ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

วิจารณ์รายการ"พิราบคาบข่าวช่อง11"

เริ่มโดย ลุงป.4, 12:07 น. 12 ก.ย 54

ลุงป.4

รายการ"พิราบคาบข่าวช่อง11)ในฐานะคนหาดใหญ่เปิดดูบ้างเป็นบางวัน เพื่อเช็คความเป็นไปของ"บ้านเรา"ถึงไม่ได้ดูทุกวันแต่ก็มีข้อดีข้อด้อยให้วิจารณ์อยู่บ้าง
เริ่มรู้จักรายการ"พิราบคาบข่าว"ตั้งแต่ตอนที่แม่พิราบ"มุจรินทร์"เป็นคนจัด ยอมรับว่าก่อนหน้านั้นไม่มีรายการใดของช่องนี้น่าสนใจเลย คงเป็นเพราะแม่พิราบมุจรินทร์ใช้สำเนียงใต้ได้ราบรื่นและมีลูกเล่นลูกฮาแบบฉบับของคนบ้านเราด้วยกระมัง? ต่อมาแม่พิราบได้เลื่อนตำแหน่งใหญ่โตไปเป็นปชส.จว.นราธิวาสจากนั้นมีคนมาจัดแทนแล้วก็ย้ายไปกินตำแหน่งราชการที่อื่นอีกหลายคน ความน่าสนใจก็ลดลงจนถึงขั้น"ไม่น่าสนใจ"อีกเลย
จนกระทั่งได้คุณวิชาญ(นสพ.ทางไท)มาจัีดแทน เหมือนปลาที่ติดแห้งกำลังจะตายแล้วได้น้ำฝนกลับฟื้นมีเรี่ยวแรงขึ้นมาทันตาเห็น รายการพิราบคาบข่าวของช่อง11ถูกกล่าวถึงไปทั่วภาคใต้ตอนล่าง เพราะคุณวิชาญแกคล่องแคล่วไม่อืดอาดเข้าใจคนดู มีลูกเล่นมานำเสนอในแนวแปลกใหม่หลากหลายน่าติดตาม แม้บางวันจะดูดุดันไปบ้าง เช่นถึงลูกถึงคนและเปิดโอกาสให้ทางบ้านโทรเข้าไปพูดคุยระบายความในใจหรือร้องเรียนแจ้งเรื่องราวต้างๆกันสดๆ ปัญหาบางอย่างคุณวิชาญใช้วิธีต่อสายสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันเดี๋ยวนั้นเลย บางปัญหาได้รับการแก้ไขในทันที จึงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว แต่ไม่ทราบด้วยเหตุอันใดเหมือนฟ้าผ่ากลางแดด คุณวิชาญถูกระงับกลางคัน
มาทุกวันนี้ได้คนเก่าคือ"บังดน"ยุดล หมัดยามา มาจัดอีกครั้ง ข้อดีคือแกเป็นลูกหม้อเก่าเข้ากันได้กับทุกคนอยู่ก่อนแล้ว แต่ข้อเสียคือค่อนข้างยืดยาดไม่กระชับฉับไว ใช้เวลาเปลือง ยิ่งมาได้น้องผู้หญิงจัดคู่กันแทนที่จะช่วยกันผลักดันให้ได้เนื้อความข่าวสารเยอะๆ กลับมาช่วยกันดึงกันและกันให้ยิ่งช้าลงไปอีก แต่เอาเถอะไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรมากมาย และสามารถปรับปรุงกันได้ครับ

ปัจเจกพุทธ

แล้วแต่มุมมองครับ บางคนไม่ชอบ วิชาญ ก็เยอะ

กิมหยง

รายการชื่อ "พิราบคาบข่าว"

ฟังดูเหมือนน่าจะเป็นรายการเล่าข่าว นำเสนอข่าวคราวข้อมูลที่เกิดขึ้นระแวกบ้านเรา
แต่น่าจะรวมถึงประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย

แต่ตรงนั้นเป็นเวทีของกรมประชาสัมพันธ์ครับ
ซึ่งเป็นหน่วยงานของราชการ จะคาดหวังให้หวือหวาเหมือนเอกชนนั้น ท่าจะยากอยู่นะครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

โสธร

 ส-ดีใจ ประชาชนเป็นผู้เสพข่าวสารมีทางเลือก ตอนนี้เลิกดูไปแล้ว ทั้ง(พ่อ,แม่)พิราบ ตามไปดู ถามตรง ตอบชัด แล้ว  ส.ใส่แว่นกันแดด

chayawee

ตั้งแต่วิชาญหายไป ที่บ้านก็เลิกดู คิดถืงวิชาญนะ อยากให้กลับมาจัดรายการอีก แต่มันจะเป็นไปได้หรือ

ลุงแกลบ

ที่บ้านหนีไปดูวู๊ดดี้ แทน ช่วงเวลานั้น รายการลดทอนความน่าสนใจลงไปมากครับ

ข.ไข่ปิ้ง

จริงๆแล้วถึงแม้จะเป็นช่องราชการ แต่เมื่อมีโฆษณาได้ แสดงว่าจุดประสงค์ก็แสวงหากำไร สมควรจะมีอะไรตอบแทนเพื่อให้คู่ค้าเขาใจชื้นบ้างว่าพยายามผลิตรายการสนองตอบชาวบ้าน ไม่ใช่บังคับให้ชาวบ้านต้องดูอะไรก็ไม่รู้

ขอบฟ้า นาคอน

อยากร่วมวิจารณ์ด้วยครับ  ตกต่ำสุดขีดครับ พิราบคาบข่าว

คนสื่อ

ลองอ่านที่ อาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง เขียนถึงวิชาญ ช่วยชูใจ ในหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ เมื่อวันพฤหัสฯ ที่ 9 กันยายนที่มาดูซิครับ ในหัวข้อ ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน กรณี วิชาญ ช่วยชูใจ ที่สงขลา แล้วจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร

http://203.146.129.175/web/?q=%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87-6

          สถาพร ศรีสัจจัง
Share
ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจชุมชน ( 2 ) : กรณีวิชาญ ช่วยชูใจ ที่สงขลา

     ที่จริงร่องรอยและการฟื้นฟูระบบ "การพึ่งตัวเอง" รูปแบบต่างๆในวิถีชุมชนของชาวภาคใต้นั้นต้องถือว่ามี "กระแสที่ไม่ด้อยกว่าภาคใดๆของประเทศไทย ตั้งแต่พื้นที่บนสุดของภาคคือจังหวัดชุมพร ผ่านสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลาอันได้แก่พัทลุง สงขลา ตรัง และสตูล (บางส่วน) ลงใต้ไปสุดแถบเทือกบูโดที่มีพื้นที่ปัตตานี-ยะลาและนราธิวาสเป็นหลัก ล้วนแล้วแต่มีประวัติศาสตร์สังคมแบบพึ่งพาตัวเองตามวิถี "สังคมพอเพียง" มาก่อนทั้งสิ้น

     มาเสียท่าต้องกลายเป็น "ชุมชนพึ่งสังคมภายนอก" ก็เมื่อรัฐไทยโหมกระพือกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ระบบทุนนิยมพึ่งพิงตั้งแต่ยุคต้นทศวรรษ 2500 หรือเมื่อประมาณ 50 ปีที่เพิ่งพ้นผ่านนั่นแล้ว

     กลางกระแสนำพาประเทศไปสู่การพึ่งตัวเองไม่ได้ของชุมชนที่นักคิดทางสังคมมักเรียกกันว่า "การล่มสลายของชุมชน" นั่นเองก็มักปรากฏกลุ่มคน "สวนกระแส" ขึ้นในพื้นที่ชุมชนชนบทต่างๆเป็นจำนวนไม่น้อย ผู้คนเหล่านั้นปรากฏร่างอยู่ในหลายลักษณะตั้งแต่ข้าราชการ ครู นักบวช ชาวบ้านธรรมดาที่มี "ธาตุ" ของความเป็นผู้นำธรรมชาติ ศิลปิน นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ สื่อมวลชน ฯลฯ

     ในพื้นที่ภาคใต้ถ้าจะเอยนามท่านเหล่านั้นที่เกิดขึ้นกลางกระแสทุนในรอบ 5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาก็อาจกล่าวได้ว่านับแทบไม่สิ้น บ้างก็ยังยืนหยัดพัฒนารูปแบบและเนื้อหากระบวนการ "พึ่งตัวเอง" ของชุมชนที่ตนเกี่ยวข้อง บ้างก็เลิกร้างไปด้วยเหตุด้วยปัจจัยหลากหลาย ทั้งเพราะแพ้ภัยตัวเองและแพ้ภัย "อำนาจ" ทั้งที่เถื่อนและไม่เถื่อน ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ฯลฯ

     ภายหลังกลุ่มคนเหล่านั้นมักได้รับบทเรียนร่วมกันว่า การเคลื่อนไหวที่มุ่งสร้างสรรค์ชุมชนให้พึ่งตัวเองได้นั้นควรจะต้อง "จัดตั้งกันขึ้น" ควรจะต้อง "เรียนรู้ซึ่งกันและกัน" ควรจะต้อง "สร้างเครือข่าย" ฯลฯ เพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย "ไม้ซีกด้อยแรงงัด/ต้องรวมมัดกันแล้วมุ่ง/ร่วมใจงัดไม้ซุง..."

     กลุ่มคนเหล่านั้นเป็น "คนธรรมดา" เหมือนคนทั่วๆไป ต้องกินต้องใช้ ต้องมีภารกิจแห่งชีวิตที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ จึงต้องมีงานมีเงินเหมือนชาวบ้านทั่วไป พวกเขาถ้าไม่เป็นนักพัฒนาเอกชน เป็นข้าราชการ เป็นเจ้าของกิจการ(เรือกสวนไร่นาและอื่นๆ) ก็มักต้องมีอาชีพใดอาชีพหนึ่งรองรับ(กระทั่งหลายคนอาจเป็นนักการเมืองท้องถิ่น เช่นนายกอบต.เป็นต้น)

     ผู้คนที่มี "จิตอาสา" (คำฮิตในปัจจุบัน-อาจหมายถึงคนที่มีอุดมการณ์เพื่อมวลชนแบบที่คนรุ่น 14 ตุลาฯ เคยพูดๆกัน) เหล่านี้ในภาคใต้ที่เอ่ยชื่อและมีคนรู้จักก็เยอะ ที่เอ่ยแล้วรู้จักเพียงบางพื้นที่ก็มีที่เอ่ยขึ้นแล้ว อาจมีคนรู้จักน้อยมากก็แยะ เช่นถ้าเอ่ยนาม "พงศา ชูแนม" นักปลูกต้นไม้แห่งต้นน้ำ พะโต๊ะ เมืองหลังสวน จังหวัดชุมพร หรือ "ประยงค์ รณรงค์" เจ้าของรางวัลแม็กไซไซแห่งบ้านไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือ อัมพร ด้วงปาน ชาวบ้านคลองเปียะ หรืออาจารย์ซบ ยอดแก้ว แห่งบ้านน้ำขาว จังหวัดสงขลา ฯลฯ ก็ย่อมเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ถ้าเอ่ยนามอย่าง ดือราแม ดาราแม แห่งเทือกเขาบูโด เมืองนราธิวาสก็อาจรู้จักกันในวงแคบลงหน่อย เพราะเพิ่งได้รับรางวัล "อนุสรณ์สงขลานครินทร์" ที่เป็นรางวัลซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มอบให้กับผู้มีผลงานทำงานร่วมกับชุมชนดีเด่น เป็นต้น

     แล้ววิชาญ ช่วยชูใจละ-เป็นใคร?
     
     ตั้งแต่ปีพ.ศ.2549 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อ "ทางไท" ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มสื่อทางไท ที่มีสำนักงานอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาเริ่มออกวางแผงพร้อมๆกับการดำเนินกิจกรรมอื่นๆทางสังคมในพื้นที่ จังหวัดสงขลา เช่นการจัดรณรงค์เรื่องการรักษาป่าต้นน้ำผาดำ แห่งอำเภอคลองหอยโข่ง ซึ่งกำลังถูกบุกรุกอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งเกิดเป็นกระแสการอนุรักษ์อย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา ขณะเดียวกันรายการชื่อ "ถามตรง-ตอบชัด" ที่เคยออกเป็นรายการประจำทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 หาดใหญ่ ก็ไปจัดรายการสดเพิ่มทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลาตั้งแต่กลางปี 2551 การจัดรายการแบบ  "การสื่อสาร 2 ทาง" ที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านโทร.เข้ารายการได้อย่างเสรีและผู้จัดตอบคำถาม ประสานหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และหลายเรื่องตามติดแบบ "กัดไม่ปล่อย" ด้วยวาทะอันแหลมคมและตรงไปตรงมาแบบบุคลิกของคนใต้ทำให้ชื่อเสียงของรายการนี้และชื่อสื่อ "ทางไท" กระจายสู่มวลชนผู้รับสารอย่างรวดเร็ว

     วิชาญ ช่วยชูใจ คือผู้อำนวยการเจ้าของกิจการสื่อ "ทางไท" และเป็นผู้จัดรายการดังกล่าวทั้งหมดด้วยตัวเอง!

     ปีพ.ศ.2551 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 หาดใหญ่เชิญ วิชาญ ช่วยชูใจ ไปเป็นผู้ดำเนินรายการ "ข่าวเช้า"  ของสถานีที่ชื่อ "พิราบคาบข่าว" ปรากฏในเวลาอันรวดเร็วว่า มีปฏิกิริยาตอบรับในหมู่มวลชนผู้รับสารในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง 5 จังหวัดในทางชื่นชมอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง!

     และมา "พีค" สุดขีดเมื่อน้ำท่วมหาดใหญ่-สงขลาตอนปลายปี 2553 เมื่อ ผอ.เขตและผอ.สถานีโทรทัศน์ฯให้ วิชาญเปิดสถานี 24 ชั่วโมงเพื่อเป็น "ศูนย์กลาง" ในการประสานและแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำท่วมในครั้งนั้นอย่างทันการณ์ และเป็นผลในห้วงเวลาดังกล่าว วิชาญ ช่วยชูใจ ก็ยังคงดำเนินกิจกรรมทางสังคมอื่นๆเช่นจัดคอนเสิร์ตอนุรักษ์ป่าผาดำ/จัดงาน "สามน้ำสามเมือง 100 เรื่องทะเลสาบ  "ร่วมกับศิลปิน เยาวชนและชาวบ้านรอบทะเลสาบอย่างต่อเนื่องโดยลอด ฯลฯ จนอาจกล่าวได้ว่าในห้วงเวลาดังกล่าว ชื่อของ วิชาญ ช่วยชูใจ "ดังเป็นพลุ" ท่ามกลางความ "หมั่นไส้" (และอาจหวาดหวั่นจากความตรงไปตรงมาของดี.เจปากกล้าผู้ประกาศยืนอยู่ข้างความถูกต้องในฐานะ "สื่อมวลชน" ที่มีจริยธรรมผู้นี้)

     เข้าทำนองเหมือนที่นักเขียนใหญ่ของโลกอย่างพีโอดอร์ ดอสโตเยพสกี้ให้ตัวเอกในวรรณกรรมยิ่งใหญ่ของโลกเรื่อง "พี่น้องคารามาซอฟ" พูดไว้ตอนหนึ่งในทำนองว่า "คนทั่วไปเรอะ-ชอบอยู่แล้วที่จะเห็นคนดีตกต่ำ" (นี่ไม่เกี่ยวว่าวิชาญฯจะเป็นคนดีหรือไม่ดี) หรือถ้าจะว่ากันแบบภาษิตไทยๆก็ต้องว่า "ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน" อะไรทำนองนั้น!

     แล้ววิชาญ ช่วยชูใจ ก็ได้รับคำสั่งจากกรมประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยให้พ้นจากหน้าที่ผู้จัดรายการของทั้ง "พิราบคาบข่าว" ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 หาดใหญ่และจากรายการ "ถามตรง-ตอบชัด" ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา

     หรือใครว่านี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมดา?

     ภาพที่เห็นๆวันนี้แม้แต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีสถานะมั่นคง มีเกียรติ มีสายสะพานการันตี มีชีวิตราชการที่ไต่เต้ามาตั้งแต่เป็นชั้นผู้น้อยอย่างเช่นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือเลขาธิการ สมช. หรือปลัดกระทรวงอีกหลายกระทรวงที่มีระดับถึงซี 11 ทั้งหลาย ยังถูกสั่งโยกสั่งปลดแบบนกกระจอกไม่ทันกินน้ำเลย

     แล้ววิชาญ ช่วยชูใจเป็นใคร?

     หรือเขาจะยอมจำนนต่อการถูกตัดโอกาสในการทำงานเพื่อมวลชนผู้รับสารในชุมชนต่างๆที่เขารักและถือเป็น "ภารกิจแห่งชีวิต" มาตั้งแต่เมื่อครั้งเคยเป็นหัวหน้าข่าวภาคใต้ของสถานีโทรทัศน์ ไอ.ทีวี.เมื่อครั้งกระโน้น?

     เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะยังไม่เห็นเลยว่าเรื่องของวิชาญ  ช่วยชูใจจะเกี่ยวข้องกับประเด็น "ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจชุมชน" อย่างไร!!
Submitted by kittipong on Wed, 07/09/2011 - 19:03
•   Column เส้นแบ่งความคิด
•    อีเมล์บทความนี้ให้เพื่อน

                                                                                 



ปัจเจกพุทธ

ถ้าวิชาญ คือ The One จริง เขาคงไม่ยอมแพ้ และเราคงเห็นเขาอีกแน่

ลูกแมวตาดำๆ

ไม่ว่าใครจะต่อว่าอย่างไร แต่ผมคนหนึ่งที่ ร่วมงานเรื่องราวของข้อมูล แม้ไม่เคยเจอกัน ไม่รุ้จักกันเป็นการส่วนตัว ก็คือเหตุการณ์เมื่อ พายุเข้าสงขลา ปีที่แล้ว(ปี53) คุณวิชาญ จัดรายการตลอดเวลา รับแจ้งทุกข์ของประชาชน ทำให้พวกผมรับฟังการออกอากาศ ซึ่งขณะนั้นช่วยงานอยุ่ที่ร่วมใจกู้ภัยเมืองสงขลา ได้ทราบทุกข์ของประชาชน เพื่อรวบรวมและประสานงานข้อมูลไปให้มูลนิธิมิตรภาพฯ เพื่อแจ้งหน่วยกู้ภัยในพื้นที่เข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชนกันต่อไป แม้หาดหใญ่จะฟื้นดีขึ้น แต่ทางโซนสทิงพระยังแย่อยู่ คุณวิชาญก็ยังจัดรายการกันต่อไป แบบเป็นกันเองมาก แม้ฟ้าฝนจะตกหนักก็ยังกล้าจัดรายการเพื่อพี่น้องประชาชน นี้แหละครับคนเราจะรู้ใจกันก็ยามทุกข์ยากเนี่ยแหละ

คนบางกล่ำ

พี่วิชาญแกทำงานเพื่อพี่น้องบ้านเราควรช่วยกันส่งเสริมนะคับ เพราะในปัจจุบันมีปัญหาเยอะมากในสังคม
ที่ต้องการให้มีการแก้ไขพี่สังคมบ้ารเรา

Treepipat

กรณีคุณวิชาญถูดถอดออกจากรายการทีวีและวิทยุนั้น เป็นการคุกคามสื่อมวลชนที่รุนแรง โดยองค์กรและบุคลากรของรัฐที่อยู่ในสายงานสื่่อเสียเอง สิ่งที่คุณวิชาญทำอยู่นั้นมีสองอย่างคือ 1.เปิดเผยความจริง 2.เปิดโปงความเท็จ ย่อมมีผู้เสียผลประโยชน์เป็นธรรมดา

พาลี

ช่อง 11เหมือนกับคนหาปลาในถุ้ง กบในพลก

คนหน้าวัด13

    ส-ดีใจ ชอบตอน ที่ชาวบ้านโทรเข้ามา คุยกันสดๆ พูดแบบบ้านๆ  และ ต่อสายตรงถึงผู้หลักผู้ใหญ่ ให้มาชี้แจง ส.ยกน้ิวให้

แต่เดียวนี้ไม่ดูเลย เช้าๆมาคลุกอยู่แต่ เวปกิมหยง นี้แหละ  ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้
วิญญาณ ปู่ ย่า ตา ยาย จะ ร่ำไห้ เพราะ ลูก หลานจัญไร

คนสื่อ

อาจารย์สถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ เขียนถึงวิชาญ ช่วยชูใจ และสื่อของเขา ตอนที่ 2 ครับ

http://www.siamrath.co.th/web/?q=%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87-7

           

Search
Search this site:     .วันพฤหัสบดี ที่ 15 กันยายน 2554 เวลา 08:33 น.



Download IE8

 
             
"พิจิตร"น้ำท่วมหนัก!!! เหลือเส้นทางเดินรถเข้าสู่จังหวัดเส้นเดียว>>อ่านต่อ...     ศอส.เตือน 8 จังหวัดริมฝั่งเจ้าพระยา!รับมือน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 18 – 20 ก.ย.นี้>>อ่านต่อ...     รวบหนุ่มตกงาน!ใช้เงินปลอมซื้อคอมพิวเตอร์>>อ่านต่อ...     ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดตาก"เงินเฟ้อ"เดือนสิงหาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.5 >>อ่านต่อ...     โจรใต้เหิมหนัก!!วางบึ้มโรงพัก"บาเจาะ"หวังสังหารหมู่จนท.โชคดีไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ>>อ่านต่อ...     
.Home
สถาพร ศรีสัจจังShare
ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจชุมชน (3) : กรณี วิชาญ ช่วยชูใจที่สงขลา (2)

     จากการที่รายการ "พิราบคาบข่าว" ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 หาดใหญ่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้รับสาร พื้นที่จังหวัดสงขลาและใกล้เคียงเป็นอย่างสูงในช่วงปี พ.ศ.2553 และ "พีค" สุดขีดในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมืองหาดใหญ่และบริบท ทำให้ชื่อของวิชาญ ช่วยชูใจ ช่วงนั้นเหมือนกับอยู่ในฐานะ "ขวัญใจมวลชน"

     ดังนั้นเมื่อเขา "ถูกสั่งปลดกลางอากาศ" ความไม่พอใจจึงกระจายไปสู่ประชาชนกลุ่มดังกล่าว เมื่อวิชาญ ประกาศว่าเขาจะทำสถานีวิทยุของตัวเองในทำนอง "วิทยุชุมชน" ซึ่งเข้ามองเห็นว่าเป็นทางเดียวที่จะทำให้สามารถดำรงฐานะของ "สื่อมวลชน" ของเขาไว้ได้และจะสามารถทำงานตามอุดมการณ์ที่วางไว้แต่เดิมได้

     ชาวบ้านจึงบริจาค "ลงขัน" เพื่อช่วยวิชาญตั้งสถานีวิทยุดังกล่าวโดยใช้เวลาระดมกันเพียงไม่นานนักเป็นเงินเกือบล้านบาท

    ในช่วงที่วิชาญ ช่วยชูใจ ทำตัวเป็น "สื่อของมวลชน" ในพื้นที่ชุมชนเมืองสงขลาและบริบทอยู่นั้น ก็เป็นช่วงเดียวกับที่เขาแต่งงานมีครอบครัวและปลูกบ้านตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ดินเดิมของฝ่ายภรรยา เป็นทำเลสวยงามมากที่บ้านบางหยี อำเภอบางกล่ำ เขตติดต่อกับอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และที่นี่เองที่เขาเริ่มขยายบทบาทตัวเองเป็นสื่อของชุมชนมากขึ้น โดยใช้ "เครดิต" ของตัวเองผลักดันกิจกรรมสำคัญของชุมชนแถบบางหยี/บ้านหาร/บางกล่ำ/ควนเนียง/และเชื่อมต่อไปทุกเขตของพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลา เช่น จัดกิจกรรมฟื้นฟูตลาดริมน้ำคลองบางกล่ำ/จัดกิจกรรมอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีต่างๆของชุมชนรอบทะเลสาบ เป็นต้น

     สถานีวิทยุชุมชน "ทางไท" ภายใต้การนำของเขาค่อยๆก่อกระแสเชื่อมโยงกลับคลื่นวิทยุต่างๆในพื้นที่ จนสามารถรับฟังได้ทั่วสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง โดยใช้เวลาจัดการเพียงไม่ถึง 2 เดือน

     เขาใช้สโลแกนเดิมของกลุ่มสื่อ "ทางไท" ของเขาเป็นเป้าหมายและ "เข็มมุ่ง" ในการทำวิทยุชุมชนในครั้งนี้อย่างเอาการเอางาน นั่นคือสโลแกน ที่ว่า

     "ชี้ทิศ เสริมทาง สร้างไท"

     "วิเคราะห์ เจาะลึก ท้องถิ่นและสากล เพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้สู่ชุมชน"

     และสรุปตามด้วยบทกลอนคมๆว่า

     "คือทางสร้างธรรมเป็นอำนาจ/คือทางกู้ประชาราษฎร์ให้เป็นใหญ่/คือการมุ่งมั่นสร้างเส้นทางไท/เพื่อประชาธิปไตยแห่งผองชน..."

     เมื่อสถานีวิทยุเริ่มแพร่เสียงออกอากาศก็พบว่า มีปฏิกิริยาตอบรับอย่างกว้างขวาง เขาค่อยๆกล่อมภาพให้เห็นว่าสถานีวิทยุ "ทางไท" ที่มีเขาเป็นผู้อำนวยการอยู่มีจุดหมายเพื่อสถาปนาให้เป็นสถานีวิทยุของชุมชนที่แท้จริงอย่างไร ด้วยการดึงเอาบุคลากรที่เป็นชาวบ้านและเป็นเยาวชนในท้องถิ่นมาเป็น ดี.เจ และค่อยๆฝึกอบรม ดี.เจเหล่านั้นให้เข้าใจว่า สถานีวิทยุ "ทางไท" ที่โฆษณาว่าเป็นสถานีของ "คนรักทะเลสาบ" และเป็นสถานีที่มุ่ง "ขับเคลื่อนการเรียนรู้สู่ชุมชน" นั้นควรแตกต่างกับสถานีที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์อย่างไร

     แม้แต่รายการเพลงซึ่งเป็นรายการยอดฮิตของสถานีวิทยุชุมชนในทุกท้องถิ่น เขาก็มีนโยบายชัดเจนว่าห้ามไม่ให้มีการโทร.ขอเพลงกันหน้าไมค์ ไม่มีการขอเพลงเพื่อมอบให้คนโน้นคนนี้ และ ดี.เจ จะต้องเสาะหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆมาเสริมการเรียนรู้ของผู้ฟังมากกว่าที่จะเปิดเพลงแต่เพียงอย่างเดียวเป็นต้น

     การพยายามชูเรื่อง "เกษตรอินทรีย์" ซึ่งเป็นแนวทางการเกษตรที่ยั่งยืนของชาวบ้านก็ดูเหมือนจะเป็นนโยบายสำคัญของสถานี โดยเขาไปร่วมมือกับบริษัทฟุกเทียนให้เป็นผู้สนับสนุนหลักเพื่อผลักดันนโยบายดังกล่าว เพียงเริ่มต้นตั้งสถานีได้ยังไม่ครบ 2 เดือนเขาก็สามารถระดม เกษตรกร และหมอดินแนวเกษตรอินทรีย์มาร่วมพบปะแลกเปลี่ยนเสวนากันโดยใช้ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่เป็นสถานที่จัดงาน

     ปรากฏว่ามีชาวบ้านที่เกี่ยวข้องจากหลายพื้นที่มาร่วมงานดังกล่าวเป็นจำนวน พัน!

     รายการที่แพร่เสียงในช่วงทดลอง 3 เดือนแรกของการก่อตั้งสถานี มีที่น่าสนใจหลายรายการด้วยกัน ที่เป็นรายการบริการ ชาวบ้านแท้ๆมีรายการที่ชื่อว่า "ข่าวชาวบ้าน" จัดโดย ชาวบ้านแท้ๆที่ใช้ชื่อว่า "ดี.เจสาธารณะ" ก็ประสบผลพอควรแม้ตัว ดี.เจเองจะยังตะกุกตะกักและพูดจาผิดเพี้ยนไม่ค่อยมีจังหวะฉะโคนนักก็ตาม

     รายการที่โดดเด่นมากๆก็ยังเป็นรายการ "ถามตรงตอบชัด" ที่วิชาญ เคยจัดอยู่ที่สถานีวิทยุ สวท.สงขลา และมีคนติดตามเป็นจำนวนมาก เป็นรายการที่ช่วยคลี่คลายและช่วยประสานงานให้กับชาวบ้านและชุมชนที่เดือดร้อนได้มาก เหมือนกับที่รายการ "บอกข่าวเล่าเพลง" ของผู้จัดที่ชื่อ "ดี.เจผักบุ้ง" กำลังเป็นที่สนอกสนใจในหมู่มวลชนผู้รับสารอย่างกว้างขวาง ฯลฯ

     ประเด็นสำคัญที่สุดในกรณีวิชาญ ช่วยชูใจที่สงขลาก็คือภาพของคำตอบที่ว่า คนเล็กๆคนหนึ่งถ้ามี "จิตอาสา" หรือ "สำนึกชุมชน" จริง-เขาจะทำอะไรได้บ้าง? ทำโดยไม่ต้องรอหรือต้อง "พึ่ง"หน่วยงานของรัฐมากนัก-ทำโดยยึดเจตนาดีอันเข้มแข็งของตัวเองเป็น "ทางนำ"ไปสู่การ "เพิ่มอำนาจชุมชน" ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างแท้จริงในการ "ลดอำนาจรัฐ"

     ซึ่งวิชาญ ช่วยชูใจยืนยันตลอดมาและปฏิบัติโดยแนวทางของตัวเองให้เห็นว่า การเพิ่มอำนาจของชุมชนนั้นต้องทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตัวเองให้ได้ โดยเฉพาะการเพิ่ม "อำนาจการเรียนรู้" ให้กับชุมชนในทุกๆด้าน

     การพยายามทำให้สถานีวิทยุชุมชนคนรักทะเลสาบ "ทางไท" เป็นศูนย์กลางกิจกรรมในการส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมขาวบ้านด้านต่างๆไม่ว่าจะเชิญชวนให้หนังตะลุงคณะต่างๆในท้องถิ่นมาจัดแสดงสดที่บริเวณสถานีวิทยุแล้วถ่ายทอดสด ทั้งยังกำหนดว่าต้องใช้เครื่องดนตรีหนังตะลุงแบบดั่งเดิมที่เรียกว่า "เครื่อง 5" ก็นับว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ

     การขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนทั้งในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ อ.บางกล่ำ อ.ควนเนียง และชุมชนต่างๆในจังหวัดสงขลาและพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลา โดยการไปเป็นผู้ร่วมจัดและที่สำคัญคือถ่ายทอดสดรายการเหล่านั้นเผยแพร่ไปสู่ชุมชนต่างๆ ซึ่งถือเป็นการ "เปิดโอกาส" ให้เรื่องราวของชุมชนมี "พื้นที่" เป็นของตัวเองมากขึ้น

     ปรากฏการณ์ "วิชาญ ช่วยชูใจ" ที่สงขลานับเป็นภาพสะท้อนหนึ่งที่น่าสนใจ ในการทำงานของคนเล็กๆหรือ "กลุ่มคน" ที่เชื่อมั่นว่าการพัฒนาประเทศไทยในห้วงเวลาอันใกล้เบื้องหน้าน่าจะมุ่งไปสู่หลักการ "ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจชุมชน" เพื่อผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ชาวบ้านมี "สิทธิ" และ "หน้าที่" ในระบบ "ประชาธิปไตย" อย่างแท้จริง

     ส่วนคนเล็กๆที่หาญกล้ายืนขึ้นมาร่วม "จัดการ" ชุมชนของตัวเอง จะถูก "หมั่นไส้" จากรัฐหรือ "อำนาจรัฐ" นั้นน่าจะเป็น "เรื่องธรรมดา" อยู่แล้ว แต่ถ้า "มวลขน" ตื่นขึ้นมาเข้มแข็งจริงๆก็คงต้องกล้าเชื่อได้ว่าก็มวลชนชาวบ้านนั่นแหละที่จะเป็น "ผนังทองแดงกำแพงเหล็ก" ให้

     และถ้าคนที่แสดงตนว่ามี "จิตอาสา" ต้องการทำงานให้ชุมชนเกิดอาการ "ฉ้อฉล" หรือผิดเพี้ยนหลักการอย่างใดขึ้น ก็คงไม่ต้องกลัวเพราะชาวบ้านนั่นแหละที่จะลุกขึ้นมา "โค่น" คนๆนั้นด้วยตัวพวกเขาเอง!!
Submitted by jarune on Wed, 14/09/2011 - 17:57 Column เส้นแบ่งความคิด
อีเมล์บทความนี้ให้เพื่อน
.