ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

จุฬา...ขยับ แล้ว มอ.หาดใหญ่?

เริ่มโดย Mr.No, 06:00 น. 20 มิ.ย 59

กาญจนสุวรรณแก้ว



อรหอย ณ.redlable



มารหลอกจิต

จริยธรรม ของ ผู้นำศาสนา...

คุณสมบัติผู้ที่จะรักษาพระศาสนาได้

คือ
๑. ต้องเป็นผู้
ก) #มีความรู้ เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ดี และ
ข) #ประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้อง ตรง เป็นธรรมานุธรรมปฏิบัติ

๒. นอกจากรู้เข้าใจเอง และปฏิบัติได้ดีแล้ว #ยังสามารถบอกกล่าวแนะนำสั่งสอนผู้อื่นได้ด้วย

๓. เมื่อมีปรัปวาทเกิดขึ้น คือ คำจ้วงจาบสอนคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนจากพระธรรมวินัย #ก็สามารถชี้แจงแก้ไขได้ด้วย

ถ้าพุทธบริษัททั้ง ๔ มีความสามารถอย่างนี้ พระองค์จึงจะปรินิพพาน ตอนที่พระองค์จะปรินิพพานนั้น มารก็มากราบทูลว่า เวลานี้พุทธบริษัท ๔ มีคุณสมบัติพร้อมอย่างที่พระองค์ได้ตรัสเหมือนกับเป็นเงื่อนไขไว้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าเป็นอย่างนั้น จึงทรงรับที่จะปรินิพพาน โดยทรงปลงพระชนมายุสังขาร
พุทธดำรัสนี้ ก็เหมือนกับว่าพระพุทธเจ้าทรงฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔ แต่ต้องมองให้ตลอดด้วยว่า ทรงฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัทที่เป็นอย่างไร ซึ่งก็ตอบได้เลยว่า ทรงฝากไว้กับพุทธบริษัทที่มีคุณสมบัติอย่างที่กล่าวมาแล้ว เริ่มด้วยรู้เข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย หรือถูกต้องตามธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ที่มา ป.อ.ปยุตโต... ส.ยกน้ิวให้

จิต ฐานิสโร

"ใจของผู้มีบุญ"

1.ไม่บ่น
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นปัญญา ทำให้เข้าใจ ยอมรับต่อความเป็นจริงของชีวิต ทำให้รู้เห็นและเข้าใจ ถึงระดับวาสนาของตนและบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเรื่องของบุญกรรมทำแต่ง ไม่บ่นต่อโชคชะตาชีวิตของตนเอง มีแต่จะมานะสร้างกรรมดีต่อไป

2.ไม่กลัว
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความเข้มแข็ง กล้าหาญ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรค และปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพราะมีความมั่นใจในความเป็นผู้บริสุทธิ์และ ความเป็นผู้มีบุญของตน เมื่อจะคิด จะทำ อะไรลงไป ล้วนมีกำลังบุญมารองรับทั้งหมดทั้งสิ้น

3.ไม่ทำชั่ว
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพ ให้เป็นตัวควบคุม บริหารจัดการ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้เกิดความกลัว ความละอายต่อบาป ต่อกรรม ความผิดน้อยใหญ่ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เห็นถึงความเสียหายหลายภพหลายชาติ เห็นถึงผลกระทบต่อครอบครัว ต่อโลกต่อสังคมอย่างมากมายมหาศาล

4.ไม่คิดมาก
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพ ให้เป็นความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้เกิดพลังแห่งความสงบแห่งจิตแห่งใจ ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่คิดเป็นทุกข์ ความคิดทุกความคิดล้วนนำมาซึ่งความเบิกบานกายใจ ไม่คิดเบิกความทุกข์มาใช้ก่อน

5. รอได้ คอยได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้น ก็จะแปรสภาพให้เป็นความใจเย็น มีความยืดหยุ่น ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่ใจร้อน ใจเร็ว เห็นถึงจังหวะและโอกาสของชีวิต

6. อดได้ ทนได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้น ก็จะแปรสภาพให้เป็นพลังงานเข้มแข็ง ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้มีความอดทนที่เป็นหนึ่งเป็นเลิศ มีความคิดที่ไม่หวั่นไหว เห็นความสำเร็จทุกชนิดมาจากความอดทน อดทนอย่างมีความสุข

7. สงบได้ เย็นได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้น ก็จะเป็นสภาพให้เป็นคนที่สงบได้ เย็นได้ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่เป็นคนที่ร้อนรน กระวนกระวาย สับส่าย วุ่นวายในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น แม้จะตกอยู่ในเหตุการณ์ที่เลวร้าย ก็ทำใจได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

8. ปล่อยได้ วางได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้น ก็จะแปรสภาพให้เป็นคนที่รู้จักการละ การวาง ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่เป็นคนที่แบกทุกอย่างที่ขวางหน้า ยึดทุกอย่างที่เกิดขึ้น

9.รู้ได้ ตื่นได้ และเบิกบานได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้น ก็จะแปรสภาพให้เป็นความรู้ ตื่น เบิกบาน ตามกำลังของบุญฤทธิ์ เป็นผู้รู้ต่อความเป็นจริงของชีวิต ไม่ปล่อยชีวิตให้ตกไปในกระแสของความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตใจมีความสว่าง อิสระเต็มที่ทุกวันทุกเวลาทุกนาที... ส.ยกน้ิวให้

เลี้ยง บุญชัย


ตรุษจีน


D-Link

กฏหมายอาจไม่ยุติธรรม...แต่กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ... ส.ยกน้ิวให้  ส.สู้ๆ ส.หลก

UFO Go so big


Karma


Leang Go6


เลี้ยงลิง แดงปากน้ำ

ข้อธรรม  ชวนคิด
******************
โทษของการไม่มีศีล
********************
      คำว่า "ศีล" ตามศัพท์แปลว่า ปกติ ,ประเสริฐ ,เกษม ,สงบหมายความว่า คนที่มีจิตเป็นปกติ ไม่ถูกกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ ครอบงำ และชักไปทำชั่วทำผิด จิตเป็นปกติ เมื่อจะทำอะไรทางกายด้วยจิตที่เป็นปกติ ก็ไม่ทำกายทุจริต เมื่อจะพูดอะไรทางวาจา ก็ไม่พูดวจีทุจริตเมื่อคิดเรื่องราวอะไรทางใจ หรือทางมนะ ก็ไม่คิดเป็นมโนทุจริต
      โทษ (อาทีนวะ) ของผู้ทุศีล คือผู้ที่ไม่มีเจตนาจะงดเว้นจากการรักษาศีล ๕ ชื่อว่าผู้ทุศีล ย่อมได้รับโทษคือ การติเตียน และการเสียชื่อเสียง ติเตียนอย่างไร ติเตียนว่าผู้นั้นเป็นคนชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดลูกผิดเมียคนอื่น ชอบพูดโกหกหลอกลวง พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นคนติดเหล้าติดยาเป็นคนเมา เป็นต้น และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เสียชื่อเสียงอย่างไร เสียชื่อว่าคนนี้เป็นคนใจร้ายไม่มีเมตตากรุณาชอบฆ่าคนฆ่าสัตว์ ชอบลักปล้นจี้ขโมยของคนอื่นเป็นคนส่ำส่อนชอบผิดลูกเมียคนอื่น เป็นคนเชื่อถือไม่ได้ชอบโกหกหลอกลวงพูดจาไม่สุภาพ และเป็นขี้เมาขี้เหล้า ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย พระพุทธเจ้าได้ตรัสโทษของการทุศีลไว้ในสีสสูตร อังคุตตรนิกาย

ปัญจกนิบาตถึง ๕ ประการคือ
    ๑. ทำให้เสื่อมโภคทรัพย์
    ๒. ทำให้ไม่กล้าหาญเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม
    ๓. ทำให้วิญญูชนติเตียน
   ๔. ใกล้ตายก็หลง
   ๕. เมื่อตายแล้วไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต[๕]
นอกจากโทษทั้ง ๕ อย่างแล้วผู้ทุศีลนั้นไม่เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ตักเตือนไม่ได้ เป็นผู้ถึงความทุกข์เพราะถูกติเตียน จะเห็นได้ว่าการไม่มีศีลมีแต่โทษมีทุกข์มากมายเกินบรรยาย

ประโยชน์หรือคุณค่าของการมีศีล
***********************************
       ผู้มีศีลนั้นท่านกล่าวว่ามีความไม่เดือดร้อนเป็นผล ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ชื่อเสียงย่อมฟุ้งขจรไปตามนัยสุภาษิตข้างต้นนั้น นอกจากนั้นอานิสงส์ของการมีศีลนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสีสสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาตตรงข้ามกับการทุศีลมี ๕ ประการคือ
      ๑. ทำให้ได้รับโภคทรัพย์สมบัติมาก
      ๒. เกียรติศัพท์อันดีย่อมฟุ้งขจรไป
      ๓. เป็นผู้องอาจกล้าหาญในการเข้าสู่ที่ประชุม
      ๔. เมื่อใกล้ตายก็ไม่หลงตาย
      ๕. เมื่อตายไปแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์[๖]

       ศีลนี้เองเป็นเหตุทำให้ผู้รักษาปฏิบัติตามย่อมก้าวสู่ทางแห่งพระนิพพานหรือการทำลายกิเลสทั้งหลายได้เป็นเหตุก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาและทำให้พ้นจากกิเลสทั้งหลายได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร[๗]ว่า

      "สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส
สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา
ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ"
        แปลว่า สมาธิที่ศีลอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาที่สมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตที่ปัญญาอบรมแล้วย่อมพ้นจากกิเลสทั้งหลายโดยชอบทีเดียว จากพระพุทธดำรัสนี้แสดงให้เห็นว่าการมีศีลหรือผู้มีศีลนั้นสามารถเข้าสู่ความพ้นทุกข์ได้เป็นทางออกแห่งทุกข์ได้

อานิสงส์ของการมีศีล
**********************
       ผู้มีศีลได้รับประโยชน์มากหลายประการดังกล่าวแล้วข้างต้น ประโยชน์ระดับพื้นฐานคือความสุขความเจริญ มีทรัพย์สมบัติ ได้รับการยกย่อง มีชื่อเสียง ในระดับกลาง คือความสุขในอนาคตเช่นการมีสุคติคือไปสู่สถานที่ดี หรือแม้ชีวิตหลังความตามก็ได้สุคติโลกสวรรค์เป็นผลของการมีศีลนั่นเอง ส่วนประโยชน์สูงสุด คือพระนิพพานก็จะได้รับเพราะการมีศีลเป็นเหตุ นี่แสดงให้เห็นว่าผู้มีศีลนั้นได้รับผลอานิสงส์ทั้ง ๓ ระดับดังกล่าวแล้ว กล่าวโดยสรุปผลหรืออานิสงส์ของศีลท่านจะสรุปไว้ในตอนท้ายศีล ๓ ประการคือ

       ๑. สีเลน สุคตึ ยนฺติ ศีลทำให้คนไปสุคติ คำว่า "สุคติ" อาจอธิบายได้ ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ แปลว่าไปดี คือคนที่มีศีลนั้นจะไปที่ไหนก็ไปดี เกินทางไปที่ไหนก็ดีปลอดภัย ไม่มีอันตราย เพราะว่าไม่เป็นอันตรายต่อคนอื่น เป็นอันตรายต่อสังคม ได้ชื่อว่าไปดี เพราะไปสู่ที่ดีได้ ที่ประเสริฐได้ คนที่มีศีลเขาก็ยกย่องให้มีฐานะ มีตำแหน่ง มีที่อยู่ มีอะไรที่ดี ๆ เพราะศีลนี้ส่งไปสู่สุคติ คือส่งให้ไปสู่ที่ดี นัยที่ ๒ สุคติหมายถึงภูมิที่ไปเกิดในที่ดี สุคติหรือภูมิที่ไปเกิดในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านแยกเป็น ๒ คือ สวรรค์ และมนุษย์ มนุษย์นี้จัดเป็นสุคติภูมิอย่างหนึ่ง อย่างคนที่ตาย ญาติมิตรเห็นเข้าเห็นเข้าก็พูดว่า ขอให้ไปที่ชอบ ๆ เถอะ คำว่าที่ชอบนั้นคือสุคตินั้นเอง ดังนั้น คำว่าสุคติจึงหมายถึงทั้งมนุษย์และสวรรค์ คนที่ไปสู่สุคติอาจจะเกิดเป็นมนุษย์อีก เพราะการเกิดในโลกมนุษย์ถือว่าเป็นสุคติภูมิ ถ้าไปเกิดบนสวรรค์ก็เป็นสุคติภูมิชั้นสูง ฉะนั้น เราควรมั่นใจควรพอใจว่าแม้เพียงศีลอย่างเดียวเราก็ไปสวรรค์ได้ ถ้าไม่ถึงสวรรค์ก็เป็นมนุษย์ ในขณะที่ยังเป็นมนุษย์อยู่จะไปในที่ใดก็ไปดี ไปประเสริฐ ดังนั้น การมีศีลจึงถือว่าเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติภูมิ

       ๒. สีเลน โภคสมฺปทา ศีลทำให้คนได้รับทรัพย์สมบัติ ข้อนี้ถ้าพิจารณาไม่ชัดอาจจะทำให้เข้าใจผิด คำว่า ศีลทำให้ได้รับทรัพย์สมบัตินั้น คือว่า คนที่มีศีลจะทำมาหากินอะไรก็ได้ยั่งยืน เพราะไม่โกงเขา ไม่ฆ่าเขา ไม่หลอกลวงเขา คนก็เชื่อถือ จะทำมาค้าขายติดต่อก็ทำงานได้ผลดี ถ้าทำราชการก็ยั่งยืน แต่ถ้าไปโกงไปกินไปคอรัปชั่นก็ถูกไล่ออก ถูกติดคุก หรือบางทีก็ถูกทำร้ายถูกฆ่าตาย ทรัพย์สมบัติจะเกิดก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น พ่อค้าส่งของไปต่างประเทศ แต่ปลอมปนสินค้าเข้าไป ในที่สุดต่างประเทศเขาก็จับได้ก็งดสั่งสินค้า ทางรัฐบาลก็ไม่ให้บุคคลนั้นหรือบริษัทนั้นเป็นตัวแทนในการส่งออกต่อไป ทรัพย์สมบัติจะเกิดก็เกิดไม่ได้ ส่วนคนมีศีล เช่น พระสงฆ์ท่านจะมีคนถวายข้าวของมากมาย เพราะท่านมีศีลตรงกันข้ามพระรูปไหนไม่มีศีลก็จะไม่ได้รับการกราบการไหว้ไม่มีข้าวของจะฉัน เพราะฉะนั้น จึงถือว่าศีลทำให้บุคคลให้ได้รับทรัพย์สมบัติ ถ้าจะยกตัวอย่างง่าย ๆ คนที่ไม่ดื่มเหล้าก็สามารถทำให้เก็บทรัพย์สมบัติได้มากไม่ต้องเสียเงินเพราะเหล้า เพราะถ้าดื่มเหล้าเมามายแล้วจะทำให้ทรัพย์สมบัติฉิบหายไปทั้งของตนและของคนอื่นด้วย

       ๓. สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ ศีลทำให้คนดับทุกข์ความเดือดร้อนเข้าสู่นิพพานได้ คำว่า นิพฺพุตึ[๘] แปลว่าดับ คือดับความทุกข์ความเดือดร้อนได้ อย่างสูงคือดับเข้าสู่นิพพานได้ คนมีศีลนั้นจะดับทุกข์ความเดือดร้อนได้ เดือดร้อนเพราะขาดศีล แต่มีความสุขเพราะการมีศีล ในปัจจุบันนี้เห็นชัดเจนว่าคนมีศีลดับทุกข์ความเดือดร้อนได้มากประสพความสุขได้มาก เมื่อจิตขึ้นสู่สมาธิแล้วก็เกิดความสงบเกิดความเยือกเย็นเพราะมีศีลเป็นพื้นฐาน คนที่ไม่มีศีลแล้วมาทำสมาธิ สมาธิก็ไม่ดีหรือทำไม่ได้ แต่ถ้ามีศีลเป็นพื้นฐานแล้วยกจิตสู่สมาธิ ศีลก็ยังยกขึ้นสู่ปัญญาในที่สุดได้ด้วย เพราะฉะนั้น ศีลก็หมายถึงการทำให้เกิดความสงบขึ้น เพราะศีลทำบุคคลให้ดับทุกข์ความเดือดร้อนได้และเพราะศีลทำให้บุคคลให้ดับทุกข์ความเดือดร้อนถึงขั้นพระนิพพาน บุคคลจะได้พระนิพพานนั้นต้องมีศีลเป็นพื้นฐาน แม้พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุพระนิพพานก็ต้องมีศีล เพราะศีลนี้เป็นบารมีข้อหนึ่งเรียกว่า ศีลบารมี

อุบายวิธีรักษาศีล
*****************
       ในการรักษาศีลนั้นมีวิธีการ คือต้องมีวิรัติเจตนา คือเจตนาในการงดเว้นจากการทำความผิดที่เป็นข้อห้าม เช่น ศีล ๕ เป็นต้น อาจแบ่งย่อยเป็น ๓ ประเภทคือ
       ๑. สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทาน คือสมาทานหรือรับเอาด้วยตนเองก็ได้ ด้วยการรับจากผู้อื่นก็ได้ เช่น การสมาทานหรือรับศีล ๕ จากพระภิกษุ เป็นต้น
        ๒. สัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้แก่ การรักษาศีลของผู้ไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล แต่มาประสบเหตุการณ์ที่จะทำให้ตนประพฤติล่วงศีล ก็ตั้งใจงดเว้นขึ้นในทันทีทันใดนั้นก็เป็นศีลเช่นกัน
       ๓. สมุทเฉทวิรัติ งดเว้นได้เด็ดขาด คือการรักษาศีลของพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านงดเว้นจากการประพฤติผิดศีล ๕ อย่างเด็ดขาด โดยไม่ต้องสมาทาน เพราะจิตของท่านเห็นโทษของการขาดศีลอย่างแท้จริง ไม่ยอมประพฤติล่วงศีล แม้จะสิ้นชีวิตก็ไม่ยอมผิดศีล เหมือนคนกลัวตายไม่ยอมดื่มยาพิษ

        เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการรักษาศีลนั้นไม่ยุ่งยาก สำคัญคือต้องมีเจตนาในการงดเว้นนั่นเอง การรักษาศีลนี้แม้จะเป็นเพียงเบื้องต้นของการปฏิบัติแต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการนำตนเข้าสู่กระบวนการพัฒนาตนเพื่อไปสู่เป้าหมายที่สูงสุด คือพระนิพพานในอนาคต...

Leang Sae-Link

PM.Prayuth and NCPO. Please used M.44 for reform buddism and these problem urgently ASAP.
Thanks so much... ส.สู้ๆ

ลิงจ๊ากๆ

ทำไมมั่นใจว่า สำนักธรรมกายเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา

ท่านพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) หรือ สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ ในปัจจุบัน  ท่านได้เขียนในหนังสือ กรณีธรรมกาย ไว้ว่า   

ปัญหาของวัดพระธรรมกาย ส่วนที่กระทบต่อพระธรรมวินัย

สำนักวัดพระธรรมกาย เผยแพร่คำสอนคลาดเคลื่อนไปจากหลักพระพุทธศาสนาหลายประการ เช่น
1. สอนว่านิพพานเป็นอัตตา
2. สอนเรื่องธรรมกายอย่างเป็นภาพนิมิต  และให้มีธรรมกาย  ที่เป็นตัวตนเป็นอัตตาของพระพุทธเจ้ามาก
มายหลายพระองค์ ไปรวมกันอยู่ในอายตน-นิพพาน
3. สอนเรื่องอายตนนิพพาน ให้เข้าใจผิดต่อนิพพาน เหมือนเป็นดินแดนที่จะเข้าสมาธิไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ได้ ถึงกับมีพิธีถวายข้าวพระ ที่จะนำข้าวบูชาไปถวายแด่พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพานนั้น
คำสอนเหล่านี้ ทางสำนักสายวัดพระธรรมกายคิดขึ้นใหม่ เป็นของนอกธรรมนอกวินัยของพระพุทธเจ้า

แต่แทนที่จะสอนไปตามตรงว่าเป็นลัทธิของครูอาจารย์ ทางวัดพระธรรมกายกลับพยายามนำเอาคำสอนใหม่ของตนเข้าใส่แทนที่หลักคำสอนเดิมที่แท้ของพระพุทธศาสนา

ยิ่งกว่านั้น เพื่อหาทางให้ลัทธิของตนเข้าแทนที่พระธรรมวินัยได้สำเร็จ สำนักวัดพระธรรมกายยังได้เผย
แพร่เอกสาร ที่จ้วงจาบพระธรรมวินัย ชักจูงให้คนเข้าใจผิด สับสน หรือแม้แต่ลบหลู่พระไตรปิฎกบาลี ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น

- ให้เข้าใจว่าพระไตรปิฎกบาลี บันทึกคำสอนไว้ตกหล่น หรือมีฐานะเป็นเพียงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เชื่อ
ถือหรือใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้
- ให้นำเอาพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ เช่น พระไตรปิฎกภาษาจีน และคำสอนอื่นๆ ภายนอกมาร่วมวินิจฉัย
พระพุทธศาสนาเถรวาท
- ให้เข้าใจเขวไปว่าหลักการของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องอภิปรัชญา ขึ้นต่อการตีความ และความคิดเห็น
ตลอดจนการถกเถียงทางวิชาการ
- อ้างนักวิชาการต่างประเทศ และการปฏิบัติของตน ดังว่าจะใช้วินิจฉัยหลักพระพุทธศาสนาได้
ฯลฯ

อีกทั้งสิ่งที่ยกมาอ้าง เช่น คัมภีร์ของมหายาน และทัศนะของนักวิชาการตะวันตก ก็ไม่ตรงตามความ
เป็นจริง หรือไม่ก็เลื่อนลอย

นอกจากนั้น ยังนำคำว่า  "บุญ" มาใช้ในลักษณะที่ชักจูงประชาชนให้วนเวียนจมอยู่กับการบริจาคทรัพย์ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ชนิดที่ส่งเสริมความยึดติดถือมั่นในตัวตนและในตัวบุคคล อันอาจกลายเป็นแนวโน้มที่บั่นรอนสังคมไทยในระยะยาว

พร้อมทั้งทำพระธรรมวินัยให้ลางเลือนไปด้วย
พฤติการณ์ของสำนักวัดพระธรรมกายอย่างนี้ เป็นการจาบจ้วง ลบหลู่ ย่ำยีพระธรรมวินัย

สร้างความสับสนไขว้เขวและความหลงผิดแก่ประชาชน
ข้อความบรรยายต่อไปนี้ ได้เขียนไว้เพื่อเป็นทางแห่งการศึกษา ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง...

Leang King Kong

เข้าใจพระพุทธศาสนาภายใน 10 นาที

1. พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?
อริยสัจ 4 คือ
ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
นิโรธ คือความดับทุกข์
มรรค คือข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์

2. พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอะไร ?
ทุกข์กับการดับทุกข์

3. ภาพรวมของพระพุทธศาสนา มีดังนี้

3.1 ให้มองโลกตามความเป็นจริง (จริงขั้นสมมุติ=สมมุติสัจจ์, จริงแท้=ปรมัตถสัจจ์) อาทิ ตัวเรามีอยู่ แต่หาใช่ตัวตนที่แท้จริงไม่
3.2 ให้ถือทางสายกลาง ทางตึง (ทรมานกายให้ลำบาก) ก็ดี, ทางหย่อน (ฟุ้งเฟ้อหลงใหล มัวเมา) ก็ดี, มิใช่แนวทางของพระพุทธศาสนา แต่ของพระพุทธศาสนา คือ มรรคมีองค์ 8 ทางสายกลางพอดี ๆ
3.3 ให้พึ่งตนเอง มิใช่พึ่งเทวดา โชคชะตาราศี หรือ ดวงดาว ฤกษ์ยาม
3.4 ไสยศาสตร์ การบนบานศาลกล่าว อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การดูฤกษ์ยาม การเจิม ฯลฯ มิใช่พุทธศาสนา
3.5 สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจยตา) มีใช่เกิดขึ้นเองลอย ๆ หรือพรหมลิขิต จะดับทุกข์ได้ต้องดับที่เหตุ
3.6 โอวาทที่เป็นหลักเป็นประธาน (โอวาทปาฏิโมกข์) คือ ให้ละชั่ว ทำกุศลให้ถึงพร้อม และทำจิตให้บริสุทธิ์
3.7 สิ่งทั้งอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา, แม้พระนิพพาน ก็เป็นอนัตตาเช่นกัน หาใช่อัตตาตัวตนไม่
3.8 ให้เชื่อในหลักธรรม คือ ทำดี-ได้ดี, ทำชั่ว-ได้ชั่ว. ให้ทำตนอยู่เหนือดี เหนือชั่วนั่นแหละ จึงจะพบนิพพาน (คือเหนือกรรม)
3.9 จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือนิพพาน (ได้แก่สภาวะจิตที่สงบเย็น ปราศจากทุกข์)
3.10 สรุปธรรมทั้งปวง รวมลงในเรื่องเดียว คือ "ความไม่ประมาท"

4. การศึกษาธรรมะ 2 สมัย

4.1 สมัยปัจจุบัน คือ รู้จัก กับ รู้จำ อาศัยการฟัง อ่านค้นคว้า จึงมีความรู้อยู่ในสมองและในสมุด พูดธรรมะคล่องแต่ปฏิบัติไม่ค่อยได้ จึงได้ผลน้อย
4.2 สมัยพุทธกาล คือ รู้แจ้ง โดยเมื่อฟัง – จำแล้ว ลงมือปฏิบัติ ทำจริงในขณะนั้นทันที เกิดผลเป็นความรู้แจ้งเรื่องชีวิต ดับทุกข์ในขณะนั้นทันที

5. วิธีศึกษาพระพุทธศาสนา
เมื่อแรกพุทธปรินิพานนั้น สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งให้ถือเอาเป็นศาสดาแทนพระองค์ มีเพียง 2 คือ ธรรมและวินัย หลังจากนั้นมา 300 ปี จึงเกิดมีพระไตรปิฎกขึ้น (สุตตันตปิฎก วินัยปิฎก และอภิธรรมปิฎก) บันนี้ล่วงกาลมาถึง 2500 กว่าปี คำสอนเดิม ขั้นปรมัตถ์ค่อย ๆ หายไป หมดไป เกิดมีคำสอนใหม่ ๆ เป็นพุทธศาสนาเนื้องอกจับใส่พระโอษฐ์ ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก ดังนั้นในการศึกษาพระพุทธศาสนาพึงอาศัยหลักดังนี้
– ด้านปริยัติ (ความรู้เนื้อหา) อ่าน ฟัง คิด วิจัย ให้เข้าใจคือให้ปฏิบัติได้จริง หากสงสัย ให้อาศัยหลักกาลามสูตรเข้าพิจารณาตัดสิน มิใช่เชื่อไปเสียหมด
– ด้านปฏิบัติ การปฏิบัติทุกอย่างของพระพุทธศาสนาไม่ว่าการทำทานรักษาศีล ภาวนา พระพุทธองค์ทรงสอนให้ ทำเพื่อ "ละกิเลส" มิใช่เพื่อเอาหวังได้นั่นได้นี่ อันทำให้ยิ่งเพิ่ม โลภะ โทสะ โมหะ หาใช่พุทธศาสนาไม่ ทุกวันนี้ไหว้เพื่อเอา เพื่อขอ ทำบุญเพื่อเอาสวรรค์ นิพพาน หวังผลทั้งชาตินี้ชาติหน้า ซึ่งกลายเป็นพอกกิเลสยาวนาน
– ด้านปฏิเวธ (ผล) ทำเพื่อละ จะพบนิพพาน (จิตบริสุทธิ์ มีความสะอาด สว่าง สงบ) แต่ทำเพื่อเอา จะทำเพื่อเอา จะพบกิเลสในตนพอกพูนยิ่งขึ้น ๆ ยาวนาน และยิ่งมีทุกข์มาก
ดังนั้น จงมุ่งปฏิบัติเพื่อห่างไกลทุกข์โดยส่วนเดียว ให้ได้เห็นผลด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก)

6. จะศึกษาพุทธศาสนาได้ที่ไหน ?
ให้ศึกษาในร่างกายนี้ ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และมิใช่จะต้องศึกษากับพระ และในวัดวาอารามเท่านั้น จึงศึกษาตนเอง อย่ามัวศึกษานอกตัว หรือมัวติดอยู่แค่พิธีกรรม หรือได้แต่ทำตาม ๆ เขาไป จะเสียทีที่ได้มีโอกาสเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ได้ลิ้มรสแค่เปลือกกระพี้ มิได้ชิมรสอันเป็นเนื้อใน อันได้แก่ธรรมรสของความเย็นอกเย็นใจ (นิพพาน)

7. เหตุแห่งทุกข์และการดับทุกข์
เหตุ เกิดจากอุปทาน คือ การเข้าไปยึดถือว่า นี่คือ ตัวตนของเรา นี่ของๆ เรา
การดับ โดยละอุปทานเสีย (โดยพยายามปฏิบัติให้ "เห็นอนัตตา") เถิด จะโดยบังคับจิตเป็นสมาธิ (เจโตวิมุตติ) หรือโดยพิจารณาธรรมด้วยปัญญา (ปัญญาวิมุตติ) ก็ได้

8. พุทธพจน์ "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"
คำว่า "เห็นธรรม" คือ เห็นปฏิจจสมุปบาท คือ วงจรที่ทุกข์เกิด และดับ โดยเริ่มต้นจากอวิชชา จนเกิดทุกข์

9. จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
คือ นิพพาน (สภาวะจิตที่สงบเย็น) ปราศจากกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวง (ชาวบ้านพูดว่า เย็นอก เย็นใจ) หาพบได้ที่ใจตัวเอง

10. สรุป ความทุกข์เกิดที่จิต พึงรักษาจิตให้เป็นประภัสสรไว้เสมอ ระวังการกระทบ (ผัสสะ) ทางตา หู ฯลฯ ให้ดี มีสติรู้ทันว่า...เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน อย่าให้เวทนา ตัณหา เกิดได้ แล้วท่านจะพบความสงบเย็นตลอดเวลา
ความทุกข์เกิดที่จิต เพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ
ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เมื่อผัสสะ
ความทุกข์เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ
............................
(จากธรรมสมโภช 80 ปี พุทธทาสภิกขุ) ... ส.สู้ๆ

เทวทัตตชีโก

การเป็นคนดีที่ไม่โด่งดัง
ยังดีกว่าการเป็นคนดัง
ในทางไม่ดี...
Laws of Karma.


โทมะชะยำใบเหลียง

ทำไมเรื่องเยอะขนาดนี้...
จบข่าว

Link Singapore