ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

‘บิ๊กตู่’สั่งสนช.ท็อปบู๊ท ห้ามโดดร่ม ลั่นพร้อมโชว์ทรัพย์สิน

เริ่มโดย itplaza, 15:36 น. 13 ส.ค 57

itplaza

'บิ๊กตู่'สั่งสนช.ท็อปบู๊ท  ห้ามโดดร่ม  ลั่นพร้อมโชว์ทรัพย์สิน  อ้างม.41ยกเว้นให้ถือหุ้นได้   ปปช.เตรียมชี้ขาด14สิงหาฯ  'ครูหยุย'แนะทำเป็นตัวอย่าง

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ และผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป(ศปป.) ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายเรียกร้องให้สนช.แสดงบัญชีทรัพย์สินและ หนี้สินต่อสาธารณะว่า ทางสนช.พร้อมทำตามขั้นตอน หากมีการแจ้งให้ยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ

ตนก็พร้อมดำเนินการ

พล.ท.กัมปนาท กล่าวอีกว่า ส่วนที่มีความกังวลเรื่องการแบ่งเวลาทำหน้าที่ระหว่างสนช. คณะกรรมาธิการและภารกิจทางทหารนั้น ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคสช. ได้มอบหมายแล้วว่าใครที่เป็นสนช. ต้องเข้าร่วมประชุมสนช.ให้ครบทุกครั้ง รวมถึงแบ่งระบบและจัดสรรเวลาการทำงานให้ดี เวลาราชการต้องไม่เสียและเวลาการประชุมก็ต้องไม่เสียด้วย

"ทหารสามารถทำได้งานทุกอย่างไม่ว่าจะเวลาไหน เพราะทหารมีความพร้อมทำงานตลอด24 ชั่วโมง"พล.ท.กัมปนาทกล่าว

สนช.ท็อปบูทพร้อมโชว์ทรัพย์สิน

ด้านพล.ท.ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1ในฐานะสนช. กล่าวว่า ทางสนช.ในส่วนของทหารหากจะให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณะก็ ยินดี เพราะไม่มีอะไรที่ปกปิด ส่วนที่มีความเป็นห่วงการที่จะมาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการเพิ่มแล้วจะมี เวลาเข้าประชุมหรือไม่นั้น ในส่วนของกองทัพบกทั้งหมดขณะนี้ได้มีการแบ่งงานแต่ละส่วนมอบหมายให้บุคคลที่ ไม่ได้เข้ามาเป็นสนช.ช่วยทำหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กองทัพได้มีการคิดอยู่แล้ว

พร้อมทำตามระเบียบอยู่แล้ว

ขณะที่พล.ท.วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาคที่ 4ในฐานะสนช. กล่าวว่า สนช.ทุกคนพร้อมดำเนินการตามระเบียบหากมีการแจ้งมา ก็พร้อมเปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณะ ส่วนปัญหาเรื่องเวลาของทหารที่ทำหน้าที่สนช.นั้น ในส่วนของตนหากไม่ติดภารกิจอื่นที่จำเป็นก็จะเดินทางมาเข้าร่วมประชุม

"บิ๊กตู่"กำชับนายทหารห้ามขาด

ทั้งนี้หลังจากโปรดเกล้าฯประธานสนช.แล้ว ที่ประชุมสนช.คงจะมีการเรียกประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียดกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหัวหน้าคสช.ได้กำชับให้นายทหารที่ยังอยู่ในราชการแล้วที่มาเป็น สนช.ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดและทำตามระเบียบข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ด้วย

"วินชัย"ปัดตอบแสดงทรัพย์สิน

ส่วนพ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบกในฐานะทีมโฆษกคสช. กล่าวถึงกรณีหลายฝ่ายเรียกร้องให้คสช. แสดงความบริสุทธิ์ใจเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะ ทั้งช่วงก่อนและหลังเข้ารับตำแหน่งว่า ตนยังไม่มีข้อมูล และยังไม่ทราบเรื่อง รวมถึงยังไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดแจ้งเรื่องมายังคสช.อย่างเป็นทางการ เพื่อขอให้เปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน

"แต่โดยปกติข้าราชการระดับสูงทุกเหล่าทัพตำแหน่งพลเอก จะมีการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช.ตามปกติอยู่แล้ว ตั้งแต่รับตำแหน่งและออกจากตำแหน่ง ซึ่งบุคคลที่เป็นคสช.ทั้งหมดก็เป็นข้าราชการระดับสูงของแต่ละเหล่าทัพและทาง ป.ป.ช.ก็มีข้อมูลตรงนี้อยู่แล้ว"พ.อ.วินชัย กล่าว

ปปช.ยันสนช.ต้องเปิดกรุสมบัติ

ทางด้านนายสรรเสริญพลเจียกเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ(ป.ป.ช.)กล่าวถึงกรณีข้อถกเถียงสนช. ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช.หรือไม่ว่า กรณีดังกล่าวต้องตีความข้อกฎหมายเพราะปกติตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติพ.ศ. 2542ระบุให้ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช.ได้แก่ส.ส.ส.ว.และ ครม.แต่สนช.เป็นตำแหน่งกรณีพิเศษที่ทำหน้าที่เหมือน ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งกฎหมายป.ป.ช.ไม่ได้ระบุว่าต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินคงต้องมีการนำมาเทียบ เคียงกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี2549ซึ่งขณะนั้นกำหนดให้สนช.ต้องยื่นแสดง รายการบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช.หลังจากเข้ารับตำแหน่งภายใน30 วัน

"ดังนั้นถ้ายึดถือตามธรรมเนียมปฏิบัติเหมือนปี49 สนช.ก็มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินเชื่อว่าที่ประชุมป.ป.ช.คงยึดถือตาม แนวปฏิบัติเดิมที่เคยมีมาซึ่งสนช.หลายคนเข้าใจดีว่าต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ส่วนเมื่อยื่นบัญชีทรัพย์สินแล้วจะต้องเปิดเผยให้สาธารณะชนทราบเหมือนก รณีส.ส.และส.ว.หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเห็นของที่ประชุมป.ปช.ในวันที่14 ส.ค.นี้"นายสรรเสริญระบุ

รอฟังมติปชช.เรื่องการถือหุ้น

ผู้สื่อข่าวถามว่าสนช.หลายคนเป็นห่วงเรื่องการถือครองหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่ เป็นคู่สัมปทานกับรัฐซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมือง อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงตำแหน่งสนช. นายสรรเสริญ ตอบว่า ต้องรอดูมติของที่ประชุมป.ป.ช.ในเรื่องนี้จะเห็นเป็นอย่างไรจะมีข้อยกเว้น อะไรหรือไม่เพราะถ้ามีรายละเอียดข้อห้ามมากมายก็คงไม่มีใครอยากมาเป็นสนช.

"หมอเจตน์"ระบุใช้ม.41ยกเว้น

นพ.เจตน์ศิรธรานนท์ สนช.กล่าวว่าในฐานะอดีตส.ว.ไม่มีปัญหาและพร้อมจะยื่นบัญชีทรัพย์สินใน ตำแหน่งสนช.เพราะยื่นมาหลายรอบแล้วแต่สนช.หลายคนที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ อาจจะสับสนยื่นไม่ถูกโดยเฉพาะหลายคนมีความเป็นห่วงเรื่องการถือหุ้นในรัฐ วิสาหกิจที่เป็นคู่สัมปทานกับรัฐที่อาจส่งผลต่อการดำรงตำแหน่งสนช. อย่างไรก็ตามกรณีนี้เจ้าหน้าที่ป.ป.ช.ได้มาชี้แจงทำความเข้าใจให้สมาชิกสนช. ว่าสามารถถือครองหุ้นต่อไปได้เพราะมีข้อยกเว้นตามมาตรา41ของรัฐธรรมนูญชั่ว คราวปี2557 ระบุว่าในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามใน การดำรงตำแหน่งทางเมืองมิให้นำบทบัญญัตินั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับการ แต่งตั้งเป็นคสช.สนช.หรือสปช. ดังนั้นสนช.จึงสามารถถือหุ้นที่เป็นสัมปทานของรัฐต่อไปได้เพียงแต่ต้องแจ้ง ให้ป.ป.ช.ทราบว่าถือครองหุ้นอะไรบ้าง

"กล้าณรงค์"ย้ำถือหุ้นไม่ขัดรธน.

ด้านนายกล้านรงค์จันทิก สมาชิกสนช. ในฐานะอดีตกรรมการป.ป.ช.กล่าวว่า จำได้ว่าเมื่อปี 49สมาชิกสนช.ตอนนั้นได้มีการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินฯต่อป.ป.ช.แต่สนช.ปี57ตน ยังไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการป.ป.ช.ในวัน พฤหัสบดีที่14 ส.ค.นี้ส่วนที่สมาชิกสนช.บางคนกังวลว่าหากต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินฯอาจจะ ทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็นสนช.เนื่องจากถือครองหุ้นเกิน5เปอร์เซ็นต์และไม่ สามารถโอนได้ทันภายในระยะเวลา30 วันนั้นยืนยันว่าไม่เกี่ยวกันเพราะการห้ามถือหุ้นเกิน5 เปอร์เซ็นต์เป็นในกรณีของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งครม.เท่านั้นอย่างไรก็ตาม สำหรับตนไม่มีปัญหาอยู่แล้วหากสุดท้ายป.ป.ช.พิจารณาว่าสมาชิกสนช.จะต้องยื่น แสดงบัญชีทรัพย์สินฯต่อป.ป.ช.

ครูหยุยหนุนสนช.ทำเป็นตัวอย่าง

นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. กล่าวในเรื่องนี้ว่า เรื่องนี้ไม่ต้องเถียงกันว่า กฎหมายกำหนดว่าให้ยื่นหรือไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ แต่ในฐานะที่สนช.เข้าสู่วงจรการเมืองถือเป็นบุคคลสาธารณะทุกคนต้องถือว่า เป็นหน้าที่ที่จะต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินฯที่ผ่านมาบ้านเมืองวุ่นวาย และสังคมถกเถียงกัน คือเรื่องการโกงคอร์รัปชั่นดังนั้นเพื่อตรวจสอบและป้องกันเรื่องนี้ได้ วิธีการหนึ่งคือการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและยิ่งมีที่มาจาก คสช.ก็จำเป็นต้องเปิดเผยไม่เช่นนั้นเราจะไปชี้หน้าว่านักการเมืองได้อย่างไร

"ส่วนตัวผมเตรียมไว้แล้ว เพราะไม่มีอะไรเสียหาย ส่วนกรณีการถือครองหุ้นเกินกำหนดที่อาจขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายนั้น ก็ไม่มีมาตราใดในรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดไว้ หรือถ้ามีข้อกังวลตรงนี้เชื่อว่า จะต้องให้กรอบเวลาไว้ดังนั้นจึงไม่มีปัญหา"ครูหยุยกล่าว

โหวตนายกฯหลังพรบ.งบฯ

นายวัลลภ กล่าวถึง การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ขณะนี้ต้องรอให้มีการโปรดเกล้าฯ ประธานและรองประธานสนช.ก่อนจากนั้นประธานสนช.จึงจะจัดระเบียบวาระและเรียก ประชุม ซึ่งเท่าดูกรอบเวลาการประชุมสนช.น่าจะเป็นวันจันทร์ที่18 ส.ค. วันศุกร์นี้ไม่น่าจะทันโดยระเบียบวาระเร่งด่วนมี 2 เรื่องคือร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อร่างข้อบังคับการประชุมสนช.ก่อนที่จะนัด ประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันถัดๆไป

หนคสช.เสนองบปี58แทนนายกฯ

ส่วนนางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ว่า ขณะนี้สำนักเลขาธิการวุฒิสภาเตรียมความพร้อมในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ต้องรอการโปรดเกล้าประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ให้ เรียบร้อยก่อน เพื่อกำหนดวันนัดประชุมต่อไป รวมถึงต้องรอหนังสือจากหัวคสช.ที่จะส่งรายละเอียดร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2558มาให้สำนักเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งคงมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อนการโหวตเลือกตัวนายกรัฐมนตรี ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่เสนอร่างพ.ร.บฉบับนี้คือ หัวหน้าคสช. ที่จะทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

ใส่เกียร์เดินหน้าเสร็จก่อน30ก.ย.

นางนรรัตน์กล่าวว่า ส่วนขั้นตอนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี2558 นั้น จะเป็นการตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯตามขั้นตอนปกติ มีตัวแทนจากสนช. หน่วยงานราชการ และบุคคลภายนอกร่วมเป็นกรรมาธิการฯ เพียงแต่สัดส่วนกรรมาธิการจากหน่วยงานต่างๆ อาจจะไม่เหมือนเดิม เพราะไม่มีพรรคการเมืองร่วมเป็นกรรมาธิการในครั้งนี้ 

ทั้งนี้กรรมาธิการวิสามัญฯจะต้องเร่งรัดการพิจารณาเป็นพิเศษให้เสร็จก่อนวัน ที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อให้การใช้งบประมาณรายจ่ายปี 58 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 ต.ค.57   ส่วนการ กำหนดวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น ยังไม่มีความชัดเจน ต้องรอการโปรดเกล้าฯประธานและรองประธานสนช.ลงมาก่อน

"วิษณุ"ชี้โหวตนายกฯก่อนงบฯ58ได้

นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช.ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ว่า ขณะที่สนช.ยังไม่ตั้งกรรมาธิการกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือวิปรัฐบาล ทางประธาน สนช.สามารถดำเนินการได้เอง เพราะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรถ้าเป็นกฎหมายฉบับเดียว และร่างพ.ร.บ.งบประมาณมีแบบแผนของมันอยู่แล้ว ส่วนผู้นำร่างพ.ร.บ.งบประมาณเสนอสนช.พิจารณา จะโดยหัวหน้า คสช.หรือนายกรัฐมนตรีก็ได้ ซึ่งถ้าเวลาปกติรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี(ครม.) จะเป็นผู้เสนอ แต่เมื่อไม่มีรัฐบาล รัฐธรรมนูญชั่วคราวเขียนเอาไว้ให้ คสช.ทำหน้าที่เป็นครม. ดังนั้นคสช.ก็เสนอได้ ส่วนผู้ที่จะลุกขึ้นเสนอที่ประชุมจะเป็นหัวหน้า คสช.หรือคนใดคนหนึ่งในคสช.ที่หัวหน้าคสช.มอบหมายหรือประธาน สนช.อนุญาต ดังนั้นที่ประชุมสนช.จะพิจารณาสรรหานายกรัฐมนตรีก่อน หรือพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณก่อนก็ได้

ย้ำชัดทุจริตสนช.มีสิทธิถอดถอน

นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนอำนาจหน้าที่ของสนช.ในการพิจารณาถอดถอนนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิก อะไรก็ตามหากเขียนกำหนดไว้ในกฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ(ป.ป.ช.) ก็ดำเนินการไปตามกฎหมายป.ป.ช.ได้ ซึ่งเท่าที่ตรวจดูเวลานี้ การถอนถอดเพราะว่าทุจริตอยู่ในกฎหมายป.ป.ช.ก็สามารถดำเนินการได้ ถ้าถอดถอนเพราะทุจริตจะเป็นไปได้อย่างไร ที่วันนี้จะถอดถอนคนที่ทุจริตไม่ได้ มันต้องถอดถอนได้ แต่เรื่องของการถอดถอนตนไม่ได้พูดเจาะจงไปที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือใครทั้งนั้น มันขึ้นอยู่กับว่าจะไปถอดถอนใครเรื่องอะไร แต่ถ้าจะถอดถอนเพราะเหตุอื่น ต้องถามด้วยว่าที่จะให้ถอดถอนนั้น ไปทำอะไรผิดมา เพราะถ้าถอดถอนเพราะทำผิดรัฐธรรมนูญ ขณะที่รัฐธรรมนูญยกเลิกไปแล้ว มันจะเป็นปัญหาว่าถอดถอนได้หรือไม่

กรณี"นิคม-สมศักดิ์"ต้องตีความ

นายวิษณุ กล่าวว่า กรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. และกรณีนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.ทางสนช.ต้องมาพิจารณาเป็นเรื่องๆไป เพราะเป็นการกล่าวหาว่าทำผิดซึ่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐธรรมนูญยกเลิกไปแล้ว ปัญหาก็เกิดขึ้นว่า ยังจะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่สนช.ต้องมาพิจารณา เพราะมีอำนาจพิจารณาตีความในเรื่องนี้ ต้องดู 3 อย่างคือ 1.ผู้ที่ส่งเรื่องมีอำนาจหรือไม่ คือป.ป.ช. 2.เรื่องนี้อยู่ในอำนาจสภาหรือไม่ และ3.เรื่องนี้ยังเป็นความผิดในปัจจุบันนี้ที่ต้องพิจารณาต่อไปหรือไม่ ขณะที่เรื่องของการทุจริตไม่ต้องตีความเลย เพราะกฎหมายป.ป.ช.เขียนไว้ชัดเจนแล้ว สนช.มีอำนาจพิจารณาถอดถอน

ขอบคุณเนื้อหา naewna.com

ที่มา http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=1&news_id=38653&page=1

jomlight

โอกาสได้รับรายได้เฉลี่ย เดือนละ 20,000 บาทขึ้นไป ในอนาคต
โอกาสรับรายได้ไปตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุการทำงาน
อิสรภาพในการดำเนินชีวิต อิสระในการใช้เวลาร่วมกับครอบครัว
สนใจติดต่อ คุณเอกสิทธิ์ 093-6933932