ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

น้ำมันไทย..ขายนอกถูก..คนไทยแพง...เจ็บปวดนะ

เริ่มโดย Mr.No, 16:38 น. 12 เม.ย 57

Mr.No


[attach=1]

   คุณโสภณ สุภาพงษ์ ผู้คร่ำหวอดในวงการน้ำมัน  ออกมาแฉเล่ห์เหลีย่ม ปตท.  ฟังแล้วเข้าใจง่าย แต่ที่สำคัญคือ  "มันเจ็บจื๊ดดเข้าไปในหัวใจคนไทยจริงๆ "

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน

ฟังจนจบไม่ค่อยเข้าใจ ถ้าอย่างนี้ ปตท. สามารถขายน้ำมันอย่าง น้ำมันเบนซิน 95 วันนี้ ที่ทุกยี่ห้อขายที่ 48 บาทกว่าๆ รวมทั้ง ปตท. ด้วย ปตท. สามารถขายที่ 20 บาทได้หรือครับ รบกวนผู้รู้อธิบายให้ฟังอีกที






Mr.No

อ้างจาก: ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน เมื่อ 20:50 น.  14 เม.ย 57
ฟังจนจบไม่ค่อยเข้าใจ ถ้าอย่างนี้ ปตท. สามารถขายน้ำมันอย่าง น้ำมันเบนซิน 95 วันนี้ ที่ทุกยี่ห้อขายที่ 48 บาทกว่าๆ รวมทั้ง ปตท. ด้วย ปตท. สามารถขายที่ 20 บาทได้หรือครับ รบกวนผู้รู้อธิบายให้ฟังอีกที


ผมไม่ใช่ กูรู เรื่องน้ำมันแบบมืออาชีพ แต่อาศัยติดตามข้อมูลมาบ้าง   ถือว่าช่วยขยายความจากที่คุณโสภณอธิบายในคลิปครับ

คุณถามว่า ราคาน้ำมันที่ไทยควรจะมีราคาขายเท่าไหร่  สำหรับผมคิดว่าราคาน้ำมันที่สะท้อนต้นทุนและไม่โหดจนผิดมนุษย์มนา อย่าง 95 ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 24-25 บาทต/ลิตร เมื่อลองเทียบราคากับในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจแตกต่างกันนิดหน่อยคือ ราคาเบนซิน 95

ที่มาเลย์ ประมาณ 27-28 บาท/ลิตร แต่รัฐยังช่วยชดเชยให้อีก ทำให้ราคาขายจริงอยู่ประมาณ 20 บาท/ลิตร
อินโด ประมาณ 29 บาท/ลิตร หรือที่เวียตนามก็เกือบ ๆ  39 บาท/ลิตร

เอาละ..ไม่เถียงว่า เราอาจไม่ได้เป็นประเทศที่น้ำมันแพงทีสุด เมื่อเทียบกับหลายประเทศในยุโรปอย่าง เยอรมนี,สวีเดน,นอร์เวย์ เพราะนั่นมันสะท้อนต้นทุนหลายอย่างทั้งค่าครองชีพหมายถึงค่าแรง และความร่ำรวยทางเศรษฐกิจของเค้า 

แต่กับประเทศไทย ที่ตอนนี้ชัดว่า สูบน้ำมันดิบเอง..กลั่นเอง เบ็ดเสร็จ แต่เวลาตั้งราคาขายดันไปใช้ราคาเศรษฐีต่างชาติมาตั้งเพื่อขายให้คนไทย???

และยิ่งเมื่อไปเทียบกับโบลิเวีย ที่ส่งออกน้ำมันไปขายในตลาดโลกน้อยกว่า (ของเราอยู่ลำดับ 42 โบลิเวียลำดับที่ 101) ยิ่งเจ็บกว่าเพราะหลังจากที่โบลิเวียดึงเอาสัมปทานน้ำมันกลับคืนมา ตอนนี้เค้าขายให้ประชาชนของเค้าอยู่ที่ลิตร 17 บาท! (เมื่อก่อนก็ราคาพอ ๆ กับเรา)

คุณโสภณอธิบายว่า ไอ้ราคาที่กำหนดในเมืองไทยน่ะ มันอ้างอิงเอาราคาสมมุติเอาเองทั้งนั้น คือเอาราคาสำเร็จรูปที่สิงค์โปร์มาใช้เป็นราคาขายบ้านเรา  ...ฟังดูแล้วงงมั้ย??

ก็เลยต้องถามว่า ทำไมไม่ตั้งราคาจากต้นทุนของเราเอง ...เพราะเราผลิตเองกลั่นเอง แต่เวลาขายดันเสือกเอาราคาสิงค์โปร์มากำหนดขายให้คนไทย

ติ๊ต่างว่า  เราจะขายก๋วยเตี๋ยวหน้าร้าน ..ร้านอื่นเค้าก็ตั้งราคาโดยดูจากต้นทุนเช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว,เครื่องปรุง,หมู,ลูกชิ้น ฯลฯ บวกค่าใช้จ่ายสารพัดก็ตั้งราคาขายกันไป 

แต่รายนี้เกิดบอกว่า ราคาก๋วยเตี๋ยวที่จะขายขอดูก่อนว่าก๋วยเตี๋ยวที่สิงค์โปร์เค้าขายชามละเท่าไหร่ ?  ก็จะใช้ราคานั้นแหละขาย!!?

เราก็คงอยากรู้ว่า...งั้น จะตั้งเท่าไหร่  มันก็บอกว่า ราคาก๋วยเตี๋ยวที่สิงค์โปร์เค้าขายชามละ 25 บาท  ...เราก็พยักหน้าว่า โอเค ราคาแค่นั้น??

แต่มันบอกว่าไม่ใช่...เพราะราคา 25 บาทเป็นราคาที่ต้องบวกค่าขนส่งเข้ามาอีก 2 บาท บวกกำไร(ค่าการตลาด)อีก 2 บาท และบวกกองทุนอีก 13 บาท แล้วค่อยไปบวกภาษีอากร ออกมาเป็นราคาขายก๋วยเตี๋ยว ตกชามนึง  มันขาย 48 – 49 บาทต่อชาม!!

คนจะกินก๋วยเตี๋ยวก็เลยงงไง....ว่า เฮ้ย มึงคิดได้ไงวะ   เพราะต้นทุนก๋วยเตี๋ยวมันผลิตในบ้านเราหมด ...แถมมึงยังคิดค่าขนส่งก๋วยเตี๋ยวจากสิงค์โปร์มาไทย ?? แถมบวกกำไร ที่มันก็คิดอยู่ในราคาสำเร็จรูปพร้อมขายแล้วเข้าไปอีก แถมบอกว่าต้องมีค่าโน่นนี่ (กองทุนก๋วยเตี๋ยว) + ภาษี แบบนี้ มีใครเค้าทำกันวะ


ที่มันเจ็บแสบก็คือ.... ทุกวันนี้เราแทบไม่ได้นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเลย..แต่ดันเสือกเอาราคาคนอื่นมาตั้งเป็นสูตรการขาย แถมที่แสบกว่าก็คือ เวลามันขายน้ำมันสำเร็จรูปให้สิงค์โปร์ หรือต่างชาติอื่น มันขายลิตรละ 17-18 บาท แบบนี้คนไทยไม่รู้สึกอะไรบ้างหรือ?   


ก่อนหน้านี้..ยุคนึง มีหลักฐานที่คนในวงการน้ำมันไทยรู้กันแซ่ดก็คือ กระบวนการเวียนเทียนน้ำมันที่เจ็บปวด ก็คือการเอาเรือน้ำมันต่างชาติมาลอยลำ มาซื้อน้ำมันจากไทยไป ในราคา 17-18 บาท/ลิตร 

พอเต็มเรือ  ...ดันไมเอาออกไปต่างประเทศจริง แต่แกล้งตีเรือวกมาอีกท่าของไทย แล้วทำเอกสารไว้เสร็จสรรพว่าเป็นการขายน้ำมันสำเร็จรูปให้ไทย (ทั้งที่น้ำมันนั่นน่ะมันน้ำมันไทยจากอีกท่า)  ไอ้ฝั่งนี้ก็รับซื้อไว้ราคานำเข้า 24-25 บาทต่อลิตร   เบ็ดเสร็จฟันไปหลายร้อยล้านบาท ส.เดี๋ยวโดน

นี่เฉพาะปัญหาการตั้งราคาขายน้ำมันที่เอาเปรียบ ซึ่งยังไม่นับเรื่องของต้นรากที่หมายถึงต้นทาง คือการที่ตอนจะว่าไปมีประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่กลายเป็นหน้าโง่ (ประเทศ + ประชาชน) เพราะถูกฝรั่ง+นักการเมือง+นายทุน เอาเปรียบ โดยเฉพาะเรื่องของค่าภาคหลวงสัมปทาน 


เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

นายไข่นุ้ย

 ส-ฝนเล็บ  อือ  งั้น ใครละ จะช่วยคนไทยได้..... ส-เขิน
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

Mr.No

อ้างจาก: นายไข่นุ้ย เมื่อ 15:28 น.  16 เม.ย 57
ส-ฝนเล็บ  อือ  งั้น ใครละ จะช่วยคนไทยได้..... ส-เขิน

เดี๋ยวคงมีบทสรุปครับว่า ใครจะช่วยได้.. ส.สู้ๆ

ต่อครับ


เวลาคุยเรื่องน้ำมันหรือก๊าซ ก็ต้องยอมรับว่า บางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลที่ว่า ต้นทุนการผลิตน้ำมันแท้จริงที่ออกมาขายหน้าปั้มนี่ มันมีที่มาที่ไปอย่างไร จนทุกวันนี้ ก็ยังเป็นความลับที่ ปตท.ไม่เคยเปิดเผยออกมา

จะลองอธิบายแบบง่ายที่สุด เพราะถ้าจะทำความเข้าใจเรื่องน้ำมัน ต้องเข้าใจตั้งแต่ต้นทาง  ดังนี้

ปัญหาน้ำมันมีสามส่วนที่คนไทยต้องกลายเป็น เจ้าของคือคนไทยที่ไม่เคยได้รับประโยชน์ก็คือ  ส่วนตั้งแต่การให้สัมปทานฝรั่งมาขุดเอาน้ำมันที่ปัจจุบันต้องยอมรับว่า เรามีบ่อน้ำมัน มากจนแทบจะบอกได้ว่าพอเพียงสำหรับคนในประเทศ ทั้งในทะเลอ่าวไทยที่มีมากนับหลายร้อยบ่อ  รวมทั้งบนบกที่อีสาน, เหนือ (ซึ่งคนสองภาคนั้น น่าสงสารเพราะยิ่งไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลพวกนี้ได้เท่าคนในกรุงฯ) ที่สำคัญ อีสาน,เหนือนี่ คือบ่อน้ำมันมหึมา อย่างที่อุบลนี่ เชพรอนสำรวจแล้วเตรียมแผนไว้ในปี 2017 ด้วยซ้ำ

การให้สัมปทานคนอื่นมาขุดก็คือการ ยกประโยชน์ให้เค้าไปโดยได้รับค่าสัมปทาน คล้าย ๆ กับการเรียกเก็บเงินโดยที่เจ้าของคิดค่าสัมปทานแบบอัตราเปอร์เซ็นต์จากการขาย  (ย้ำว่าการขาย)  เช่น ขุดมาแล้วขายได้เท่าไหร่ก็คิดหักเปอร์เซนต์ตามที่กฏหมายกำหนดซึ่งปัจจุบันหักอยู่ประมาณ 5-15 เปอร์เซ็นต์ของการขาย

แต่เมื่อเทียบกับมาเลย์เซีย,อินโดนีเซีย และทั่วไปรอบบ้าน (รวมทั้งเขมร)  เค้าใช้หลักคิดแบบใหม่ เพราะใช้หลักเรื่องการปันผลประโยชน์เกี่ยวกับสวนยางเป็นหลัก

ผมจำไม่ได้ว่า อินโดหรือมาเลย์ ใครใช้หลักคิดนี้ก่อนเพื่อน   แต่ก็น่าจะใช้มาประมาณเกือบยี่สิบปีแล้ว!   โดยเมื่อก่อนเค้าก็ใช้ระบบภาคหลวงหรือให้สัมปทานแบบเรานี่แหละ แต่ต่อมาก็เปลี่ยนใหม่ซะ ใช้ระบบแบ่งปันแบบ เจ้าของสวนยางกับคนตัดยาง

บ้านเราใครมีสวนยางก็ต้องจ้างเค้าตัด แต่เงื่อนไขจ้าง เค้าก็อาจตกลงกันว่า ใช้วิธีแบ่งประโยชน์กัน เช่นยางในสวนได้เท่าไหร่ แบ่งเป็นเจ้าของสวนอาจจะได้  65 คนตัดได้ 35 อะไรก็ว่ากันไป  แบบนี้ฝรั่งเรียกว่า หลักแบ่งผลผลิต (Production Sharing) ซึ่งมันยุติธรรมตรงที่ กรรมสิทธิ์ของยางทั้งสวนยังเป็นของเจ้าของอยู่ คนตัดถือเป็นแค่ รับจ้างและได้ปันส่วนแบ่งผลผลิตเท่านั้น

มาเลย์เลยใช้วิธีนี้ในการจัดการระบบน้ำมัน,ก๊าซของเค้าซะใหม่ โดยประกาศเลยว่าใครอยากได้น้ำมันก็มาตกลงกันว่า คิดกันที่ปริมาณน้ำมันที่สูบที่ปากบ่อกันเลยว่า สูบได้เท่าไหร่ก็หักกันเลย เช่นสูบมาร้อยบาร์เรล ก็เป็นของรับจ้างสูบเอาไป 30 ส่วนอีก 60 เป็นของรัฐบาลมาเลย์ แถมที่เจ๋งก็คือ เค้าตกลงกันเรียบร้อยว่า อุปกรณ์,แท่นขุดเจาะ สารพัดของผู้รับจ้าง ถ้าเอ็งเกิดไม่ทำวันไหน ถือว่าสารพัดอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง,ลงทุนต้องตกเป็นของรัฐบาลมาเลย์ด้วย (เพราะวันใดเกิดมีปัญหารัฐบาลสามารถทำต่อเองได้ หรืออยากให้รายไหนมาทำต่อก็ทำได้สบาย ๆ ) 

ทีนี้พอสุบได้..ก็ส่งให้กับบริษัทน้ำมันของรัฐที่รู้จักกันในนาม เปโตรนาส  ทำการกลั่น ซึ่งหลักคิดของบริษัทฯนี้ก็คือ การผลิตน้ำมันเพื่อเป็นฐานการต่อสู้ให้กับคนมาเลย์และรับใช้ประชาชนชาวมาเลย์  แบบที่เรียกว่า "เลี้ยงลูกตัวเองให้รอดก่อน..ก่อนจะไปดูแลลูกคนอื่น"

นี่ทำให้ รัฐบาลมาเลย์ จึงกำชับให้ เปโตรนาส ผลิตน้ำมันขายในราคาที่ไม่แพง(เป็นธรรม)ต่อประชาชน ไปพร้อม ๆ กับจะต้องทำให้เปโตรนาสสามารถมีกำไรได้ด้วย

เปโตรนาส ขายน้ำมันให้ประชาชนเค้าตามราคาสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของประเทศ อาจทำให้กำไรมีไม่มากนัก แต่กลายเป็นว่ากำไรมหาศาลที่มาเลย์ได้รับกลับมาจากต้นทางคือการปันส่วนแบ่งน้ำมันดิบ ซึ่งกำไรส่วนนั้นมหาศาลจนสามารถนำมาเป็นกองทุนวนกลับช่วยประชาชนเค้าอีก ด้วยการชดเชยราคาน้ำมันจากต้นทุนที่แท้  คือประมาณ 27-28 บาท รัฐบาลก็ช่วยอีกโดยการเอากำไรจากน้ำมันดิบมาช่วยอีกตีว่า ประมาณ 10 บาท สุดท้ายประชาชนได้ใช้น้ำมันไม่แพง,รัฐบาลได้รับการสนับสนุนและกำลังใจจากประชาชน และที่สำคัญ เปโตรนาสยังมีกำไรมากมาย เพราะเงินไม่หลุดไปอยู่ในมือต่างชาติ,นายทุน



เดี๋ยวมาต่อครับ...
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

มาเลย์ ฉลาดที่ใช้ระบบแบ่งปันน้ำมันดิบ เพราะเค้าถือว่า หากไปใช้วิธีแบบเดิมคือ ขายได้เท่าไหร่แล้วค่อยมาแบ่งกัน แบบนี้มันเสียศักดิ์ศรี กลายเป็นของทั้งหมดเป็นของคนสูบน้ำมัน แล้วเราก็ไปแบมือขอส่วนแบ่งเค้า และที่สำคัญปัญหาราคาน้ำมันดิบที่มันค่อนข้างซับซ้อน เล่นราคา ทั้งกระบวนการซื้อล่วงหน้า ฯลฯ พวกนี้ล้วนยุ่งยากและทำให้เกิดการได้เปรียบสำหรับการฮั้วของกลุ่มผู้ซื้อ,ผู้สูบ ฯลฯ ได้ง่าย

หลักคิดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อเราต้องการน้ำมันให้ประชาชนใช้ และเราสามารถผลิตได้เอง เพียงแต่ต้องการวัตถุดิบ เราก็ต้องเอาตัววัตถุดิบตรง ๆ เลย นั่นคือ เอาน้ำมันมาจริง ๆ ซึ่งไม่ต้องมาวอรี่เรื่องราคงราคาบ้าบอ ทั้งตลาดทะเลเหนือทะเลไหนให้วุ่นวาย  เอาน้ำมันดิบมาแล้วก็กลั่น และก็คิดต้นทุนที่แท้จริง ...และขายโดยไม่เอาเปรียบแบบนี้แหละที่เรียกว่า "ธรรมาภิบาล"

ยิ่งกรณีก๊าซ LPG ยิ่งต้องถือว่าเป็นเรื่องเศร้ามาก ..เพราะคนไทยต้องใช้ทุกครัวเรือน  ...แต่กลายเป็นวันนี้ขึ้นเอา ๆ 
อย่าง ก๊าซถัง 15 กิโลวันนี้ปาเข้าไป 350 บาท และกำลังจะขึ้นไปจนถึง 500 บาทให้ได้ ..นี่มันบ้าอะไรของมัน!

มาเลย์เค้า กำหนดราคาไว้แน่นอนเลยว่า กิโลละ 19 บาท ดังนั้น ถัง 15 กิโลของเค้าก็ประมาณ 290 บาท ซึ่งก็ไม่ถูกไม่แพง และที่แน่ ๆ นี่ทำให้ พ่อค้าแม่ค้าของเค้าสามารถมีกำไรเหลือบ้างจากการขายอาหาร เพราะต้นทุนต่าง ๆ ของเค้าเอื้อให้ประชาชนแบบไม่เอาเปรียบ  (นี่ยังไม่พูดถึงน้ำมันปาล์มบ้านเค้านะ..เพราะถูกกว่าเราแยะ)

รัฐบาลเฮงซวยมาบอกว่า  ต้องมีกองทุนน้ำมันเอาไว้เพื่อพยุงราคาและช่วยชดเชยราคาน้ำมันเวลาที่ตลาดโลกมันแพง เช่นเวลาที่ราคาน้ำมันโลกมันพุ่งไปก็เอาเงินก้อนนี้มาชดเชยทำให้ราคาน้ำมันหน้าปั้มถูกลงบ้าง ฟังดูดี แต่ .... งง และปวดตับ เพราะ

เมื่อเทียบกองทุนน้ำมันไทย กับการชดเชยน้ำมันของมาเลย์ มันต่างกันหยั่งกับฟ้ากะเหว
กองทุนชดเชยน้ำมันไทยหักเอาจากคนไทยที่ใช้น้ำมัน..  พูดง่าย ๆ เอาเงินกูไปช่วยกู !!!???
แต่มาเลย์ เค้าใช้วิธีชดเชยคือ เอากำไรที่ได้จากส่วนแบ่งขายน้ำมันดิบ มาช่วยประชาชนไง
ผมยกสูตรให้ดูกันแบบหยาบ ๆ  พอเห็นเห็นภาพ ระหว่าง ไทย กับ มาเลย์ คือ


1. สุตรการคิดราคาหน้าปั้มน้ำมันไทย  ต้นทุนน้ำมัน คิดราคานำเข้าสิงค์โปร์  ตีว่า 25 บาท   + ค่าขนส่งอีก 2 บาท + ค่าการตลาด(กำไร) อีก 2 บาท + ค่ากองทุนชดเชยน้ำมันอีก 13 บาท และบวกภาษีอากร   รวมราคาขายประมาณ 49 บาท


2. สูตรคิดราคาหน้าปั้มของเปโตรนาส    ราคาน้ำมันหลังกลั่น  ตีว่า 24 บาท  บวกภาษีอากร 3 บาท เป็นราคาขายจริงคือ 27 บาท  หักด้วยเงินรัฐบาลชดเชยให้(จากกำไรที่ได้จากส่วนแบ่งน้ำมันดิบ) ประมาณ 7 บาท  รวมเป็นราคาขายให้ประชาชนประมาณ 20 บาท   

เห็นสองสูตรสองแบบ...สองประเทศนี้  คงตาสว่างว่า    การเมืองไทย...มันโหดกับ ประเทศไทย และคนไทยแค่ไหนใช่มั้ยครับ.
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน

อธิบายได้แจ่มชัดมากเลยครับ แต่ยังเหลือจุดสงสัยอีกเล็กน้อย ช่วยอธิบายอีกนิด

1. ปริมาณน้ำมันดิบในประเทศเรามีเยอะมากจนเหลือใช้ เรากลั่นแล้วขายในประเทศยังแถมยังเหลือส่งออกไปขายต่างประเทศอีกใช่ไหมครับ
2. กองทุนน้ำมันมีไว้ทำไมครับ เพราะไม่เห็น รบ. ไหนยกเลิกแบบถาวรได้เลย ผมจำได้ว่าตอนนั้น คุณอภิสิทธิ์หาเสียงในนโยบายก็มีข้อหนึงว่ายกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่พอได้มาเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถยกเลิกได้ แถมคุณกรณ์ยังกล่าวไว้ทำนองว่า คนไทยคงหมดโอกาสจะใช้น้ำมันราคาถูก จำได้ว่า รบ.ในยุคนั้นยังขยายเพดานเก็บภาษีน้ำมันเพิ่มอีก ราคาน้ำมันกลับแพงขึ้นเข้าไปอีก
3. ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเพราะ ปตท. ใช่ไหมครับ ถ้าเราทวงกลับมาเป็น รัฐวิสาหกิจแล้ว รัฐสามารถกำหนดให้ปตท. ขายน้ำมันลิตรละ 25 บาทตามที่คุณกล่าวมาได้ใช่ไหมครับ
4.มาเลยเซียกับไทย ประเทศไหนผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่ากันครับ แล้วประเทศไหนในสองประเทศนี้ใช้น้ำมันมากกว่ากันครับ

ขอบคุณคำตอบล่วงหน้าครับ
ส.ยกน้ิวให้


Mr.No

อ้างจาก: ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน เมื่อ 18:56 น.  17 เม.ย 57
อธิบายได้แจ่มชัดมากเลยครับ แต่ยังเหลือจุดสงสัยอีกเล็กน้อย ช่วยอธิบายอีกนิด

1. ปริมาณน้ำมันดิบในประเทศเรามีเยอะมากจนเหลือใช้ เรากลั่นแล้วขายในประเทศยังแถมยังเหลือส่งออกไปขายต่างประเทศอีกใช่ไหมครับ
2. กองทุนน้ำมันมีไว้ทำไมครับ เพราะไม่เห็น รบ. ไหนยกเลิกแบบถาวรได้เลย ผมจำได้ว่าตอนนั้น คุณอภิสิทธิ์หาเสียงในนโยบายก็มีข้อหนึงว่ายกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่พอได้มาเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถยกเลิกได้ แถมคุณกรณ์ยังกล่าวไว้ทำนองว่า คนไทยคงหมดโอกาสจะใช้น้ำมันราคาถูก จำได้ว่า รบ.ในยุคนั้นยังขยายเพดานเก็บภาษีน้ำมันเพิ่มอีก ราคาน้ำมันกลับแพงขึ้นเข้าไปอีก
3. ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเพราะ ปตท. ใช่ไหมครับ ถ้าเราทวงกลับมาเป็น รัฐวิสาหกิจแล้ว รัฐสามารถกำหนดให้ปตท. ขายน้ำมันลิตรละ 25 บาทตามที่คุณกล่าวมาได้ใช่ไหมครับ
4.มาเลยเซียกับไทย ประเทศไหนผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่ากันครับ แล้วประเทศไหนในสองประเทศนี้ใช้น้ำมันมากกว่ากันครับ

ขอบคุณคำตอบล่วงหน้าครับ
ส.ยกน้ิวให้



ขออนุญาตสั้น ๆ ก่อนครับว่า     "ผมไม่สนใจเรื่องการทวงคืน ปตท."  เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่าย

ผมสนใจแค่ "ทวงคืน พลังงานที่ี่ ถูกและเป็นธรรม" กลับมาให้ได้ ก็น่าจะโอ.เค

เพราะ น้ำมันเป็นทรัพยากรที่ใช้หมด   ต่อให้มีเต็มแผ่นดิน แต่โครงสร้างราคาภาษีและกระบวนการนำไปขายคนอื่นถูกแต่คนไทยคิดโหด แบบนี้ตรรกะมันก็ผิดอยุ่แล้ว

หรือต่อให้ เมืองไทยไม่มีน้ำมันเลย ต้องนำเข้าน้ำมันดิบคนอื่นมากลั่นเอง..กลั่นแล้วขายให้คนไทยในราคาเท่าที่มันส่งออกไปขายคนอื่น เท่านี้ก็ยังพอยอมรับได้

ส่วนประเด็นที่่เหลือจะแวะมาคุยด้วยครับ..
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

`°•P!®°on°•`™

อะไรที่ไส่รถแล้ววิ่งได้มันจ้องจ่ะขึ้นหมดแหละ ลองน้ำเปล่าไส่รถวิ่งได้สิแล้วจ่ะรู้เองว่ามันก็จ่องจ่ะขึ้นอยู่ดี ด้วยเห็ตุผลคือ ผลิตไม่พอต่อความต้องการ ทำให้ส่วนที่ดึงมาใช้ในประเทศเสียโอกาศการขาย วิธีแก้มีทางเดียวครับ สามัคคีกันทั้งแผ่นดินแล้วเดินหน้าร่วมกันประท้วง ผมเห็นประท้วง นู้นนี้นั้น กันได้ไม่เหนื่อย น้ำมันของใกล้ตัวไหงไม่มีใครนำบ้าง ส.สู้ๆ

ทัมใจ

       โครงสร้างภาษีแถมกองทุนแถมภาษีท้องถิ่น  เก็บซ้ำเก็บซ้อน  บวกๆเข้าไปในราคาน้ำมัน
ราคามันถึงสูงริบริ้ว  อุดหนุนน้ำมันมาเลย์น่ะถูกแล้ว  ช่วยลดรายจ่ายตัวเองแล้ว  ยังสร้างรายได้
ให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยต่างๆด้วย555

เด็กใต้รักจริง

น้ำมันดิบบ้านเรามีไม่พอกับความต้องการนะครับ ไม่ใช่ว่ามีจนเหลือใช้
...น้ำหมึกปลายปากกา ไม่ได้สอนประสบการณ์ชีวิต...

Mr.No

อ้างจาก: เด็กใต้รักจริง เมื่อ 21:04 น.  20 เม.ย 57
น้ำมันดิบบ้านเรามีไม่พอกับความต้องการนะครับ ไม่ใช่ว่ามีจนเหลือใช้

อันนี้ไม่เถียง..แต่คงไม่ปฎิเสธใช่มั้ยว่า เราผลิตน้ำมันสำเร็จรูป เกินความต้องการบริโภค จึงต้องออกขาย ..และขายแม้กระทั่ง ประเทศมาเลเซีย!!

คุณคิดว่า มาเลย์ฯ นี่จะโง่ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปแพง ๆ จากไทย ไปใช้ทำไม ในเมื่อประเทศเค้าผลิตได้ และขายหน้าปั้มก็ถูกกว่าเรา  ....

เอาเป็นถ้าผมเป็น รมต.กระทรวงพลังงานของมาเลย์ หรือเป็นผู้บริหารเปโตรนาส ถ้าผมจะซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากไทยไปใช้ ผมก็ต้องคิดว่า

ถ้ามาเลย์คิดราคาในตลาดปกติต้นทุนบวกกำไรแล้วอยู่ที่ลิตรละ 28 บาท แต่รัฐอุดหนุน อีก 7-8 ราคาหน้าปั้มจึงเหลือ 20 บาท

ถ้าผมนำเข้าจากไทย  โดยหลักคิดแบบง่าย ๆ ก็คือ

ยังไงผมก็ต้องซื้อจากไทยต่ำกว่า 28 บาท (เพราะต้องบวกค่าขนส่ง) หรือตีซะว่า บวกแล้วเท่ากันเป๊ะคือ 28 บาท ผมสามารถรักษาปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไว้ในยามฉุกเฉินหรือผ่อนภาระการกลั่น(ที่ต้องมีต้นทุน) ไปได้แยะ

แต่สูตรแรกเป็นผม ๆ  คงไม่ซื้อ เพราะถ้าซื้อผมต้องซื้อต่ำกว่า ตีว่า ผมซื้อพร้อมค่าขนส่งเรียบร้อยพร้อม 25 บาท เมื่อไปถึงมาเลย์ก็หักที่รัฐฯ อุดหนุนเพียงแค่ 5 บาท ขาย 20 บาท  รัฐเซพค่าอุดหนุนไปได้ 3 บาท/ลิตร  คุณคิดว่าเป็นไง??

มันจึงกลายเป็นประเด็นไงว่า....โครงสร้างการคิดค่าน้ำมันของเรามันแย่แค่ไหน....แต่ถ้าใครยังคิดว่า การโจมตีเรื่องพลังงานเป็นเรื่องการเมือง...ก็แล้วแต่จะคิด  เพราะพวกนี้อาจฐานะดีเติมน้ำลิตรละร้อย ก็คงยังซูฮกว่า พลังไทยเพื่อไทย อีกนั่นละ

อันนี้ลองพิจารณาครับ.
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 07:26 น.  21 เม.ย 57
อันนี้ไม่เถียง..แต่คงไม่ปฎิเสธใช่มั้ยว่า เราผลิตน้ำมันสำเร็จรูป เกินความต้องการบริโภค จึงต้องออกขาย ..และขายแม้กระทั่ง ประเทศมาเลเซีย!!

คุณคิดว่า มาเลย์ฯ นี่จะโง่ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปแพง ๆ จากไทย ไปใช้ทำไม ในเมื่อประเทศเค้าผลิตได้ และขายหน้าปั้มก็ถูกกว่าเรา  ....





"เราผลิตน้ำมันสำเร็จรูป เกินความต้องการการบริโภค จึงต้องออกขาย" ผมเคยถามแล้วว่า ประเทศเราผลิตน้ำมันดิบได้มากจนเหลือใช้เลยอย่างนั้นเหรอ? ไม่เห็นคุณตอบตรงนี้

ผมเลยต้องไปหาข้อมูลเองกลับพบว่า เราไม่ได้มีน้ำมันดิบมากอย่างที่คุณพิมพ์ชวนเชื่อ ประเทศไทยมีความต้องการในการนำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 800,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่มีความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบแค่เพียงประมาณ 150,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องที่น้ำมันสำเร็จรูปมันแพงก็เพราะโครงสร้างราคา คือความผันผวนของราคาน้ำมันดิบที่เราซื้อบวกค่าภาษีค่ากองทุนอะไรต่างๆ เข้าไปอีกประมาณ 40% ถ้าอยากให้น้ำมันราคาถูกรัฐก็ต้องยกเลิกภาษียกเลิกกองทุนหรือเก็บให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ก็แค่นั้นเอง

ยกเลิกกองทุนน้ำมันยกเลิกการจัดเก็บภาษีแล้ว ส่วนผลกระทบจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ราคาน้ำมันดีเซลต้องแพงขึ้นเพราะไม่ได้รับการอุดหนุน ซึ่งหมายความว่าต้นทุนของสินค้าแทบทุกอย่างที่เราใช้ในชีวิตประจำวันจะต้องแพงขึ้นเพราะต้องบวกค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ราคาแก๊ซหุงต้มควรจะแพงมานานแล้ว เพราะรัฐเอาเงินจากกองทุนน้ำมันไปอุดหนุนราคาแก๊ซหุงต้มมานานแสนนาน

อย่าไปเปรียบเทียบกับมาเลเซีย เพราะเขามีพลังงานคือน้ำมันดิบสำรองเยอะกว่าเรา เอาไว้ขายส่งออกมาเป็นทุนเพื่อเป็นส่วนลดสำหรับคนใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศเขา มันไม่ได้เกี่ยวกับเลห์เหลี่ยมอะไรของ ปตท. ทั้ง ปตท. หรือบริษัทอื่นที่เขากลั่นน้ำมันดิบจนเหลือใช้แล้วในประเทศพอส่งออกขายต่างประเทศก็ขายประมาณราคาหน้าโรงกลั่นตามที่คุณว่าเพราะราคาที่ส่งออกไม่ได้รวมค่าภาษีค่ากองทุนเข้าไป

แต่เมื่อต่างประเทศซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากเราไป ต่างประเทศก็ต้องเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปของเราเป็นต้นทุนแล้วนำไปบวกภาษีหรือบวกค่ากองทุนอะไรต่างๆ เหมือนกัน แต่อาจจะมีการหักลบจากรัฐด้วยการที่รัฐช่วยโดยการอุดหนุนราคาเช่นกัน

เราควรคิดว่า ทำไมประเทศเรามันล้าหลัง ทำไมระบบขนส่งมวลชนมันแสนห่วย กรุงเทพฯ ก็เพิ่งมีรถไฟฟ้ารถไฟใต้ดินใช้ รถเมล์ก็แสนแย่ รถไฟรางก็ยิ่งแย่สกปรกไม่ปลอดภัย

เอาแค่ง่ายๆ หาดใหญ่ยังไม่เห็นมีเลนขับจักรยานที่จอดจักรยาน หรือมีความคิดริเริ่มจะสร้างระบบขนส่งมวลชนเพื่ออนาคตเลย ในเมื่อรัฐไม่ส่งเสริมไม่ช่วยจูงใจให้ลดการบริโภคน้ำมันได้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้ ดังนั้นเราประชาชนก็ต้องทนใช้น้ำมันที่ราคาแพงไปเรื่อยๆ ต่อไป

ส.ฉันเอง

Mr.No

อ้างจาก: ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน เมื่อ 03:25 น.  22 เม.ย 57




"เราผลิตน้ำมันสำเร็จรูป เกินความต้องการการบริโภค จึงต้องออกขาย" ผมเคยถามแล้วว่า ประเทศเราผลิตน้ำมันดิบได้มากจนเหลือใช้เลยอย่างนั้นเหรอ? ไม่เห็นคุณตอบตรงนี้

ผมเลยต้องไปหาข้อมูลเองกลับพบว่า เราไม่ได้มีน้ำมันดิบมากอย่างที่คุณพิมพ์ชวนเชื่อ ประเทศไทยมีความต้องการในการนำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 800,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่มีความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบแค่เพียงประมาณ 150,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องที่น้ำมันสำเร็จรูปมันแพงก็เพราะโครงสร้างราคา คือความผันผวนของราคาน้ำมันดิบที่เราซื้อบวกค่าภาษีค่ากองทุนอะไรต่างๆ เข้าไปอีกประมาณ 40% ถ้าอยากให้น้ำมันราคาถูกรัฐก็ต้องยกเลิกภาษียกเลิกกองทุนหรือเก็บให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ก็แค่นั้นเอง

ยกเลิกกองทุนน้ำมันยกเลิกการจัดเก็บภาษีแล้ว ส่วนผลกระทบจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ราคาน้ำมันดีเซลต้องแพงขึ้นเพราะไม่ได้รับการอุดหนุน ซึ่งหมายความว่าต้นทุนของสินค้าแทบทุกอย่างที่เราใช้ในชีวิตประจำวันจะต้องแพงขึ้นเพราะต้องบวกค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ราคาแก๊ซหุงต้มควรจะแพงมานานแล้ว เพราะรัฐเอาเงินจากกองทุนน้ำมันไปอุดหนุนราคาแก๊ซหุงต้มมานานแสนนาน

อย่าไปเปรียบเทียบกับมาเลเซีย เพราะเขามีพลังงานคือน้ำมันดิบสำรองเยอะกว่าเรา เอาไว้ขายส่งออกมาเป็นทุนเพื่อเป็นส่วนลดสำหรับคนใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศเขา มันไม่ได้เกี่ยวกับเลห์เหลี่ยมอะไรของ ปตท. ทั้ง ปตท. หรือบริษัทอื่นที่เขากลั่นน้ำมันดิบจนเหลือใช้แล้วในประเทศพอส่งออกขายต่างประเทศก็ขายประมาณราคาหน้าโรงกลั่นตามที่คุณว่าเพราะราคาที่ส่งออกไม่ได้รวมค่าภาษีค่ากองทุนเข้าไป

แต่เมื่อต่างประเทศซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากเราไป ต่างประเทศก็ต้องเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปของเราเป็นต้นทุนแล้วนำไปบวกภาษีหรือบวกค่ากองทุนอะไรต่างๆ เหมือนกัน แต่อาจจะมีการหักลบจากรัฐด้วยการที่รัฐช่วยโดยการอุดหนุนราคาเช่นกัน

เราควรคิดว่า ทำไมประเทศเรามันล้าหลัง ทำไมระบบขนส่งมวลชนมันแสนห่วย กรุงเทพฯ ก็เพิ่งมีรถไฟฟ้ารถไฟใต้ดินใช้ รถเมล์ก็แสนแย่ รถไฟรางก็ยิ่งแย่สกปรกไม่ปลอดภัย

เอาแค่ง่ายๆ หาดใหญ่ยังไม่เห็นมีเลนขับจักรยานที่จอดจักรยาน หรือมีความคิดริเริ่มจะสร้างระบบขนส่งมวลชนเพื่ออนาคตเลย ในเมื่อรัฐไม่ส่งเสริมไม่ช่วยจูงใจให้ลดการบริโภคน้ำมันได้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้ ดังนั้นเราประชาชนก็ต้องทนใช้น้ำมันที่ราคาแพงไปเรื่อยๆ ต่อไป

ส.ฉันเอง



ว่าแล้ว....ทำเป็นเนียน   ผมเดาทางก็ออก

แล้วเหตุผลที่์ยกมานั่น....เค้าเถียงกันนานแล้วมั๊ง 

ผมถึงอยากรู้เหตุผลไงว่า

1.เราส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป  ถามง่าย ๆ ทำไมขายคนอื่นถูก...(ไม่ว่าจะ Fob หรือ CIF) แต่คนไทยกลับโหดล่ะ  สุตรการคิดแบบนี้ ช่วยอธิบายทีว่า มันแฟร์มั้ย  โดยเฉพาะ สำหรับ "คนไทย"

2. น้ำมันดิบของเราที่ส่งไปขายอเมริกา แล้วอ้างว่าน้ำมันมันดีเกินไป.... (กลั่นไม่ได้มั่ง ฯลฯ )คนไทยกลับใช้น้ำมันกำมะถันเถอะจากตะวันออกกลาง หลักแบบ มะม่วงคุณภาพดีส่งขายเพราะได้ราคา..แต่เอามะม่วงห่วยเข้ามาขาย แบบนี้มันหลักของพ่อค้า แต่ถ้าเป็น ปตท. ทำแบบนี้ "ธรรมาภิบาลมั้ย"

3. ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่นไม่ได้....จะไปสนทำไมที่จะมีระบบขนส่งมวลชนดี ๆ ใช้ เพราะแค่ปัจจัยต้นทุนน้ำมัน ยังโกงกันขนาดนี  ค่าไฟก็ขึ้น LPG ก็ขื้น  จะไปแข่งกะใคร


อยากรู้เหตุผลสองสามข้อนี่จัง...........ช่วยหามาอธิบายให้ผมเคลียร์ทีจะขอบคุณมาก


ผมจะรอฟัง
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 05:48 น.  22 เม.ย 57

ว่าแล้ว....ทำเป็นเนียน   ผมเดาทางก็ออก

แล้วเหตุผลที่์ยกมานั่น....เค้าเถียงกันนานแล้วมั๊ง 

ผมถึงอยากรู้เหตุผลไงว่า

1.เราส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป  ถามง่าย ๆ ทำไมขายคนอื่นถูก...(ไม่ว่าจะ Fob หรือ CIF) แต่คนไทยกลับโหดล่ะ  สุตรการคิดแบบนี้ ช่วยอธิบายทีว่า มันแฟร์มั้ย  โดยเฉพาะ สำหรับ "คนไทย"


FOB กับ CIF คุณใส่มาทำไม ให้มันดูเท่ห์หรือว่าอย่างไรครับ ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย คำถามข้อนี้ผมตอบคุณไปแล้วกระทู้ก่อนหน้า

คุณต้องทำความเข้าใจใหม่นะ ถ้าคุณยังคิดว่าเรามีน้ำมันดิบมากเอามากลั่นจนเหลือใช้ อย่างที่คุณยกตัวอย่างบ้านๆ อย่างร้านก๋วยเตี๋ยวของคุณน่ะ กระบวนความคิดของคุณมันผิดตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว ผมก็บอกคุณแล้วไง ให้รัฐยกเลิกกองทุนเอาไหม อย่างที่บอกไม่เห็นมีใครทำได้แม้แต่คุณอภิสิทธิ์ที่บอกว่า ยกเลิกตอนหาเสียง แต่พอได้เป็นรัฐบาลก็ยังเลิกไม่ได้

ถามว่ามันแฟร์ไหม ก็แล้วแต่มุมมองครับ ใครชอบของฟรีของถูกเป็นนิสัยจนชิน ก็บอกว่าไม่แฟร์ ตย. ใครใช้แก๊ซหุงต้มแล้วบ่นเมื่อเค้าจะปรับราคาลอยตัวมัน ก็บ่นแต่ไม่ได้ดูเหตุผลที่แท้จริงว่า บ้านเราใช้แก๊ซราคาที่ถูกบิดเบือนกันมานานแสนนาน ใช้กันจนชินเป็นนิสัยคิดว่าเป็นสินค้าราคาถูก โดยไม่ได้ดูว่า

ปัจจุบันพลังงานชนิดนี้เรามีไม่พอกับความต้องการในประเทศ จนต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะมากเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ ตลอดไป

ซึ่งถ้ามาคิดต้นทุนแล้ว รัฐต้องขาดทุน ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องอุ้มโดยรีดเงินจากคนใช้น้ำมันมาช่วยพยุงราคาให้เราได้ใช้แก๊ซราคาถูกกว่าความเป็นจริงมาโดยตลอด ถามว่ามันแฟร์กับคนใช้น้ำมันไหม

และเช่นกันแล้วกับการที่รัฐกดราคาดีเซลต่ำกว่าราคาที่เป็นจริง ทำให้คนใช้เบนซินต้องจ่ายเพิ่มขึ้นถามว่ามันแฟร์กับคนใช้เบนซินไหม

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 05:48 น.  22 เม.ย 57

2. น้ำมันดิบของเราที่ส่งไปขายอเมริกา แล้วอ้างว่าน้ำมันมันดีเกินไป.... (กลั่นไม่ได้มั่ง ฯลฯ )คนไทยกลับใช้น้ำมันกำมะถันเถอะจากตะวันออกกลาง หลักแบบ มะม่วงคุณภาพดีส่งขายเพราะได้ราคา..แต่เอามะม่วงห่วยเข้ามาขาย แบบนี้มันหลักของพ่อค้า แต่ถ้าเป็น ปตท. ทำแบบนี้ "ธรรมาภิบาลมั้ย"


อีกแล้ว ไปเอามาจากไหนครับขอข้อมูลแหล่งที่มาด้วย แค่คิดเล่นๆ ช่วยกลับไปดูภาพข้างบนที่ผมแนบอีกครั้งสิครับ แหล่งน้ำมันบ้านเรามีเพียงหัวไม้ขีด ทางตะวันออกกลางอย่างซาอุมียังกับทะเลสาบ แค่นี้คุณคิดออกไหมครับโอกาสที่แหล่งน้ำมันบ้านเขากับบ้านเรา ที่ไหนจะมีคุณภาพดีกว่ากัน

การส่งออกน้ำมันดิบวันละสามหมื่นบาเรลของไทยนั้น เป็นน้ำมันดิบจากบางแหล่งที่มีการปนเปื้อนปรอทสูง ไม่เหมาะสมกับโรงกลั่นในไทย แต่เวลานี้กำลังมีการลงทุนปรับปรุงโรงกลั่นบางที่ให้รองรับน้ำมันนี้แล้ว ก็อาจงดการส่งออกได้ในอนาคต แต่ปริมาณมันน้อยมากสามหมื่น กับการใช้ในประเทศล้านนึง

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 05:48 น.  22 เม.ย 57

3. ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่นไม่ได้....จะไปสนทำไมที่จะมีระบบขนส่งมวลชนดี ๆ ใช้ เพราะแค่ปัจจัยต้นทุนน้ำมัน ยังโกงกันขนาดนี  ค่าไฟก็ขึ้น LPG ก็ขื้น  จะไปแข่งกะใคร


คุณรู้จักการค้าเสรีไหมครับ ขายแพงๆ นี่ใครจซื้อไหมครับ ขณะที่ในตลาดเขาแข่งขันกันขายที่ 20 กว่าบาท ไทยขายลิตรละ 48 บาทนี่ใครจะซื้อครับ ใช่เขาอยากจะขายให้ต่างประเทศครับแต่ปริมาณมันเหลือใช้เกินความต้องการในประเทศ เอามาเก็บสำรองได้ไหม ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกเท่าไหร่ครับในการสร้างที่เก็บในแต่ละวัน ความเสี่ยงการประกันภัย กับปริมาณที่เกินความต้องการในประเทศ

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 05:48 น.  22 เม.ย 57

อยากรู้เหตุผลสองสามข้อนี่จัง...........ช่วยหามาอธิบายให้ผมเคลียร์ทีจะขอบคุณมาก

ผมจะรอฟัง



ผมตอบคุณหมดแล้ว คราวนี้คุณช่วยบอกหน่อยว่า เล่ห์เหลี่ยมของ ปตท. มีอะไรบ้าง และช่วยตอบ 4 ข้อข้างต้นจากกระทู้อันเก่าของผม เพราะคุณยังไม่ได้ตอบเลย

ผมจะรอฟัง ปล. เอาเนื้อๆ  เหมือนเดิมครับ ไม่ต้องร่ายมายืดยาว

ส.ฉันเอง








Mr.No

ยังอ่อนนะ...ที่ตอบน่ะ ไม่ค่อย make sense เท่าไหร่
เรื่องกองทุนที่อุตส่าห์แวะไปถึง รัฐบาลอภิสิทธิ์นั่นน่ะมันชัดว่า ...แค่ประเด็นการเมือง

คนอื่นไม่รู้แต่สำหรับผม.ผมไม่สนรัฐบาลไหน...
จะ ปชป...หรือ พท.  หรือสารพัดหน้าไหน  ผมไม่สนทั้งนั้น

ถ้าจะคุยเรื่องน้ำมันที่เป็นเรื่อง  ปากท้อง (จริงๆ) ต้องไม่สนเรื่องว่า มันจะเป็นพรรคไหน...


ไอ้เหตุผลที่คุณยกมานั่นน่ะ ..เค้าเถียงกันมาตั้งแต่ปี 53 แล้ว ยังงมโข่งอยู่อีก 
คุณไปดูแต่ข้อมูลของ ปตท. คุณก็รู้แค่ ที่ปตท.มันสอนมันอ้าง..แบบนี้ เค้าเรียกอะไร....

สิทธิ..ประโยชน์ ของคุณ ของผม แท้ๆ  ชั่วโมงนี้ พวกที่กล้าแถแทน ปตท. มีสองอย่างคือ คือ  พวกมีหุ้น ปตท กับ  พวก.."???"


เพราะเหตุผลนี้ไงที่ เราต้องพยายามเปิดหูเปิดตา ..ดูประเทศเพื่อนบ้านไงว่าเค้าเดินไปยังไง 

เรื่อง ปริมาณน้ำมันดิบ...
ปริมาณการใช้น้ำมันของเรา...ที่บอกว่าไม่พอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อันนี้ผมไม่เถียง แต่เพียงว่า เมื่อหักลบกลบกับที่ที่ส่งออกไปขาย  คุณช่วยบอกผมหน่อยซิว่า ไอ้น้ำมันเกรดดี แบบทีฝรั่งเรียกว่า  Light sweet ที่ขายให้ฝรั่งอเมริกันนั่นน่ะ ขายให้บาร์เรลเท่าไหร่...และของดีแบบนี้ ทำไมถึงไม่เอาหักกลบกับที่นำเข้าล่ะ

อ้างแต่ ปริมาณน้ำเข้า แต่ที่ส่งออกไม่หักลบออก (เพราะมันก็เงินไง) ในทางบัญชีก็ควรจะเอาเงินซ้ายไปหักเงินขวาออกมาเพราะมันเป็นต้นทุน..เป็นรายได้แทบทั้งสิ้น

ผมบอกไว้อย่างว่า  ถ้าคุณจะเถียงเรื่องน้ำมันไทยไม่แพงและเป็นธรรมแล้ว....ยากหน่อย เพราะคุณต้องทำการบ้านที่เยอะมากก็คือต้องแสดงราคาต้นทุน..ส่งออก ขายให้ประเทศต่าง ๆ ทัั้ง FOB Term หรือ CIF ก็ตาม เพราะนี้เป็นคำตอบที่จะพิสจน์ได้ว่า ปตท.จริงใจ

เอาละ..

1. ถ้า  ปตท. แฟร์ ก็แจงมาเลยว่า...ขายน้ำมันสำเร็จรูปให้ประเทศโน้นนี่ หรืออย่างนี่ ขายให้พม่า สมมุติว่าตกลิตร 25 บาท  พม่าไปขายหน้าปั้มให้คนพม่า 38 บาท ก็แสดงว่ารัฐบาลพม่าเจ๋งกว่าไทย ใช่มั้ย

2. จากข้อแรก ...ช่วยบอกซิว่าเราขายให้มาเลย์เท่าไหร่....  เพราะผมบอกแล้วไงว่า ถ้าขายลิตรละ 25 บาท แล้ว มาเลย์เอาเงินรัฐไปอุดหนุนลดให้อีก 5 บาท ขายหน้าปั้ม 20 บาท  ก็แสดงว่า มาเลย์เจ๋งกว่า

ตอบสองข้อนี้ข้างต้น พ่อคนดีของ ปตท.....เพราะประเด็นกระทู้คือ ผมกำลังโฟกัสไปที่ สูตรการตั้งราคาน้ำมันไง..... ถึงได้ยกประเด็นที่คุณโสภณเค้าอธิบาย และผมก็ขยายความจากที่คุณโสภณเค้าอธิบาย ว่า เรื่องการตั้งสูตรราคาขายหน้าปั้มไง....ย้ำว่า  การการตั้งสูตรราคาขายหน้าปั้มไง  ย้ำ  การตั้งสูตรราคาขายหน้าปั้มไง 


เรื่องปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตนั่นน่ะ... เดี๋ยวค่อยว่ากัน...ปิดท้ายช่วยตอบผมให้กระจ่างหน่อย ถ้าคุณเป็นกูรู น้ำมันนัก

ผมถามคุณว่า   

1. คุณคิดว่า  การที่ ปตท. ขายน้ำมันสำเร็จรูปไปให้หลายประเทศ เช่น พม่า หรือแม้กระทั่งมาเลย์ นั่นน่ะ คุณคิดว่าเค้าขายเท่าไหร?   
2.ไอ้กองทุนสำรองปัญญาอ่อนนั่นน่ะ..มันเก็บจากใคร?  และเอาไปใช้ในกิจการอะไรบ้าง ส่วนที่เอาไปสนับสนุนปิโตรเคมี (นายทุน) มีจริงหรือไม่ และถ้ามี เอาไปช่วยเค้าทำไม...ฯลฯ  ช่วยแจงให้ผมเข้าใจเป็นระบบที
3.ทำไมถึงต้องตั้งราคาขาย หน้าโรงกลั่นโดยอิงราคาสิงค์โปร์ ทั้งที่น้ำมันดิบน้ำเข้าเอง(หรือจะบอกว่าเราซื้อน้ำมันดิบอ้างอิงราคาสิงค์โปร์)  เอามากลั่นเอง ..แถมขายเอง โดย

        3.1 ช่วยบอกทีว่า ราคานำเข้าน้ำมันดิบที่เอามากลั่น ปตท. สั่งมาบาร์เรลเท่าไหร่ หรือถ้าตีเป็นลิตรตกลิตรเท่าไหร่
        3.2 เมื่อได้ราคาต้นทุนน้ำมันดิบพร้อมกลั่นแล้ว ถามว่า ค่ากลั่นเท่าไหร
        3.3 ต้นทุน + ราคากลั่น  ที่ส่งขายให้ ต่างประเทศนั้นเบ็ดเสร็จร ต่อลิตรเท่าไหร่

   ถ้า 3 ข้อ ตอบผมไม่ได้ ผมก็จะรอกูรูน้ำมัน รายต่อไป....(ที่ไม่ใช่่คุณ)  และถ้าแค่ข้อ 3 คุณสามารถอธิบายได้ว่ามันมีที่มาและต้นทนุนำเข้า และส่งออกเท่าไหร่ โดยเฉพาะราคาส่งออก ไม่ว่าจะเป็น FOB หรือ CIF ราคาต่อลิตร โดยเฉพาะราคาขายให้พม่า หรือที่มาเลย์  (เพราะสองประเทศนี้ราคาน้ำมันหน้าปั้มเค้าถูกกว่าเรา)

ยิ่งถ้าแสดง ผังหรือเอกสารแสดงราคากันชัด  ๆ ผมจะยอมตั้งกระทู้แถลงขอโทษคุณและจะไม่จุ้นกับเรื่องพลังงานอีก


แต่...ถ้าจะมาอ้างเรื่องการค้าเสรี.หรือต้องรักษาการแข่งขันในตลาดโลกจุึงต้องขายคนอื่นถูก ฯลฯ  เหตุผลพวกนี้ มันเลอะเทอะ..เพราะควรเป็นเหตุผลของคนขายถุงยางอนามัย  มากกว่า.... 

และด้วยตรรกะนี้...ก็ต้องกลับไปถามไอ้เหลี่ยมว่า  แล้วเอ็งจะเอา การปิโตรเลียมของประชาชนเค้าไปแปรรูปทำหอกอะไร  และที่สำคัญ ถ้าหากเราแก้ไขอะไรไม่ได้  ประชาชนมีแต่ทรุด...สุดท้าย จะมีรัฐบาลซังกะบ๊วย ไว้ทำซากอะไร ....คุณว่ามั้ย!!     
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No



ภาคสองครับ...  คุณโสภณ รางวัล รามอนแมกไซไซ  คงช่วยการันตี ความซื่อและตรง ๆ ได้นะ

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:06 น.  22 เม.ย 57
ยังอ่อนนะ...ที่ตอบน่ะ ไม่ค่อย make sense เท่าไหร่
เรื่องกองทุนที่อุตส่าห์แวะไปถึง รัฐบาลอภิสิทธิ์นั่นน่ะมันชัดว่า ...แค่ประเด็นการเมือง

คนอื่นไม่รู้แต่สำหรับผม.ผมไม่สนรัฐบาลไหน...
จะ ปชป...หรือ พท.  หรือสารพัดหน้าไหน  ผมไม่สนทั้งนั้น

ถ้าจะคุยเรื่องน้ำมันที่เป็นเรื่อง  ปากท้อง (จริงๆ) ต้องไม่สนเรื่องว่า มันจะเป็นพรรคไหน...


ไอ้เหตุผลที่คุณยกมานั่นน่ะ ..เค้าเถียงกันมาตั้งแต่ปี 53 แล้ว ยังงมโข่งอยู่อีก 
คุณไปดูแต่ข้อมูลของ ปตท. คุณก็รู้แค่ ที่ปตท.มันสอนมันอ้าง..แบบนี้ เค้าเรียกอะไร....

สิทธิ..ประโยชน์ ของคุณ ของผม แท้ๆ  ชั่วโมงนี้ พวกที่กล้าแถแทน ปตท. มีสองอย่างคือ คือ  พวกมีหุ้น ปตท กับ  พวก.."???"


เพราะเหตุผลนี้ไงที่ เราต้องพยายามเปิดหูเปิดตา ..ดูประเทศเพื่อนบ้านไงว่าเค้าเดินไปยังไง 

เรื่อง ปริมาณน้ำมันดิบ...
ปริมาณการใช้น้ำมันของเรา...ที่บอกว่าไม่พอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อันนี้ผมไม่เถียง แต่เพียงว่า เมื่อหักลบกลบกับที่ที่ส่งออกไปขาย  คุณช่วยบอกผมหน่อยซิว่า ไอ้น้ำมันเกรดดี แบบทีฝรั่งเรียกว่า  Light sweet ที่ขายให้ฝรั่งอเมริกันนั่นน่ะ ขายให้บาร์เรลเท่าไหร่...และของดีแบบนี้ ทำไมถึงไม่เอาหักกลบกับที่นำเข้าล่ะ

อ้างแต่ ปริมาณน้ำเข้า แต่ที่ส่งออกไม่หักลบออก (เพราะมันก็เงินไง) ในทางบัญชีก็ควรจะเอาเงินซ้ายไปหักเงินขวาออกมาเพราะมันเป็นต้นทุน..เป็นรายได้แทบทั้งสิ้น

ผมบอกไว้อย่างว่า  ถ้าคุณจะเถียงเรื่องน้ำมันไทยไม่แพงและเป็นธรรมแล้ว....ยากหน่อย เพราะคุณต้องทำการบ้านที่เยอะมากก็คือต้องแสดงราคาต้นทุน..ส่งออก ขายให้ประเทศต่าง ๆ ทัั้ง FOB Term หรือ CIF ก็ตาม เพราะนี้เป็นคำตอบที่จะพิสจน์ได้ว่า ปตท.จริงใจ

เอาละ..

1. ถ้า  ปตท. แฟร์ ก็แจงมาเลยว่า...ขายน้ำมันสำเร็จรูปให้ประเทศโน้นนี่ หรืออย่างนี่ ขายให้พม่า สมมุติว่าตกลิตร 25 บาท  พม่าไปขายหน้าปั้มให้คนพม่า 38 บาท ก็แสดงว่ารัฐบาลพม่าเจ๋งกว่าไทย ใช่มั้ย

2. จากข้อแรก ...ช่วยบอกซิว่าเราขายให้มาเลย์เท่าไหร่....  เพราะผมบอกแล้วไงว่า ถ้าขายลิตรละ 25 บาท แล้ว มาเลย์เอาเงินรัฐไปอุดหนุนลดให้อีก 5 บาท ขายหน้าปั้ม 20 บาท  ก็แสดงว่า มาเลย์เจ๋งกว่า

ตอบสองข้อนี้ข้างต้น พ่อคนดีของ ปตท.....เพราะประเด็นกระทู้คือ ผมกำลังโฟกัสไปที่ สูตรการตั้งราคาน้ำมันไง..... ถึงได้ยกประเด็นที่คุณโสภณเค้าอธิบาย และผมก็ขยายความจากที่คุณโสภณเค้าอธิบาย ว่า เรื่องการตั้งสูตรราคาขายหน้าปั้มไง....ย้ำว่า  การการตั้งสูตรราคาขายหน้าปั้มไง  ย้ำ  การตั้งสูตรราคาขายหน้าปั้มไง 


เรื่องปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตนั่นน่ะ... เดี๋ยวค่อยว่ากัน...ปิดท้ายช่วยตอบผมให้กระจ่างหน่อย ถ้าคุณเป็นกูรู น้ำมันนัก

ผมถามคุณว่า   

1. คุณคิดว่า  การที่ ปตท. ขายน้ำมันสำเร็จรูปไปให้หลายประเทศ เช่น พม่า หรือแม้กระทั่งมาเลย์ นั่นน่ะ คุณคิดว่าเค้าขายเท่าไหร?   
2.ไอ้กองทุนสำรองปัญญาอ่อนนั่นน่ะ..มันเก็บจากใคร?  และเอาไปใช้ในกิจการอะไรบ้าง ส่วนที่เอาไปสนับสนุนปิโตรเคมี (นายทุน) มีจริงหรือไม่ และถ้ามี เอาไปช่วยเค้าทำไม...ฯลฯ  ช่วยแจงให้ผมเข้าใจเป็นระบบที
3.ทำไมถึงต้องตั้งราคาขาย หน้าโรงกลั่นโดยอิงราคาสิงค์โปร์ ทั้งที่น้ำมันดิบน้ำเข้าเอง(หรือจะบอกว่าเราซื้อน้ำมันดิบอ้างอิงราคาสิงค์โปร์)  เอามากลั่นเอง ..แถมขายเอง โดย

        3.1 ช่วยบอกทีว่า ราคานำเข้าน้ำมันดิบที่เอามากลั่น ปตท. สั่งมาบาร์เรลเท่าไหร่ หรือถ้าตีเป็นลิตรตกลิตรเท่าไหร่
        3.2 เมื่อได้ราคาต้นทุนน้ำมันดิบพร้อมกลั่นแล้ว ถามว่า ค่ากลั่นเท่าไหร
        3.3 ต้นทุน + ราคากลั่น  ที่ส่งขายให้ ต่างประเทศนั้นเบ็ดเสร็จร ต่อลิตรเท่าไหร่

   ถ้า 3 ข้อ ตอบผมไม่ได้ ผมก็จะรอกูรูน้ำมัน รายต่อไป....(ที่ไม่ใช่่คุณ)  และถ้าแค่ข้อ 3 คุณสามารถอธิบายได้ว่ามันมีที่มาและต้นทนุนำเข้า และส่งออกเท่าไหร่ โดยเฉพาะราคาส่งออก ไม่ว่าจะเป็น FOB หรือ CIF ราคาต่อลิตร โดยเฉพาะราคาขายให้พม่า หรือที่มาเลย์  (เพราะสองประเทศนี้ราคาน้ำมันหน้าปั้มเค้าถูกกว่าเรา)

ยิ่งถ้าแสดง ผังหรือเอกสารแสดงราคากันชัด  ๆ ผมจะยอมตั้งกระทู้แถลงขอโทษคุณและจะไม่จุ้นกับเรื่องพลังงานอีก


แต่...ถ้าจะมาอ้างเรื่องการค้าเสรี.หรือต้องรักษาการแข่งขันในตลาดโลกจุึงต้องขายคนอื่นถูก ฯลฯ  เหตุผลพวกนี้ มันเลอะเทอะ..เพราะควรเป็นเหตุผลของคนขายถุงยางอนามัย  มากกว่า.... 

และด้วยตรรกะนี้...ก็ต้องกลับไปถามไอ้เหลี่ยมว่า  แล้วเอ็งจะเอา การปิโตรเลียมของประชาชนเค้าไปแปรรูปทำหอกอะไร  และที่สำคัญ ถ้าหากเราแก้ไขอะไรไม่ได้  ประชาชนมีแต่ทรุด...สุดท้าย จะมีรัฐบาลซังกะบ๊วย ไว้ทำซากอะไร ....คุณว่ามั้ย!!     

เดี๋ยวก่อนครับเอาตรงนี้ก่อน ผมตอบคุณไปแล้วถึงตอบไม่ถูกใจคุณ แต่นี่คุณกลับเล่นไม่ตอบอะไรเลย แฟร์ๆ หน่อย

ผมตอบคุณหมดแล้ว คราวนี้คุณช่วยบอกหน่อยว่า เล่ห์เหลี่ยมของ ปตท. มีอะไรบ้าง และช่วยตอบ 4 ข้อข้างต้นจากกระทู้อันเก่าของผม เพราะคุณยังไม่ได้ตอบเลย

เล่ห์เหลี่ยมของ ปตท. มีอะไรบ้าง

และ 4 ข้อจากข้อความก่อนหน้า

1. ปริมาณน้ำมันดิบในประเทศเรามีเยอะมากจนเหลือใช้ เรากลั่นแล้วขายในประเทศยังแถมยังเหลือส่งออกไปขายต่างประเทศอีกใช่ไหมครับ

2. กองทุนน้ำมันมีไว้ทำไมครับ เพราะไม่เห็น รบ. ไหนยกเลิกแบบถาวรได้เลย ผมจำได้ว่าตอนนั้น คุณอภิสิทธิ์หาเสียงในนโยบายก็มีข้อหนึงว่ายกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่พอได้มาเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถยกเลิกได้ แถมคุณกรณ์ยังกล่าวไว้ทำนองว่า คนไทยคงหมดโอกาสจะใช้น้ำมันราคาถูก จำได้ว่า รบ.ในยุคนั้นยังขยายเพดานเก็บภาษีน้ำมันเพิ่มอีก ราคาน้ำมันกลับแพงขึ้นเข้าไปอีก

3. ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเพราะ ปตท. ใช่ไหมครับ ถ้าเราทวงกลับมาเป็น รัฐวิสาหกิจแล้ว รัฐสามารถกำหนดให้ปตท. ขายน้ำมันลิตรละ 25 บาทตามที่คุณกล่าวมาได้ใช่ไหมครับ

4.มาเลยเซียกับไทย ประเทศไหนผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่ากันครับ แล้วประเทศไหนในสองประเทศนี้ใช้น้ำมันมากกว่ากันครับ


ส.ฉันเอง

ไม่รู้เหมือนตาบอด

ถ้าอยากให้ราคาน้ำมันถูก ง่ายนิดเดียว

ซื้อหุ้น ปตท.ทั้งหมดเลยสิ เพราะหุ้นอยู่ตลาดหลักทรัพย์

แล้วคุณจะขายราคาเท่าไหร่ตามใจคุณเลย ฮ่าฮ่าฮ่า

แต่จริงๆ ถ้าคุณรู้เรื่องของราคาน้ำมันดิบ ที่ซื้อขายกันจริง  คุณจะหนาว..หน๊าว..หนาว

มันเกิดการมีสัญญามากันเป็นร้อยปีมาแล้ว อย่าสาวเรื่องสาวราวไปเลย ปวดใจเปล่าๆ จริงๆ

Mr.No

อ้างจาก: ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน เมื่อ 01:26 น.  23 เม.ย 57
เดี๋ยวก่อนครับเอาตรงนี้ก่อน ผมตอบคุณไปแล้วถึงตอบไม่ถูกใจคุณ แต่นี่คุณกลับเล่นไม่ตอบอะไรเลย แฟร์ๆ หน่อย

ผมตอบคุณหมดแล้ว คราวนี้คุณช่วยบอกหน่อยว่า เล่ห์เหลี่ยมของ ปตท. มีอะไรบ้าง และช่วยตอบ 4 ข้อข้างต้นจากกระทู้อันเก่าของผม เพราะคุณยังไม่ได้ตอบเลย

เล่ห์เหลี่ยมของ ปตท. มีอะไรบ้าง

และ 4 ข้อจากข้อความก่อนหน้า

1. ปริมาณน้ำมันดิบในประเทศเรามีเยอะมากจนเหลือใช้ เรากลั่นแล้วขายในประเทศยังแถมยังเหลือส่งออกไปขายต่างประเทศอีกใช่ไหมครับ

2. กองทุนน้ำมันมีไว้ทำไมครับ เพราะไม่เห็น รบ. ไหนยกเลิกแบบถาวรได้เลย ผมจำได้ว่าตอนนั้น คุณอภิสิทธิ์หาเสียงในนโยบายก็มีข้อหนึงว่ายกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่พอได้มาเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถยกเลิกได้ แถมคุณกรณ์ยังกล่าวไว้ทำนองว่า คนไทยคงหมดโอกาสจะใช้น้ำมันราคาถูก จำได้ว่า รบ.ในยุคนั้นยังขยายเพดานเก็บภาษีน้ำมันเพิ่มอีก ราคาน้ำมันกลับแพงขึ้นเข้าไปอีก

3. ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเพราะ ปตท. ใช่ไหมครับ ถ้าเราทวงกลับมาเป็น รัฐวิสาหกิจแล้ว รัฐสามารถกำหนดให้ปตท. ขายน้ำมันลิตรละ 25 บาทตามที่คุณกล่าวมาได้ใช่ไหมครับ

4.มาเลยเซียกับไทย ประเทศไหนผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่ากันครับ แล้วประเทศไหนในสองประเทศนี้ใช้น้ำมันมากกว่ากันครับ


ส.ฉันเอง

ผมไม่รู้ว่า ..คุณจะเข้าใจประเด็นกระทู้มั้ย? เพราะสาระที่คุณโสภณ พูดนั่นน่ะเค้ากำลังแฉถึงเล่ห์เหลี่ยมของ ปตท. โดยเฉพาะในการตั้งสูตรราคาน้ำมัน และเรื่องนี้มันถึงขนาดตอนนี้ CEO ของ ปตท.ร้อนถึงขนาดเตรียมฟ้องแล้ว นั่นแสดงว่า สิ่งที่คุณโสภณพูดถึงมันสะท้อนอะไรได้ชัดมิใช่หรือ?

เอาละ ผมจะตอบคุณ 4 ข้อ แต่หลังจากที่ผมตอบแล้ว ช่วยตอบของผมด้วยนะ

อ้างถึง1. ปริมาณน้ำมันดิบในประเทศเรามีเยอะมากจนเหลือใช้ เรากลั่นแล้วขายในประเทศยังแถมยังเหลือส่งออกไปขายต่างประเทศอีกใช่ไหมครับ

   ตอบ :  คุณถามว่า ปริมาณน้ำมันดิบเรามีเยอะจนเหลือใช้ หรือไม่ ผมก็ตอบว่าไม่ถึงขนาดนั้น แต่ต้องไม่ปฎิเสธว่ามีไม่น้อย เพราะอย่างน้อยก็สามารถส่งออกน้ำมันดิบออกไปขายได้ และเกรดน้ำมันที่ขายนั่นแพงและดีกว่า น้ำมันที่เรานำเข้าจากตะวันออกกลางด้วยซ้ำ

และคำถามเดียวกันก็คือว่า ปริมาณสำรอง ของไทยที่ยังสำรวจพบแต่ยังไม่ได้การันตีน้ำมันสำรองนั่นก็ไม่ได้น้อยเลย 
   แต่... อย่าพึ่งเอาหลักนี้มาอ้างว่า...นั่นไง เห็นมั้ยว่าเราไม่ได้ร่ำรวยน้ำมันดิบ จะเอามาอ้างได้ไงว่า ผลิตเองกลั่นเอง ดังนั้นราคามันจะไปถูกเมื่อเทียบกับประเทศที่เค้ามีน้ำมันดิบแล้วกลั่นเองใช้เอง ขายเองได้ไง 

    นี่ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะสาระของแหตุตามกระทู้เข้ามุ่งไปที่เรื่องการตั้งสูตรการคิดราคาน้ำมันที่ไม่เป็นธรรมไง  เอาเป็นต่อให้เราไม่มีน้ำดิบเลย แต่เรามีโรงกลั่น  ก็หลักการเดียวกันกับสิงค์โปร์ที่ประเทศเค้าไม่ได้มีน้ำมันดิบด้วยซ้ำแต่อาศัยการนำเข้าน้ำมันราคาถูกแล้วกลั่นที่สิงค์โปร์ ..ตั้งราคาแล้วก็ออกขายในตลาดโลก รวมทั้งขายให้ไทย(สมัยก่อน)
   ดังนั้นเมื่อก่อนเราจึงนำเข้าน้ำมันจากสิงค์โปร์แล้วใช้การอ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นสิงค์โปร์มาจนถึงทุกวันนี้

   ราคาน้ำมันหน้าปั้มในสิงค์โปร์อาจดูแพง ...แต่คนสิงค์โปร์ไม่เดือดร้อน เพราะฐานะเค้าดีและอีกอย่างคุณลองไปดูสถิติการบริโภคน้ำมันของเค้า ซึ่งส่วนใหญ่กลับไปอยู่ในส่วนการผลิตอื่นที่มิใช่ รถยนต์ (เพราะเค้ามีระบบขนส่งมวลชน ไม่บ้ารถคันแรกแบบเราไง)

    สิงคโปร์ส่งออกน้ำมัน เป็นอันดับที่ 18 ของโลก, แต่ผลิตน้ำมันเองดันไปอยู่อันดับที่ 85  (เมื่อเทียบกับไทย อยู่ที่ 32 ของโลก) คำถามคือ เค้าเอาน้ำมันที่ไหนไปส่งออกมากขนาดนั้น และถ้าเค้าส่งออกไปขายในราคาที่แพงเท่าหน้าปั้มเค้าขาย เค้าจะขายได้หรือในตลาดโลก!!

และรู้มั้ยว่า สิงค์โปร์ก็นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากเราด้วย โดยเป็นสินค้าในอันดับต้น ๆ ของการนำเข้าด้วยซ้ำ!

    ดังนั้น ประเด็นของปริมาณน้ำมันดิบ ไม่ได้สะท้อนปัญหาเรื่องราคาหน้าปั้มที่เรากำลังถกกันนี่...เพียงแต่แนวโน้มของการที่นำเอาเรื่องที่เรามีน้ำมันดิบ และมีการผลิตได้เอง นั่นเป็นเรื่องที่จะช่วยเสริมให้ราคาน้ำมันหน้าปั้มสามารถลงได้อีกชั้นหนึ่ง ถ้าสามารถควบคุมกลไกเรื่อง ค่าภาคหลวง และการนำเอาน้ำมันเกรดดีที่ส่งออกขายนั้นมาหักลบกลบกับที่น้ำเข้ามันเลว(กำมะถันเยอะ) มาเพื่อคำนวณต้นทุนที่แท้จริงใหม่ไง 

อ้างถึง2. กองทุนน้ำมันมีไว้ทำไมครับ เพราะไม่เห็น รบ. ไหนยกเลิกแบบถาวรได้เลย ผมจำได้ว่าตอนนั้น คุณอภิสิทธิ์หาเสียงในนโยบายก็มีข้อหนึงว่ายกเลิกกองทุนน้ำมัน แต่พอได้มาเป็นรัฐบาลก็ไม่สามารถยกเลิกได้ แถมคุณกรณ์ยังกล่าวไว้ทำนองว่า คนไทยคงหมดโอกาสจะใช้น้ำมันราคาถูก จำได้ว่า รบ.ในยุคนั้นยังขยายเพดานเก็บภาษีน้ำมันเพิ่มอีก ราคาน้ำมันกลับแพงขึ้นเข้าไปอีก


   ตอบ : นั่นสิ..มันจะเอาไว้ทำซากอะไร.. เพราะตอนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปประกาศหาเสียงว่าจะกระชากค่าครองชีพด้วยการยกเลิกกองทุนน้ำมัน ตกลงยกเลิกได้กี่วัน..แล้ววันนี้ทำไมมันยังอยู่ แถมเก็บเข้ากองทุนโดยเฉพาะเบนซิน 95 ขึ้นอีกบาน
ทุกวันนี้กองทุนน้ำมันได้กลายเป็นเครื่องมือในการดึงเงินประชาชนไปช่วยนายทุนและบางส่วนกลับคืนไปให้ส่วนต่างโรงกลั่น ทั้งที่ก่อนจะขึ้นราคา LPG กระทรวงพลังงานก็บอกว่าหลังจากลอยตัว LPG และขึ้นราคาไปแล้ว ก็จะทำให้การชดเชยกองทุนลดลง...บัดนี้มันลดหรือเปล่า แถมขึ้นมันหมดทั้งสองทาง....แบบนี้ถือว่าใช่เล่ห์เหลี่ยมอีกประการหรือไม่?

       ผมบอกแล้วว่า ผมไม่สนใจพรรคการเมืองหน้าไหน ดังนั้นไม่จำเป็นต้องมาอ้างว่า สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ถึงไม่ยกเลิกกองทุนน้ำมันเพื่อโยงไปเป็นประเด็นการเมือง  นั่นมันประเด็นคนอื่น แต่สำหรับผม มันไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะมีกองทุนปัญญาอ่อนนี้มาแต่แรกด้วยซ้ำ เพราะการตั้งกองทุนโดยอ้างว่าจะใช้ชดเชยราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มันผันผวนนั้นแท้ที่จริง 
มันเจ็บปวดก็คือ กองทุนนี้ กลับเอาเงินคนใช้น้ำมันไปอุดหนุน LPG แต่ที่มันเจ็บปวดยิ่งกว่าก็คือ  ดันไปโยนบาปให้คนที่ใช้รถ LPG และชาวบ้านที่ใช้ LPG ครัวเรือน แต่ไม่พูดถึงภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี(นายทุน) ที่ใช้ LPG มหาศาลบานเบอะ ได้ดันได้ประโยชน์จากเงินในกระเป๋าของคนจ่ายค่าน้ำมันหน้าปั้มเอาไปช่วยอุดหนุนกลุ่มทุนพวกนี้ด้วย  ทำแบบนี้เพื่ออะไร? 

   ดังนั้น ถ้าจะเสวนาเรื่องนี้ อย่าเอาเรื่อง...ที่ อภิสิทธิ์ ทำแบบนั้นแบบนี้  ไม่ใช่ประเด็น เพราะนั่นมัน ตรรกะพวกเสื้อแดง ไม่มีประโยชน์ครับ เพราะราคาน้ำมันแพงมันไม่ได้แพงเฉพาะพวกสลิ่มหรอก..แต่มันทั้งประเทศ

อ้างถึง3. ราคาน้ำมันที่แพงขึ้นเพราะ ปตท. ใช่ไหมครับ ถ้าเราทวงกลับมาเป็น รัฐวิสาหกิจแล้ว รัฐสามารถกำหนดให้ปตท. ขายน้ำมันลิตรละ 25 บาทตามที่คุณกล่าวมาได้ใช่ไหมครับ

ตอบ. ผมบอกคุณไงว่า..จะมีประโยชน์อะไรที่จะทวงคืน ปตท. เพราะเราสามารถจะมีหนทางและวิธีการอื่นง่ายกว่าแยะ  เพราะทีเวลา การบินไทย ก็ยังมีคนแก้กฎหมายให้มีการบินเสรีได้ จนวันนี้มี สารพันสายการบิน บินบนเส้นทางเดิมของการบินไทย จนกำลังจะเจ้งได้ฉันใด อันนี้ ก็หลักการเดียวกัน  คือการเปิดให้มีการค้าอย่างเสรีน้ำมันในลักษณะแข่งขันกัน ก็ไม่เห็นแปลก แก้กฎหมายบางอย่าง..อย่าให้ผูกขาดนัก เราอาจมีค่ายน้ำมันหลายแบรนด์มาแข่งขันกัน ใครขายถูกก็ใช้ยี่ห้อนั้น..ใครขายแพงก็นั่งแช่น้ำมันตัวเองให้ตูดเน่าไป แล้วไปจัดการเรื่องต้นน้ำโดยเฉพาะค่าภาคหลวงให้มันยุติธรรม ปรับเปลี่ยนวิธีการตั้งราคาแบบมั่วของ ปตท.  แบบนี้ คุณว่าดีมั้ยละ

อ้างถึง4.มาเลยเซียกับไทย ประเทศไหนผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่ากันครับ แล้วประเทศไหนในสองประเทศนี้ใช้น้ำมันมากกว่ากันครับ

  ตอบ : ตัวเลขในภาพที่คุณเอามาแปะน่ะผมมี่ทั้งนั้นแหละ... ปัญหาการสะท้อนการบริโภคน้ำมันในแต่ละประเทศมันมีหลากหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างมาเลย์นี่บริโภคน้ำมันน้อยกว่าเรา.(ประชากรเค้าน้อยกว่า) หรืออย่างสิงค์โปร์นี่ประชากรกระจิบเดียวแต่เค้าบริโภคน้ำมันมากกว่าเรา เพราะเค้าไม่มีทรัพยากรอะไรอื่นเลย (ไฟฟ้านี่ใช้น้ำมันมากกว่า 90เปอร์เซ็นต์)  หรืออย่างในเวียตนามมีประชากร 90กว่าล้านคนมากกว่าไทย แต่บริโภคน้ำมันน้อยกว่าเรา เรื่องเหล่านี้ต้องไปดูต่อว่านโยบายด้านพลังงาน(น้ำมัน)ของเขาเป็นไง นี่ก็น่าคิด  เพราะสะท้อนถึงความโง่-ฉลาดของรัฐบาลไง

   รัฐบาลโง่ที่สอนให้คนบ้าใช้น้ำมัน...ด้วยการออกนโยบายผลาญพลังงาน อาทิพวก ออกรถคันแรก...ส่งเสริมอุตสาหกรรมมอเตอร์ไซด์จนเป็นบ้าเป็นบอ  แต่ไม่เคยสนใจระบบขนส่งมวลชนมาเพื่อช่วยลดการใช้พลังงานส่วนตัว  ไม่ว่าจะเป็นระบบราง,บกหรือน้ำ (แต่กลับไปบ้าฟุ่มเฟื่อยสุรุ่ยสุร่ายกับความเร็วสูง วิ่งแค่ กรุงเทพ - เชียงใหม่ )ที่สำัคัญไม่สนใจที่จะพัฒนาระบบพลังงานทดแทน

..ขนาดชาวบ้านติดแผงโซล่าร์เซลล์ไว้เพื่อลดพลังงานยังมีปัญหาเพราะหาว่าผิดกฎหมายกรมโรงงาน ฯลฯ จะเอาผิดเอาโทษเค้า

   เมื่อรัฐบาลห่วยสารพัน แบบนี้ ไม่เอามาคิดบ้างเหรอ

ที่คุณอยากรู้ว่า อะไรคือ เล่ห์เหลี่ยม ปตท. อ่านที่ผมเขียนมาทั้งหมดแล้ว ถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ ..แต่ยังท่องคาถา เราผลิตน้ำมันเองไม่พอกับความต้องการ ฯลฯ แบบนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าจะเสวนากันไปทำไม

อยากให้ตั้งหลักคิด...เพราะ คุณ กับ ผม ก็ประสบชะตากรรมเดียวกันคือ  ใช้น้ำมันแพง. แต่ถ้าคุณบอกไม่เดือดร้อน เพราะรวย  ก็ขอให้ข้ามกระทู้นี้ไป

แต่ถ้าคิดว่า..รวยยังไม่พอ และพอจะแยกแยะได้ว่า อะไรคือ "เอาเปรียบ"  ค่อยมาเสวนากันต่อ ดีมั้ยครับ.
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน

ตอบรวบเลยครับ เอาอย่างนี้ก่อน ยังไงๆ ก็ไม่มีทางที่จะคุยกันรู้เเรื่องแน่นอน เพราะยังไงๆ ผมก็ว่าสาเหตุที่น้ำมันสำเร็จรูปไทยแพงก็เพราะว่าเป็นราคาที่ต้องบวกค่าภาษีต่างๆ และค่ากองทุนต่างๆ เพิ่มเข้าไป

ส่วนคุณน่าจะบอกว่าน้ำมันที่แพงเพราะว่า สูตรการคิดของ ปตท ทำให้แพง (ผมเข้าใจถูกต้องไหม?) (ตรงนี้ ผมก็ยังไม่เข้าใจว่า ปตท เขาตั้งราคาอย่างไรที่คุณว่าทำให้ขายคนไทยแพง)

อีกครั้งนะครับ เรื่องน้ำมันดิบ เอาตัวเลขคร่าวๆ

เราผลิตประมาณ      150,000 บาเรลต่อวัน
นำเข้าประมาณ       800,000   ..
ส่งออกประมาณ        33,000   ..

ผมบอกคุณด้วยเหตุผลเป็นตัวเลขมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คุณก็น่าจะเห็นว่ามันควรจะขาดดุลบักโกรก ถ้าคุณยังแย้งว่า ปริมาณการส่งออก 4-5 % นั้นสร้างรายได้มหาศาล ผมไม่รู้จะพูดว่าอย่างไรกับคุณแล้ว

ผมเอาข้อมูลมายืนยันเรื่องการส่งออกดีกว่า เดี๋ยวคุณว่าเราส่งออกน้อยไป

ข้อมูลจาก กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน

http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=yearSupply

เมื่อปี 2554 ไทยส่งออกน้ำมันดิบในปริมาณวันละ33,321 บาร์เรลร้อยละ4 ของความต้องการใช้ของประเทศ (และปัจจุบันการส่งออกค่อยๆ ลดลงไปเรื่อย และน่าจะยกเลิกการส่งออกเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ในวงเล็บนี้คือความคิดเห็นของผมเอง)


ส่วนน้ำมันเกรดดี  Light sweet  ที่เราส่งออก ผมหาข้อมูลก็ไม่พบ ไปพบแต่ในฟอร์เวิดเมล์ครับ ว่าเราส่งออกน้ำมันดิบชนิดนี้ ซึ่งเป็นฟอร์เวิดเมล์ที่ไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มา นอกจาคำว่า "ที่มา มาจากเวปไซต์อเมริกา" ประมาณนี้ 

แต่ที่ผมไปเจอใกล้เคียงว่าทำไมเราถึงส่งออก มีคำอธิบายคืออย่างนี้ครับ จากที่เดิมครับ คือรายงานปี 2554 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงแรงงาน ในรายงานเขาเขียนไว้ดังนี้

1. เพราะน้ำมันดิบบางแหล่งจากอ่าวไทยเป็นจำพวก light crude คือกลั่นแล้วให้ผลผลิตเป็นเบนซินในสัดส่วนที่สูง ไม่เหมาะกับตลาดในประเทศที่มีความต้องการใช้ดีเซลสูง
2. น้ำมันมีสารเจือปนอย่างปรอทมากเกินความสามารถของโรงกลั่นที่จะรับได้ ซึ่งโรงกลั่นต้องลงทุนเพิ่มใช้ระยะเวลาดำเนินการที่จะกลั่นน้ำมันดิบที่มีสารเจือปนดังกล่าวโดยไม่สร้างความเสียหายให้อุปกรณ์

กลับมาเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมันอีกที รูปนี้ผมเอามาจากเว็บไซต์ของไทยออยล์ จากหน้าคำถามที่ถามบ่อย
http://www.thaioilgroup.com/th/energy-knowledge-center/faq/index2.php



....... จะเห็นว่า ราคาน้ำมันส่วนใหญ่มาจากต้นทุนเนื้อน้ำมันมากถึง 50-65% รองลงมาเป็นเงินภาษีและที่จ่ายเข้ากองทุน 30-50% ส่วนที่เหลือเป็นค่าการตลาด ซึ่งคิดเป็น 3-5% เท่านั้น ดังนั้นราคาน้ำมันหน้าป็มในประเทศจะถูกหรือแพงนั้น สาเหตุหลักมาจาก ราคาน้ำมันในตลาดโลกและการเก็บเงินกาษีและกองทุน มากกว่าเรื่องค่าการตลาด

เอาแค่ตรงนี้ก่อน ผมเอาข้อมูลมายืนยันในสิ่งที่ผมเชื่อ

ทีนี้ ที่คุณบอกว่าสูตรการคิดน้ำมันที่ทำให้น้ำมันแพง ผมขอดูบ้างได้ไหมว่าสูตรการคิดเอาเปรียบของ ปตท นั้นเป็นอย่างไรที่ทำให้เราต้องใช้น้ำมันแพงๆ กัน

ส่วนเรื่องที่ประเทศเพื่อนบ้านเราเจ๋งกว่าเพราะเขาใช้น้ำมันราคาถูกกว่าไทย ผมก็ตอบคุณไปแล้วว่ามาเลย์เขาทำอย่างไร ถามว่าเค้าเจ๋งกว่าไหม ตอบว่าเจ๋งกว่าสิครับ เขาส่งน้ำมันดิบออกขายมากกว่า ปริมาณนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปน้อย การบริโภคเชื้อเพลิงก็น้อยกว่าเรา เค้าจึงมีเงินที่จะมาอุดหนุนตรงนี้ ผมไม่ทราบว่าสูตรเขาเป็นอย่างไร ถ้าให้ตอบคร่าวๆ ก็อธิบายได้แบบนี้ ถ้าคุณมีความคิดเห็นที่โต้แย้งว่าผมคิดผิด รบกวนช่วยบอกหน่อยว่าเขาเจ๋งกว่าเราเพราะเขามีสูตรอะไร

ส่วนเรื่องพม่าเขาไม่ได้เจ๋งอะไรกว่าเรา ถ้าคุณได้อ่านเรื่องประเทศนี้ สถานีบริการน้ำมันทั้งหมดในพม่านั้นเป็นทั้งของรัฐและอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐทั้งสิ้น โดยผู้ที่จะซื้อน้ำมันได้จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับโควตาจากรัฐเท่านั้น อย่างรถแท๊กซี่ของเขาได้โควต้าเติมน้ำมันประมาณ 5-7 แกลลอนเท่านั้น คุณว่าเจ๋งไหมครับ

ส่วนเรื่องราคาซื้อขาย ผมคงจนปัญญาที่จะหามาให้คุณได้ การซื้อขายน้ำมันเป็นการซื้อขายกันล่วงหน้าเป็นเดือน ถ้าคุณมีข้อมูลเด็ดๆ ก็เอามาบอกเลยครับ ว่า ปตท เขางุบงิบลับล่อทำเงินกำไรมหาศาลตรงนี้ยังไง

ส.ฉันเอง


ทวงคืน ปตท. กลับมาด่วน

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 21:38 น.  22 เม.ย 57

ภาคสองครับ...  คุณโสภณ รางวัล รามอนแมกไซไซ  คงช่วยการันตี ความซื่อและตรง ๆ ได้นะ


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU9ERTNORE0xTnc9PQ==&sectionid=

ความเข้าใจผิดๆเรื่องพลังงานของ นายโสภณ สุภาพงษ์ จากเวที กปปส.


โดย Energy Man




ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เวที กปปส. สวนลุม ได้เริ่มพูดเรื่องพลังงาน แต่ไม่วายที่จะป้อนข้อมูลความเข้าใจผิดๆแก่บรรดาสาวกมวลมหาประชาชนอยู่ดี ทั้งๆที่เมื่อสองเดือนก่อน ได้ตัดสินใจไม่ให้กลุ่ม กคป หรือกลุ่มทวงคืนพลังงานได้ขึ้นเวที กปปส. อาทิ มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นายแพทย์ระวี มาศฉมาดล เป็นต้น ผู้เขียนก็นึกว่า กปปส. เข้าใจเรื่องพลังงานดี เพราะในกลุ่มของ กปปส เอง ก็มีผู้ที่เข้าใจเรื่องพลังงานอย่างดีคือ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ นางอานิก อัมระนันทน์ อดีต สส.ประชาธิปัตย์ และ รองประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร


แต่ก็น่าแปลกที่กลุ่ม กปปส กลับไม่ขอข้อมูลจากทั้งสองคนนี้ แต่กลับไปหลงเชื่อกลุ่มทวงคืนพลังงาน อย่างเช่น นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ที่ไปหลงเชื่อกลุ่มทวงคืนพลังงานเพราะระยะหลังๆพยายามพูดเรื่องพลังงาน [ii] แต่ก็เข้าใจผิดๆอยู่เหมือนเคย แถมยอมรับอีกด้วยว่า ได้คุยกับ มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี บ่อยๆ ผู้เขียนขอเรียกว่า "โดนล้างสมอง" ให้เข้าใจข้อมูลพลังงานผิดๆมากกว่า และโดยเฉพาะล่าสุดให้นายโสภณ สุภาพงษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บางจาก ได้ขึ้นเวทีบ่อยๆ ด้วยความที่ผู้นี้เคยบริหารงานในบริษัทน้ำมัน ทำให้มีเครดิตที่จะพูดเรื่องพลังงาน แต่แล้วก็เข้าใจผิดๆอย่างไม่น่าเชื่อว่าเคยบริหารงานในบริษัทน้ำมัน เพียงเพราะต้องการโยงสาเหตุกำไรของ ปตท. และน้ำมันแพง มาจากระบอบทักษิณ [iii] [iv]

ขอยกตัวอย่างสัก 3 ประเด็นก่อนละกัน




ประเด็นที่ 1
ข้อเสนอให้ใช้ราคาหน้าโรงกลั่นที่ราคา Export Parity นั้น ไม่น่าเชื่อว่าเป็นคำพูดที่ออกมาจากปากของผู้ที่เคยบริหารงานในบริษัทน้ำมัน การคิดราคา Export Parity นั่นหมายถึง เรากำลังเป็นผู้ส่งออกแข่งกับประเทศสิงคโปร์

โรงกลั่นในประเทศไทยนั้นสร้างขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป โดยเราจะนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นเองแทน ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการในประเทศก็คือ ให้กำหนดราคาหน้าโรงกลั่นตามหลักการ Import Parity คือราคาเทียบเท่านำเข้า เพราะต้นทุนโรงกลั่นในประเทศไทยสูงกว่า ทั้งเรื่องการขนส่ง เพราะต้องขนส่งน้ำมันดิบเข้ามากลั่นไกลกว่าสิงคโปร์ กำลังการกลั่นที่ต่ำกว่า คุณภาพน้ำมันที่ใช้ก็สูงกว่า (ไทยกลั่นยูโร 4 สิงคโปร์กลั่นยูโร 2) ไทยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการสำรองน้ำมันตามกฎหมาย (สิงคโปร์ไม่ต้องสำรองน้ำมัน) และ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่่ประเทศไทยก็สูงกว่าอีก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่บวกใน Import Parity คือค่าขนส่ง ค่าประกัน ค่าสูญเสีย และค่าปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งรวมๆกันอยู่ประมาณ 80-90 สตางค์ต่อลิตร โดยเป็นค่าปรับปรุงคุณภาพเป็นยูโร 4 เสียส่วนใหญ่ประมาณ 50-60 สตางค์ต่อลิตร จึงไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเทียมหรือค่าใช้จ่ายสมมติที่นายโสภณกล่าวอ้าง แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่จริง ซึ่งอาจจะบวกน้อยกว่าภาระค่าใช้จ่ายต้นทุนที่มากกว่าสิงคโปร์ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วยซ้ำไป แต่ถ้าโรงกลั่นคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่า Import Parity ก็จะแข่งขันกับน้ำมันนำเข้าจากสิงคโปร์ไม่ได้ จึงเป็นเพดานราคาที่โรงกลั่นจะคิดเกินกว่านี้ไม่ได้ ต่อให้โรงกลั่นถูกผูกขาดก็ตาม สุดท้ายราคาน้ำมันก็ต้องเป็นไปตามกลไกลของตลาด จะเห็นว่าธุรกิจโรงกลั่นไม่ได้กำไรงามเลย ครึ่งปีแรกขาดทุนยับ ครึ่งปีหลังกลับมามีกำไรบ้าง

ถ้าไปบังคับให้โรงกลั่นขายราคา Export Parity จะกลายเป็นว่า ประเทศเพื่อนบ้านจะแห่กันมาซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นไทยจนหมด เพราะราคาเท่ากับที่สิงคโปร์แถมหักค่าขนส่งอีก กลายเป็นประเทศไทยไม่มีน้ำมันใช้ ต้องนำเข้าจากสิงคโปร์ในราคานำเข้าอยู่ดี และสุดท้ายโรงกลั่นไทยก็อยู่ไม่ได้เพราะค่าการกลั่นที่ต่ำจนแข่งขันกับสิงคโปร์ไม่ได้ก็ต้องปิดตัวลง ส่งผลทำให้ Supply ในภูมิภาคหายไปกว่า ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันสิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้นไปกันใหญ่

แล้วมีคำถามต่อมาว่าในเมื่อต้องใช้ราคาเท่ากับนำเข้า แล้วจะสร้างโรงกลั่นทำไม คำตอบก็คือ การที่รัฐส่งเสริมให้มีโรงกลั่นในประเทศเพราะ โรงกลั่นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของน้ำมันดิบให้เป็นน้ำมันสำเร็จรูป ทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่ม ลดการสูญเสียเงินตราไปต่างประเทศ โดยการนำเข้าน้ำมันดิบแทนน้ำมันสำเร็จรูป และเป็นการสร้าง GDP ให้กับประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้คนไทย และรัฐก็เก็บภาษีได้อีก ดังนั้นการมีโรงกลั่นในประเทศ ย่อมมีประโยชน์กว่าไม่มี




ประเด็นที่ 2
เปลี่ยนระบบสัมปทานขุดเจาะน้ำมันไปเป็นระบบแบ่งผลผลิตหรือ Production Sharing ที่นายโสภณกล่าวอ้างว่า ตัวเองพยายามผลักดันระบบนี้ แต่ไม่สำเร็จ ก็ไม่น่าจะสำเร็จอยู่แล้ว เพราะประเทศไทยเคยนำระบบ Production Sharing จากมาเลเซียมาประยุกต์ใช้ครั้งหนึ่งใน Thailand 2 จนเจ๊ง เพราะไม่มีใครมาพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยถึง 7 ปี เพราะรัฐเก็บส่วนแบ่งมากจนบริษัทเอกชนไม่สามารถลงทุนขุดเจาะน้ำมันและได้ผลตอบแทนที่คุ้มต่อการลงทุน นายโสภณ อ้างว่า ระบบสัมปทานทำให้เราไม่รู้ข้อมูลราคาซื้อขาย ขณะที่ระบบแบ่งผลผลิตจะทำให้เรารู้ข้อมูลราคาซื้อขาย ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงอีก เพราะราคาซื้อขายต้องเปิดเผยต่อรัฐ และประกาศราคาอยู่ในหน้าของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทุกๆเดือน [v] และกล่าวถึงระบบสัมปทานปัจจุบันว่า "แอบขายน้ำมันที่ขุดได้ในราคาถูกๆ เพื่อมาแบ่งถูกๆ" ที่น่าแปลกมากก็คือ บริษัทจะไปแอบขายน้ำมันที่อื่นถูกๆทำไมโดยไม่มีเหตุผล เพราะยิ่งขายได้แพง ก็ได้กำไรมากขึ้นอยู่ดี ถึงแม้ว่าจะต้องแบ่งให้รัฐเพิ่มขึ้นก็ตาม จึงเป็นตรรกะที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง

แล้วมันต่างกันตรงไหนที่รัฐเก็บส่วนแบ่งในรูปตัวเงิน กับเก็บส่วนแบ่งในรูปของน้ำมัน เพราะน้ำมันที่ขุดเจาะขึ้นมาได้นั้น มันมีมูลค่าด้วยตัวของมันเองคือราคาตลาดโลก ถ้ารัฐขอแบ่งน้ำมันไป ก็ไม่ต่างกับขอแบ่งเงินในรูปมูลค่าของน้ำมันนั้น ถ้าอ้างว่า รัฐแบ่งน้ำมันไปขายถูกๆให้ประชาชนได้ ก็ไม่ต่างอะไรที่รัฐกำลังอุดหนุนราคาในรูปส่วนต่างของราคาขายกับราคาตลาดโลก เพราะรัฐก็สามารถขายน้ำมันในราคาตลาดโลกได้เช่นกัน




ประเด็นที่ 3
ยกกำไร ปตท. ว่ากำไรปัจจุบันเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่าหลังการแปรรูป โดยพยายามโยงที่มาของกำไรมาจากการขายน้ำมันแพงจากสูตรราคาอ้างอิงสิงคโปร์บวกค่าขนส่งเทียมว่าเป็นผลพวกจากระบอบทักษิณ แต่พูดแต่เลขกำไรอยู่มุมเดียว ไม่พูดตัวเลขอื่นๆ เช่น ยอดขาย อัตรากำไร หนี้สิน และสาเหตุ ? เอาง่ายๆ กำไร ปตท. จากงบการเงินปี 2556 [vi] หลังหักภาษีส่งเข้ารัฐแล้ว มีกำไรอยู่ 115,125.20 บาท จากยอดขาย 2,842,688 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทน 4% เท่านั้นเอง ผุ้เขียนกลับมองว่า ปตท.ไม่ได้กำไรมหาศาลเลย สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และที่ ปตท. มีรายได้มาก ก็เพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากการค้าระหว่างประเทศ เพราะ ปตท.มีการลงทุนในต่างประเทศจำนวนมากด้วย รวมทั้งกำไรส่วนใหญ่ก็มาจาก ปตท.สผ.ที่มาจากการลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 40 โครงการ ไม่ได้เกิดจากการขายน้ำมันแพงเกินจริงของ ปตท.เลย ถ้าดูงบการเงินส่วนที่เป็นการขายน้ำมัน ปตท. ขาย 617,305 ล้านบาท แต่มีกำไรก่อนหักภาษีเพียง 10,716 ล้านบาท คิดเป็น 1.7% เท่านั้น น้อยกว่าฝากธนาคารประจำเสียอีก !!!

ถ้าคิดจะเอากำไรทั้งหมดแสนล้านบาทมาลดราคาน้ำมันในประเทศลง ก็ลดได้แค่เพียงลิตรละ 2 บาทเท่านั้นเองจากการใช้น้ำมันประมาณ 50 ล้านลิตรต่อปีของประเทศไทย และสุดท้าย ปตท. ก็เจ๊ง แข่งขันกับบริษัทน้ำมันต่างชาติไม่ได้ และระบบพลังงานของไทยจะถูกครอบงำโดยต่างชาติ ถ้าเป็นแบบนั้น เราก็จะกลับไปสู่อดีตในยุคที่บริษัทน้ำมันต่างชาติผูกขาดสามารถตั้งราคาได้ตามใจชอบ และขาดความมั่นคงทางพลังงาน อาจจะได้ต่อคิวเติมน้ำมันตามโควต้ากันอีก และแน่นอนคงไม่มีใครยอมขายก๊าซ NGV กับ LPG ขาดทุนแบบที่ ปตท. ทำอยู่ทุกวันนี้ที่ยอมขายขาดทุนให้ประชาชนรวมกันกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี ที่ไม่มีใครพูดถึงมุมนี้ของ ปตท.เลย [vii]

เอาแค่เบาะๆ 3 ประเด็นก่อน แค่นี้ก็ทราบแล้วว่า นายโสภณ ยังคงมีความเข้าใจในเรื่องพลังงานผิดๆ ไม่ได้รู้จริงอย่างที่กล่าวอ้างเลย ทั้งๆที่เคยเป็นอดีตผู้บริหารบริษัทน้ำมันบางจาก หรือทั้งหมดเป็นเพราะความมีอคติต่อ ปตท. เพียงเพราะคิดว่าเป็นตัวแทนของระบอบทักษิณเท่านั้นเอง พออ้างชื่อทักษิณเท่านั้น มวลมหาประชาชนก็เชื่อนายโสภณทันทีอย่างไม่ลืมหูลืมตา ช่างน่าเป็นห่วงจริงๆ ประเทศไทย !!!