่อราวพุทธศักราช ๑๗๗๗ - ๑๗๙๓  ได้กล่าวไว้ว่า
           ธมฺโม  ชิเนน  มาคเธน  วินา  น  วุตฺโต
           เนรุตฺติกา  จ  มาคธํ  วิภชนฺติ  ตสฺมาติ.
           พระชินเจ้าไม่ทรงแสดงธรรมด้วยภาษาอื่นนอกจากภาษามคธ  นักไวยากรณ์จึงแจกแจงภาษามคธ ดังนั้น (ผู้มีปัญญาพึงกระทำความเอื้อเฟื้อในไวยากรณ์นี้ โดยดำริว่า ไวยากรณ์นั่นเทียว เป็นอุปการะเกื้อกูลต่อพระดำรัสของพระมหามุนี)
            ปัจจุบันนี้ นิยมใช้คำว่า "ภาษาบาลี" แทนคำว่า  "ภาษามคธ" และในฐานะที่ภาษาบาลีเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธพจน์ ดังนั้น จึงมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธพจน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม หรือคัมภีร์รองๆ ลงมา เช่น อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา เป็นต้น ล้วนได้รับการบันทึกด้วยภาษาบาลีหรือภาษามคธทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ที่จะศึกษาบาลีพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา เป็นต้น จำเป็นต้องศึกษาหลักภาษาบาลีให้เข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยเข้าไปศึกษาบาลีพระไตรปิฎก เป็นต้น
              ในครั้งพุทธกาล ยังไม่มีไวยากรณ์แต่อย่างใด สำหรับภาษาที่พระองค์ทรงใช้ตรัสสอนหรือแสดงธรรม ก็เป็นภาษามคธหรือที่เรียกกันว่าภาษาบาลีในปัจจุบันนี้ เมื่อถูกนำมาใช้เป็นภาษาที่บันทึกพระพุทธพจน์ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้านั้น ส่วนมากก็มาจากพราหมณ์ที่สำเร็จไตรเพท รู้สันสกฤตเป็นอย่างดีแล้วทั้งสิ้น เมื่อท่านเหล่านี้เข้ามาอยู่ในพระพุทธศาสนา ท่านมีความรู้แตกฉานเชี่ยวชาญกลุ่มคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เป็นต้น จึงแต่งหลักภาษาหรือไวยากรณ์ขึ้น ดังนั้น ไวยากรณ์จึงมีความเกี่ยวข้องกับภาษาบาลี และภาษาบาลีมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธพจน์ (พระธรรมวินัย) ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของพระบรมศาสดา พระพุทธพจน์ก็คือ พระไตรปิฎก  พระไตรปิฎกก็ได้รับบันทึกด้วยภาษามคธ นี่คือความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างภาษามคธครั้งพุทธกาลกับภาษาบาลีในปัจจุบันและไวยากรณ์
              ดังนั้น ในฐานะที่พวกเราเป็นพระภิกษุ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในบริษัท ๔ และจัดว่าเป็นบริษัทที่สำคัญที่สุดต่อการที่จะปกป้องคุ้มครองดูแลรักษาพระพุทธพจน์ให้บริสุทธิ์ตลอด ๕,๐๐๐ ปี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาภาษาบาลีกันอย่างจริงจัง ให้สมกับเจตนารมณ์ของพระโบราณาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้รจนาคัมภีร์ไว้ให้พวกเราได้ศึกษา

พระปริยัติธรรมมีไวยากรณ์เป็นรากฐาน
        เมื่อไวยากรณ์มีความสำคัญต่อภาษาบาลี ภาษาบาลีมีความสำคัญกับพระพุทธพจน์(พระธรรมวินัย) ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของพระบรมศาสดาตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น พระพุทธพจน์ก็คือพระไตรปิฎก และพระไตรปิฎกได้รับการบันทึกด้วยภาษามคธเช่นนี้ ดังนั้น ในพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต พระพุทธองค์จึงได้ตรัสถึงความสำคัญของไวยากรณ์หรือกฎของภาษาไวดังนี้ว่า
อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขู  ทุคฺคหิตํ  สุตฺตนฺตํ  ปริยาปุณนฺติ  ทุนฺนิกฺขิตฺเตหิ  ปทพฺยญฺชเนหิ, ทุนฺนิกฺขิตสฺส  ภิกฺขเว  ปทพฺยญฺชนสฺส  อตฺโถปิ  ทุนฺนโย  โหติ.  อยํ  ภิกฺขเว  ปฐโม  ธมฺโม  สทฺธมฺมสฺส  สมฺโมสาย  สํวตฺตติ.
แปลความว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาจศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกผิดพลาดได้ หากว่าถ้อยคำมีความพิรุธบกพร่อง.  ภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำภาษาที่มีความพิรุธบกพร่อง ย่อมนำมาซึ่งการตีความผิดพลาดได้. ภิกษุทั้งหลาย นี้คือสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้พระสัทธรรมลบเลือนเสื่อมสูญไปได้แล."
            เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาษาบาลีมีความสำคัญอย่างสูงสุดต่อกระบวนการศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นบันไดขั้นแรกหรือกุญแจดอกแรกสำหรับผู้ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา จะต้องศึกษาเล่าเรียนกันอย่างจริงจัง มิใช่ศึกษากันเพียงแค่สอบผ่านตามกฎที่ทางบาลีสนามหลวงกำหนดไว้เท่านั้น การสอบผ่านยังมิใช่เป็นการวัดผลว่าเรารู้ การวัดผลว่าเรารู้หรือไม่นั้น ตัวเราเท่านั้นเป็นผู้วัดผล เพราะเราไม่สามารถที่จะโกหกตัวเองได้ สำหรับการศึกษาภาษาบาลีที่จะให้ถึงขนาดแตกฉานได้นั้น สิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือไวยากรณ์ ดังนั้น จึงมีกฎทางภาษากล่าวไว้ว่า
            "คัมภีร์ไวยากรณ์มีความสำคัญยิ่งที่ภิกษุสามเณรควรศึกษาเล่าเรียน เพราะผู้ที่ขาดความรู้ในไวยากรณ์ก็เปรียบเสมือนคนใบ้ที่ไม่มีความสามารถชี้แจงความประสงค์ของตนได้ ด้วยเหตุที่ไวยากรณ์ประดุจดังอวัยวะที่สำคัญยิ่ง แม้โบราณาจารย์ผู้แตกฉาเชี่ยวชาญพระปริยัติธรรมก็ได้กล่าวไว้ว่า ไวยากรณ์เป็นวิชาพื้นฐานของพระไตรปิฎก"
              พระไตรปิฎกนั้น ถ้าศึกษาแล้วเข้าใจ ก็จะสนุกสนานเพลิดเพลินดื่มด่ำได้อรรถรส แต่การจะเข้าไปศึกษาพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีแบบวิเคราะห์วิจัยได้นั้น พื้นฐานเดิมจะต้องจะต้องศึกษาไวยากรณ์มาก่อน ท่านอ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ก็ไม่สามารถวิเคราะห์วิจัยตามหลักภาษาของภาษาบาลีได้เลย เพราะภาษาไทยไม่มีธาตุ วิภัตติ ปัจจัยพอที่จะสื่อถึงอรรถอันแท้จริงของพระพุทธพจน์บทนั้นๆ ได้ ผู้ที่ศึกษากฎไวยากรณ์ภาษาบาลีได้อย่างแตกฉานเท่านั้นจึงจะสามารถทำเช่นนั้นได้
             เมื่อการศึกษาไวยากรณ์มีความจำเป็นต่อการศึกษาภาษาบาลี ภาษาบาลีมีความสำคัญต่อการศึกษาพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยซึ่งเป็นตัวแทนของพระบรมศาสดา เป็นเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาเช่นนี้ ทุกวันนี้ เราลองถามตัวเราเองดูว่า เราอ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีได้เข้าใจแล้วหรือยัง
________________________________________


กิมหยง

ขอบพระคุณท่านผู้รู้มากครับ

เคยไปวัด รู้สึกบางวัดสวดคำแปล ฟังแล้วเข้าใจได้เลย
แล้วจะผิดบาปมากน้อยแค่ไหน หากมีการสวดเป็นคำแปลทั้งหมด
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

เคยเจอบางศาสนาเขาภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่ และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
ใช้เป็นภาษาไทยหมดเลย 

ทั้งที่ต้นกำเนิดศาสนา ไม่ได้มาจากไทยแต่ประการใด

อันนี้จะทำให้ การเผยแพร่ การสื่อสารเข้าใจง่ายกว่าเดิมหรือเปล่า

หรือเราควรจะใช้ภาษาเดิมต่อไปเรื่อย ๆ
สร้าง & ฟื้นฟู

รู้นิดหน่อย

หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ พระไตรปิฎก  สามารถแปลเป็นภาษาอะไรก็ได้เพื่อให้เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่ผิดเพี้ยงจากของเดิม  แต่คำสวดมนต์ยังคงใช้ภาษาดั้งเดิม คือ ภาษาบาลี หรือ ภาษามคธ

wallop

อ้างจาก: รู้นิดหน่อย เมื่อ 14:21 น.  27 มิ.ย 54
หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ พระไตรปิฎก  สามารถแปลเป็นภาษาอะไรก็ได้เพื่อให้เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่ผิดเพี้ยงจากของเดิม  แต่คำสวดมนต์ยังคงใช้ภาษาดั้งเดิม คือ ภาษาบาลี หรือ ภาษามคธ

ถูกต้องแล้วครับ สำหรับบทสวด ที่ใช้กันเป็นภาษาบาลี เพื่อ--  รักษาต้นฉบับ--เอาไว้ ไม่ว่าพุทธศาสนาจะไปอยู่ ณ ประเทศใด บทสวดย่อมเป็นภาษาดั้งเดิม  ส่วนการสอนธรรม การเผยแพร่ หรือสวดแปร ก็มีความจำเป็นเพื่อความเข้าใจของศาสนิกชนตามแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ  เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาภาษาบาลี  ก็จำเป็นต้องใช้ภาษาตามที่ท้องถิ่นเขาพูดกัน  แต่ที่แน่ ๆ  เวลาก่อนจะสอน จะเทศน์ พระจะยกภาษาบาลี ขึ้นมาก่อน  แล้วก็แปรให้เราฟังจากนั้นก็จะสาธยายหรืออธิบายรายละเีอียดประกอบกระทู้ธรรมที่พระท่านเทศน์ ครับ
ยืนด้วยขาตนเอง

ยมบาล


คุณหลวง

ในสมัยพุทธกาล ในสังคมชมพูทวีป มี 2 ภาษาหลัก คือ สันสกฤต กับ บาลีมคธ
สันสกฤตนั้น พวกพราหมณ์เขาถือว่าเป็นภาษาชั้นสูง เล่าเรียนได้เฉพาะพราหมณ์เท่านั้น
บาลีมคธเป็นภาษษของคนทั่วไป
   พระพุทธองค์ทรงใบลีเพื่อสื่อสารแก่คนทั่วไป (เพราะใครๆก็เข้าใจ พราหมณ์ก็เข้าใจ)
เพราะธรรมะนัน้ไม่จำกัดในบุคคลใดๆทุกผู้ทุกคนสามารถเข้าถึงธรรมได้ หากเปิดใจศึกษา
และปฏิบัติ
  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พระพุทธองค์ไม่เคยจำกัดว่า การเผยแพร่ธรรมจะต้องบาลีเท่านั้น ด้วยทรง
อนุญาตไว้ว่า (ขออภัยที่จำบาลี และที่มาในพพระไตรปิฎกว่าอยู่เล่มใด หน้าไหน รบกวน
ท่านผู้รู้บอกด้วยครับ)
   ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอไปในนิคมใด สถานที่ใดที่มีภาษาแตกต่างแล้ว เราอนุญาตให้เธอ
ใช้ภาษาถิ่นนั้นๆในการแสดงและเผยแพร่พระสัทธรรมได้
     ทั้งนี้ พระเถราจารย์สมัยก่อนท่านเข้าใจ แต่ที่ท่านยังทรงภาษามคธไว้ในการสวดแสดง ก็เพื่อ
จะได้ไว้เทียบเคียงตลอดไป

     ความเห็นของผม จึงคิดว่า การเผยแพร่ใช้ภาษษนั้นๆแหละครับ ดีที่สุด แต่เทียบบาลีไว้เพื่อตรวจ
สอบย้อนกลับได้ เพราะ พระไตรปิฏกถูกบันทึกไว้ด้วยบาลีจนมีมาถึงปัจจุบัน
     ธรรมที่เผยแพร่กว้างขวางในทุกวันนี้ เพราะภาษานั้นๆครับ ประเทศไทยเราก็เผยแพร่โดยภาษาไทย
แต่ทรงบาลีไว้ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา และประเทศอื่นๆก็เช่นกันครับ
     พระเถระในปุจจุบัน ก็เข้าใจ ท่านจึงจัดทำศัพย์บาลี-ไทย-อังกฤษ และภาษาอื่นๆเพื่อความเข้าใจเป็น
หนึ่งเดียวกัน อย่างท่านพุทธทาส ท่านป.อ.ปยุตโต(พระพรหมคุณาภรณ์) เป็นต้น โดยมีเจ้าของภาษานั้นๆ
รับรองครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

mucngsetong

อยากให้พวกท่านทั่งหลายได้เข้าไปศึกษา
Web นี้ดู
วัดนาป่าพง
www.watnapahpong.org/ - แคช
วัดนาป่าพง, วิปัสนา, ธรรมะ, พุทธศาสนา, พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล.
ศูนย์บริการมัลติมีเดีย วัดนาป่าพง - ปฏิทินกิจกรรม - วัดนาป่าพง-หนังสือพุทธโฆษณ์ - ติดต่อ ส.อ่านหลังสือ ส.อ่านหลังสือ

โวลเดอมอรท์


กิมหยง

งั้นพระควรสวดมนต์ เป็นภาษาใด

ภาษาที่สวดแล้วคนทั่วไปฟังไม่รู้เรื่อง
หรือสวดเป็นภาษาไทย ที่ทุกคนฟังแล้วเข้าใจง่ายดีกว่าครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

คุณหลวง

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 13:03 น.  02 ก.ย 54
งั้นพระควรสวดมนต์ เป็นภาษาใด

ภาษาที่สวดแล้วคนทั่วไปฟังไม่รู้เรื่อง
หรือสวดเป็นภาษาไทย ที่ทุกคนฟังแล้วเข้าใจง่ายดีกว่าครับ
ผมว่า ผสมผสานแหละครับดี
บางทีสวดแต่บาลีก็ดูน่าฟังไปอีกแบบ เอาสมาธิในการสวดเป็นหลัก ท่านที่เข้าใจความหมาย
อยู่แล้วก็เข้าใจตามไปได้ ที่ยังไม่รู้ก็เอาจิตน้อมนำไป
บางทีสวดบาลีแปลไทย อย่างสวนโมกข์ก็งดงามทั้งพยัญชนะและความหมาย
บางทีสวดภาษาตนล้วนๆก็ดี แต่จะทิ้งแบบใดออกไปเลย ผมว่าไม่เหมาะนัก (มั้ง) ผสมผสาน
ตามจังหวะและโอกาสดีกว่า

ท่านจะเป็นเจ้าอาวาสหรือครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

กิมหยง

ไม่หรอกไม่ได้อยากเป็นท่านเจ้าอาวาสหรอกครับ

เราสงสัยก็เลยถามท่านผู้รู้ทั้งหลาย
ส่วนหนึ่งก็ช่วยเผยแพร่ให้ท่านที่ไม่รู้ได้รู้ด้วย
สร้าง & ฟื้นฟู

อินทรีปีกทอง

ท่านสอนเป็นภาษาบาลีครับเป็ภาษาที่ใช้กันในขณะนั้นเป็นภาษากลุ่มอินโดยูโรเปี้ยน คำสอนของพระองค์ท่านที่แบบคำพูดธรรมดาก็มีที่เป็นแบบคถา(คำร้อยแก้ว)ก็มีครับ การสวดมนต์ของพระนั้นก็เป็นการเหมือนร้องคำร้อยแก้วนั่นแหละครับแต่เป็นการนำพุทธพจน์มาร้องเป็นทำนองร้อยแก้วนั่นเอง เทียบกับไทยเราก็เหมือนท่องกลอนนั่นแหละครับและการท่องคำกลอนไทยเราก็ได้รับอิทธิพลมาจากชาวอารยันทางอินเดียแหละครับ

กิมหยง

จำไม่ได้ว่าได้ฟังจากวัดไหน หรือฟังจากวิทยุ
มีพระสวดมนต์เป็นบทกลอนภาษาไทยนี่แหละครับ

ฟังดูแปลก ๆ แต่ก็สามารถเข้าใจได้เลยครับ

ก็เลยสงสัย ย้อนกลับไปครั้งสมัยพุทธกาล เลยนำข้อสงสัยมาสอบถามกันครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

อินทรีปีกทอง

กระผมขอแก้คำตอบนะครับเวลาที่พระพุทธองค์ตรัสเป็นคถาก็คือคำ ร้อยกรอง นั่นเองครับทเยบกับไทยเราก็เป็นคำคลอนกาพย์โคลงอะไรประมาณนั้น