ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไพร-พีระ ขานรับร่วมพัฒนาระบบขนส่งคมนาคมคาดใช้ 5,000 ล้านเชื่อม 2 เมือง

เริ่มโดย ดาดา, 03:36 น. 26 ธ.ค 52

ดาดา

ไพร-พีระ ขานรับร่วมพัฒนาระบบขนส่งคมนาคมคาดใช้ 5,000 ล้านเชื่อม 2 เมือง
โฟกัสภาคใต้ ฉบับที่ 622 ประจำวันที่ 19-25 ธ.ค. 52


"กระทรวงคมนาคม" ศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา วางยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็น 3 ระยะ พร้อมเสนอดึงองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมลงทุน

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ที่ห้องสุคนธา ชั้น 8 โรงแรมลีกาเด้น พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้จัดการประชุมโครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยง เมืองสงขลา ซึ่งวิจัยโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการจารจรและขนส่ง (TDRC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ นักวิชาการขนส่งคุณวุฒิ กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หาดใหญ่ เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ และเป็นเมืองที่รวมของหน่วยงานราชการและสถานศึกษาที่สำคัญของสงขลาเอาไว้ กระทรวงคมนาคมจึงเล็งเห็นความสำคัญของสองเมือง จึงมีการศึกษาจัดระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา เพื่อเป็นการสร้างความสะดวกและทางเลือกในการเดินทางระหว่างเมืองสงขลากับ เมืองหาดใหญ่ของประชาชนและนักท่องเที่ยว

โครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา จะแยกงานออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งทั้ง 3 มีความสัมพันธ์กันทั้งหมด

ส่วนที่ 1 เป็นการทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในเมืองหาดใหญ่ในช่วงปี พ.ศ.2555 ถึง 2565 มุ่งเน้นการพัฒนายกระดับคุณภาพการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะที่มีอยู่ โดยในช่วง 10 ปี จะเสนอให้จัดระบบรถโดยสารสาธารณะวิ่งในเส้นทางต่าง ๆ 8 เส้นทาง มีระยะทางรวมในการให้บริการรวม 104 กิโลเมตร ใช้รถให้บริการประมาณ 59 คัน จะใช้งบประมาณเริ่มต้นในการดำเนินโครงการ 240 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอีกปีละ 45.8 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ในปี พ.ศ. 2555 จะรองรับผู้โดยสารได้วันละ 20,000 คน และจะคิดค่าโดยสาร 10 บาทต่อเที่ยวการเดินทาง

ส่วนที่ 2 เป็นแผนการพัฒนาศูนย์กลางการคมนาคมเมืองหาดใหญ่
ที่อยู่ในกรอบของแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 ยุทธศาสตร์ระดับสั้น (1-5 ปี) ที่จะปรับปรุงและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นและมีความแน่นนอนเรื่องของราคาและเส้นทาง พร้อมทั้งพัฒนาพื้นที่ขยายและเชื่อมต่อกับอาคารสถานีรถไฟหาดใหญ่เดิม ดังนี้

1) พื้นที่โถงและพลาซ่า เชื่อมต่อกับอาคารสถานีรถไฟหาดใหญ่เดิม เพื่อรองรับและถ่ายเทผู้โดยสารจากสถานีรถไฟเชื่อมต่อไปยังพื้นที่รอรถขนส่ง สาธารณะและรถยนต์ส่วนตัว

2) พื้นที่รอรถขนส่งสาธารณะ เป็นจุดรวมรถสาธารณะต่างๆ ที่ให้บริการในเมืองหาดใหญ่ เพื่อรองรับการเดินทางของผู้โดยสารที่ต้องการเชื่อมต่อรถสาธารณะเข้าสู่ เมืองหาดใหญ่

3) พื้นที่รอรถส่วนตัว เป็นจุดจอดรถและรับส่งสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่

ระยะที่ 2 ยุทธศาสตร์ระยะกลาง เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและศูนย์กลางการคมนาคมหาดใหญ่ จึงมีแนวความคิดการพัฒนาพื้นที่รองรับทั้งกิจกรรมด้านพัฒนาธุรกิจ พื้นที่สันทนาการ พื้นที่จัดกิจกรรมสำหรับเมืองหาดใหญ่

ระยะที่ 3 ยุทธศาสตร์ระยะยาว (มากกว่า 10 ปี) รองรับการคาดการณ์การเจริญเติบโตของเมืองหาดใหญ่ที่น่าจะเทียบเท่ากับ กรุงเทพมหานครในอนาคต จึงควรมีการจัดการควบคุมการใช้พาหนะและระบบขนส่งในเมืองหาดใหญ่ โดยกำหนดพื้นที่ควบคุมใจกลางเมืองหาดใหญ่ที่ไม่อนุญาตให้ใช้พาหนะส่วนบุคคล เข้ามาในบริเวณควบคุมดังกล่าว แต่จะต้องจอดรถในอาคารที่จอดรถที่กำหนดไว้ให้ตามจุดต่างๆ รอบๆ เมือง แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าเมืองด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่กำหนดไว้

ส่วนที่ 3 การศึกษาระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมเชื่อมโยงเมืองหาดใหญ่กับเมืองสงขลา จากการวิจัยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ต้องการระบบรถไฟดีเซลราง วิ่งให้บริการในเส้นทางรถไฟเดิมที่ได้มีการเลิกใช้ไปแล้วในอดีต ระยะทาง 29.087 กิโลเมตร โดย ในช่วงแรกจะหยุดให้บริการใน 4 สถานีหลัก ได้แก่ สถานีหาดใหญ่, สถานีน้ำน้อย, สถานีน้ำกระจายและสถานีสงขลา ซึ่งมีความถี่ในการให้บริการทุก ๆ 30 นาที โดยจะรับผู้โดยสารเที่ยวละ 240 คน ค่าโดยสารคงที่ 10 บาทต่อเที่ยว

นายจำรูญ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวใช้งบประมาณลงทุน 4,897 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการระบบอีกประมาณปีละ 32.9 ล้านบาท
โดยรวมโครงการรถไฟหาดใหญ่เชื่อมโยงเมืองสงขลาจะทำให้การเดินทางของประชาชน สะดวกยิ่งขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเมืองหาดใหญ่และสงขลาใน อนาคต

"โครงระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมเชื่อมโยงเมืองหาดใหญ่กับเมืองสงขลา ผลประโยชน์จากการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟจะสามารถแก้ไขข้อยุติด้านการบุกรุก ของประชาชน ทำให้มีมูลค่าที่ดินบริเวณโครงการเพิ่มขึ้นมากกว่าเงินที่ลงทุนในการพัฒนา ระบบ" นายจำรูญ กล่าวและว่า

โครงการต่างๆ ที่จะทำทั้งหมด ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดเรื่องของการดึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนในการ บริหารจัดการ ทั้งในส่วนของการสร้างระบบรถไฟที่ใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท ระบบคมนาคมในตัวเมืองหาดใหญ่ใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท จึงอยากให้ อบจ.จังหวัดสงขลา และเทศบาลที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในแต่ละ โครงการที่ใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก เพราะคิดว่าการที่หน่วยงานของท้องถิ่นและภาครัฐภายในจังหวัดสงขลาเข้ามามี ส่วนร่วม

นายจำรุญ ยังกล่าวว่า เมื่อโครงการเหล่านี้เสร็จสิ้นก็ให้ทางท้องถิ่นและภาครัฐบริหารงานต่อโดยไม่ ต้องพึ่งเอกชนที่ยึดเอาแต่ผลประโยชน์ไม่เหมือนท้องถิ่นและภาครัฐที่ยึดเอา ประชาชนเป็นที่ตั้ง

นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ กล่าวว่า การศึกษาระบบขนส่งมวลชนที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีและเห็นด้วยกับแนวคิดของนักวิชาการ โครงการนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้คือ ต้องดูว่าทางส่วนราชการระดับสูงจะมีความคิดเห็นอย่างไร

"เรื่องที่จะให้เทศบาลมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการนั้น ต้องดูก่อนว่าจะให้ช่วยในเรื่องใดบ้าง ถ้าไม่เกินความสามารถของทางเทศบาลก็จะช่วย แต่ถ้ามากเกินไป ก็ต้องมีการพิจารณากันอีกที แต่ตอนนี้ยังไม่ทราบข้อมูลในเชิงลึกของโครงการ" นายไพร กล่าวและว่า

สำหรับในเรื่องของเศรษฐกิจ เมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างหาดใหญ่ กับเมืองสงขลาแล้ว จะมีการเจริญโตในด้านเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เพราะถ้าระบบการเชื่อมโยงสงขลา หาดใหญ่ขับเคลื่อนไปได้ก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจก็จะมีการเจริญเติบโตควบคู่กัน ไปได้เหมือนกัน

ด้านนายพีระ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา กล่าวว่าการศึกษาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงเมืองสงขลากับหาดใหญ่นั้น ตนเห็นด้วยกับโครงการของระบบรถไฟดีเซลรางที่จะมีขึ้น แต่ในส่วนที่ไม่เห็นด้วยคือแนวคิดที่จะใช้รางเดิมที่มีอยู่แล้ว เพราะจะใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากในการซ่อมแซม

และอีกอย่างคือ รางรถไฟเก่านั้นมันได้มีจุดตัดกับถนนและบ้านเรือนของประชาชนหลายแห่ง จึงยากที่จะกลับมาใช้ทางรถไฟเก่า จึงมีแนวคิดที่จะเสนอให้สร้างทางรถไฟใหม่ เพื่อที่ว่าอนาคตอาจจะมีการใช้รถไฟฟ้าเข้ามาด้วย โดยทางรถที่คิดไว้คือ เส้นทางเลียบคลองพะวง ไปลอดใต้สะพานเปรมติณสูลานนท์แล้วเข้าไปยังศูนย์ขนส่งหลักเมืองสงขลา คือบริเวณท่าเทียบเรือประมงใหม่ ที่ทางสงขลาเตรียมไว้เป็นสถานีรถไฟ

นายพีระ กล่าวถึงผลทางด้านศรษฐกิจว่า เติบโตขึ้นอย่างแน่นอนทั้งในเมืองสงขลาและหาดใหญ่ ส่วนเรื่องระบบรถสาธารณะในเขตเมืองสงขลานั้นทางเทศบาลนครสงขลา อยากจะรับผิดชอบในส่วนนี้ หรือถ้ามีเอกชนเข้ามา ก็ต้องการให้มีหลายบริษัทเข้าร่วมประมูล ไม่อยากให้มีการเข้ามาเพียงบริษัทเดียว เพราะเทศบาลเมืองสงขลามีวิธีในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

หม่องวิน มอไซ

สรุปก็คือ
นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ :
คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีและเห็นด้วยกับแนวคิดของนักวิชาการ โครงการนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้คือ ต้องดูว่าทางส่วนราชการระดับสูงจะมีความคิดเห็นอย่างไร
"เรื่องที่จะให้เทศบาลมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการนั้น ต้องดูก่อนว่าจะให้ช่วยในเรื่องใดบ้าง ถ้าไม่เกินความสามารถของทางเทศบาลก็จะช่วย แต่ถ้ามากเกินไป ก็ต้องมีการพิจารณากันอีกที แต่ตอนนี้ยังไม่ทราบข้อมูลในเชิงลึกของโครงการ"

นายพีระ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา :
ตนเห็นด้วยกับโครงการของระบบรถไฟดีเซลรางที่จะมีขึ้น แต่ในส่วนที่ไม่เห็นด้วยคือแนวคิดที่จะใช้รางเดิมที่มีอยู่แล้ว เพราะจะใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากในการซ่อมแซม

และอีกอย่างคือ รางรถไฟเก่านั้นมันได้มีจุดตัดกับถนนและบ้านเรือนของประชาชนหลายแห่ง จึงยากที่จะกลับมาใช้ทางรถไฟเก่า จึงมีแนวคิดที่จะเสนอให้สร้างทางรถไฟใหม่ เพื่อที่ว่าอนาคตอาจจะมีการใช้รถไฟฟ้าเข้ามาด้วย โดยทางรถที่คิดไว้คือ เส้นทางเลียบคลองพะวง ไปลอดใต้สะพานเปรมติณสูลานนท์แล้วเข้าไปยังศูนย์ขนส่งหลักเมืองสงขลา คือบริเวณท่าเทียบเรือประมงใหม่ ที่ทางสงขลาเตรียมไว้เป็นสถานีรถไฟ

หม่องวิน มอไซ

ในเมื่อทั้งฝ่ายหาดใหญ่และฝ่ายสงขลาเห็นด้วยกับนักวิชาการสำหรับแนวคิดเบื้องต้น
แต่หาดใหญ่ยังขาดข้อมูลเชิงลึก รอดูท่าทีของส่วนราชการระดับสูง และเกรงว่างบประมาณของ อปท.อาจจะไม่พอ เกินความสามารถ
(แนวคิดแบบนี้เป็นลักษณะของผู้ที่จบการศึกษาด้านกฎหมายและการตลาดแบบนายกไพรครับ)
ส่วนสงขลานั้น แสดงวิสัยทัศน์ชัดเจน แต่ยังขาดฐานความรู้ด้านกฎหมายและสิ่งแวดล้อม
(นายพีระเคยเป็นนักวิชาการ จบการศึกษาด้านสาธารณสุขและการพัฒนาเศรษฐกิจ ตอนหาเสียงมีสโกแกนว่า ซื่อสัตย์ต่อชาวบ้าน บริหารโปร่งใส)

ดังนั้นคงต้องยึดแนวทางตามข้อเสนอแนะของทีมศึกษา สนข.ครับ ที่ต้องให้ส่วนราชการระดับสูง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน หน่วยงานระดับนโยบาย คือ สนข. เป็นกรรมการ ตัวแทนจากฝ่ายประชาชนเป็นกรรมการด้วย เพื่อประสานงานและติดตามผลการดำเนินการ

และทำอย่างไรให้รัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีและ ส.ส.สงขลา ได้ตื่นตัวเสียทีด้วยครับ

Kungd4d

 :D ;D ก็กลัวอยู่ว่ากว่าจะตื่น ตอนนั้นคงเป็นได้แค่อดีตนายกซะแล้ว กลัวจัง  ;D :D

หม่องวิน มอไซ

เคยอ่านเจอว่า สมัยที่รถโพธิ์ทองจะเข้ามาวิ่ง (ยุค 2500) ก็ถูกรถสองแถวต่อต้านครับ
เรื่องธรรมดาของผลประโยชน์

ไม่รีบสร้างตอนนี้ ค่าก่อสร้างคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ

หม่องวิน มอไซ

วันนี้ (29 ธ.ค. 52) ได้ข่าวว่า ครม.อนุมัติแผนปรับปรุงรฟท. จัดสรรงบสร้างรถไฟรางคู่ 767 กิโลเมตร จากเดิม 1 แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 1.5 แสนล้าน
แม้ข่าวจะไม่เกี่ยวข้องกับรถไฟสายสงขลา แต่ก็ยังมีความหวังอยู่ว่า ถ้ารัฐบาลให้ความสนใจการขนส่งระบบรางแบบนี้ไปเรื่อย ๆ อนาคตรถไฟสายสงขลาคงสดใสครับ  8)

F16CD

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 22:25 น.  29 ธ.ค 52
วันนี้ (29 ธ.ค. 52) ได้ข่าวว่า ครม.อนุมัติแผนปรับปรุงรฟท. จัดสรรงบสร้างรถไฟรางคู่ 767 กิโลเมตร จากเดิม 1 แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 1.5 แสนล้าน
แม้ข่าวจะไม่เกี่ยวข้องกับรถไฟสายสงขลา แต่ก็ยังมีความหวังอยู่ว่า ถ้ารัฐบาลให้ความสนใจการขนส่งระบบรางแบบนี้ไปเรื่อย ๆ อนาคตรถไฟสายสงขลาคงสดใสครับ  8)


ลิงค์  ???

หม่องวิน มอไซ

ครม.อนุมัติแผนปรับปรุงรฟท. จัดสรรงบสร้างรถไฟรางคู่ 767 กิโลเมตร จากเดิม 1แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 1.5 แสนล้าน
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ 29 ธ.ค. 52

นายโสภณ ซารัมย์  รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติให้กระทรวงคมนาคมดำเนิน การตามแผนการปรับปรุงการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ซึ่งผ่านความเห็นชอบของ ครม.เศรษฐกิจมาแล้ว รวมทั้งจัดสรรงบประมาณดำเนินการโครงการก่อสร้างทางคู่ ระยะทาง 767 กิโลเมตร เพิ่มเป็น 1.5 แสนล้านบาท จากเดิม 1 แสนล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้ รฟท.จะจัดทำรายละเอียดแผนการดำเนินโครงการทั้งหมดเสนอให้ ครม.พิจารณาภายใน 45 วัน     

ส่วนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เสนอให้ตั้งกรมรถไฟเพื่อทำหน้าที่ก่อสร้างรางรถไฟเหมือนกับกรมทางหลวงที่ สร้างถนนนั้น ที่ประชุม ครม.เห็นว่าไม่สมควร เพราะอาจมีปัญหาเรื่องการคัดค้านจากพนักงาน รฟท.ได้ จึงได้ยืนยันตามมติเดิมของ ครม.เศรษฐกิจ ที่มีการปรับโครงสร้างบริหารใน รฟท.เป็น 3 หน่วยธุรกิจ คือ บริหารทรัพย์สิน, เดินรถ และฝ่ายช่างกล รวมถึง 1 บริษัทลูกเดินรถในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง(แอร์พอร์ตเรลลิงค์)

นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติให้กระทรวงคมนาคมกำหนด ระเบียบการสร้างถนนข้ามทางรถไฟ และการบริหารจัดการหน่วยงานท้องถิ่นที่ขโมยสร้างทางผ่านทางรถไฟ และให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทออกแบบเครื่องกั้นมาตรฐาน 100% สำหรับถนนที่สร้างผ่านทางรถไฟ ขณะเดียวกันยังมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษารายละเอียดเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน และรถไฟความเร็วสูงด้วย
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20091229/93259/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1.%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%815%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5..html

คนเขารูปช้าง

  เป็นข่าวที่น่ายินดีมากครับ ที่มติ ครม. ล่าสุดนี้ให้ความสำคัญต่อการขนส่งโดยระบบราง(ที่ประหยัดพลังงานที่สุดแล้ว)
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เห็นด้วยและสนับสนุนครับ

หม่องวิน มอไซ

รัฐบาลเริ่มให้ความสำคัญกับระบบรางมากขึ้นแล้ว ทั้งการสร้างรถไฟทางคู่และโครงการทางรถไฟสายปากบารา
แม้จะล่าช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย เวียดนามหรือแม้แต่พม่าไปมากก็ตาม

ความหวังที่จะได้เห็นรถไฟสายสงขลากลับมา เพิ่มมากขึ้น
หวังเพียงแต่ว่า ผู้บริหารท้องถิ่นจะมีวิสัยทัศน์กว้างไกลแค่ไหน เท่านั้นแหละ

พี่


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ

แผนการก่อสร้างครับ ถ้าเริ่มได้ปีงบประมาณ 2554 ก็จะแล้วเสร็จเปิดเดินรถได้ในปีงบประมาณ 2559  )love


หม่องวิน มอไซ

ท่านที่สนใจรายละเอียดสรุปผลการศึกษา ดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ
http://www.songkhlaline.com/kmutt/section3.pdf
ที่มา : สรุปผลการศึกษางานส่วนที่ 3 : แผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงเมืองหาดใหญ่กับเมืองสงขลา จัดทำโดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง มจธ.

หม่องวิน มอไซ

ภาพบรรยากาศการจัดสัมมนา รับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2552
ณ ห้องสุริยาศศิน ชั้น 8 โรงแรม ลีการ์เดนส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

ที่มา :  โครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา



หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ

การแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (จากแบบสอบถามในส่วนเปิดกว้าง) เกี่ยวกับการเชื่อมระหว่างเมืองหาดใหญ่ - สงขลา

- เสนอให้เป็นระบบรถไฟรางคู่และควรใช้เวลาวิ่งระหว่างหาดใหญ่-สงขลาไม่ควรเกิน 25 นาที
- ควรออกแบบตู้รถไฟส่วนหนึ่งให้มีลักษณะเป็นตู้โดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
- การพัฒนาระบบรถไฟเชื่อมระหว่างเมืองหาดใหญ่-สงขลาควรคำนึงถึงประโยชน์ดังนี้
***การส่งเสริมการท่องเที่ยว
***การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่
***การใช้ประโยชน์จากที่ดิน รวมไปถึงลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่รถไฟ
- ปัญหาใหญ่ของการจัดทำระบบรถไฟดีเซลรางวิ่งระหว่างเมืองหาดใหญ่-สงขลาคือการแก้ปัญหาเรื่องการบุกรุกพื้นที่รถไฟ
- การแก้ปัญหาเรื่องการบุกรุพื้นที่รถไฟ ควรมีการดำเนินการอย่างรอบคอบและทำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมีปัญหาน้อยที่สุด(บุคลากรจากภาครัฐ)
- ถ้าหากโครงการนี้ได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นจริงได้ จะเป็นประโยชน์ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้มาก โดยเฉพาะค่าครองชีพของประชาชนในระดับผู้มีรายได้น้อย ถ้าเป็นไปได้ควรรีบดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุดในรัฐบาลชุดนี้ โดยเฉพาะเส้นทางการเดินรถระหว่างเมืองหาดใหญ่-สงขลาซึ่งสามารถลดการจราจรติดขัดได้ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด
- การเชื่อมต่อระบบรถไฟระหว่างเมืองหาดใหญ่-สงขลา ควรเพิ่มสถานีให้มากกว่านี้ เพราะเส้นทางมีแหล่งชุมชน สถานศึกษา ฯ และหากเน้นการรับส่งผู้โดยสารควรทำให้ใช้เวลาในการเดินทางที่มีระยะเวลาไม่มาก
- การจัดระบบขนส่งทุกระบบควรมองเรื่องระบบการระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาด้วย

เกี่ยวกับการจัดทำศูนย์การคมนาคม
- การพัฒนารูปแบบสถานีรถไฟ (การออกแบบ) ควรคำนึงถึงเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมของเมืองด้วยเพื่อจะได้แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของเมืองที่เคยมีมาในอดีต