ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

คิดไปคิดมาหลังสัมมนา "รับฟังความเห็นขนส่งมวลชน"

เริ่มโดย กิมหยง, 14:20 น. 18 ก.ย 52

อยากให้คุณกิมหยง ตั้งหัวข้อ "ชมรมฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา"

คล้ายๆ ในกรณีการตั้ง หัวข้อตลาดน้ำคลองแห

หากจะผลักดันเส้นทางรถไฟเส้นนี้กันจริงๆ   ก็ควรจะตั้งนะ  เพราะข้อมูลเกี่ยวกับ รถไฟสายนี้ อยู่สะแปะสะปะไปหมด  น่าจะรวมๆไว้ เพื่อช่วยๆกันผลักดัน

ข้อมูลข้างล่างเอามาจากบล๊อกๆหนึ่ง

................................................

รูปที่ 1 : แสดงสถานีรถไฟสงขลาในอดีต


"การตั้งชมรมฟื้นฟูรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา"[/b] เป็นการผลักดันในรูปแบบที่ได้ผลอย่างคาดไม่ถึง


ว่ากันด้วยประวัติของรถไฟเส้นทางสายนี้ เส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา ถือเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกๆที่ก่อสร้างขึ้นในประเทศไทย และมีประวัติที่ยาวนาน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนมาถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เส้นทางรถไฟสายนี้ มีผลต่อการสกัดกั้นการยกทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในแผนการจะมีการระเบิด สะพานหลายแห่ง เช่นสะพานน้ำน้อย และมีการเตรียมกำลังพลไว้สกัดบริเวณ เนินภูเขาน้ำน้อย ซึ่งเป็นทางแคบ อีกทั้ง เส้นทางรถไฟสายนี้ ยังมีประวัติผูกพันธ์กับ คนหาดใหญ่-สงขลา มาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นเส้นทางรถไฟสายนี้ จึงเป็นเส้นทางสายประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน ไม่แพ้เส้นทางรถไฟ สายกาญจนบุรีเลยทีเดียว



รูปที่ 2 : แสดงเส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา ถูกบุกรุก ในเขต อ.เมืองสงขลา


แต่ปัจจุบัน เส้นทางรถไฟสายนี้ กลับถูกละเลย และถูกปิดไป เพราะเหตุผลทางการเมือง และผลประโยชน์บางอย่าง

เรื่องที่น่าเศร้าคือ เส้นทางรถไฟสายนี้ กำลังถูกบุกรุก อย่างหนัก เนื่องจากข้ออ้างที่ว่า ไม่มีรถไฟวิ่งแล้ว จะปล่อยพื้นที่ให้ว่างไว้ทำไม

และปัจจุบัน มีการพูดถึงเรื่องการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ แต่จะฟื้นฟูได้อย่างไร หากไม่มีรถไฟวิ่ง โอกาสในการถูกบุกรุกก็จะมากขึ้น จนยากที่จะแก้ไขได้ในอนาคต




รูปที่ 3 : แสดงเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ที่ถูกรักษารางไว้ด้วย รถไฟขบวน 355 ซึ่งมีแค่ 2 โบกี้เท่านั้น


รูปที่ 4 : แสดงหัวรถลาก ที่อาจจะสามารถนำมาวิ่งในเชิงการ "รักษาราง" และต่อพ่วงด้วยโบกี้ ขนส่งสินค้า ขนส่งมวลชน และการท่องเที่ยวขนาดเล็กได้  อาจจะใช้ในกรณีที่ รฟท. อ้างว่าหัวรถจักรไม่พอ



รูปที่ 5 : แสดงระบบขับเครื่องของรถลากแบบนี้ จะเห็นได้ว่า สามารถเอารถบันทุกมาดัดแปลงได้ไม่ยากเลย 



กรณีศึกษาในเรื่องนี้คือ [/b]เส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ที่แทบจะไม่สามารถ สู้กับถนนมอเตอร์เวย์ ที่ตัดตรงเข้าสู่ตัวจังหวัดสุพรรณบุรีได้เลย แต่ทว่า นายบรรหาร ศิลปะอาชา ซึ่งเป็นนายกรัฐมณตรีในขณะนั้น ได้แล่งเห็นแล้วว่า หากไม่มีรถไฟวิ่ง พื้นที่ทางรถไฟจะถูกบุกรุกอย่างแน่นอน จึงได้เกิดโครงการ รถไฟรักษาราง" [/b]  ซึ่งวิ่งวันละเที่ยว และทำให้เส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี รักษาตัวตนเอาไว้ได้ และในอนาคต เส้นทางนี้จะไปเชื่อมกับภาคเหนือ เป็นรถไฟเส้นทางเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ หรือ เส้นทาง จีน-สิงคโปร์ โดยไม่ต้องวิ่งเข้ากรุงเทพฯ

จากตัวอย่าง เส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี แสดงให้เห็นผลเป็นรูปธรรมแล้ว ว่า สามารถที่จะรักษารางได้ ดังนั้น คนหาดใหญ่-สงขลา จึงต้องคิดว่า ควรจะทำอย่างไร ให้เกิดรถไฟในรูปแบบ "รักษาราง"[/b]ให้เกิดขึ้นก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วการบุกรุกเส้นทางรถไฟสายนี้ จะมากขึ้นทุกวัน จนยากต่อการแก้ไขได้ในอนาคต

แต่รูปแบบที่จะทำให้เกิด "รถไฟรักษาราง"[/b] เกิดขึ้นนั้น มีหลายๆรูปแบบ เช่น รถไฟเชิงการท่องเที่ยว เพราะเป็นรถไฟสายประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลก เช่นเดียวกับ รถไฟสายกาญจนบุรี หรืออาจจะขนส่งมวลชนขนาดเล็ก หรือขนส่งสินค้าขนาดเล็ก (ตามรูปที่ 4 และ 5)



รูปที่ 6 : แสดงรถไฟ LRT ที่สามารถนำมาวิ่งขนส่งมวลชนบนรางขนาด 1.00 ม. ได้ทันที่


รูปที่ 7 : แสดงการขนส่งสินค้า หากมีการสร้างรางไปถึงท่าเรือน้ำลึกสงขลา และสามารถใช้รางร่วมกับ LRT ได้ 

ซึ่งเมื่อเกิดรูปแบบ "รถไฟรักษาราง" [/b]เกิดมาขึ้นแล้ว ผลที่ได้คือ

1.จะไม่มีการบุกรุกเพิ่มเติมจนอยากต่อการแก้ไข  (รูปที่ 2 )

2.สามารถที่จะพัฒนาต่อ จนกลายเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ หรือ รถไฟ LRT ของ หาดใหญ่-สงขลาได้  (รูปที่ 6)

3.และยังสามารถพัฒนาต่อจนกลายเป็น รถไฟขนส่งสินค้า เข้าท่าเรือน้ำลึก สงขลา ซึ่งจะเป็นแนวแลนด์บริจด์อีกแนวได้ (ในข้อนี้จะต้องมีการสร้างรางเพิ่มไปจนถึงท่าเรือน้ำลึกสงขลา)  (รูปที่ 7)

และจากที่อธิบายมาทั้งหมด คีย์เวริด์สำคัญ ก็คือ ต้องให้เกิดรถไฟในรูปแบบ "รถไฟรักษาราง" ให้ได้ก่อน[/b]



รูปที่ 8 : แสดงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน


แต่การจะทำให้เกิดรถไฟในรูปแบบรักษาราง[/b]นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ง่ายนัก เพราะอย่างที่บอก มีทั้งคนได้ และคนเสีย อีกทั้ง หน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ในนาม สนข. ที่ศึกษา เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแนวโน้มว่า จะเลือก BRT ซึ่งก็คือรถเมล์ดีๆนี้เอง แต่เป็นรถเมล์ที่วิ่งในช่องทางพิเศษในถนน สาย 407 เท่านั้นเอง เรื่องนี้อาจมีผลประโยชน์ที่ซับซ้อน คงไม่สามารถลงรายละเอียดได้ เพราะมีเอกชนบางราย ผลักดัน BRT เต็มตัว และหากเกิด BRT ขึ้นจริงๆ เส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา ต้องใช้คำว่า "ตายสนิท" อย่างแน่นอน[/b]

และอย่างที่บอก คนหาดใหญ่-สงขลา แค่ไม่กี่คนที่รักเส้นทางรถไฟสายนี้ คงจะไม่สามารถต่อสู้กับหน่วยงานของรัฐ แบบ สนข. หรือกระทรวงคมนาคมได้ หากเราไม่รวมตัวกัน

ดังนั้น การรวมตัวกันผลักดันเส้นทางรถไฟสายนี้ จะสามารถทำให้เกิดพลังในการต่อรอง กับหน่วยงานใหญ่ๆได้ แต่ปัจจุบันนั้น การรวมตัวกันผลักดัน ค่อนข้างขนาดเอกภาพ ต่างคนต่างทำ จึงไม่เกิดพลัง สับสนกันไปหมด


รูปที่ 9 : แสดงการรวมตัวกันของภาคประชาชน  โดยใช้สัญลักษณ์คือ ผ้าคาดผมสีเขียว


รูปที่ 10 : แสดงธงสัญลักษณ์ขององค์กรภาคประชาชนองค์กรหนึ่ง




ดังนั้น ควรจะรวมตัวกันและตั้งเป็น "ชมรมฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา" [/b]ตั้งเป็นชมรมขึ้นมา และจดทะเบียนเป็นองค์กรภาคประชาชน ต่อกระทรวงมหาดไทยให้ถูกต้อง จะทำให้มีกำลังต่อรองมากมายทีเดียว ซึ่งกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง หรือแม้กระทั้งกลุ่ม NGO ได้พิสูทธิ์ มาแล้ว ว่าสามารถต่อรองกับรัฐได้

ในองค์กรจะต้องมีการตั้งเป้าหมาย ระยะสั้น กลาง ยาว อย่างเป็นระบบ มีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน มีสัญลักษณ์ร่วมกัน เช่น ป้าย ธง เสื้อ ตราสัญลักษณ์ ฯลฯ (รูปที่ 9 และ 10)



และจะต้องมีการขับเคลื่อนองค์กร หาแนวรวมทางความคิดเพิ่มเติม เช่นติดป้ายประกาศ จัดเวทีแสดงความคิดเห็น สร้างบอร์ดข่าว ติดต่อทางอินเตอร์เน็ต สร้างกิจกรรมต่างๆเช่น นำนักเรียนนักศึกษาไปถางหญ้า ริมทางรถไฟ เป็นต้น

องค์กรภาคประชาชนที่เข้มแข็ง มีพลังกว่าที่คิดมาก แค่ประชาชนรวมตัวกัน เอาจอบเอามีดไปคนละเล่มไปฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้กันเอง แค่นี้รัฐก็หนาวๆร้อนๆแล้ว แต่ต้องรวบรวมคนที่มีแนวคิดเหมืนกัน ในการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ ให้รวมเป็นกลุ่มก้อน หรือบางคนที่เข้าร่วมชมรมอาจจะมีตำแหน่งทางหน้าที่การงานใหญ่โต ก็จะทำให้ชมรมยิ่งมีพลังต่อรองเยอะขึ้นอีก และเมื่อมวลชนรวมกันได้ ภาคธุรกิจ ภาคการเมือง ก็จะเข้ามาสนับสนุนเอง

หากทำได้เส้นทางรถไฟสายนี้ จะเป็นของประชาชนโดยแท้จริง  หาก รฟท.ไม่ยอมให้ใช้เส้นทาง  พวกเราก็รวมตัวกันฟ้องศาลปกครอง งานนี้มีลุ้นแน่  แต่เหตุการณ์ ที่ว่า รฟท.  ไม่ยอม  คงเป็นไปได้ยาก  เพราะรฟท. จะเก็บเส้นทางให้หญ้าขึ้นรกไปทำไม  และจะมีเรื่องกับคน หาดใหญ่-สงขลา ไปทำไม

ถ้าเราไม่ช่วยกันเอง ใครจะมาช่วยเรา "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" สุภาษิตนี้ ยังใช้ได้ดีแม้เวลาจะเปลี่ยนไปแค่ไหนก็ตาม[/b]



ผู้เขียนหวังว่า คงเกิด "ชมรมฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา"[/b] อย่างเป็นรูปธรรมในไม่ช้านี้


เครดิดรูปทั้งหมด : อยู่ในรูปแล้ว


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chuk007&month=10-2009&date=01&group=1&gblog=17

กิมหยง

ดีครับ  จะรับพิจารณา และดำเนินการโดยเร็วที่สุดขอรับ
สร้าง & ฟื้นฟู

โอเป็ด

เมื่อวาน
น้ำมันขึ้นราคาไปอีก 2 เหรียญ

แหม...มันน่าจะขยับไปเป็นบาเรลละ 300 เหรียญ จริงๆ

แล้ววันนั้นคงจะได้รู้กันว่าขนส่งมวลชนระบบรางมีความหมายเพียงใด


ชีค เอาเหม็ด ยามานี

วันนี้เราขึ้นราคาน้ำมันอีกแล้ว 5 5 5

อภิสิทธิ์
ถ้ายูไม่รีบทำระบบขนส่งมวลชนทางราง หาดใหญ่ - สงขลา - ปาดังฯ วันนี้ละก็...
พอน้ำมันไอขึ้นไปถึง บาเรลละ 300 วันนั้นค่าก่อสร้างจะแพงขึ้นไปอีก

หม่องวิน มอไซ

ไม่แน่ใจว่าที่จัดไปเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 52 ที่ ร.ร.ลีการ์เด้น นั้นเป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 หรือเปล่า
หรือเป็นการประชุมที่จัดขึ้นเฉพาะกิจ
เพราะเข้าไปดูในเว็บของทีมงานที่ศึกษาแล้ว
ตรงลิงค์รับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 ขึ้นว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการ ครับ