ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

"รถรางหาดใหญ่" มุมมองอีกด้านเพื่อการเติบโตอย่างชาญฉลาด

เริ่มโดย Mr.No, 17:26 น. 08 มี.ค 58

Mr.No

[attach=1]
ระบบรถราง ที่ Portland Oreagon U.S.A นำใช้ได้อย่างประสบผลสำเร็จ

เป็นที่แน่ชัดว่า ในห้วงเวลานี้คงไม่มีอะไรมาทัดทานระบบขนส่งมวลชนระบบรางได้แล้ว...เพราะสัญญานชัดทั้งจากนานาประเทศในโลกที่ตอบรับระบบขนส่งมวลชนแบบนี้(ซึ่งจริง ๆ ก็มีมานานแล้ว) และกำลังขยับเข้าใกล้ไปสู่ระบบรางที่ทันสมัย..และสะดวกสบายกันมากขึ้นทุกที

ประเทศไทย ..โดยเฉพาะในหลายจังหวัดเริ่มขยับตัวเกี่ยวกับโครงการที่จะนำเอาระบบขนส่งมวลชนมาใช้ ..แม้นว่าบางแห่งอาจจะยังสับสนและไมชัดเจนว่าจะนำเอาระบบขนส่งมวลชนแบบใด มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นระบบราง อย่าง พวกรถราง (Streetcar) หรือระบบรางเดี่ยว (Monorail) หรืออาจเป็นพวกบัสโดยสารอย่างพวก BRT

ในนโยบายระดับชาติภายใต้การนำของรัฐบาล คสช. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งต้องถือว่ามีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก หลังจากที่ได้มีการเจรจากับทั้งจีน,ญี่ปุ่น และได้มีการลงนามในเรื่องการลงทุนเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้โลกเข้าสู่ระบบรางที่ถือว่าเป็นระบบการขนส่งที่คุ้มค่า..ประหยัดที่สุดในโลก ซึ่งคงนับเวลาจากนี้อีกไม่นานนัก

ทางรถไฟรางคู่..และการปรับปรุงหรือพัฒนาระบบทางให้สามารถรองรับรถจักรรุ่นใหม่ ๆเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความเร็วของรถที่ทำขบวนและรวมไปถึงระบบอาณัติสัญญานที่รถไฟไม่ต้องรอหลีก..รอแช่กันจน โอเลี้ยง ๆ ละลายคาสถานีรถไฟแบบที่ผ่านมาอีกต่อไป

ส่วนเรื่องระบบขนส่งมวลชนท้องถิ่นต่าง ๆ ก็คาดว่าในราวปลายปี..น่าจะมีข่าวที่ชัดเจนกว่านี้ว่า ตกลงในแต่ละจังหวัดที่มีการจัดการประชุมกันในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการค้นหาระบบขนส่งมวลชนในการเข้ามาช่วยเยียวยาแก้ไขปัญหาการจราจรของแต่ละที่  จึงเป็นเรื่องต้องติดตามกันดุว่า  ระบบขนส่งมวลชนใดจะเข้ามาให้บริการแก่คนในชุมชนและท้องถิ่นนั้น ๆ

และที่สำคัญ...หนึ่งในโครงการผลักดัน รถรางหรือที่ฝรั่งเรียกว่า  Streetcar นั้น จะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคเข้ามาเป็นตัวเต็งหนึ่งของจังหวัดใดได้เป็นอันดับแรก..หรืออาจโชคร้ายกลายเป็นระบบขนส่งที่จะไม่มีวันได้เกิดในเมืองไทยเลย!!??


เทศบาลนครหาดใหญ่  ถือเป็นอีกหนึ่งแคนดิเดทว่าจะได้รับอนุมัติงบจากรัฐบาลกลางให้เป็นเมืองแรก(ยกเว้นกรุงเทพฯ) ที่จะมีรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) หรือไม่เรื่องนี้ คำตอบอาจไม่ได้อยู่ว่า แรงผลักดันจะมาจากส่วนไหน ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมืองคือ ทีมบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ผลักดันโครงการนี้เพราะเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงเอาไว้ หรือแรงผลักดันจะมาจากภาคประชาชนบางส่วนที่อยากให้มีเพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการขนส่งมวลชนและเพื่อการขนถ่ายคนเข้า-ออกเมือง อันนำไปสู่การช่วยแก้ปัญหาการจราจรแออัดในอนาคต!

อย่างไรก็ตาม...ถ้าย้อนเวลากลับไปในยุคที่ อำนาจรัฐบาล อยู่ภายใต้ระบบพรรคการเมืองเรื่องเหล่านี้อาจมีหนทางขยับได้ โดยเฉพาะหากฝ่ายภาคการเมืองท้องถิ่นนั้นมีความสนิทสนมชิดเชื้อและสามารถประนีประนอมกับภาครัฐบาลส่วนกลางในการประสานผลประโยชน์อื่นๆ ที่จะนำมาซึ่งด้านฐานเสียงและผลประโยชน์ทางการเมืองของรัฐบาลให้กว้างขวางและแข็งแกร่ง โครงการเหล่านี้แม้นจะใช้งบประมาณมหาศาล..แต่ก็อาจจะยังมีหนทางเกิดได้เพราะเหตุผลที่กล่าวมา

ตัวอย่างกรณีโครงการรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลก่อนหน้าเคยประกาศจะสร้างจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ซึ่งแม้นจะมีเสียงวิพากษ์ว่า เป็นโครงการสร้างฐานเสียงในระดับภาคนิยมและพบว่าโครงการดังกล่าวไม่มีความคุ้มค่าด้านการลงทุนโดยเฉพาะเกี่ยวกับทั้งเรื่องของเส้นทางและความจำเป็น และประเด็นวิวาทะว่า  อาจได้แค่เป็น "รถขนผักความเร็วสูง"  ซึ่งการคัดค้านดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้รัฐบาลรู้สึกว่าต้องทบทวนหรือแก้ไขปรับปรุงอย่างไร..และยังมุ่งมั่นที่จะทำต่อให้ได้....ทว่าในที่สุดโครงเหล่านั้นก็ถูกระงับไป เพราะการเข้ายึดอำนาจและมีรัฐบาลเข้ามาบริหารแทนที่ ซึ่งหากไม่เกิดกรณีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็ยังคิดไม่ออกว่า เมืองไทยจะกลายเป็นเมืองที่พัฒนาไปอย่างสรุ่ยสุร่ายและกลายเป็นหนี้สาธารณะกันมหาศาลชั่วลูกหลานกันอีกกี่สิบปี

ดังนั้น สิ่งที่เราจะต้องกลับมาทบทวนและคิดกันอีกครั้งโดยเฉพาะในเมืองที่กำลังจะมีการนำเอาระบบขนส่งมวลชนมาใช้ โดยเฉพาะ "หาดใหญ่" ที่มีการผลักดันแนวคิดเรื่องรถรางเดี่ยว (Monorail) เพื่อให้คนหาดใหญ่ได้ใช้เป็นหนึ่งในทางเลือกของการเดินทางและเพื่อลดปัญหาความแออัดของการจราจรที่กำลังเริ่มเป็นปัญหาได้อย่างสมเหตุ..สมผล และคุ้มค่าเงินที่ลงไปหรือไม่?

[attach=2]
โครงการรถรางเมืองซิเซียเนติ อเมริกา ที่นำต้นแบบความสำเร็จของ Portland มาใช้

จำได้ว่าเมื่อสักสองสามปีก่อน.. ผมเคยเสนอแนวคิด โมเดลของการนำเอาระบบรางที่วิ่งบนพื้น หรือที่เรียกว่า พวก tram หรือ Streetcar มาใช้ในเมืองหาดใหญ่ ซึ่งผมออกตัวในเวลานั้นว่า ผมไม่ใช่นักออกแบบสถาปัตยกรรมเมือง..ไม่ได้จบทางด้านวิศวกรรมขนส่ง และไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ,เศรษฐศาสตร์ หรืออีกหลาย ๆ กระบวนทัศน์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์นั้น ๆ 

แต่หลักเดียวที่ผมเชื่อว่า..เราแก้ได้  ก็เพราะหลักง่าย ๆ ของพุทธศาสนา ที่ว่าด้วย กฎแห่งจักรวาล หรือที่คนพุทธศาสนิกเรียกว่า กฎอิทัปปจยตา หรือ หลัก ปฎิจจสมุปบาท นั่นละครับ

อิทัปปัจจยตา เป็นหลักการทางพุทธศาสนากล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล เมื่อมีเหตุย่อมมีผล และเมื่อเหตุดับผลก็ดับ ดังนั้นการแก้ปัญหาใด ๆ ถ้าเราค้นพบเหตุและสามารถทำให้เหตุนั้นดับได้ ผลที่อยากให้เป็นมันก็จะปรากฎได้ในที่สุด

ส่วนหนึ่งของหลักนี้ มีบางเสี้ยวคล้ายหลักการที่ฝรั่งเรียกกันว่า "Integration" หรือที่นักการเมืองไทยนิยมใช้กันฮิตปากว่า "การบูรณาการ"

แต่ผมชอบเรียกว่า แนวคิด "สุมหัวกันทำ" ซี่งอาจเห็นภาพที่ชัดกว่า เพราะหากทุกฝ่ายรับรู้ปัญหาและค้นหาเหตุได้แล้ว และทุกฝ่ายก็สุมหัวกันแก้ปัญหาเพียงแต่แยกส่วนเสี้ยวของปัญหาออกไปเพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไข และสุดท้ายทุกส่วนที่ได้รับการแก้ไขแล้วก็จะกลับเอามาประกอบรวมรูปร่างเป็นผลของการแก้ไขที่ลุล่วงอย่างบูรณาการแล้วเสร็จในที่สุด

สิ่งทีคนหาดใหญ่ต้องยอมรับความจริงให้ได้ก็คือ นับแต่นี้ต่อไป เมืองหาดใหญ่ กำลังกลายเป็นเมื่องที่เริ่มเติบโต และภายใต้การเติบโตนั้น ..เราเริ่มได้เห็นแล้วว่า  เราอาจเติบโตอย่างไม่ค่อยชาญฉลาดนัก..เพราะเปรียบเสมือนเด็กที่โตแบบถูกเลี้ยงดูอย่างทิ้งขว้าง..โตแบบไม่มีเป้าหมาย ..จนสุดท้ายเรากำลังจะได้เด็กที่เติบโตแล้วแต่กลับเต็มไปด้วยโรครุมเร้าอย่างน่าเสียดาย!

โรครุมเร้าที่กำลังจะเข้ากุมเกาะเมืองหาดใหญ่ มาจากหลายเหตุปัจจัย นับแต่ปัญหาผังเมืองที่เติบโตอย่างกระจัดกระจาย

..การรุกเข้ามาของนายทุนต่างถิ่นหรือต่างชาติที่มากอบโกยเงินเข้ากระเป๋า แล้วทิ้งปัญหาไว้มากมายไม่ว่าจะเป็นความล่มสลายของการค้าขายรากหญ้า ..,ความไร้ระเบียบวินัยของคนในเมือง ,ความเคารพในสิทธิของแต่ละคน..สิทธิส่วนรวม นั่นทำให้เกิดปัญหาสังคมวุ่นวายตามมา อาทิด้านวินัยจราจร, ปัญหาชุมชนเมืองเช่นการรุกล้ำ,บุกรุกพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางเท้า..ถนนหลวง ฯลฯ

การแข่งขันทางการค้าที่ไม่มีระบบถ่วงดุลหรือให้ความรู้ในอีกด้าน ..ก่อให้เกิดการโหมโฆษณา,ยัดเยียดเพื่อการขายที่เกินพอดีต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้หาดใหญ่กลายเป็นเมืองที่ฟุ่มเฟือยไปด้วย รถจักรยานยนต์,รถยนต์ และไม่นับยานยนต์ที่ไม่อยู่ในสภาพแห่งความพร้อมในด้านความปลอดภัยประเภทต่าง ๆ มากมาย ซึ่งปัญหาตามมาเหล่านี้คือปัญหาด้านสังคม ทั้งจากหนี้สินพะรุงพะรัง, ปัญหาด้านการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น,ปัญหาสังคมจากอาชญากรรม ฯลฯ

เชื่อหรือไม่ว่า ปัญหาทั้งหมดอาจไม่เกิดหรือเกิดน้อยมากในบางแห่งบนโลก..ถ้าที่นั่น ทุกคนทุกฝ่าย มีการวางแผนวันนี้เพื่อวันหน้า  มีกระบวนการคิด,เรียนรู้..ศึกษา และที่สำคัญ จากประสบการณ์ความล้มเหลวของที่ต่าง ๆ  และที่สำคัญ "ทำทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน"

ความเป็นบูรณาการ จะสอนให้เราสร้างมันไปพร้อม ๆ กัน...และเมื่อจะต้องแก้ปัญหามันก็จะต้องเป็นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างคุ้มค่าที่เรียกว่า ยิงนกทั้งฝูงด้วยกระสุนเพียงนัดเดียว!

ดังนั้น ปัญหาการจราจรหาดใหญ่ อาจไม่ใช่การแก้ปัญหาแบบคิดทางเดียวแบบเดิมคือ ทำอย่างไรให้สามารถขนถ่ายคนเข้าออก ได้พร้อม ๆ จำนวนมากเท่านั้น  แต่จะต้องเป็นการแก้ปัญหาภาพรวมของหาดใหญ่ทั้งหมดในเวลาเดียวกันด้วย

..หาดใหญ่จึงต้องกลับไปแก้ปัญหาที่เหตุ ซึ่งพบว่า เหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาด้านผังเมือง,ภูมิทัศน์,สถาปัตยกรรมเมือง,โซนนิ่ง,มลภาวะ,เศรษฐกิจ และปัญหาการจราจร

ดังนั้น..จึงต้องเป็ฯกระบวนการที่ต้องทำไปพร้อม ๆ กัน แม้นบางส่วนอาจเสร็จก่อนหลัง แต่ทุกส่วนจะต้องไปในทิศทางเดียวกันและลงตัวด้วยกันตามแผนในที่สุด  ซึ่งอาจต้องใช้วิธีการตั้งแต่ วางผัง..ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์..ออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่..กำหนดเขตเข้าออกเมืองของรถ, ระบบการกำจัดมลภาวะ,ขยะ  และสุดท้ายคือ ระบบขนส่งมวลชนจะใช้แบบใดเพื่อสอดรับกับกระบวนการอื่นในภาพใหญ่

เรื่องนี้...บางทีการแก้ปัญหาแบบขวานผ่าซากก็ถือเป็นการแก้ไขที่ตรงกับเหตุได้ ตัวอย่างกรณีที่แพทย์ตัดสินใจฉีดยามันตรงตำแหน่งที่เจ็บปวดเลย แม้นจะดูโหดและประหลาด แต่สุดท้ายก็อาจพบว่า นั่นคือการแก้ปัญหาที่ตรง,เร็วและยั่งยืนได้ในที่สุด

วันนี้ผมนำแนวคิด Streetcar มานำเสนอผ่านสื่อเล็ก ๆ อย่างกิมหยงเพื่อสะท้อนไปยัง ท่านนิพนธ์ บุญญามณีหรือผู้เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนกันอีกทีว่า  จะดีกว่ามั้ยถ้าจะลองย้อนกลับไปทบทวนว่า นโยบายที่หาเสียงเกี่ยวกับโมโนเรลนั้นอาจกลายเป็นทางเลือกหลัง ๆ สุดของเหล่าประเทศอื่นกันแล้ว  เพราะ แนวคิดเรื่อง Streetcar ดูเหมือนจะตอบรับและตอบโจทย์กับปัญหาด้านขนส่งมวลชนในระดับเมืองได้อย่างลงตัว และผลประโยชน์ด้านอื่นที่ได้รับจากการลงทุนด้วยรถรางนั้นจะคุ้มค่าในแทบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นโดยตรงคือเรื่องการช่วยลดปัญหาความแออัดด้านการจราจร,การปรับเปลี่ยนค่านิยมการใช้รถส่วนตัว เศรษฐกิจ,สังคม และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

ตัวอย่างสมมุติในการนำรถรางเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหารถติดในเขตเมืองชั้นในสุดของหาดใหญ่ โดยเฉพาะเส้นนิพัทธ์อุทิศ 123 , เส้นทางบนถนนธรรมนูญวิถีจากหลังสถานีรถไฟตรงไปทิศตะวันออกชนกับถนนสามสิบเมตร, และถนนที่คล้ายกับวงแหวนชั้นในอย่างเส้น นับจากถนนแยกเพชรเกษมเพื่อเลี้ยวซ้ายเข้ามาถึงถนนสามสิบเมตรไปชนศรีภูวนารถ และเลี้ยวขวามุ่งตรงไปฝั่งทิศตะวันตกถึงบริเวณสามแยกท่าเคียนแล้วเลี้ยวซ้ายตรงไปเข้าถนนพลพิชัยไปทะลุออก เพชรเกษมฝั่งตะวันตกแล้วเลี้ยวขวามุ่งไปทิศตะวันออก และอีกเส้นคือในเส้นทางที่สวนทางกัน  เส้นทางเหล่านี้ถือเป็นเส้นทางที่มีรถหนาแน่นมากโดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วนและโดยเฉพาะในห้วงเวลาเย็นเลิกงานจนถึงค่ำ


รถรางรุ่นใหม่ล่าสุดของโตรอนโต แคนาดา ที่เพียบพร้อมไปด้วยความสบายและความปลอดภัย

บนเส้นทางเหล่านี้  สามารถนำเอาระบบรถราง หรือ Streetcar เข้ามาใช้ได้อย่างลงตัวซึ่งในห้วงเวลาเร่งด่วน รถรางรุ่นใหม่ ๆ มีศักยภาพในการพ่วงขบวนได้จำนวนมาก และที่สำคัญ มันสามารถตอบโจทย์ของการทดแทนปัญหาที่พ่อแม่อาจไม่ต้องนำรถยนต์,จักรยานยนต์ออกมาในเวลาดังกล่าวแบบ 1 คัน 1 คนแบบที่เป็นปัญหาในอดีตได้

ปัญหาที่มีผู้สำรวจพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วพบว่าในหาดใหญ่นั้น ในหนึ่งครอบครัวจะมีรถจักรยานยนต์หนึ่งคัน นั่นหมายถึงว่าในความเป็นจริงบางครอบครัวอาจมีรถจักรยานยนต์ใช้มากกว่า 1 คัน

ส่วนใหญ่รถจักรยานยนต์ถูกใช้เพื่อ การรับส่งลูก ๆ ไปและกลับจากโรงเรียน และส่วนหนึ่งไม่น้อยเป็นรถที่นักเรียนนักศึกษานำไปสถาบันทั้งไปและกลับเอง

รถยนต์ส่วนตัว มากกว่า 40 เปอร์เซนต์ ใช้สำหรับไปทำงานและรับส่งลูก ๆ ไปโรงเรียนในเวลาเดียวกัน ซึ่งปัญหาหนึ่งที่ยังเป็นเรื่องที่แก้ไม่ตกคือ  การมีค่านิยมให้ลูกเรียนหนังสือในโรงเรียนมีชื่อเสียง ซึ่งพบว่าพ่อหรือแม่อาจทำงานอีกที่ แต่ต้องขับรถวนไปรับลูกอีกที่ ซี่งก่อให้เกิดปัญหากระจุกตัวของรถในเวลาและสถานที่จำเพาะ

รถราง (Streetcar) สามารถเข้ามาเยียวยาปัญหาเหล่านี้ได้ในระดับที่น่าพอใจ ด้วยเหตุที่ว่า

- ความปลอดภัยของรถรางรุ่นใหม่ ๆ นั้นมีสูง
- รถใช้ความเร็วที่ไม่มากนัก
- เด็กเล็ก,คนชรา,คนพิการ สามารถขึ้นลงได้อย่างสะดวก
- สถานีจอดจัดให้มีมากน้อยได้ และยืดหยุ่นได้ตามปัญหาที่เกิด และลงทุนไม่ยุ่งยาก
- สถานีจอดและตำแหน่งที่อยู่อาศัยของพลเมืองในย่านดังกล่าว จะอยู่ในระยะที่พลเมืองสามารถขึ้นหรือลงและเดินต่อไปยังที่พักได้ด้วยเวลาไม่มากนัก ก่อให้เกิดการส่งเสริมการเดินเพื่อให้ประชาชนได้มีต้นทุนสุขภาพเพิ่มขึ้น
- แต่ละสถานีจอดบางแห่งอาจเพิ่มพื้นที่ ทั้งบนดิน,ใต้ดิน สำหรับเก็บ/ฝากรถจักรยานส่วนตัว เพื่อความสะดวกในการเดินทางแบบที่เรียกว่า "Park and Ride" สำหรับผู้ที่นิยมจักรยานได้ไม่ยากนัก

นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ผู้ปกครองอาจพึงพอใจและมอบหมายให้ลูก ๆ ของตัวเองใช้ระบบขนส่งมวลชนแบบนี้มากกว่าการนั่งรถประจำทางหรือรถขนส่งอื่น ๆ ที่ยังไม่อาจยอมรับว่าสะดวกและปลอดภัยได้ดีพอ

หลายท่านเคยติติงผมว่า..หาดใหญ่รถราติดขนาดนี้ ยังจะเอารถรางยัดลงไปวิ่งปนด้วย แล้วมิมั่วตั๊วเละกันไปใหญ่หรือ?
ผมคิดว่าคำตอบพวกนี้...ในหลายประเทศประสบมาแล้ว และได้ค้นหาแนวทางมาตลอดจนสุดท้ายก็พบว่า 

แนวคิด มันเจ็บตรงไหนก็เอาเข็มฉีดยาจิ้มลงไปตรงนั้น คือการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ซึ่งเรืองนี้เที่ยวหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังและจะได้ขยายความไปถึง ข้อดีของ Streetcar ที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนและช่วยเพิ่มศักยภาพด้านอื่น ๆ ของเมืองไม่ว่าจะเป็น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจชุมชน, ด้านภูมิทัศน์,ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ  ยังไงก็ช่วยกันติดตามและติชมกันครับ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

พูดเรื่องจริง

Tram ไม่ work หรอกสำหรับหาดใหญ่ ตราบใดที่ยังมีการจอดซ้อนคัน เปิดไฟวิเศษ และ จยยที่ซอกแซกไม่ดูคน วิ่งย้อนศร risks, hazards กระโดดเพิ่มเป็นเท่าตัว

คุณจะเอาระบบขนส่งมวลชนแบบนี้มาใช้ ทั้งๆที่รู้ว่าพฤติกรรมมนุษย์ของคนไทย โดยเฉพาะในต่างจังหวัดยังไม่พัฒนา แล้วหวังว่า tram จะประสบความสำเร็จแบบในต่างประเทศไม่ได้

วินัยต่างกัน หรือจะบอกผมว่าเออ เอามาใช้ดูก่อนแล้วค่อยไปหวังให้คนมันเปลี่ยนนิสัยเอง อือหือนี่ยิ่งยากเลย ถ้ามันทำได้ มันทำไปนานแล้ว กรุงเทพยังไม่เอาเลยรถราง

peeak

ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของคนไทยแย่ถึงแย่มากจริงๆ มีคนตายด้วยอุบัติเหตุเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่แนวคิดนี้ก็ดีที่ว่าจะต้องมีการเปลียนแปลงในอนาคตสำหรับการขนส่ง ส่วนตัวมองว่ารื้อฟื้น หาดใหญ่-สงขลา ทำได้ง่ายกว่าถูกกว่า...ถ้ากล้าจะลงมือทำ

รักชาติไทย

เมืองไทยนี้แปลก  ผิดแล้วผิดอีก  การทำรถไฟลอยฟ้าผิดพลาดที่กรุงเทพมาตั้งหลายปีแล้ว  ยังจะมาผิดที่หาดใหญ่อีก  การทำรถลอยฟ้า ทั้งแพง ทั้งทำให้เกิดทัศนอุจาดทำเมืองดูน่าเกลียด (การจะทำทางต่างระดับให้ไปทำถนนต่างระดับสำหรับรถยนต์  ทางต่างระดับรอบชานเมือง  จะสองหรือสามชั้นก็ได้  จะได้ลดอุบัติเหตุเพราะไม่มีไฟแดง)และเป็นเหตุให้เกิดการกักอากาศเสียให้อยู่บนถนน หน้าบ้าน ทางเดิน และส่งเสียงดัง(เสียงราง)   ทำไมไม่ทำ รถเมล์หรือรถรางในระยะสั้นเฉพาะหน้า  ระยะยาวให้ทำรถใต้ดินไปเลย 

mix99

เมืองไทยนี้แปลก  ผิดแล้วผิดอีก  การทำรถไฟลอยฟ้าผิดพลาดที่กรุงเทพมาตั้งหลายปีแล้ว  ยังจะมาผิดที่หาดใหญ่อีก  การทำรถลอยฟ้า ทั้งแพง ทั้งทำให้เกิดทัศนอุจาดทำเมืองดูน่าเกลียด (การจะทำทางต่างระดับให้ไปทำถนนต่างระดับสำหรับรถยนต์  ทางต่างระดับรอบชานเมือง  จะสองหรือสามชั้นก็ได้  จะได้ลดอุบัติเหตุเพราะไม่มีไฟแดง)และเป็นเหตุให้เกิดการกักอากาศเสียให้อยู่บนถนน หน้าบ้าน ทางเดิน และส่งเสียงดัง(เสียงราง)   ทำไมไม่ทำ รถเมล์หรือรถรางในระยะสั้นเฉพาะหน้า  ระยะยาวให้ทำรถใต้ดินไปเลย
อ้างถึง
ขอแสดงความเห็นนะครับท่าน ถ้ามันผิดแล้วผิดอีก แล้วทำไม ตอนนี้มันขยายไปเป็นตาข่ายคลอบคลุมทั้ง กท.ล่ะท่าน ผมมองไม่เห็นว่ามันผิดตรงไหน ก็ตรงที่มันแหลมตาเท่านั้น จะลงใต้ดิน อันนี่ก็เว่อร์ รถไป BRTแบบ กท ก็แพงอีก โมโนเรลนี่แแหละเหมาะ แล้ว และที่รถ รางผมก็ไม่เห็นด้วยมาหลายกระทู้แล้วครับจะแก้ปัญหาหรืแสร้างปัญหาและลงทุนไม่คุ้ม เช่นเดียวกับบันใดเลื่อนข้าม หน้า มอ.
    ผมไม่อยากพูดซ้ำ พูดไม่จบ จะแก้ปัญหาไหม ถ้าจะแก้ก็ต้องทำให้เหมาะ  ดูตุ๊กๆ สองแถว รถแว้น ด้วยนะครับ โอกาสเจอกัน มาก

Mr.No

อ้างจาก: พูดเรื่องจริง เมื่อ 11:48 น.  10 มี.ค 58
Tram ไม่ work หรอกสำหรับหาดใหญ่ ตราบใดที่ยังมีการจอดซ้อนคัน เปิดไฟวิเศษ และ จยยที่ซอกแซกไม่ดูคน วิ่งย้อนศร risks, hazards กระโดดเพิ่มเป็นเท่าตัว

คุณจะเอาระบบขนส่งมวลชนแบบนี้มาใช้ ทั้งๆที่รู้ว่าพฤติกรรมมนุษย์ของคนไทย โดยเฉพาะในต่างจังหวัดยังไม่พัฒนา แล้วหวังว่า tram จะประสบความสำเร็จแบบในต่างประเทศไม่ได้

วินัยต่างกัน หรือจะบอกผมว่าเออ เอามาใช้ดูก่อนแล้วค่อยไปหวังให้คนมันเปลี่ยนนิสัยเอง อือหือนี่ยิ่งยากเลย ถ้ามันทำได้ มันทำไปนานแล้ว กรุงเทพยังไม่เอาเลยรถราง

ขอบพระคุณสำหรับความเห็นครับ...

ไม่เป็นไรครับ คิดเห็นต่างกันไม่ใช่ปัญหาครับ  เป็นเรื่องดีครับ ผมอยากให้ค่อย ๆ อ่านและทำความเข้าใจ เพราะเรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องวิชาการครับ อยากให้ช่วยติดตามข้อมูลกันต่อไปครับ...
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

อ้างจาก: peeak เมื่อ 12:30 น.  11 มี.ค 58
ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของคนไทยแย่ถึงแย่มากจริงๆ มีคนตายด้วยอุบัติเหตุเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่แนวคิดนี้ก็ดีที่ว่าจะต้องมีการเปลียนแปลงในอนาคตสำหรับการขนส่ง ส่วนตัวมองว่ารื้อฟื้น หาดใหญ่-สงขลา ทำได้ง่ายกว่าถูกกว่า...ถ้ากล้าจะลงมือทำ

สวสดีครับคุณพี่เอก.

  Streetcar สามารถเชื่อมโยงต่อกับทางรถไฟสายเดิมเข้าสงขลา ได้สบายครับ.. และเรื่องเส้นทางรถไฟสายนี้ ผมเชื่อว่า อย่างไรเสียก็ต้องกลับมาแน่นอนครับ.
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

อ้างจาก: รักชาติไทย เมื่อ 16:57 น.  11 มี.ค 58
เมืองไทยนี้แปลก  ผิดแล้วผิดอีก  การทำรถไฟลอยฟ้าผิดพลาดที่กรุงเทพมาตั้งหลายปีแล้ว  ยังจะมาผิดที่หาดใหญ่อีก  การทำรถลอยฟ้า ทั้งแพง ทั้งทำให้เกิดทัศนอุจาดทำเมืองดูน่าเกลียด (การจะทำทางต่างระดับให้ไปทำถนนต่างระดับสำหรับรถยนต์  ทางต่างระดับรอบชานเมือง  จะสองหรือสามชั้นก็ได้  จะได้ลดอุบัติเหตุเพราะไม่มีไฟแดง)และเป็นเหตุให้เกิดการกักอากาศเสียให้อยู่บนถนน หน้าบ้าน ทางเดิน และส่งเสียงดัง(เสียงราง)   ทำไมไม่ทำ รถเมล์หรือรถรางในระยะสั้นเฉพาะหน้า  ระยะยาวให้ทำรถใต้ดินไปเลย

อยากให้ติดตามกระทู้นี้นะครับ.. ผมจะนำข้อมูลที่เป็นด้านวิชาการมานำเสนอ... และจะได้เห็นว่า เหตุใด รถรางจึงกลายเป็นยานพาหนะในอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศที่นำกลับมาใช้งานกัน  ส.ยกน้ิวให้


..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

อ้างจาก: mix99 เมื่อ 20:30 น.  11 มี.ค 58
เมืองไทยนี้แปลก  ผิดแล้วผิดอีก  การทำรถไฟลอยฟ้าผิดพลาดที่กรุงเทพมาตั้งหลายปีแล้ว  ยังจะมาผิดที่หาดใหญ่อีก  การทำรถลอยฟ้า ทั้งแพง ทั้งทำให้เกิดทัศนอุจาดทำเมืองดูน่าเกลียด (การจะทำทางต่างระดับให้ไปทำถนนต่างระดับสำหรับรถยนต์  ทางต่างระดับรอบชานเมือง  จะสองหรือสามชั้นก็ได้  จะได้ลดอุบัติเหตุเพราะไม่มีไฟแดง)และเป็นเหตุให้เกิดการกักอากาศเสียให้อยู่บนถนน หน้าบ้าน ทางเดิน และส่งเสียงดัง(เสียงราง)   ทำไมไม่ทำ รถเมล์หรือรถรางในระยะสั้นเฉพาะหน้า  ระยะยาวให้ทำรถใต้ดินไปเลย
อ้างถึง
    ขอแสดงความเห็นนะครับท่าน ถ้ามันผิดแล้วผิดอีก แล้วทำไม ตอนนี้มันขยายไปเป็นตาข่ายคลอบคลุมทั้ง กท.ล่ะท่าน ผมมองไม่เห็นว่ามันผิดตรงไหน ก็ตรงที่มันแหลมตาเท่านั้น จะลงใต้ดิน อันนี่ก็เว่อร์ รถไป BRTแบบ กท ก็แพงอีก โมโนเรลนี่แแหละเหมาะ แล้ว และที่รถ รางผมก็ไม่เห็นด้วยมาหลายกระทู้แล้วครับจะแก้ปัญหาหรืแสร้างปัญหาและลงทุนไม่คุ้ม เช่นเดียวกับบันใดเลื่อนข้าม หน้า มอ.
    ผมไม่อยากพูดซ้ำ พูดไม่จบ จะแก้ปัญหาไหม ถ้าจะแก้ก็ต้องทำให้เหมาะ  ดูตุ๊กๆ สองแถว รถแว้น ด้วยนะครับ โอกาสเจอกัน มาก



สวัสดีคุณ mix99

ยินดีที่ได้คุยกันอีก... ยังไงผมฝากให้ลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ ครับ มีประเด็นแย้งไม่เป็นไรครับ


..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

  ทุกวันนี้ หลาย ๆ ประเทศเค้าใช้รถราง เข้ามาแก้ปัญหา ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า มันแก้ปัญหาเมืองได้อย่างน่าสนใจ...

   อเมริกา..ตัดสินใจเลือกใช้รถรางในเมืองพอร์ตแลนด์ โอเรกอน พบว่าแก้ปัญหาเมืองได้ จนนำมาสู่การตัดสินใจครั้งใหญ่อีกหลายเมืองในหลายรัฐของประเทศนี้ที่จะใช้รถราง และนำรถราง(เดิม) กลับมาใช้งาน

   


รถรางสามารถลัดเลาะเข้าไปยังเมืองชั้นในได้อย่างสบาย (เมืองไฟล์บวกส์ เยอรมนี)

ซอกเล็กซอกน้อย.. รถรางโบราณแห่งกรุงลิสบอน โปรตุเกส ทำเงินกับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเข้าเมืองได้มากโข

  ภาพข้างต้นเป็นตัวอย่างของการนำรถรางเข้ามาแก้ปัญหาในย่านชุมชน ช่วยเสริมศักยภาพด้านพานิชกรรมในเมืองที่สุญเสียไปให้กับห้างใหญ่ ๆ ในอดีต

รถราง...คือต้นแบบของการนำ "เมืองแห่งการเดิน" กลับมาสู่วิถีชีวิต นั่นหมายถึงการสร้างสีสันและสร้างมิตรภาพอันดีให้แก่ชุมชนเมือง

การขยายพื้นที่ทางเท้าให้กว้างพอที่คนจะเดินได้มากที่สุดคือแนวคิด ...และการเลือกใช้รถรางเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตให้คนทุกเพศทุกวัยสามารถนั่งหรือเดินและนั่ง ได้อย่างง่ายดาย เพราะการปรับเปลี่ยนเส้นทาง หรือสถานีจอดใช้ทุนต่ำถึงต่ำมาก ก็สามารถใช้ได้แล้ว

Portland เริ่มสร้างด้วยเส้นทางสั้น ๆ เพียงไม่กี่กิโลเมตร และสามารถตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนได้ผลคุ้มค่า

เพราะการสร้างทางรถรางนั้น..เมืองนี้จะทำไปพร้อม ๆ กับการขยายทางเท้า,ปรับภูมิทัศน์เมืองใหม่ เรียกว่าทำแบบ บูรณาการไปพร้อม ๆ กัน 

นี่เป็นเหตุผลว่า  ทำไม เมืองใหญ่ ๆ อย่างในเอเซียเช่น  ประเทศจีนอย่าง เซี่ยงไฮ้,นานจิง จึงยอมรับว่าการยกเลิกรถรางในอดีตถือเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เพราะเมื่อจีนเติบโต มีรถรามากมาย การสูญเสียพื้นที่เศรษฐกิจให้การสร้างถนนถือเป็นความไม่ฉลาด และปัญหาด้านมลพิษของจีนถือเป็นเรื่องใหญ่



รถรางของจีนรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีของฝรั่งเศส ประหยัดพื้นที่มากขึ้นเพราะใช้รางเดียว และที่สำคัญใช้ระบบล้อยาง (Rubber- Tyred) ทำให้ทั้งเงียบทั้งหรูและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเมืองมากที่สุด



เมืองคนรวยอย่างดูไบ..เพิ่งจะเปิดตัวรถราง ไปเมื่อปีที่แล้ว เพราะใช้หลักการเดียวกันในการที่จะนำเอารถรางมาแก้ปัญหาเมือง ไม่เพียงแค่เพื่อขนย้ายขนตามนิยามของวิศวกรรมขนส่งแต่เพียงอย่างเดียวแบบโบราณอีกต่อไป


..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No


   รถราง ไปกันได้กับแนวคิด จอดแล้วขี่ หรือ Park and Ride  ไม่ว่าจะเป็นรถส่วนตัวหรือจักรยาน ...





  และนี่คือสิ่งที่เป็นไปได้ในความเป็น รถราง สำหรับเด็ก,เยาวชนและคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่



..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

  ดังนั้น ภายในหาดใหญ่ การนำรถรางมาใช้ ในแบบวนรอบเมือง (Town Loop) แบบ Portland เริ่มในระยะสั้น ๆ จึงเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ

  คนอยู่หาดใหญ่ในจะมาจ่ายตลาดกิมหยง ก็นั่งไปกลับได้สบาย ๆ หรือคนอยู่แถวคอหงส์ จะมากลางใจเมืองสาย 3 ก็นั่งรถรางมาได้สบาย,  เด็กนักเรียนนั่งรถรางไปโรงเรียนต่าง  ๆ หรือจะเอาจักรยานขี่จากปากซอยไปจอดฝากที่จุดรับฝากใกล้สถานีรถราง ก็ง่ายดาย,


อาม่า..อาเจ็ก อยากนั่งรถใกล้ ๆ จาก สุดสายสาม ไปแถวสามสิบเมตร รถรางพวกนี้ตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดี

เหล่านี้คือ การนำเอารถรางมาแก้ปัญหาในแง่ การสร้างสัมพันธภาพชุมชน  ไม่ใช่เพียงแก้ปัญหาขนถ่ายคนตามแนวคิดของวิศวกรรมขนส่งเพียงอย่างเดียว...

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No




เป็นคำตอบว่า เหตุใด ซิเซียนีติ อเมริกา จึงเลือกใช้รถรางยัดเข้าไปในเมืองที่ยุ่งเหยิง เพราะเพื่อ "แก้ปัญหาเมือง" ..มิใช่เพื่อ "เลี่ยง"
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

หงุมหงิม

ถามว่ารถรางดีไหม ?
ดีครับ...แต่  เหมาะสำหรับบ้านเมืองที่มีกฎหมายเข้มงวด และประชาชนมีวินัยและเคารพกฎจราจร

ต้องยอมรับประเทศไทยให้ความสำคัญกับถนนมากเกินไป และความหย่อนยานในเรื่องระเบียบวินัยจราจร

ถ้าสร้างรถรางจริงๆ แน่นอนว่ามีเสียงตามมาแน่ๆคือแย่งพื้นที่ถนน

และปัญหาก็จะตามมา สำหรับความไม่มีวินัย อาจมีการนำรถไปวิ่งในช่องของรถราง อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้

ขนาดย้อนศรเป็นกิโลยังทำกันได้ ไม่เว้นกระทั้งการเบียด การเปิดเลนใหม่ ฯลฯ

ขนาดช่องจักรยาน รถยังไปวิ่ง ไปจอดขวางทาง แล้วถ้ามีรถรางคิดว่าจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้หรือ ?

เจ้าหน้าที่ก็หย่อนยาน ด้วยข้ออ้างเดิมๆกำลังพลไม่พอที่จะดูแล ลูบหน้าปะจมูก โดนเบื้องบนบีบถึงจะจริงจัง พอหย่อนยานก็วนเข้าลูปเดิม

ไม่ว่าระบบรางอะไรมันดีหมดแหละครับ...

แต่จะดีมากกว่า ถ้าควบคุม "คน" ให้มีวินัย เคารพกฎ มีระเบียบ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่

ถามว่าทำได้ไหม  ทำได้ถ้าร่วมมือกัน

รถราง,รถไฟฟ้า,รถไฟ ฯลฯ ระบบรางต่างๆสร้างมาเพื่อแก้ปัญหาจราจรทั้งสิ้น

แต่จะให้ครอบคลุมมันต้องบูรณาการทั้งระบบ ไม่ใช่แก้ที่จุดใดจุดหนึ่ง

การออกใบอนุญาตขับขี่ , กฎหมาย , การควบคุมปริมาณรถบนท้องถนน สิ่งเหล่านี้มันต้องสัมพันธ์กันหมด

ระบบรางถูกสร้างเพื่อรองรับผู้คนและเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา...

แต่จะให้แก้ปัญหาได้ก็ควรแก้ปัญหาที่จุดอื่นๆไปพร้อมกัน ไม่ใช่แก้ที่จุดใด จุดหนึ่ง ไม่อย่างนั้นปัญหามันก็จะวนไม่จบสิ้น

ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกล"กรุงเทพ เมืองฟ้าอมร"นั้นละครับเห็นภาพที่สุด

วิธีแก้ปัญหาทีเจอตรงไหนแก้ตรงนั้น มันก็เลยวน และเป็นปัญหาไม่รู้จักจบสิ้น

การจะแก้ปัญหาก็ต้อง "สร้างคนให้มีคุณภาพ,ควบคุมให้อยู่ในระเบียบ,และมีระบบที่รองรับได้ทุกภาคส่วน"

นั้นละครับถึงจะแก้ปัญหาได้ ขาดข้อใดไป ปัญหามันก็จะวนไปไม่รู้จบ...












Mr.No

อ้างจาก: หงุมหงิม เมื่อ 01:42 น.  13 มี.ค 58
ถามว่ารถรางดีไหม ?
ดีครับ...แต่  เหมาะสำหรับบ้านเมืองที่มีกฎหมายเข้มงวด และประชาชนมีวินัยและเคารพกฎจราจร

ต้องยอมรับประเทศไทยให้ความสำคัญกับถนนมากเกินไป และความหย่อนยานในเรื่องระเบียบวินัยจราจร

ถ้าสร้างรถรางจริงๆ แน่นอนว่ามีเสียงตามมาแน่ๆคือแย่งพื้นที่ถนน

และปัญหาก็จะตามมา สำหรับความไม่มีวินัย อาจมีการนำรถไปวิ่งในช่องของรถราง อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้

ขนาดย้อนศรเป็นกิโลยังทำกันได้ ไม่เว้นกระทั้งการเบียด การเปิดเลนใหม่ ฯลฯ

ขนาดช่องจักรยาน รถยังไปวิ่ง ไปจอดขวางทาง แล้วถ้ามีรถรางคิดว่าจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้หรือ ?

เจ้าหน้าที่ก็หย่อนยาน ด้วยข้ออ้างเดิมๆกำลังพลไม่พอที่จะดูแล ลูบหน้าปะจมูก โดนเบื้องบนบีบถึงจะจริงจัง พอหย่อนยานก็วนเข้าลูปเดิม

ไม่ว่าระบบรางอะไรมันดีหมดแหละครับ...

แต่จะดีมากกว่า ถ้าควบคุม "คน" ให้มีวินัย เคารพกฎ มีระเบียบ ได้มากกว่าที่เป็นอยู่

ถามว่าทำได้ไหม  ทำได้ถ้าร่วมมือกัน

รถราง,รถไฟฟ้า,รถไฟ ฯลฯ ระบบรางต่างๆสร้างมาเพื่อแก้ปัญหาจราจรทั้งสิ้น

แต่จะให้ครอบคลุมมันต้องบูรณาการทั้งระบบ ไม่ใช่แก้ที่จุดใดจุดหนึ่ง

การออกใบอนุญาตขับขี่ , กฎหมาย , การควบคุมปริมาณรถบนท้องถนน สิ่งเหล่านี้มันต้องสัมพันธ์กันหมด

ระบบรางถูกสร้างเพื่อรองรับผู้คนและเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา...

แต่จะให้แก้ปัญหาได้ก็ควรแก้ปัญหาที่จุดอื่นๆไปพร้อมกัน ไม่ใช่แก้ที่จุดใด จุดหนึ่ง ไม่อย่างนั้นปัญหามันก็จะวนไม่จบสิ้น

ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกล"กรุงเทพ เมืองฟ้าอมร"นั้นละครับเห็นภาพที่สุด

วิธีแก้ปัญหาทีเจอตรงไหนแก้ตรงนั้น มันก็เลยวน และเป็นปัญหาไม่รู้จักจบสิ้น

การจะแก้ปัญหาก็ต้อง "สร้างคนให้มีคุณภาพ,ควบคุมให้อยู่ในระเบียบ,และมีระบบที่รองรับได้ทุกภาคส่วน"

นั้นละครับถึงจะแก้ปัญหาได้ ขาดข้อใดไป ปัญหามันก็จะวนไปไม่รู้จบ...

ขอบคุณครับ.. คุณหงุมหงิม

หลายประโยค พูดได้ถูกต้อง...และถูกใจทีเดียว ส.ยกน้ิวให้

ผมยังเชื่อว่า ตราบใดที่ คนไทย ยังเป็น คนที่แยกแยะ ดีชั่ว ถูกผิด ได้.....ตราบนั้น เราก็ยังแก้ปัญหาได้

จริง ๆ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ ประชาชนเลยครับ.... แต่อยู่ที่ หน่วยงานและผู้บริหารที่เหลาะแหละ...และปล่อยปละละเลยกัน ซึ่งคนพวกนี้ต่างหากคือ "ปัญหา"

ผมยังจำบรรยากาศ ตอนที่ เค้าประกาศย้าย ตลาดนัดสนามหลวงไปอยู่จตุจักรได้...ซึ่งเรื่องนี้ในเวลานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่สุดท้าย  เราก็มีสวนจตุจักรที่ใหญ่โตระดับโลก ผู้ขาย..ผู้ซื้อ ก็ปรับตัวไปตามที่เราจัดการให้มันถูกต้อง

กรณีล่าสุดเรื่อง  "คลองถม" นี่ก็เช่นกัน  ถ้าหย่อนยาน ยอมให้แก่ผู้ค้าที่เห็นแก่ตัว (ทั้งถ่ายทั้งทิ้งสิ่งปฎฺิกูลไว้จนชาวบ้านที่นั่นแสนระอา) และสุดท้ายเมื่อทำได้  คลองถม จะกลับมาเป็นคลองถมที่สวยงามอีกในที่สุด

  การอ้างปัญหาเรื่อง "ยากจน" ใช้ไม่ได้สำหรับการเบียดบังและทำผิดกฎหมายครับ

กรณีหาดใหญ่... ยังอยู่ในวิสัยแก้ไขได้ครับ เพียงแต่ ต้องหาคนที่กล้าหาญ และไม่ยึดโยงกับเรื่องของ "การเมือง" ซึ่งผมมองว่าในห้วงเวลาที่ มีรัฐบาล คสช. หลายอย่างควรจะได้มีการรื้อฟื้นและทำกันโดยไม่ต้อง ลูบหน้าปะจมูก (ฐานเสียง) ใครอีก!



..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

peeak

น่าเจ็บใจตรงที่เราเคยมีใช้แทบจะเป็นชาติแรกในเอเชีย...ถูกยกเลิก...ไม่งั้นมันจะเป็นมาตรฐานในการพัฒนาในยุคปัจจุบันได้เลย

www.youtube.com/watch?v=fdiaj6YM1hE

Mr.No

อ้างจาก: peeak เมื่อ 12:46 น.  14 มี.ค 58
น่าเจ็บใจตรงที่เราเคยมีใช้แทบจะเป็นชาติแรกในเอเชีย...ถูกยกเลิก...ไม่งั้นมันจะเป็นมาตรฐานในการพัฒนาในยุคปัจจุบันได้เลย

www.youtube.com/watch?v=fdiaj6YM1hE

ขอบคุณ peeak สำหรับคลิป นี้...ผมยังทันรถรางครับ ได้นั่งด้วย ตอนนั้นคุณพ่อรับราชการอยู่กรุงเทพฯ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

มันไม่เหมาะครับ

ดูจาก factors ต่างๆแล้วทั้งในแง่ของความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนน ในแง่ของการทำความเร็ว ในแง่ของความสามารถในการขนคนจำนวนมากในชั่วโมงเร่งด่วน ในแง่ของความเหมาะสมของสังคม พฤติกรรมคนไทย

มองยังไง รถราง ก็ไม่เหมาะสม ต่อให้คุณยกตัวอย่างอีกล้านแปดจากต่างประเทศ แต่คุณๆท่านๆต้องกลับมาสู่โลกความจริงก่อนคิดจะบอกคนอื่นว่าตัวเลือกนี้เป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง ที่ดีกว่า คือจริงๆจะเป็นโมโนเรล รถราง จุดประสงค์คือใช้ขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนตัว มีตารางเวลาเดินรถแน่นอน ผู้ใช้บริการไม่ต้องนั่งเดาว่าอีกกี่นาทีจะถึง ไม่ต้องโบกให้จอดว่าจะไปไม่ไป

ญี่ปุ่นก็มีการนำระบบโมโนเรลไปใช้กันหลายเมือง ทั้งๆที่สภาพถนนเค้าก็เอื้อต่อการทำรถราง ทั้งๆที่พลเมืองเค้ามีวินัยติดอันดับโลก ทั้งๆที่พฤติกรรมบนท้องถนนบ้านเค้าให้เกียรติคนเดินเท้าก่อนเสมอ แต่ก็ยังเลือกใช้ระบบรางเบาเดี่ยว

ที่น่าแปลกใจคือ จขกท พยายามบอกว่ารถรางนั้นดีกว่า แต่จขกทไมาคำนึงถึง social behaviour ของสังคมไทย ซึ่งมันต่างจากต่างประเทศในแถบยุโรป ในอเมริกา มากๆ ที่พยายามจะบอกว่าแก้ปัญหาที่ต้นตอ คืออันนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับระบบเลย วินัยมันต้องสอน ต้องถูกอบรบ และบังคับใช้เริ่มที่สถาบันครอบครัวเป็นอันดับแรก ก่อนจะเข้าสู่ระบบสังคมหมู่บ้าน โรงเรียน สังคมเมืองต่อไป

ต่อให้สร้างรถรางมา แต่ behaviour พวกเราส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยน รับประกันได้ว่าเละยิ่งกว่าโจ๊ก มั่วยิ่งกว่าเดิม คนจะด่าตามหลังให้แซดเชียวแล

jonah


รักชาติไทย

[size=24ptน่าจะเริ่มที่รถเมล์  รถเมลไฟฟ้า  รถราง  และ รถไฟใต้ดิน  อันนี้เป็นความฝันอันสูงสุด
[/size][/size]

Mr.No

อ้างจาก: มันไม่เหมาะครับ เมื่อ 10:43 น.  16 มี.ค 58
ดูจาก factors ต่างๆแล้วทั้งในแง่ของความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ถนน ในแง่ของการทำความเร็ว ในแง่ของความสามารถในการขนคนจำนวนมากในชั่วโมงเร่งด่วน ในแง่ของความเหมาะสมของสังคม พฤติกรรมคนไทย

มองยังไง รถราง ก็ไม่เหมาะสม ต่อให้คุณยกตัวอย่างอีกล้านแปดจากต่างประเทศ แต่คุณๆท่านๆต้องกลับมาสู่โลกความจริงก่อนคิดจะบอกคนอื่นว่าตัวเลือกนี้เป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง ที่ดีกว่า คือจริงๆจะเป็นโมโนเรล รถราง จุดประสงค์คือใช้ขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนตัว มีตารางเวลาเดินรถแน่นอน ผู้ใช้บริการไม่ต้องนั่งเดาว่าอีกกี่นาทีจะถึง ไม่ต้องโบกให้จอดว่าจะไปไม่ไป

ญี่ปุ่นก็มีการนำระบบโมโนเรลไปใช้กันหลายเมือง ทั้งๆที่สภาพถนนเค้าก็เอื้อต่อการทำรถราง ทั้งๆที่พลเมืองเค้ามีวินัยติดอันดับโลก ทั้งๆที่พฤติกรรมบนท้องถนนบ้านเค้าให้เกียรติคนเดินเท้าก่อนเสมอ แต่ก็ยังเลือกใช้ระบบรางเบาเดี่ยว

ที่น่าแปลกใจคือ จขกท พยายามบอกว่ารถรางนั้นดีกว่า แต่จขกทไมาคำนึงถึง social behaviour ของสังคมไทย ซึ่งมันต่างจากต่างประเทศในแถบยุโรป ในอเมริกา มากๆ ที่พยายามจะบอกว่าแก้ปัญหาที่ต้นตอ คืออันนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับระบบเลย วินัยมันต้องสอน ต้องถูกอบรบ และบังคับใช้เริ่มที่สถาบันครอบครัวเป็นอันดับแรก ก่อนจะเข้าสู่ระบบสังคมหมู่บ้าน โรงเรียน สังคมเมืองต่อไป

ต่อให้สร้างรถรางมา แต่ behaviour พวกเราส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยน รับประกันได้ว่าเละยิ่งกว่าโจ๊ก มั่วยิ่งกว่าเดิม คนจะด่าตามหลังให้แซดเชียวแล

ผมอยากให้ลองอ่าน แนวคิดและกรอบการศึกษาการนำระบบรางรถราง (Street Car System Concept Plan) ของเมืองพอรต์แลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐฯ  (http://www.portlandoregon.gov/transportation/article/321180)  ซึ่งผมคิดว่าน่าจะช่วยให้หลายข้อสงสัยที่คุณระบุนั้น มีคำตอบในเชิงวิชาการมากขึ้น (เอกสาร pdf ประมาณ 100 หน้าเศษ แต่น่าสนใจครับ)

เหตุผลเดิมของการเลือกระบบขนส่งมวลชน คือ แนวคิดในการขนถ่ายย้ายมนุษย์ให้มากและรวดเร็วนั้น ได้ถูกศึกษาและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแนวคิดใหม่โดยเฉพาะเมืองหลายเมืองในโลก คือ นอกจากจะเป็นเครื่องมือในการขนถ่ายคนแล้ว จะต้องเป็นเครื่องมือในการสร้างเมือง หรือแก้ปัญหาเมืองที่กำลังล่มสลายได้ด้วย

ปัจจุบัน รถราง เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาเมือง เช่นปัญหาการฟื้นตัวของด้านเศรษฐกิจชุมชน สองฝังตลอดแนวราง, การเชื่อมต่อชุมชนต่อชุมชนเพื่อให้มีการขยายตัวมากขึ้น...เป็นสังคมเดียวกันมากขึ้น ซึงนั่นหมายถึง งาน,ผุู้คน,ความสัมพันธ์ในชุมชน ฯลฯ ส่งผลให้เกิดสังคมที่พึงประสงค์มากขึ้น

ความสำเร็จของพอรต์แลนด์ ทำให้อีกหลายเมืองในสหรัฐ ฯ กำลังเดินตามไม่ว่าจะเป็น แอตแลนต้า,แอลเอ,ซินซิเนติ,หรือล่าสุดอย่าง มิววัลกี

ผมกำลังสงสัยว่า ท่านไม่บอกหน่อยรึครับว่า นอกจากโมโนเรลแล้ว ที่ญุุี่ปุ่น ก็ยังมีรถรางใช้กันมากมายหลายเมืองเช่นกัน

โมโนเรลนั้น อาจจำเป็นสำหรับโตเกียว เพราะมันใหญ่โตและสังคมมีความซับซ้อนเกินกว่าจะนำรถรางมาแก้ได้ และการลงทุนสร้างระบบโมโนเรลแล้วก็จำเป็นต้องสานต่อ เพื่อมิให้เกิดปัญหาซึ่งก็คงต้องเป็นแบบที่กรุงเทพฯ  อันนี้ผมถือเป็นเรื่องปกติ

แต่ทำไม่ถึงไม่ลองดูอีกหลายเมืองนับจำนวนไม่ถ้วนในญี่ปุ่นที่ รถราง(Street Car) คือยานพาหนะที่คนญี่ปุ่นใช้กันมายาวนานจนถึงวันนี้ก็ยังไม่เลิกใช้


[attach=1]

ตัวอย่างรถรางรุ่นใหม่ ๆ ของญี่ปุ่น


ท้ายสุด การพูดถึงรถรางที่ มิวเวากี้ อเมริกา โดยประธานกลุ่มแมนพาวเวอร์ อเมริกาไว้น่าสนใจครับ

"We support the proposed streetcar because it makes powerful economic sense as part of a larger growth strategy for Milwaukee that is already generating billions in new development and thousands of jobs for our community. The streetcar will connect the dots between these major new developments and provide the momentum to spark the next wave of economic development and job creation,"

Jeff Joerres, Executive Chairman of ManpowerGroup






..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง

ที่เอามาให้ผมอ่าน สรุปเป็นข้อๆนะครับ

1. Connect the dots between major developments
หรือ เชื่อมแหล่งพัฒนาที่สำคัญๆในเมือง เฉกเช่น จุด A ไป จุด B

คำถามคือ แล้ว Monorail ไม่เชื่อมหรือ??

2. เศรษฐกิจสองข้างทางพัฒนาขึ้น อย่างที่คุณอ้าง

คำถามคือ แล้ว Monorail ไม่ส่งเสริมตรงจุดนี้หรือ ไม่ทำให้มูลค่าที่ดิน และการพัฒนารูปแบบที่ดินที่ติดแนวรถไฟฟ้าดีขึ้นหรือ??

3.เชื่อมสังคมให้เป็นสังคมเดียวกัน
คำถามคือ ห๊ะแล้วตกลง Monorail วิ่งที่ความสูง 3 หมื่นฟุตแบบเครื่องบินหรือ ถึงพยายามจะบอกว่ามันเชื่อมไม่ได้เหมือนรถราง

4. ที่ไม่พูดถึงเลยคือ วินัย พฤติกรรมของคนไทย ลักษณะนิสัยของคนใช้รถใช้ถนน และอีกทั้งยังมีร้านค้าลุกล้ำเขตทางเท้า

สิ่งเหล่านี้ เมืองต่างๆที่คุณยกมา มี pattern เหมือนเรารึเปล่า ผมตอบให้ก็ได้ว่า ไม่เลย หากให้เปรียบก็เหมือนกับ หน้ามือและหลังตีน อันนี้ Facts นะครับ

คือการคิดจะเสนอรูปแบบขนส่งมวลชนอีกรูปแบบไม่ผิดหรอกครับ แต่คุณยังขาดความเข้าใจในแง่ของ Social Behaviour ที่มีผลเป็นอย่างมากต่อการตอบโจทย์ของ Demographics นั้นๆ สังคมในยุโรปก็เป็นอีกแบบ สังคมเราก็เป็นอีกแบบ เอาง่ายๆแค่วินัยเรื่องการใส่หมวกกันน๊อก เอาง่ายๆแค่เรื่องการจอดให้คนข้ามถนนก่อน เอาง่ายๆแค่เรื่องห้ามจอดในช่องหมากรุกที่เข้าเว้นไว้ บนถนนทางหลวง แต่รถส่วนใหญ่ก็ไม่สนใจ หรือเอาเรื่องการตัว เรื่องการใช้สัญญานไฟ Turn Signal เยอะแยะครับที่บ้านเราตรงจุดนี้ไม่เหมือนเค้า และถ้าเพียงคิดว่าเลือกใช้รถรางเหอะ แล้วค่อยไปหวังให้คนขับรถมันเปลี่ยนนิสัยเอง คนขี่มอไซมันไปดัดสันดานเอง

ขอบอก ณ ตรงนี้เลยครับ ว่าเป็นเรื่องยากมาก แล้วโครงการมันจะล้มเอาง่ายๆ

คืออย่างมองอะไรด้านเดียว เพียงเพราะเห็นว่าเมืองนี้ใช้แบบนี้ เราต้องเอาแบบเค้า ทั้งๆที่ปัจจัยในแง่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง หลักๆคือ วินัย พฤติกรรม ของสังคมบ้านเรามันไม่เหมือนเค้า และมันไม่เอื้อต่อระบบรถราง tram

คืออย่าตัดเสื้อให้คนทั้งโลกตัวเดียว อะไรที่เหมาะสมกว่าก็ควรเปิดรับมันหน่อย ไม่ใช่ค้านแบบชั้นจะเอาแบบนี้นะ เมืองนอกเค้าใช้อยู่ แบบอื่นกลายเป็นไม่ดีไปเสียหมด