ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม / ฉบับ 100 อเวจี

เริ่มโดย คุณาพร., 14:00 น. 18 ก.ค 54

คุณาพร.

บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม / ฉบับ 100 อเวจี

บทความ              :  เปิดกรุหนังต้องห้าม / ฉบับ 100 อเวจี
ผู้แต่ง                  :  อ.คุณาพร ไชยโรจน์ ( by Kunaporn Chairot )
E-Mail             :  samara17520@gmail.com
เผยเเพร่ครั้งเเรก   :  วันจันทร์ ที่ 18 กรกฏาคม ปี พ.ศ.2554   www.siamsouth.com   
                         ห้องคุยกับคุณาพร.   :   http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0


******หมายเหตุ******

บทความชุดนี้มีให้อ่านที่เว็บ www.gimyong.com เพียงเเห่งเดียว

(บทความชุดเปิดกรุหนังต้องห้าม / ฉบับ 100 อเวจี  คือการผสมกันระหว่างบทความ 2 ตัวคือ  เปิดกรุหนังต้องห้ามProhibited Films + 100 ตำนานหนังต้องห้าม อันตราย-เสื่อม-จิตตก / ฉบับเปิดอเวจี)

ส-ดีใจ ส-ดีใจ ส-ดีใจ ส-ดีใจ ส-ดีใจ


****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม / ฉบับ 100 อเวจี

หนังต้องห้าม หรือ Prohibited Films ตามแนวทางที่สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน หรือ Motion Picture Association of America ได้สร้างระบบการจัดระดับภาพยนตร์แบบ เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) เอาไว้ว่าหนังที่ได้ เรต เอ็นซี-17 (NC-17 = No one 17 and under admitted) นั้นให้จัดเป็นหนังใน "เรตต้องห้าม" คือไม่อนุญาตให้ เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมโดยเด็ดขาด ส่วนในประเทศไทยหลังจากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ปี พ.ศ. 2551 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมานั้น ได้เปลี่ยนจากระบบ "เซ็นเซอร์ภาพยนตร์" (รวมทั้ง หนัง สารคดี ละคร ที่อาจอยู่ในรูปของหนังที่ฉายในโรงหนังหรือฟิล์ม และหนังแผ่นประเภทดีวีดี วีซีดี ซีดีรอม) มาเป็นการจัด "เรตติ้ง" โดยกำหนดภาพยนตร์ไว้ 7 ประเภท โดยมีประเภทที่ 6 และประเภทที่ 7 จัดอยู่ในเรตของหนังต้องห้าม อันหมายถึง หนังประเภทที่ 6 ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู (ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) และประเภทที่ 7 ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร

ในเว็บไซต์ www.horrorclub.net ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหนังสยองขวัญระดับแถวหน้าของเมืองไทยได้กำหนดเรตต้องห้ามเอาไว้คือ เรต NC20 (No Children 20)  หรือ No One 20 and Under Admitted ซึ่งหมายถึง หนัง หรือภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู(ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) ในส่วนของ NC20 จะจำกัดสำหรับผู้มีคุณสมบัติผ่านเท่านั้น (คืออายุมากกว่าหรือเทียบเท่า 20 ปี) NC20 - หนังระทึกขวัญ สยองขวัญ ที่มีเนื้อหาความรุนแรงในระดับเข้มข้น มักเป็นหนังที่ไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ เนื่องด้วยเนื้อหาที่มีความรุนแรง อนาจาร เรื่องทางเพศ ที่เกินกว่าจินตนาการของคนทั่วไปจะนึกถึง มีภาพที่อุจาด และแสดงให้เห็นถึงการเข่นฆ่า ทรมานเหยื่อด้วยความวิปริต มีการจงใจเผยให้เห็นรายละเอียด ขั้นตอนของการสังหารเหยื่ออย่างจงใจและชัดเจน

หนังต้องห้ามที่เรียกว่า Snuff Film / Real Snuff film  ถือเป็นศาสตร์ทางด้านมืดอีกแขนงหนึ่งในวงการสร้างหนัง-ภาพยนตร์อันแสนอันตราย มีแรงดึงดูดอย่างร้ายกาจ และถือว่าเป็นหนังที่มีดีกรีความรุนแรงที่สูงลิบ ดิบ เถื่อน อำมหิตเป็นเลิศ หายากและผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Fake Snuff film และ Real Snuff film แต่ที่กล่าวขานกันว่าเป็นหนังต้องห้ามในระดับ "หนังแห่งตำนาน" ที่เป็นที่โจษจันกันในหมู่นักชมหนังสยองขวัญระดับ Hardcore ทั่วโลก และบรรดานักสะสมของแปลกคงเป็น Snuff Film ในแบบ Real Snuff film ของ Charles Manson และกลุ่ม The Manson Family ที่ถ่ายทำไว้ในปี ค.ศ. 1969  เชื่อกันว่าเป็น Snuff film ที่ถ่ายทำโดย Charles Manson (ชาร์ลส แมนสัน) ผู้นำของ The Manson Family กลุ่มฆาตกรโรคจิตชื่อดังในอดีตคือม้วนวีดีโอ-หนังแห่งตำนานหมายเลขหนึ่งของวงการภาพยนตร์ใต้ดิน เชื่อว่ากลุ่ม The Manson Family ได้ทำการฆาตกรรม Sharon Tate ดาราสาววัย 26 ปีซึ่งเป็นภรรยาของ Roman Polanski ผู้กำกับหนังสยองขวัญชื่อดังอย่าง Rosemary's Baby หรือในชื่อภาคภาษาไทยว่า  "ทายาทซาตาน" โดยการฆาตกรรมหฤโหดในครั้งนั้นเกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1969    Sharon Tate ซึ่งกำลังท้องแก่ใกล้คลอดถูกฆาตกรกลุ่ม The Manson Family แทงด้วยมีดถึง 16 แผล  ตัดเต้านมทั้งเป็น  กรีดชำแหละตั้งแต่บริเวณหน้าอกจนถึงอวัยวะเพศ  จากนั้นกลุ่มฆาตกรเลือดเย็นจึงใช้เลือดของ Sharon Tate จุ่มด้วยแปรงเขียนคำว่า "Pig" เอาไว้ทั้งที่บานหน้าต่างรวมถึงประตู โดยในการฆาตกรรมเหยื่อครั้งนี้หลายคนเชื่อกันว่า Charles Manson ได้ถ่ายทำหนัง Snuff film ในการฆาตกรรมเหยื่อเอาไว้ด้วย  แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครได้เห็นม้วนเทปดังกล่าว  หรือมีการยืนยันว่ามันมีอยู่จริง 

เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) คืองานเขียนที่จะนำพาท่านผู้อ่านทุกท่านดำดิ่งลงไปสู่ห้วงแห่งความวิบัติ ดำมืด เงียบประหนึ่งรัตติกาลในขุมนรกอเวจี ตีแผ่เรื่องราวแห่งหนังต้องห้าม-หนังแห่งตำนานอย่างถึงพริกถึงขิงอย่างที่ไม่เคยมีใครกล้าเปิดเผยมาก่อน








ภาพประกอบ 1 :  Salo the 120 Days of Sodom
อ้างอิงภาพประกอบ     http://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/SaloOrThe120DaysOfSodom                                                                                                   

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

หนัง-เรตของหนัง และหนังต้องห้าม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2542 อธิบายความหมายของคำว่า "หนัง" หรือ "ภาพยนตร์" เอาไว้ว่า หนัง หมายถึง น. ภาพยนตร์ เช่น โรงหนัง ถ่ายหนัง ฉายหนัง  เล่นหนัง อนึ่ง หนังเงียบก็ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีเสียงในฟิล์ม(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ.2542 หน้า 1,243) ส่วนคำว่า ภาพยนตร์ (พาบพะ-) น. ภาพฉายด้วยเครื่องทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้, หนังฉาย (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 : 821)
             
นอกจากนี้หนัง หรือภาพยนตร์ซึ่งหมายถึง Movies n.,pl (มูวิซฺ) และ Moving adj. (มูวิง) คือ Moving Pictures (มูวิง พิคเชอซฺ) ยังหมายถึง ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพซึ่งกำลังเคลื่อนไหว หรือภาพยนตร์ ซึ่งเร้าความรู้สึกทางอารมณ์ อาจทำให้ตื้นตัน หรืออารมณ์ด้านอื่นๆ(Modern English-Thai Dictionary 2538 : 462)
             
ภาพยนตร์เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว(Motion Picture) ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ด้วยคุณลักษณะพิเศษของภาพยนตร์ที่สามารถแสดงให้เห็นภาพและเสียงอันน่าสนใจ ภาพยนตร์จึงเป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทและอิทธิพลในด้านต่างๆ เป็นอย่างสูงมาตลอดเวลานับร้อยปี จนปัจจุบันแม้จะมีสื่อประเภทอื่นเกิดขึ้นมากแล้ว แต่ภาพยนตร์ก็ยังอยู่ในความนิยม และได้รับการพัฒนาให้มีบทบาทสำคัญอยู่เสมอ โดยเฉพาะในกิจการด้านธุรกิจการบันเทิง และยังมีคุณค่าอย่างสูงสำหรับการศึกษา เนื่องจากภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีคุณลักษณะพิเศษ สามารถทำให้เข้าใจเรื่องราวได้อย่างลึกซึ้ง(ความหมายของภาพยนตร์ whitemedia.org)
             
ในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี อธิบายความหมายของคำว่า หนัง หรือภาพยนตร์ เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ภาพยนตร์ คือ เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว (motion pictures) ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิล์มชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้นหา/ภาพยนตร์ ใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%
B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)

ภาพยนตร์ คือ การบันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่มาของความคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์คือรากเหง้าของศาสตร์ต่างๆ ที่รวมกันเรียกว่า สุนทรียศาสตร์ (Aestherics) ภาพยนตร์ถูกยกให้เป็นศิลปะแขนงที่ 7 เพราะมีพลังในการสร้าง emotion ให้แก่ผู้ชมได้สูงกว่าสื่อชนิดอื่น ซึ่งก็คือ ศิลปะที่ว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ Aestheti (ข้อมูลทางวิชาการ/มหาวิทยาลัยเกริก เกี่ยวกับ ศาสตร์และศิลป์แห่งภาพยนตร์
อ้างอิง www.krirk.ac.th/faculty/Communication_arts/.../file02.doc -)
             
จากทรรศนะของผู้รู้ในเบื้องต้นจึงพอสรุปได้ว่า หนัง หรือ ภาพยนตร์ หมายถึง ภาพยนตร์(พาบพะ-) น. เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม เเล้วนำมาฉายด้วยเครื่องทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา







ภาพประกอบ 2 :  บรรยากาศในโรงฉายหนัง
อ้างอิงภาพประกอบ  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Cinemaaustralia.jpg

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ประวัติศาสตร์แห่งการสร้างหนัง-ภาพยนตร์ ของโลก


ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กล่าวอ้างถึงผู้ที่คิดประดิษฐ์ต้นแบบแห่งการสร้างหนัง-ภาพยนตร์คนแรกของโลกขึ้นมา นั่นก็คือ โทมัส แอลวา เอดิสัน ดังมีความว่า ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที
             
ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปะการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา
(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้นหา/ภาพยนตร์ ใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)
             
พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย(โดม สุขวงศ์ 2533 : 2-3, เยาวนันท์ เชฏฐรัตน์ 2529 : 6-20)
             
ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น VCD และ DVD เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต (ประวัติความเป็นของโรงภาพยนตร์ whitemedia.org)






ภาพประกอบ 3  :  บรรยากาศการฉายหนังของยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538653518&Ntype=5

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

แนวของหนัง หรือประเภทของภาพยนตร์

             
ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี แบ่งแนวทางการจำแนกประเภทของหนัง-ภาพยนตร์ไว้เป็นสามแนวทางดังต่อไปนี้คือ ฉาก, อารมณ์, และรูปแบบ ฉากหมายถึงสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เรื่องราวในภาพยนตร์ดำเนินไป อารมณ์หมายถึงความรู้สึกที่ผู้ชมได้รับตลอดการชมภาพยนตร์ และรูปแบบหมายความกว้างๆ ถึงอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทำและวิธีการเล่าเรื่อง

ฉาก ประกอบไปด้วย
             1. อาชญากรรม: ตัวละครมีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือเป็นอาชญากรเสียเอง
             2. ฟิล์ม นัวร์: ตัวละครเอกไม่เชื่อในความดีงามและคุณค่าของมนุษย์
             3. อิงประวัติศาสตร์: เนื้อเรื่องดำเนินในอดีต โดยเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่ได้รับการบันทึกไว้ มากบ้าง น้อยบ้าง แต่จะไม่เกิดจากจินตนาการหรือความเพ้อฝันล้วนๆ
             4. นิยายวิทยาศาสตร์: เนื้อเรื่องดำเนินในความเป็นจริงอื่น ส่วนมากคืออนาคตหรืออวกาศ ตัวเนื้อเรื่องมักมีเทคโนโลยี(ที่เกิดจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่)เป็นองค์ประกอบ หรืออาจใช้ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เข้าช่วยในการอธิบายลักษณะตัวละคร ฉาก พฤติกรรมของตัวละคร หรือความเป็นไปของเนื้อเรื่อง(อาจเข้าข่ายลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือมากกว่า)
             5. กีฬา: เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาหรือสถานที่ที่ใช้แข่งขันกีฬา
             6. สงคราม: เนื้อเรื่องดำเนินในสนามรบหรือในช่วงเวลาที่มีสงคราม
       
อารมณ์ ประกอบไปด้วย
            1. แอ็คชัน: สร้างความเร้าใจให้กับผู้ชมผ่านทางการใช้ความรุนแรง
            2. ผจญภัย: สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมผ่านทางการเสี่ยงภัยของตัวละคร
            3. ตลก: มุ่งสร้างความสนุกสนานและเสียงหัวเราะ
            4. ดราม่า: สร้างความตื่นตัวใจ ความเศร้าสลดใจ ผ่านทางการแสดงการเติบโตของตัวละคร
            5. แฟนตาซี: สร้างความสนุกสนานและตระการตาตระการใจด้วยฉากและเนื้อเรื่องที่ไม่อยู่ในความเป็นจริง
            6. สยองขวัญ: มุ่งสร้างความกลัว
            7. ลึกลับ: มุ่งสร้างความฉงนงงงวยและความรู้สึกท้าทายในการแก้ไขปริศนา
            8. รักโรแมนติก: มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักฉันชู้สาว
            9. ระทึกขวัญ: มุ่งสร้างความตื่นเต้นและความตึงเครียด

รูปแบบ ประกอบไปด้วย
            1. แอนิเมชัน: สร้างภาพเคลื่อนไหวโดยฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพติดต่อกันด้วยความเร็วสูง
            2. ชีวประวัติ: มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลจริง
            3. สารคดี: นำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
            4. ทดลอง: สร้างขึ้นเพื่อทดสอบการตอบรับของผู้ชมต่อเทคนิคการสร้างภาพยนตร์/เนื้อเรื่องใหม่ๆ
            5. ละครเพลง: แทรกเพลงที่ร้องโดยตัวละคร
            6. บรรยาย: เนื้อเรื่องดำเนินไปตามการเล่าเรื่องของผู้บรรยาย
            7. สั้น: มีความยาวน้อยกว่าภาพยนตร์ทั่วๆ ไป
(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้นหา/แนวภาพยนตร์ และทฤษฎีภาพยนตร์
ใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2
%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)
 
จากข้อมูลทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกริก ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์ สรุปความได้ดังนี้ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเป็นองค์ประกอบของภาพยนตร์ :  รากเหง้าของศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นที่มาของความคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์ คือ สุนทรียศาสตร์ (Aestherics) ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วย ความงดงาม ดีงาม ปรัชญาเกี่ยวกับสิ่งที่มีความดีงามทั้งหลาย
 
ศูนย์กลางศาสตร์ทั้งหลาย มาจาก คุณวิทยา (Axiology) ซึ่งแตกแขนองออกเป็น จริยศาสตร์ (Ethics), ภววิทยา (Ontology), ปรัชญา (Philosophy), ทฤษฎีความรู้ (Theology), เทววิทยา (Epistemology), ตรรกศาสตร์ (Theology Logics), จริยศาสตร์ (Ethics), ภาววิทยา (Ontology), ปรัชญา (Philosophy)
 
คุณวิทยา Axiology ศึกษาเกี่ยวกับ จริยศาสตร์ เทววิทยา ตรรกวิทยา สุนทรียศาสตร์ โดยมีพื้นฐานมาจาก Philolophy, Ontology และ Epistemology
 
ผู้ที่ให้ความหมายของ สุนทรียศาสตร์ คือ Alexander Gottlieb Baumgarten (ค.ศ. 1714 - 1762) Aestherics มาจากคำว่า Aesthetica หรือ Aestherics --->Aistheisis/Aestheka (Aisthtikos) = Perception
 
 
ภาพยนตร์และวิทยุโทรทัศน์ วิดีทัศน์ ถูกยกให้เป็นศิลปะแขนงที่ 7 เพราะมีพลังในการสร้าง emotion ให้แก่ผู้ชมได้สูงกว่าสื่อชนิดอื่น
ศิลปะ 7 แขนง ได้แก่
  1. คีตศิลป์ การร้อง เพลงดนตรี ภาพ เสียงเพลง
  2. จิตรกรรม ภาพเขียน เทคนิคการใช้สีสันต่างๆ ให้เกิดอารมณ์
  3. ประติมากรรม งานปั้น รูปสลัก
  4. สถาปัตยกรรม งานออกแบบฉาก การสร้างฉาก
  5. นาฏกรรม การร่ายรำ ฟ้อนรำ การแสดง
  6. วรรณกรรม งานเขียน บทกลอน โครง ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การเขียนบท
  7. ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ ศิลปะที่ว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ Aestheti
 
 
ศิลปะ คืออะไร มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาควบแน่นในความเป็นภาพยนตร์อย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ คำว่า Imitation มาจากการเลียนแบบ (จากธรรมชาติ) อะไรหรือสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นของจริง ถือว่าไม่ใช่ศิลปะ ดังนั้น Representations หรือ ศิลป (ทุกชนิดทุกประเภท) เป็นสื่อในตัวเอง
 
ศิลปะ ต่างจาก อนาจาร อย่างสิ้นเชิง ถ้าไม่มีการตีกรอบความหมายให้ชัดเจน มักจะนำสองคำนี้มาตีความให้เป็นสิ่งเดียวกันได้ นับเป็นคำอ้างของผู้ไม่ประสงค์ดี หรือบิดเบือนความจริง ดังได้กล่าวมาแล้วว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นของจริง ถือว่าไม่ใช่ศิลปะ นั่นเป็นความหมายโดยทั่วไป แต่กรอบความคิดเพียงเท่านี้ยังไม่พอ สำหรับความหมายในเชิงสร้างสรรค์ หรือเชิงจริยธรรม ศิลปะต้องเป็นสิ่งที่ไม่ทำลาย หรือเบียดความเจริญทางจิตวิญญาณด้วย นั่นหมายถึงว่า ศิลปะใดๆ ก็ตามถ้าเป็นต้นตอให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนในเชิงลบ หรือทำลายจริยธรรมอันดีงามของสังคม สิ่งนั้น ไม่ใช่ศิลปะอันติมะ หากนำไปบรรจุไว้ในภาพยนตร์ หรือสื่อใดๆ ก็ตาม จะทำให้สื่อนั้นกลายเป็นสิ่งของประโลมโลก ไร้สาระ หรือน้ำเน่า ไปทันที
 
อนาจาร มีสภาวะเป็นของจริงก็ได้ และเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยวิธีการเดียวกับศิลปะก็ได้ แต่มีความหมายนัยเดียวเท่านั้นคือ สิ่งที่ทำลายหรือเป็นศัตรูกับจริยธรรม การนำเอาสิ่งที่เป็นอนาจารมาบรรจุไว้ในภาพยนตร์ จึงถูกสังคมประณามอยู่ทุกยุคทุกสมัย

ประเภทของภาพยนตร์ (Film Genre)
ประเภทของภาพยนตร์ น่าจะเป็นการจำแนกประเภทภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยสำหรับคนดู อย่างน้อยในเบื้องต้น มักก็ถูกใช้เพื่อตอบสนองความพยายามในการหาข้อสรุปสั้นๆ ว่า ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งๆ นั้นมีลักษณะและเนื้อหาเป็นเช่นไร
 
ประเภทของภาพยนตร์เป็นการจำแนกประเภทภาพยนตร์โดยยึดถือส่วนประกอบของเนื้อหาเป็นหลัก ส่วนประกอบดังกล่าว ได้แก่ ลักษณะตัวละคร ความขัดแย้ง ฉากเหตุการณ์ แบบแผนของโครงเรื่องและแก่นเรื่อง
 
ภาพยนตร์ที่จัดเป็นประเภทเดียวกัน คือภาพยนตร์ที่มีลักษณะร่วมกัน ในส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เมื่อมีลักษณะตัวละครคล้ายกัน มีฉากเหตุการณ์อยู่ในช่วงเวลาและสถานที่ใกล้เคียงกัน และมีแบบแผนของโครงเรื่องคล้ายกัน นั่นทำให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเดียวกัน
ประเภทของภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมีอยู่มากมาย อาทิ ภาพยนตร์เพลง ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ ภาพยนตร์บุกเบิกตะวันตก ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์แก๊งสเตอร์ และภาพยนตร์สยองขวัญ(ข้อมูลทางวิชาการ/มหาวิทยาลัยเกริก เกี่ยวกับ ศาสตร์และศิลป์แห่งภาพยนตร์
อ้างอิง www.krirk.ac.th/faculty/Communication_arts/.../file02.doc -)
         
             
สมณะโพธิรักษ์ แห่งสำนักสันติอโศก อดีตครูเพลง ครูในวงการบันเทิง วิทยุโทรทัศน์ ซึ่งรู้จักกันดีในนาม "รัก รักพงศ์" (ปัจจุบันเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนาวัฒนธรรม) ได้จัดแบ่งประเภทของสื่อวิดีทัศน์ สื่อภาพยนตร์ ในมิติทางศาสนา ออกเป็น 3 ประเภท คือ
             1. ประเภทสารคดี ประกอบด้วย สาระความรู้ทั่วไป (โลกธรรม) เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เกษตรกรรม วัฒนธรรม อาชีพ
             2. ประเภทธรรมคดี ประกอบด้วย สาระความรู้ที่ มีธรรมะแทรกไว้เกินร้อยละ 60 (โลกุตระธรรม) เช่น ประวัติศาสตร์ศาสนา เรื่องของนักบุญ เหตุการณ์ พิธีกรรม กิจกรรม กิจการ ทางศาสนา
             3. ประเภทบันเทิงคดี ประกอบด้วยเรื่องราว ลีลา แสง เสียง บทบาท ที่แสดงออกไปในทางโลภ โกรธ หลง ซึ่งถือเป็นเครื่องชูรสในการดู แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ ลักษณะซาบซึ้งตรึงใจ (Romanticism) เช่น เรื่องรัก ประทับใจ (แนวโลภะจริต - ราคะจริต) ลักษณะร้อนแรง ดุเดือด (Sadism) เช่น เรื่องบู๊ โหดเหี้ยม กำลังภายใน (แนวโทสะจริต) ลักษณะสัจจะสังคม (Realistic) เช่น เรื่องราวความเป็นจริงในสังคม ที่เกิดขึ้นจริง และ ลักษณะจินตนาการ (Idealistic) เช่น เรื่องราวที่เน้นอุดมคติ อุดมการณ์ ยึดมั่นต่อคุณความดีของมนุษย์ทั้งนี้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมและสั่งสอนธรรมะ โดยใช้สื่อภาพยนตร์เป็นอุปกรณ์ช่วยสอน (จากหนังสือ หลักปฏิบัติของชาวอโศก, สรรค่า สร้างคน. กรุงเทพฯ: บจก.ฟ้าอภัย, 2542 หรือ http://www.asoke.info/04Agriculture/OFNT/Svita/Course/course_svita[6].html)






ภาพประกอบ 4  :  สมณะโพธิรักษ์ แห่งสำนักสันติอโศก
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.oknation.net/blog/naiman/2010/03/06/entry-1

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

เรตของหนัง- การจัด เรตของภาพยนตร์ (Film Ratings)

             
ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (http://th.wikipedia.org) ว่าด้วยเรื่องการจัดเรตของหนัง-เรตของภาพยนตร์ หรือที่เรียกกันในภาษาฝรั่งว่า Film Ratings ว่า เป็นการจัดระดับตามตามเนื้อหาและฉากของ ภาพยนตร์ จุดประสงค์เพื่อกำหนดความเหมาะสม ของการเข้าชมภาพยนตร์สำหรับ เด็กและเยาวชน แต่ละประเทศมีลักษณะมาตรฐานวิธีจัดแบ่งแตกต่างกันไป ในปัจจุบัน ที่เป็นสากลและได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ มาตรฐานของสหรัฐอเมริกา ซึ่งตาม ระบบการจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) โดย สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (Motion Picture Association of America) ดังจะสามารถพบเห็น การกำหนดเรตได้ตามเว็บไซต์ภาพยนตร์ อย่างเห็นได้ชัด ระดับภาพยนตร์ หรือเรตภาพยนตร์ ได้แก่
             
1. เรต จี ( G = General )อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้ ตัวอย่าง.. Finding Nemo, The Lion King, Madagasgar, A bug's Life, The Prince of Egypt ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. ก้านกล้วย
           
2. เรต พีจี ( PG = Parental Guidance ) อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้ แต่แนะนำให้ เด็กและเยาวชน มีผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำแนะนำ เพราะเนื้อหาบางส่วน อาจ ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ตัวอย่าง.. Shrek, Harry Potter, ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. เพื่อนสนิท,
           
3. เรต พีจี-13 ( PG-13 = Parental Guidance-13 ) อนุญาตให้ทุกคนเข้าชมได้ แต่ เด็กต่ำกว่า 13 ปี ต้องมีผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้แนะนำ เพราะเนื้อหาบางส่วน ไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ตัวอย่าง.. Batman Begins, Star Wars, Titanic, Spiderman, James Bond 007, Rasie Your Voice, Finding Neverland, What A Girl Want, A Walk To Remember, Mean Girls, Monster In Laws, Laws Of Attraction ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. มนุษย์เหล็กไหล, องค์บาก, บางระจัน, แก๊งชะนีกับอีแอบ, เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย, มหาลัยเหมืองแร่, นางนาก, 15 ค่ำเดือน 11, ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น
             
4. เรต อาร์ ( R = Restricted ) เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี จะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปด้วยเท่านั้น ห้ามเข้าชมเพียงลำพัง เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรง ภาพสยดสยอง ภาษาไม่เหมาะสม หรือเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ตัวอย่าง.. Kill Bill, The Matrix, Troy, Resident Evil, Hannibal, The Passion Of Christ, Man On Fire, Sin City, The Davinci Code, Kung Fu Hustle, American Pie ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ เดอะมูฟวี่, สองคน สองคม, วิ่งสู้ฟัด, เดชคัมภีร์เทวดา, โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง, ต้มยำกุ้ง, เดอะกิ๊ก, ลองของ, ศพ, ไฉไล, รักจัง
             
5. เรต เอ็นซี-17 ( NC-17 = No one 17 and under admitted ) ไม่อนุญาตให้ เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชม โดยเด็ดขาด เพราะภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น ตัวอย่าง.. Saw, The Dreamer, The Brow Bunny, Last Tango In Paris, The Rule Of Attraction ตัวอย่างภาพยนตร์ไทยและเอเชีย (ถ้ามีการจัดเรต) คาดว่า เช่น.. เด็กหอ, 13 เกมสยอง, รับน้องสยองขวัญ, 5 แพร่ง
             
6. ภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้กำหนดเรต จัดให้เป็น เอ็นอาร์ (NR = Not Rated) หรือข้อความว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่ได้กำหนดเรต (This film is not yet rated) อย่างไรก็ตาม ระดับนี้ ไม่นับเป็นระดับเรตอย่างเป็นทางการของสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน

หมายเหตุ แม้ไม่มีกำหนดตายตัวด้านเนื้อหา เพื่อแบ่งระดับเรตภาพยนตร์ แต่มีข้อสังเกตโดยย่อดังนี้

             1. เรต PG-13 ถือเป็นระดับกลาง บรรดาผู้จัดจำหน่ายฯ จึงต้องการให้ภาพยนตร์รักษาไม่ให้เกินจากระดับนี้ ด้วยเหตุผลทางการตลาด ให้ภาพยนตร์เข้าถึงกลุ่มคนวงกว้างที่สุด หากผู้จัดฯ เสนอต่อองค์กรฯ เพื่อจัดแบ่งเรต (ก่อนนำภาพยนตร์ออกฉาย) แล้วได้เรตสูงกว่านี้ ทางผู้จัดฯ อาจถึงกับดำเนินการตัดต่อ เพื่อขอจัดเรตใหม่ ก็ได้
             2. คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า เรต R หมายถึง โป๊ แต่แท้จริง ยังรวมถึงฉาก น่ากลัวสยองขวัญ , การต่อสู้หรือทำร้ายรุนแรง (ทำร้ายกันง่ายๆ หน้าเบี้ยว เลือดสาด อวัยวะกระจาย) , การใช้คำแสลงคำหยาบคาย, การใช้ยาเสพติด, การลักพาตัว, เนื้อหาที่อาจก่อความเข้าใจผิดทางศาสนา ความเชื่อ เชื้อชาติ การเมือง, เนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม แต่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง ถ้ามีคำหยาบคายคายไม่เกินสามคำ และไม่มีบทโป๊หรือเปลือย มักถูกจัดอยู่ใน เรต PG-13 , ถ้ามีคำหยาบคายเกินสามคำ มักถูกจัดอยู่ใน เรต R
             3. ถ้ามีเนื้อหาอ้างอิงเกี่ยวกับยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ใน เรต PG-13 , ถ้ามีฉากในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนยาเสพติด มักถูกจัดอยู่ใน เรต R
             4. ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้หญิง มักถูกจัดอยู่ใน เรต R, ถ้ามีฉากโป๊เปลือยของผู้ชาย อาจถูกจัดอยู่ใน เรต R หรือ เรต NC-17
             5. เรต NC-17 จัดเป็นเรตต้องห้าม ถ้าไม่โป๊หรือโหดร้ายที่สุดก็ไม่ถึงกับถูกจัดเข้าเรตนี้ ส่วนใหญ่เน้นหนักภาพยนตร์โป๊เสียมาก เนื้อหาคล้าย เรต R แต่รุนแรงกว่าหลายเท่า สังเกตว่าโครงเรื่องโดยตรง หรือมีเนื้อหาเข้าข่ายเกินครึ่งเรื่อง เช่นเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม ซึ่งไม่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง
(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้นหา/เรตของภาพยนตร์ และการจัดเรตของภาพยนตร์/Film Ratings
ใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD
%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)






ภาพประกอบ 5  :  เรตของหนัง จัดโดย MPAA film rating system
อ้างอิงภาพประกอบ  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Movie_rating.jpg

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

เรตของหนัง- การจัดเรตของภาพยนตร์/Film Ratings (ในประเทศไทย)

             
ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (http://th.wikipedia.org) ว่าด้วยเรื่องการจัดเรตของหนัง-เรตของภาพยนตร์ โดยเฉพาะการจัด เรตของภาพยนตร์ในประเทศไทย สรุปความได้ดังนี้
             
ในไทยเพิ่งจะมีการประกาศใช้พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมานั้น ได้เปลี่ยนจากระบบ "เซ็นเซอร์ภาพยนตร์" (รวมทั้ง หนัง สารคดี ละคร ที่อาจอยู่ในรูปของหนังที่ฉายในโรงหนังหรือฟิล์ม และหนังแผ่นประเภทดีวีดี วีซีดี ซีดีรอม) มาเป็นการจัด "เรตติ้ง" โดยกำหนดภาพยนตร์ไว้ 7 ประเภทคือ
            1. ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู
            2. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป
            3. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่13 ปีขึ้นไป
            4. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่15 ปีขึ้นไป
            5. ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่18 ปีขึ้นไป
            6. ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู (ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส)
            7. ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้โดยมีคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นผู้ตรวจพิจารณาและกำหนดประเภทภาพยนตร์ว่าอยู่ในประเภทไหน
(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำค้นหา/การจัดเรตของหนัง-ภาพยนตร์/Film Ratings ในประเทศไทย
ใน http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD
%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)


             
ในเว็บไซต์ของกลุ่มคนรักหนังสยองขวัญในประเทศไทย มีอยู่เว็บไซต์หนึ่งที่ซึ่งสมาชิกภายในเว็บเรียกกันติดปากว่า "คลับหนังโหด" หรือ http://www.horrorclub.net/ อันเป็นเว็บไซต์สำหรับคนรักหนังสยองขวัญที่มีจำนวนยอดผู้เข้าชมอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศไทย คลับแห่งนี้ได้จัด/จำแนก เรตของหนังที่จะสามารถฉายใน Web site ออกเป็น 2 เรตด้วยกันคือ
             1. G (General) หรือหนังที่เปิดให้สมาชิกทั่วไปเข้าชมได้ ในส่วนของ G จะเป็นหนังที่เปิดให้สมาชิกทั่วไปเข้าชมได้ G - หนังระทึกขวัญ สยองขวัญ หนังโหดในระดับเมนสตรีม ฮอลลีวู้ด (พิจารณาง่ายๆ ว่าหนังเรื่องไหนฉายโรงได้) มีเนื้อหาเขย่าขวัญในระดับเบาบางถึงปานกลาง มีฉากฆาตกรรม สังหาร ทรมานได้ อยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ไม่มีการเน้น จงใจให้เห็นถึงรายละเอียดการทำร้าย เข่นฆ่าอย่างเกินขอบเขต

หมายเหตุ
             - ในที่นี้อาจรวมถึงหนังโหดเลือดสาดที่อยู่ในกรอบวิถีของหนังmainstream ได้ หากไม่สื่อถึงความวิปริตของรายละเอียดอย่างรุนแรง เช่น Haute Tension / Wrong Turn / The Hill Have Eyes
(การแคปเป็นภาพนิ่ง จะตัดทอน "การเคลื่อนไหว" ในท่วงท่าลีลาการแสดงออกที่รุนแรงในระดับหนึ่ง)
            - หรือหนังโหดเลือดสาดที่บอกเล่าด้วยท่วงท่าและลีลาขบขัน จนกลายเป็นหนังสยองที่มีสัดส่วนความเป็นหนังตลกอยู่กึ่งหนึ่ง จำพวกหนังคัลท์ฮาประหลาดสาดน้ำแดง ของญี่ปุ่น หรือหนังเกรดบีทุนต่ำแบบดูเอามันส์ แก้คัน ไม่เนียน เช่น The Machine Girl / Tokyo Gore Police หรืออย่าง Planet Terror, Bad Taste ก็ตาม (ขอแค่ระวังไม่ให้มีฉากโป๊ติดเข้ามาก็พอ)
            - หนังบางเรื่องที่นำเสนอแง่มุมที่วิปริต ตีแผ่จิตใจมนุษย์ และมีประเด็นที่อันตราย มีการตั้งคำถามยั่วล้อเพื่อสั่นไหวภูมิคุ้มกันทางจิต หากภาพที่ปรากฏไม่แสดงออกถึงความน่าขยะแขยง รุนแรงจนเกินขอบเขตปกติขันธ์ สามารถนำมาฉายได้ เช่น หนังของฮาเนเก้ หลายๆเรื่อง อย่าง Funny Game, The Piano Teacher etc. หรือหนังยุโรปจิตๆ แบบที่นิ่งๆเงียบๆเนิบๆ (หนังพวกนี้ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการตีความในเชิงลึก ซึ่งแน่นอนว่าการถูกจำแนกแตกเป็นภาพนิ่ง จะกำจัดสาส์นแห่งความวินาศกรรมในหนังออกไปในระดับหนึ่ง + เมื่อรวมกับวิธีการพากย์ แบบฮาอันเป็นวิถีประชาบอร์ดนิยมแล้ว จึงสามารถกรองกลั่นความรุนแรงออกได้)
             2. NC20 (No Children 20)  หรือ No One 20 and Under Admitted หมายถึง ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู(ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) ในส่วนของ NC20 จะจำกัดสำหรับผู้มีคุณสมบัติผ่านเท่านั้น (คืออายุมากกว่าหรือเทียบเท่า 20 ปี) NC20 - หนังระทึกขวัญ สยองขวัญ ที่มีเนื้อหาความรุนแรงในระดับเข้มข้น มักเป็นหนังที่ไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ เนื่องด้วยเนื้อหาที่มีความรุนแรง อนาจาร เรื่องทางเพศ ที่เกินกว่าจินตนาการของคนทั่วไปจะนึกถึง มีภาพที่อุจาด และแสดงให้เห็นถึงการเข่นฆ่า ทรมานเหยื่อด้วยความวิปริต มีการจงใจเผยให้เห็นรายละเอียด ขั้นตอนของการสังหารเหยื่ออย่างจงใจและชัดเจน เช่น Martyrs, Inside, Basie moi, All Night Long (ยกเว้นภาค1) เป็นต้น
             NC20 ยังสามารถรวมไปถึงหนัง genre ใดก็ได้ ที่ปรากฏภาพของความรุนแรง อนาจารอย่างไร้ขอบเขต ไม่ได้พิจารณาเพียงแค่การเข่นฆ่า ทำลายล้างแต่เพียงอย่างเดียว เช่น Visitor Q, Bruno, หนังหลายๆเรื่องของ John Waters ที่แสดงให้เห็นรสนิยมอันเหลือขณาของชนชายขอบจริยจารีตทั้งหลาย... โดยรวมถึงแม้จะไม่ได้ปรากฏรูปธรรมเป็นเลือด ไส้ ชิ้นส่วนอวัยวะ แต่หนังเหล่านี้ก็มีประเด็นที่หล่อแหลมพร้อมจะเสียดแทงใจร้าว ใจเปราะบาง หัวใจกระดาษให้พังแตกขาดยับเยิน เมื่ออ่านมาจนถึงบรรทัดนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนอาจจะเริ่มหายสงสัยถึงการจำแนกเรตของหนัง แต่หลายคนก็อาจจะก่ำกึ่งอยู่ว่าแท้จริงแล้ว หนังที่ตนเองเตรียมจะฉายควรจะได้รับพื้นที่ ณ แห่งไหนหลายเรื่องอาจมีโครงเรื่องที่คล้ายกัน ฉากสังหารที่ทารุณพอกัน แต่เมื่อสัมผัสความรุนแรงอาจพบว่าต่างกันมากๆ เช่น The Texas Chainsaw Massacre กับ Frontiers นั้นเพราะหน่วยย่อยของภาพยนตร์ทำงานขึ้นอยู่กับอารมณ์ อันเป็นนามธรรมที่ไหลเวียนเปลี่ยนผันไม่อยู่นิ่ง และไร้สถานะคงรูปตามแต่วุฒิภาวะ และประสบการณ์ของแต่ละคน ซึ่งคงไม่เหมาะสมหากจะใช้มาตรฐานของคนใดคนหนึ่งมาเป็นมาตรวัด ฉะนั้น เพื่อแก้ปัญหาด้านนี้ให้เป็นระเบียบได้มากที่สุด เท่าที่จะจัดการกับอารมณ์ได้ จึงนำไปสู่ปฏิบัติการณ์ในข้อสอง







ภาพประกอบ 6  :  ทองปาน (Tongpan) หนังต้องห้ามของไทยในปี พ.ศ.2519
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.thaicinema.org/news49_15tongpan.asp





****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

หนังต้องห้าม (Prohibited Films)

             
ในเรื่องเกี่ยวกับ "หนังต้องห้าม" หรือ Prohibited Films นั้นขอยึดเอาตามแนวทางที่สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน หรือ Motion Picture Association of America ได้สร้างระบบการจัดระดับภาพยนตร์แบบ เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) เอาไว้ว่าหนังที่ได้ เรต เอ็นซี-17 (NC-17 = No one 17 and under admitted)นั้นให้จัดเป็นหนังใน "เรตต้องห้าม" คือไม่อนุญาตให้ เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมโดยเด็ดขาด ส่วนใหญ่หนังเรตต้องห้ามเน้นหนักภาพยนตร์โป๊เสียมาก เนื้อหาคล้าย เรต R แต่รุนแรงกว่าหลายเท่า สังเกตว่าโครงเรื่องหลักโดยตรง มักมีเนื้อหาเข้าข่ายเกินครึ่งเรื่อง เช่นเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม ซึ่งไม่มีบทสรุปถึงความถูกต้อง และหนังต้องห้ามยังหมายรวมไปถึงหนังที่ถูกคัดให้อยู่ใน เรต NC20 (No Children 20)  หรือ No One 20 and Under Admitted ซึ่งหมายถึง หนัง หรือภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู(ยกเว้นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) ในส่วนของ NC20 จะจำกัดสำหรับผู้มีคุณสมบัติผ่านเท่านั้น (คืออายุมากกว่าหรือเทียบเท่า 20 ปี) NC20 - หนังระทึกขวัญ สยองขวัญ ที่มีเนื้อหาความรุนแรงในระดับเข้มข้น มักเป็นหนังที่ไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ เนื่องด้วยเนื้อหาที่มีความรุนแรง อนาจาร เรื่องทางเพศ ที่เกินกว่าจินตนาการของคนทั่วไปจะนึกถึง มีภาพที่อุจาด และแสดงให้เห็นถึงการเข่นฆ่า ทรมานเหยื่อด้วยความวิปริต มีการจงใจเผยให้เห็นรายละเอียด ขั้นตอนของการสังหารเหยื่ออย่างจงใจและชัดเจน หนังต้องห้าม(Movies prohibited)ทั้งใน Rate-NC 17 และ Rate-NC 20 ถือเป็นหนังในเรตต้องห้ามอย่างเต็มตัว โดยหนังในเรตต้องห้าม Movies prohibited ที่เป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักดูหนังที่นิยมภาพความรุนแรง เซ็กส์ ความวิปริต เจ็บป่วยทางจิตจนถึงขั้นเรียกว่า "หนังต้องห้าม" นั้น อาทิ เรื่อง Salo the 120 Days of Sodom  ของผู้กำกับ Pier Paolo Pasolini ในปี 1976, เรื่อง Guinea Pig 2 :  Flower of Flesh and Blood หนังแนว Snuff Film ญี่ปุ่นของผู้กำกับ Hideshi Hino ในปี 1985, เรื่อง August Underground's Mordum หนังในตระกูล August Underground ของผู้กำกับ Jerami Cruise และ Fred Vogel ในปี 2003 หรือจะเป็นหนังเรื่อง Visitor Q หรือ Bijitâ Q ในภาคภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลงานการกำกับของ Takashi Miike ในปี 2001 เป็นต้น
         


หนังต้องห้ามในประเทศไทย เเละในต่างประเทศ
             
             มีหนังหลายเรื่องที่ไม่ผ่านการพิจารณาและอนุญาตให้ฉายได้ในประเทศไทย ด้วยติดสาเหตุหลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องหนังกระทบต่อระบอบการเมืองการปกครอง ทำลายภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศ รวมทั้งหนังที่สร้างความร้าวฉาน และ/หรือทำลายศีลธรรมความดีงาม  หนังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ห้ามฉายโดยเด็ดขาดในประเทศไทย(ในยุคสมัยหนึ่ง) นอกจากนี้ยังมีหนังต้องห้าม(ห้ามฉาย)ในอีกหลายประเทศด้วย อาทิ
            1. เรื่องคนกราบหมา (My Teacher Eats Biscuits) หนังปี 2540 กำกับเเละเขียนบทหนังโดย อิ๋ง เค
            2. เรื่องเดอะคิงแอนด์ไอ (The King and I) หนังในปี 2499 นำแสดงโดย ยูล บรินเนอร์ และ เดบอราห์ เคอร์
            3. เรื่องทองปาน หนังไทยกึ่งสารคดี ที่สร้างขึ้นในปี 2519 ฉายเป็นครั้งเเรกช่วงปลายปี 2520 ที่สถาบันเกอเธ่ บ้านพระอาทิตย์ และที่สยามสมาคม กำกับเเละเขียนบทหนังโดย ไพจง ไหลสกุล
             4. เรื่องแอนนาแอนด์ เดอะ คิง (Anna and the King) ในปี 2542 กำกับโดย Andy Tennant
             5. เรื่อง Insects in the Backyard ในปี 2553 ผลงานการกำกับของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
             6. เรื่องแสงศตวรรษ ในปี 2006 ผลงานการกำกับของ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล(ซึ่งต่อมาได้เเก้ไขเเละฉายที่โรงพารากอนซีนีเพล็กซ์ในวันที่ 10 เมษายน 2551 เเต่หนังก็ต้องใส่ฟิล์มดำแทนฉากที่โดนตัด เพื่อแสดงถึงการโดนบังคับตัดออก)
             7. เรื่อง Zoolander ในปี 2001
             8. เรื่อง Xiu Xiu :  The Sent Down Girl ในปี 1998
             9. เรื่อง Basie moi ในปี 2002 ผลงานการกำกับของ วีร์ชินี่ เดสปองต์
            10. เรื่อง Realm  of Senses ในปี 1976 ผลงานการกำกับของ นากิช่า โอชิม่า
            11. เรื่อง Summer Palace ในปี 2006 ผลงานการกำกับของ หลูยี
            12. เรื่อง Saw 6 ในปี 2009 ผลงานการกำกับของ Kevin Greutert
(หมายเหตุ  :  ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็น หนังต้องห้าม เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่ห้ามฉาย หรือเผยแพร่โดยเด็ดขาดภายในราชอาณาจักร/ในประเทศไทย)








ภาพประกอบ 7  :  Insects in the Backyard หนังไทยที่ห้ามฉายในไทยปี พ.ศ.2553
อ้างอิงภาพประกอบ  http://movie.mthai.com/movie-news/81391.html

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

Snuff Film (หนังต้องห้าม)
             
             
คนที่ชอบดูหนังสยองขวัญหลายๆท่านผมเชื่อล่ะว่าต้องมีได้ผ่านตาดูหนังเรื่อง Cigarette Burns มาบ้าง  หนังเรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับของ John Carpenter ราชาหนังเขย่าขวัญแถวหน้าของโลกอีกท่านหนึ่ง  ผู้สร้างหนังสยองขวัญดังๆหลายเรื่อง  อาทิ Halloween  และThe Thing  เป็นต้น  Cigarette Burns เป็นหนึ่งในหนังชุด Masters Of Horror Season 1 ว่าแต่มันมีความน่าสนใจตรงไหนนะหรือ?   ครับหนังสยองขวัญเรื่อง Cigarette Burns หรือในชื่อภาคภาษาไทยว่า " สยองสะพรึงขวัญ "  มีเนื้อเรื่องที่ชวนให้ติดตามเป็นยิ่ง  กล่าวถึงชายผู้มีอดีตเจ็บปวดคนหนึ่งได้รับการว่าจ้างให้ช่วยสืบ-ค้นหาฟิล์มหนังสยองขวัญหายากเรื่องหนึ่งให้  ซึ่งมีตำนาน-เรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า  หลังจากมีการสร้างหนังเรื่องดังกล่าวเสร็จ  มีการฉายให้สาธารณะชนชมเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วก็ถูกทางการเก็บฟิล์มหนังเข้ากรุไป  เพราะเชื่อว่าหนังสยองขวัญเรื่องดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รับชมถูกทำร้ายสภาพจิตใจอย่างรุนแรง  กลายเป็นบ้า 
             
หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า  " la fin absolue du monde " (อ่านว่า  ลา-ฟิล-แอฟสลู-เดอร์-มอง) น่าจะเป็นภาษาฝรั่งเศสอันตรงกันคำแปลว่า " วันสิ้นโลก " อะไรประมาณนี้แหล่ะ  หนังสยองขวัญ-ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องนี้เองที่เป็นมูลเหตุทำให้ผู้เขียนเก็บเอามาคิด(เล่นๆ)ว่า  ไอ้หนังแบบนี้มันมีอยู่จริงน่ะหรือ?  ประจวบกับในขณะนั้นผู้เขียนอยู่ระหว่างกำลังหาข้อมูลเพื่อทำวิจัยอยู่  ระหว่างที่กำลังหาข้อมูลงานวิจัยทาง Arts-Sculpture-Literature จากหนังสือ และเว็บไซต์ต่างๆก็บังเอิญไป search เจอเข้ากับเว็บไซต์แปลกๆแห่งหนึ่งเข้าโดยบังเอิญ  ซึ่งบอกเล่าความเป็นมาของ "หนังแห่งตำนาน "  เอาไว้  หนังที่ใครๆต่างก็เรียกขานกันว่า  Snuff film
             
เคยได้ยินกันมาบ้างรึเปล่าครับ Snuff film (สนัฟฟ์ฟิล์ม) หลายๆคนที่ชื่นชอบในการชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญสั่นประสาท หรือหนังสยองขวัญ(Horror films)อาจจะพอได้ยินได้ฟังกันมาบ้าง  หลายคนไม่รู้ว่ามันคืออะไร  หลายคนเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่ามันเป็นหนังแนวไหน  ครับ Snuff film (สนัฟฟ์ฟิล์ม) หรือที่เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Snap film   หรือ Short film  บ้างก็เรียกกันว่า Underground (หนังใต้ดิน)

ตามที่เข้าใจกัน Snuff film  เป็นส่วนหนึ่งของหนังแนว Cult Movies หรือที่นักดูหนังแนวนอกกระแสเรียกมันว่า "หนังคัลต์" อันหมายถึงหนังที่ไม่ได้รับการยอมรับกันในวงกว้าง(Mainstream)แต่กลับโดนใจคนดูบางกลุ่มอย่างรุนแรงถึงขั้นลุ่มหลง  Snuff film  กลายเป็นกิ่งก้านสาขาอีกส่วนหนึ่งของ Cult Movies ประหนึ่งก้านใบหรือเมล็ดร่วงหล่นภายใต้ร่มไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขาแยกย่อยออกมาเจริญงอกงามในแนวทางของตนเอง  Snuff film  ไม่ใช่หนังในกระแสหลักของตลาดเพราะฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะมีกลุ่มคนโดยมากได้ดูมัน Snuff film นั้นไม่จำเป็นต้อง Sex เสมอไป ไม่จำเป็นต้อง Porn เสมอไป  แต่ก็มีผู้รู้อีกหลายท่านให้ทรรศนะที่แย้งจากความเข้าใจแรกว่า Snuff film  นั้นน่าที่จะเป็นแขนงหนึ่งของหนังโป๊ (Porn) ในสาย Fetish มากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า Snuff film  นั้นทำเพื่อจุดประสงค์คือสนองความต้องการของคนเฉพาะกลุ่มในเชิง Sex  อย่างเช่นหนังของกลุ่ม Serial Killer Underground / Dead Guy Cinema ที่เป็น Fake Snuff แต่ดูยังไงก็เหมือนหนังโป๊ ที่จับคนมาฆ่ากันชัด ๆ







ภาพประกอบ  8  :  La Fin Absolue Du Monde
อ้างอิงภาพประกอบ  http://damon-gear.deviantart.com/art/La-Fin-Absolue-Du-Monde-108621328?q=sort%3Atime+favby%3AMySweetPhantom&qo=2


             

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

จุดกำเนิดแห่ง Snuff film
             
             
Snuff film  คำๆนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากที่ไหน  ในปี ค.ศ. 1916 มีนวนิยายอยู่เรื่องหนึ่งชื่อ Tarzan and The Jewels of Oper ได้กล่าวเอาไว้ในเนื้อเรื่องบางส่วนเกี่ยวกับคำว่า Snuff film  อันมีความหมายไปในทิศทางที่เลวร้าย  สื่อถึงหายนะและความตาย  นอกจากนี้ในหนังสือเรื่อง 1971 by Ed Sanders,Family : The story of charles Manson (คัดลอกข้อมูลจากหนังสือ The New York Times, Oct. 31, 1971)ได้กล่าวถึงเรื่องราวของ Manson Family (ครอบครัวแมนสัน)ผู้นำของครอบครัวนี้เป็นชายชาวอเมริกันที่มีชื่อว่า Charles Manson (ชาร์ลส แมนสัน)ซึ่งต่อมาประวัติส่วนตัวของแมนสันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งแห่งหนัง Snuff film 
           
ใน wikipedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Snuff_film วันที่ 26 กรกฎาคม 53) กล่าวสรุปอธิบายถึงหนังแนว Snuff film เอาไว้ว่า Snuff film หมายถึง ภาพยนตร์ หรือหนังที่แสดงให้เห็นภาพบันทึกความตาย ภาพการสังหารบุคคล  ประชาชนโดยไม่ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการถ่ายทำ  แต่เป็นการถ่ายจากของจริง
             
ในเว็บไซต์ listing-index.ebay (http://listing-index.ebay.com/movies/Snuff_film.html)อธิบายความหมายของ Snuff film  สรุปเอาไว้ว่าหมายถึง หนังที่มุ่งให้เห็นฉากการฆาตกรรมของจริง เป็นการฆาตกรรมที่มิใช่อุบัติเหตุ แต่เป็นการฆาตกรรมที่มีเจตนากระทำการอย่างชัดเจน และตัวหนังดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงของคนกลุ่มหนึ่งอันไม่เป็นที่เปิดเผย
           
ในเว็บ kucity.kasetsart.org ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหน้า Movie Report ในเว็บ blogging หน้า Movie Report (http://kucity.kasetsart.org/kucity/WebFormDetailBoard.aspx?BRD_ID=12445&PAGE=1) ได้กล่าวถึงเรื่องของ Snuff film  เอาไว้สรุปได้ว่า กล่าวถึง Snuff film แล้วเชื่อว่าเป็นของหนัก  บางคนก็เชื่อว่ามันเป็นประตูเพื่อเข้าไปสู่โลกมืด  มีตำนานบ้าๆที่เล่ากันในหมู่คนดูหนังสยองขวัญ  ว่าถ้าดู Snuff film  แล้วจะทำให้เครียดมากหรือดูแล้วหลอนไปเลย  ไม่สามารถจะชี้ชัดว่า Snuff film ของแท้นั้นสามารถหาดูได้จากที่ไหน
             
จากข้อมูลที่ได้มาเบื้องต้น  ผู้เขียนจึงขอนิยามความหมายเฉพาะแห่ง Snuff film ว่า Snuff film นั้นหมายถึง ภาพยนตร์ หรือหนังประเภทมีฉากฆาตกรรมของจริง  เนื้อหาหลักภายในหนังเน้นฉากการฆ่า ทรมาน ข่มขืนนักแสดงเสียเป็นส่วนมาก  หนังแนว Snuff film ส่วนใหญ่มักนิยมถ่ายแบบ "ลองชอร์ต ไม่มีเทค"  ใน Snuff film จะไม่ปรากฏรายชื่อนักแสดง ผู้กำกับ  วัน เวลา และสถานที่ในการถ่ายทำแต่ประการใด  นักแสดงตัวเอกอาจถูกหลอกมาแสดงหรือถูกวางยาที่ทำให้สติไม่ปกติ  Snuff film จึงเป็นภาพบันทึกห้วงแห่งความตายที่แสนวิปริตแต่กลับเป็นที่ถูกอกถูกใจคนบางกลุ่มถึงขั้นลุ่มหลง  ยกย่องเชิดชูให้เป็นประหนึ่งอาหารเลิศรส  หาชิมยาก  เป็นที่ปรารถนาให้ได้มาเพื่อตอบสนองรสนิยมส่วนตัวอันแสนอันตราย  Snuff film แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Snuff film แบบแท้และแบบเทียม โดย Snuff film ในแบบแท้นิยมเรียกกันว่า Real Snuff film  ส่วน Snuff film แบบเทียมนิยมเรียกกันว่า Fake Snuff film






ภาพประกอบ  9  :  หนังสยองขวัญเรื่อง Snuff ในปี ค.ศ. 1976
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.mankind666.com/index.php?pid=006&topic=248

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

หนังแนว Snuff film เรื่องแรกของโลก

             
หนังแนว Snuff film เรื่องแรกของโลก  ในหนังเรื่อง Peeping Tom ในปี 1960 กล่าวถึงคดีฆาตกรรมเหยื่อแล้วถ่ายวีดีโอเก็บไว้ หนังเรื่องดังกล่าวอาจจะเป็นจุดกำเนิดแห่ง Snuff film (แบบเทียม)ก็ว่าได้  แต่หากกล่าวถึง Snuff film (แบบแท้)เชื่อกันว่าเป็น Snuff film ที่ถ่ายทำโดย Charles Manson (ชาร์ลส แมนสัน) ผู้นำของ The Manson Family กลุ่มฆาตกรโรคจิตชื่อดังในอดีต  โดยกลุ่ม The Manson Family ได้ทำการฆาตกรรม Sharon Tate ดาราสาววัย 26 ปีซึ่งเป็นภรรยาของ Roman Polanski ผู้กำกับหนังสยองขวัญชื่อดังอย่าง Rosemary's Baby หรือในชื่อภาคภาษาไทยว่า  "ทายาทซาตาน" โดยการฆาตกรรมหฤโหดในครั้งนั้นเกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1969    Sharon Tate ซึ่งกำลังท้องแก่ใกล้คลอดถูกฆาตกรกลุ่ม The Manson Family แทงด้วยมีดถึง 16 แผล  ตัดเต้านมทั้งเป็น  กรีดชำแหละตั้งแต่บริเวณหน้าอกจนถึงอวัยวะเพศ  จากนั้นกลุ่มฆาตกรเลือดเย็นจึงใช้เลือดของ Sharon Tate จุ่มด้วยแปรงเขียนคำว่า "pig" เอาไว้ทั้งที่บานหน้าต่างรวมถึงประตู  และในการฆาตกรรมเหยื่อครั้งนี้หลายคนเชื่อกันว่า Charles Manson ได้ถ่ายทำหนัง Snuff film ในการฆาตกรรมเหยื่อเอาไว้ด้วย  แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีใครได้เห็นม้วนเทปดังกล่าว  หรือมีการยืนยันว่ามันมีอยู่จริง 
           
ด้วยพฤติกรรมของ Charles Manson และกลุ่ม The Manson Family ที่แสดงออกมาอาจพอวิเคราะห์ได้ว่าพวกเขาอาจมีพฤติกรรมที่เรียกว่า "ก้าวร้าวโดยกำเนิด"  ซึ่งเชื่อว่าเป็นการถ่ายทอดโดยยีน  เมื่อมีโครโมโซมผิดปกติทำให้เกิดความก้าวร้าว  โบราณเรียกว่า "เลือดชั่ว"  อนึ่ง  กลุ่มผู้มีอาการก้าวร้าวโดยกำเนิด หรือเลือดชั่ว(Bad Blood)แบด บลัด  ปี 1835 จิตแพทย์ชาวอังกฤษ เจมส์ ปริชาร์ด เรียกกลุ่มอาการก้าวร้าวโดยกำเนิดว่า "ผู้มีจิตป่วยในคุณธรรม" หรือ moral insanity ซึ่งปัจจุบันทางจิตวิทยาเรียกว่า "พวกต่อต้านสังคมและจิตใจเสื่อม" หรือ antisocial personality and psychopathy (ข้อมูลเรื่อง Bad Blood จากหนังสือ ซีโนโฟเบีย  โดย กิติกร มีทรัพย์ และ ส. สีมา) กลุ่มตัวอย่างผู้มีอาการก้าวร้าวโดยกำเนิด(Bad Blood)ที่มีชื่อเสียงระดับโลก  เช่น  ชาร์ลส์ โสภราช/อะแลง/กุรมุค  อาชญากรลูกครึ่งอินเดีย-เวียดนาม  สัญชาติฝรั่งเศส  ชาร์ลส์ โสภราช บุรุษผู้มีบุคลิกแบบ Bad Blood หรือกลุ่มผู้มีอาการก้าวร้าวโดยกำเนิด ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งบทร้ายของตัวเอกในภาพยนตร์สยองขวัญชื่อก้องโลก The Silence of the Lambs ซึ่งแสดงโดย เซอร์แอนโธนี่ ฮอพกิ้นส์(ข้อมูลเรื่อง Bad Blood จากหนังสือ Bad Blood โดย ริชาร์ด เนวลิส และจูลี่ คลาร์ก  สองผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลีย)

             
มาต่อกันอีกหน่อยเกี่ยวกับเรื่องการบันทึกเทปวีดีโอของ Charles Manson เชื่อกันว่าม้วนเทปม้วนที่ Charles Manson ได้ทำการถ่ายทำฉากการฆาตกรรม Sharon Tate นี้เอง  กลายเป็น "หนังแห่งตำนาน" เรื่องหนึ่งที่เป็นที่กล่าวขานในหมู่นักดูหนังสยองขวัญแนว Snuff film จากทั่วทุกมุมโลก  บ้างก็มีข่าวลือกันว่าม้วนเทปดังกล่าวได้ถูกทำลายทิ้ง  หรือถูกจำหน่ายไปในตลาดมืดด้วยสนนราคาที่สูงลิบ  อย่างไรก็ตามเรื่องราวของ Charles Manson และสมุนโฉดกลุ่ม The Manson Family กลับได้รับความสนใจจากประชาชน  นักเขียน  รวมถึงผู้กำกับหนังหลายคน  หยิบยกเอาประวัติสุดโฉดชั่วของ Charles Manson มาทำเป็นหนังสือเสียหลายเล่ม(หนึ่งในนั้นก็คือ 1971 by Ed Sanders,Family : The story of charles Manson) 
             
ปี ค.ศ. 1976 หนังสยองขวัญชื่อ Snuff ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ โดยเล่าลือกันว่าหนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากประวัติของ Charles Manson เล่าลือกันหนักเข้าไปอีกในหมู่คนดูหนังสยองขวัญว่าหนังเรื่อง Snuff ที่กำลังเข้าฉายในโรงหนัง ณ ห้วงเวลานั้นมีการฆ่านักแสดงกันจริงๆ  โกลาหลกันใหญ่ว่านักแสดงในเรื่องตายจริง  สุดท้ายทางผู้กำกับต้องออกมาประกาศว่าเป็นเพียงการโหมกระแสของทางผู้จัดจำหน่ายหนัง มิใช่เป็นการตายจริงแบบการถ่ายทำ Snuff film แท้แต่ประการใด  ความโกลาหลวุ่นวายในหมู่ผู้ชมจึงสงบลง  อย่างไรก็ตามแต่ในปี ค.ศ. 2003 หนังเกี่ยวกับประวัติของ Charles Manson ก็ออกฉายจนได้  โดยใช้ชื่อว่า The Manson Family(2003) อำนวยการสร้างและเขียนบทโดย Jim Van Bebber โดยในหนังได้ Marcelo Games มารับบทแสดงเป็น Charles Manson
           







ภาพประกอบ  10  :  Charles Manson / August 1, 1996
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.thesmokinggun.com/mugshots/celebrity/killers/charles-manson-96


****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

Real Snuff film  หนังแห่งตำนานต้องห้ามตลอดกาล

             
จากการบันทึกข้อมูลใน wikipedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Snuff_film วันที่ 26 กรกฎาคม 53) ได้กล่าวอ้างถึง Real Snuff film  เอาไว้ถึง 5 กลุ่มตัวอย่างคดี (ที่ได้รับการเปิดเผย) ซึ่งหมายถึงเป็นการถ่ายทำ Snuff film  ของแท้แบบเล่นจริงตายจริงที่มิใช่เป็นแบบ Fake Snuff film แต่ประการใด  กลุ่มตัวอย่างคดีแรกคือเรื่องราวที่ได้บันทึกเอาไว้ระหว่างปี ค.ศ. 1983-1985 กับการบันทึกเทปวีดีโอของ Charles Ng และ Leonard Lake  ซึ่งทั้ง 2 เป็นฆาตกรโหดในกลุ่มที่กล่าวอ้างมาข้างต้น  Charles Ng หรือ Charles Chi-Tat Ng ชายสัญชาติ Chinese และนาย Leonard Lake สัญชาติ American ได้ร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวเหยื่อสาว และทรมานด้วยกรรมวิธีต่างๆจนถึงแก่ความตาย  ที่ขาดเสียไม่ได้เลยคือทั้ง Charles Ng และ Leonard Lake ได้บันทึกเทปวีดีโอในการทรมานเหยื่อของเขาเอาไว้ด้วย
             
กลุ่มตัวอย่างคดีต่อมากล่าวถึง Paul Bernardo และภรรยาสาว Karla Homolka คู่รักสุดหล่อ-สวยประหนึ่งเทวดาและนางฟ้าที่หวานปานจะกลืนกินจากประเทศแคนาดา เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1990 กับ Paul Bernardo ผู้ได้รับฉายา "นักข่มขืนแห่งสการ์บอโรห์" กระทำการกักขังหน่วงเหนี่ยว-ข่มขืน  และฆาตกรรมเด็กสาว 2 คนอย่างทารุณ นอกจากนี้ Paul Bernardo และ Karla Homolka ยังได้บันทึกเทปวีดีโอขณะลงมือข่มขืนเหยื่อ และยังทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยการหั่นศพแยกร่างออกเป็นชิ้นๆ  ปรากฏหลังจากทั้งคู่ถูกจับ Paul Bernardo ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต  ส่วน Karla Homolka ภรรยาสาวถูกจำคุกจนถึงปี ค.ศ. 2005  ปัจจุบันเทปวีดีโอที่ Paul Bernardo ร่วมกับภรรยาในการฆาตกรรมเหยื่อกำลังเป็นที่ต้องการของนักสะสมของแปลก  ซึ่งราคาค่างวดที่มีคนจ้องจะซื้อมันนั้นสูงลิบ!!!  ซึ่งก็ยังเชื่อกันว่าเทปม้วนดังกล่าวยังคงอยู่ในความครอบครองของทางการแคนาดาจวบจนทุกวันนี้ (ข้อมูลเพิ่มเติมจาก บทความชุดฆาตกรโหดสะท้านโลก ตอนที่ 248 :  Paul Bernardo & Karla Homolka ตอนที่ 1-4 โดย writer.dek-d.com)
             
กลุ่มตัวอย่างคดีที่ 3 คดีนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1997  เป็นเรื่องที่ Ernst Dieter Korzen และ Stefan Michael Mahn สองหนุ่มชาวเยอรมันได้ร่วมกันล่อลวงและลักพาตัวโสเภณีมากักขังหน่วงเหนี่ยว  กระทำอนาจาร  ข่มขืน  และสุดท้ายก็ฆ่าเหยื่อด้วยของมีคมชนิดต่างๆ  ต่อมามีหญิงสาวนางหนึ่งหลบหนีออกมาได้ทั้งสองจึงถูกจับพร้อมเทปของกลางมากมาย  ส่วนมูลเหตุและแรงจูงใจให้ทั้งสองกระทำการดังกล่าวก็คือเงินที่ได้ในการขายหนังแนว Snuff film (Real Snuff film)ให้กับคนในตลาดมืด  ทั้งสองถูกจับและถูกศาลสั่งจำคุกตลอดชีวิต  และตามรายงานบันทึกเอาไว้ด้วยว่า Ernst Dieter Korzen และ Stefan Michael Mahn เป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกๆที่ถูกจับในคดีทำ Snuff film (Real Snuff film) เพื่อขายในเชิงพาณิช







ภาพประกอบ  11  :  Paul Bernardo และภรรยาสาว Karla Homolka
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.cbc.ca/arts/film/karla.html

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

กลุ่มตัวอย่างคดีที่ 4 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2001 โดยฆาตกรที่มีส่วนเกี่ยวพันกับการถ่ายทำ Snuff film (Real Snuff film) รายนี้มีชื่อว่า Armin Meiwes ชายชาวเยอรมันผู้มีชื่อเสียงดังก้องโลกด้วยฉายา Rotenburg Cannibal (มนุษย์กินคนแห่งโรเธนเบิร์ก)  หรืออีกฉายาคือ The Cannibal Cafe (ซึ่งคำว่า The Cannibal Cafe นี้เองใช้เรียกชื่อกลุ่มที่มีความชื่นชอบรับประทานเนื้อคนในเว็บไซต์อันตรายแห่งหนึ่ง) Armin Meiwes เกย์หนุ่มวัย 41 ขวบได้ใช้ Internet ป่าวประกาศออกไปเพื่อหาอาสาสมัครมาให้เขากินเป็นอาหารมื้อค่ำ  ปรากฏมีผู้อาสา(มาเป็นอาหาร)ให้ Armin Meiwes กินเกือบ 300 คน  หนึ่งในหลายคนนั้นก็คือ Bernd Jürgen Armando Brandes ที่ตกมาเป็นอาหารอันโอชะของเขา 
           
จากคำให้การในทางลับได้ข้อมูลว่า Bernd Jürgen Armando Brandes ซื้อตั๋วเดินทางโดยสารรถไฟแบบเที่ยวเดียว(ไปแบบไม่กลับ)  ทั้ง Armin Meiwes และ Brandes ได้ร่วมกันสร้างสัมพันธ์ที่แนบแน่น(ตามประสาเกย์)กันในห้องนอน  จวบจนถึงเวลาที่ได้นัดหมาย Brandes กินยานอนหลับเข้าไปถึง 20 เม็ด นอกจากนั้นยังกินของอีกหลายอย่างรวมถึงเหล้า schnapps เพื่อให้เกิดอาการมึนเมา(จะได้ถูกกินแบบไม่เจ็บปวดมาก)  ผลก็คือ Armin Meiwes ได้กิน Bernd Jürgen Armando Brandes สมใจอยาก  พร้อมทั้งมีการบันทึกวีดีโอขั้นตอน+กรรมวิธีในการทานดินเนอร์มื้อนั้นเอาไว้อย่างละเอียด  หลังจาก Armin Meiwes ถูกจับกุมตัวได้ก็ปรากฏว่ามีผู้สนใจในประวัติของมนุษย์กินคนรายนี้มากถึงขั้นคลั่งไคล้หลงใหล  จนมีการสร้างหนังเกี่ยวกับ Armin Meiwes ขึ้นมาในปี ค.ศ. 2006 ใช้ชื่อว่า Cannibal ได้ Marian DoraMeiwes เขียนบทหนังและอำนวยการสร้าง  ส่วนนักแสดงก็ได้ Carsten Frank รับบทเป็น Armin Meiwes ส่วน Victor Brandl รับบทเป็นผู้อาสาถูกกิน Bernd Jürgen Brandes








ภาพประกอบ  12  :  Armin Meiwes ฉายา "มนุษย์กินคนแห่งโรเธนเบิร์ก"
อ้างอิงภาพประกอบ    http://blog.hipertacular.com/2010/08/21/qual-o-gosto-da-carne-humana/

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

กลุ่มตัวอย่างคดีสุดท้ายเกิดขึ้นในราวเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 2007  ในรายของ Viktor Sayenko และ Igor Suprunyuck สองเด็กหนุ่มวัยรุ่นหัวก้าวร้าวได้ช่วยกันทุบตีเหยื่อด้วยค้อน และแทงด้วยไขควงจนเหยื่อถึงแก่ความตาย  โดยระหว่างที่มีการทำร้ายและฆ่าเหยื่อทิ้งนี้เองเด็กทั้งสอง(ความจริงมีเด็กอีกคนร่วมด้วยชื่อ Alexander Hanzha)ได้ถ่ายคลิปดังกล่าวไว้ในโทรศัพท์มือถือ  รวมทั้งเอาไปเผยแพร่ใน Internet ด้วยความคึกคะนอง  กลายเป็นข่าวดังในเว็บไซต์ และตามหน้าหนังสือพิมพ์หัวสีไปหลายวัน  ซึ่งในคลิปวีดีโอที่ได้อัพโหลดใน Youtube (เข้าใจว่าลงไว้หลายแห่ง)ได้ทำให้ผู้ที่ได้รับชมถึงกับตกตะลึงกับพฤติกรรมอำมหิตดังกล่าวที่ได้พาลพบประสบเจอ  ปัจจุบันทั้ง Viktor Sayenko และ Igor Suprunyuck ถูกจับกุมและกำลังชดใช้กรรมที่ตนเองได้ก่อเอาไว้ ณ สถานที่คุมขังแห่งหนึ่ง (ข้อมูลเพิ่มเติมทั้ง 5 กลุ่มตัวอย่างคดีจาก Wikipedia ภาคภาษาอังกฤษ ใน http://en.wikipedia.org/wiki/Snuff_film วันที่ 26 กรกฎาคม 53)  โดย Snuff Film ที่ Viktor Sayenko, Igor Suprunyuck และ Alexander Hanzha ได้ร่วมกันถ่ายทำในครั้งนั้นมีชื่อว่า "3 guys 1 hammer" เด็ก 3 คนนี้ใช้ชื่อกลุ่มว่า Dnepropetrovsk Maniacs












ภาพประกอบ  13-14  :  Viktor Sayenko, Igor Suprunyuck and Alexander Hanzha
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.aimbox.cl/wp-content/uploads/2010/01/Dnepropetrovsk_Maniacs.jpg

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

Fake Snuff film ในโลกแห่งหนังใต้ดิน

             
หลังจากกระแสของ Snuff film จากหนังเรื่อง Snuff ได้เข้ามาปลุกอณูแห่งความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่ไม่ควรของนักดูหนัง  ก็ปรากฏมีหนังแนว Snuff film (Fake Snuff film)ทยอยออกมาให้นักดูหนังแนวนอกกระแสได้ชมกันเป็นจำนวนมาก  ซึ่งดูเหมือนว่าหนังเรื่อง Faces of Death (1978)หรือในชื่อภาคภาษาไทยว่า "แอบดูเป็นแอบดูตาย" จะเจริญรอยตามหนังเรื่อง Snuff อย่างไม่มีผิดเพี้ยน  กล่าวคือหนังอาศัยเทคนิคการถ่ายทำแบบ Home Video ที่กำลังเป็นที่นิยมกันในยุคสมัยนั้น มาทำการตัดต่อกันเข้าเป็นหนัง  อันประกอบด้วยเหตุการณ์ฆาตกรรม  อุบัติเหตุ  การประหารชีวิตนักโทษในประเทศต่างๆ  แล้วประกาศออกมาว่าเหตุการณ์ในหนังเป็นเรื่องจริง(ส่วนใหญ่เป็นฉากแหกตา) บวกกับคำขู่หน้าโรงที่ว่า "เด็ก สตรีมีครรภ์ และคนเป็นโรคหัวใจงดรับชมเด็ดขาด" ได้ผลเกินคาด  คำโปรยหน้าโรงหนังเล่นกับความกล้าของคนดู เล่นกับนิสัยของคนดู  ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ หนังเลยขายได้จนต้องสร้างภาคต่อตามมาอีกหลายภาค  ต่อจากหนังเรื่อง Faces of Death (1978)ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นภาคที่ 4 (จาก 8 ภาค)ก็มาถึงหนังแนวสารคดีกึ่ง Snuff film (Real Snuff film)ที่จัดว่าดังแบบเงียบๆแต่หนักมากหากท่านจะหามารับชม  หนังเรื่องนี้ออกแนว Faces of Death แต่ภาพโดยรวมส่วนใหญ่ในหนังเชื่อกันว่าเป็นของจริง  หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Traces of death หรือชื่อภาคภาษาไทยว่า "แอบดูความตาย" 
             
อนึ่ง แต่ก็มีท่านผู้รู้อีกหลายท่านได้ให้แง่คิดเอาไว้เกี่ยวกับหนังเรื่อง Faces of Death ว่าน่าจะถูกจัดให้แยกออกมาจากส่วนของ Snuff โดยหากจะยังเป็น Subset ของ Cult films อยู่ก็ยังนับได้ แต่โดยนัยของการพยายามนำเสนอ โดยเราจะยังไม่พูดถึง "จริงหรือหลอก" หนังในแบบ snuff นั้นพยายามสื่อ หรือใช้กลวิธีต่างๆในการถ่ายทอดให้เห็นความตายตรงหน้า ว่าเป็นคนที่ถูก"ฆ่า"ตายจริงโดยไตร่ตรองไว้ และยังมีมิติของความเป็นสิ่งต้องห้ามอยู่ในทุกอณูของหนัง เช่นการปิดบังใบหน้าของฆาตกร การไม่มีข้อมูลประกอบเสริมในรายละเอียดของตัวละครว่าเป็นใครมาจากไหน เหตุใดจำต้องฆ่า  Faces of death มาฉายในไทยครั้งแรกโดยเครือพิรามิด(ปัจจุบันเป็นเอเพกซ์) ในชื่อ แปลก 25 น. ประมาณปี 1980 หลังจากนั้น Faces of death 3 ก็ตามมาในปี 1982 ในชื่อ หยุดเถิดความตาย กับเครือปิรามิดเหมือนเดิม พอมาปี 1992 นนทนันท์เอนเตอร์เทนเมน์สั่ง faces of death ภาค4 มาฉาย ในชื่อ แอบดูเป็น แอบดูตาย ทำโปรโมทเสียโด่งดัง ปีถัดมา สหมงคลฟิล์มไปเอา ภาคแรกกลับมาฉายอีก เปลี่ยนชื่อเป็น ดูเป็นดูตาย กินเป็นกินตาย หลังจากนั้นก็เป็นยุคของวีซีดี และดีวีดี เมื่อ Gorgon Video มาซื้อลิขสิทธิ faces of death ไปทำดีวีดีขาย ได้มีการเอาไปตัดต่อยำคลิป ใส่ดนตรีประกอบแนวเดธเมทัล ยำเสียจนซีรีส์ชุดนี้เละเทะไปหมด ที่ท่านได้ชมผ่านคลิปโหลด หรือดีวีดีเถื่อนทั้งหลายนั่นขอบอกว่าเละไปจากต้นฉบับอักโขทีเดียว







ภาพประกอบ  15  :  The Original Faces of Death
อ้างอิงภาพประกอบ  http://forum.thaidvd.net/lofiversion/index.php/t103935.html

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ปี 1980 ยุคทองแห่งหนังแนว Snuff film ถือกันว่าปี ค.ศ. 1980 เป็นยุคทองของหนังแนว Snuff film อย่างแท้จริง  โดยมีหนังแนวดังกล่าวออกมาให้ชมโฉมกันเป็นจำนวนมาก  หนึ่งในนั้นที่จะไม่กล่าวเสียมิได้คือ Snuff film เรื่อง Cannibal Holocaust ปี 1980 (ชื่อไทยว่า  เปรตเดินดินกินเนื้อคน)หนังของ Ruggero Deodato ผู้กำกับหัวรุนแรงชาว Italy หนังเรื่องนี้สร้างกระแสอย่างเกรี้ยวกราดในการเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ในหลายๆประเทศ  กับฉากมุมมองผ่านกล้อง Home Video ของวัยรุ่นหนุ่มสาวอเมริกันชนกับการเดินทางเข้าไปถ่ายทำสารคดีป่ากินคน-ชนเผ่ากินคนในป่าอเมซอน  ฉากที่เป็นที่กล่าวขานกันว่าช็อคคนดูทั่วโลกจนถึงกับมีคนตั้งคำถามขึ้นว่า "สิ่งที่พวกเขาได้เห็นอยู่ตรงหน้านี้ มันเป็นเพียงหนังหรือเรื่องจริง?" ฉากดังกล่าวนี้ก็คือฉากที่หญิงสาวชาวป่าถูกข่มขืนแล้วจับเอาไม้ปลายแหลมมาเสียบเข้าที่รูทวารทะลุถึงปาก  นอกจากนี้ก็ยังมีฉากในตำนาน  ซึ่งก็คือฉากการฆ่าตะพาบน้ำขนาดใหญ่(ฉากนี้ของจริงครับ) ปรากฏว่าหลังจากหนังเรื่อง Cannibal Holocaust ออกฉายได้ไม่นาน Ruggero Deodato ถูกต่อต้านจากกลุ่มคนรักสัตว์และกลุ่มนักอนุรักษ์เป็นการใหญ่ข้อหาทรมานสัตว์  และฆ่าสัตว์เพื่อถ่ายทำสารคดี





ภาพประกอบ  16  :  Cannibal Holocaust เปรตเดินดินกินเนื้อคนในปี 1980
อ้างอิงภาพประกอบ    http://plastikheart.blogspot.com/2009/11/cannibal-holocaust.html

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

หนังในตระกูล Guinea Pig ราวปี ค.ศ. 1985 หนังในตระกูล Guinea Pig หรือซีรี่ย์ Guinea Pig นี้เองถือว่าเป็นหนังแนว Snuff film แบบเทียมที่โด่งดังที่สุดในทวีป Asia โดยเฉพาะภาค Guinea Pig : Devils Experiment (ศิลปะแห่งมาร)ซึ่งเน้นการทรมานหญิงสาวที่ถูกพันธนาการในรูปแบบต่างๆ หลายๆคนถึงกับเชื่อว่ามันเป็นของจริงและไม่สามารถทนดูให้จบลงได้   แต่หากจะพูดถึงซีรี่ย์ Guinea Pig ซึ่งมีทั้งหมด 7 ภาค(รวมภาคพิเศษด้วยก็เป็น 8 )ภาคที่ได้รับการกล่าวขานว่าสร้างออกมาได้สมจริงชวนวิงเวียนอ้วกแตกมากที่สุดคงหนีไม่พ้น Guinea Pig : Flower of Flesh and Blood (ดอกไม้โลหิต)ซึ่งก็คือตอนที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูนสยองขวัญเรื่อง M Collection ตอน Akai Hana ด้วยภาคนี้เองที่ทำให้ Charlie Sheen ดาราฮอลีวูด ที่ได้ดูเข้าถึงกับตกใจเป็นที่สุด  และเข้าใจว่า Guinea Pig : Flower of Flesh and Blood ที่ได้ดูจนจบเป็น Real Snuff film  (สนัฟฟ์ฟิล์มของจริง)เลยทำการติดต่อ MPAA (Motion Picture Association of America)และ FBI ให้ช่วยสืบสวนคดีดังกล่าว 
             
จนในที่สุด Hideshi Hino ผู้กำกับต้องเอาเบื้องหลังการถ่ายทำออกมาแสดงให้ตำรวจดูว่าไม่ใช่ Real Snuff film  แต่เป็นเพียง Fake Snuff film ที่สร้างได้อย่างเหมือนจริงสุดๆเท่านั้น ผู้กำกับจึงรอดคุกไปแบบฉิวเฉียด  นอกจากนี้ยังปรากฏคดีฆาตกรรมอื้อฉาวในประเทศญี่ปุ่นโดยฆาตกรนามว่า Tsutomu Miyazaki ซึ่งเล่าลือกันว่าได้มูลเหตุและแรงจูงใจมาจากการชมภาพยนตร์ซีรี่ย์ Guinea Pig  กระทำการฆาตกรรมเด็กผู้หญิง 4 รายเลียนแบบหนัง Guinea Pig : Flower of Flesh and Blood  โดย Tsutomu Miyazaki เองซึ่งขณะนั้นอยู่ในกลุ่ม "โอตากุ"  ได้ทำให้พวก "โอตากุ"  กลายเป็นเป้าและจำเลยของสังคมไปอย่างช่วยไม่ได้  ยังผลให้เกิดกระแสการต่อต้านพวก "โอตากุ"  ในลักษณะต่างๆนานา  สุดท้าย Tsutomu Miyazaki ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในเรือนจำกรุงโตเกียวในวันที่ 17 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2008 และจากคดีฆาตกรรมดังกล่าวนี้เองส่งผลให้ซีรี่ย์ Guinea Pig ต้องถูกทางการญี่ปุ่นสั่งแบนตลอดกาล  กลายเป็นหนังต้องห้ามที่ห้ามสร้างภาคต่อโดยเด็ดขาด  ซีรี่ย์ Guinea Pig จึงยุติการสร้างลงที่ภาคที่ 7

อนึ่ง   เกี่ยวกับ "โอตากุ" หรือ "โอตาคุ" หมายถึง กลุ่มบุคคลผู้ซึ่งลุ่มหลงในโลกแห่งการ์ตูน และ อนิเมชั่น กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความสามารถในการเก็บเกี่ยวการ์ตูนหรืออนิเมชั่นในระดับ rare จากสถานที่ต่างๆได้อย่างไม่ยาก จะเห็นได้ว่าบางคนมีของสะสมเป็นระดับ Ultimate Rare เยอะมากๆ และด้วยความหมกมุ่นอย่างหนักในโลกของอนิเมชั่น ทำให้คนเหล่านี้ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง"เด็ก"ผู้หญิงในชีวิตจริงกับในอนิเมชั่นได้ ทำให้การรับรู้ด้านความสวยงามเกี่ยวกับผู้หญิงจริงๆสูญเสียไป พวกนี้จะคิดว่า"เด็ก"ผู้หญิงที่น่ารักคือผู้ที่มี หูแมว หูหมา  หูกระต่าย  ชุดเมด เท่านั้น สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้กลายมาเป็นพวก โอตาคุ ส่วนมากจะมาจาก การที่ไม่สามารถสมหวังในความรัก ( อกหัก , สาวไม่แล ) ดังนั้น จึงต้องมาปลอบประโลมตัวเองด้วยโลกสมมุติที่ตัวเองสร้างขึ้นจากความใฝ ฝันและหลงใหลในตัวละครของการ์ตูนและอนิเมชั่น เรียกได้ว่า พวกนี้คือพวกที่บ้าการ์ตูนนั่นเอง (ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง โอตาคุ ที่มา http://www.gamer-gate.net/  วันที่ 26 กรกฎาคม 2553)









ภาพประกอบ  17  :  Guinea Pig : Flower of Flesh and Blood หรือที่รู้จักกันในนาม "ดอกไม้โลหิต"
อ้างอิงภาพประกอบ  http://thevaultofhorror.blogspot.com/2010/06/lucky-13-week-four-gore.html

ภาพประกอบ  18  :  Tsutomu Miyazaki
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.japan-world.net/actualites/spip.php?article5


****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ต่อมาราวปี ค.ศ. 1992 หนังแนว Snuff film อีกเรื่องชื่อ man bites dog /RATE-NC20 (ในกรณีเรื่อง man bites dog นี่ขออนุโลมให้เป็น Snuff film ในเรื่องรูปแบบที่หยิบยืมมาจงใจให้ดูเหมือนนะครับ) ได้ออกมาฉายให้แฟนหนังแนวนอกกระแสได้ชมกัน  หนังเรื่องนี้เป็นหนังขาว-ดำ ลักษณะเป็นการถ่ายทำด้วยกล้องชุดใหญ่  ถ่ายชีวิตประจำวันของฆาตกรคนหนึ่งชื่อ Ben เป็นชีวิตที่ช่างแสนบัดซบสิ้นดีกับภารกิจฆ่าคนไปเรื่อยๆ(Ben รับบทโดย Benoît Poelvoorde)ผู้ชมก็จะชมการดำเนินชีวิตของ Ben ผ่านมุมกล้องวีดีโอไปจนจบเช่นกัน หนังเรื่องนี้จัดเป็นหนังแนว Snuff film ที่มีฉากและมุมกล้องสวยงาม แต่ก็แฝงไปด้วยความอันตรายของพฤติกรรมที่ตัวละครแสดงออกมา  เป็นการรีดพฤติกรรมความประทับใจของ Ben (ตัวเอกของเรื่อง)ในสมองทางด้านลบ (reptile brain)อย่างสมบูรณ์แบบ  หากจะกล่าวว่าตัวเอกของเรื่องเป็นคนที่มีลักษณะอยู่ในกลุ่มอาการก้าวร้าวโดยกำเนิด  หรือเรียกว่า "ผู้มีจิตป่วยในคุณธรรม" หรือ moral insanity ก็คงไม่ผิด  ซึ่งปัจจุบันทางจิตวิทยาเรียกว่า "พวกต่อต้านสังคมและจิตใจเสื่อม" หรือ antisocial personality and psychopathy(นิยามโดย จิตแพทย์ชาวอังกฤษ เจมส์ ปริชาร์ด  ปี 1835) บ้างก็เรียกกลุ่มผู้มีอาการก้าวร้าวโดยกำเนิดว่า "เลือดชั่ว"  หรือ Bad Blood
             
ปี ค.ศ. 1994 กับยุคแห่งการชำแหละศพในหนังสเปนเรื่อง Aftermath หรือในชื่อภาคภาษาไทยว่า "โคตรพ่อโคตรแม่ซอว์"  กำกับและเขียนบทหนังโดย Nacho Cerdà หนังเรื่อง Aftermath ที่เอามาขายกันมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ทำเป็นเเพคเกจขายคู่เรียกว่า Aftermath Genesis ความจริงแล้วหนังผ่าศพเรื่องนี้มีชื่อว่า Aftermath ส่วนเรื่อง Genesis นั้นเป็นเรื่องของช่างปั้นหุ่นกับภรรยาที่ตายไปไม่เกี่ยวอะไรกับ Aftermath เลยนอกจากขายเป็นแพคคู่ให้สะสมแค่นั้นเอง  ตัวหนังเล่าความถึงหมอผ่าศพในห้องผ่าตัด กับมุมกล้องที่สมจริงมากๆ  ฉากการผ่า ชำแหละศพ  รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับศพก็ทำออกมาได้ชวนสะอิดสะเอียนมาก  Aftermath เกือบจะเป็นหนังเงียบ(เพราะตัวละครแทบไม่พูดกันเลยตลอดทั้งเรื่อง)ความยาวของหนังก็ราว 40 นาที  สำหรับเรื่องนี้เป็น Fake Snuff film ที่หลายคนบอกว่า "รับประกันการอาเจียน"
             
ปี ค.ศ. 1998 กับสุดยอดหนังแนว Snuff film เรื่อง  Niku daruma (ตุ๊กตาไม้ลอย) แต่ที่ www.horrorclub.net นิยมเรียกกันว่า "ตุ๊กตาคนเป็น"  หนังแนว Snuff film (เทียม)อีกเรื่องของประเทศญี่ปุ่น  กล่าวถึงการล่อลวง-ว่าจ้างหญิงสาวและชายหนุ่มมาถ่ายทำหนังเรท X   พอผ่านไปราว 40 นาทีกลายเป็นการทรมาน-ฆ่านายแบบและนางแบบทิ้ง  ทุกขั้นตอนในการถ่ายทำของ Niku daruma ดำเนินตามวิถีแนวทางในแบบฉบับของ Snuff film ที่กล่าวถึงในตำนานเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์  เรื่องนี้จัดว่าเป็นหนังแนวนอกกระแสหายากอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนตามหากัน  น่าเสียดายนิดที่หนังเรื่อง Niku daruma มีการ censor บางจุดอันทำให้ภาพที่ออกมาลดทอนความดิบได้ในระดับหนึ่ง(นัยจะบอกว่ามิใช่เรื่องจริงนะแต่เป็นเพียงหนังเรื่องหนึ่ง) นอกจากหนังเรื่อง Niku daruma แล้วในปี ค.ศ. 1998 นี้เองยังปรากฏหนังหายากแนว Snuff film อีกเรื่องหนึ่ง(หนังขาว-ดำ  ความยาว 22 นาที) หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Pig (เหยื่อสังหาร) กำกับและเขียนบทโดย Mark Steven Bosko และ T. Michael Conway เป็นหนังที่ค่อนข้างดูยาก  ต้องตีความหมายกันหลายตลบ  เนื้อหาโดยรวมเกี่ยวกับนักฆ่าและเหยื่อของเขา(เหยื่อที่ต้องการถูกฆ่า) นอกจากหนังเรื่อง Pig จะดูเพื่อสื่อความหมายยากแล้วยังจัดเป็นหนังแนว Snuff film ที่หามารับชมยากในระดับต้นๆของโลกอีกด้วย







ภาพประกอบ  19  :  Aftermath ปี ค.ศ.1994
อ้างอิงภาพประกอบ  http://armageddoncouture.blogspot.com/

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ปี ค.ศ. 2007 กับหนัง Snuff หายากอีกเรื่องของประเทศอาร์เจนติน่า Snuff 102 (อเวจี 102) ซึ่งเป็นผลงานการกำกับและเขียนบทโดย Mariano Peralta หนังที่มีเนื้อหาดิบสุดๆแสดงออกทางเนื้อเรื่องและภาพ  ตัวหนังกล่าวถึงนักข่าวสาวนางหนึ่งที่หลงใหล  และกำลังหาข้อมูลเพื่อทำข่าวเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมแล้วถ่ายวีดีโดเก็บไว้ดู(Snuff film) เธอเข้ามาพัวพันกับคดีดังกล่าวมากเกินไปจนในที่สุดเธอก็ต้องมาเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่เธอจะต้องจำไปจนวันตาย  หลังจากที่ Mariano Peralta นำหนังเรื่อง Snuff 102 ออกฉายในงาน Mar del Plata International Film Festival ปี 2007 ปรากฏว่ามีข่าวลือกันอย่างหนาหูว่า ในงานเปิดตัวภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้ชมเป็นจำนวนมากกรูกันเข้ามาเพื่อที่จะทำร้ายผู้กำกับ เพราะเขา(เธอ)เหล่านั้นคิดว่าภาพที่ได้เห็นจากตัวหนัง..........เป็นเรื่องจริง!!!

ยุคแห่ง Underground ปัจจุบันเริ่มมีหนังแนว Snuff film (เทียม) หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในนาม "หนังใต้ดิน" ออกมาให้ได้ชมกันมากพอสมควร(แต่ยังไงก็น้อยกว่าหนังสยองขวัญในกระแส หรือ Mainstream horror มาก)  หนังแนว Underground ในปัจจุบันที่ได้พบเห็นเป็นประเภทขายภาพความรุนแรงเสียเป็นส่วนใหญ่  ไม่นิยมเน้นที่เรื่องราวความเป็นมา  การปูพื้นถึงที่มาที่ไปแห่งความรุนแรง  แต่ขายความป่าเถื่อนเป็นเมนูหลัก  อาทิเช่น August Underground /2001 (สิงหาโฉดโหดไม่ปราณี) August Underground's Mordum /2003(สิงหาคลั่ง) และ August Underground's Penance /2007(สิงหาวิปลาส คู่รักวิปริต) เป็นต้น  ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้เองกระแสแห่งหนังแนวนอกกระแส Cult Movies และ Snuff film (ที่เป็น Fake Snuff film)จะยังคงมีอยู่ต่อไป  โดยเฉพาะแนว Underground ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในสังคมกลุ่มเล็กๆในโลกใบนี้




ภาพประกอบ  20  :  Snuff 102 หนังอาร์เจนติน่า ผลงานการกำกับและเขียนบทโดย Mariano Peralta
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.horrorclub.net/ForumDetails.aspx?ForumID=316

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

เปิด 19 ฉากแห่งตำนานสะท้านขุมนรกหนังต้องสาป

             
ก่อนจะอ่านบทความชุดนี้แนะนำท่านผู้อ่านให้ไปหาหนังดังมีรายชื่อต่อไปนี้มาดูเสียก่อน หรือไม่ก็อ่านจนจบแล้วค่อยไปหามาดูทีหลังก็ได้ เพื่อท่านจะได้ไม่ต้องเกิดอาการงง (Funny games/1997, Hantu Puncak Datang Bulan, The Texas Chain Saw Massacre/1974, hostel, Schramm, Nek Romantik 2, Ichi the Killer, Irreversible, The Untold Story, Martyrs, Haute Tension, red room 2, Cannibal Holocaust/1980, Snuff 102, August Underground's Mordum, Guinea Pig : Devils Experiment, Guinea Pig : Flower of Flesh and Blood, Fando & Lis เเละ Salo the 120 Days of Sodom ของ Pier Paolo Pasolini)
             
นิยามความหมายเอาว่า "ฉากแห่งตำนานสะท้านขุมนรกหนังต้องห้ามสาป" ที่จะกล่าวกันในวาระต่อไปข้างหน้านี้ หมายถึง "ฉากในหนังสยองขวัญ/หนังติดเรต-อันตราย ฉากในหนังอันเป็นที่จดจำ ตรึงตาตรึงใจ รุนแรง วิปริต จิตตกแบบสุดขีด มักกระทำการเป็นครั้งแรก แปลกใหม่ ช็อคอารมณ์คนดูอย่างจัง และ/หรือเป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่นักดูหนังแนวเขย่าขวัญสั่นประสาทระดับตัวจริงเสียงจริง" โดยหลายๆฉากที่เป็นที่เล่าลือ กล่าวขานกัน นักดูหนังสยองระดับ Hardcore ยกยอปอปั้นให้เป็น "ฉากแห่งตำนานสะท้านขุมนรกหนังต้องสาป" นั้น เท่าที่ทราบมามีอยู่ประมาณ 19 ฉาก ดังต่อไปนี้

             
1. ฉากรีโมทนรก ในหนังเรื่อง Funny games ฉบับออริจินัลปี 1997 ของผู้กำกับ Michael Haneke :  โจรร้าย สองคน(อ้วน-ผอม)ได้เข้ามาขอยืมไข่ไก่เพื่อนำไปปรุงเป็นอาหารมือเย็น สุดท้ายเผยธาตุแท้ออกมา จับครอบครัวอันแสนน่ารักครอบครัวนั้นไว้เป็นเครื่องเล่นบำเรอความสุขสนุกของตน ต่อมาครั้งสองโจรเผลอ นางเอกของเรื่องได้แย่งปืนลูกซองมายิงโจรอ้วนที่บุกเข้ามาภายในบ้านของเจ้าหล่อนตายไปอย่างสยดสยอง เลือดสาด และสะใจคนดูเป็นที่สุด ปรากฏเจ้าโจรผอมคู่หู หาสิ่งหนึ่งอย่างหน้าตาลนลาน รีโมททีวีนั่นเองที่เจ้าโจรผอมหาจนเจอ  เลยกดซะเพื่อย้อนเวลากลับ ย้อนฉากไปก่อนหน้าที่เจ้าโจรอ้วนคู่หูจะถูกนางเอกยิงตาย รู้แล้วแหล่ะว่านางเอกของเรื่องจะใช้ปืนลูกซองยิงเพื่อนคู่หู แค่แย่งปืนมาให้ได้ก่อนเธอ แค่นี้ก็ไม่มีวันแพ้แล้ว......อย่าคิดนะว่าคุณธรรมจะอยู่ค้ำฟ้า ฉากนี้ล่ะที่ทำให้ใครหลายคนเหมือนตกอยู่ในขุมนรก แค้นผู้กำกับ Michael Haneke มาก

             
2. ฉากเซ็กส์ โป๊เปลือยวาบหวาน ตลกหยาบโล้น ในหนังเรื่อง Hantu Puncak Datang Bulan (ผีทับระดูแห่งปุนจัก)ในปี 2010 ของผู้กำกับ Steady Rimba จากประเทศอินโดนีเซีย ทุ่มทุนสร้างโดย K2K อินโดนีเซีย หนังเรื่องนี้มีดาราคุณภาพระดับแม่เหล็กอย่าง แอนดี โสรายา นำแสดง เนื่องจากหนังเรื่องนี้อุดมไปด้วยฉากเซ็กซ์  ตลกหยาบโล้นอย่างรุนแรง ทำให้องค์กรมุสลิมนาม Islamic Defenders Front (FPI) ประกาศก้องว่า "ถ้ายังมีโรงหนังไหนกล้าฉายหนังเรื่อง Hantu Puncak Datang Bulan พวกเขาจะบุกเข้าไปพังโรงหนังโรงนั้นให้ดู!!! "  แค่นี้ต้องห้ามและน่ากลัวพอรึยัง?

             
3. ฉากเชือดเหยื่อภายในบ้านอย่างสุดวิปริต และฉากควงเลื่อยไฟฟ้าของเลทเธอร์เฟซในตอนจบ ในหนังเรื่อง The Texas Chain Saw Massacre ปี 1974 (สิงหาสับ)ผลงานการกำกับของ Tobe Hooper ถือว่าได้สร้างความวิบัติแก่คนดูหนังแนวนี้อย่างแท้จริง ด้วยฉากการไล่ล่า ฆ่าอย่าวิปริตในหนัง(หลายฉากมาก) บวกการนำเสนอด้วยภาพของหนังในโทนสีที่ดูดิบ จึงเป็นเรื่องไม่ยากที่หนังเรื่องนี้เคยสร้างปรากฏการณ์ในปี 1974 ว่ามีคนดูอ้วกแตกคาโรงหนังมาแล้ว โดยเฉพาะฉากที่นางเอกถูกจับมัดคาเก้าอี้ ต้องทนดูครอบครัววิปริตนั่งรับประทานเนื้อคนกันอย่างเอร็ดอร่อย ฉากเหยื่อถูกหักคอจนหมุนได้รอบ ซึ่งโหดร้ายมาก(ในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าทำฉากแบบนี้)หรือฉากจบที่เลทเธอร์เฟซควงควงเลื่อยไฟฟ้าไล่ล่าผู้หลบหนี นอกจากนี้จากการให้สัมภาษณ์ของผู้กำกับ Tobe Hooper เขาต้องการให้หนังเรื่องนี้ได้เรต PG (Parental Guidance)ซึ่งอนุญาตให้ทุกคนร่วมถึงเด็กๆเข้าชมได้......มันจะบ้ากันไปใหญ่แล้ว!!!







ภาพประกอบ  21  :  บนโต๊ะอาหารกับเมนูวิปริต "เนื้อมนุษย์" ของครอบครัวเลทเธอร์เฟซ
อ้างอิงภาพประกอบ  http://irishgothichorrorjournal.homestead.com/roadhorror.html

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

4. ฉากจบในห้องน้ำ ในเรื่อง Hostel (นรกรอชำแหละ ภาค 1-2)หนังสุดอื้อฉาวจากผลงานการกำกับของ Eli Roth อำนวยการสร้างและควบคุมดูแลโดย Quentin Tarantino นรกรอชำแหละเล่าเรื่องเกี่ยวกับการล่อลวงเหยื่อด้วยหญิงสาวสวยนางนกต่อ จนในที่สุดไปจบลงที่การชำแหละร่างของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายออกเป็นชิ้นๆอย่างวิปริตผิดมนุษย์ ณ โรงงานนรกแห่งหนึ่งในเมือง Bratislava ประเทศสาธารณรัฐสโลวัก ถ้าคุณรักในการฆ่า ชำแหละ Sadism และกระเป๋าหนักพอ มาสิ ฝันของคุณจะเป็นจริง หนังเรื่องนี้หลายฉากวิปริตมาก อาทิ ฉากที่หนุ่มใหญ่นายหนึ่งใช้มีดตัดชิ้นส่วนของเหยื่อผู้น่าสงสารมาตั้งไว้บนจานอาหารเคล้าเพลงคลาสสิค จากนั้นเขาก็เริ่มใช้มีดหั่นเจ้าสิ่งที่วางอยู่บนจานออกเป็นชิ้นๆพอคำ ใช้ส้อมจิ้มเอาเข้าปาก รับประทานอย่างเอร็ดอร่อย(Hostel 2) แต่ฉากในตำนานที่เป็นที่กล่าวขานของหนังเรื่องนี้อยู่ตรงนี้ต่างหากเล่า มันคือฉากจบของหนังเรื่องนี้ในภาคแรกนั่นเอง พระเอกของเรื่องหนีรอดมาได้และไปเจอกับชายแก่คนหนึ่งที่เป็นสมาชิกของลัทธิ "หมาล่าเนื้อ" เข้าในห้องน้ำชายสถานีรถไฟแห่งหนึ่ง ด้วยแรงไฟสุมแค้นอยู่ภายในอก พระเอกของเราจึงจับชายแก่คนดังกล่าวมาสะกำซะจนตายคาโถชักโครกอย่างสาสม ฉากนี้แหล่ะที่เล่นเอาซะจนคนดูหนังตกใจว่า ผู้กำกับกล้าให้ถ่ายทำกันถึงขนาดนี้เชียวหรือ(แต่ก็เชื่อว่ามีคนดูหลายคนแอบสะใจอยู่อย่างลึกๆเช่นกัน)

             
5. ฉากเอาค้อนและตะปูมาตอกจู๋ ในหนังเรื่อง Schramm (จิตวิปริต)ผลงานการกำกับของ Jörg Buttgereit ในปี 1993 ผู้กำกับนำเสนอโลก และการดำเนินชีวิตของฆาตกรโรคจิตคนหนึ่ง ที่มีโลกส่วนตัวค่อนข้างแปลกประหลาดและวิปริตมาก เริ่มตั้งแต่ทาสีบ้านอยู่พักใหญ่ เดินไปเดินมาจนคนดูชวนเวียนหัว มีอะไรๆกับตุ๊กตายาง และที่ถือเป็นฉากเด็ดเล่นเอาคุณผู้ชายที่ดูหนังเรื่องนี้ร้องซี๊ดดดดกันเป็นแถวก็คือ พ่อเจ้าพระคุณทูนหัว พอพี่แกเคลิ้มได้ที่ เลยไปหยิบเอาค้อนและตะปูมาอย่างละ 1 อย่าง ร่างคุณพี่ท่านที่เปลือยเปล่าล่อนจ้อนอยู่ภายในห้อง หยิบเจ้าน้องชาย(จู๋)ขึ้นมาวางพาดไว้บนขอบโต๊ะ ตะปูวางไว้ตรงกลางท่อนลำ แล้วค้อนก็ตอกลงไป หลายคน(คุณผู้ชาย)บอกเห็นฉากนี้แล้วอยากเป็นลม

           
6. ฉากการมีเพศสัมพันธ์แบบสุดวิปริตของนางเอกสาวกับชู้สุดหล่อ(ที่ไร้หัว) ในหนังเรื่อง Nek Romantik 2 (ศพ-ร่วม-รัก 2) หนังเยอรมันผลงานการกำกับของ Jörg Buttgereit ในปี 1991 หนังเล่าเรื่องเกี่ยวกับนางเอกที่ซึ่งเธอกำลังเกิดอาการเหงา-ขาดรัก จากคู่ชู้ชื่นที่จากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ คิดได้ดังนั้นแล้วเธอจึงบุกไปยังสุสาน แล้วขุดเอาร่างที่ไร้วิญญาณของอดีตสามีรักมาเล่นจ้ำจี้อย่างสนุกสนาน แต่ที่ถือเป็นฉากแห่งตำนานของหนังเรื่องนี้อย่างแท้จริงนั่นก็คือ ฉากที่นางเอกสาวของเรื่อง Monika(Monika M.)หลอกล่อให้ชายชู้สู่สวาทคนใหม่ของเธอ Mark(Mark Reeder)นักพากษ์หนังโป๊มาเล่นจ้ำจี้มะเขือเปาะกับเธอที่บ้านสองต่อสอง ก่อนที่เธอ(และเขา)จะมาร่วมมีอะไรกันภายในห้องนอน Monika แอบตัดศีรษะของสามีสุดรัก(คนก่อน)แอบไว้ใต้เตียงนอน สุดท้ายระหว่างที่ Monika และ Mark มีอะไรกันอยู่บนเตียงนั้นเอง สาวหน้าหวานอุปนิสัยสุดโหดของเราก็จัดการควงมีดสับลงไปที่ลำคอของคู่ขาอย่างจังจนคอขาดกระเด็ด เลือดละเลงไหลกระฉูดอย่างน่าเวทนา Monika เธอรีบนำหัวของสามีสุดรักคนก่อนที่แอบซ่อนไว้ขึ้นมาต่อเข้ากับร่างที่ไร้วิญญาณของ Mark และเล่นจ้ำจี้มะเขือเปาะต่ออย่างเป็นสุข......แค่นี้วิปริตพอรึยัง?





ภาพประกอบ  22  :  ฉากที่นางเอกสาว Monika ตัดคอคู่รักหนุ่มพ่อยอดชายนาย Mark อย่างสุดสยดสยอง
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.tumbaabierta.com/phpBB2/viewtopic.php?f=14&t=15677






ภาพประกอบ  23-24  :  ฉากการมีเพศสัมพันธ์แบบสุดวิปริตของนางเอกสาวกับชู้สุดหล่อ(ที่ไร้หัว)
อ้างอิงภาพประกอบ 
http://www.hotdog.hu/user_prof.hot?user_id=736186
http://gorexploitation.blogspot.com/2010/11/dracula-vs-frankenstein-1971-al-adamson.html

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

7. ฉากการทรมานยากูซ่าปากพล่อย ในหนังเรื่อง Ichi the Killer (นักฆ่าอิจิ) หนังญี่ปุ่นผลงานการกำกับของ Takashi Miike เจ้าพ่อหนังอาบเลือดแห่งเกาะญี่ปุ่น หนังออกฉายในปี 2001 ซึ่งในโรงหนังมีบริการแจกถุงสำหรับอ้วกทุกที่นั่ง(นัยว่าหากคนดูทนไม่ไหวสามารถอ้วกใส่ถุงได้ทันท่วงที) ส่วนฉากที่เป็นที่กล่าวขวัญกันนั้นก็คือ ฉากที่ Kakihara ไปจับยากูซ่าคนหนึ่งมาเค้นหาข้อมูลการหายตัวไปของหัวหน้าอันเป็นที่เคารพรักของตน(ความจริง Kakihara ติดใจในรสกามรมณ์ยามมีอะไรกับหัวหน้าแบบ Sadomasochism มากกว่า) ด้วยฉากอันเป็นที่เลื่องลือนี้เอง คนดูจะได้เห็น Kakihara ลงมือทรมานเหยื่อ เค้นความลับที่ต้องการด้วยวิธี จับเหยื่อแขวนไว้กับเส้นลวดโลหะที่มีปลายสำหรับเกี่ยวเนื้อหนังอย่างเจ็บปวด ใช้เหล็กแหลมทิ่มแทงไปตามร่างกายอย่างทุกข์ทรมาน สุดท้ายคือทีเด็ด เอาน้ำมันที่เหลือจากการทอดกุ้งเทมปุระมาเทราดลงบนหลังของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอย่างโรคจิตสุดขั้ว นอกจากนี้ที่กล่าวขวัญกันอีกฉากในหนังเรื่องนี้ก็คือ "ฉากตัดลิ้น" ที่ Kakihara ใช้ของมีคมตัดลิ้นตัวเองจนขาดอย่างน่าหวาดเสียวสุดขีด










ภาพประกอบ  25-26  :  ฉากการทรมานยากูซ่าปากพล่อย  และฉากตัดลิ้นสาบานของ Kakihara
อ้างอิงภาพประกอบ  http://www.248am.com/mark/personal/fucking-amal/
                                    http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=79883.msg%msg_id%

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0