ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

!!! วันสุดท้าย มหกรรมลดราคาสินค้าเกษตร ด่วน!! ที่ www.kokomax.com

เริ่มโดย ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ, 22:36 น. 03 ส.ค 58

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


ไฮ-สปีด Hi-Speed สูตรน้ำ ซุปเปอร์เข้มข้น ใช้เร่งสภาพต้นโทรม ให้กลับมาดูดี แข็งแรง พร้อมออกผล ออกดอก ได้กับพืชทุกชนิด พืชไร่-พืชสวน-ไม้ดอกไม้ประดับ

ใช้ฟื้นฟูสภาพต้นโทรมได้อย่างดี สามารถใช้ได้ในพืชทุกชนิด ฟื้นฟูสภาพต้นจากการเก็บเกี่ยว สภาพต้นขาดการดูแล ไม่ได้ให้ปุ๋ย ขาดสารอาหาร สภาพต้นโทรมจากโรคพืช ศัตรูพืช ดอกผลออกน้อย นิยมใช้ใน ต้นทุเรียน ต้นลำใย ต้นพริก มะเขือ กล้วยไม้ ชวนชม ใช้ได้ดีมากในพืชทุกชนิด


ต้นโทรมเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผลดกมากเกินไป ต้นรับไม่ไหว หรือโดนโรคและแมลง ศัตรูพืช เข้าเร้ารุม หรือเกิดจากดินเป็นกรด ธาตุอาหารหรือสารอาหารพืชไม่เพียงพอ ต้นเหลือง โทรม อาการข้าวเหลืองหน้าหนาว ,เพลี้ยลง,โรคลง

วิธีการใช้ อัตรา 2 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นครั้งเดียวจะเขียวทันที ให้ฉีดพ่นในช่วงเช้ามีแดด จะดีมาก (ให้ใช้ตามปริมาณที่แนะนำเท่านั้น เนื่องจาก Hi-speed เป็นสูตรเข้มข้น และผ่านการทดสอบมาแล้ว)

ขนาดบรรจุ 250 ซีซี ราคา 490 บาท

เห็นผลทันที สำหรับพืชต้นโทรม เหลือง

โทร. 061-405-8899

LINE: @KOKOMAX

สินค้าเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com/product-th-0-5893068-ฟื้นฟูสภาพต้น+สปีด+speed.html

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


ปุ๋ย A+B สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์     **โปรโมชั่น 10 แถม 2 ถุง

สารละลาย A+B เป็นธาตุอาหารสำหรับการเพาะปลูกพืช ระบบ ไฮโดรโปนิกส์ (ผักไร้ดิน)  ชนิดผง สามารถใช้ได้ทั้งพืชกินใบ และพืชผลที่เป็นพืชเมืองหนาว  (ผักนอก) ประกอบด้วยสารละลาย (สารอาหาร) A+B ใช้ผสมน้ำได้ 2 ลิตร

วิธีผสมปุ๋ย A

1. เตรียมกระบอกตวงขนาดประมาณ 1 ลิตร
2. ใส่ปุ๋ย A1 และ A2 ลงไปกระบอกตวงทั้งหมด

3. เทน้ำลงไปให้ถึงระดับ 1 ลิตร (1,000 ซีซี) แล้วคนให้ปุ๋ยละลายจนหมด จากนั้นให้เทปุ๋ย A ที่ผสมเสร็จแล้วลงไปในขวดเปล่าเก็บไว้ใช้งานได้

วิธีผสมปุ๋ย B

1. เตรียมกระบอกตวงขนาดประมาณ 1 ลิตร
2. ใส่ปุ๋ย B1 ถึง B5 ลงไปกระบอกตวงทั้งหมด

3. เทน้ำลงไปให้ถึงระดับ 1 ลิตร (1,000 ซีซี) แล้วคนให้ปุ๋ยละลายจนหมด จากนั้นให้เทปุ๋ย B ที่ผสมเสร็จแล้วลงไปในขวดเปล่าเก็บไว้ใช้งานได้

1 ชุดประกอบด้วย ปุ๋ย A 1 ถุง และ ปุ๋ย B 1 ถุง ราคา 150 บาท


ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ

โทร.061-405-8899

LINE:  @KOKOMAX

เว็บไซต์  http://www.kokomax.com

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


แคงเกอร์ >> หนอนชอนใบ

ตอนนี้มีสมาชิกและหลายๆ ท่านได้สอบถามเข้ามาเป็นจำหนวนมากเกี่ยวกับปัญหาโรคแคงเกอร์ในมะนาว และหนอนชอนใบ ซึ่งระบาดมากในตอนนี้ ทางชมรมขอชี้แจงให้ทราบดังนี้ครับ

หนอนชอนใบ>> หนอนชอนใบนี้สาเหตุหล...ักมาจากผีเสื้อ ลักษณะการเข้ามาวางไข่จะเป็นในช่วงพลบค่ำๆ ลักษณะไข่จะเป็นฟองเดี่ยวๆ ไข่หนอนนี้จะมีเวลา 3-5 วันจะฟักออกเป็นตัวและชอนเข้าไปกินในใบ ขับถ่ายอยู่ภายใน จะเจริญเติบโตเต็มที่ใน 14-16 วัน ถามว่าการทำลายของหนอนชนิดนี้เป็นอย่างไร ตอบดังนี้ครับหนอนจะชอนอยู่ระหว่างใบจะทำทางเดินอาศัยในระหว่างผิวใบทั้ง 2 ด้าน สังเกตได้ว่าใบที่ถูกทำลายจะเห็นทางเดินของหนอนคดเคี้ยวไปมา อันนี้ละครับ หนอนชอนใบ จะพบระบาดมากในช่วง มิถุนายน กรกฎาคม ช่วงนี้ การกำจัดในทางชีวภาพนั้นจะใช้ บีที-โกลด์ ในการควบคุม โดยใช้อัตรเข้มข้น 1 ซอง ต่อน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่น เน้นย้ำให้ชุ่มในบริเวณที่หนอนอยู่ ฉีดทุก 3 วัน ในอาทิตย์แรก และเว้น 10-15 วันครั้ง

**ให้ดีที่สุดคือป้องกันที่ต้นเหตุ หลายๆท่านคิดแต่กำจัดไม่ได้คิดถึงต้นเหตุ ให้ใช้โอแบค 1 ขวด ผสมน้ำ 400 ลิตร ฉีดพ่น 15 วันครั้ง เพื่อป้องกันการเข้ามาของแม่ผีเสื้อ

โรคแคงเกอร์>> แคงเกอร์นี้เป็นโรคประจำตัวของพืชในตระกูลส้ม โรคนี้จะเกิดจากแบคทีเรีย เป็นสาเหตุ ระบาดกันมากครับในตอนนี้ สังเกตอาการ ใบจะนูน เป็นสีน้ำตาลเล็ก ล้อมรอบด้วยวงเหลืองๆ ตรงกลางบุ๋มๆ เกิดได้ทั้ง 2 ด้านของใบ อันนี้ละครับ แคงเกอร์ เกิดจากแบคทีเรีย ก็ต้องกำจัดด้วย โคโค-แมกซ์ ทีนี้ การใช้โคโค-แมกซ์ ให้เกิดผลมากที่สุดทำยังไง เรียนแบบนี้ครับ หากเป็นถัง 20 ลิตร ให้ใช้อัตรา 5 ช้อนแกง หรือ 80-100 กรัม เป็นสูตรที่ใช้ในช่วงระบาดหนัก นำแช่ในน้ำที่ท่านจะฉีดสัก 3-4 ชั่วโมง แต่ถ้าพอมีเวลาให้แช่เช้า ออกไปทำงาน แล้วเย็นกลับมาฉีดก็ได้ผลดี อาทิตย์แรกฉีดได้สัก 2 ครั้งก็ได้ หลังจากนั้น 10-15 วันครั้ง ตามลำดับครับ หากใช้ถัง 200 ลิตรก็เทียบอัตราส่วนเดียวกันได้

ขอบคุณครับ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com/

LINE ID: @KOKOMAX

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


การดูแลพริกจินดา

พริกจินดาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่เหมาะสม เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี
พันธุ์ที่แนะนำให้ปลูก
ห้วยสีทนพริกชี้ฟ้า หัวเรือ พริกสร้อย พริกจินดา และพริกนิ้วนาง เป็นต้น
วิธีการปลูกการเตรียมดินมีลักษณะแตกต่างตามสภาพดินและวิธีการใช้น้ำดังนี้การ
ปลูกพริกในสภาพไร่อาศัยน้ำฝนกำหนดแถวปลุกให้แถวคู่ห่างกัน 1.20 เมตรระยะระหว่างแถว 0.5 เมตร และระยะระหว่างต้น 0.5x0.5 เมตร

การปลูกพริกในเขตชลประทานมีการยกแปลงปลูก แปลงกว้าง 0.8 เมตร ร่องน้ำ 0.25 เมตร ยาว 10 - 20 เมตร
การปลูกในสภาพดินเหนียวเขตภาคกลางเป็นการปลูกพริกแบบสวนยกร่องขนาดแปลงกว้าง 4 - 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1 เมตร ลึก 0.5 - 1 เมตร
การเตรียมเมล็ดพันธุ์และการเพาะกล้าก่อนเพาะกล้า ควรนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำไว้ 1 คืนแล้วใช้ผ้าขาวบางห่อเมล็ดเก็บไว้ในที่ชุ่มชื้น 2 - 3 วันจึงนำไปเพาะในแปลงหรือกระบะเพาะต่อไป เมื่อต้นกล้าพริกอายุ 30 วันหรือมีใบจริงประมาณ 5 ใบให้ย้ายกล้าพริกลงแปลงที่เตรียมไว้โดยใช้ระยะปลูกดังนี้
การปลูกพริกในสภาพไร่อาศัยน้ำฝนใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตรระหว่างแถว 100 เซนติเมตร
การปลูกพริกในสภาพเขตชลประทานหรือที่ลุ่มแบบยกร่องใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร

การบำรุงรักษา
การให้น้ำพริกไม่ต้องการน้ำมากนัก กรณีดินแห้งเกินไปและไม่อาจให้น้ำได้ก็ควรใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว
การใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 1 กำมือ ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ ไร่ หว่านหรือรองก้นหลุมก่อนปลูกหลังจากปลูก 7-15 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัม/ ไร่ และใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 3 สูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัม/ ไร่ ใส่หลังปลูก 45 วัน
ทางใบฉีด พ่นด้วยฮอร์โมนช้อนเงิน และฮอร์โมนช้อนทอง จะทำให้พริกดก สมบูรณ์ เพิ่มธาตุอินทรีย์ในดิน ได้ผลผลิตมากยิ่งขึ้น

โรคแมลงศัตรู

โรคเหี่ยว
เชื้อแบคทีเรียต้นพริกจะเหี่ยว ฟื้นตัวในเวลากลางคืน แสดงอาการ 2 - 3 วัน แล้วจะเหี่ยวตาย การป้องกันกำจัดพ่นด้วยโคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำไปฉีดพ่นในตอนเย็น
เชื้อราพริกเริ่มมีอาการใบเหลืองบนใบที่อยู่ด้านล่างแล้วต่อมาใบที่อยู่ถัดขึ้นมาค่อย ๆ มะเขือเปราะเหลืองมากขึ้น ทำให้ดอกและผลอ่อนร่วงหล่นต้นพริกจะยืนต้นตาย

โรคแอนแทรคโนสผลพริกเป็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบุ๋ม ทำให้ผลผลิตเน่าเสียหาย ป้องกันกำจัดพ่นโคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำไปฉีดพ่นในตอนเย็น

เพลี้ยไฟระบาดมากฤดูแล้งทำลายใบอ่อน ยอดอ่อน ออกดอกขอบใบม้วนขึ้นด้านบน ป้องกันกำจัด พ่นด้วย ลาเซียน่า อัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตรผสมสารจับใบ 1 ช้อนชา

ไรขาวระบาดมากช่วงฝนตกชุกทำลายใบพริก ยอดอ่อน ตาดอกขอบใบจะม้วนลงด้านล่าง ยอดหยิกเป็นฝอย ป้องกันกำจัด พ่นลาเซียน่า อัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ 1 ช้อนชา

อายุการเก็บเกี่ยวพริกจะออกดอกหลังจากปลูกย้ายกล้า 60 - 70 วัน เริ่มเก็บผลสุก 90 - 100 วันเก็บเกี่ยวได้ทุก 5 - 7 วัน หรือเดือนละ 4 - 6 รุ่น

รายละเอียดเยอะมากที่ http://www.kokomax.com

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


เทคนิคบังคับให้กล้วย "ออกกลางต้น"

1. เลือกกล้วยที่มีอายุไม่เกิน 7 เดือน

2. เมื่อต้นกล้วยมีอายุ 9-10 เดือน ให้สังเกตใบที่ม้วนเหมือนธงตรงกลางด้านบนของต้นกล้วย ซึ่งใบจะม้วนห้อยลงมาด้านล่างประมาณ 3 ใน 4 ส่วน หรืออาจจะสังเกตจาการนับการเจริญเติบโตของใบกล้วย เมื่อนับใบกล้วยจนถึง 33 ใบ จากนั้นจะสังเกตเห็นใบกล้วยเพิ่มขึ้นมาอีกประมาณ 6-8 ใบ แต่มีขนาดเล็กลงจากใบทั้ง 33 ใบ และจะเห็นปลีหรือดอกของกล้วยเริ่มโผล่ออกมา

3. วัดระยะจากพื้นดินขึ้นไปยังต้นกล้วยประมาณ 1.50 เมตร แล้วเจาะลำต้นกล้วยใ...ห้กว้าง 10 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า โดยใช้มีดขว้านเข้าไปในเนื้อลำต้นกล้วยเรื่อยๆ จนถึงชั้นหยวกกล้วย แล้วให้ตัดหยวกกล้วยทิ้ง นำแผ่นกระดาษลูกฟูกหรือฟิวเจอร์บอร์ดที่มีขนาดใหญ่กว่าแผลเล็กน้อยเจาะเข้าไปด้านบนของช่องที่เจาะไว้ เพื่อการป้องกันไม่ให้หน่อกล้วยที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่แทงขึ้นไปด้านบนยอดต้นกล้วย

4. สำหรับการเจาะด้วยฟิวเจอร์บอร์ดลงไปในแผลกล้วย เราจะพ่นยากันเชื้อราเข้าไปที่แผลทันที เพื่อกันเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคและเกิดขึ้นได้ง่ายในกล้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในวิธีบังคับกล้วยให้ออกกลางต้น และหลังจากนั้นให้พ่นยาฆ่าเชื้อราทุกสัปดาห์ จนเกิดกล้วยหน่อใหม่โผล่ขึ้นมาได้ ประมาณ 1 เดือน

5. มีการดูแลรักษา ให้น้ำกล้วยแบบปกติเหมือนกล้วยทั่วไป ซึ่งผลผลิตกล้วยไข่จะใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 60 วัน ออกผลเฉลี่ย 140 ผล/เครือ กล้วยหอมใช้เวลาเฉลี่ย 70 วัน ออกผลประมาณ 105 ผล/เครือ ส่วนกล้วยน้ำว้าใช้เวลา 97 วัน ออกผลทั้งหมด 140 ผล/เครือ

ผู้สนใจติดต่อสอบถาม คุณนิคม วงศ์นันตา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ (โทร. 08-1951-5287)

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com
ติดตามข่าวสารวงการเกษตร โดยเพิ่มเราเป็นเพื่อน LINE ID: @KOKOMAX

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


โรคราน้ำค้าง(Downy mildew)

โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วนพวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ  ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน  โรคระบาดรวดเร็วมากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น  ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว  เมื่อแตงกำลังให้ผล  ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด

1.  คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย โคโค-แมกซ์ แช่ทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำไปเพาะ

2.  ใช้โคโค-แมกซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง

เว็บเกษตรอันดับ 1 ที่ http://www.kokomax.com

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


เว็บช็อปปิ้งด้านเกษตรอินทรีย์อันดับ 1 ที่ http://www.kokomax.com

โทร.061-405-8899 LINE: @KOKOMAX
Facebook: kokomaxthailand

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


เว็บช็อปปิ้งด้านเกษตรอินทรีย์อันดับ 1 ที่ http://www.kokomax.com

โทร.061-405-8899 LINE: @KOKOMAX
Facebook: kokomaxthailand

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


เว็บช็อปปิ้งด้านเกษตรอินทรีย์อันดับ 1 ที่ http://www.kokomax.com

โทร.061-405-8899 LINE: @KOKOMAX
Facebook: kokomaxthailand


ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ



เว็บช็อปปิ้งด้านเกษตรอินทรีย์อันดับ 1 ที่ http://www.kokomax.com

โทร.061-405-8899 LINE: @KOKOMAX
Facebook: kokomaxthailand


ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


ปลูกผักบุ้งไม่ต้องรอก้านอวบ ใบเขียว แค่ 7-12 วันเก็บทานได้ มาดูวิธีปลูกกัน

ทุกวันนี้กระแสการรับประทานต้นอ่อนกำลังมาแรงมาก เพราะการรับประทานต้นอ่อนของพืชนั้นจะได้ทั้งความอร่อยและประโยชน์มากมายสูงสุดยิ่งกว่าตอนที่มันเติบใหญ่จนต้องกลายเป็นพืชที่โตเต็มวัยเสียอีกทั้งนี้ก็เพราะต้นอ่อนของพืชชนิดต่างๆจะมีรสชาติที่ดีและมีความหวานแบบกรุบกรอบอีกทั้งยังไม่ต้องใช้สารเคมีในการปลูกก็สามารถนำมาบริโภคได้ดังนั้นมันจึงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคแม้แต่น้อย เพราะฉะนั้นเรื่องราวที่เราจะนำม...าเล่าต่อกันฟังในวันนี้จึงเป็นเรื่องราวของ ต้นอ่อนผักบุ้ง นั่นเอง

ต้นอ่อนผักบุ้ง นั้นเป็นพืชที่ปลูกง่ายไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังใช้เวลาในการปลูกไม่นานก็สามารถนำมาใช้บริโภคได้แล้ว โดยการนำมาประกอบอาหารก็ไม่ต่างจากการบริโภคผักบุ่งโตเต็มวัย เช่นสามารถนำไปผัดผักบุ้งไฟแดง นำไปยำผักบุ้งกรอบ หรือนำไปประกอบอาหารชนิดอื่นๆ ได้ตามใจชอบ ที่สำคัญมันจะมีความอร่อยและมีสารอาหารที่มากกว่าผักบุ้งต้นใหญ่เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

วิธีการปลูกต้นอ่อนผักบุ้ง
สำหรับการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งนั้นมีอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก็คือเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งดินละเอียดที่ผสมขุยมะพร้าวและแกลบดำ โดยดินดังกล่าวต้องไม่เค็มและไม่เปรี้ยว ซึ่งจะใส่ปุ๋ยมูลไส้เดือนก็ยิ่งดี หรือจะไม่ใส่เลยก็ยังได้ นอกจากนี้ก็ต้องมีกระบะเพาะหรือตะกร้า ฝักบัวรดน้ำ โดยวิธีการปลูกก็ไม่ยุ่งยาก นั่นก็คือจะต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ไปแช่น้ำไปประมาณ 1 คืน หรือ 8 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำมาใส่ตะแกรงให้เสด็ดน้ำโดยใช้เวลา 10-20 นาที แล้วจึงให้ทำการบ่มเมล็ดโดยนำไปห่อในผ้าขาวบางทิ้งไว้ประมาณ 20 ชั่วโมง มันจะมีตุ่มเล็กๆ งอกออกมา ต่อจากนั้นให้นำดินมาใส่กระบะเพาะแล้วนำเมล็ดพันธุ์มาโรยในกระบะให้สม่ำเสมอ อย่าให้แน่นให้บางจนเกินไป และโรยดินบางๆ กลบ

เมื่อปลูกในกระบะเพาะเรียบร้อยแล้วให้ทำการรดน้ำให้ชุ่ม แต่ต้องรดน้ำโดยฉีดเป็นละอองฝอยและอย่าให้น้ำแรงจนเกินไปเพราะจะทำให้เมล็ดกระเด็น ซึ่งในช่วงการปลูกแรกๆ จะต้องดูแลใกล้ชิดอยู่สักหน่อยโดยจะต้องไม่ให้ดินแฉะหรือแห้งจนเกินไป ประมาณ 7-12 วัน ก็สามารถนำไปขายหรือสามารถนำไปบริโภคได้

ต้นอ่อนผักบุ้งนั้นมีรสชาติดีจึงทำให้เมื่อใครต่อใครได้รับประทานต่างติดใจในรสชาติเพราะถึงแม่ว่าผักบุ้งต้นใหญ่จะมีความอร่อยแต่ต้นอ่อนผักบุ้งกลับมีความอร่อยยิ่งกว่ายิ่งการปลูกก็ยิ่งง่ายดายยิ่งกว่าการปลูกต้นอ่อนอีกหลายๆชนิดที่สำคัญมันสามารถขายได้ราคาดีและมีต้นทุนในการปลูกน้อยจึงทำให้การปลูกต้นอ่อนผักบุ้งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจสุดๆ ไปเลย

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก มติชนออนไลน์ นะคะ

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com

ติดตามข่าวสารวงการเกษตร โดยเพิ่มเราเป็นเพื่อน LINE ID: @KOKOMAX

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ

โรคแคงเกอร์ในมะนาว แก้ไขอย่างไร



สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv.citri ( Hasse )Dye. ลักษณะอาการ ใบส้มแสดงอาการจุดนูนสีน้ำตาลเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยวงเหลือง พบทั้งสองด้านของใบ จุดเกิดกระจัดกระจายหรืออาจรวมกันทำให้เป็นแผลกว้าง เนื้อเยื่อกลางจุดนูนสีน้ำตาลจะหยาย และมักบุ๋มตรงกลาง อาการที่ผลเห็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อกลางจุดมักแตกเป็นแอ่ง จุดแคงเกอร์บนผลที่เป็นโรคมากจะเชื่อมตัวกันเป็นแผลกว้างบนผล เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายกิ่งและลำต้น
ทำให้เป็นจุดแตกนูนสีน้ำตาลบนกิ่ง ต้นส้มที่เป็นโรคแคงเกอร์มากผลผลิตจะลดลง ส้มที่เป็นโรครุนแรงได้แก่ มะนาว มะกรูด ส้มเขียวหวาน และส้มโอ การแพร่ระบาด เชื้อแบคทีเรียกระเซ็นทางน้ำ และลมฝนจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก

วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวนและกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วย การป้องกันกำจัด ใช้กิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค ตัดแต่งกิ่ง ลำต้น ใบ ผล ที่เป็นโรคเผาทำลายและฉีดพ่นป้องกันด้วยสารชีวภาพกำจัดโรคพืช โคโค-แม็กซ์ KOKOMAX อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร แช่น้ำทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำมาฉีดพ่นในตอนเย็น ทุก 3-5 วัน *กรณีระบาด หรือ 7-15 วันครั้ง *กรณีป้องกัน ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ



วิธีกระตุ้นให้มะลิออกดอกและเก็บจำหน่ายได้ในช่วงฤดูหนาว

มะลิ ไม้ดอกหอมที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมไทยแต่โบราณนานมา ด้วยความหอมเย็นอันเป็นเอกลักษณ์ คนไทยแต่โบราณจึงนิยมนำมาลอยน้ำเย็นและใช้แต่งกลิ่นอาหารคาวหวาน เพื่อเพิ่มความหอมสดชื่นชวนทาน รวมทั้งยังมีการนำไปใช้ในการตกแต่งอาคารบ้านเรือน และด้วยสีขาวและกลิ่นหอมอันบริสุทธิ์ของดอกมะลินี่เอง ที่คนไทยนิยมนำมาร้อยเป็นพวงมาลัยไว้ใช้บูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำสืบต่อกันมา นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกมะลิ เป็นสื่อสัญลักษณ์แทนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกอีกด้วย มะลิจึงกลายมาเป็นไม้ดอกสำคัญที่มีความต้องการใช้ตลอดปี จนมีการขยายพื้นที่ปลูกมะลิเชิงการค้าเพื่อเก็บดอกจำหน่ายกันมากขึ้นในปัจจุบัน

ตามธรรมชาติแล้วมะลิจะออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีดอกดกมากในฤดูร้อนและฤดูฝน ยกเว้นในฤดูหนาวหรือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ที่มะลิจะออกดอกน้อย เนื่องจากกระทบหนาวทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ดอกที่ออกมาจึงเล็กแกร็น ส่งผลให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคามะลิจึงแพงขึ้น จากผลผลิตที่ลดลง แต่ความต้องการใช้ยังคงมีเท่าเดิม ดอกมะลิที่ออกสู่ตลาดในช่วงนี้ จึงมีราคาค่อนข้างสูง

โดยราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ ณ ช่วงเวลานี้ คือ 400-600 บาทต่อกิโลกรัม หากเกษตรกรมีการวางแผนการผลิตให้ดีและมีเทคนิควิธีกระตุ้นให้เกิดดอกได้ ก็จะกลายเป็นช่วงนาทีทองของชาวสวนมะลิเลยทีเดียว

วิธีกระตุ้นมะลิให้ออกดอกในฤดูหนาว

1.วางแผนการผลิต

การวางแผนเป็นการเตรียมการว่าต้องการให้มะลิออกดอกช่วงเวลาไหน เดือนอะไร หากกำหนดเวลาได้แล้ว ให้ทำการบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์และตัดแต่งกิ่ง เช่น ถ้าต้องการให้มะลิเก็บดอกได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน จำเป็นต้องบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์ในช่วงเดือนกันยายนโดยรดน้ำ ใส่ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยเคมี เพื่อให้ต้นมะลิสมบูรณ์มีอาหารสะสมเพียงพอ และ ทำการตัดแต่งกิ่งในเดือนตุลาคม เป็นต้น

2. ตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งต้นมะลิจะสามารถกระตุ้นให้แตกกิ่งใหม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และสามารถเก็บดอกมะลิจำหน่ายได้หลังการตัดแต่งกิ่ง 30 วัน โดยการตัดแต่งกิ่งจะเน้นตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งที่ถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ และ กิ่งเลื้อย ซึ่งการตัดแต่งกิ่งมะลิที่ทำแล้วได้ผลดีในการกระตุ้นดอก มี 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ตัดแต่งแบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว เหมาะสำหรับต้นมะลิที่ยังมีอายุน้อย โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นให้มากที่สุด

วิธีที่ 2 แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น เหมาะสำหรับมะลิที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 3-4 กิ่ง แต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต

3. บำรุงต้นกระตุ้นดอก

บำรุงต้นด้วยอาหารทางใบ สูตรโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) ความเข้มข้น 2.5 % ในอัตรา 500 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม และให้ปุ๋ยทางดินเดือนละครั้งด้วยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น พร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น หรือมากกว่าตามความเหมาะสม

การดูแลมะลิในช่วงฤดูหนาวนั้น จะเน้นที่การบำรุงต้น เพื่อให้มะลิมีดอกใหญ่ไม่แคระแกร็น และในฤดูหนาวเป็นช่วงเวลาที่พืชไม่ค่อยเจริญอาหาร (สภาพหนาวเย็นทำให้เกิดกระบวนการสังเคราะห์แสงน้อย) จึงจำเป็นต้องมีการให้ปุ๋ยทางใบชนิดที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเสริม เช่น สูตร 10-45-10 ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน ในอัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร เพื่อให้พืชสามารถดึงไปใช้ได้ทันที

เพียงแค่มีการวางแผนและการจัดการแปลงปลูกที่ดีพอ ก็สามารถผลิตดอกมะลิให้มีออกมาจำหน่ายในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงนาทีทองของชาวสวนมะลิได้แล้ว

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com

ติดตามข่าวสารวงการเกษตร โดยเพิ่มเราเป็นเพื่อน LINE ID: @KOKOMAX

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


ภาพบรรยากาศวิทยาการ เสริมความรู้การดูแลต้นทุเรียน ณ ชมรมชาวสวนทุเรียน ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี โดย ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ KOKOMAX

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


พบกับสินค้าเกษตร ปุ๋ย+ยา ชีวภาพ ราคาคุ้มสุดๆ มากๆ 28-30 ธันวาคมนี้เท่านั้น ที่ http://www.kokomax.com

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


การขยายพันธ์ชมพู่ซื้อมาปลูกแค่2ต้นเล้วเอามาขยายพันธ์ุ

โดยมีวิธีการดังนี้

1ตัดยอดชมพู่(เลือกเอาที่ใบแก่ๆสีเขียวเข้ม)
2แช่น้ำยาเร่งราก
3เสียบใส่ก้อนโอเอซีส ถ้าไม่มีใช้เปลือกมะพร้าวแทนได้ค่ะ
4รดน้ำนำไปชำในที่ร่มหรือเรือนเพาะชำจนออกราก
5นำไปปลูกลงกระถางหรือถุงเพราะชำรอจนโตได้ที่
แล้วค่อยนำไปปลูก(วิธีนี้ใช้ขยายพันธ์มะนาวก็ได้ค่ะ)
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก เฟสบุ๊ค คุณ Suparwadee Pummarin ค่ะ ^^

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com

ติดตามข่าวสารวงการเกษตร โดยเพิ่มเราเป็นเพื่อน LINE ID: @KOKOMAX


ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


ลดหนักมาก!!! ปุ๋ย+ยา ชีวภาพ  วันที่ 2 แล้ว ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มียอดจำหน่ายวันแรกแล้วกว่า 1,189 ชิ้น/Unit และวันนี้เป็นวันลดราคาวันที่ 2 ท่านใดที่สนใจแจ้งได้ทุกช่องทางนะคะ ราคาวันนี้ถูกมากๆ จริงคะ คุ้มมากๆ สินค้ารับประกันจาก KOKOMAX เลือกซื้อได้เลยที่ http://www.kokomax.com

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
โทร. 061-405-8899
ไลน์ @KOKOMAX

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


สินค้ารับประกันจาก KOKOMAX เลือกซื้อได้เลยที่ http://www.kokomax.com


ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
โทร. 061-405-8899
ไลน์ @KOKOMAX

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


ทุกวันนี้ คนไทยรุ่นใหม่สนใจทำอาชีพการเกษตรกันน้อยลง เพราะมองว่า อาชีพการเกษตรเป็นงานที่หนัก ทำงานเหนื่อยยาก สายตัวแทบขาด แต่ได้ผลตอบแทนต่ำ ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ความจริง ภาคการเกษตรยังมีอีกหลายอาชีพที่น่าสนใจ เช่น อาชีพการปลูกกล้วยตานีเพื่อขายใบตอง ที่ใช้เงินลงทุนน้อย แต่ให้ผลตอบแทนสูง เรียกว่าฟันผลกำไรงามมาก ถึงร้อยละ 90 กันเลยทีเดียว

ในฉบับนี้ ขอพาท่านผู้อ่านไปพูดคุยกับ "คุณปรีชา เวฬุมาศ" หรือที่ผู้คนในชุมชนเรียกติดปากว่า "กำนันปรีชา" เกษตรกรคนเก่งรายนี้ประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพการปลูกกล้วยตานีเพื่อตัดใบขาย จนสร้างฐานะครอบครัวได้อย่างมั่นคง ปัจจุบัน กำนันปรีชาและครอบครัวพักอาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 28/2 หมู่ที่ 10 ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย โทร. (087) 349-9322

กำนันปรีชา มีจุดเริ่มต้นจากชีวิตชาวนา มีที่ดินทำกิน จำนวน 70 ไร่ แต่เส้นทางอาชีพชาวนาของเขากลับไม่ราบรื่น แม้ทำงานหนัก แต่ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ เนื่องจากทำนาปลูกข้าวได้แค่ปีละครั้ง และขายข้าวได้ราคาถูก เขาเป็นเกษตรกรที่ทำงานสู้ชีวิต เมื่อเว้นว่างจากการทำนา ก็หารายได้เสริม มารับจ้างสอยใบตองให้กับสวนกล้วยของเพื่อนบ้าน ทำให้รู้ว่า อาชีพการทำสวนกล้วยตานีเพื่อขายใบตอง ให้ผลตอบแทนที่ดีมาก
เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เขาตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพ หันมาปลูกกล้วยตานีเพื่อตัดใบขาย โดยกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อสร้างสวนกล้วยตานีเป็นของตัวเอง นับว่า อาชีพนี้ถูกโฉลกกับดวงชะตาเขามากที่สุด เพราะช่วยสร้างฐานะครอบครัวให้มั่นคง และสร้างรายได้ที่ยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้

ในครั้งแรก กำนันปรีชาทดลองปลูกกล้วยตานีเพื่อขายใบ เพียงแค่ 5-6 ไร่ ปรากฏว่า สามารถสร้างรายได้รายวัน เฉลี่ยวันละ 200-300 บาท ทำให้เขาเกิดกำลังใจ ที่จะมุมานะทำงานมากขึ้น เริ่มจากขยายพื้นที่การปลูกกล้วย พร้อมกับพัฒนาช่องทางการตลาดควบคู่กันไป ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นหลายพันบาทต่อวัน

เมื่อกำนันปรีชามั่นใจว่า เขาเลือกเส้นทางอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเองได้แล้ว ก็ไม่รีรอที่จะขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง จนทุกวันนี้เขามีพื้นที่ทำสวนกล้วยตานีกว่า 240 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินส่วนตัวของกำนันปรีชา จำนวน 70 ไร่ นอกนั้นเป็นที่ดินเช่าเพื่อนำมาปลูกกล้วย โดยจ่ายค่าเช่าในอัตรา 1,500 บาท ต่อไร่ ต่อปี คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม เพราะการทำสวนกล้วย สามารถขายใบตอง เครือกล้วย ปลีกล้วย ทุกส่วนของต้นกล้วยขายได้ทั้งหมด แล้วยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ตลอดปี หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีเงินเก็บฝากธนาคารได้ทุกปีแล้ว ยังมีเงินเหลือใช้สำหรับเปลี่ยนรถยนต์ใหม่ได้ทุกๆ 1-2 ปีอีกด้วย
การปลูกดูแลสวนกล้วยตานี

ที่ผ่านมา ภาครัฐได้จัดหาเครื่องสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้ในระบบชลประทานของพื้นที่ตำบลย่านยาว ทำให้สวนกล้วยตานีเพื่อตัดใบตองในท้องถิ่นแห่งนี้ จึงมีน้ำสำหรับใช้ดูแลสวนกล้วยตลอดทั้งปี ทำให้ต้นกล้วยไม่ขาดน้ำและเจริญเติบโตสมบูรณ์ ให้ผลผลิตที่ดี ตรงตามความต้องการของตลาด
การทำสวนกล้วยตานีของกำนันปรีชา เริ่มต้นจากการเตรียมดิน โดยใช้รถไถพรวนด้วยผาล 3 ระเบิดดินก่อนสัก 1 ครั้ง ก่อนปรับพื้นที่สวนให้เรียบ เพื่อไม่ให้น้ำขัง และไถพรวนด้วยผาล 7 ย่อยดินก่อนปลูก กำนันปรีชาจะเริ่มลงมือปลูกกล้วยในช่วงหน้าฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม
สำหรับ พื้นที่ 1 ไร่ จะใช้หน่อกล้วย 250 หน่อ ขุดหลุมกว้างลึก 30 เซนติเมตร ปลูกให้เหง้าอยู่ใต้ดิน 6-8 นิ้ว กลบดินบริเวณโคนให้แน่น ปลูกในระยะห่างประมาณ 5 ศอก ในท้องถิ่นแห่งนี้ มักเจอปัญหาพายุลมร้อนในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำให้ใบตองแตกได้ กำนันปรีชาจึงวางแผนป้องกันโดยปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น ต้นมะม่วง มะปราง ฯลฯ รอบแปลง เพื่อเป็นแนวกันลมรักษาคุณภาพใบตองไม่ให้แตกฉีกขาด

เมื่อต้นกล้วยตานี แตกใบออกมาที่ส่วนยอด กำนันปรีชาจะเริ่มดูแลใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 จำนวน 2 กระสอบ เพื่อบำรุงต้นกล้วยตานีในพื้นที่ปลูกทุกๆ 5 ไร่ ที่นี่จะนิยมใส่ปุ๋ยในช่วงฤดูฝน เฉลี่ยปีละ 2-3 ครั้ง และคอยสังเกตจากสภาพความสมบูรณ์ของต้นกล้วยตานี หากพบว่าใบกล้วยมีสีเขียวเข้ม แสดงว่า สภาพต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่ขาดธาตุอาหาร หากใบตองแก่มีสีจาง แสดงว่า ธาตุอาหารในดินเริ่มหมด ก็จะเติมปุ๋ยเคมีบริเวณโคนต้นกล้วยอีกครั้ง
สวนกล้วยตานีปลูกดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช แต่หน้าฝน อาจเจอ ด้วงงวงเจาะลำต้น หรือปัญหาใบตองเป็นรอยพรุนบ้างประปราย ก็แก้ไขปัญหาแบบง่ายๆ โดยให้ธาตุเหล็ก คือ มีดอีโต้ ตัดฟันต้นกล้วยหรือใบตองเจ้าปัญหาทิ้งซะ เมื่อใบตองรุ่นใหม่แตกยอดออกมาก็มีใบสวยพริ้ง ไร้ริ้วรอยพรุนให้เห็นกวนใจอีก ส่วนปัญหาวัชพืชที่ขึ้นในแปลงกล้วย ที่นี่จะไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าประเภทยาดูดซึมฉีดพ่นทำลายวัชพืช เพราะเสี่ยงทำให้ต้นกล้วยโทรมได้ ต้องอาศัยแรงงานคนทำหน้าที่กำจัดวัชพืชในแปลงกล้วยแทน

การเก็บเกี่ยว

หลังปลูกดูแลต้นกล้วยตานีไปได้ ประมาณ 6 เดือน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวใบตองออกขายได้บางส่วน โดยทั่วไปต้นกล้วยตานีจะให้ผลผลิตเต็มที่ เมื่ออายุครบ 1 ปี การทำสวนกล้วยตานีแห่งนี้ จะทยอยตัดใบตองแบบหมุนเวียนกันไป โดยตัดใบกล้วย ออกขายทุกๆ 15 วัน กล้วยตานี 1 ต้น จะตัดใบตองได้ 2 ยอด พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะได้ใบตอง จำนวน 500 ยอด ภายหลังการเก็บเกี่ยว จะใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ปีละครั้ง ในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนพฤษภาคม โดยพื้นที่ปลูก 5 ไร่ จะใส่ปุ๋ย จำนวน 2 กระสอบ
อย่างที่บอกตั้งแต่แรกว่า การทำสวนกล้วยตานีให้ผลตอบแทนที่สูงมาก นอกจากขายใบตองเป็นสินค้าหลักสร้างรายได้เข้ากระเป๋าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 40,000-50,000 บาทแล้ว กำนันปรีชายังมีรายได้เสริมจากการขายหัวปลี หัวละ 4 บาท เครือกล้วยอ่อน ขายหวีละ 4 บาท สำหรับผลกล้วยอ่อน ชาวอีสานนิยมนำมาสับเพื่อปรุงรสเป็นส้มตำ หรือ "ตำกล้วย" นั่นเอง ขณะที่ชาวปักษ์ใต้นิยมนำกล้วยอ่อนไปยำหรือผัด
แม้กระทั่งต้นกล้วยที่ออกเครือแล้วก็ยังมีประโยชน์ทางการค้า กำนันจะตัดต้นกล้วยไปตากให้แห้ง ขายในลักษณะปอแห้ง ในราคากิโลกรัมละ 6 บาท เรียกว่า ต้นกล้วย 1 ต้น สามารถสร้างรายได้ทุกส่วนกันเลยทีเดียว จึงไม่น่าประหลาดใจกับคำกล่าวของกำนันปรีชาที่ว่า สวนกล้วยที่ปลูกใหม่ แค่ตัดใบตองออกขายเพียงเดือนเดียว ก็มีรายได้คุ้มกับค่าเช่าที่ดินตลอดทั้งปีแล้ว

การทำสวนกล้วยตานีเพื่อขายใบ ถือเป็นอาชีพที่สบาย แถมให้ผลตอบแทนที่ดีมากๆ เพราะลงทุนปลูกแค่ครั้งเดียว สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2-3 ต้นกล้วยตานีจะขยายหน่อปลูกได้เอง เมื่อต้นแม่ตาย ก็จะแตกหน่อสร้างทายาทรุ่นใหม่ขึ้นมาแทนที่สม่ำเสมอ ทำให้มีจำนวนต้นกล้วยต่อไร่มากขึ้นแล้ว ยังตัดใบตองออกมาได้มากขึ้นอีกด้วย
การจัดการหลังเก็บเกี่ยว

ท้องถิ่นแห่งนี้นิยมตัดใบตอง วันละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเช้าและเย็น โดยคนงานจะใช้ตะขอสอยที่ก้านใบลงมา และขนกลับไปที่บ้านกำนัน โดยนำใบตองกองบนพื้น รดน้ำและใช้ผ้าใบคลุมไว้ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ให้ใบตองเหี่ยว หลังจากนั้น ภรรยากำนัน ลูกสาว และคนงานจะนั่งล้อมวงช่วยกันทำงานอย่างขะมักเขม้น เพื่อดูแลตัดแต่งใบตองก่อนพับใบตองและมัดซ้อนกันอย่างสวยงาม จนได้น้ำหนักเฉลี่ย มัดละ 5 กิโลกรัม ก่อนส่งขายแม่ค้าขาประจำ ช่วงแล้งเกษตรกรสามารถขายใบตองได้ในราคาสูง ประมาณ มัดละ 40 บาท แต่ช่วงหน้าฝน ใบตองมีราคาถูก ขายได้เพียง มัดละ 20 บาท เท่านั้น
ด้านตลาด

กำนันปรีชา บอกว่า ตลาดใบตองเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ ลูกค้ากลุ่มใหญ่คือ ร้านค้าหมูยอในภาคอีสาน นิยมซื้อใบตองตานีจากสวนแห่งนี้ไปใช้ เพราะใบตองของกำนันปรีชามีคุณภาพดี เมื่อนำไปนึ่งผ่านความร้อน ใบตองไม่ดำ เนื้อใบตองจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนสะดุดตาลูกค้า

นอกจากนี้ ใบตองตานีของไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มยุโรป อเมริกา และเอเชีย เนื่องจากมีร้านอาหารไทยอยู่เป็นจำนวนมากในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และนิยมสั่งซื้อใบตองตานีจากไทยไปใช้ประดับตกแต่งจานอาหารและห่อขนมไทย ราคาใบตองตานีของไทยขายได้ราคาแพง เฉลี่ยยอดละ 100 บาท เพราะใบตองตานีของไทย มีคุณภาพดี ในเรื่องความสด ใบสวย เหนียวและหนา เมื่อนำไปห่อขนมไทยจะไม่กรอบแตกง่ายเหมือนกับใบตองชนิดอื่น

หากใครต้องการเยี่ยมชมหรือแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำสวนกล้วยตานีเพื่อขายใบ สามารถติดต่อ กำนันปรีชา เวฬุมาศ ได้ตามที่อยู่ข้างต้น หรือที่เบอร์โทร. (087) 349-9322 กำนันปรีชายินดีแบ่งปันข้อมูลกับผู้สนใจทุกท่าน
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก มติชนออนไลน์ นะคะ

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com

ติดตามข่าวสารวงการเกษตร โดยเพิ่มเราเป็นเพื่อน LINE ID: @KOKOMAX

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ


"ข่า" สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงวันทอง

แมลงวันทอง หรือแมลงวันผลไม้ เป็นศัตรูพืชที่สำคัญอย่างหนึ่งของเกษตรกรที่ปลูกพืชผักและผลไม้ต่างๆ ซึ่งแมลงวันทองก็มีหลายชนิด บางชนิดเข้าทำความเสียหายให้กับผลผลิตของเกษตรกรตั้งแต่ผลไม้ยังมีขนาดเล็ก จนถึงผลไม้ที่สุกแก่ บางชนิดเข้าทำลายพืชผักต่างๆ เกษตรกรต่างก็มีวีการ ในการป้องกันกำจัดได้หลายวิธี เช่น การทำกับดักเหยื่อล่อ
เหยื่อล่อแมลงวันทองนั้น มีทั้งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีวางจำหน่าย และเกษตรกรยังสามารถใช้พืชสมุนไพรต่างๆ มาเป็นเหยื่อล่อได้อีกด้วย เช่น กระเพรา ,พลับพลึง , เล็บมือนาง , เดหลีใบกล้วย ฯลฯ โดยพืชเหล่านี้จะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นของแมลงวันทองเพศเมีย ดังนั้นการใช้สมุนไพรที่ดึงดูดแมลงวันทองจะสามารถกำจัดได้เฉพาะแมลงวันทองเพศผู้เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรที่มีพิษต่อแมลงวันทอง เช่น มีกลิ่นที่แมลงวันทองไม่ชอบ หรือมีพิษต่อแมลงวันทอง ดังนั้นการใช้สมุนไพรที่ป้องกันและกำจัดแมลงวันทองจะเป็นการไล่หรือป้องกันการวางไข่ของแมงวันทอง ได้แก่ ข่า

ส่วนที่ใช้ : เหง้า

วิธีการใช้
วิธีที่ 1. ตำข่า 200 กรัม เมล็ดสะเดา 200 กรัม ตะไคร้หอม 200 กรัม แช่ผสมกันในน้ำ 20 ลิตร สารสกัดที่ได้ 1 ลิตร ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดฆ่าแมลงศัตรูพืช
วิธีที่ 2. ตำข่าแก่ 1 กิโลกรัม แช่ในน้ำ 20 ลิตร นาน 1 คืน นำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่น

- ฉีดทุกๆ 5 วัน เพื่อป้องกันแมลงวันทองมาวางไข่
ขอบคุณ (คุณปิยะ ปกเกตุ ผู้เขียน)


ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com

ติดตามข่าวสารวงการเกษตร โดยเพิ่มเราเป็นเพื่อน LINE ID: @KOKOMAX

ขอบคุณ (คุณปิยะ ปกเกตุ ผู้เขียน)

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
http://www.kokomax.com

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ



เว็บช็อปปิ้งด้านเกษตรอินทรีย์อันดับ 1 ที่http://www.kokomax.com/

โทร.061-405-8899
LINE: @KOKOMAX
Facebook: kokomaxthailand