ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ประวัติพ่อท่านต้ม (เอียด สุวณโณ) วัดชลธาราวาส (วัดบางกล่ำ)

เริ่มโดย ลูกหลานชาวบางกล่ำ, 13:37 น. 31 ต.ค 57

ลูกหลานชาวบางกล่ำ

ประวัติพระครูพิพัฒน์ชลธาร (เอียด สุวณโณ) วัดชลธาราวาส (วัดบางกล่ำ)

ต้นตระกูลของท่านเป็นคนจีนฮกเกี้ยน แซ่เอียว (楊) ที่มาอพยพจากแผ่นดินใหญ่มาเมืองไทยราวสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีด้วยกัน 5 คนพี่น้องเป็นชาย 4 คน หญิง 1 ซึ่งเป็นน้องสาวคนสุดท้อง (ชื่ออั้ง) พี่ชาย 1 ใน 4 คน นั้นคือปู่ของท่านแต่ไม่ทราบชื่อ เริ่มแรกทำมาหากินที่บ้านกงหราจังหวัดพัทลุง เจ้าเมืองพัทลุงสมัยนั้นเกิดชอบน้องสาว พี่ชายทั้ง 4 คนเลยพาหนีมาอยู่ที่บ้านบางกล่ำ ซึ่งสมัยนั้นก็มีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ที่นี่แล้ว 5 คนนี้พี่น้องนี้ก็ได้ภรรยา/สามี ซึ่งเป็นคนบ้านบางกล่ำ ได้บุตรชาย/บุตรสาว ต่อมาสมัยในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุล บิดาของท่านได้ตั้งนามสกุลขึ้นมาเป็น ร่วมสุข ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นามเดิมของท่านชื่อเอียด เป็นบุคคลที่ 4 ของครอบครัว โดยมีพี่น้องรวม 7 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 4 คน บิดาชื่อ นายตุ้ม ร่วมสุข มารดาเป็นคนไทยชื่อนางแป้น อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลบางกล่ำ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2449 ตรงกับวันอังคาร แรม 7 ค่ำ เดือน 11 (ไทย) ปีมะเมีย เมื่อวัยเยาว์ได้ศึกษาเล่าเรียนกับวัดจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้แล้วออกมาช่วยเหลือทางบ้านในการประกอบอาชีพทำสวนไร่นา จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบท ณ วัดชลธาราวาส เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ โดยมีพระครูรัตนโมลี วัดดอนแย้ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นพระอุปัชณาย์ พระอธิการขวัญ เกสโร วัดชลธาราวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระคลิ้ง วัดชลธาราวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทเป็นพระเอียด สุวรรโณ ก็เริ่มศึกษาเล่าเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจในบทพระธรรมและยังเล่าเรียนในด้านไสยศาสตร์ควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน วินัยบทสวดพระพุทธมนต์ต่าง ๆ ที่นิยมใช้กันอยู่เป็นประจำ ตลอดจนบทสวดพระภิกขุปาฏิโมกข์ท่านก็สามารถท่องบ่นได้จบตั้งแต่ย่างเข้าพรรษาที่ 4 ต่อมาในปี 2476 ท่านก็ได้เข้าสอบนักธรรมสนามหลวงและสอบได้นักธรรมชั้นตรีในครั้งนั้น ปีต่อมาท่านจึงได้เข้าเป็นครูฝึกสอนนักธรรมเพื่อช่วยท่านอธิการขวัญ เกสโร อีกแรงหนึ่ง ต่อมาในปี 2480 ท่านก็ได้สอบผ่านนักธรรมชั้นโท และได้รับตำแหน่งเป็นครูสอนนักธรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อเจ้าอาวาสในขณะนั้น คือ ท่านอธิการจันทร์ กุสุโม ได้ลาสิขาตำแหน่งเจ้าอาวาสก็ว่างลง คณะกรรมการวัดจึงเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะให้พระเอียด สุวณโณ รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่ว่างลงอยู่ขณะนั้น ท่านจึงได้ทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสองค์เดิมต่อมา จนกระทั่งทางคณะสงฆ์ได้ส่งหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาสแต่งตั้งให้ พระเอียด สุวณโณ รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อจากพระอธิการจันทร์ต่อไป พร้อมกันนั้นท่านยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลบางกล่ำ และตราตั้งเป็น "กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง" ในครั้งนี้อีกด้วย

ต่อมาภายหลังได้รับตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในเขตตำบลบางกล่ำ ท่านได้ทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ภายหลังได้รับตราตั้งเป็น พระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2504 พระครูสัญญาบัตรชั้นโทเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2519 ตามลำดับ



เณรเทือง


ลูกหลานชาวบางกล่ำ

ขยายความจากข้างบน
ชาวจีนแซ่เอียว 5 คนพี่น้อง แบ่งได้เป็น 5 ครอบครัว เมื่อได้บุตรชาย/บุตรสาว เป็นคนรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดในเมืองไทยก็ได้มีการตั้งนามสกุลเป็นของตนเองขึ้นมา ดังนี้
2 ครอบครัว ได้บุตรชายตั้งเป็นนามสกุล ร่วมสุข
1 ครอบครัว ได้บุตรชายตั้งเป็นนามสกุล เอี้ยวฉิ้ม
1 ครอบครัว ได้บุตรสาว 2 คน ตั้งนามสกุลตามสามี เป็น แสงฉาย และ นกแก้ว
1 ครอบครัว ซึ่งเป็นน้องสาวคนสุดท้อง (ชื่ออั้ง) ได้บุตรชาย ตั้งเป็นนามสกุล แสงอรุณ

กุบกับไปไหน

นมัสสการครับ อาจารย์ ผมได้บวชเรียนกับท่าน พูดได้เต็มปากเลยครับ ฉายาท่านที่เค้าตั้งให้ เทพเจ้าแห่งความเมตตา
เป็นจิงเลยครับ เทวกร ทองแกมแก้ว (แค้ง) 081-87984177

สาธุ

ชื่อจริงของผม พ่อแม่ผม นำไปให้ท่านผูกข้อมือเป็นลูกท่านและตั้งชื่อให้ผมด้วยคับ

กิตตศักดิ์ วิสูตร

ก.ไก่ทอด

ส่วนตัวผมก.ไก่ทอด ได้บวชเรียนกับท่านครับที่วัดบางกลํ่าครับ.....................จากก.ไก่ทอด
พรุ่งนี้ก็ทอด วันนี้ก็ทอด มะลือก็ทอด อนาคตก็ยังทอด  ร้าน ก.ไก่ทอด      

บาบ๋า

ขอเสริมนะครับ ก๋ง (ปู่) ของพ่อท่านต้มชื่อ นายเอ่ง  แซ่เอียว  楊永 ครับ