ในฐานะที่ได้เข้าร่วมรับฟังบ้าง
ก็ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวหน่อยคับ
จากที่ได้รับฟังข้อมูล พร้อมทั้งอ่านในหนังสือประกอบการสัมมนา
แนวทางในการใช้เส้นทาง เขาสรุปออกมามี 3 แนวทางครับ
- ทางหลวง 407 สายเก่าหาดใหญ่ สงขลา
- ทางหลวง 414 เส้นใหม่ ลพบุรีราเมศวร์
- ทางรถไฟเดิม หาดใหญ่ สงขลา ที่ตอนนี้โดนบุกรุกหมดแล้ว
ซึ่งก็สรุปว่า เส้น 414 ก็น่าจะขยับขยายทำอะไรได้มากที่สุด
ในขณะเส้นทางรถไฟ ก็โดนบุกเรา และทางก็เสื่อมโทรมหมดแล้ว
ส่วนระบบขนส่งที่เขาลองศึกษามานั้น
ที่มีความเป็นไปได้นั้นมีทั้งหมด 7 รูปแบบ
- รถประจำทาง
- รถด่วนบีอาร์ที
- รถไฟชานเมือง
- รถรางไฟฟ้า
- รถไฟรางเดียว
- รถไฟรางเบา
- ราไฟรางหนัก
มีรายละเอียดของการศึกษาว่า หาดใหญ่ - สงขลามีระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
มีคนเดินทางเฉลี่ยประมาณ 15,000 - 20,000 คน-เที่ยวต่อวัน
เมื่อมีการดำเนินระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่แล้ว
คาดว่าจะมีคนมาใช้งานประมาณ 35%
ก็ราว ๆ 1,000 - 1,500 คน-เที่ยวต่อชั่วโมงในชั่วโมงเร่งด่วน
แต่เขาได้ตัดออกไป 4 ระบบคือ
- รถรางไฟฟ้า
- รถไฟรางเดียว
- รถไฟรางเบา
- รถไฟรางหนัก
เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและดูแลสูง ไม่คุ้มกับการลงทุน
จึงทำให้เหลือระบบขนส่งอยู่ 3 ระบบ
1. รถประจำทาง
2. รถด่วนบีอาร์ที
3. รถไฟฟ้าชานเมือง (รถไฟหาดใหญ่ - สงขลาเก่า)
ในขันตอนการคัดเลือกระบบขนส่งนั้นได้มีการคัดเลือกเจ้าหน้าที และผู้เชี่ยวชาญมา 16 ท่าน
เพื่อคัดเลือกระบบที่เหมาะสมกับหาดใหญ่ - สงขลา
ซึ่งท้ายสุดก็ได้คัดเลือกเอาระบบ "รถโดยสารบีอาร์ที" หรือระบบช่องทางรถด่วนพิเศษ
คณะทำงานก็ได้ศึกษาและรับฟังแนวคิดของประชาชนด้วย
จนท้ายที่สุดก็มีการเสนอให้มีการพัฒนาระบบรถไฟชานเมือง เส้นเก่า เข้าไปด้วย
จนทำให้คณะกรรมการต้องศึกษาเส้นทางดังต่อไปนี้
1. ระบบช่องทางเดินรถพิเศษ จะวิ่งบนถนนลพบุรีราเมศวร์
2. ระบบช่องทางเดินรถพิเศษ วิ่งสายเก่า กาญจนวนิช
3. เส้นทางด่วนพิเศษ เส้นทางรถไฟเก่า
4. ระบบเก่าเลย ใช้รถไฟวิ่งบนทางรถไฟ หาดใหญ่ สงขลาเดิม