ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สถานีรถไฟสงขลามองทางอากาศในยุคปัจจุบัน

เริ่มโดย คนเขารูปช้าง, 09:17 น. 10 ม.ค 53

คนเขารูปช้าง

ภาพนี้เห็นหลังคาครึ่งเดียวมุมล่างขวาครับ


คนเขารูปช้าง


คนเขารูปช้าง


คนเขารูปช้าง


หม่องวิน มอไซ

ขอขอบคุณพี่คนเขารูปช้างมากครับที่นำภาพถ่ายมุมเฮลิคอปเตอร์ของสถานีรถไฟสงขลามาให้ชมกัน



ภาพแรกนี้ มีสิ่งที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์ซ่อนอยู่ครับ
เส้นประสีแดง คือ แนวทางรถไฟ

ด้านซ้ายของภาพที่แนวทางรถไฟพาดผ่านนั้น เป็นที่ดินรถไฟที่มีชุมชนร่วมใจพัฒนาเข้ามาอาศัยอยู่ครับ
แต่จะเห็นเส้นทางที่เอียง ๆ ไม่สอดคล้องกับถนนเส้นอื่น ๆ
ที่ผมได้ทำลูกศรสีม่วงชี้ไว้ครับ

ตอนแรกผมเคยเข้าใจว่าเป็นแนวรางรถไฟที่แยกไปเข้าที่ไหนสักแห่ง (รางตัน)
แต่เข้าไปสำรวจแล้วไม่ใช่ครับ

หม่องวิน มอไซ

แท้จริงแล้ว เส้นทางนี้ เดิมเป็นถนนไปสู่โกดังขนาดใหญ่ครับ
ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายจากเขาตังกวน ราว พ.ศ. 2458 ในหนังสือที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ 2459



โกดังนี้อาจเป็นโกดังเก็บสินค้า หรือเก็บเครื่องไม้เครื่องมือในการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ที่ขนมาทางเรือหรือเปล่า ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมครับ

โกดังถูกรื้อไปนานแล้ว แต่เส้นทางเข้าโกดัง ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ตามที่เห็นในภาพถ่ายทางอากาศครับ

หม่องวิน มอไซ

ขอฝากภาพถ่ายเก่าจากหนังสือ เวอร์ชั่นความละเอียดสูงไว้ในกระทู้นี้ด้วยครับ

ภาพถ่ายสถานีสงขลา พร้อมรถจักรดาเวนพอร์ทกลับทาง พ่วงบชส.3 โบกี้ จากหนังสือ 100 ปีรถไฟไทย
http://www.songkhlaline.com/image/songkhla_stn_100year.jpg 758 KB

ภาพถ่ายภูมิภาพสงขลา ดูไปจากเขาตังกวน จากหนังสือที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ๒๕๔๙
(มองเห็นอาคารสถานีสงขลา พร้อมทั้งโรงรถจักร ไกลออกไปเห็นเขารูปช้าง เขาเทียมดา และเขาคอหงส์อยู่ไกล ๆ)
http://www.songkhlaline.com/image/songkhla2459souvenir.jpg 2.87 MB

ภาพถ่ายอาคารสถานีสงขลา ราวปี 2458-59 จากหอจดหมายเหตุฯ สงขลา
http://www.songkhlaline.com/image/songkhla_stn_2459.jpg 1.05 MB

Big Beach

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 14:00 น.  10 ม.ค 53
แท้จริงแล้ว เส้นทางนี้ เดิมเป็นถนนไปสู่โกดังขนาดใหญ่ครับ
ปรากฏอยู่ในภาพถ่ายจากเขาตังกวน ราว พ.ศ. 2458 ในหนังสือที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ 2459



โกดังนี้อาจเป็นโกดังเก็บสินค้า หรือเก็บเครื่องไม้เครื่องมือในการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ที่ขนมาทางเรือหรือเปล่า ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมครับ

โกดังถูกรื้อไปนานแล้ว แต่เส้นทางเข้าโกดัง ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ตามที่เห็นในภาพถ่ายทางอากาศครับ

สันนิษฐานว่าเป็น Assembly House ครับ
เวลาเค้าขน Locomotive  กับ Rolling Stock มาจากต่างประเทศ อาจจะไม่ได้มาแบบสำเร็จรูป เหมือนสมัยนี้
ทั้งนี้เเนื่องมาจากขนาด และ น้ำหนัก (Size does matter)
สมัยนู้นอาจจะหา Crane ที่สามารถยกรถจักรได้ทั้งคัน ไม่ง่ายนัก
จึงต้องมาเป็นชิ้นๆ ครับ (ยกชิ้นเล็กๆ ง่ายกว่ายกทีเดียวทั้งคัน)

อีกเหตุผลหนึ่งคือ เค้าคงไม่ประกอบรถจักร หรือรถพ่วงกันกลางแจ้งเป็นแน่ครับ โดยเฉพาะในเมืองที่มีฝนตกบ่อย เยี่ยงนี้

อ.หม่อง ลองเอารูปเครนที่ท่าเรือ จาก หนังสือที่ระฦก มาดูสิครับ ว่าเครนหน้่าท่าตัวขนาดไหน และจะสามารถยกอะไรได้แค่ไหน

Big Beach

เครนในสมัยนั้นครับ





ใช้พลังงานไอน้ำครับ

กว่าเราจะมี mobile crane ก็ประมาณ(หลัง)สงครามโลกครั้งที่ 2 (ตัวที่จอดอยู่ที่หาดใหญ่)

ตัวนี้ก็ใช้พลังงานไอน้ำเหมือนกันครับ

ยังสงสัยอยู่ว่า ตอนที่รถไฟ ชนช้าง ตกราง แถวๆ เชียงราก เค้าเอาอะไรมายก

หม่องวิน มอไซ

ภาพเครนของพี่ Big Beach คล้าย ๆ กับเครนที่ท่าเรือริมทะเลสาบสงขลา
ภาพถ่ายของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ ราวพ.ศ. 2478 ครับ


หม่องวิน มอไซ

นึกขึ้นได้ว่ามีอีกภาพครับ
เป็นโปสการ์ดขาวดำยุคใกล้หรือก่อนหลัง พ.ศ. 2480 ไม่นาน
ภาพจากคุณอรพันท์ สายบัว (นามสกุลเดิม เปล่งวาณิช)
คุณเอนก นาวิกมูลตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ มรดกเมืองสงขลา มหาวชิราวุธ (พ.ศ. 2546) ครับ