ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เปลี่ยนศาสนา

เริ่มโดย cooltarn, 14:20 น. 01 ก.ค 54

ธรรมในใจ

กรรมุนา วัตติโลโก  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม  ไม่มีใครหลีกหนีพ้น
ไม่ทราบไปเจอสำนักไหนบอกมาให้อีกครับ

puiey

ไม่มีอะไรมาลบล้างบาปกรรม ที่เราก่อขึ้นได้หรอกครับ แต่ถ้าเรารู้และไม่ทำกรรมเพิ่มอีก ด้วยความสำนึกผิดจริง ๆ และหันกลับมาทำความดี บาปก็จะเบาบางลงได้
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

HatyaiTurbo

ลองไปฆ่าคนสิ มีบาปติดตัว
แล้วเปลี่ยนศาสนาดู

บาปนั้นจะยังติดตัวอยู่อีกหรือเปล่า ความจริงเป็นสิ่งที่จะสามารถบอกได้
สินค้าบางตัวผมไม่รู้รายละเอียดมากนัก  เนื่องจากผมก็เป็นผู้ใช้เหมือนท่านๆ ของถูกใจก็ซื้อมา เพราะฉะนั้นรบกวนช่วยศึกษาคุณสมบัติ จาก Internet ด้วยตัวท่านเองก็จะช่วยท่านได้มาก

อือฮึ

เฮ้อ คนไม่มีศาสนามาพูดเรื่องศาสนานี่ไม่ได้เรื่องนะwareerant ศึกษาให้รถ้จักศาสนาก่อนจะพถดดีกว่านะ

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: 5heneg1 เมื่อ 09:08 น.  04 ก.ค 54
บุญกรรมอยู่ที่ตัวบุคคล ไม่ใช่อยู่ที่ศาสนา ..  ส.หัว

อันนี้เป็นบทสรุปที่ดี ของคำถามที่ถามครับ
แต่ไฉนเลยจึงมีการถกถึง ความหมายของคำว่า ศาสนา
ผมไปเจอบทความดีๆ จึงมาแบ่งปันกันครับ  ส.หัว


ความหมายของศาสนา

        คำว่า "ศาสนา" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Religion" และคำว่า "ศาสนา" ในภาษาไทย มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ศาสน" แต่หากเขียนว่า "สาสนา" จะเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีว่า "สาสน" (ประยงค์ สุวรรณบุบผา, 2537: 164)

        สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (2527 : 28-36) ทรงให้ความหมายว่า ศาสนา มีความหมายสรุปได้เป็น 2 นัย คือ (1) คำสั่งสอน (2) การปกครอง

        พระราชวรมุนี (ประยุทธ ปยุตฺโต) (2527: 291) ทรงให้นิยามว่า "ศาสนา" คือ คำสอน คำสั่งสอน ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่ง ๆ พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิพิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้น ๆ ทั้งหมด

        สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) (2531: 91) ทรงอธิบายว่า "ศาสนาคือ คำสั่งสอน ท่านผู้ใดเป็นต้นเดิม เป็นผู้บัญญัติสั่งสอน ก็เรียกว่าศาสนาของท่านผู้นั้น หรือท่านผู้บัญญัติสั่งสอนนั่นได้นามพิเศษอย่างไร ก็เรียกชื่อนั้นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ศาสนาจึงมีมาก คำสอนก็ต่างกัน..."

        สุชีพ ปุญญานุภาพ (2532: 9) อธิบายความหมายคำว่า "ศาสนา" ไว้ว่า

        1. ศาสนา คือ ที่รวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงส่งของมนุษย์

        2. ศาสนา คือ ที่พึ่งทางจิตใจ ซึ่งมนุษย์ส่วนมากย่อมเลือกยึดเหนี่ยวตามความพอใจ และความเหมาะสมแก่เหตุแวดล้อมของตน

        3. ศาสนา คือ คำสั่งสอน อันว่าด้วยศีลธรรม และอุดมคติสูงสุดในชีวิตของบุคคล รวมทั้งแนวความเชื่อถือและแนวการปกิบัติต่า ๆ กันตามคติของแต่ละศาสนา


        ราชบัณฑิตยสถาน (2539: 783) ให้ความหมายของ "ศาสนา" ว่า "ลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่าย ปรมัถต์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาป อันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็น หรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อนั้น ๆ"

        จากนิยามดังกล่าวในข้างต้น จะเห็นว่านักคิดท่านต่าง ๆ ต่างให้นิยามของศาสนาไปตามโลกทัศน์ของแต่ละบุคคล ซึ่งเมื่อเราพิจารณาคำนิยามเหล่านี้แล้ว อาจจะเกิดปัญหาว่า นิยามใดดีที่สุด หรือเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากนิยามของคำว่า "ศาสนา" ย่อมถูกต้องและเหมาะสมแตกต่างกันออกไปตามหลักความเชื่อของศาสนานั้น ๆ

        เมื่อเกิดปัญหาในเรื่องของการนิยามแล้ว จึงนำไปสู่การพิจารณาว่า นิยามที่ดีของศาสนานั้น ควรเป็นอย่างไร ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ได้มีผู้เสนอว่า "วิธีการนิยามศาสนาที่ดีนั้น ควร พิจารณาหาสิ่งที่มีคุณลักษณะร่วมกันที่มีอยู่ในทุกศาสนา มาใช้เป็นคำนิยามของคำว่า ศาสนา" และหากพิจารณาบรรดาศาสนาทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ เราจะพบว่า มีลักษณะร่วมกัน ที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้


ทุกศาสนาจะต้องมีหลักคำสอน

        หลักคำสอนทางศาสนามีหน้าที่สั่งสอนให้มนุษย์ประพฤติดี เพื่อนำมนุษย์ไปสู่เป้าหมายที่สำคัญของศาสนา อีกทั้งทำให้มนุษย์ได้พบกับสัจธรรมในชีวิต ซึ่งเมื่อพิจารณาตามนัยยะ นี้แล้วจะเห็นว่า คำสอนทางศาสนานั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดของศาสนาที่แต่ละปัจเจกบุคลนับถืออยู่


หลักคำสอนของทุกศาสนาจะมีลักษณะเป็นเรื่องราวของความเชื่อมากกว่าเหตุผล

        เนื่องจากหลักคำสอนของแต่ละศาสนามุ่งสร้างความเชื่อ ความศรัทธาในคำสอนของศาสนานั้น ๆ ให้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ อีกทั้งการยอมรับศาสนาของมนุษย์เกิดจากความเชื่อทาง ศาสนา ที่ (บางศาสนา) สามารถยอมรับศาสนานั้น ๆ ได้โดยไม่สนใจความถูกต้องในเชิงเหตุผล หรือบทพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์


ศาสนาทุกศาสนาเน้นเรื่องของระดับจิตใจมากกว่าเรื่องทางวัตถุ

        โดยเรื่องที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์ หรือจิตใจนั้นจะถูกแสดงออกโดยผ่านพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อทางศาสนา และการแสดงออกผ่านทางการกระทำ เป็นต้นว่า ผู้ที่เคร่ง ศาสนามักจะมีความมั่นคงทางจิตใจสูง เพราะเขามีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่เขาเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้น ทำให้จิตใจสงบ เป็นตัน

        จากลักษณะทั่วไปที่ศาสนาต่าง ๆ มีอยู่ร่วมกัน ทำให้สรุปความหมายของคำว่า "ศาสนา" ได้ว่า "ศาสนาหมายถึง หลักคำสอนที่เป็นแบบแผนของความเชื่อ ความมั่นคงทางจิตใจ และเป็นแบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อนำมนุษย์ไปสู่เป้าหมายที่ดีงามในชีวิต"

        กระนั้นก็ตาม การพิจารณาว่าสิ่งใดจัดเป็นศาสนาหรือไม่นั้น โดยปกติจะพิจารณาจากองค์ประกอบของศาสนา กล่าวคือ ระบบความเชื่อถือ หรือหลักคำสอนใดก็ตามที่มีองค์ ประกอบดังต่อไปนี้ กับนับได้ว่าเป็นศาสนา

        1. ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่ เช่น พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา

        2. มีศาสนธรรม หรือหลักคำสอนอันเป็นผลงานของศาสดาในรูปของหลักคำสั่งสอนที่มีเหตุผล เช่น พระพุทธศาสนามีธรรมะ และพระวินัยเป็นหลักคำสอน

        3. มีศาสนบุคคล คือ สาวก หรือศาสนิกชนผู้เชื่อฟัง เชื่อถือ ปฏิบัติตามคำสั่งสอน เช่น พระพุทธศาสนามีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

        4. มีศาสนพิธี คือ พิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา ซึ่งในแต่ละศาสนาก็จะมีพิธีกรรมของตนเอง เช่น พระพุทธศาสนามีพิธีบรรพชา อุปสมบท, ศาสนาคริสต์มีพิธีมิซซา เป็นต้น

        5. มีศาสนสถาน คือ สถานที่เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม หรือเป็นที่อาศัยของผู้เผยแผ่ศาสนานั้น ๆ เช่น พระพุทธศาสนามีวัด อาราม โบสถ์ วิหาร, ศาสนาอิสลามมีมัสยิด ศาสนาสิขมีคุรุด วารา เป็นต้น

มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา

        มนุษย์ในสมัยดึกดำบรรพ์ได้ประสบกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งเป็นทั้งความน่ากลัว แปลกประหลาด และมหัศจรรย์สำหรับตัวมนุษย์ เช่น ความมืด ความสว่าง พายุพัด ฟ้า แลบ ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ไฟป่า เป็นต้น และด้วยความที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านั้น มนุษย์จึงเกรงกลัวปรากฏธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

        ดังนั้น มนุษย์จึงแสวงหาสิ่งที่จะมาคุ้มครองป้องกันตนจากภัยอันตรายที่คิดว่าจะได้รับจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ รวมทั้งแสวงหาสิ่งซึ่งเชื่อว่าสามารถคุ้มครองให้อยู่อย่างเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดวัฒนธรรม ตลอดจนประเพณียอมรับนับถือพลังลึกลับทางธรรมชาติว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ และได้สร้างขนบธรรมเนียมที่คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็น และควร ประพฤติต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ยอมรับนับถือ

        จากความเชื่อของกลุ่มคน และขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ จึงค่อย ๆ วิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นลัทธิ และศาสนาต่าง ๆ นั่น เอง

        มีผู้เสนอว่า ศรัทธา หรือความเชื่อนับเป็นจุดเริ่มต้นทางศาสนาทั้งปวง ซึ่งศรัทธาในทางศาสนานั้นมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ศรัทธาอันเป็นญาณสัมปยุต คือ ความเชื่อที่ประกอบด้วย ปัญญา รู้เหตุ รู้ผล และศรัทธาอันเป็นญาณวิปปยุต คือ ความเชื่ออันเกิดจากความไม่รู้เหตุรู้ผล

หากจะแยกให้เห็นมูลเหตุของศาสนาตามวิวัฒนาการทางความคิดของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันสามารถแยกได้ดังนี้ (เสฐียร พันธรังสี, 2513:18)

        1. เกิดจากอวิชชา อวิชชา คือ ความไม่รู้ ในที่นี้ได้แก่ความไม่รู้เหตุรู้ผล เริ่มแต่ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ทางดาราศาสตร์ ไม่รู้ชีววิทยา และไม่รู้จักธรรมชาติอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อมีความไม่รู้เหตุผลก็เกิดความกลัวในพลังทางธรรมชาติ ต้องการความช่วยเหลือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือตน จึงมีการส้รางขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อบูชาเอาใจสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถช่วยให้มนุษย์มีความอยู่รอดไม่มีภัยต่อ ๆ ไป

        2. เกิดจากความกลัว มนุษย์จะอยู่ในโลกได้ต้องมีหน้าที่ คือ การต่อสู้กับธรรมชาติ และสู้สัตว์ร้ายนานาชนิด และโดยเฉพาะกับมนุษย์ด้วยกันเอง ยามใดที่เราสามารถเอาชนะ ธรรมชาติหรือคนได้ ความเกรงกลัวธรรมชาติ สัตว์ร้าย หรือมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ถ้าไม่สามารถต่อสู้ได้ มนุษย์จะเกิดความกลวต่อสิ่งเหล่านั้น และในยามนั้นเอง ที่มนุษย์ต้องพากันกราบ ไหว้บูชา และแสดงความจงรักภักดี ทำพิธีสังเวยเซ่นไหว้ต่อธรรมชาติดังกล่าว ด้วยความหวังหรืออ้อนวอนขอให้สำเร็จตามความปรารถนาอันเป็นผลตอบแทนขึ้นมาเป็นความสุข ความ ปลอดภัย และอยู่ได้ในโลก

        3. เกิดจากความจงรักภักดี ความจงรักภักดีเป็นศรัทธาครั้งแรกที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยยอมเชื่อว่า เป็นกำลังก่อให้เกิดความสำเร็จได้ทุกเมื่อ ในกลุ่มศาสนาที่นับถือพระเจ้า (ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม) มุ่งเอาความภักดีต่อพระเจ้าเป็นหลักใหญ่ในศาสนา ในกลุ่มชาวอารยันมีสาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) มีคำสอนถึงภักติมรรค คือ ทางแห่งความภักดี อันจะ ยังบุคคลให้ถึงโมกษะ คือหลุดพ้นได้ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ยอมรับว่าศรัทธา หรือความเชื่อ ความเลื่อมใสเท่านั้นที่จะพาข้ามโอฆสงสารได้ เมื่อเป็นดังนี้แสดงว่ามนุษย์ยอมตนให้ อยู่ใต้อำนาจของธรรมชาติเหนือตน อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเองซึ่งเรียกว่าเทพเจ้า หรือพระเจ้า อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดตามมาคือมนุษย์ยอมให้เครื่องเซ่สังเวยแก่ธรรมชาตินั้น ๆ ด้วย ลักษณะนี้จึงเท่ากับมนุษย์เสียความเป็นใหญ่ในตน ยอมอยู่ใต้อำนาจของสิ่งที่ตนคิดว่ามีอำนาจเหนือตน

        4. เกิดจากปัญญา ศรัทธาอันเกิดจากปัญยาคือมูลเหตุให้เกิดศาสนาอีกทางหนึ่ง แต่ศาสนาประเภทนี้มักเป็นฝ่ายอเทวนิยม คือไม่สอนเรื่องเทพเจ้าสร้างโลก ไม่ถือเทพเจ้าเป็นศูนย์ กลางแห่งศาสนา หากแต่ถือความรู้ประจักษ์จริงเป็สำคัญ เช่น พระพุทธศาสนา ความเน้นหนักของพระพุทธศาสนา คือ ญาณ หรือปัญยาชั้นสูงสุดที่ทำให้รู้แจ้งประจักษ์ความจริง และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

        5. เกิดจากอิทธิพลของบุคคลสำคัญ ศาสนาหรือลัทธิที่เกิดจากความสำคัญของบุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่งหน ที่มีเรื่องราว หรือความสำคัญของบุคคลที่อยู่ ณ ที่นั้น ความสำคัญของบุคคลที่เป็นเหตุเริ่มต้นของศาสนา หรือลัทธิ โดยมากมักมีเหตุเริ่มต้นโดยความบริสุทธิ์จากจิตใจของมนุษย์ ไม่มีใครบังคับ ไม่มีใครวางหลัก อีกทั้งเมื่อใครนับถือความ สำคัญของบุคคลผู้ใดก็จะพากันกราบไหว้ และเคารพบูชา

        6. เกิดจากลัทธิการเมือง ลัทธิการเมืองอันเป็นมูลเหตุของศาสนาเป็นเรื่องสมัยใหม่ อันสืบเนื่องจากการที่ลัทธิการเมืองเฟื่องฟูขึ้นมา และลัทธิการเมืองนั้นได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อคนบางกลุ่ม เป็นต้นว่า กลุ่มคนยากจน ซึ่งคนเหล่านั้นก็ได้ละทิ้งศาสนาเดิมที่ตนเองนับถืออยู่ แลวหันมานับถือลัทธิการเมืองดังกล่าวเป็นศาสนาประจำสังคม หรือชาตินิยมลัทธิการเมือง เป็นต้นว่า ลัทธินาซี ลัทธิฟาสซิสม์ และลัทธิคอมมิวนิสต์


ประเภทของศาสนา

การจัดประเภทศาสนานั้น มีวิธีการจัดแบ่งที่หลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง เป็นต้นว่า

แบ่งประเภทของศาสนาตามระบบความเชื่อ

        1. ศาสนาแบบโลกิยะ (Secular Religion) คือการรวมเอาความเชื่อ หรือหลักการที่เกี่ยวกับความเชื่อในโลกนี้อย่างเดียวเท่านั้น โดยปฏิเสธความมีอยู่ของชีวิตในโลกหน้า ศาสนา ประเภทนี้รวมเอาหลักการของคอมมิวนิสต์ ลัทธิฟาสซิสม์ ลัทธิวัตินิยม สังคมนิยม รวมทั้งความประพฤติและระเบียบ กฎหมาย ประเพณีที่ยึดปฏิบัติกันอยู่ในสังคม

        2. ศาสนาแบบศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Religion) คือศาสนาตามประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความลึกลับในชีวิตทั้งในโลกหน้า ศาสนาแบบนี้รวมคำสอนของศาสนาใหญ่ ๆ ซึ่ง เสริมให้บุคคลปฏิบัติตามกรอบที่ดีของศีลธรรม ทั้งบูชาและยกย่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอยู่ในศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู เป็นต้น


แบ่งตามชื่อศาสนา

        1. ชื่อตามผู้ตั้งศาสนา ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ตั้งชื่อตามท่านขงจื๊อ หรือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ตั้งชื่อตามท่านศาสดาโซโรอัสเตอร์

        2. ชื่อตามนามเกียรติยศของผู้ตั้งศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ คำว่าพุทธะ แปลว่า ท่านผู้รู้ ทั้ง ๆ ที่นามแท้จริงของพระพุทธเจ้าคือ สิทธัตถะ โคตมะ หรือศาสนาเชน คำว่า เชน มาจาก คำว่า ชินะ แปลว่าผู้ชนะ ทั้งที่ชื่อจริงของผู้ตั้งศาสนาคือ วรรธมานะ เป็นต้น

        3. ชื่อตามหลักคำสอนในศาสนา ได้แก่ ศาสนาเต๋า คำว่า "เต๋า" แปลว่า ทาง (The Way) หรือทิพยมรรคา (The Divine Way) ศาสนาชินโต คำว่า "ชินโต" แปลว่า ทางแห่งเทพทั้งหลาย (The Way of the Gods) เป็นต้น


แบ่งประเภทตามการที่มีผู้นับถืออยู่หรือไม่

        1. ศาสนาที่ตายไปแล้ว (Dead Religions) หมายถึง ศาสนาที่เคยมีผู้รับถือในอดีต แต่ปัจจุบันไม่มีใครนับถือ หรือดำรงไว้ คงไว้เพียงชื่อที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์ เช่น ศาสนาของอียิปต์ โบราณ ศาสนาของเผ่าบาบิโลเนียน ศาสนาของกรีกโบราณา เป็นต้น

        2. ศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ (Living Religion) หมายถึง ศาสนาที่ยังมีผู้นับถืออยู่จนถึงปัจจุบันนี้

        ก. ศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันออก คือ จีน และญี่ปุ่น ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ศาสนาเต๋า และศาสนาชินโต

        ข. ศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต่ เช่น อินเดีย ปากีสถาน ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดู ศาสนาเชน และศาสนาสิข

        ค. ศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันตก คือ ดินแดนปาเลสไตน์ เปอร์เชีย และอารเบีย ได้แก่ ศาสนายูดาย หรือยิว ศาสนาสโซโรอัสเตอร์ ศาสนาคริส์ และศาสนาอิสลาม

แบ่งประเภทตามความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า

        1. ศาสนาที่นับถือพระเจ้า หรือ "เทวนิยม" (Theism) คือ เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างโลก และสรรพสิ่งต่าง ๆ ซึ่งศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์แยกเป็น

ก. เอกเทวนิยม (Monotheism) จะนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาสิข และศาสนาเต๋า

ข. พหุเทวนิยม (Polytheism) นับถือพระเจ้าหลายองค์ บางครั้งยังผสมผสานกับการบูชาธรรมชาติ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาชินโต และศาสนาขงจื๊อ

        2. ศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า เรียกว่า "อเทวนิยม" (Atheism) ได้แก่ ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน

ความสำคัญของศาสนา

        ศาสนามีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์ คือ

        1. ศาสนาทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะทุกศาสนาล้วนมุ่งหวังให้ศาสนิกชนของตนเป็นคนดี และเมื่อศาสนิกชนเป็นคนดีแล้วสังคมก็ย่อมจะปราศจากความเดือดร้อน

        2. ศาสนาเป็นบ่อเกิดแห่งธรรมจรรยา และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และหากบุคคลในสังคมประพฤติปฏิบัติตามหลักทางศีลธรรมที่ศาสนานั้น ๆ วางไว้ย่อมทำให้สังคมมีความ สุข

        3. ศาสนาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพราะศาสนิกชนสามารถดำเนินวิถีชีวิตตามแบบอย่างของพระศาสดา หรือปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา

        4. ศาสนาจะช่วยให้มนุษย์ทราบว่าสิ่งใดดีชั่ว ถูกผิด ตามมาตรฐานของศาสนานั้น ๆ และทราบถึงผลแห่งการกระทำนั้น ๆ เช่น คำสอนเรื่องหลักกรมในพระพุทธศาสนา ว่าทำดีได้ดี หรือทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

        5. ศาสนาเป็นแหล่งรวมศิลปวิทยาการ และถ่ายทอดวิทยาการ เนื่องจากจะเป็นแหล่งความรู้ของศาสตร์แขนงต่าง ๆ และถ่ายทอดศาสตร์เหล่านั้นไปสู่มนุษย์ในสังคม ความรู้ทางการ แพทย์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม การช่าง การดนตรี และหัตถกรรม เป็นต้น

        6. ศาสนาเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงในการปกครองประเทศ เช่น พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดมั่นและดำเนินนโยบายในการปกครองประเทศด้วยหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ

        7. ศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจเมื่อปุถุชนเกิดความทุกข์ร้อนใจ กล่าวคือ เมื่อคนเราเกิดความทุกข์กายและใจก็ย่อมจะหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น และรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหา คือการนำหลักธรรมทางศาสนาที่คนเคารพนับถือมาเป็นที่พึ่งทางใจ และนำหลักธรรมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา

หน้าที่พลเมืองต่อศาสนา

        1. ศึกษาหลักธรรม และปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา ตลอดจนนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้คนในสังคม

        2. ศึกษาความสำคัญของศาสนาที่มีต่อสังคมไทยและประชาชนชาวไทย โดยให้เห็นคุณค่า ของศาสนาที่ตน นับถือ ตลอดจนคุณค่าของศาสนาที่คนอื่น ๆ นับถือ เพื่อนำหลักจริยธรรม ในศาสนา มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ และทำให้สังคมมีความสงบสุข

        3. ศึกษา และเข้าร่วมประกอบศาสนพิธีตามโอกาส ซึ่งการประกอบพิธีกรรมทางศาสนานั้น ไม่ควรขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยของกฎหมายบ้านเมือง ตลอดจนไม่ขัดกับจารีตประเพณี อันดีงาม ของสังคมไทยที่สืบทอดกันมา

        4. เผยแผ่ศาสนาที่ตนนับถืออยู่ไปยังศาสนิกชนผู้นับถือศาสนาเดียวกัน และศาสนิกชนต่างศาสนา เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสนา และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทาง ด้านศาสนาระหว่างกัน

        5. ปกป้องและรักษาศาสนาที่ตนเองนับถือ ตลอดจนสถาบันและองค์กรทางศาสนาต่าง ๆ มิให้ผู้ใดสร้างความ เสื่อมเสียให้ได้ และหากมีผู้ใดเกิดความเข้าใจผิดในศาสนาที่เรานับถือ ก็ควรให้ความกระจ่างและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

        6. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น ๆ กล่าวคือ ไม่ดูหมิ่นหลักคำสอน ศาสดา คัมภีร์ ศาสนิกชน และ พิธีกรรม ทางศาสนา ตลอดจนไม่ทำลายรูปเคารพ หรือโบราณสถานและโบราณวัตถุ ของศาสนาอื่น ๆ

        7. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมระหว่างศาสนา และศาสนิกชนที่นับถือศาสนาอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน และเพื่อประสานความช่วยเหลือกันในอนาคต

        8. ช่วยพัฒนาศาสนสถาน เนื่องจากศาสนสถานเป็นที่ประกอบพิธีกรรม และเป็นที่พำนักของ นักบวช ตลอดจนเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรมของศาสนาต่าง ๆ ดังนั้น ศาสนิกชนที่ ดีควรช่วยกันพัฒนา ศาสนสถานของตนให้สะอาดเรียบร้อย และทำนุบำรุงส่วนที่เสียหายให้มีความมั่นคงแข็งแรงต่อไป

หนังสืออ้างอิง

กรมหลวงวชิรญาณวงศ์, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า. (2531). สรรนิพนธ์ ว่าด้วยเรื่องคน ศาสนา และคติธรรม. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เดือน คำดี. (2541). ศาสนศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

ประยงค์ สุวรรณบุบผา. (2537.). สังคมปรัชญา แนวคิดตะวันออก-ตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ ปยุตฺโต). (2529). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

________. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2540). ศาสนาเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

ข้อมูลจาก

ชวนกันเป็นชาวคติชน จากเวปคลังปัญญาไทย ครับผม  ส.หัว



ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

เก่งกันทุกคน

.




..ศาสนาทำให้คนแตกแยก ฆ่ากัน ดังที่เป็นข่าวกันบ่อยๆ


บ้างก็เอาไว้หลอกฅน หลอกให้นับถือ แล้วยึดประเทศเรยยย ส.โอ้โห ส.ก๊ากๆ

wareerant

อ้างถึงเฮ้อ คนไม่มีศาสนามาพูดเรื่องศาสนานี่ไม่ได้เรื่องนะwareerant ศึกษาให้รถ้จักศาสนาก่อนจะพถดดีกว่านะ


ก็ว่ากันไป นะ


ใครที่ติดตามผลงานผมมาตั้งแต่แรก น่าจะได้อ่านข้อความนี้

อ้างถึงใครที่อ่านบทความของผมแล้ว แล้วจะเข้ามาโพสต์ในทำนอง กระแทกแดกดัน กระแนะกระแหน ประชดประชัน ก็ได้ แต่ให้สมัครสมาชิกเข้ามา อย่ามาทำแบบลับๆ ล่อๆ มันไม่เท่เลย น่าสมเพชอีกต่างหาก

คนสมัยใหม่

อ้างจาก: cooltarn เมื่อ 14:20 น.  01 ก.ค 54
มีคนเคยบอกว่าถ้าเราเปลี่ยนศาสนา เราจะหมดเวรหมดกรรม ความชั่วที่เคยทำก็จะหายไป เหมือนกับเด็กเกิดใหม่ที่ยังบริสุทธิ์ ทั้งหมดนี้เป็นความจริงหรอ


    กุศลกรรม และ อกุศลกรรม จะตามจิตคุณซึ่งเป็นกายละเอียด ไม่ใช่ตามร่างกายซึ่งเป็นกายหยาบ ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะไปเกิดเป็นอะไร เกิดที่ไหน นับถือศาสนาอะไร กุศลและอกุศลกรรม ก็จะจำคุณได้และตามคุณถูก ( ผมใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจนะครับ )  พูดง่าย ๆ คือ ไม่สามารถหนีเวรกรรมได้ เพราะเขาตามที่จิตของคุณ  ต้องทำความดี เพื่อให้กรรมนั้นจากหนักเป็นเบาได้ครับ..... ทุกศาสนาสอนให้ทุกคนทำความดี เหมือน ๆ กันครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ ( ส่วนตัวผมเอง ไปทำบุญที่วัดและก็เข้ากุโบร์ของอิสลามด้วยครับ ถ้าใจเราบริสุทธิ์และคิดแต่เรื่องดี ๆ )

เณรเทือง

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 13:27 น.  09 พ.ค 55

ก็ว่ากันไป นะ


ใครที่ติดตามผลงานผมมาตั้งแต่แรก น่าจะได้อ่านข้อความนี้
อย่าไปถือสา เขาไม่หาญ

นักธรรม

.



...มาดูนักธรรมมีอารมณ์.. ส.โอ้โห ส.ก๊ากๆ ส.หลก

หน้าสวน

ขอด่า...กระทู้นี้สมควรลบทิ้งนะคับ ศาสนา เอามาพูดเล่นกันไม่ได้ เพราะไม่มีใครรู้จริง หุบปากเสีย ม้นละเอียดอ่อน....มาก เถียงกันก็ไม่ได้..ก็ไม่รู้ว่าจุดประเด็นมาทำไม.. เจ้าหน้าที่ผู้ดูแล ทำอะไรอยู่ คิดอะไร...(หรือโง่)

อือฮึ

น่าเบื่อนะ เวลาที่เห็นบางคนตอบไม่ได้ไปไม่ถูกแล้วอ้างเรื่องสมาชิกขึ้นมาเนี่ย ฟังดูเหมือนเถียงแหพ้แล้วท้าต่อยยังไงยังงั้นเลย อือฮึ

ผมแกล้งแค่นั้นถึงกับขึ้นเลย แต่ก็ดี มีพวกแบบเดียวกันเพิ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มก้อน นะพี่wareerantนะ

ที่ผมว่าพี่ไม่ได้เรื่องเพราะไม่มีศาสนาแล้วมาพูดเรื่องศาสนานั้น เพราะมันน่ารำคาญครับ ที่พี่อวดตัวเองว่ารู้ว่าศึกษามาหลายศาสนา แต่พูดออกมาอย่างดูถูกศาสนาจนน่าเกลียดอย่างนั้น อย่างพี่พูดได้ไงว่าศาสนาพุทธอยู่ได้เพราะมีศาสนาพราหมณ์เป็นเปลือกหุ้ม ทเ่ากับว่าศาสนาพราหมณ์ไม่มีแก่เป็นเพียงเปลือกที่คอยหุ้มห่อศาสนาพุทธหรือ อย่าลืมว่าศาสนาพุทธเกิดขึ้นมาท่ามกลางศาสนาพราหมณ์มีความต่างกันมากมายและเติบโตมาอย่างยากลำบากแต่ยิ่งใหญ่ได้

พี่พูดได้ยังไงว่าศาสนาเป็นเพียงความเชื่อ เพราะนั่นแสดงว่าพี่ไม่เคยอ่านพุทธพจน์แม้แต่น้อย พระพุทธองค์ตรัสว่าแม้พระองค์ตรัสเองก็อย่าเพิ่งเชื่อจงพิจารณาให้ประจักษ์ พี่ว่าควมาเชื่อมันอาจจะจริงหรือไม่ก็ได้ แล้วความคิดพี่เองก็เป็นความคิดมันอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ไม่ใช่เหรอ แล้วทำไมพอมีคนทักขึ้นมาพี่ก็วีนเสียอย่างนั้น แน่นอนต่อมามีคนที่เอาแต่เชื่อมากมายแต่นั่นเป็นเรื่องของคนๆนั้นไม่ใช่ศาสนาหรือแยกไม่ออกระหว่างคนหรือศาสนาว่าต่างกัน หรือการเปิดใจกว้างคือต้องเชื่อตามพี่เท่านั้นหรือ อือฮึ

ประสบการณ์ทางศาสนานั้นมันต้องศึกษาด้วยจิตใจ แต่พี่เองแม้ประสบการณ์พื้นๆอย่างการเดินบนหญ้าพี่ยังไม่มี พูดได้ไงว่าการเดดินบนหญ้าจะทำให้หญ้าขาดขนาดนั้น หากการเดินอย่างสำรวมของนักบวชทำหญ้าขาดอย่างนั้นแล้วสนามบอล(หญ้าจริง)กว่าจะจบเกมมิพักกลายเป็นสนามแข่งจับปลาไหลหรือ สตั๊คเอย ไถลด้วยเข่า เท้า อก สารพัด ไม่เห็นมันจะขาดขนาดนั้นเลย แล้วพี่จะมีประสบการณ์ที่สูงกว่านั้นได้ไง ลองเดินบนหญ้าดูถี จะได้รู้ว่ามันเป็นอย่างไร

แค่ความรู้จากพระที่ไม่ศึกษาพุทธพจน์แล้วเอาจริงเอาจัง แหม ปลงอาบัติยังกะพราหมณ์อาบน้ำล้างบาป ปลงหายๆ โถๆๆๆๆๆๆๆๆ พรรคพวกของพี่อย่างพี่เณรเทืองที่เข้ามาอย่างนักเลงโตน่ะว่าไงเรื่องนี้ หรือได้แค่ว่าไอ้นี่มันไม่หาญ 555555 อือฮึ สมัครสมาชิกเซ่ ต่อยกันหลังห้องน้ำมั้ยเล่า โถ

พอผมพูดเรื่องสมมติบอกปวดหัว แล้วพี่ศึกษาศษสนามาได้อย่างไรไม่รู้จักสมมติ นั่นแสดงว่าพี่ยังไม่รู้จักศาสนา แล้วมาอวดทำไมว่าศึกษาศาสนามามากมาย พี่ให้ความเป็นธรรมกับความรู้ที่ได้รับเหรอ ทีนักคณิตศาสตร์บอกสามเหลี่ยมมีมุมภายใน(มุมภายในนะครับไม่ใช่ด้าน)เท่ากับ 180 องศาพี่ก็เชื่อ พี่เห็นเองเหรอ องศานั้นมาจากไหน ทำไมกว้างเท่านั้นเท่านี้คือองศา องศามี 60 ลิปดา 1 ลิปดาเท่ากับ 60 ฟิลิปดา าหกเขาสมมติให้องศากว้างเท่ากับลิปดา มุมภายในสามเหลี่ยมก็เท่ากับ 360 องศา เอ้อ งงๆ ปวดหัวจริงๆด้วยแฮะ

เขาสมมติมาเพื่อให้เราสามารถใช้ได้ในชิวิตประจำวันเท่านั้น โลกนี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 15 องศาเป็นหนึ่งชั่วโมง แต่นาฬิกาต้อง 30 องศาเท่ากับชั่วโมง เอ๊ะๆๆ นั่นคือการสมมติเพื่อใช้ประโยชน์ครับ แล้วความจริงมันอยู่ตรงไหน

แต่พอเรื่องศาสนาเขาสมมติออกมาให้เห็นภาพพี่ก็รีบปฏิเสธไม่เอาๆ ไม่รู้จริงไม่จริง แต่ไม้พิสูจน์เองสักที แล้วพอพูดเรื่องศาสนาเห็นยกแต่นรก สวรรค์ ชาตินี้ ชาติหน้า ที่เป็นเรื่องนอกกาย นอกจิตใจ นั่นหมายถึงพี่ไม่ได้ศึกษาศาสนาพุทธเลยครับ เพราะศาสนาพุทธนั้นเน้นเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะเท่านั้นครับ ไม่ใช่ออกนอกไปลิบลับอย่างที่พี่เข้าใจและคนส่วนใหญ่ พระบางพวกที่ไม่ศึกษาหรือศึกษาผิดๆพูดกันอย่างนั้น แม้จะพูดองค์ประกอบนอกบ้างเพื่ออนุเคราะห์คนบางพวก แล้วพี่เป็นพวกไหน

เคยฟังเรื่องซามูไรที่มาถามเรื่องนรกสววรค์กับพระเซนมั้ยครับ อย่างพี่อื้ออยู่ตอนนี้แหละ พี่เห็นหรือเปล่าว่านรก สวรรค์ที่เกิดขึ้นอยู่ตรงไหนยังไง

พี่รักเมียพี่ไหม ความรักเป็นยังไง พี่เข้าใจว่าการกอด การจูบ การลูบตลำสัมพันธ์กันนั้นเป็นความรักหรือ หรือนั่นเป็นอาการของความรัก ความรักอยู่ที่จิตใจหรือวัตถุร่างกาย เข้าใจมันเสียบ้าง

อย่าเอาแต่ตอบแบบกูรู้ กูถูกสิครับ ถ้าหน้าการเมืองก็ว่าไปอย่าง อันนั้นมันทำใจได้ล่ะ แหม วันไหนได้ด่าทักษิณแล้วหลับสบาย พอเขาว่าดีแต่ด่าก็ว่าเขาไม่เข้าใจ พอเขาย้อนให้ก็ท้าสมัครสมาชิก หรือหาว่าเขามาหาเรื่อง กล่าวหาเพื่อปิดประเด็นเบนอย่าให้ตัวเองเสียเหลี่ยมแบบปชป.ซะงั้น

พี่เณรเทืองก็หมือนกันเข้ามาแบบกูถูก กูรักศาสนา ตั้งกระทู้เพื่อให้คนเห็นด้วย ใครไม่เห็นด้วยก็ไม่สนใจ พูดไปไม่ถูกก็ท้าสมัครสมาชิก แหม ทำอย่างกะว่า หากสมัครสมาชิกแล้วพี่จะพูดจริงได้นั่นแหละ ถามเถอะพี่ ไอ้ที่แดงเขาว่าพี่เมคเรื่องแท็กซี่น่ะ พี่กล้าตอบยังว่าจริงหรือไม่ หรือท้ามันสมัครสมาชิกหรือยัง อือฮึๆ

นี่ก็อีกคน ก๊วยเจ๋ง ไม่รู้ก๋เรียนรู้เสียสิ มันไม่ใช่พูดเล่น แต่ต้องเอากันให้ชัดเจน เจ้าหน้าที่เขาไม่โง่มั้ง เพียงแต่เขาเปิดไว้เพื่อประจานความโง่ของบางคนที่เข้ามาเท่านั้นเอง รวมทั้งผม 55555 ใครเข้าใจ ไม่เข้าใจ มีความเห็นยังไงก็มาแลกเปลี่ยนกันอย่างนักศึกษานักค้นคว้าสิ ผมรำคาญเลยกระแทกมันเล่นๆเสียมั่งจะได้รู้สึก

เฮ้อน่า......พี่wareerantว่าผมมันน่าสมเพชที่ผมไม่สมัครสมาชิก เฮ้อ สมเพชๆๆๆๆๆๆเจงๆ

wareerant

ผมไม่ได้ขึ้นอะไรหรอก เพียงแต่สงสัยเท่านั้นเอง ว่าจะพูดอะไร ทำไมไม่สมัครสมาชิกเข้ามา มันลำบากมากเลยเหรอ แค่กรอกข้อความ ไม่กี่บรรทัด ถ้าคุณไม่สมัคร คุณก็แพ้อยู่นั้่นแหละ เพราะการยอมรับมันมีน้อยกว่าสมัครสมาชิก

ผมยอมรับความคิดเห็นของคุณ ไม่ว่าคุณจะว่าผมอย่างไร คุณก็ดูมีความรู้ไม่น้อย ว่าแต่ คุณยอมรับความคิดเห็นของผมหรือเปล่าล่ะ หรือว่า ยอมรับแต่ของตัวเองว่าถูก ของผมผิด ผิดหมดซะด้วย

ไอ้เรื่องสมมติ ผมเข้าใจ แต่ก็แนะนำไปแล้ว ว่าอย่าเอามาคิดเลย มันปวดหัว เดี่ยวสติเตลิดไปเปล่า ๆ

ทำไมไม่มองว่า ความคิดเห็นของแต่ละคน อาจไม่เหมือนกัน แต่ก็นำมาแลกเปลี่ยนกันได้ ไม่ใช่ แกผิด ผิด ผิด ฉันถูก ถูก ถูก เหมือนเด็กเถียงกัน

คิดเอาเองนะ

wareerant

อ้างถึงเฮ้อน่า......พี่wareerantว่าผมมันน่าสมเพชที่ผมไม่สมัครสมาชิก เฮ้อ สมเพชๆๆๆๆๆๆเจงๆ

ก็มันน่าสมเพชจริง ๆ นิ ไม่รู้จะพูดว่าอะไรให้ถนอมน้ำใจกันมากกว่านี พูดอ้อมๆ ไม่เป็นซะด้วยสิ

เก่งทุกคน

"


..เวบนี้ นักเลงเยอะ... ส.โอ้โห ส.หัว ส.ก๊ากๆ

แบ่งปัน

แค่มาแบ่งปันความรู้กันน่า..ไม่มีใครถูกใครผิด แต่เราอย่าเพิ่งวิจารทั้งที่จิตใจยังไม่รู้ในสิ่งนั้นดี..น่าจะดีนะคับ..เฉกเช่นเมื่อเรายังไม่ลิ้มรสเราก็สมมุติฐาน รสชาติมันมิได้
http://www.youtube.com/watch?v=_GEBtREKJHo