ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สนข.เล็งฟื้นรถไฟสายประวัติศาสตร์ หาดใหญ่-สงขลา

เริ่มโดย ฅนสองเล, 15:39 น. 26 ส.ค 52

ฅนสองเล

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง (TRDC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่ และเชื่อมโยงเมืองสงขลา และมีการนำเสนอรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 เมื่อวานนี้ (25 ส.ค.52) ณ โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า หาดใหญ่   

โดยการนำเสนอการศึกษาครั้งนี้มีนายเมธี ณ นคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมรับฟังความคิดเห็นด้วย โดยนายนิพนธ์ บุญญามณี กล่าวว่าการพัฒนาระบบขนส่งไม่ควรรอให่เมืองโตก่อนแล้วค่อยมาทำเหมือนเช่นกรณีของกรุงเทพที่มีปัญหาระบบจราจรเยอะมาก การจัดทำระบบขนส่งมวลชนไม่ควรมองแค่หาดใหญ่ สงขลา แต่ควรมองไกลไปถึงสะเดา หรืออาจ

ต้องมองถึงนาทวีด้วย

อย่างสะเดาเราจะมองข้ามไม่ได้เลย เพราะสะเดาเป็นเมืองที่โตเร็วมาก เรามีมูลค่าการค้าขายบผ่านด่านสะเดาในแต่ละปีมากกว่า 2 แสนล้านบาท

การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนควรดูหลายๆ มองทั้งผลได้ ผลเสีย อย่างการพัฒนาระบบขนส่งคนที่ประโยชน์จะมีมากแต่เราก็ต้องไม่ลืมที่จะ
ดูแลคนที่เสียประโยชนแม้เขาจะมีเพียงคนเดียวก็ต้องดูแลเขา และที่สำคัญแผนการขนส่งต้องทำควบคู่กับระบบผังเมือง เพราะทั้ง 2 อย่างต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

โดยในการศึกษาครั้งนี้มีการศึกษาการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่ การศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการศูนย์

กลางการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างเมืองหาดใหญ่กับเมืองสงขลา ซึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมสัมมนาจำนวนมากเรื่องของเส้นทางหาดใหญ่ - สงขลา มีการเสนอแนวทาง 4 ทางเลือกประกอบด้วย

- เป็นช่องทางระบบช่องทางรถด่วนพิเศษ จากเมืองหาดใหญ่ สู่ทางหลวง 414 สายลพบุรีราเมศวร์เข้าสู่เมืองสงขลา

- ระบบช่องทางรถด่วนพิเศษจากเมืองหาดใหญ่สู่ทางหลวง 407 สายกาญจนวินิช ตลอดเส้นทางเข้าสู่เมืองสงขลา

- ระบบรถด่วนพิเศษเขตทางรถไฟ เริ่มจากเมืองหาดใหญ่ ขนานไปกับทางรถไฟเดิมจนสู่เมืองสงขลา

- เป็นระบบรถไฟชานเมือง ตามเส้นทางรถไฟเดิมจากเมืองหาดใหญ่สู่เมืองสงขลา

ในเวทีสัมมนาเสียงส่วนใหญ่อยากให้คืนสายรถไฟสายประวัติศาสตร์กลับมาให้ชาวหาดใหญ่ - สงขลา

ด้าน รศ.ดร.ธวัชชัย เหล่าศิริหงษ์ทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง (TRDC) ในฐานะผู้จัดการโครงการ กล่าวว่าการนำเสนอข้อมูลครั้งนี้เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น หลังจากนี้จะมีการรับฟังความคิดเห็นอีกหลายครั้งก่อนที่จะหาข้อสรุปที่ดีที่สุดต่อไป

รายละเอียดเชิงลึก ทีมข่าวบ้านเรา จะนำเสนอให้ทราบต่อไป

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับ
ขอนำไปเผยแพร่ที่เว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอมด้วยนะครับ
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=144747#144747

ฅนสองเล

ด้วยความยินดีครับท่าน ผมยังเขียนมั่วๆ อยู่เลย ขอเวลารวบรวมข้อมูลแล้วนนำมาทำเป็นรายงานพิเศษในโอกาสต่อไปครับ

กู้ภัยพเนจร

ขอให้เป็นจริงเถิด...ดดด      )love  จะได้นั่งรถไคว หลบเริน

เด็กเขต8


ลูกแมวตาดำๆ

ขอให้เป็นแบบที่สี่เถอะครับ แบบระบบรถไฟชานเมือง อย่าเอาแบบรถด่วนพิเศษแบบต่างประเทศนะครับ

เพราะมันดูไม่เข้ากับเมืองไทย มันดูแปลกยังไงไม่รู้บอกไม่ถูก และอีกอย่างรถด่วนพิเศษใช้พื้นที่กว้างกว่ารถไฟบ้านเรา

เพราะแบบเก่าอ่ะดีอยุ่แล้ว เพราะถ้าไม่มีอดีตก็คงไม่มีปัจจุบันหรอครับ

เบื่อคนเจ้าเล่ห์



 
เนื้อหา/ภาพ จาก http://www.locosiam.com/website/node/33

จากรถไฟสายเทือกเขาหิมาลัย ถึงเส้นทางรถไฟไทยที่สาบสูญ!???




สองวันก่อนผมมีโอกาสได้เข้าร่วมงานสัมมนา ว่าด้วย การทำการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่
และเชื่อมโยงเมืองสงขลา และมีการนำเสนอรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นโดย
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง
(TRDC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่โรงแรมดังกลางเมืองหาดใหญ่

เหตุผลที่เข้าร่วมรับฟังด้วย ส่วนหนึ่งก็คือ กระแสข่าวการเรียกร้องเส้นทางรถไฟที่เชื่อมระหว่างเมืองหาดใหญ่
กับสงขลา ที่ถูกทางการรถไฟยกเลิกเส้นทางไป เมื่อราว 30 กว่าปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลที่ว่า
ประสบปัญหาขาดทุน และ ไม่คุ้มค่ากับความปลอดภัยอันเนื่องมาจากจุดผ่าน จุดตัด มีมาก
รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าของเส้นทางคมนาคมรถยนต์ทำให้ช่วยย่นระยะเวลาเดินทางจากเดิมที่เคยใช้รถไฟไปมากพอสมควร


ผมจดจำช่วงเวลาดี ๆ ในอดีต ที่เส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่ - สงขลา สายนี้คือพระเอกของคนสงขลา หาดใหญ่ จดจำวันที่ท้องฟ้าสดใส อากาศสดชื่น เมื่อลมเย็นยามเช้าแตะปลายจมูก กับรอยยิ้ม และความมีชีวิตชีวาของผู้คนบนขบวนรถไฟ

แต่นั่นละ....เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับการก้าวเข้ามากับสิ่งที่เรียกว่า "ความเจริญทางวัตถุ"
ซึ่งพร้อม ๆ กัน ก็ได้นำพาวัฒนธรรมที่ไม่พึงปรารถนาเข้ามาด้วย นั่น คือ "การแข่งขัน
ช่วงชิง และ การเอารัดเอาเปรียบ ติดตามมาด้วย"

การเข้ามาของ รถยนต์หลากค่าย รถมอเตอร์ไซด์ญี่ปุ่นตัวเล็กแต่คล่องและรวดดเร็ว อีกทั้งสนนราคาที่ยั่วกิเลส แถมพกความสะดวกสบาย ทำให้หลายคนก้าวลงจากบันไดรถไฟ แล้วก็ไม่ได้หันมามองมันอีกเลย

ในที่ประชุมของการสัมมนา ดูจะมีบรรยากาศที่แปลกประหลาดกว่าการสัมมนาเชิงวิชาการที่อื่น
ๆ ที่ผมเคยพบก็คือ มันกลับเป็นบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของการรำลึกถึงภาพเก่า ๆ ของรถไฟหาดใหญ่
สงขลา และในวันนั้นผมคิดว่ามากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ พร้อมที่จะลงความเห็นให้เป็นที่ยุติแก่ทาง ทีมงานศึกษาว่า
คนหาดใหญ่ คนสงขลา พร้อมแล้วที่ต้อนรับเส้นทางรถไฟสายนี้ ให้กลับมามีลมหายใจอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม คงต้องติดตามกันต่อไปว่า ท้ายที่สุดแล้ว โครงการขนส่งมวลชนเชื่อมเมืองสงขลา
กับหาดใหญ่ จะเป็นจริงสมดั่งที่คนในที่ประชุมอยากให้เป็นหรือไม่ ก็คงต้องใช้ระยะเวลาศึกษา
เพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุด และรอบด้าน และที่สำคัญแนวทางการศึกษาคงต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ด้วย ก็น่าจะทำให้เราได้ระบบขนส่งมวลชนที่คุ้มค่าทั้งเงิน และจิตใจไปพร้อม ๆ กัน



ผมเกริ่นเรื่องนี้ ก็เลยดันคิดถึงเส้นทางรถไฟสายหนึ่ง ที่แม้นไม่คล้ายกับ สงขลา หาดใหญ่ แต่ก็มีอะไร ๆ ที่มีกลิ่นไอ คล้ายกัน

เที่ยวนี้เลยอยากจะพาท่านเลยไปไกลนิดนึง....ข้ามฟ้า ข้ามฟาก ไปยังดินแดนที่ใคร ๆ ที่เป็นพุทธศาสนิกชน อยากไปเยือน เพื่อแสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิตสักครั้งหนึ่ง ที่ ๆ มีภาพเบื้องหลังคือเทือกเขาสูงใหญ่เคลือบคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน ที่รู้จักกันทั่วโลกในนาม เทือกเขาหิมาลัย

เมืองเล็ก ๆ ภายใต้เทือกเขาห่อหุ้มที่เรียกว่า ดาร์จีลิ่ง (Darjeeling) เป็นเมือง
ๆ หนึ่ง ที่อยู่แถบเบงกอลตะวันตกของประเทศอินเดีย

เมืองดาร์จีลิ่ง เมืองที่ขึ้นชื่อลือชาในเรื่องของ อุตสาหกรรมใบชา ที่ผลิตใบชาหอมกรุ่น รถละมุนส่งออกจำหน่ายไปทั่วโลก
เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้ ประกอบไปด้วยผู้คนที่มาจากธิเบต,เนปาล และชาวอินเดียพื้นเมือง
ที่สำคัญก็คือ ที่นี่มีเส้นทางรถไฟสายเล็ก ๆ แต่ยิ่งใหญ่ระดับโลก ที่เรียกกันว่า ทางรถไฟหิมาลายัน
(Darjeeling Himalayan Railway) หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่นคือ "รถไฟเด็กเล่น"
(Toy Train)


ที่มาของคำว่า
รถไฟเด็กเล่น ก็มาจาก เส้นทางรถไฟแห่งนี้เป็นทางรถไฟแบบแคบ (Narrow Guage) ที่มีความกว้างขนาดรางเพียงแค่
610 มม. หรือประมาณ 60 เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อขนาดรางที่เล็กขนาดนี้ ทั้งโบกี้โดยสารและหัวรถจักร
ก็คงต้องย่อส่วนเล็กลงตามไปด้วย หรือถ้าแฟน ๆ คนที่รักรถไฟ นึกภาพไม่ออก ก็ลองนึกภาพรถจักรไอน้ำของไทยแบบ
"สูงเนิน" (ปัจจุบันคงเหลือตั้งแสดงอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา) นั่นแหละครับ

ทางรถไฟสายหิมาลายัน เส้นนี้ มีมานานกว่า 120 ปี แล้ว โดยปัจจุบันวิ่งเชื่อมระหว่างเมือง
New Jalpaiguri กับเมือง Darjeeling สองข้างทางที่รถไฟแล่นผ่าน คือเทือกเขาสูงชันงดงามตามแบบฉบับ
ลือชือของ Darjeeling ที่ได้รับฉายาว่า เมืองแห่งราชินีขุนเขา





เส้นทางรถไฟสายนี้ จะขาดองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งไม่ได้เลยก็คือ หัวรถจักรไอน้ำเก่าแก่
ที่ผลิตจากประเทศอังกฤษเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา และยังคงวิ่งรับใช้คนในพืนที่และกลายเป็นสุดยอดแห่งภาพประทับใจสำหรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกที่ยอมเดินทางข้ามฟ้า
ข้ามฟาก เพียงเพื่อมีโอกาสได้นั่งรถไฟเด็กเล่น ขบวนนี้สักครั้งในชีวิต

หัวรถจักรไอน้ำที่ทำขบวนในเส้นทางรถไฟสายนี้ เป็นรถจักรไอน้ำแบบ B Class ล้อ 0-4-0
ผลิตในประเทศอังกฤษ ซึ่งเดิมมีรถจักรไอน้ำประจำเส้นทางนี้ประมาณ 30 กว่าคันจนเหลือปัจจุบันทั้งที่ใช้และรอซ่อมอยู่ราว
10 คัน และมีรถจักรดีเซลอีก 2 คัน

เส้นทางรถไฟสายนี้
รัฐบาลอินเดียเคยประกาศจะยกเลิกใช้อยู่หลายครา เหตุผลเหมือนกันทั่วโลก คือ เมื่อถนนหนทางเจริญขึ้น
คนนิยมรถไฟน้อยลง ยิ่งทำ ยิ่งขาดทุน... แต่ประเทศอินเดีย ยังมี่การคานอำนาจ มีหลายคนทัดทาน
โดยให้เหตุผลว่า มันเป็นบริการจากรัฐ จะหวังแค่ให้เท่าทุนก็คงจะยากเต็มที ดังนั้น
การมีไว้ ก็คงดีกว่าผลักภาระให้คนจนต้องจ่ายมากกว่า กับบริการจากเอกชนจากรถยนต์

สุดท้าย เส้นทางสายหิมาลายัน รอดพ้นการถูกยกเลิก มาจวบจนปัจจุบัน กลายเป็นเส้นทางรถไฟที่ทางยูเนสโก
ยินดีมอบรางวัล ทางรถไฟมรดกโลกเป็นเกียรติภูมิแห่งคนอินเดีย แถมพ่วงด้วย สมาคมนักเดินทางทางรถไฟนานาชาติ
(Society of International Railway Travelers) ได้คัดเลือกให้ เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นเส้นทางรถไฟที่น่าเดินทางที่สุดใน
25 เส้นทางทั่วโลก

ที่น่าสนใจอีกประการก็คือ เส้นทางที่น่าสนใจอีกเส้นก็ดันเป็นเส้นทางรถไฟ ที่เดินระหว่าง
สิงค์โปร์ - มาเลเซีย - ประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในนาม รถไฟโอเรี้ยนเอ็กซเพรส
ไงละครับ

เขียนเรื่องนี้ เพื่อย้อนกลับนั่งรำพึงกับตัวเอง.... นั่งจินตนาการแบบคนรักรถไฟว่า

"ถ้าวันหนึ่งเราเห็นรถจักรไอน้ำแห่งเมืองสยาม มิกาโด้ 953 กำลังทำขบวนรถไฟไทยที่แต่ละโบกี้
หรูหราไม่แพ้โบกี้เขียวโอเรียนเอ็กซ์เพรสต่างชาติ(ที่ชาญฉลาดมองเห็นศักยภาพความงามของไทย
ทำมาหาเงิน ) นำพานักท่องท่องจากอินโด,สิงค์โปร์,มาเลเซีย วิ่งจากปาดังเบซาร์ ผ่านหาดใหญ่
และปลายทางคือ ชายหาดสมิหลา

วันที่เรารุ้จักมองการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ในอีกมิติ และวันที่จินตการไปว่า
เส้นทางรถไฟสาย สมิหลา จะถูกบันทึกชื่อไว้ว่า เป็น เส้นทางรถไฟหรูที่น่าท่องเที่ยว
อีกเส้นทางของโลก........

โลกมีทรัพยากรเหลือเฟือสำหรับทุกคน..แต่ทรัพยากรทั้งหมดของโลก..ไม่พอสำหรับคนโลภ เพียงคนเดียว!

กิมหยง

เก็บตก สำรวจความคิดเห็นระบบขนส่งมวลชน หาใหญ่ สงขลา โดย สนข.
http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,26044.0.html
สร้าง & ฟื้นฟู

ฅนสองเล

มีผู้ฝากประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบขนส่งหาดใหญ่-สงขลา

เนื่องจากยังมีคนจำนวนมากไม่เข้าใจเรื่องรถไฟ จึงเป็นเหตุให้มีบางท่านคัดค้านหรือไม่เห็นด้วย จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ในเว็บเพิ่มเติมว่า

1.รถไฟที่เราจะเอามาใช้วิ่งระหว่างหาดใหญ่-สงขลา นั้นต่างจากรถไฟไปกรุงเทพฯ รถไฟไปกรุงเทพฯ เป็นรถไฟทางไกล ส่วนรถไฟหาดใหญ่-สงขลานั้น เป็นรถไฟทางใกล้(มาก) อาจเรียกว่าเป็นรถไฟชานเมือง หรือที่ถูกต้องน่าจะเรียกว่า "Commter Train"
ซึ่งมีการวางเก้านี้นั่งต่างจากรถไฟทางไกล ดูง่ายๆ ก็คือวางเก้าอี้เหมือน รถไฟฟ้า BTS หรือ MRT ที่กรุงเทพฯ ครับ แต่ใน case ของ Hatyai-Songkhla Link นั้น เราจะใช้รางขนาด 1 เมตร (ระยะห่างระหว่าง 2 อันที่รถวิ่ง) ซึ่งเล็กกว่า BTS หรือ MRT (ขนาด 1.435 เมตร) ทั้งนี้เพื่อความย่อมเยาในการลงทุน และ เพื่อให้รถไฟธรรมดาหรือรถขนสินค้าสามารถวิ่งบนรางเดียวกันได้

2.รางที่ใช้จะเป็นระบบรางคู่ คือไป 1 ราง มา 1 ราง เหมือนกับ BTS หรือ MRT ระบรางคู่ทำให้ไม่ต้องมีการรอหลีก รถไฟของเราจะตรงเวลามาก เหมือน BTS หรือ MRT ผู้โดยสารที่เป็นห่วงตรงนี้ จะได้คลายกังวลไป

3.ตัวรถที่ใช้ จะเป็นรถไฟฟ้า เหมือนกับรถแอร์พอร์ตลิงค์ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประกอบกับราคาน้ำมันขึ้นทุกวันไปฟ้ายังผลิตได้จากหลายแหล่งทำให้ค่าโดยสารถูกกว่าน้ำมัน โดยเฉพาะในระยะยาว

4.ในเรื่องของการท่องเที่ยว เราจะเอารถอะไรมาวิ่งก็ได้ค่อยว่ากันอีกทีครับ แต่เพื่อให้โครงการนี้ได้เกิดในเร็ววัน เราจะเน้นที่ขนคนไปทำงานกับไปเรียนเป็นหลักครับ (5 ใน 7 วัน)
ส่วนเรื่องท่องเที่ยวเป็นเรื่องรอง (2 ใน 7 วัน)

จะเห็นว่าระบบขนส่งมวลชนหาดใหญ่-สงขลา (Hatyai-Songkhla Rail Link) ดูทันสมัยพอๆ กับ Airport Rail Link ไม่ได้เป็นรถไฟแบบโบราณถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง

(วันก่อนผู้บรรยายไม่ได้บรรยายว่า รถไฟที่จะเอามาวิ่งมีหน้าตาเป็นอย่างไร จึงเป็นเหตุให้มีผู้เข้าร่วมสัมมนาท่านหนึ่งไม่เห็นด้วย)

ฝากประชาสัมพันธ์ในเว็บด้วยนะครับ เหลือเวลาอีกเพียงเดือนเศษๆ เท่านั้นก่อนจะสัมนาครั้งสุดท้าย เราต้องรีบกันหน่อยแล้ว

มาช่วยกันครับ คนละไม้ คนละมือ
เพื่อสงขลา เพื่อหาดใหญ่ เพื่อประเทศไทย ของเรา

ริมทางรถไฟ

อ้างจาก: กู้ภัยพเนจร เมื่อ 17:43 น.  26 ส.ค 52
ขอให้เป็นจริงเถิด...ดดด      )love  จะได้นั่งรถไคว หลบเริน
จะหลบเริน  โพธิ์ทองก็ได้นิ
เพราะถ้ารถไควมา  แล้วเรินเราจะอยู่ยังไงนิ
พอดีอยู่บนดินรถไคว

มุมหมอน


ตราบใดที่หัวใจยังใฝ่หา

และยึดมั่นในความดี

ชีวิตย่อมมีแนวทางให้พานพบได้สักวัน


...........ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนค่ะ.............

ลูกแมวตาดำๆ

นำแบนเนอร์ทำมาให้ครับ

เห็นของเก่าดูไม่ชัดเลยทำมาเสนอครับเผื่อจะชอบ

มีไรให้ช่วยแจ้งันมาได้เสมอครับ

กิมหยง

ขอบพระคุณครับท่าน

จะขึ้นให้เลยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

ลูกแมวตาดำๆ

มีแบนเนอร์อะไรให้ช่วยทำบอกมาได้ครับ

ไม่มีค่าแรง ไม่ร้องขอค่าตอบแทน ไม่มีลิขสิทธิ์ภาพ

""อาสาด้วยใจ รับใช้ปวงชน""

((ยืมส่วนหนึ่งของคำมาหน่อยนะครับพี่ๆที่เซียงติ้ง))

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู

รักรถไฟไทย

อยากให้โครงการนี้เกิดขึ้นมาจริงๆ
ประชานชนจะได้มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น

umh

ขอเปนรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้มั้ย
ขี้เกียจรอนานๆ
ใครอยากเอาแบบเก่า ก็ไปขี่ลาแทนแล้วกัน

2PM

อ้างจาก: umh เมื่อ 11:09 น.  31 ส.ค 52
ขอเปนรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้มั้ย
ขี้เกียจรอนานๆ
ใครอยากเอาแบบเก่า ก็ไปขี่ลาแทนแล้วกัน

รถไฟความเร็วสูงไทยไม่รู้จะมีเมื่อไหร่เลย

ลูกแมวตาดำๆ

อ้างจาก: umh เมื่อ 11:09 น.  31 ส.ค 52
ขอเปนรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้มั้ย
ขี้เกียจรอนานๆ
ใครอยากเอาแบบเก่า ก็ไปขี่ลาแทนแล้วกัน

แนะนำท่านไปลองอ่านเรื่องราวเกี่ยวรถไฟสายสงขลาในเว็บนี้

จะได้ทราบถึงแนวทางของคนที่ได้เข้ามาในเว็บว่าต้องการเพื่ออะไร

เพราะใช้ว่าจะเอาเร็วสะดวก แต่เรายังคำนึงถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์

ความเป็นไทย(ไทยเป็นกลุ่มประเทศแรกๆที่ใช้รถไฟ) ความเป็นมิตรกะธรรมชาติบ้านเรา

รวมทั้งในเชิงการท่องเที่ยว ด้วย ถ้าต้องการรวดเร็วและแอร์เย็นสบายเชิญใช้บริการรถตู้ดีกว่าครับ

ลูกแมวตาดำๆ

นำข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม จังหวัดสงขลา มาฝากครับ

  สถานีรถไฟสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การสร้างทางรถไฟสายใต้ซึ่งนับเป็นทางรถไฟสายแรกที่สร้างทางรถไฟจากเพชรบุรีถึงระแงะระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๔๖๑ และเป็นหลักฐานแสดงรูปแบบอาคารสถานีรถไฟในยุคแรกๆของเมืองไทยที่ยังหลงเหลืออยู่

คนซ่อมรถไฟ


คนเดือนตุลา

อ้างจาก: ลูกแมวตาดำๆ เมื่อ 20:20 น.  31 ส.ค 52
อ้างจาก: umh เมื่อ 11:09 น.  31 ส.ค 52
ขอเปนรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้มั้ย
ขี้เกียจรอนานๆ
ใครอยากเอาแบบเก่า ก็ไปขี่ลาแทนแล้วกัน

แนะนำท่านไปลองอ่านเรื่องราวเกี่ยวรถไฟสายสงขลาในเว็บนี้
จะได้ทราบถึงแนวทางของคนที่ได้เข้ามาในเว็บว่าต้องการเพื่ออะไร
เพราะใช้ว่าจะเอาเร็วสะดวก แต่เรายังคำนึงถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ความเป็นไทย(ไทยเป็นกลุ่มประเทศแรกๆที่ใช้รถไฟ) ความเป็นมิตรกะธรรมชาติบ้านเรา
รวมทั้งในเชิงการท่องเที่ยว ด้วย ถ้าต้องการรวดเร็วและแอร์เย็นสบายเชิญใช้บริการรถตู้ดีกว่าครับ

ได้อนุรักษ์ไว้แน่นอน
ทางรถไฟเส้นเก่า ออกแบบตามมารฐานเก่า คือรับน้ำหนักเพลาได้แค่ 15 ตัน
แต่ปัจจุบัน รฟท ได้เปลี่ยนเป็นมาตรฐานใหม่คือรับน้ำหนักเพลา 20 ตัน
ดังนั้นทางรถไฟเดิม รวมไปถึงสะพาน ก็จะถูกทิ้งไว้เป็นโบราณสถาน อยู่เหมือนเดิมอย่างนั้น เพราะใช้ไม่ได้แล้ว

เส้นทางใหม่จะสร้างขนานกับทางเดิม ในเขตทางที่มีอยู่ เหลือเฟือ
โดยออกแบบตามมาตรฐานใหม่ รับน้ำหนักเพลาได้ไม่น้อยกว่า 20 ตัน
เป็นรางคู่ วิ่งไป 1 ราง วิ่งมา 1 รางไม่มีการรอหลีกให้เสียเวลา
นั่งรถไฟไปก็ได้ชื่นชมกับสภาพรางเดิมได้ตลอดทางพลางรำลึกถึงอดีตให้ชื่นใจ

รถไฟรางคู่สายใหม่จากหาดใหญ่ไปสงขลาจะใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีการจ่ายไฟฟ้าเหนือราง ในลักษณะเดียวกันกับรถไฟไปสุวรรณภูมิ
เพียงแต่ใช้ขนาดราง 1 เมตร เพื่อให้รถไฟธรรมดาของ รฟท สามารถใช้ทางร่วมกันได้ และรถไฟฟ้าจาก KL จะได้วิ่งมาถึงที่สงขลาได้
เพื่อส่งเสริมกิจกรรมนานาชาติ ของสงขลาได้ เช่น เทศกาลว่าว สงขลามาราธอน วอลเลย์บอลชายหาด แข่ง Jet Ski อาหารสองทะเล ฯลฯ
รวมถึงเทศกาลนานาชาติของหาดใหญ่ เช่น ตักบาตรนานาชาติ ไท้เก็กนานาชาติ วิ่งสู่ธรรมชาติ ฯลฯ
นิทรรศการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่เขาบันไดนาง ที่จัดทีไร รถติดทุกทีเพราะไม่มีที่จอดรถ ต่อไปคนมาเที่ยวงานก็นั่งรถไฟมา ไม่ต้องหาที่จอดรถให้ปวดหัวและกีดขวางการจราจร