ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

คลังชี้ พ.ค.เศรษฐกิจเร่ิมฟื้น หลังคสช.เข้ามา ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯพุ่งในรอบ 7ด.

เริ่มโดย ฟ้าเปลี่ยนสี, 20:40 น. 26 มิ.ย 57

ฟ้าเปลี่ยนสี

คลังชี้ พ.ค.เศรษฐกิจเร่ิมฟื้น หลังคสช.เข้ามา ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯพุ่งในรอบ 7ด.

โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
26 มิ.ย. 2557 18:49

[attach=1]

คลังระบุเดือน พ.ค. ใช้จ่ายในประเทศกระเตื้อง จากวิกฤติการเมืองคลี่คลาย ชี้เป็นช่วงฟื้นตัว ศก.หลัง คสช.เข้ามา ขณะที่ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ อยู่ที่ 85.1 เพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 7 เดือน แม้แรงกดเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่เสถียรภาพในประเทศยังแกร่ง...

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพ.ค. 2557 ว่า การใช้จ่ายในประเทศในช่วงดังกล่่าวเริ่มดีขึ้น ขณะที่วิกฤติการเมืองคลี่คลาย ทำให้การใช้จ่ายรัฐเร่งขึ้น และเอกชนมั่นใจขึ้น แต่การใช้จ่ายต่างประเทศเริ่มลดลง ทั้งส่งออกสินค้าและบริการ อย่างไรก็ตาม ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้น ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังแข็งแกร่ง

"เดือนพ.ค.2557 ถือเป็นเดือนหัวเลี้ยวหัวต่อของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากคสช. ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. คาด ว่าเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทย ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ จะกลับมามีพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้นตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2557 เป็นต้นไป"

ทั้งนี้ หากพิจารณาการบริโภคภาคเอกชนในเดือนพ.ค. เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี ตามการจัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน โดยขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนพ.ค. อยู่ที่ระดับ 60.7 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง

นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัวร้อยละ -1.0 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับยอดขายปูนซีเมนต์ ที่หดตัวร้อยละ -1.8 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ หดตัวร้อยละ -31.7 ต่อปี และหดตัวร้อยละ -6.1เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐมีอัตราเร่งขึ้น หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 142.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.3 ต่อปี  เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี ส่งผลอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2557 ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ 1,565.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 62.0 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 56.4 ของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 (2,525.0 พันล้านบาท)

ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศ ยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจากการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนพ.ค. หดตัวที่ร้อยละ -2.1 ต่อปี และร้อยละ -2.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยตลาดส่งออกหลักที่หดตัว ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน-5 และออสเตรเลีย ขณะที่สินค้าส่งออกที่มีการหดตัวลงมากได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานมีสัญญาณหดตัว ในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ สะท้อนจาก ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพ.ค.หดตัวที่ร้อยละ -4.1 ต่อปี จากอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องประดับ และอาหาร เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเลียม และเครื่องแต่งกาย เป็นต้น

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 85.1 นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน เนื่องมาจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลาย ขณะที่บริการยังคงส่งสัญญาณหดตัว สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงดังกล่าว มีจำนวนทั้งสิ้น 1.7 ล้านคน หดตัวร้อยละ -10.7 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ ขณะที่นักท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวได้แก่ ลาว อังกฤษ และเวียดนาม

ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนพฤษภาคม 2557 ยังคงสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวโพดและผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรยังหดตัวต่อเนื่อง โดยหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -8.6 ต่อปี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริงหดตัว -5.8 ต่อปี

รวมถึงด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้น ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ขณะที่ อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานเท่ากับ 3.62 แสนคน สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 167.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.76 เท่า สามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้.
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยรองตัวสุดท้าย:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง