ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สะพานข้ามทางรถไฟตรงคลองน้ำน้อยครับ เสี่ยงตายมานะครับ

เริ่มโดย กิมหยง, 14:12 น. 07 ส.ค 51

หม่องวิน มอไซ

ใช่เลยครับ
ผมเองก็จำได้ว่าเคยเห็นเป็นเหมือนสไลเดอร์นี่แหละ อยู่ที่น้ำน้อย
แต่ยังหาภาพถ่ายเก่าๆ มาดูไม่ได้

มุมหมอน..

..........บนเขาคอหงส์ ก้อมีแร่ เหมือนกันนะ  มีสายน้ำเล็กๆอยู่ เคยขึ้นไปกับพวกผู้ใหญ่ ตอนเด็กๆ เคยลงไปหาด้วยนะรู้สึก ว่าเหมือนกับมีเศษทองด้วยนะ  เวลาเราตักใส่ตะกร้า แล้วเอามาเส็งๆ กับน้ำ  จะเห็นทั้งแร่และก้อเศษทองค่ะ .......คุณหม่อง.วิน..ไซ  คนที่ไหหนคะ  ชอบเรื่องราวของคุณ มากเลยค่ะ  ขอเป็นกำลังใจให้คุณตลอดไปนะคะ (ตอนนี้ไม่เป็นบัวปริ่มน้ำแล้วนะคะถ้าใด้คุยกับคุณหมอ่ง) )star )star )star )star )star

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณคุณมุมหมอนมากครับ  ;D
ผมคนวชิรา สงขลาครับ จบ ม.ปลายโรงเรียนมหาฯ
แต่ตอนนี้มาทำงานอยู่นครปฐมครับ
ชอบรถไฟ และอยากให้รถไฟหาดใหญ่-สงขลากลับคืนมาครับ

,มุมหมอน....

..........ขอบพระคุณเป็น อย่างสุงเลยค่ะ  เป็นความฝันมาตั้งแต่เด็กๆ เลยนะคิดว่า  ต้องมีสักวันความฝัน จะเป็นความจริง ตอนนี้นั่งหลับตาเห็นภาพ เก่าๆเต็มไปหมดเลยค่ะ (บูชารัชกาลที่  5  บิดาแห่งรถไฟ ด้วยค่ะ)

คิดถึง


คนแต่แรก

ผมเป็นเด็กปาดังเบซาร์  ช่วงปี พ.ศ.2512-2514 วันเด็กแห่งชาติ ครูประจำชั้นจะพาไปเที่ยวแหลมสมิหลา สงขลา เกือบทุกปี จะนั่งรถไฟจากปาดังเบซาร์ มาหาดใหญ่ สมัยนั้นหัวรถจักรยังใช้หัวรถจักรไอน้ำอยู่ ต้องใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำให้เดือดเป็นไอ จากสถานีรถไฟหาดใหญ่ ก็ต่อรถไฟไปสงขลา   สถานีรถไฟหาดใหญ่สมัยนั้นยังเป็นเรือนไม้ยกพื้น มีใต้ถุนอยู่เลย หัวรถจักรที่ไปสงขลาเป็นเครื่องดีเซลแล้ว ขึ้นไปจ่ายค่าโดยสารบนรถไฟ  ค่าโดยสารไปสงขลาจำไม่ได้แล้วกี่บาท  รู้สึกว่าจะประมาณ 1 บาทถ้าจำไม่ผิด จะมีพนักงานขายตั๋วเดินมาเก็บถึงที่นั้งเลย ตั๋วโดยสารจะคล้ายๆตั๋วรถเมล์ประจำทางในปัจจุบันครับ  นั่งรถไฟแล้วสนุกดีครับบรรยากาศภายนอกรถธรรมชาติดีมาก อยากหวนกลับไปในอดีตจังเลย  ระหว่างการเดินทางจากหาดใหญ่ไปสงขลา จะมีชาวบ้านยืนโบกรถไฟอยู่เหมือนโบกรถยนต์น่ะ รถไฟก็หยุดให้ชาวบ้านขึ้นรถไฟเช่นกัน เพราะว่าบางแห่งไม่มีสถานี หรือ ถ้ามีสถานีก็ไม่มีพนักงานหรือนายสถานียืนโบกธงให้รถหยุดน่ะ แต่ตอนลงต้องลงตามสถานีที่มีป้ายสถานีเท่านั้น แล้วค่อยเดินเอา  สนุกดีนะครับ  สมัยก่อนตรงตลาดสดหาดใหญ่หรือเรียกว่าสถานีสอง หรือ เรียกว่าสถานีป้อมหก น่ะ มีใครพอจะจำได้ไหมครับ รถไฟจะจอดรับส่งผู้โดยสารด้วย เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วครับ ขออนุญาตเล่าแค่นี้ก่อนนะครับ สวัสดีครับ

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู

มุมหมอน

   คุณ หมอ่ง วิน ไซ  มีอะไร คีบ หน้า ในเว็ปนี้บ้างคะ

ชิว ชิว

อ้างจาก: Destiny เมื่อ 14:02 น.  17 ธ.ค 51
อืม อยากย้อนเวลากลับไปดูด้วยตัวเองจัง...  ::)

นั่ง Time Machine ไปดู เหอๆ   :D ;D




แหมๆๆๆท่านก็.......นั่ง Time Machine  เหมือนโดราเอมอนเลยหรอ

กู้ภัยพเนจร

ตอนผมเรียนอนุบาล (พ.ศ. 2523)ผมเรียนอยู่ที่ร.ร.ชุมชนบ้านน้ำน้อยแห่งนี่แหละครับ   จำได้ว่า ที่ตรงโรงงานปลากระป๋อง กม.19 จะมีทางรถไฟพาดถนน(ตอนนี้ลาดยางทับหมดแล้ว) พอเลิกเรียนผมก็จะเดินกลับบ้าน ที่ประปาน้ำน้อย (ก่อนถึงโคกสูง) เป็นประจำ เพราะพักอยู่ที่นั่น(คุณตาเคยทำงานเป็นนายช่างประปาอยู่ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปเป็นศูนย์ฝึกอบรมการประปาอะไรสักอย่างก็ไม่รู้)พอเดินมาถึงกม.19 ก็จะเปลี่ยนเส้นทางเดิน ไปเป็นบนทางรถไฟเก่าสายนี้แทน  จำได้อีกว่า  เดินผ่านไปสักช่วงจะเจอสะพานข้ามคลองเล็กๆ ยาวสักประมาณ 20 เมตร  พอเดินผ่านไปสัก 500 เมตรก็จะถึงหลังบ้านที่พักพอดี   รู้สึกภูมิใจลึกๆ ที่เกิดมาแล้วเคยได้เดินบนทางรถไฟสายนี้ ถึงแม้จะไม่เคยได้นั่ง เพราะเกิดมาตอนเขาเลิกเดินรถพอดี 

paranoid

ขอบคุณประวัติทางรถไฟน้ำน้อยรวมถึงทุกๆ ข้อมูล ถือเป็นความรู้ที่มีค่ามากๆเลยค่ะ หนูเป็นเด็กน้ำน้อยอีกคนนึงที่ตั้งแต่เกิดมาเห็นเพียงสะพานรถไฟ เก่าๆ กับ ประวัติ ที่พ่อเล่าให้ฟังว่ามีเหมือนแร่อยู่ตรงเยื้องๆ ศูนย์อุตสาหกรรมปัจจุบัน และบริเวณตรงข้ามสะพานพระผุดเคยเป็นเส้นทางเดินรถไฟ พอฟังแกเล่าทุกทีก็นึกภาพย้อนตามตลอด หนูขอเป็นอีกคนที่สนับสนุนให้มีการเดินรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลาแบบนี้อีกครั้งค่ะ :)

"มะเหมี่ยว"

เกิดไม่ทัน  และไม่เคยเห็นรถไฟ หาดใหญ่ - สงขลา 
ส่วนรถไฟขบวนอื่นก็เพิ่งได้ขึ้นตอนเรียนมหา'ลัย ที่นครศรีธรรมราช นี่เอง
ขึ้นจากสถานีควนเนียง - ไปคอนศรี บางทีกะจากหาดใหญ่ - ไปคอนศรี
แต่นั่งรถไฟสนุกดีนะ  ไม่เมื่อย  มีของกินตลอดทางเลย  ค่ารถก็ไม่แพง
โดยเฉพาะช่วงนี้ รถไฟท้องถิ่นขึ้นฟรี  ไม่ต้องเสียเบี้ย  ต้องขอขอบคุณรถไฟไทย

คนน้ำน้อย

คุณยายผมเคยเล่าให้ฟัง ตอยสมัยญี่ปุ่นขึ้นเมืองสงขลา ใช้ทางรถไฟสายนี้ ยายบอกว่าพวกญี่ปุ่นมากันเต็มขบวนรถเลย นั่งบนหลังคา ก็มี และได้ระเบิดสะพานน้ำน้อยด้วย ค่ายญี่ปุ่นสมัยก่อนจะตั้งอยู่บริเวณที่ศาลเจ้านาจา ปัจจุบันครับ ขอบคุณข้อมูลจากคุณยายผม

หม่องวิน มอไซ

ศาลเจ้านาจา คือตรงที่เรียกว่า เขาบรรไดนาง ใช่ไหมครับ

ลูกแมวตาดำๆ

รบกวน คุณ คนน้ำน้อย สอบถามคุณยาย ข้อมูลต่างเกี่ยวกับรถไฟในระแวกน้ำน้อย

มาให้ละเอียดมากที่สุดแล้วน้ำมาพิมพ์ลงไว้ในเว็บนี้นะครับ

บางทีข้อมูลของท่าน จะเสนอ อ.หม่องฯ ทำหนังสือที่ระลึก เปิดเดินรถไฟ หาดใหญ่-สงขลา 2559

หม่องวิน มอไซ

สมพรปากครับ คุณลูกแมวตาดำ ๆ
ตอนนี้พยายามรวบรวมรูปภาพ เรื่องเล่าไว้เยอะ ๆ ไว้ลงในหนังสือครับ  :D

EDT

อ้างจาก: คนแต่แรก เมื่อ 14:29 น.  14 ส.ค 52
ผมเป็นเด็กปาดังเบซาร์  ช่วงปี พ.ศ.2512-2514 วันเด็กแห่งชาติ ครูประจำชั้นจะพาไปเที่ยวแหลมสมิหลา สงขลา เกือบทุกปี จะนั่งรถไฟจากปาดังเบซาร์ มาหาดใหญ่ สมัยนั้นหัวรถจักรยังใช้หัวรถจักรไอน้ำอยู่ ต้องใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำให้เดือดเป็นไอ จากสถานีรถไฟหาดใหญ่ ก็ต่อรถไฟไปสงขลา   สถานีรถไฟหาดใหญ่สมัยนั้นยังเป็นเรือนไม้ยกพื้น มีใต้ถุนอยู่เลย หัวรถจักรที่ไปสงขลาเป็นเครื่องดีเซลแล้ว ขึ้นไปจ่ายค่าโดยสารบนรถไฟ  ค่าโดยสารไปสงขลาจำไม่ได้แล้วกี่บาท  รู้สึกว่าจะประมาณ 1 บาทถ้าจำไม่ผิด จะมีพนักงานขายตั๋วเดินมาเก็บถึงที่นั้งเลย ตั๋วโดยสารจะคล้ายๆตั๋วรถเมล์ประจำทางในปัจจุบันครับ  นั่งรถไฟแล้วสนุกดีครับบรรยากาศภายนอกรถธรรมชาติดีมาก อยากหวนกลับไปในอดีตจังเลย  ระหว่างการเดินทางจากหาดใหญ่ไปสงขลา จะมีชาวบ้านยืนโบกรถไฟอยู่เหมือนโบกรถยนต์น่ะ รถไฟก็หยุดให้ชาวบ้านขึ้นรถไฟเช่นกัน เพราะว่าบางแห่งไม่มีสถานี หรือ ถ้ามีสถานีก็ไม่มีพนักงานหรือนายสถานียืนโบกธงให้รถหยุดน่ะ แต่ตอนลงต้องลงตามสถานีที่มีป้ายสถานีเท่านั้น แล้วค่อยเดินเอา  สนุกดีนะครับ  สมัยก่อนตรงตลาดสดหาดใหญ่หรือเรียกว่าสถานีสอง หรือ เรียกว่าสถานีป้อมหก น่ะ มีใครพอจะจำได้ไหมครับ รถไฟจะจอดรับส่งผู้โดยสารด้วย เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วครับ ขออนุญาตเล่าแค่นี้ก่อนนะครับ สวัสดีครับ

นี่เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่เราควรจะมี รถไฟฟ้ารางคู่ สงขลา-ปาดังเบซาร์
นอกจากเพื่อการท่องเที่ยวแล้ว
เด็กๆ จากปาดังฯ และละแวกใกล้เคียง สามารถมาเรียนที่หาดใหญ่หรือสงขลาได้สะดวกมาก คนละแวกนั้นก็สามารถมาทำงานหาดใหญ่และสงขลาได้สะดวกรวดเร็วและปลอดภัยกว่าเดิม

หนุ่ย คนน้ำน้อย

ตอนนี้คงให้คุณยายเล่าให้ฟังไม่ได้แล้วครับ คุณลูกแมวตาดำๆ เพราะคุณยายเสียไปแระมาณ 5 ปีแล้ว  ตอนเด็กผมชอบนอนตักยาย แล้วให้ยายเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง ก็เลยพอจำได้มาบ้างบางส่วน  เดี่ยวจะลองกลับไปถามคนแก่ๆ แถวๆบ้านดูอีกทีนะครับเผื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม มีเรื่องที่พอจำได้บางส่วน ยายเล่าว่า ตอนที่ญี่ปุ่นขึ้นที่สงขลา ชาวบ้านแถวน้ำน้อย เขาบันไดนาง ต่างพาลูก พาหลาน ขึ้นไปอยู่กันบนเขาน้ำน้อย ไม่มีใครอยู่ที่บ้านกันเลยเพราะกลัวญี่ปุ่น พอหลังจากนั้นก็มาใช้ชีวิตปกติที่บ้าน เหมือนกับหนังคู่กรรมเลยครับ พวกญี่ปุ่นก็จะมาซื้อพวกผัก กับข้าวต่างๆตามบ้านของชาวบ้าน เคยมีทหารญี่ปุ่นซื้อใบพลูที่คนแก่ใช้กินกะหมาก ไปผัดกิน ด้วย 555... มันไม่รู้ว่าเป็นใบอะไรนึกว่าเป็นผัก  แต่ญี่ปุ่นก็ใจดีเหมือนกันนะ ยายบอกว่า เหมือนตอนที่พวกญี่ปุ่นมาซื้อของตามบ้าน ถ้าเค้าเห็นเด็กๆ หรือใครที่ป่วย เค้าก็จะเอายามาให้ กิน ให้ทา ยายบอกว่ายายของญี่ปุ่นดีมากๆ เพราะสมัยนั้นบ้านเรายังไม่มียาเหมือนปัจจุบัน ....

หม่องวิน มอไซ

น่าสนใจมากครับ เรื่องราวของสงขลา น้ำน้อยในยุคเก่า
สงครามโลกครั้งที่สองผ่านไป 60 กว่าปีแล้ว
ผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในยุคนั้น ที่พอจะจำความได้
ถึงตอนนี้ก็มีอายุ 70 ขึ้นไปทั้งนั้นครับ
เรามีเวลาไม่มากเลยครับ ที่จะสอบถาม จดบันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

ขอบคุณคุณหนุ่ย คนน้ำน้อยมากครับ ที่เห็นความสำคัญของเรื่องราวเหล่านี้

Aluglass 2004

ผมเป็นคนน้ำน้อยโดยกำเนิด เริ่มเรียนอนุบาลที่โรงเรียนน้ำน้อย พอถึงโรงเรียนตอนเช้าประมาณ 7.00 น.

โดยประวิ่งผ่านมาณ รถไฟสายนี้จะวิ่งผ่านประจำเสียงวู้ดรถไฟยังก้องอยู่หูและความรู้สึกตลอด

ภาพยังจำติดตาครับ
กระจกที่ว่าคม ยังแพ้คารม คนเลีย

กิมหยง

เดี๋ยวจะทำการปรับแต่งหมวดนี้
ให้เข้าที่อีกเล็กน้อยครับ เพื่อร่วมกันเสวนาเรื่องรถไฟสายนี้กันครับ

หลาย ๆ คน มีความรักความผูกพันธ์กับรถไฟสายนี้ครับ
สร้าง & ฟื้นฟู